พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม0%

พื้นฐานอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 27279
ดาวน์โหลด: 4902

รายละเอียด:

พื้นฐานอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 354 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 27279 / ดาวน์โหลด: 4902
ขนาด ขนาด ขนาด
พื้นฐานอิสลาม

พื้นฐานอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

บัดดลนั้นเองก็มีเสียงหนึ่งกระซิบในดวงจิต(อิลฮาม) ของเธอว่า

“อย่าโศกเศร้าเสียใจไปเลย พระผู้อภิบาลของเธอได้ประทานน้ำอมฤตให้แก่เธอ อยู่ปลายเท้าไงล่ะ จงเขย่าลำต้นของอินผาลัมแห้งซิ แล้วมันก็จะตกลงมา จงกินและดื่มน้ำนั้น อย่าได้กังวลอันใดเลย หากเธอเห็นผู้คน

ก็จงส่งสัญญาณแสดงให้เขารู้ว่า ฉันได้ถือศีลอดไม่พูดกับผู้ใด”

สิ่งที่พ้นญาณวิสัย(มุอฺญิซาต) และความช่วยเหลืออันพ้นจากข้อพิสูจน์(ฆ็อยบฺ) เหล่านี้ที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้ท่านหญิงมัรยัม(อฺ) ค่อยๆ มีกำลังใจดีขึ้น ในที่สุดเธอก็หอบหิ้วลูกน้อยไปท่ามกลางผู้คนที่เธอเคยอยู่ด้วยอย่างมั่นใจ เมื่อประชาชนเห็นเด็กน้อยอยู่ในอ้อมกอดของเธอ พวกเขาก็เริ่มวาจาเสียดสีโดยกล่าวว่า

“พ่อของเธอก็ใช่ว่าเป็นชายชั่ว แม่ของเธอก็ไม่ใช่หญิงโฉด”

ก่อนที่จะพูดสิ่งใด ท่านหญิงมัรยัม(อฺ) ได้ชี้ไปที่ทารกน้อยคนนั้น หมายความว่า ให้ถามเรื่องราวจากทารกน้อยนี้

พวกเหล่านั้นหัวเราะเยาะแล้วกล่าวว่า

“เราจะพูดกับทารกน้อยนี้ได้อย่างไรกัน”

ทารกน้อยของเธอก็เอ่ยปากพูดด้วยกับพลานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าพูดด้วยสำเนียงที่ชัดเจนถูกต้องและห้าวหาญว่า

“ข้าคือบ่าวของพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงประทานคัมภีร์ให้แก่ข้าและทรงเลือกให้ข้าเป็นศาสนทูต ไม่ว่าที่ใดที่ข้าอยู่ที่นั้นจะมีแต่ความจำเริญดีงามพระองค์ยังสั่งข้าอีกว่า ให้ข้าทำการนมาซ จ่ายซะกาตในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

แล้วต้องแสดงความกตัญญูต่อมารดาผู้บังเกิดเกล้าของข้า...

ถ้อยคำเหล่านี้ทำให้พวกเขาหมดสติไป สิ่งสำแดงอันยิ่งใหญ่นี้ ทำให้การให้ร้ายที่พวกเขามีต่อท่านหญิงมัรยัม(อฺ) หมดไป พวกเขารู้แล้วว่า ทารกน้อยคนนี้เกิดมาโดยปราศจากพ่อ – แม่ตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ในอนาคตอันใกล้เขาจะมีฐานันดรที่สูงส่งและรับหน้าที่อันยิ่งใหญ่

วิเคราะห์สภาพของประชาชนโดยทั่วไปก่อนการประกาศสาส์นของท่านนบีอีซา(อฺ)

ก่อนที่นบีอีซา(อฺ) จะถือกำเนิดนั้น ปาเลสไตน์ อยู่ภายใต้การรุกรานของพวกโรม อันเนื่องจาก ประชาชนปาเลสไตน์ไม่อาจหาผู้ช่วยเหลือ ผู้สนับสนุนสู่ชัยชนะขั้นเด็ดขาดต่อพวกโรมได้ เขาจึงต้องทำสงคราม

ติดต่อกันเป็นเวลานานการสู้รบที่ยาวนานทำให้ประชาชนปาเลสไตน์อยู่ไม่เป็นสุข สภาพทางเศรษฐกิจเสียหายหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ประชาชนโดยทั่วไปที่เป็นอิสรชนก็มีชีวิตอยู่ไปวัน ๆ หนึ่ง สาธารณูปโภคขาดแคลน ไม่อาจเก็บผลผลิตทางเกษตรกรรมได้ สภาพเป็นเช่นนี้ถึงขนาดที่ว่ากระทบต่อความศรัทธาของพวกยะฮูดีเองด้วย ซึ่งหาได้น้อยมากที่จะมีใครสนใจคำสอนของศาสนา อาจเป็นเพราะอีหม่านอันอ่อนแอของพวกเขาก็ได้ที่เป็นเหตุให้

พวกโรมสามารถเอาชนะได้

ลัทธิล่าอาฌานิคมมักจะใช้ประโยชน์จากสภาพการณ์เช่นนี้อยู่เสมอ

 พวกเขาไม่มีความจำเป็นอันใดมากที่จะต้องใช้อาวุธในการทำสงคราม ประชาชนที่สูญเสียอีหม่าน ความศรัทธาโดยไม่รู้ตัวนั้น ก็จะค่อย ๆ ถูก

ทำลายไปในที่สุด

ใช่แล้ว ตามสถานการณ์เช่นนี้ ในห้วงเวลาแห่งการระส่ำระสาย ไร้ระเบียบ กฎเกณฑ์ ความรู้สึกต้องการมีผู้นำทางจิตวิญญาณคนหนึ่งมาทำหน้าที่ดึงผู้คนให้ออกจากความหลงผิด ไร้ซึ่งทางนำ ขาดเสถียรภาพจึงเป็น

ภาพที่ชัดเจนที่สุด

เหตุการณ์ก็เป็นเช่นนี้ มันเป็นไปตามพระประสงค์และพระเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเอื้ออาทรให้นบีอีซา(อ) เกิดมา

การเกิดของท่าน(อฺ) คือสิ่งมหัศจรรย์หนึ่ง อันเป็นประจักษ์พยานถึง

ความสูงส่งแห่งฐานภาพของท่าน(อฺ)เป็นอย่างดี มันคือเครื่องหมายที่แสดงว่า ท่าน(อฺ) เป็นอย่างดี มันคือเครื่องหมายที่แสดงว่า ท่าน(อฺ) คือผู้นำแห่งพระผู้เป็นเจ้าพระหัตถ์อันทรงพลานุภาพให้กำเนิดท่าน(อฺ)มา เพื่อทำหน้าที่

ปรับปรุงสังคมอบรมขัดเกลาและช่วยเหลือประชาชนที่ขาดที่พึ่งเหล่านั้น

สาส์น (ริซาละฮฺ) ของนบีอีซา(อฺ)

“อินญีล” ถูกประทานลงมาแด่ท่านนบีอีซา(อฺ) เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตให้เป็นอิสระจากกลุ่มผู้หลงผิด ไร้ทางนำ

ท่าน(อฺ) ได้ประกาศสาส์นของท่านต่อประชาชน และเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ท่าน(อฺ)ได้รับความยากลำบาก และเสียสละอย่างสูงในการช่วยเหลือพวกยะฮูดีให้ปลอดภัย และทำลายล้างรากเหง้าแห่งความหลงผิดทั้งมวล

ทว่า...พวกผู้ปกครองชาวยะฮูดี ซึ่งหวงแหนในตำแหน่งของตัวเองเกรงว่าด้วยกับ การมาของอีซา – มะซีฮฺ (อฺ) พวกเขาจะต้องสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไปพวกเขาประหวั่นพรั่นพรึง ต่อสาส์นของท่าน (อฺ) จึงได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือกันลงมติให้ต่อสู้กับท่าน (อฺ) สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายให้เกิดขึ้น และยับยั้งการเจริญเติบโตของสาส์นนี้

ท่านนบีอีซา (อฺ) ล่วงรู้ถึงแผนการร้ายของพวกเขาดี แต่...ท่าน(อฺ)ก็ยังคงยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา ทำการเรียกร้องเชิญชวนประชาชนให้ออกห่างจากความหลงผิดโง่งมงาย ซึ่งถูกอุตริขึ้นในศาสนาของท่านนบีมูซา(อฺ)โดยฝีมือของพวกเขาเอง

ในวิถีทางดังกล่าว บางทีท่าน(อ) ก็ต้องรักษาคนป่วย (ที่ไม่มีโอกาสหาย) ให้หายเป็นปรกติ ทำให้คนตายฟื้นคืนกลับมาอีกครั้ง โดยพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า เพื่อให้ทุกคนได้ประจักษ์ด้วยสายตาว่า ท่าน(อฺ)มาจาก

พระผู้เป็นเจ้าจริง ๆ เป็นผู้ถูกเลือกสรรให้นำสาส์นของพระองค์มาเผยแพร่

บทสรุปภารกิจของท่านนบีอีซา (อฺ)

วันแล้ว วันเล่าผู้ติดตามท่าน(อฺ) ก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจำนวนของผู้ศรัทธาเชื่อฟังปฏิบัติตามท่าน(อฺ) เพิ่มขึ้นเท่าใด บรรดาผู้ปกครองชาวยะฮูดีก็ยิ่งเพิ่มความเคียดแค้น ชิงชังและเป็นศัตรูมากขึ้นเท่านั้น

จนในที่สุดพวกเขาก็ตัดสินใจจะสังหารท่านนบีอีซา(อฺ) ให้ได้

แต่ทว่า อัลลอฮ (ซ.บ) ได้ปกปิดท่าน(อฺ) ไว้จากการมองเห็นของพวกเขาโดยพวกเขา ได้ทำการแขวนคอบุคคลหนึ่งที่พบว่ามีหน้าตาเหมือนกับ

ท่าน(อฺ) พวกนั้นยังคงหลงเข้าใจผิดคิดว่าได้สังหารท่านนบีอีซา(อฺ) ด้วยการตรึงไม้กางเขนแล้ว

เหตุการณ์ตอนนี้ อัล – กุรอานได้แจกแจงอธิบายว่า

“...พวกเขาไม่ได้ฆ่า และตรึงไม้กางเขนเขา (อีซา) แต่พวกเขาถูกทำให้เข้าใจผิดอันที่จริงแล้วบุคคลผู้ซึ่งขัดแย้งหันในเรื่องของเขาก็ตกอยู่ในความสงสัยทั้งสิ้น (ไม่รู้จริงในสิ่งที่พูดออกไป) พวกเขาไม่มีความรู้และความเข้าใจอันใดเลย นอกจากปฏิบัติตามการคาดเดาของตัวเองเท่านั้น แน่นอนอย่างยิ่งพวกเขาไม่ได้สังหารเขา

ทว่า...อัลลอฮได้ยกเขาขึ้นไปยังพระองค์ อัลลอฮทรงมีเกียรติและปรีชายิ่ง”

ดังนั้นปัญหาการถูกตรึงบนไม้กางเขน และความเชื่ออันไร้สาระอื่นที่ได้ถูกเพิ่มเติมขึ้นนั้น เช่น ความเชื่อของชาวคริสต์ในปัจจุบันที่ว่า ประชาชนทั้งหมดมีบาปติดตัวมาแต่กำเนิด ถึงแม้ว่าจะไม่เคยทำบาปอันใดเลย

ตลอดชีวิต และท่านนบีอีซา – มะซีฮฺ หรือเยซัส ไครสท์ นั้นคือผู้ปลดเปลื้องบาปทั้งมวลของมวลมนุษย์ด้วยการถูกตรึงไม้กางเขน เพื่อที่ทุกคนจะได้ไม่ถูกลงทัณฑ์ และการสอบสวน จึงเป็นความเชื่อที่ไร้แก่นสารทั้งสิ้น

อีซา-มะซีฮฺ บ่าวของพระเจ้า

สิ่งที่ได้จากอัล-กุรอาน และแม้กระทั่งจาก “อินญีล” บางเล่ม ซึ่งไม่ได้ตกอยู่ในมือของชาวคริสต์ในปัจจุบัน ทำให้เรารู้ว่า มะซีฮฺ จีซัสไครสท์ (อฺ) นั้นได้แนะนำตัวเองอยู่เสมอว่าเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้า อีกทั้งยังแสดงตัวเองว่า ทำการอิบาดะฮฺต่อพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว และยังเรียกร้องเชิญชวนผู้คนสู่การเคารพสักการะพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวอีกด้วย

ท่านนบีอีซา จีซัสไครสท์ (อฺ) จะพูดอยู่เสมอว่า

“อันที่จริงแล้วอัลลอฮฺคือพระผู้อภิบาลของฉัน และพระผู้อภิบาลของพวกท่านดังนั้นจงเคารพบูชาพระองค์แต่เพียงผู้เดียว นี่คือแนวทางที่เทียงตรง”(อาลิอิมรอน: 51)

ท่านนบีอีซา (อฺ) ไม่เคยประกาศตัวเองว่าเป็นพระเจ้าเลย ดังนั้นกรณีที่ชาวคริสต์ทังหลายบอกว่า ท่าน(อฺ)เป็นพระเจ้า และเรียกตัวเองว่าเป็นพระเจ้านั้นจึงเป็นสิ่งที่กุกันขึ้นมาอย่างแน่นอน

เนห์รู เขียนไว้ในหนังสือ “วิเคราะห์ประวัติศาสตร์โลก” ว่า

 “มะซีฮฺ ไม่ได้แอบอ้างว่าตัวเองเป็นพระเจ้า และมีสถานะเป็นพระเจ้าแต่อย่างใด ประชาชนต่างหากที่ชอบจะให้บุคคลที่ยิ่งใหญ่ ของตัวเองมีลักษณะหนึ่งของพระเจ้าอยู่ในตัวเองด้วย

ท่านนบีอีซา(อฺ) คือศาสดาท่านหนึ่งเป็นมนุษย์ธรรดาคนหนึ่งที่ได้รับ “วะฮฺยู” จากพระผู้เป็นเจ้า ถูกแต่งตั้งจากพระองค์ให้ทำหน้าที่ตักเตือน อบรมและชี้นำแก่คนในสังคม ถ้าบอกว่าท่าน (อฺ) มีมุอญิซาตมาแสดงด้วย ศาสนทูตอื่นของพระผู้เป็นเจ้าก็มีสิ่งนั้นด้วย และถ้าบอกว่าท่าน (อฺ) เกิดมาโดยไม่มีพ่อ? ท่านนบีอาดัม(อฺ) ก็เกิดมาโดยไม่มีทั้งพ่อและแม่ด้วย? แล้วทำไม่ชาวคริสต์ทั้งหลายจึงไม่คิดว่า นบีอาดัม(อฺ) เป็นบุตรของพระเจ้าด้วยเล่า!

อัล-กุรอาน ได้กล่าวว่า

“มะซีฮฺ อิบนุมัรยัม นั้นไม่ใช่ใครอื่นใด เป็นศาสนทูตคนหนึ่ง ก่อนหน้าเขา ศาสนทูตคนก่อนได้จากไป

ส่วนมารดาของเขาคนนั้นคือผู้สัตย์จริง เขาและมารดาของเขาก็ยังรับประทานอาหาร (เฉกเช่นมนุษย์ทั่วไป)”

(อัล-มาอิดะฮฺ: 75)

หมายความว่า ก็ยังคงมีความต้องการปัจจัย 4 อยู่เหมือนกับมนุษย์ทั่วไป

นี่คือสัจธรรมที่ปรากฏอยู่ในพระดำรัสอันชัดแจ้งของพระผู้เป็นเจ้า คือ อัล-กรุอานเข้ากันได้กับสติปัญญา

เพราะมนุษย์คนหนึ่งย่อมต้องเหมือนกับบุคคลอื่น ไม่มีพลังความสามารถที่เป็นเอกสิทธิ์ของตัวเอง มีความต้องการอาหาร การพักผ่อนเหมือนมนุษย์และศาสนทูตคนอื่นโดยทั่วไป ไม่ได้มีลักษณะที่ควรแก่การเคารพบูชาแต่ประการใด

ดังนั้น ด้วยกับการพิจารณาของสติปัญญา การยอมรับของอัล-กุรอานและตามที่ปรากฏอยู่ใน “อินญีลมัรกอส” อีกทั้งคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์จึงสรุปได้ความว่า

ท่านนบีอีซา (อฺ) เป็นบ่าวและศาสนทูตของพระเจ้า ตัวท่าน(อฺ) เองไม่เคยแอบอ้างตัวเองว่าเป็นพระเจ้าเลย ทว่า...หลังจากสมัยของท่าน(อฺ) หลักการอันบริสุทธิ์ต้องสูญเสียรากฐานอันเป็นสัจธรรมไป การตั้งภาคี การเคารพบูชารูปปั้นเข้ามาแทนที่ถึงขนาด วิลล์ ดูแรนท์ ยังกล่าวในหนังสือ “ประวัติอารธรรม”ว่:

“ชาวคริสต์ไม่ได้นำเอาการตั้งภาคีออกมาจากคำสอนของตัวเอง แต่ยอมรับมันขึ้นมา(จากภายนอก)

ใครที่ได้ทำการศึกษาหลักความเชื่อของชาวคริสต์แล้ว ก็จะยืนยันร่วมกันว่า นักประวัติศาสตร์คนนี้

อธิบายถึงความจริงหนึ่งทางประวัติศาสตร์ เพราะแม้กระทั่งในปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวก็ยังแพร่หลายอยู่ในหมู่ชาวคริสต์ เช่น

(1) อีซา จีซัสไครสท์ ถูกแยกออกมาจากตัวตนของพระเจ้า ไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้าง และถูกเรียกว่า

“บุตรของพระเจ้า”

(2) มะซีฮฺ (อีซา) เป็นมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นมนุษย์ที่พระเจ้าได้สิงสถิตย์อยู่ในร่างของเขา

(3) มะซีฮฺ ก็คือพระเข้า แต่อยู่ในรูปลักษณ์ของมนุษย์

แต่.. ทุกคนก็ทราบดีว่า พระผู้เป็นเจ้า ไม่มีรูปร่างตัวตนที่จะเข้าไปสิงสถิตย์อยู่ ณ ที่ใด หรือจะมีส่วนหนึ่งส่วนใดแยกออกมา และถูกเรียกว่า

 “บุตรของพระเจ้า” อีกทั้งสติปัญญาของเรายืนยันว่า พระผู้เป็นเข้าไม่มีที่อยู่ ที่จะเข้าไปประทับอยู่ในร่างของผู้ใด หรืออยู่ในรูปของมนุษย์ก็ตาม

ยิ่งไปกว่านั้น เป็นไปได้อย่างไรว่า พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสมบูรณ์ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด กลับต้องการการกินดื่ม การนุ่งห่ม ฯลฯ

หากว่าชาวคริสต์ทั้งหลายคิดให้ดี ก็จะยืนยันได้ว่า ท่านมะซีฮฺ (อฺ) เหมือนกับศาสดาอื่นๆ ก็คือบ่าวของพระเจ้า เรื่องการเป็นพระเจ้าของท่าน (อฺ) นั้นไม่มีมูลความจริงใดๆ ทั้งสิ้น

อัล-กุรอานได้กล่าวว่า

“แน่นอนอย่างยิ่ง ผู้ที่กล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นก็คือ มะซีฮฺ บุตรของมัรยัมนั้นเป็นกาฟิร (ผู้ปฏิเสธหลักการ) จงกล่าวเถิดว่า ผู้ใดเล่าที่มีสิทธิ์ขาดในทุกสิ่งมากกว่าอัลลอฮฺ หากพระองค์ต้องการที่จะทำลายมะซีบุตร

ของมัรยัม และมารดาของเขา และผู้ที่อยู่หน้าโลกนี้ทั้งหมด? สิทธิ์ขาดในการครอบครองและบังคับบัญชาชั้นฟ้าทั้งหลาย ผืนแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างมันทั้งสองเป็นสิทธิเฉพาะอัลลอฮฺ พระองค์ทรงสร้างสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ และอัลลอฮฺทรงอานุภาพเหนือทุกๆ สิ่ง”

 (อัล-มาอิดะฮฺ: 17)

สุนทรพจน์ อันตรึงใจของท่านมะซีฮฺ (อฺ)

ท่านศาสดา(ศ) กล่าวว่า: พวกฮะวารียูน (คนใกล้ชิด) ถามนบีอีซา(อฺ) ว่า

“พวกเราจะอยู่ร่วมกับผู้ใดดี?”

เขาตอบว่า

“กับผู้ที่เมื่อการพบปะเขาทำให้ท่านรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซ.บ) คำพูดของเขาทำให้ความรูข้ องพวกท่านเพิ่มขึ้น”

“มูซา กะลีมุลลอฮฺ (อฺ) กล่าวกับพวกท่านว่า อย่าได้กล่าวสาบานเท็จด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ส่วนฉันก็จะกล่าวว่าสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ แม้จะเป็นความจริงก็ตาม”

พวกเหล่านั้น ยังต้องการคำชี้แนะเพิ่มอีก

“ศาสดามูซากล่าวกับพวกท่านว่า อย่าได้ทำซินา(ล่วงประเวณี) และฉันก็ขอออกคำสั่งว่า แม้กระทั่งคิดจะทำซินา ก็อย่าได้คิด เพราะคนใดก็ตามที่คิดถึงแต่เรื่องซินาในสมองก็เปรียบเสมือนกับคนจุดไฟในห้องแสดงงานศิลป์ ภาพเขียนแสดงอยู่ ซึ่งควันไฟของมันจะทำให้ภาพเขียนเหล่านั้นเสียหาย ถึงแม้ว่า ห้องนั้นจะไม่ถูกไฟเผาไหม้ก็ตาม”

ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อฺ) กล่าวว่า

ท่านมะซีฮฺ (อฺ) บุตรของท่านหญิงมัรยัม (อฺ) มักจะกล่าวเสมอว่า

“ช่างโชคดีเหลือเกินสำหรับบุคคลที่การนิ่งเงียบของเขา คือการทำให้คิดและการวิเคราะห์ของเขาเป็นข้อตักเตือน จงดูพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมของตัวเองว่า ได้ทำให้มวลมนุษย์ทั้งหลายเดือดร้อนจากน้ำมือ และการกระทำของตัวเองหรือเปล่า”

ท่านอิมามศอดิก(อฺ) กล่าวว่า

ท่านนบีอีซา (อฺ) กล่าวกับคนใกล้ชิดของท่าน(อฺ) ว่า

“ลูกหลานของอาดัมเอ๋ย จงหันหลังจากโลกนี้ มุ่งหน้าสู่พระผู้เป็นเจ้าเถิดอย่าได้หลงใหลในมันเลย พวกท่านไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อโลกนี้เท่านั้น และมันก็หาได้เหมาะสมสำหรับตัวของพวกท่านไม่ ท่านจะไม่ได้อยู่ที่นี้อย่างถาวร และมันก็จะไม่ได้อยู่เพื่อพวกท่านตลอดไป มันได้ทำให้หลงระเริงยิ่ง และสูญเสียไปมากแต่มากแล้ว

ใครก็ตามที่ยังยินดีปรีดากับมันและวางไว้วางใจมัน แล้วก็จะยิ่งพบมากต่อมากแล้ว ใครก็ตามที่ยิ่งยินดีปรีดากับมันและไว้วางใจมัน แล้ว ก็จะยิ่งพบกับความขาดทุน ใครที่รักและหลงใหล อีกทั้งแสวงหามันอย่างลุ่มหลงละก็จะพบกับความหายนะอย่างแน่นอน

มีรายงานจากท่านอิมาม(อฺ) เช่นเดียวกันว่า

ท่านมะซีฮฺ (อฺ) กล่าวกับผู้เชื่อฟังและปฏิบัติตามท่าน (อฺ) ว่า

“จงหลีกห่างจากการมองผู้หญิงของคนอื่น ซึ่งมันจะเป็นเสมือนการฝังเมล็ดพันธุ์แห่งการตัณหาลงในดวงจิตของมนุษย์ และมันก็เพียงพอแล้วสำหรับความหายนะ

น่าเศร้าใจเสียเหลือเกินสำหรับบุคคลที่ความในดุนยา คือเป้าหมายของเขา ความชั่วทั้งหลายคือพฤติกรรมของเขา

ไม่มีใครรู้หรอกว่า วันหนึ่งการพิพากษาจะเป็นเช่นไร พวกเขาอาจจะเป็นผู้ที่ขาดทุน ณ เบื้องหน้าพระพักตร์ของอัลลอฮฺ (ซ.บ) ก็ได้”

บทที่ 19

มุฮัมมัด(ศ) รัศมีอันจำรัสอุบัติเหนือความมืดมน

โลกก่อนการมาของอิสลาม

สภาพการณ์อันน่าวิตกของโลกก่อนการมาของอิสลามที่มองผ่านกระจกเงาความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ มีสภาพเช่นนี้ คือ

ความชั่วร้าย แพร่กระจายไปทุกหย่อมหญ้า การรีดนาทาเร้น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ กราบไหว้บูชารูปปั้นปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์นี้

ก่อนการมาของอิสลาม ดูเหมือนว่า มนุษยชาติกำลังดิ่งลงต่ำสู่ความหายนะจนถึงกับเกิดความวิตกว่ามนุษยชาติอาจถึงกาลอวสานก็ได้

ศาสนาและหลักความเชื่อของผู้คนในคาบสมุทรอาหรับ

ชาวอาหรับก่อนการมาของอิสลามมอบกายถวายชีวิตแก่รูปปั้นต่างๆ อะไรที่พวกเขาประสบพบรอบๆตัวเขา ก็จะสร้างรูปปั้นสิ่งนั้นเอาไว้ ณ เบื้องหน้ารูปปั้นเหล่านั้น พวกเขาไม่เพียงแต่ทำความเคารพบูชาเท่านั้น ยังนำสิ่งของมาเซ่นบูชายัญ เช่น ผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น พวกเขาคิดว่า นอกจากชีวิตในโลกนี้ ไม่มีชีวิตในโลกอื่นอีก แน่นอนเหลือเกิน ก็ในเมื่อพวกเขายังไม่เห็นการไร้ความสามารถของรูปปั้นต่าง ๆ แล้วจะสามารถ

ค้นพบ ความจริงของการฟื้นคืนชีพและโลกหน้าได้อย่างไร ?

มันช่างน่าประหลาด ก็คือว่าพวกเขาได้ทำให้

 “อาคารหลังหนึ่งที่นบีอิบรอฮีม (อฺ) สร้างตามคำบัญชา

และด้วยพระนามของพระผู้อภิบาล” เป็นสถานที่สถิตย์ของบรรดารูปปั้นนานาชนิดที่มีขนาดและสีสันแตกต่างกันออกไป

ในอีหร่าน

ในอีหร่านก็เช่นเดียวกัน มีศาสนาต่าง ๆ ผุดขึ้นมากมาย แต่ศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุด คือ ศาสนาโซโรแอสเตอร์

หากเรายอมรับว่า โซโรแอสเตอร์ เป็นศาสดาคนหนึ่ง และมีแนวความเชื่อที่วางอยู่บนรากฐานของ

“เตาฮีด” ละก็ จะต้องรู้ด้วยว่า คำสอนที่ถูกต้องของเขาไม่มีแล้ว มันได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว มันได้เปลี่ยนแนวทางกลายเป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาประโยชน์ของผู้ปกครองไปแล้ว ถึงขนาดเปลี่ยนรูปแบบและลักษณะคำสอนของตัวเองไปโดยสิ้นเชิง

และผู้ปกครองจะได้เปลี่ยนแปลงคำสอนหลักที่อยู่ภายใต้แนวทางนั้นให้เป็นประโยชน์กับตนเองมากที่สุดเป็นอย่างนี้เรื่อยมา

จนกระทั่งในที่สุด “เตาฮีด” ก็ถูกทำให้เป็น “ชิริก” ไป ไม่มีคำสอนที่บริสุทธิ์น่าเชื่อถือหลงเหลืออยู่ มีแต่เปลือกนอกไม่มีเนื้อใน

พระเจ้าอันเก่าแก่ของกลุ่มชนอารยันในอดีต ถูกปลุกขึ้นมากล่าวขานในกลุ่มโซโรแอสเตอร์

ยอห์น นอส เขียนว่า :

“ยอซ็อรตา คือ กลุ่มพระเจ้าดั่งเดิมของกลุ่มชนอารยัน เช่น “วายู” พระเจ้าแห่งลม ที่สำคัญกว่า และเก่าแก่กว่าทั้งหมดคือ “มิธา” พระเจ้าแห่งความกรุณาซึ่งถูกกล่าวไว้ใน คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของพวกโซโรแอสเตอร์ คือ “อะเวสตา” “มิธา” ตามความเข้าใจของสามัญชน ก็คือพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่แห่งรัศมี และแสงสว่างที่จะให้รางวัลแก่ผู้สัตย์จริง และก็จะคอยช่วยเหลือแก่ผู้ที่ขอความช่วยเหลือจากเขา”

การเคารพบูชาธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์ ไฟ ก็มีอยู่อย่างแพร่หลายในหมู่ชาวโซโรแอสเตอร์

ยอห์น ได้กล่าวถึงเรื่องการบูชาไฟว่า

“การบูชาไฟ เป็นวัฒนธรรมและประเพณีอันดั้งเดิมของชาวอิหร่าน (โบราณ) และมีความสำคัญพิเศษเฉพาะ”

ในโรม

สภาพของศาสนาในโรมก็เหมือนกับที่อิหร่าน ศาสนาคริสต์ที่บริสุทธิ์ถูกต้องได้ถูกบิดเบือนไปแล้ว

กลายเป็นความเชื่อในเรื่องพระเจ้าสามองค์ในฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน ก็ไม่มีความเชื่อเรื่องพระเจ้าองค์เดียวหลงเหลืออยู่เลย

ส่วนในอินเดียนั้น มีศาสนาและลัทธิเกิดขึ้นมากมาย ส่วนใหญ่จะเป็นศาสนาที่เคารพบูชารูปปั้น

ความแตกต่างทางชนชั้นและการแบ่งแยกสีผิว

ในอิหร่าน ประชาชนถูกจัดแบ่งออกเป็นชนชั้น แต่ละชนชั้นก็มีข้อจำกัดและสิ่งพิเศษเฉพาะของตัวเอง ชนชั้นปกครองจะมีลักษณะดีเด่นพิเศษเหนือกว่าชนชั้นอื่นทั้งหมด

ท่านฎอบะรี นักประวัติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงได้เขียนไว้ว่า

“มีความแตกต่างระหว่างชนชั้น ถึงขนาดที่ว่าในสมัยของอะนูชีรวานนั้นชนชั้นผู้ใช้แรงงานถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการอ่านการเขียนเลยทีเดียว

ในสมัยดังกล่าว ทั่วทั้งโลกเต็มไปด้วยการแบ่งชนชั้นและสีผิว คนกลุ่มหนึ่งคิดว่า ตัวเองดีเลิศ ประเสริฐกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง...”

สถานภาพของผู้หญิงในสังคมก่อนการมาของอิสสลาม

ตามทัศนะของชาวอาหรับ ผู้หญิงก็คือสินค้าตัวหนึ่ง เป็นทรัพย์สินของพ่อ หรือสามี หรือลูกชาย

หลังจากคนพวกนี้เสียชีวิต หล่อนก็จะต้องตกเป็นทรัพย์มรดกแก่ทายาทต่อไป

การมีลูกสาวถือเป็นเรื่องอับอายขายหน้า บางเผ่าถึงขนาดฝังเด็กหญิงทั้งเป็นในอีหร่านโบราณ ระบบสังคมชนชั้นก็ไม่ได้มีอะไรที่ดีเด่นไปกว่านี้ในเรื่องสถานภาพของผู้หญิงเลย

ในกรีก ผู้หญิงก็คือสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่น่ารังเกียจ เป็นผลผลิตของมารร้ายและเหมือนสิงสาราสัตว์

ในอินเดียก็เช่นเดียวกัน พวกนางจะต้องตกอยู่ภายใต้การดูแลของสามี พ่อ หรือลูกชายตลอดสิ้นอายุขัย

จำต้องเรียกสามีตัวเองว่าเป็น “พระเป็นเจ้า” “นาย” หรือ “เจ้านาย” เลยทีเดียว นางเป็นเสมือนทาสคนหนึ่งที่ไม่มีสิทธิครอบครองทรัพย์สมบัติใด ๆ ทั้งสิ้น หลังจากสามีตายแล้ว นางก็ไม่มีสิทธิ์มีสามีใหม่ การเผาตัวเองพร้อมกับร่างของสามี ก็เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาของชาวอินเดีย

ในญี่ปุ่น ผู้หญิงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพ่อ หรือสามี หรือลูกชายตลอดชีวิต และลูกสาวไม่มีสิทธิ์ในกองมรดกใด ๆ ทั้งสิ้น

ในจีน พ่อซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวมีอำนาจเด็ดขาดถึงขนาดสามารถที่จะขายภรรยา หรือลูก ๆ ของตัวเองให้เป็นทาสได้ และบางทีก็สามารถฆ่าได้ด้วย