ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม0%

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 133

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 133
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 60434
ดาวน์โหลด: 4735

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 133 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 60434 / ดาวน์โหลด: 4735
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

 อัตชีวประวัติอิมามอะอฺศูมีน 7

อิมามมูซา กาซิม(อ)

เขียน

ศาสตราจารย์เชคอฺะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล

แปล

อาจารย์อัยยูบ ยอมใหญ่

บทนำ

แนวความเชื่อของเราเกี่ยวกับอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ (อฺ) ก็คือ พวกท่านเป็นผู้ถูกเลือกสรรที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเลือกพวกท่านเหล่านั้นให้เป็นเครื่องหมายชี้นำสำหรับปวงบ่าวของพระองค์

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเลือกเฟ้นพวกท่าน(อฺ)เหล่านั้นเพื่อนำทางสิ่งถูกสร้างทั้งมวลของพระองค์ เป็นทายาทของนบี(ศ)ของพระองค์ เป็นอิมามสำหรับบ่าวทั้งหลายของพระองค์ เป็นผู้ปกครองของสรรพสิ่งทั้งหลาย พวกท่านเหล่านั้นคือผู้ดูแลสาส์นของมุฮัมมัด(ศ) และเป็นหลักในการให้ทุกคน

ปฏิบัติตามนั้น กฎบัญญัติศาสนาถูกถ่ายทอดมาจากพวกท่าน(อฺ) สิ่งที่อนุมัติ(ฮะลาล) และสิ่งต้องห้าม(ฮะรอม) ทั้งหมดถูกรู้จักได้จากท่าน(อฺ)เหล่านั้น

พวกท่าน(อฺ)ทั้งหมดคือหลักฐานอันชัดแจ้งที่มียังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) คือ

 ผู้นำทางสู่(การรู้จัก)พระองค์ คือผู้เรียกร้องเชิญชวนสู่ศาสนาของพระองค์

ณ พวกท่าน(อฺ)เหล่านั้นมีความรู้แห่งคัมภีร์และสัญลักษณ์ที่มีมาพร้อมกับคัมภีร์นั้น

ท่านร่อซูลุลลอฮฺ(ศ)สั่งให้ประชาชาติของท่าน(ศ)ปฏิบัติตามและเชื่อฟังพวกท่านเหล่านั้น(อฺ) แต่ทว่า….หลังการจากไปของท่านศาสดา (ศ) พวกเขากลับมาร่วมชุมนุมกันในเรื่องนี้อีก ขณะที่ท่านศาสดา (ศ) ถูกปล่อยเอาไว้ยังไม่จัดการฝังท่าน (ศ) พวกเขากลัวปัญหาความยุ่งยากทั้งมวล

 (กระนั้นหรือ?) แต่ก็จมปลักอยู่ในความยุ่งยากสับสนปั่นป่วน(ฟิตนะฮฺ)ในที่สุด

ประชาชาติมุสลิมกีดกันตำแหน่งผู้ปกครอง(คิลาฟะฮฺ)ให้ออกไปจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อฺ)

และเริ่มผลัดเปลี่ยนฐานภาพนั้นไปให้แก่บุคคลอื่น แล้วในที่สุดก็ตกไปถึงมือของมุอาวิยะฮฺ บิน อะบีซุฟยาน (ศัตรูตัวฉกาจของอิสลามและท่านศาสดา) เขาไม่หยุดยั้งเพียงเท่านั้น

 แต่ยังส่งผ่านฐานภาพอันทรงเกียรตินั้นไปให้แก่ทรราชเยี่ยงยะซีด คนโสมม แล้วก็ดำเนินเรื่อยมาในมือของวงศ์วานแห่งความต่ำต้อย

หลังจากพวกเขา วงศ์วานบะนีอับบาซก็ขึ้นมามีอำนาจ ประชาชาติได้ถูกปรับเปลี่ยนจากความอธรรมหนึ่งไปสู่อีกความอธรรมหนึ่ง จากความเลวร้ายหนึ่งไปสู่อีกความเลวร้ายหนึ่ง ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้บรรดาอิมาม(อฺ)ได้คอยเฝ้าดูอยู่ห่างๆ ภายในบ้านของตัวเอง ท่าน(อฺ)เหล่านั้นไม่มีอำนาจที่จะสั่งหรือห้ามปรามสิ่งใดๆ เลย

บรรดาผู้ปกครองแห่งวงศ์อุมัยยะฮฺและอับบาซียะฮฺ ใช่ว่าจะหยุดยั้งเพียงการเข้าสวมอำนาจการปกครองเท่านั้น พวกเขากลับตามจองล้างจองผลาญพวกท่านเหล่านั้น ถึงขนาดที่ติดตามสังหารจับกุมคุมขังและทำลายล้างพวกท่านเหล่านั้น(อฺ)

ท่านอิมาม(อฺ)ไม่ได้ใส่ใจต่อการบีบคั้น และการทารุณกรรมต่างๆ ซึ่งท่านได้รับมา ท่าน(อฺ)เหล่านั้นยังคงทำหน้าที่เผยแผ่สาส์นของพวกท่านในการทำให้พระดำรัสของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) สูงส่งยิ่งขึ้น สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอิสลามและสะกัดกั้นแนวความคิดอันเลวทรามและเสื่อมเสีย

 ท่านเหล่านั้นได้บรรจุโลกนี้ให้เต็มไปด้วยวิชาความรู้ และการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งถือว่าเป็นการยกธงอิสลามให้สูงเด่นที่ดีที่สุด

มิได้พูดเกินเลยที่จะบอกว่า ท่าน(อฺ)เหล่านั้นมีคุณสมบัติเหล่านี้ เพราะตัวของพวกท่านเหล่านั้นถือว่าทรงสิทธิ์ยิ่งกว่าผู้ใด ยิ่งไปกว่านั้นพวกท่าน(อฺ)ยังรับหน้าที่ในการเผยแผ่สาส์นอิสลาม

ต่อจากท่านศาสดา(ศ)เป็นผู้ปกปักษ์รักษาจริยวัตร และกฎเกณฑ์ต่างๆ ของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)

หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนรัศมีอันจำรัสหนึ่งแห่งอัตชีวประวัติของท่าน

อิมามมูซา บินญะอฺฟัร อัล-กาซิม(อฺ) เป็นการนำเสนอแง่มุมบางอย่างของ

การอิบาดะฮฺ วิถีชีวิต และการมีคุณธรรมของท่าน(อฺ) อีกทั้งยังมีการกล่าวถึงถ้อยคำอันทรงคุณค่าและคำสั่งเสียอันทรงเกียรติของท่าน(อฺ)

เราได้นำเสนอหนังสือที่วางอยู่ตรงหน้าท่านนี้โดยปรารถนาที่จะให้มวลมุสลิมทั้งหลายได้รู้จักสิทธิอันชอบธรรมของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์(อฺ)

 อันเป็นสิ่งที่บรรพชนรุ่นก่อนทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ต่ออำนาจแห่งการได้รับการจงรักภักดีของพวกท่าน(อฺ)เหล่านั้น ให้พวกเราได้รับรู้ถึงความรู้สึกโกรธแค้นของศัตรูของพวกท่าน(อฺ)เหล่านั้น อีกทั้งปรารถนาที่จะให้มวลมุสลิมทั้งหมดยึดเอาแนวทางคำสั่งสอนของพวกท่าน(อฺ) ปฏิบัติตามคำสั่งของพวกท่าน(อฺ) ละเว้นจากข้อห้ามทั้งปวงของพวกท่าน(อฺ)เพื่อปฏิบัติตามคำบัญชาที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) และร่อซูลของพระองค์(ศ)ได้สั่งไว้ในเรื่องของอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) อันหมายถึงความไพบูลย์ทั้งโลกนี้และปรโลก

ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า :

“พวกเขาเหล่านั้นรับฟังถ้อยคำนั้น แล้วปฏิบัติตามอย่างดีที่สุด พวกเหล่านั้นเองที่อัลลอฮฺทรงชี้นำพวกเขา และพวกเขาคือกลุ่มชนผู้รู้แจ้ง”

(อัซ-ซุมัร: 18)

ชีวประวัติของอิมามมูซา บิน ญะอฺฟัร(อฺ)

นามจริง

อิมามมูซา บิน ญะอฺฟัร อัล-กาซิม(อฺ)

ปู่

อิมามมุฮัมมัด บาเก็ร(อฺ)

บิดา

อิมามญะอฺฟัร ศอดิก(อฺ)

มารดา

ท่านหญิงฮะมีดะฮฺ บินติ ศออิด อัล-มัฆริบี

สถานที่เกิด

ณ ตำบลอับวาอ์(ระหว่างมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ) เมื่อวันอาทิตย์ที่

7 เดือนศ่อฟัร ฮ.ศ. 128 ในตอนที่ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) ถือกำเนิดมา ท่านอิมามศอดิก(อฺ)ได้จัดเลี้ยงอาหารแก่ประชาชนทั่วไปเป็นเวลา 3 วัน

บุคลิกลักษณะ

ท่าน(อฺ)เป็นคนผิวขาว เรือนร่างสมส่วน เคราดกงาม

สมญานาม

อะบูอิบรอฮีม

อะบุลฮะซัน

อะบูอฺะลี

อะบูอิสมาอีล

ฉายานาม

อับดุศศอลิฮฺ

อัล-กาซิม

อัศ-ศอบิร

อัล-อะมีน บาบุลฮะวาอิจญ์

ลายสลักบนแหวน

อัล-มุลกุ ลิลลาฮิ วะฮฺตะฮฺ

ความหมาย : มวลอาณาจักรเป็นของอัลลอฮฺองค์เดียว

บุตรชาย

อฺะลี ริฎอ อิบรอฮีม อัล-อับบาซ

อัล-กอซิม อิซมาอีล ฮารูน

ฮะซัน อะฮฺมัด มุฮัมมัด

ฮัมซะฮฺ อัลดุลลอฮฺ อิซฮาก

อะบัยดุลลอฮฺ เซด อัล-ฮะซัน

อัล-ฟัฎลฺ ซุลัยมาน

บุตรสาว

ฟาฏิมะฮฺ อัล-กุบรอ ฟาฏิมะฮฺ อัศ-ศุฆรอ

กุลษุม อุมมุญะอฺฟัร

ลับบาละฮฺ ซัยนับ

รุก็อยยะฮฺ ฮะกีมะฮฺ

อุมมุอะบีฮา รุก็อยยะฮฺ ศุฆรอ

ค่อดีญะฮฺ อามินะฮฺ

ฮะซะนะฮฺ บะรีฮะฮฺ

อาอิซะฮฺ อุมมุซะละมะฮฺ

มัยมูนะฮฺ อุมมุกุลษูม

(ดังกล่าวนี้มาจากริวายะฮฺของเชคอัล-มุฟีด และมีบางท่านระบุว่าบุตรของท่าน (อฺ) มีมากกว่านี้)

กวีเอกในสมัยของท่าน(อฺ)

ซัยยิด อัล-ฮะมีรี

คนสนิท

มุฮัมมัด บินมุฟัฎฎ็อล

กษัตริย์ที่ปกครองในสมัยของท่านอิมามกาซิม(อฺ)

มันศูรฺ

มุฮัมมัด มะฮฺดี

มูซา อัล-ฮาดี

ฮารูน อัร-ร่อชีด

ช่วงชีวิตของท่านอิมามมูซา(อฺ)

ส่วนใหญ่ท่าน(อฺ)ใช้ชีวิตอยู่ในคุก ซึ่งมะฮฺดีแห่งวงศ์อับบาซียะฮฺสั่งกักขัง ต่อมาก็ได้ปล่อยตัวท่าน(อฺ)ออกมา และฮารูน ร่อชีด ก็ได้ขังท่าน(อฺ) อีกที่เมืองบัศเราะฮฺ จากนั้นก็ย้ายไปอยู่ที่กรุงแบกแดด อยู่ภายใต้การควบคุมของซินดี บินชาฮิก เป็นเวลา 4 ปี บางรายงานบอกว่ามากกว่านั้น

วายชนม์

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ถึงแก่วะฟาต เมื่อวันศุกร์ที่ 25 เดือนร่อญับ

 ฮ.ศ. 183 เพราะถูกวางยาพิษ โดยคำสั่งของฮารูน ร่อชีด

ช่วงเวลาแห่งการเป็นอิมาม

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) ดำรงตำแหน่งอิมามนานถึง 35 ปี

สุสานของท่าน(อฺ)

อยู่ในเมือง ‘กุรคฺ’ อันเป็นที่รวมสุสานของชาวกุเรช ปัจจุบันนี้สุสานของท่าน (อฺ) ถูกให้เกียรติ โดยได้รับการประดับประดาตกแต่งอย่างสวยงามเป็นที่เยี่ยมเยียนของมวลมุสลิมจำนวนมากมาย ที่เดินทางมาจากภาคตะวันออกและตะวันตกของโลก

บทบัญญัติการเป็นค่อลีฟะฮฺของท่านอิมามที่ 7

เป็นเรื่องที่น่าแปลกอย่างยิ่งสำหรับกรณีที่ฝ่ายอื่นอ้างว่า ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ได้เสียชีวิตไป โดยมิได้สั่งเสียให้ใครดำรงตำแหน่งผู้นำภายหลังจากท่าน(ศ) กล่าวคือ ท่าน(ศ)ได้ละทิ้งประชาชาติที่อยู่ข้างหลังให้บริหารกิจการงานของประชาชาติกันเอง ควบคุมกันเอง และให้อธิบายแบบอย่างกฎเกณฑ์ต่างๆ กันเอง

ขณะเดียวกัน ประชาชาติอิสลามต่างมีความเข้าใจตรงกันว่า

 ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)นั้นเคยแต่งตั้งผู้ปกครองไว้ในเมืองมะดีนะฮฺ เมื่อตอนที่ท่าน(ศ)ต้องการเดินทาง และจะไม่ส่งทหารออกศึกจนกว่าจะได้แต่งตั้งแม่ทัพให้เป็นที่แน่นอนเสียก่อน และในบางครั้งท่าน(ศ) ได้แต่งตั้งแม่ทัพไว้

สำหรับกองทัพหนึ่งมากกว่า 1 คน

สิ่งที่น่าเสียใจประการหนึ่งก็คือ เมื่อเราต้องการจะปลีกให้พ้นจากบุคคลคนหนึ่งหรือคณะหนึ่ง เรายังต้องสร้างความรู้สึกที่ดีต่อผลงานของพวกเขา และเราต้องขอขมาต่อพวกเขาด้วยการขอขมาที่ดีงาม แน่นอนเรามอบเป็นหน้าที่ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูต(ศ) สำหรับกรณีความเจ็บปวดต่าง ๆ ที่นักปกครองผู้ถืออำนาจได้กระทำไว้ให้ทุกประการเหล่านี้เป็นเพราะวิธีการ

ตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ ว่าถูกต้องโดยบรรดานักปราชญ์ในอดีตนั่นเอง

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า :

“ผู้นำทางไปสู่สัจธรรม ทรงสิทธิในการถูกปฏิบัติตามมากกว่า ผู้ที่มิได้นำทางอะไรเลย อีกทั้งยังถูกนำทางด้วย มิใช่หรือ ? แล้วพวกเจ้าจะตัดสินความกันอย่างไร ?”

(ยูนุซ: 35)

ถ้าหากคนทั้งหลายจะกล่าวถึงตำแหน่งอิมามของท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ) ย่อมรับรู้ได้เต็มที่จากข้อบัญญัติในเหตุการณ์ที่ “ฆ่อดีรคุม” เพียงแห่งเดียว โดยไม่ต้องพิสูจน์ต่อข้อบัญญัติอื่นๆ อีกที่ยังมีมากมาย กล่าวคือ ได้พิสูจน์ถึงการให้สัตยาบันในวันสำคัญที่ “ฆ่อดีรคุม”โดยชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งและได้ประจักษ์อย่างถ่องแท้ต่อพิธีกรรมที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้กระทำขึ้นในวันนั้น

และข้อความหนึ่งของอัล-กุรอานที่ถูกประทานมาในเรื่องนั้น

แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกตรงที่ว่า ประชาชาติมุสลิมได้พากันลืมเลือนเหตุการณ์ในวันนั้นหลังจากที่ท่านศาสนทูต(ศ)วะฟาตไปแล้ว

๑๐

เรื่องราวในเหตุการณ์นี้ยืดยาวและขมขื่น บรรดามุสลิมจะมิได้รับสิ่งใด นอกจาก ณ ตรงจุดนี้ และพวกเขาจะไม่แตกแยกกัน นอกจากเพราะขัดแย้งกันในเรื่องนี้

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ท่านอิมามอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)ได้รับบทบัญญัติจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ดำรงตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ และทำนองเดียวกับบุตรหลานของท่าน(อฺ)ด้วย แน่นอน

ตำแหน่งอิมามมีขึ้นโดยข้อบัญญัติที่แต่ละท่านมีให้ไว้ต่อกัน โดยที่ท่าน(อฺ)ผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนได้แต่งตั้งคนที่จะดำรงตำแหน่งถัดมา บิดาจะแต่งตั้งบุตร เพื่อเป็นการดำรงไว้ซึ่งข้อพิสูจน์ และหลักฐานสำหรับประชาชาติ ในบทนี้เราจะกล่าวถึงข้อบัญญัติที่มีการระบุถึงการแต่งตั้งท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) โดยท่านอิมามศอดิก(อฺ) ผู้เป็นบิดา

ข้อบัญญัติที่ 1.

ท่านมุฮัมมัด บินวะลีด(ร.ฎ.)ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้ยินท่านอฺะลี บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัดกล่าวว่า : ฉันได้ยินบิดาของฉัน กล่าวเป็นการส่วนตัวต่อบุคคลกลุ่มหนึ่งว่า

“ฉันจะขอสั่งเสียเรื่องทายาทไว้กับมูซา บุตรชายของฉัน เพราะเขาคือบุตรที่ประเสริฐที่สุดของฉัน และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งสืบต่อภายหลังจากฉัน เขาคือผู้จะมาดำรงตำแหน่งของฉัน และจะเป็นข้อพิสูจน์หนึ่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ต่อบรรดามวลมนุษย์ทั้งหลาย ภายหลังจากฉัน”(1)

๑๑

ข้อบัญญัติที่ 2.

ท่านอีซา บินอับดุลลอฮฺ(ร.ฎ.)ได้ถามท่านอิมามศอดิก(อฺ)ว่า :

“ถ้ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นแก่ท่าน แล้วใครจะเป็นอิมามต่อไป ?”

ปรากฏว่า ท่านอิมามศอดิก(อฺ)ได้ชี้มือไปที่ท่านมูซา(อฺ) แล้วเขาก็ถามท่านอิมามศอดิก(อฺ)ต่อไปอีกว่า

“แล้วถ้ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นกับท่านมูซาอีกเล่า ใครจะเป็นอิมามต่อไป ?”

ท่าน(อฺ) กล่าวว่า

“บุตรชายของเขา”(2)

ข้อบัญญัติที่ 3.

ท่านฟัยฎฺ บินมุคตารฺ(ร.ฎ.)กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าเคยพูดกับท่านอิมามศอดิก(อฺ)ว่า

“โปรดช่วยฉุดมือของข้าพเจ้าให้พ้นจากนรกด้วยเถิด ใครจะเป็นอิมามของเราภายหลังจากท่าน ?”

อ้างอิง

(1) อัล-อิรชาด หน้า 310.

(2) อิษบาตุลฮุดา เล่ม 5 หน้า 468.

๑๒

ครั้นแล้วท่านอะบูอิบรอฮีม(อิมามมูซา)(อฺ) ได้เข้ามาหาท่าน(อฺ) ซึ่งตอนนั้นยังเป็นเด็กอยู่

ท่าน(อฺ)จึงกล่าวว่า

“นี่แหละคืออิมามของพวกท่าน ดังนั้นจงยึดมั่นต่อเขาเถิด”(3)

ข้อบัญญัติที่ 4.

ท่านอิมามศอดิก(อฺ)กล่าวว่า

“มูซาบุตรของฉัน คืออิมามภายหลังจากฉัน”(4)

ข้อบัญญัติที่ 5.

ท่านซุลัยมาน บินคอลิด(ร.ฎ.)กล่าวว่า

วันหนึ่งท่านอิมามศอดิก(อฺ)ได้เรียกท่านอิมามมูซา(อฺ)มาในขณะที่พวกเราอยู่กับท่าน(อฺ)

ท่าน(อฺ)กล่าวกับพวกเราว่า

“พวกท่านต้องยึดถือคน ๆ นี้ ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เขาคืออิมามของพวกท่านภายหลังจากฉัน”(5)

อ้างอิง

(3) อิษบาตุลฮุดา เล่ม 5 หน้า 468.

(4) อิษบาตุลฮุดา เล่ม 5 หน้า 493.

(5) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 ก๊อฟ เล่ม 3 หน้า 14

๑๓

อิบาดะฮฺ :รูปจำลองแห่งการภักดีของอิมามกาซิม(อฺ)

เมื่อกล่าวถึงบรรดาอิมาม(อฺ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺ ก็ทำให้นึกไปถึงวิชาการอันมากมายมหาศาล

การทำอิบาดะฮฺอย่างต่อเนื่อง การวิงวอนขอดุอาอ์ การบริจาคอันมากมาย จริยธรรมอันสูงส่ง ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง การอภัยต่อคนที่ทำบาป

และทำความผิดพลาด เพราะท่านเหล่านี้คือผู้มีเกียรติ มีบารมีที่ดีงามเป็นอาภรณ์ประดับเรือนร่าง

ในบทนี้จะกล่าวถึงเรื่องการทำอิบาดะฮฺของท่านอิมามมูซากาซิม(อฺ) บุตรของอิมามญะอฺฟัร(อฺ)ซึ่งมีฉายานามเป็นที่ประจักษ์ด้วยการทำอิบาดะฮฺ กล่าวคือเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า

‘ซัยนุลมุจญ์ตะฮิดีน’(เครื่องประดับของบรรดาผู้พากเพียร)

‘อัล-อับดุศศอลิฮฺ’(บ่าวผู้มีคุณธรรมสูง)

‘อัน-นัฟซุซซะกียะฮฺ’(ผู้มีดวงจิตอันใสสะอาด)

‘อัศ-ศอบิร’(ผู้อดทน)

และยังมีฉายานามอื่น ๆ อีกมากมายอันแสดงถึงลักษณะอันบริสุทธิ์ของท่าน(อฺ)

นักประวัติศาสตร์มิได้กล่าวถึงผู้ถูกจำคุกคนใดนอกจากท่านอิมามมูซา(อฺ)ที่ว่า ท่าน(อฺ)ได้ขอบพระคุณต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในการที่ประสงค์ให้โอกาสแก่ท่าน(อฺ)ทำอิบาดะฮฺตลอดเวลาที่อยู่ในกำแพงคุก โดยท่าน(อฺ)ถือว่า สิ่งนี้คือความโปรดปรานอย่างหนึ่ง และควรแก่การได้ขอบพระคุณ

๑๔

ท่านอิบนุศิบาฆ อัล-มาลิกีได้กล่าวว่า :

“ท่านอีซา บิน ญะอฺฟัรได้ยินคำวิงวอนของอิมามมูซาในคุกมีใจความว่า

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์ทรงรู้ว่าข้าพระองค์ได้ขอจากพระองค์ให้ข้าฯมีเวลาว่างเพื่อทำการอิบาดะฮฺต่อพระองค์ บัดนี้พระองค์ทรงประทานให้แล้ว ขอการสรรเสริญพึงมีแด่พระองค์”(1)

ในบทนี้จะกล่าวถึงเรื่องราวบางประการเกี่ยวกับการทำอิบาดะฮฺของท่านอิมามมูซา บิน ญะอฺฟัร(อฺ)

-1-

ครั้งหนึ่งท่านอิมามมูซา(อฺ)ได้เข้าไปในมัสญิดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่เมืองมะดีนะฮฺ ท่าน(อฺ)ได้ทำการซุญูดในตอนหัวค่ำ มีคนได้ยินคำกล่าวของท่าน(อฺ)ในตอนซุญูดว่า

“ความผิดอันยิ่งใหญ่อยู่ในตัวของข้าฯ ดังนั้นโปรดมอบการอภัยที่ดีงามจากพระองค์ให้ด้วยเถิด

โอ้... ผู้ทรงเป็นเจ้าของอัต-ตักวา

โอ้... ผู้ทรงเป็นเจ้าของการอภัย”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวอย่างนั้นจนถึงยามรุ่งอรุณ(2)

อ้างอิง

(1) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 222.

(2) ตารีคบัฆดาด เล่ม 13 หน้า 27.

๑๕

-2-

ท่านอะบูฮะนีฟะฮฺ(ร.ฮ.)ได้เข้าพบท่านอิมามญะอฺฟัร ศอดิก(อฺ) แล้วกล่าวว่า

 “ข้าพเจ้าเห็นมูซา บุตรของท่าน นมาซในขณะที่ประชาชนเดินผ่านไปมาข้างหน้า”

ท่านอิมามศอดิก(อฺ)จึงเรียกท่านอิมามมูซา(อฺ)เข้ามาหา แล้วกล่าวถึงเรื่องนี้

ท่านอิมามมูซา(อฺ)ได้ตอบว่า

“ใช่แล้ว ท่านพ่อ แท้จริงผู้ที่ฉันนมาซให้นั้น พระองค์ทรงอยู่ใกล้ชิดต่อฉันยิ่งกว่าเขาเหล่านั้น

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า :

“และเราอยู่ใกล้ชิดเขายิ่งกว่าเส้นเลือดที่คอหอยของเขาเสียอีก”

(ก็อฟ: 16)

ท่านอิมามศอดิก(อฺ)ดึงตัวมูซา(อฺ)บุตรของท่าน(อฺ)มากอด แล้วกล่าว พรรณนาสรรเสริญต่อพระผู้เป็นเจ้าในความปราดเปรื่องของท่าน(อฺ)

-3-

ท่านอิมามมูซา(อฺ)เคยทำนมาซนะวาฟิลตลอดทั้งคืน แล้วติดตามด้วยนมาซศุบฮฺ หลังจากนั้นก็นั่งอ่านคำวิงวอนต่าง ๆ จนดวงอาทิตย์ขึ้น แล้วทรุดตัวลงซุญูดต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ขอดุอาอ์สรรเสริญพระองค์โดยไม่ยกศีรษะขึ้นเลยจนดวงอาทิตย์เกือบบ่ายคล้อยและดุอาอ์ที่ท่าน(อฺ)ขอมากที่สุดคือ

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ขอความสะดวกสบายในยามตาย และขอการอภัยในยามตัดสิน”

๑๖

ท่าน(อฺ)กล่าวซ้ำ ๆ อยู่อย่างนี้(3)

-4-

ท่านฮิชาม บินอะฮฺมัร(ร.ฎ.)ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าเคยเดินทางพร้อมกับท่านอะบุลฮะซัน(อฺ)ในเส้นทางแห่งหนึ่งที่ไปยังมะดีนะฮฺ เมื่อท่าน(อฺ)ย่างเท้าลงบนพื้น ท่าน(อฺ)จะก้มซุญูดเป็นเวลานาน ต่อจากนั้นท่าน(อฺ)ได้ขึ้นพาหนะแล้วเดินทางต่อไป

ข้าพเจ้าถามท่าน(อฺ)ว่า

“ทำไมจึงได้ซุญูดนานเหลือเกิน ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“แท้จริง ฉันนั้นรำลึกถึงความโปรดปรานที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานให้ ดังนั้นฉันจึงทำการขอบคุณพระองค์”(4)

-5-

ท่านอิมามมูซา(อฺ)เคยร้องไห้ด้วยความเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)จนแก้มของท่านเปียกชุ่มด้วยน้ำตา(5)

-6-

ท่านอฺะลี บินญะอฺฟัร(ร.ฎ.) ได้กล่าวว่า

“เราได้ออกเดินทางร่วมกับท่านมูซา บินญะอฺฟัร พี่ชายของฉันไปยังเมืองมักกะฮฺพร้อมกับสมาชิกครอบครัว หลายครั้ง บางครั้ง 26 วัน บางครั้ง 25 วัน” (6)

(3) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 247.

(4) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 266.

(5) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 247.

๑๗

-7-

ท่านอิมามมูซา(อฺ)เป็นคนที่อ่านอัล-กุรอานได้ไพเราะมาก

เมื่อเวลาท่าน(อฺ)อ่าน ผู้ฟังจะเศร้าใจและร้องไห้ และตัวท่าน(อฺ)เองก็ร้องไห้จนเคราของท่าน(อฺ)เปียกชุ่มด้วยน้ำตา(7)

-8-

ท่านอิบรอฮีม บินอะบิลบิลาด(ร.ฎ.) ได้กล่าวว่า:

ท่านอะบุลฮะซัน(อิมามมูซา)(อฺ)กล่าวกับข้าพเจ้าว่า

“แท้จริง ฉันขอการอภัยโทษต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทุกวัน ๆ ละ 5,000 ครั้ง” (8)

-9-

เมื่อท่านอิมามมูซา(อฺ)มีอายุได้ 10 ปี ท่าน (อฺ) ได้ซุญูดตั้งแต่เวลาดวงอาทิตย์แรกแย้มจนถึงตอนบ่ายคล้อยทุกวัน (9)

(6) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 262.

(7) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 379.

(8) เล่มเดิม หน้า 267.

(9) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 379.

-10-

กษัตริย์รอชีดได้ตรวจดูสถานที่คุมขังท่านอิมามมูซา(อฺ)อยู่เป็นประจำ ซึ่งที่นั่นเขาได้เห็นท่านอิมาม(อฺ)ซุญูด เขาได้กล่าวกับคนใกล้ชิดว่า

“ทำไมหรือ ฉันจึงเห็นผ้าผืนนั้นอยู่ที่ตรงนั้นทุกวัน ?

๑๘

คนใกล้ชิดตอบเขาว่า

“นั่นมิใช่ผ้าดอก หากแต่นั่นคือ มูซาบุตรของญะอฺฟัร ทุกวันเขาจะซุญูดตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนบ่ายคล้อย”

ฮารูนกล่าวว่า

“แน่นอน นี่คือผู้บำเพ็ญเพียรคนหนึ่งของบะนีฮาชิม”(10)

-11-

ท่านอะฮฺมัด บินอับดุลลอฮฺ อัล-ฟัรอี(ร.ฎ.) จากบิดาของเขาได้กล่าวว่า : ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้เข้าไปพบท่านฟัฎลฺ บินรอบีอฺ ซึ่งเขากำลังนั่งอยู่กลางลานกว้าง เขาพูดกับข้าพเจ้าว่า

“จงดูไปที่บ้านหลังนั้นซิ ท่านเห็นอะไรบ้าง ?”

เมื่อข้าพเจ้าขยับเข้าไปดู เขาก็ถามว่า

“ท่านเห็นอะไรบ้าง ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ผ้าผืนหนึ่งถูกทิ้งอยู่”

เขากล่าวว่า

“ดูให้ดี ๆ ซิ”

(10) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 ก็อฟ เล่ม 3 หน้า 42.

๑๙

ข้าพเจ้าจึงพยายามดูอย่างพินิจพิเคราะห์ จึงกล่าวว่า

“ชายคนหนึ่งกำลังซุญูดอยู่”

เขากล่าวกับข้าพเจ้าอีกว่า

“ท่านรู้จักเขาไหม ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ไม่”

เขากล่าวว่า

“นี่แหละคือนายของท่าน”

ข้าพเจ้าถามว่า

“ใครกัน เป็นนายของฉัน”

เขากล่าวว่า

“ท่านจะแกล้งทำเป็นโง่กับฉันหรือ ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“เรื่องอะไรข้าพเจ้าจะแกล้งทำเป็นโง่ แต่ข้าพเจ้าไม่รู้จริง ๆ ว่า นายของข้าพเจ้าคือใคร ?”

๒๐