ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม0%

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 133

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 133
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 60505
ดาวน์โหลด: 4743

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 133 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 60505 / ดาวน์โหลด: 4743
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

9. ท่านคอฏีบ อัล-บัฆดาดีได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ท่านเคยได้รับข่าวว่า ชายคนหนึ่งกล่าวร้ายท่าน ท่านจึงได้จัดส่งสัมภาระชุดหนึ่งไปให้เขาคนนั้นซึ่งมีเงิน 1,000 ดีนารฺ และท่านยังเก็บเงินไว้ในสัมภาระอื่นอีกสามจำนวน คือ

 300 ดีนารฺ, 400 ดีนารฺ, 200 ดีนารฺ จากนั้นท่านก็นำไปแบ่งที่มะดีนะฮฺ จากการที่ท่านอิมามมูซา กาซิมทำเช่นนี้ สามารถช่วยให้คนทั้งหลายมีความเป็นอยู่ดีขึ้น (11)

(11) ตารีค บัฆดาด เล่ม 13 หน้า 28.

10. ท่านอฺะลี บินมุฮัมมัด บินอะฮฺมัด อัล-มาลีกี ได้กล่าวถึงเกียรติคุณของท่านอิมามมูซาว่า:

ในส่วนของความมีเกียรติ อันบริสุทธิ์ และลักษณะอันดีงามของท่านนั้น เราขอยืนยันว่า ท่านมีความสูงส่งที่สุด คนชั้นผู้นำในด้านนี้ยังต้องสยบให้แก่ท่าน(12)

 (12) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 217.

๑๒๑

11. ท่านยูซุฟ บินฟะซาฆีลี หลานของท่านอิบนุ อัล-เญาซีได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิมนั้นเป็นผู้ได้รับฉายานามอันดีเลิศว่า กาซิม มะอ์มูน ฏ็อยยิบ และซัยยิด คนทั่วไปเรียกท่านว่า “อะบุลฮะซัน” และท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น “อับดุศศอลิฮฺ” (บ่าวที่ทรงคุณธรรม) เพราะการทำอะมั้ลอิบาดะฮฺ และนมาซในยามค่ำคืน ท่านอิมามมูซา เป็นคนสุภาพอ่อนน้อม ที่ได้รับฉายานามว่า “กาซิม” ก็เพราะเมื่อท่านทราบว่าใครกล่าวร้ายท่าน ท่านก็จะตอบแทนเขาผู้นั้นได้รับทรัพย์สินเสมอ (13)

(13) ตัซกิเราะตุล-ค่อวาศ หน้า 196.

12. ท่านกะมาลุดดีน มุฮัมมัด บินฏ็อลฮะฮฺ อัช-ชาฟิอี ได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม คืออิมามผู้ยิ่งใหญ่ สูงส่งเหลือล้ำ เป็นมุจญ์ตะฮิดผู้มีความสามารถยอดเยี่ยมในการอิจญ์ติฮาด เป็นผู้มีชื่อเสียงในการอิบาดะฮฺอย่างยิ่ง มั่นคงในการปฏิบัติตามศาสนา

เป็นผู้ได้รับการยกย่องในด้านความมีเกียรติ ท่านทำการซุญูดและ

ทำนมาซมากเป็นพิเศษในยามกลางคืน ใช้เวลาในยามกลางวันด้วยการบริจาคทานและถือศีลอด ท่านเป็นคนสุภาพ และตอบแทนความชั่วด้วยการทำความดีสนองตอบการกลั่นแกล้งด้วยการให้อภัย ท่านประกอบการ

อิบาดะฮฺอย่างมากมายจนได้รับฉายานามว่า “บ่าวที่มีคุณธรรม” เป็นที่รู้จักกันในอิรักด้วยฉายานามว่า “บาบุ้ลฮะวาอิจญ์อิลัลลอฮฺ”(เป็นที่พึ่งในกิจการที่ต้องขอจากอัลลอฮฺ) โดยบรรดาผู้อาศัยการตะวัซซุลจากท่าน

๑๒๒

เป็นอันสรุปได้ว่า ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)แล้วท่านคือ ผู้ล้ำหน้าในด้านสัจจะที่ไม่มีการสิ้นสลาย(14)

(14) มะฏอลิบุซซุอูล หน้า 83.

13. ท่านอะฮฺมัด บินยูซุฟ อัด-ดะมัชกี อัล-ก็อรมานี ได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม คือ อิมามที่ยิ่งใหญ่ มีความดีเลิศ เป็นข้อพิสูจน์ ท่านใช้เวลากลางคืนโดยการนมาซ และใช้เวลากลางวันโดยการถือศีลอด ท่านได้ชื่อว่า “กาซิม” ก็เพราะความอดกลั้นอย่างเหลือหลาย และไม่ตอบโต้ผู้ที่ละเมิดต่อท่าน เป็นที่รู้จักอย่างดีในประเทศอิรัก ด้วยฉายานามว่า

‘บาบุ้ลฮะวาอิจญ์’ เพราะท่านเป็นที่พึ่งในกิจการที่ต้องขอจาก

อัลลอฮฺ(ซ.บ.) โดยบรรดาผู้ขอตะวัซซุลจากท่านไม่เคยผิดหวังเลย ท่านมีเกียรติมีคุณความดีที่สูงส่งยิ่งนัก(15)

(15) อัคบารุด-ดุวัล หน้า 112.

14. ท่านมุฮัมมัด บินอะฮฺมัด บินอัซ-ซะฮะบี ได้กล่าวว่า:

ท่านมูซา กาซิม เป็นนักวิชาการและเป็นบ่าวที่ดีเลิศที่สุดคนหนึ่ง สุสานของท่านอยู่ที่เมืองแบกแดด ท่านเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 183 ท่านมีอายุได้ 55 ปี (16)

 (16) มีซานุล-เอียะอฺติดาล เล่ม 3 หน้า 209.

๑๒๓

15. ท่านอิบนุซาอีได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามกาซิม คือ ผู้มีคุณสมบัติอันยิ่งใหญ่ มีเกียรติศักดิ์สูงส่งยิ่ง ท่านทำนมาซตะฮัจญุดอย่างมากมาย ท่านเด็ดเดี่ยวจริงจังในการอิจญ์ติฮาดเป็นที่ยอมรับว่า ท่านมีเกียรติอย่างยิ่ง เป็นที่รู้อยู่ทั่วไปในด้านการทำอิบาดะฮฺ เป็นคนเคร่งครัดในด้านการปฏิบัติศาสนกิจ ยามกลางคืนท่านจะเพียรอยู่แต่ในการซุญูดและนมาซ ท่านใช้เวลาในยามกลางวันด้วยการบริจาคทานและถือศีลอด(17)

(17) มุคตะศ็อร ตารีคุล-คุละฟาอ์ หน้า 39.

16. ท่านมุอ์มิน อัช-ชิบลันญีได้กล่าวว่า:

ท่านมูซา กาซิมเป็นคนที่ทำอิบาดะฮฺมากที่สุดสำหรับคนสมัยของท่าน เป็นผู้มีความรู้สูงสุด เป็นคนโอบอ้อมอารีที่สุด เมื่อครั้งที่ชาวมะดีนะฮฺ

ขาดแคลน ท่านได้นำเงินดิรฮัม และเงินดีนารฺจำนวนมากไปแจกจ่ายแก่คนเหล่านั้นถึงบ้านเรือนในยามกลางคืน และได้ให้ค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างนี้เช่นกัน จนกระทั่งคนทั้งหลายไม่รู้ว่า สิ่งของเหล่านี้มาถึงเขาจากทางใด และพวกเขาไม่รู้ในเรื่องนี้เลย จนกระทั่งท่านเสียชีวิตและดุอฺาอ์ที่ท่านอ่านมากที่สุดได้แก่

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าฯ ขอความสุขสบายในยามพบกับความตาย และขอการอภัยในยามได้รับการสอบสวน”(18)

 (18) นูรุล-อับศอร หน้า 218

๑๒๔

17. ท่านอับดุลวะฮาบ อัช-ชะอฺรอนีได้กล่าวว่า:

ท่านคือหนึ่งในบรรดาอิมามทั้งสิบสอง ท่านคือบุตรของท่านอิมาม

ญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด บินอฺะลี บินฮุเซน บินอฺะลี บินอะบีฏอลิบ

(ขอให้อัลลอฮฺทรงปิติยินดีต่อท่านเหล่านั้น) ท่านได้รับฉายานามว่า

“อับดุศศอลิฮฺ” (บ่าวที่มีคุณธรรม) ท่านทำการอิบาดะฮฺอย่างมากมาย และทำหน้าที่อิจญ์ติฮาด ท่านนมาซในยามกลางคืน เมื่อท่านได้รับข่าวว่าใครกล่าวร้ายท่าน ท่านก็จะส่งทรัพย์สินไปให้คนนั้นเสมอ (19)

(19) อัฏ-ฏ่อบะกอตุ้ล-กุบรอ หน้า 33.

18. ท่านอับดุลลอฮฺ อัช-ชิบรอวี อัช-ชาฟิอีกล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิมเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้ออันยิ่งใหญ่ บิดาของท่านคือ

อิมามญะอฺฟัรมีความรักต่อท่านเป็นอย่างยิ่ง เคยมีคนถามท่านว่า

“ท่านรักมูซามากขนาดไหน ?”

ท่านตอบว่า

“ฉันรักเขามากถึงขนาดที่ไม่อยากมีลูกคนอื่นอีก เพื่อที่ว่าจะไม่มีใครมีส่วนร่วมกับเขาในการได้รับความรักจากฉัน”(20)

(20) อัล-อิตติฮาฟ บิฮุบบิล-อัซรอฟ หน้า 54.

๑๒๕

19. ท่านมุฮัมมัด เคาะวาญะฮฺ อัล-บุคอรีกล่าวว่า:

คนหนึ่งจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺนั้นได้แก่ ท่านอะบุลฮะซัน

มูซา อัล-กาซิมบินญะอฺฟัร อัศ-ศอดิก(อฺ) ขออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีความยินดีต่อท่านในฐานะที่เป็นคนทำอิบาดะฮฺ เป็นคนมีคุณธรรม เป็นคนประเสริฐ เป็นคนสุภาพ เป็นผู้มีบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ มีความรู้มาก

 ท่านได้รับฉายานามว่า “อับดุศศอลิฮฺ” (บ่าวที่มีคุณธรรม) ทุกวันท่านจะซุญูดต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) เป็นเวลานาน หลังจากดวงอาทิตย์ขึ้นจวบจนดวงอาทิตย์คล้อย

ท่านเคยส่งทรัพย์สินไปให้คนที่กล่าวร้ายท่านถึง 1,000 ดีนารฺ

คอลีฟะฮฺมะฮฺดี บุตรของมันศูรฺ ได้เรียกท่านให้เดินทางจากเมืองมะดีนะฮฺ แล้วจับตัวท่านไปกักขัง มะฮฺดีหลับฝันเห็นท่านอฺะลี(ผู้ซึ่งอัลลอฮฺทรงให้เกียรติต่อใบหน้าของเขา)มากล่าวว่า

“มะฮฺดีเอ๋ย พวกเจ้าหวังหรือว่า พวกเจ้าจะได้มีอำนาจปกครอง หากว่าพวกเจ้าก่อความเสียหายในหน้าแผ่นดิน และจะจัดการตัดขาดบรรดาญาติมิตรของพวกเจ้า”

แล้วมะฮฺดีก็ปล่อยตัวท่านออกจากคุก(21)

(21) ยะนะบีอุล-มะวัดดะฮฺ หน้า 459.

๑๒๖

20. ท่านอับดุลลอฮฺ บินอัซอัด อัล-ยาฟิดีกล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา เป็นคนมีคุณธรรม เป็นผู้ทำอิบาดะฮฺตลอดเวลา

 เป็นคนประเสริฐ เป็นคนสุภาพเรียบร้อย และเป็นผู้มีบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ ท่านคือหนึ่งในบรรดาอิมามทั้งสิบสองอันเป็นมะอฺศูมในความเชื่อของ

พวกอิมามียะฮฺ ท่านได้รับฉายานามว่า “อับดุศศอลิฮฺ” (บ่าวที่มีคุณธรรม)

เพราะการทำอิบาดะฮฺและการอิจญ์ติฮาดของท่าน ท่านเป็นคนโอบอ้อมอารี ท่านเคยได้ข่าวว่า มีคนกล่าวร้ายท่าน ท่านจึงส่งทรัพย์สินไปให้คนนั้น 1,000 ดีนารฺ (22)

 (22) มิรอาตุล-ญินาน เล่ม 1 หน้า 394.

21. ท่านมุฮัมมัด อะมีน อัซ-ซุวัยดี ได้กล่าวว่า:

ท่านคืออิมามผู้มีบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ มีความดีงามอย่างมากมาย

ท่านทำนมาซในยามกลางคืน ถือศีลอดในยามกลางวัน ท่านได้รับฉายานามว่า “กาซิม” เพราะท่านไม่โต้ตอบคนละเมิด ท่านมีความดีเด่นเป็นพิเศษ เกียรติยศของท่านมีมากมาย จนเราไม่อาจกล่าวถึงในที่นี้ให้ครบถ้วนได้(23)

(23) ซะบาอิกุซ-ซะฮับ หน้า 73.

๑๒๗

22. ท่านมะฮฺมูด บินวะฮับ อัล-กอรอฆูลี กล่าวว่า:

เขาคือ มูซา บินญะอฺฟัร บิน มุฮัมมัด บาเก็ร บิน อฺะลี ซัยนุล อฺาบิดีน

 บินฮุเซน บิน อฺะลี บิน อะบีฏอลิบ(ขอให้อัลลอฮฺทรงประทานความยินดีแก่พวกท่านทุกคน) สมญาของท่านคือ “อะบุลฮะซัน” ท่านมีฉายานามทั้ง 4 ว่า กาซิม, ศอบิร, ศอลิฮฺ, อามีน แต่ชื่อที่หนึ่งนั้นเลื่องลือที่สุด

 ท่านมีบุคลิกลักษณะสมส่วน เป็นทายาทของผู้เป็นบิดา ในด้านความรู้ความเข้าใจศาสนาอย่างถ่องแท้ มีความสมบูรณ์พร้อมและมีเกียรติ ท่านได้รับฉายานามว่า “กาซิม” เพราะท่านมีความอดกลั้น และมีความสุภาพอ่อนโยนเป็นที่รู้กันในหมู่ชาวอิรัคว่า ท่านเป็นประตูแห่งการขอสิ่งที่ต้องการจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านคือคนที่ทำอิบาดะฮฺมากที่สุดในหมู่ชนสมัยนั้น เป็นคนมีความรู้สูงที่สุดและเรียบร้อยที่สุด (24)

(24) เญาฮะร่อตุล-กะลาม หน้า 139.

23. ท่านอฺะลี ญะลาลุล-ฮุซัยนีได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิมเป็นศูนย์รวมแห่งวิชาฟิกฮฺ วิชาการศาสนา พิธีกรรมศาสนา และมีความสุภาพเรียบร้อง อดทนโดยไม่มีใครเกินท่านได้เลย(25)

(25) อัล-ฮุเซน เล่ม 2 หน้า 207.

๑๒๘

24. ท่านมุฮัมมัด อะมีน ฆอลิบุฏ-ฏอวีลกล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม เป็นเชื้อสายของท่านอฺะลี เป็นสุภาพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้มีชื่อเสียงในด้านการสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านทำอิบาดะฮฺมากที่สุด จนกระทั่งบรรดาชาวมุสลิมทั้งหลายให้ชื่อท่านว่า “อัลอับดุศ-ศอลิฮฺ” (บ่าวผู้มีคุณธรรม) ท่านได้รับฉายานามอีกว่า ‘สุภาพบุรุษที่มีคุณธรรม’

ท่านมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับท่านมูซา บุตรของอิมรอน ตามที่ปรากฏชื่อในอัล-กุรอาน ท่านอิมามมูซา อัล-กาซิม เป็นคนมีเกียรติสูงส่งยิ่ง(26)

(26) ตารีคุ้ล-อะละวียีน หน้า 158

25. ท่านยูซุฟ อิสมาอีล อัน-นะบะฮานีได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม เป็นอิมามผู้ยิ่งใหญ่ในบรรดาประมุขของเราในสายอะฮฺลุลบัยตฺ ผู้ทรงเกียรติเป็นหลักชัยของอิสลาม (ขอให้อัลลอฮฺทรงประทานความชื่นชมแก่พวกท่านทุกคน) เราได้รับคุณประโยชน์โดยความจำเริญยิ่งของท่านเหล่านั้น เราขอตายเพื่อความรักพวกท่าน และความรักต่อทวดของพวกท่าน ผู้เป็นศาสดาที่ยิ่งใหญ่(ศ)(27)

(27) ญามิอุกะรอมาติล-เอาลียาอ์ เล่ม 2 หน้า 269.

๑๒๙

26. ดร. ซะกี มุบาร็อก ได้กล่าวว่า :

ท่านมูซา บิน ญะอฺฟัรเป็นประมุขคนหนึ่งในบรรดาประมุขทั้งหลายแห่งตระกูลฮาชิม ท่านเป็นอิมามระดับแนวหน้าในด้านความรู้ทางศาสนา(28)

(28) ชะเราะฮฺ ชะฮฺรุล-อาดาบ เล่ม 1 หน้า 132.

27. ดร. อับดุลญับบารฺได้กล่าวว่า :

ท่านอิมามมูซา กาซิมคือท่านอิมามมูซา บิน ญะอฺฟัร บิน มุฮัมมัด บิน

อฺะลี บิน ฮุเซน บิน อฺะลีบิน อะบีฏอลิบ เป็นคนมีประวัติดีเด่นในด้านความสมถะ นอบน้อมและมีจริยธรรม ท่านได้รับฉายานามว่า “กาซิม” เพราะท่านทำดีตอบแทนคนที่ทำความชั่วให้แก่ท่าน(29)

(29) ฮารูน ร่อชีด เล่ม 1 หน้า 188.

28. ดร. มุฮัมมัด ยูซุฟได้กล่าวว่า :

เราสามารถกล่าวได้ว่า บุคคลแรกที่เขียนวิชาฟิกฮฺคือ อิมามมูซา กาซิม ผู้ซึ่งได้เสียชีวิตในคุก เมื่อปี ฮ.ศ. 183 และที่ท่านเขียนตอบคำถามต่าง ๆ ภายใต้หัวข้อเรื่อง “อัล-ฮะลาล วัล-ฮะรอม” (30)

 (30) อัล-ฟิกฮุล-อิสลามี มัดค่อลุนลิดิรอซะติล-มุอามะลาต หน้า 160.

๑๓๐

บทส่งท้าย

ของอิมามที่ 7

หลายหน้าที่ผ่านไปคือ บทสรุปรวบยอดของอัตชีวประวัติของท่าน

อิมามมูซา อัล-กาซิม(อฺ) คือ การร้อยเรียงอย่างง่ายๆ ถึงส่วนหนึ่งของ

วิทยปัญญาอันสูงเด่น และคำพูดอันล้ำค่าของท่านอิมาม(อฺ)

และในท้ายที่สุดได้มีการยกคำกล่าวสรรเสริญ สดุดีของบรรดาอุละมาอ์และนักปราชญ์ที่มีต่อท่านอิมามผู้ทรงเกียรติ(อฺ) การยอมรับความยิ่งใหญ่ต่อตำแหน่งของท่านอิมาม(อฺ)

การยืนยันถึงเกียรติคุณอันจำรัสของท่านอิมาม(อฺ)ที่ออกมาจากความรู้สึกส่วนลึกของพวกเขา

เป้าหมายของหนังสือเล่มนี้ก็คือ

- ขอให้พวกเราได้เพียรพยายามดำเนินรอยตามวิถีชีวิตซึ่งท่านอิมามผู้บริสุทธิ์ (อฺ) ได้ปูทางไว้

- ขอให้พวกเราได้ยึดเอาวิถีชีวิตของท่าน (อฺ) เป็นแนวทางสำหรับการดำเนินชีวิตที่เป็นรูปธรรมของพวกเราทุกคน

- ขอให้พวกเราได้น้อมรับเอาคำพูดและคำสั่งเสียของท่าน (อฺ) เป็นเหตุผลหลักสำหรับการทำให้ชีวิตของเราสูงเด่นยิ่งขึ้น เป็นแนวประพฤติปฏิบัติของเรา เป็นบันไดสำหรับการไต่ขึ้นสู่ความสูงส่งของเรา

๑๓๑

และสิ่งอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับข้าพเจ้า และท่านที่ไม่ได้มุ่งมาดกล่าวออกมา

“อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเป็นผู้ช่วยเหลือ”

“จงกล่าวเถิด(โอ้มุฮัมมัด) อัลลอฮฺทรงมองเห็นการกระทำของพวกเจ้าทุกคน รอซูลและบรรดามุอ์มิน(ผู้ศรัทธา)ก็มองเห็นเช่นกัน พวกเจ้าจะต้องย้อนกลับไปยังพระผู้ซึ่งรอบรู้ในเรื่องเร้นลับ และประจักษ์พยานทั้งหลาย จนกระทั่งพระองค์ได้ตอบแทนผลแห่งการกระทำที่พวกเจ้าได้ปฏิบัติมา(ไม่ว่าดีหรือเลว”

(อัต-เตาบะฮฺ: 105)

๑๓๒

Table of Contents

สารบัญ

บทนำ.. 2

ชีวประวัติของอิมามมูซา บิน ญะอฺฟัร(อฺ) 5

บทบัญญัติการเป็นค่อลีฟะฮฺของท่านอิมามที่ 7. 9

ข้อบัญญัติที่ 1. 11

ข้อบัญญัติที่ 2. 12

ข้อบัญญัติที่ 3. 12

ข้อบัญญัติที่ 4. 13

ข้อบัญญัติที่ 5. 13

อิบาดะฮฺ :รูปจำลองแห่งการภักดีของอิมามกาซิม(อฺ) 14

วิถีชีวิต :อันควรสรรเสริญของอิมามที่ 7. 21

คุณธรรมต่อผู้ยากไร้ของอิมามมูซา กาซิม(อฺ) 28

มรดกอิสลามอันอมตะจากคำสั่งเสียของอิมามที่ 7. 33

คำสั่งเสียที่ 1ต่อบุตรของอิมามที่ 7. 33

คำสั่งเสียที่ 2 ต่อบรรดาชีอะฮฺของอิมามที่ 7. 34

คำสั่งเสียที่ 3 ต่อบรรดาชีอะฮฺของอิมามที่ 7. 35

คำสั่งเสียที่ 4 ต่อบรรดาชีอะฮฺของอิมามที่ 7. 35

คำสั่งเสียที่ 5ต่อฮิชาม บินฮะกัม (ร.ฎ.) ของอิมามที่ 7. 36

สาส์นของอิมามมูซา กาซิม(อฺ) 57

บทเรียนอันสูงค่า 57

สาส์นฉบับที่ 1. 57

สาส์นฉบับที่ 2. 58

สาส์นฉบับที่ 3. 58

สาส์นฉบับที่ 4. 60

สุภาษิต : 61

คำสอนแห่งจริยธรรมของอิมามกาซิม(อฺ) 61

สุภาษิตที่ 1. 62

สุภาษิตที่ 2. 62

สุภาษิตที่ 3. 62

สุภาษิตที่ 4. 63

สุภาษิตที่ 5. 63

สุภาษิตที่ 6. 63

สุภาษิตที่ 7. 64

สุภาษิตที่ 8. 64

สุภาษิตที่ 9. 64

สุภาษิตที่ 10. 65

สุภาษิตที่ 11. 65

สุภาษิตที่ 12. 65

สุภาษิตที่ 13. 65

สุภาษิตที่ 14. 66

สุภาษิตที่ 15. 66

สุภาษิตที่ 16. 66

สุภาษิตที่ 17. 66

สุภาษิตที่ 18. 67

สุภาษิตที่ 19. 67

สุภาษิตที่ 20. 67

สุภาษิตที่ 21. 67

สุภาษิตที่ 22. 67

สุภาษิตที่ 23. 68

สุภาษิตที่ 24. 68

สุภาษิตที่ 25. 68

ถาม~ตอบของอิมามที่ 7. 69

ถาม~ตอบ. 69

เรื่องที่ 1. 69

ถาม~ตอบ. 71

เรื่องที่ 2. 71

ถาม~ตอบ. 75

เรื่องที่ 3. 75

ถาม~ตอบ. 77

เรื่องที่ 4. 77

ถาม~ตอบ. 78

เรื่องที่ 5. 78

ถาม~ตอบ. 78

เรื่องที่ 6. 78

ถาม~ตอบ. 79

เรื่องที่ 7. 79

ถาม~ตอบ. 80

เรื่องที่ 8. 80

ถาม~ตอบ. 81

เรื่องที่ 9. 81

ถาม~ตอบ. 83

เรื่องที่ 10. 83

ถาม~ตอบ. 89

เรื่องที่ 11. 89

ถาม~ตอบ. 90

เรื่องที่ 12. 90

ถาม~ตอบ. 92

เรื่องที่ 13. 92

ถาม~ตอบ. 97

เรื่องที่ 14. 97

ถาม~ตอบ. 99

เรื่องที่ 15. 99

ความดีงามพิเศษ : 101

บทขอพรของอิมามมูซา กาซิม(อฺ) 101

การขอพึ่งพิง และตัดขาด(จากทุกสิ่งทุกอย่าง) เพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) 101

ดุอาอ์. 102

บทที่ 1. 102

เป็นบทดุอาอ์บทหนึ่งของอิมามที่ 7. 102

ดุอาอ์. 105

บทที่ 2. 105

เป็นดุอาอ์ของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)หลังนมาซซุฮฺริ. 105

ดุอฺาอ์. 107

บทที่ 3. 107

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของอิมามมูซา(อฺ) 107

ดุอฺาอ์. 108

บทที่ 4. 108

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) 108

การตอบสนองต่อบทดุอฺาอ์ของท่านอิมามที่ 7. 109

คำสดุดี จากบรรดานักปราชญ์ต่ออิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ) 116

บทส่งท้าย. 131

ของอิมามที่ 7. 131

๑๓๓