ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม0%

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 133

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 133
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 60443
ดาวน์โหลด: 4735

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 133 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 60443 / ดาวน์โหลด: 4735
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

พระองค์ทรงมีโองการอีกว่า :

“จงรู้ไว้ว่า แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงทำให้แผ่นดินมีชีวิต หลังจากที่มันได้ตายไปแล้ว แน่นอนยิ่งเราได้สาธยายแก่สูเจ้าซึ่งโองการต่าง ๆ เพื่อสูเจ้าจักได้ใช้สติปัญญา”(อัล-ฮะดีด : 17)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“และสวนต่าง ๆ นั้นมีทั้งองุ่น พืชพันธุ์ต่างๆ อินทผลัม อีกทั้งพืชที่มีหน่อ และไม่มีหน่อ พระองค์ทรงให้มันรับน้ำฝนชนิดเดียวกันและทรงให้คุณประโยชน์ในการรับประทานแก่บางอย่างมากกว่า อีกบางอย่าง แท้จริงในเรื่องนี้เป็นสัญญาณสำหรับปวงชนที่ใช้สติปัญญา”(อัร-เราะอฺด์ : 4)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“และส่วนหนึ่งในสัญญาณของพระองค์นั้นได้แก่สายฟ้าแลบที่ทำให้สูเข้าเห็น มีทั้งความน่ากลัวและมีทั้งความปรารถนา และพระองค์ทรงประทานน้ำฝนลงมาจากฟากฟ้า แล้วพระองค์ได้ทรงทำให้แผ่นดินมีชีวิตขึ้นมา หลังจากที่มันได้ตายไปแล้ว แท้จริงในเรื่องเหล่านี้เป็นสัญญาณ

สำหรับบรรดาผู้ที่ใช้สติปัญญา”(อัร-รูม : 24)

๔๑

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“จงกล่าว มานี่เถิดท่านทั้งหลาย ฉันได้ถูกบัญชาให้แจ้งถึงสิ่งที่พระผู้อภิบาลของพวกท่านทรงห้ามพวกท่านไว้ อันได้แก่ พวกท่านจะต้องไม่ยกสิ่งใด ๆ ขึ้นเป็นภาคีกับพระองค์ และกับบิดา มารดานั้นต้องทำความดี และจงอย่านำลูก ๆ ของพวกท่านเพราะกลัวความยากจน เราได้ประทานเครื่องยังชีพให้แก่สูเจ้า และแก่พวกเขาเองและสูเจ้า จงอย่าเข้าใกล้ความชั่วร้ายทั้งโดยเปิดเผยและโดยซ่อนเร้น และจงอย่าฆ่าชีวิตใดชีวิตหนึ่งที่อัลลอฮฺทรงหวงห้ามไว้ นอกจากด้วยความชอบธรรมนี่คือสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งเสียแก่พวกท่าน เพื่อพวกท่านจะได้ใช้สติปัญญา”

(อัล-อันอาม: 151)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“สำหรับสูเจ้านั้น มีบุคคลที่อยู่ในการปกครองของสูเจ้ามิใช่หรือ อันเป็นผู้มีส่วนร่วมในการที่เราได้ประทานเครื่องยังชีพให้แก่สูเจ้า ดังนั้นสูเจ้าทั้งหลายจึงเสมอภาคกันในเรื่องนี้ สูเจ้ายำเกรงพวกเขา เช่นเดียวกับที่สูเจ้ายำเกรงเพื่อตัวของสูเจ้าเอง ดังนี้แหละที่เราได้อธิบายสัญญาณต่าง ๆอย่างละเอียดสำหรับพวกที่ใช้สติปัญญา”(อัร-รูม : 28)

ฮิชามเอ๋ย หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงแนะนำผู้มีสติปัญญา และทรงสอนให้เขาเหล่านั้นมีความปรารถนาในปรโลก

๔๒

ดังที่พระองค์ตรัสว่า :

“ชีวิตในโลกนี้มิใช่อื่นใด นอกจากเป็นเพียงการละเล่น และความเพลิดเพลินเท่านั้น แต่สำหรับปรโลกย่อมประเสริฐยิ่งนักสำหรับพวกที่ยำเกรงแล้วสูเจ้าไม่ใช้สติปัญญาอีกหรือ”

(อัล-อันอาม: 32)

ฮิชามเอ๋ย ต่อจากนั้นพระองค์ยังได้กำชับให้พวกที่ไม่ใช้สติปัญญาได้เกรงกลัวถึงการลงโทษของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

โดยพระองค์ได้ตรัสว่า :

“ต่อจากนั้น เราได้ทำลายคนกลุ่มหนึ่ง และแท้จริงสูเจ้าทั้งหลายก็ได้ผ่านไปพบเห็นพวกเขาทั้งในยามเช้าและในยามค่ำคืน สูเจ้าจะไม่ใช้สติปัญญาอีกหรือ”(อัล-ศอฟฟาต : 136-138)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“แท้จริง เราได้บันดาลให้การลงโทษลงมาจากฟากฟ้ามายังชาวเมืองเหล่านี้ด้วยเหตุที่ว่าพวกเขาละเมิด และแท้จริงเราได้ละทิ้งสัญญาณอันหนึ่งอย่างชัดเจนยิ่งไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อพวกเขาจะได้ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ”

(อัล-อันกะบูต: 34-35)

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงสติปัญญานั้นย่อมอยู่กับความรู้

ดังที่พระองค์ตรัสว่า :

“และบรรดาอุทาหรณ์เหล่านั้น เราได้ยกมาเปรียบเทียบไว้เพื่อมวลมนุษย์ แต่ไม่มีผู้ใดใช้สติปัญญานอกจากผู้ที่มีความรู้เท่านั้น”

(อัล-อันกะบูต: 43)

๔๓

ฮิชามเอ๋ย ต่อจากนั้นพระองค์ทรงตำหนิพวกที่ไม่ใช้สติปัญญา

ดังที่พระองค์ตรัสว่า :

“และในเมื่อมีคนกล่าวกับพวกเขาว่า จงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฺทรงประทานมา พวกเขากล่าวว่าหามิได้ เราจะปฏิบัติตามแต่สิ่งที่เราพบมาว่าบรรพบุรุษของเราอยู่กับมันเท่านั้น แล้วถ้าหากว่าบรรพบุรุษของพวกเขาไม่ใช้สติปัญญา และพวกเขามิได้รับทางนำเลยเล่า”

(อัล-บะกอเราะฮฺ: 170)

พระองค์ตรัสว่า :

“และเปรียบพวกปฏิเสธได้เหมือนอย่างกับพวกที่ผงกคอรับ โดยไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย นอกจากการเรียกและการกู่ร้อง เป็นพวกใบ้ หูหนวก และตาบอด กล่าวคือพวกเขาไม่ใช้สติปัญญา”

(อัล-บะกอเราะฮฺ: 171)

พระองค์ตรัสว่า :

“และในหมู่พวกเขาก็มีผู้ที่ยอมรับฟังเจ้า แล้วเจ้าจะทำให้คนหูหนวกรับฟังได้หรือ ถ้าหากพวกเขาไม่ใช้สติปัญญา” (ยูนุซ: 42)

พระองค์ตรัสว่า :

“เจ้าคิดหรือว่า ส่วนมากของพวกเขาจะรับฟังหรือใช้สติปัญญา

 พวกเขามิใช่อื่นใดนอกจากเสมือนสัตว์เดรัจฉาน ยิ่งกว่านั้นยังหลงผิดจากหนทางอย่างยิ่ง”(อัล-ฟุรกอน : 44)

๔๔

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“และสูเจ้าลืมตัวของสูเจ้าเอง ในขณะที่สูเจ้าก็อ่านคัมภีร์และสูเจ้าไม่ได้ใช้สติปัญญาดอกหรือ ?”

(อัล-บะกอเราะฮฺ: 44)

ฮิชามเอ๋ย ต่อจากนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงตำหนิคนส่วนมากดังนี้ :

“ถ้าหากเจ้าปฏิบัติตามคนส่วนมากในแผ่นดิน พวกเขาก็จะทำให้เจ้าหลงออกจากทางของอัลลอฮฺ”

(อัล-อันอาม: 116)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“และแน่นอน ถ้าหากเจ้าถามคนเหล่านั้นว่าใครสร้างฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน พวกเขาจะต้องกล่าวว่า “อัลลอฮฺ” จงกล่าวเถิด มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ แต่ส่วนมากพวกเขาไม่ปฏิบัติตาม(การงานที่ดี)”

(ลุกมาน: 25)

พระองค์ตรัสว่า :

“และแน่นอนยิ่ง ถ้าหากเจ้าได้ถามเขาเหล่านั้นว่าใครคือผู้ประทานน้ำฝนลงมาจากฟากฟ้าแล้ว ได้ทรงทำให้แผ่นดินมีชีวิตขึ้นมาหลังจากที่มันได้ตายไปแล้ว แน่นอนที่สุดพวกเขาจะต้องกล่าวว่า “อัลลอฮฺ”

 จงกล่าวเถิด มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ แต่คนส่วนมากในหมู่พวกเขาไม่ใช้สติปัญญา”(อัล-อันกะบูต : 63)

๔๕

ฮิชามเอ๋ย ต่อจากนั้นพระองค์ได้ทรงยกย่องคนส่วนน้อย

ดังที่พระองค์ตรัสว่า :

“และคนส่วนน้อยในหมู่ปวงบ่าวของฉัน เป็นผู้ที่รู้จักขอบพระคุณอย่างยิ่ง”(ซะบะอ์ : 13)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“และชายผู้ศรัทธาคนหนึ่งจากพวกพ้องของฟิรเอาน์ ซึ่งซ่อนเร้นความศรัทธาของตนเองไว้ได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะสังหารบุคคลหนึ่งเพราะเนื่องจากการที่เขาเพียงแต่กล่าวว่า “พระผู้อภิบาลของฉันคืออัลลอฮฺ” กระนั้นหรือ ?”(ฆอฟิร: 28)

พระองค์ตรัสว่า :

“และไม่มีใครศรัทธาต่อเขา นอกจากเพียงส่วนน้อยเท่านั้น”

(ฮูด: 40)

และตรัสว่า

“แต่คนส่วนมากในหมู่พวกเขาไม่รู้”

(อัล-อันอาม: 37)

และตรัสอีกว่า :

“แต่คนส่วนมากในหมู่พวกเขาไม่ใช้สติปัญญา”

(อัล-มาอิดะฮฺ: 103)

โอ้ ฮิชามเอ๋ย ต่อจากนั้นพระองค์ตรัสถึงบรรดาผู้มีสติปัญญาลุ่มลึกไว้อย่างดียิ่ง และทรงตบแต่งเขาเหล่านั้นด้วยเครื่องประดับที่ดีงาม

๔๖

ดังที่พระองค์ตรัสว่า :

“พระองค์ทรงมอบวิทยปัญญาให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และผู้ใดก็ตามที่พระองค์ทรงมอบวิทยปัญญาให้ ก็เท่ากับผู้นั้นได้รับคุณงามความดีอย่างมากมาย แต่ไม่มีใครคิดใคร่ครวญนอกจากบรรดาผู้มีสติปัญญาอันล้ำเลิศเท่านั้น”(อัล-บะกอเราะฮฺ : 269)

พระองค์ตรัสว่า :

“และบรรดาผู้สันทัดในวิชาการอย่างสูงนั้นกล่าวว่าเราศรัทธาต่อพระองค์ ทุกสิ่งทุกอย่างมาจากพระผู้อภิบาลของเรา และไม่มีใครคิดใคร่ครวญ นอกจากบรรดาผู้มีสติปัญญาอันล้ำเลิศ”

(อาลิอิมรอน: 7)

และพระองค์ตรัสว่า :

“ผู้ที่รู้ว่า สิ่งที่ถูกประทานมายังเจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้านั้นคือสัจธรรม จะเหมือนกันหรือกับคนที่ตาบอด อันที่จริงผู้จะคิดใคร่ครวญได้นั้น

ก็คือผู้มีสติปัญญาอันล้ำเลิศเท่านั้น”

(อัร-เราะอฺด์: 19)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“ผู้มีสมาธิในยามค่ำคืนโดยการซุญูดและยืนนมาซมิใช่หรือ ที่เขาหวั่นเกรงในปรโลก และหวังความเมตตาจากพระผู้อภิบาลของเขา

จงกล่าวเถิดผู้ที่มีความรู้กับผู้ที่ไม่มีความรู้นั้น จะเสมอเหมือนกันได้หรือ?

อันที่จริงแล้วบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นที่จะคิดใคร่ครวญได้”

(อัซ-ซุมัร: 9)

๔๗

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“คัมภีร์อัล-กุรอานที่เราได้ประทานลงมายังเจ้านั้นเป็นสิ่งโปรดปรานให้ความจำเริญ เพื่อเขาเหล่านั้น จักได้ใคร่ครวญต่อโองการทั้งหลายของพระองค์ และเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาอันเลอเลิศจะได้คิดพินิจพิเคราะห์”

(ศ็อด: 29)

พระองค์ตรัสอีกว่า :

“และแน่นอนยิ่ง เราได้ประทานทางนำให้แก่มูซาและเราให้

บะนีอิสรออีลได้รับมรดกแห่งคัมภีร์อันเป็นทางนำและข้อเตือนสติสำหรับผู้มีสติปัญญาอันเลอเลิศ”(ฆอฟิร : 53-57)

และพระองค์ตรัสอีกว่า :

“จงตักเตือน แท้จริงการเตือนสติย่อมมีคุณค่าสำหรับบรรดาผู้มีศรัทธา”

(อัซฺ-ซาริยาต : 55)

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า :

“แท้จริง ในเรื่องนี้ย่อมเป็นข้อเตือนสติสำหรับบุคคลผู้มีหัวใจ”

(ก็อฟ: 37)

“หัวใจ” ในที่นี้ก็คือ “สติปัญญา”

และพระองค์ตรัสอีกว่า :

“โดยแน่นอนยิ่งเราได้ประทานวิทยปัญญาให้แก่ลุกมาน”

(ลุกมาน: 12)

๔๘

อันหมายถึงความเข้าใจและสติปัญญา

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงลุกมานนั้นได้กล่าวแก่บุตรของตนว่า ให้ยอมรับต่อสัจธรรม แล้วจะเป็นคนที่มีปัญญาเลิศที่สุดในหมู่ชน โดยท่านได้กล่าวว่า

“โอ้ลูกเอ๋ย แท้จริงโลกนี้คือทะเลอันล้ำลึก แน่นอนคนที่มีความรู้เป็นอันมากได้จมลงในทะเลแห่งนี้ เพราะฉะนั้นเจ้าจงกำหนดให้ความยำเกรงที่มีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เป็นนาวาสำหรับเจ้า และจงมีความศรัทธาเป็นเครื่องคุ้มกัน อีกทั้งจงมีดวงจิตที่มอบหมายเป็นเครื่องมือในการทำงาน และจงให้สติปัญญาเป็นเครื่องควบคุม และจงให้ความรู้เป็นเครื่องชี้นำ และจงให้ความอดทนเป็นพื้นฐาน”

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงทุกสิ่งทุกอย่างนั้นย่อมขึ้นอยู่กับหลักฐานชี้นำ

ส่วนหลักฐานชี้นำของสติปัญญานั้นได้แก่ การคิดใคร่ครวญ ส่วนหลักฐานชี้นำความคิดใคร่ครวญนั้น ได้แก่ การใช้สติอย่างสุขุม และทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีคู่ประกอบ ส่วนคู่ประกอบของสติปัญญานั้นได้แก่ การถ่อมตนเพียงพอแล้วที่จะกล่าวว่าท่านเป็นผู้โง่เขลา หากท่านได้กระทำสิ่งที่ต้องห้าม

ฮิชามเอ๋ย อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มิได้ส่งศาสนทูตและนบีของพระองค์มายังปวงบ่าวของพระองค์เพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อให้พวกเขาใช้ความคิดในเรื่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ดังนั้นผู้ที่ดีที่สุดที่เหมาะสม

สำหรับการตอบรับดุอฺาอ์ คือ ผู้ที่รู้จักพระองค์ดีที่สุด และผู้มีความรู้ในเรื่องคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ถือเป็นผู้ที่มีสติปัญญาที่ดีเลิศของพวกเขา ผู้มีสติปัญญาที่เพียบพร้อมบริบูรณ์นั้น

๔๙

 พระองค์จะทรงยกย่องให้สูงส่งทั้งในโลกนี้และปรโลก

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมอบข้อพิสูจน์มาให้แก่มนุษย์สองประการ นั้นคือ ข้อพิสูจน์ที่เปิดเผยและข้อพิสูจน์ที่ซ่อนเร้น ข้อพิสูจน์ที่เปิดเผยคือ ‘บรรดาศาสนทูตและนบี’ ส่วนข้อพิสูจน์ที่ซ่อนเร้นคือ “สติปัญญา”

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงผู้มีสติปัญญาที่ไม่ขัดแย้งกับสิ่งอนุมัติ(ฮะลาล)นั้น ย่อมขอบพระคุณต่อพระองค์ และความอดทนของเขาจะไม่พ่ายแพ้ต่อสิ่งต้องห้าม(ฮะรอม)

ฮิชามเอ๋ย ใครก็ตามที่ปล่อยให้ 3 อย่างเอาชนะ 3 อย่างได้ก็เท่ากับเขาช่วยส่งเสริมให้ทำลาย

“สติปัญญา” ของตนเอง นั่นคือ

- คนที่ดับรัศมีแห่งความคิดของตนเองด้วยการตั้งความหวังอันเลือนลาง

- คนที่ลบเลือนวิทยปัญญาของตนเองด้วยคำพูดที่ไร้ประโยชน์

-คนที่ดับรัศมีแห่งความเข้าใจของตนเองด้วยกิเลสฝ่ายต่ำ

 เพราะเปรียบเสมือนว่า เขาช่วยกิเลสฝ่ายต่ำทำลายสติปัญญาของตนเอง

ผู้ใดทำลายสติปัญญาของตนเอง ก็เท่ากับทำลายศาสนาและชีวิตทางโลกของตน

โอ้ ฮิชามเอ๋ย การทำงานของท่านจะใสสะอาดในทัศนะของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้อย่างไร ในเมื่อหัวใจของท่านยังพะวักพะวงอยู่กับคำสั่งของพระผู้อภิบาล(เกิดความไม่แน่ใจ) และท่านยังทำตามอารมณ์ฝ่ายต่ำที่ครอบงำสติปัญญาของท่านอยู่

๕๐

ฮิชามเอ๋ย ความอดทนต่อการอยู่โดดเดี่ยวนั้น คือ เครื่องหมายของสติปัญญาที่มีพลัง ดังนั้นผู้ใดที่ใช้สติปัญญาในเรื่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

 เขาจะปลีกตัวให้พ้นจากชาวโลกและผู้ที่ปรารถนาอย่างดูดดื่มกับชีวิตทางโลกได้แล้ว เขาก็จะมีความปรารถนาในสิ่งที่อยู่ ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.) และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงทำให้เขามีความอบอุ่นใจในยามที่เขาเปล่าเปลี่ยว และทรงอยู่กับเขาในยามที่เขาอยู่ตามลำพัง ทรงให้เขามั่งคั่งในยามที่เขายากจน ทรงให้ความรักแก่เขาในยามที่เขาขาดญาติมิตร

ฮิชามเอ๋ย มวลมนุษย์นั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) เขาไม่สามารถจะปลอดภัยได้ นอกจากอาศัยการปฏิบัติตาม(ฏออัต)และการปฏิบัติตามนั้นย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ และความรู้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการเรียน และการเรียนนั้นย่อมผูกพันอยู่กับ “สติปัญญา” ความรู้จะมีไม่ได้นอกจากอาศัยผู้มีความรู้ในเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า การเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในความรู้ขึ้นอยู่กับ”สติปัญญา”

ฮิชามเอ๋ย การทำงานเพียงน้อยนิดของผู้มีความรู้นั้น ย่อมถูกยอมรับหลายเท่านัก ส่วนการทำงานอย่างมากมายของพวกที่ถือตามอารมณ์และความโง่ย่อมได้รับการปฏิเสธ

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงผู้มีความรู้ย่อมมีความยินดีต่อการจากไปของชีวิตทางโลก ในเมื่ออยู่กับวิทยปัญญา แต่จะไม่พอใจกับการจากไปของวิทยปัญญา ถึงแม้จะมีชีวิตอยู่กับโลก ดังนั้น เพราะเหตุนี้เองการทำงานของพวกเขาจึงได้รับรางวัล

๕๑

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญานั้นย่อมละทิ้งส่วนเกินที่ไม่มีประโยชน์ของโลก แล้วเขาจะมีความบาปได้อย่างไร เขาละทิ้งชีวิตทางโลกในส่วนที่ไร้ประโยชน์ เขาละทิ้งความบาปในส่วนที่เป็นความจำเป็นต่างๆ

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงผู้มีสติปัญญานั้น จะพิจารณาไปยังโลกและชาวโลก เมื่อนั้นเขาจะรู้ว่าจะไม่มีใครเข้าถึงได้ นอกจากอาศัยความยากลำบากเท่านั้น และจะพิจารณาไปยังปรโลก เขาก็จะรู้ว่าไม่มีใครเข้าถึงได้นอกจากอาศัยความยากลำบาก ดังนั้น เขาจึงแสวงหาความยากลำบากเพื่อการดำรงอยู่ในโลกทั้งสอง

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญานั้น มีความมักน้อยในชีวิตทางโลก แต่จะมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในปรโลก เพราะเขาเหล่านั้นรู้ดีว่า โลกนี้เป็นสิ่งที่ต้องการและถูกต้องการส่วนโลกหน้านั้นก็เป็นสิ่งที่ปรารถนาและถูกต้องการด้วย ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่แสวงหาชีวิตในโลกหน้า โลกหน้านั้นก็ต้องการเขา จนกระทั่งเครื่องยังชีพทางโลกของเขาจะเพียงพอครบถ้วน และผู้ใดที่แสวงหาแต่เรื่องของโลกนี้ โลกหน้าก็ต้องการเขาเช่นกัน ครั้นเมื่อความตายมาถึงเขา ชีวิตของเขาก็จะเสียหายลงทั้งหมด ไม่ว่าเรื่องของโลกนี้ หรือโลกหน้า

ฮิชามเอ๋ย บุคคลใดที่ต้องการความมั่งคั่งโดยที่ไม่มีทรัพย์สิน มีจิตใจที่สงบปราศจากความริษยา และมีความสันติสุขอยู่กับศาสนา ก็พึงได้

นอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในเรื่องข้อเรียกร้องของเขา ผู้ใดพอใจในสิ่งที่มีอยู่เขาจะเป็นผู้พอเพียงแล้ว เพราะใครก็ตาม ถ้าหากยังไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ เขาก็มิอาจเข้าถึงความมั่งคั่งได้เลยตลอดกาล

๕๒

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงบอกเล่าเกี่ยวกับประวัติของบรรดาผู้มีคุณธรรมกลุ่ม

หนึ่ง ที่พวกเขากล่าวว่า :

“โอ้พระผู้อภิบาลของเรา โปรดอย่าได้หันเหจิตใจของเรา หลังจากที่ได้ทรงชี้นำให้แก่เรา แล้วและโปรดประทานคลังแห่งความเมตตาของพระองค์ให้แก่เราเถิด แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ให้โดยแท้”

(อาลิอิมรอน: 8)

ทั้งนี้ก็เพราะพวกเขารู้ว่าจิตใจนั้น มันเป็นสิ่งโลเล และพลิกผันไปมาอยู่เสมอเป็นอาจิณที่แท้นั้น คนที่ไม่เกรงกลัวอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และคนที่ไม่ใช้สติปัญญานั้น จิตใจของเขาย่อมจะไม่ตระหนักกับความรู้อันแน่นอน ซึ่งเขามองเห็นอยู่แล้ว และเขาจะไม่พบเลยว่า ในจิตใจของเขานั้น จะมีความรู้อย่างแท้จริงแต่ประการใด จะไม่มีใครเป็นอย่างนี้ได้เลยนอกจากคนที่มีคำพูดและการกระทำที่สอดคล้องกัน ความเป็นอยู่ทั้งโดยลับและเปิดเผยที่ตรงต่อกัน เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้นมิทรงให้หลักฐานเกี่ยวกับความเร้นลับโดยซ่อนเร้นจากสติปัญญา หากแต่เป็นไปตามที่เปิดเผยและที่ได้อธิบายไว้นั่นเอง

ฮิชามเอ๋ย ท่านอฺะลี อะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะไม่ถูกเคารพภักดีด้วยสิ่งใดที่ดีเลิศไปกว่าการใช้สติปัญญา และสติปัญญาของมนุษย์นั้นจะไม่สมบูรณ์จนกว่าในสติปัญญานั้นจะประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ คือ ปลอดภัยจากการตั้งภาคีและการปฏิเสธ มุ่งหวังความชอบธรรมและความดีงาม และทรัพย์สินที่ประเสริฐของเขาอยู่ที่การบริจาค คำพูดที่ประเสริฐของเขาอยู่ที่การยับยั้ง ส่วนได้ของเขาจากโลกนี้คือส่วนที่เสียหายไป

๕๓

 ชีวิตของเขาไม่เคยอิ่มต่อความรู้ ความต่ำต้อยต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เป็นสิ่งที่เขารักยิ่งกว่าการมีเกียรติต่อคนอื่น การถ่อมตัวเป็นสิ่งที่เขาชอบมากกว่าการมีเกียรติ เขาถือว่าความดีเล็กๆ น้อยๆ จากคนอื่นนั้นมากมายเสมอ และถือว่าความดีอันมากมายของตนเองนั้นน้อยเสมอ และเห็นว่ามนุษย์ทุกคนดีกว่าตนเอง ส่วนตนนั้นยังเป็นคนไม่ดีสำหรับคนเหล่านั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ การงานของเขาจะประสบความสำเร็จ”

ฮิชามเอ๋ย แท้จริง ผู้มีสติปัญญานั้น จะไม่โกหก ถึงแม้เขาจะตกอยู่ในอารมณ์ฝ่ายต่ำก็ตาม

ฮิชามเอ๋ย ไม่มีศาสนาสำหรับคนที่ไม่มีมนุษยธรรม และการมีมนุษยธรรมนั้นย่อมไม่มีอะไรกับคนที่ไม่มีสติปัญญา แท้จริง ผู้ที่มีความสามารถอันยิ่งใหญ่นั้น ได้แก่ ผู้ที่มองไม่เห็นว่าโลกนี้จะเป็นอันตรายแก่ตนเองเลย

ฮิชามเอ๋ย ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“แท้จริง เครื่องหมายของคนมี “สติปัญญา” มีสามประการ คือ

1. เมื่อถูกถามก็จะตอบ

2. จะพูดเมื่อคนอื่นไม่มีความสามารถจะพูด

3. จะเสนอความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แก่พรรคพวกของตน

ส่วนคนที่ไม่มีสามประการนี้อยู่ในตัวย่อมเป็นคนโง่เขลา”

๕๔

แท้จริงท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“จะไม่มีใครกล้านั่งแถวหน้าของที่ประชุม นอกจากคนที่มีสามประการนี้อยู่ในตัว หรือมีสักประการหนึ่งก็ยังดี ครั้นถ้าคนที่ไม่มีสักประการหนึ่งอยู่ในตัวเลย แล้วนั่งอยู่แถวหน้าเขาคือคนเขลา”

ท่านฮะซัน บินอฺะลี(อฺ)กล่าวว่า

“เมื่อท่านต้องการขอความช่วยเหลือ ก็จงขอจากคนที่เป็นเจ้าของ

เรื่องนั้นๆ”

มีคนหนึ่งถามว่า

“โอ้ บุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ แล้วใครเล่าคือเจ้าของ

เรื่องนั้นๆ ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“เจ้าของเรื่องนั้นๆ คือ บรรดาผู้ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบอกเล่าไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า :

“อันที่จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาอันลุ่มลึกนั้นจะมีการรำลึกใคร่ครวญได้”

(อัร-เราะอฺด์: 19)

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“พวกเขาคือบรรดาผู้มีสติปัญญา”

๕๕

ท่านอะลี บิน ฮุเซน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“การคบหากับผู้มีคุณธรรมย่อมนำไปสู่การขัดเกลา จริยธรรมของนักปราชญ์ คือการเพิ่มพูนสติปัญญา การเชื่อฟังผู้มีความเที่ยงธรรมย่อมทำให้มีเกียรติคุณสมบูรณ์ ทรัพย์สินจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อการมีมนุษยธรรมเป็นไปอย่างสมบูรณ์ เรื่องร้ายแรงจะหยุดยั้ง เพราะความสมบูรณ์ของสติปัญญา และในนั้นมีความสุขแก่ชีวิตร่างกายทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”

ฮิชามเอ๋ย แท้จริงผู้มีสติปัญญาจะไม่พูดกับคนที่เขากลัวว่า คนผู้นั้นจะว่าเขาโกหก และจะไม่ขอสิ่งใดจากคนที่เขากลัวว่า จะไม่ให้แก่เขา เขาจะไม่คิดถึงในสิ่งที่เขาไม่มีความสามารถ เขาจะไม่มุ่งหวังในสิ่งที่สุดวิสัยซึ่งความสมหวัง และจะไม่เดินหน้าเข้าหาในสิ่งที่เขากลัวว่า มันอาจจากเขาไปด้วยการไร้ความสามารถของตัวเอง”(5)

(5) อุศูลุล-กาฟี เล่ม 1 หน้า 20.

๕๖

สาส์นของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

บทเรียนอันสูงค่า

ชีวิตในทุกๆ ด้านของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)นั้นล้วนเป็นตัวอย่างอันสูงส่งซึ่งเราอาจถือได้ว่า เป็นหลักการแห่งคำสอนของศาสนาอิสลาม ที่เราต้องนำมาเป็นบทเรียนอันอำนวยประโยชน์สุขแก่ชีวิตที่แท้จริงของเรา

ในบทนี้ เราขอเสนอเรื่องราวจากสาส์นบางฉบับของท่านอิมามมูซา

กาซิม(อฺ)ที่ส่งไปยังชีอะฮฺของท่าน(อฺ)และศัตรูของท่าน(อฺ) ซึ่งทุกฉบับนั้นล้วนเป็นบทเรียนและมีคุณค่าอย่างสูง

สาส์นฉบับที่ 1

จากอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

ถึงผู้พิพากษาคนหนึ่ง

เป็นสาส์นของท่านอิมามกาซิม(อฺ)ที่ส่งไปยังผู้พิพากษาคนหนึ่งที่ตัดสินลงโทษชายคนหนึ่ง

ดังมีใจความว่า

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ อัลฮัมดุลิลลาฮฺ, อัมมาบะอฺดุ:

จงรับรู้ไว้ว่า แท้จริงภายใต้บัลลังก์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้นมีร่มเงาหนึ่งซึ่งจะไม่มีผู้ใดพักพิงได้ นอกจากคนที่สนับสนุนพี่น้องของเขาให้ได้รับความดีงาม หรือปกป้องชีวิตหนึ่งให้พ้นจากอันตรายหรือจะต้องนำความปลื้มปิติไปสู่หัวใจของเขา และนี่คือจดหมายจากพี่น้องของท่าน

วัสลาม

๕๗

สาส์นฉบับที่ 2

จากอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

ถึงคอลีฟะฮฺฮารูน ร่อชีด

ข้อความบางตอนจากสาส์นของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ที่ส่งไปยัง

คอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด เพื่อเป็นการตอบจดหมายฉบับหนึ่งที่เขาเขียนส่งไปยังท่าน(อฺ)เพื่อขอร้องให้ท่าน(อฺ)ช่วยแนะนำสั่งสอน

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบเขาว่า

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ, อัมมาบะอฺดุ:

ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านมองเห็นด้วยสายตา ล้วนมีคำแนะนำสั่งสอนในสิ่งนั้นอยู่ทั้งสิ้น

วัสลาม

สาส์นฉบับที่ 3

จากอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

ถึงท่านอฺะลี บินซุวัยดฺ

เป็นสาส์นที่ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)เขียนในคุกเพื่อมอบให้แก่ท่านอฺะลี บินซุวัยดฺ มีใจความว่า

๕๘

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ, อัมมาบะอฺดุ:

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงสุด ผู้ทรงยิ่งใหญ่

ซึ่งโดยเกียรติคุณและรัศมีของพระองค์จึงบันดาลให้หัวใจของศรัทธาชนทั้งหลายมองเห็นเด่นชัด โดยเกียรติคุณและรัศมีของพระองค์จึงทำให้พวกโง่เขลาเป็นศัตรูของพระองค์ โดยเกียรติคุณของพระองค์ จึงทำให้สื่อสัมพันธ์พร้อมกับพิธีกรรมอันแตกต่างมุ่งปรารถนายังพระองค์ ซึ่งบ้างก็มีถูก บ้างก็มีผิด บ้างก็หลงทาง บ้างก็อยู่ในทางนำที่ถูก บ้างก็ได้ยิน บ้างก็ไม่ได้ยิน บ้างก็มองเห็น บ้างมองไม่เห็นและเป็นทุกข์

มวลการสรรเสริญจึงเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ทรงแนะนำรูปลักษณะศาสนาของพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์ ด้วยกับ(ฐานภาพของ)ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) ท่านคือบุคคลหนึ่งที่มาจากวงศ์วานของมุฮัมมัด(ศ)ผู้มีฐานะพิเศษ ซึ่งความรักจักช่วยทำให้ท่านได้พบความถูกต้อง และมองเห็นสัจธรรมในศาสนา

จงเรียกร้องสู่วิถีทางแห่งพระผู้อภิบาลผู้ซึ่งท่านปรารถนาการตอบรับการวิงวอนในเรื่องเกี่ยวกับพวกเราเถิด จงอย่าปิดบังอำนาจด้วยความเห็นแก่ตัว จงสวามิภักดิ์กับวงศ์วานของมุฮัมมัด(ศ) และจงอย่าพูดอะไรพาดพิงถึงพวกเราในลักษณะที่ผิดพลาด ถึงแม้ท่านจะไม่ขัดแย้งกับเราก็ตาม

เพราะท่านไม่รู้ว่า เรามิได้กล่าวอย่างนั้นไม่ว่าในลักษณะใดๆ ก็ตาม จงศรัทธาในสิ่งที่เราบอกท่าน และจงอย่าแคะคุ้ยในสิ่งที่ซ่อนเร้นจากท่าน

๕๙

ฉันขอบอกท่านว่า สิทธิที่สำคัญอย่างหนึ่งของพี่น้องท่าน ได้แก่ การที่ท่านต้องไม่ซ่อนเร้น เขาไม่ว่าเรื่องใดที่มีประโยชน์ต่อเขาทั้งทางโลกและทางปรโลก

วัสลาม(1)

(1) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 17 หน้า 205.

สาส์นฉบับที่ 4

จากอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

ถึงค่อลีฟะฮฺฮารูน ร่อชีด

เป็นสาส์นของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ที่ส่งไปยังค่อลีฟะฮฺฮารูน รอชีด เมื่อครั้งที่ท่าน(อฺ)อยู่ในคุก มีใจความว่า

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ, อัมมาบะอฺดุ:

วันเวลาแห่งการทดสอบจะไม่ผ่านพ้นล่วงเลยไปจากฉัน จนกว่าวันเวลาแห่งความสุขสบาย จะผ่านพ้นล่วงเลยไปจากท่านพร้อมๆ กัน เมื่อนั้นเราจะผ่านพ้นไปพร้อมๆ กันสู่วันๆ หนึ่งที่ไม่มีการตัดสินอันใดจะยังความพ่ายแพ้ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา

วัสลาม(2)

(2) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 227.

๖๐