ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม0%

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 133

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 133
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 60503
ดาวน์โหลด: 4743

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 133 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 60503 / ดาวน์โหลด: 4743
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

สุภาษิต :

คำสอนแห่งจริยธรรมของอิมามกาซิม(อฺ)

คำสอนของบรรดาอิมามอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) อันเป็นบทเรียนชี้นำที่ทรงคุณค่า และเป็นวิทยปัญญาอันสูงส่งนั้นมีดาษดื่นเต็มไปหมดทั้งโลก ซึ่งนับว่าเป็นการให้โอกาสแก่ประชาชาติทั้งหลาย

ในการก้าวไปสู่ความดีงาม และเป็นวิถีทางอันมากมายในการเป็นสื่อนำเพื่อเผยแผ่ศาสนาอิสลาม และเชิดชูหลักการและเรียกร้องเชิญชวนสู่แนวทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)โดยไม่จำกัดเฉพาะเพียงแต่บทเรียน คำเทศนาและคำสั่งเสียต่างๆ เท่านั้น หากแต่ยังมีคำสอนสั้น ๆ ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งในการ

ชี้นำ เนื่องจากมีความหมายอย่างใหญ่หลวงทางด้านความดีงาม และจริยธรรมอันประเสริฐ อีกทั้งเป็นคติเตือนใจอย่างมากมาย ถ้าหากเราจะคิดคำนวณคำสอนสั้น ๆ ของบรรดาอิมาม(อฺ)แต่ละคนมารวมกัน ก็จะกลายเป็นหนังสือเล่มใหญ่อีกต่างหาก และจะกลายเป็นผลงานอันทรงคุณค่าแก่โลกแห่งจริยธรรมคำสอน อันเป็นการปูทางให้เราได้เดินไปอย่างเรียบง่าย

 เราจึงขอสรุปเอาคำสอนบางประการของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)มาบันทึกไว้ ณ ที่นี้

๖๑

สุภาษิตที่ 1

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ฉันได้พบว่า ความรู้ในหมู่ประชาชนมีเพียง 4 ประการ

1. รู้จักพระผู้เป็นเจ้า

2. รู้ว่า อะไรบ้างที่พระองค์ทรงสร้างมาเพื่อท่าน

3. ต้องรู้ว่า พระองค์ทรงต้องการอะไรจากท่าน

4. จะต้องรู้ว่า อะไรที่ทำให้ท่านต้องออกจากแนวทางศาสนา”

สุภาษิตที่ 2

ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ได้กล่าวต่อหน้าสุสานว่า

“แท้จริง สิ่งนี้ ท้ายที่สุดของมันมีค่าอย่างยิ่งย่อมทำให้ตระหนักถึงความสมถะอย่างแท้จริงต่อช่วงแรกของมัน และแท้จริงสิ่งนี้ ช่วงแรกของมันมีค่าอย่างยิ่งที่ทำให้ตระหนักถึงความยำเกรงอย่างแท้จริงต่อท้ายที่สุดของมัน”

สุภาษิตที่ 3

เพื่อนบ้านที่ดีมิใช่เพียงแต่หยุดยั้งการทำอันตราย แต่เพื่อนบ้านที่ดีจะต้องอดทนต่อการที่จะไม่สร้างความเดือดร้อน ทำอันตราย

๖๒

สุภาษิตที่ 4

จงพยายามให้การใช้ชีวิตอยู่ของท่านมีเวลาสำหรับสี่ประการนี้

1. เวลาสำหรับการเข้าเฝ้าอัลลอฮฺ (ซ.บ.)

2. เวลาการประกอบอาชีพ

3. เวลาสำหรับพี่น้อง คนนับถือที่รู้จักพวกท่านทั้งในส่วนดีและส่วนเสีย เพื่อพวกเขาจะได้ซักฟอกพวกท่านให้สะอาด

4. เวลาสำหรับแสวงหาความสุขส่วนตัวในสิ่งที่ไม่เป็นที่ต้องห้าม

สุภาษิตที่ 5

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ได้กล่าวกับท่านอะลี บินยักฏีนว่า

“การกัฟฟาเราะฮฺสำหรับงานในหน้าที่ของผู้ปกครองนั้น ได้แก่การทำความดีต่อพี่น้องทั้งหลาย”

สุภาษิตที่ 6

ในวันกิยามะฮฺจะมีเสียงประกาศว่า

“ผู้ที่มีรางวัลสำหรับตนเอง ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ขอให้ยืนขึ้น จะไม่มีผู้ใดลุกขึ้นยืนเลย นอกจากคนที่มีจิตอภัย และปรับปรุงตนเอง แล้วเขาจะได้รับรางวัล ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)”

๖๓

สุภาษิตที่ 7

จงอย่าเป็นคนคล้อยตามผู้อื่นที่พูดว่า

“ฉันอยู่กับคนส่วนมาก”

แท้จริงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“ความจริงแล้วคนทั้งหมดมีสองฝ่ายเท่านั้น คือ ฝ่ายของคนดีและฝ่ายของคนเลว จงอย่าให้ฝ่ายของคนเลวเป็นที่ชื่นชอบสำหรับท่านมากกว่าฝ่ายของคนดี”

สุภาษิตที่ 8

􀀛 คนใดที่ทำเสมอตัวในสองวัน เขาคือคนถูกหลอก

􀀛 คนใดที่ในช่วงสุดท้ายของสองวัน เป็นเวลาที่เลวสำหรับตน เขาคือ คนถูกสาปแช่ง

􀀛 คนใดที่ไม่รู้จักการเพิ่มพูนขึ้นในตัวเอง เขาคือคนขาดทุน

􀀛 คนใดที่ขาดทุนอย่างนั้นก็เป็นอันว่า

“ตายเสียดีกว่าอยู่”

สุภาษิตที่ 9

เป็นการสมควรสำหรับคนที่คิดใคร่ครวญในเรื่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่เขาจะต้องไม่แชเชือนในการแสวงหาริชกี(ปัจจัยยังชีพ)ของเขา ต้องไม่ระแวงสงสัยพระองค์ในข้อกำหนดทั้งหลายของพระองค์

๖๔

สุภาษิตที่ 10

จงระวังในเรื่องการไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เพราะเท่ากับทำการทรยศต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ถึงสองเท่า

สุภาษิตที่ 11

จงอย่าให้ความเกรงใจระหว่างกันและกันหมดสิ้นไป แต่จงรักษามันไว้ให้คงอยู่ เพราะถ้าหากมันหมดสิ้นไป ก็เท่ากับความละอายต้องหมดสิ้นไปด้วย

สุภาษิตที่ 12

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คือ การมีจริยธรรมที่ดีต่อการเฝ้ามองของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะไม่เหินห่างจากเขา จนกว่าเขาจะเข้าสวนสวรรค์ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) มิได้ตั้งนบีมาเป็นศาสดาเพื่อเหตุอื่นใด นอกจากเพื่อ

ความเอื้ออาทร บิดาของฉันสอนเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และการมีจริยธรรมที่ดีเสมอ จวบจนถึงแก่กรรม

สุภาษิตที่ 13

การให้ความช่วยเหลือแก่คนอ่อนแอ นับเป็นการบริจาค(ศ่อดะเกาะฮฺ)ที่ประเสริฐยิ่งนัก

๖๕

สุภาษิตที่ 14

อย่าถือว่าการทำความดีมาก ๆ นั้น เป็นความดีที่มากแล้ว และจงอย่าถือว่า การทำบาปน้อยนั้น บาปจะน้อยไปด้วย เพราะความน้อยของบาปอาจสะสม จนกระทั่งมากขึ้นได้ และจงยำเกรงในยามที่อยู่โดยลำพัง จนกระทั่งทำให้ตัวของท่านมีความยุติธรรม

สุภาษิตที่ 15

หน้าที่ของพวกท่าน คือ การวิงวอนขอ เพราะการวิงวอนขอนั้นขึ้นต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) และการขอต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) คือการทำให้พ้นจากภัยพิบัติ ครั้นเมื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงได้รับการวิงวอนขอ ภัยพิบัติก็จะหันเหไป

สุภาษิตที่ 16

การกล่าวถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้น เป็นการขอบพระคุณ การไม่ทำอย่างนั้นถือว่าเป็นการปฏิเสธ ดังนั้นต้องผูกมัดความโปรดปรานของพระผู้อภิบาลของพวกท่านไว้ด้วยกับการขอบพระคุณและจงนับคำนวณทรัพย์สินของพวกท่านด้วยการจ่ายซะกาต จงผลักดันภัยพิบัติด้วยการขอดุอฺาอ์ เพราะแท้จริงดุอฺาอ์นั้นคือเกราะกำบังภัยอันตราย

สุภาษิตที่ 17

บุคคลใดที่บริภาษในเรื่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เขาจะประสบความหายนะ บุคคลใดแสวงหาตำแหน่งผู้นำ เขาจะประสบความหายนะ และบุคคลใดที่หลงตัวเองก็จะประสบความหายนะเช่นกัน

๖๖

สุภาษิตที่ 18

เสบียงสะสมทางโลกและทางศาสนาต่างก็มีความรุนแรงแข็งขัน สำหรับเสบียงทางโลกนั้น ไม่ว่าเจ้าจะยื่นมือออกไปในยามใด เจ้าจะต้องพบคนเลวล้ำหน้าเจ้าอยู่ก่อนแล้วเสมอ แต่เสบียงในปรโลกนั้น เจ้ามิอาจพบพานความช่วยเหลือจากใครที่จะมาช่วยเหลือเจ้าได้

สุภาษิตที่ 19

ความดีนั้นถูกกักขังอยู่เสมอ ไม่มีอะไรปลดปล่อยมันให้ออกมาได้ นอกจากความช่วยเหลือต่อกันหรือการขอบพระคุณ

สุภาษิตที่ 20

ถ้าหากวาระการสิ้นชีพได้รับการเปิดเผย ความหวังต่างๆ ก็จะชัดเจนขึ้น

สุภาษิตที่ 21

ความจนให้กำเนิดบุคคลใด ความร่ำรวยก็จะทำลายบุคคลนั้น

สุภาษิตที่ 22

บุคคลใดหาทางออกให้กับความทุกข์ยากไม่ได้ ความดีงามใดๆ ก็จะไม่อยู่กับเขา

๖๗

สุภาษิตที่ 23

การด่าทอกันระหว่างคนสองคน มักจะทำให้คนที่อยู่เหนือกว่าลดระดับตัวเองลงไปอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเสมอ

สุภาษิตที่ 24

􀀛 ความรู้ที่จำเป็นที่สุดสำหรับท่าน คือ ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการงานให้แก่ท่าน

􀀛 การทำงานที่จำเป็นแก่ท่าน คือการทำงานที่ท่านเป็นผู้รับผิดชอบ

􀀛 ความรู้ที่จำเป็นแก่ท่าน คือความรู้ที่ช่วยส่งเสริมให้จิตใจของท่านได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น และที่ให้ท่านรู้ว่าอะไรคือความเสียหาย

􀀛 ความรู้ที่จะนำมาซึ่งการลงโทษได้แก่ความรู้ที่เพิ่มพูนความคิดในเรื่องเกี่ยวกับชีวิตทางโลก ดังนั้นจงอย่าสับสนกับความรู้ที่ถึงแม้จะไม่รู้ในความรู้นั้น มันก็ไม่เป็นอันตราย

แต่จงอย่าลืมความรู้ที่ถ้าหากละทิ้งมันเสียแล้ว มันจะเพิ่มพูนความโง่เขลาให้แก่ท่าน

สุภาษิตที่ 25

ภัยพิบัติอันจะประสบแก่คนที่มีความอดทนนั้น มีเพียงครั้งเดียว

ส่วนภัยพิบัติที่จะประสบแก่คนอ่อนแอ มักจะเกิดซ้ำสองเสมอ

สุภาษิตที่ 26

การให้ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ นับเป็นครึ่งหนึ่งของการมีปัญญา

หลากรส

๖๘

ถาม~ตอบของอิมามที่ 7

ในบทนี้ เราจะเสนอเรื่องการตอบคำถามต่าง ๆ ของท่านอิมามมูซา

กาซิม(อฺ) บางประการ

คำถามต่าง ๆ เหล่านี้มีหลายประเภท ซึ่งมีทั้งเรื่องหลักความเชื่อ มีทั้งเรื่องบทบัญญัติกฎหมาย(ฟิกฮฺ)และมีทั้งเรื่องจริยธรรม ขณะเดียวกัน เจ้าของคำถามก็เป็นคนประเภทต่าง ๆ ซึ่งบ้างก็เป็นพวกทรราชย์ บ้างก็เป็นศัตรู บ้างก็เป็นคนโง่เขลา แต่คนทั้งหมดเหล่านั้น ถึงแม้จะแตกต่างกันในด้านความเชื่อถือและทางความคิด ก็ยังให้การยอมรับโดยดุษณีย์ต่อคำตอบของท่าน

อิมามมูซา กาซิม(อฺ)

ดังที่เราจะนำมาเสนอต่อไปนี้

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 1

ท่านอะบูฮะนีฟะฮฺ(อิมามมัซฮับฮะนะฟี)ได้กล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปทำฮัจญ์ในสมัยของท่านอะบูอับดุลลอฮฺ(อฺ) อัศ-ศอดิก ครั้นเมื่อข้าพเจ้าได้เดินทางไปถึงเมืองมะดีนะฮฺ ข้าพเจ้าก็ได้เข้าไปในบ้านของท่าน(อฺ) เมื่อข้าพเจ้านั่งลงในที่รับแขกเพื่อรอการอนุญาตในการเข้าไปหา

ทันใดนั้นมีเด็กชายคนหนึ่งออกมา

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“โอ้เด็กน้อย ในบ้านเมืองของพวกท่านนี้ คนแปลกหน้าจะถ่ายอุจจาระได้ที่ไหน ?”

๖๙

เด็กชายคนนั้นได้นั่งลงแล้วเอนตัวพิงกับฝาผนังพลางกล่าวว่า

“จงระวังอย่าถ่ายในลำธาร ใต้ต้นไม้ที่ให้ผล บริเวณมัสญิดทั้งหลายตามถนนหนทาง ด้านหลังของฝาผนังกำแพง และอย่าหันหน้าหรือหันหลังไปยังทิศกิบละฮฺ แล้วจงถ่ายเมื่อท่านต้องการ”

ข้าพเจ้ารู้สึกแปลกใจที่ได้ยินเด็กพูดออกมาอย่างนี้ จึงถามว่า

“เธอชื่ออะไร ?”

เขาตอบว่า

“มูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด บินอฺะลี บินฮุเซน บินอฺะลี บิน

อะบีฏอลิบ”

ข้าพเจ้าถามอีกว่า

“โอ้ เด็กน้อย ความบาปมาจากไหน ?”

เขาตอบว่า

“แท้จริงความชั่วร้ายต่าง ๆ ย่อมมาจากทางใดทางหนึ่งในสามทาง ดังนี้ อาจมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) แต่แน่นอน มันย่อมไม่มาจากพระองค์ เพราะไม่เป็นการบังควรที่พระผู้เป็นเจ้าจะลงโทษบ่าวของพระองค์ในสิ่งที่เขามิได้กระทำ หรืออาจมาจากพระองค์ และจากบ่าวของพระองค์ด้วย แต่ต้องไม่ใช่อย่างนั้น เพราะไม่บังควรที่ผู้ร่วมหุ้นอันมีพลังเหนือกว่าจะอธรรมต่อคู่ร่วมหุ้นที่อ่อนแอกว่า และอาจมาจากผู้เป็นบ่าวเอง เพราะถ้าหากทรงอภัย เขาก็ให้เกียรตินบนอบต่อการดำรงอยู่ของพระองค์ และถ้าหากทรงลงโทษก็เพราะบ่าวของพระองค์กระทำบาปนั่นเอง”

๗๐

ท่านอะบูฮะนีฟะฮฺได้กล่าวว่า

“ข้าพเจ้าจึงได้อำลาจากไป โดยไม่ต้องพบกับท่านอิมามศอดิก(อฺ)อีก เพราะเพียงพอแล้วกับสิ่งที่ได้ยินได้ฟังในที่นี้”(1)

(1) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 ก็อฟ 3/38.

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 2

ฮารูน รอชีดถามท่านอิมามมูซา อัล-กาซิม(อฺ)ว่า

“ทำไมพวกท่านจึงมีการอ้างถึงสายสัมพันธ์ทางสายเลือดจากท่าน

ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) โดยให้คนทั้งหลายเรียกพวกท่านว่า  

บุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในขณะที่พวกท่านเป็นบุตรของอะลี(อฺ) เพราะความจริงแล้ว คนเราย่อมนับว่าสืบสายเลือดมาจากบิดาของตนเท่านั้น ฟาฏิมะฮฺนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบ ส่วนท่านนบี(ศ)จึงเป็นเพียง “ตา”

ทางฝ่ายมารดาเท่านั้น มิใช่หรือ ?”

ท่าน(อฺ)จึงกล่าวว่า

“โอ้ อะมีรุ้ลมุอ์มินีน ถ้าหากท่านนบี(ศ)ฟื้นชีพขึ้นมา แล้วสู่ขอภรรยาให้แก่ท่าน ท่านจะยอมรับไหม ?”

เขาตอบว่า

“มหาบริสุทธิ์เป็นของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทำไมข้าพเจ้าจะไม่ยอมรับเพราะเรื่องนั้นยิ่งทำให้ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจต่อคนอาหรับและคนอะญัม(คนที่ไม่ใช่อาหรับ)มากขึ้น”

๗๑

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวต่อไปว่า

“แต่ทว่า สำหรับข้าพเจ้าภูมิใจโดยที่ท่านไม่ต้องสู่ขอและจัดแต่งงานให้”

เขาถามว่า

“เพราะเหตุใด”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)ตอบว่า

“เพราะท่าน(ศ)ให้กำเนิดแก่ข้าพเจ้า แต่มิได้ให้กำเนิดแก่ท่าน”

เขากล่าวว่า

“ดีมาก ท่านมูซา แต่ท่านมีเหตุผลอย่างไร ในการที่กล่าวว่า “เราเป็นผู้สืบเชื้อสายของท่านนบี (ศ)” ทั้งๆ ที่ท่านนบี (ศ) นั้นไม่มีบุตรชายสืบสกุล ทั้งนี้เพราะสายสกุล จะสืบได้ก็แต่เพียงกับบุตรที่เป็นชายเท่านั้น หาใช่บุตรที่เป็นหญิงไม่

พวกท่านเป็นบุตรหลานที่สืบมาจากบุตรที่เป็นหญิง ฉะนั้นจึงมิใช่ผู้สืบสายสกุล มิใช่หรือ ?”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ข้าพเจ้าขอถามท่านเกี่ยวกับสิทธิของเครือญาติและสิทธิแห่งสุสาน นอกเสียจากว่าท่านจะไม่ให้อภัยแก่ข้าพเจ้าเนื่องจากคำถามอันนี้?”

 แต่อย่างไรก็ตาม ท่านก็คงจะไม่ยอมรับคำถามอันนี้ใช่ไหม ?”

ฮารูน รอชีดตอบว่า

“หามิได้ ถ้าหากว่าท่านได้แจ้งให้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงหลักฐานของพวกท่านในเรื่องนี้ โอ้บุตรของอฺะลี(อฺ) ท่านมูซาเอ๋ย ความจริงท่านก็คือ ประมุขทางศาสนาสำหรับพวกเขาเหล่านั้น เรื่องนี้เป็นที่ยอมรับของข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าจะไม่ให้อภัยในทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าถามท่าน จนกว่าท่านจะเสนอหลักฐานจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีในเรื่องนี้ต่อข้าพเจ้า”

๗๒

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“จะอนุญาตให้ข้าพเจ้าตอบเลยไหม ?”

ฮารูนกล่าวว่า

“เอาซิ”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ข้าขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกสาปแช่ง ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

“...และส่วนหนึ่งจากเชื้อสายของเขานั้น ได้แก่ ดาวูดและซุลัยมาน และอัยยูบ และยูซุฟ และมูซาและในทำนองนี้เราตอบแทนแก่ผู้ทำความดีอีกทั้งซะกะรียา และอีซา...”

(อัล-อันอาม: 84)

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ใครกันเล่าที่เป็นบิดาของท่านนบีอีซา ?”

ฮารูน ร่อชีดตอบว่า

“ท่านนบีอีซา ไม่มีบิดา”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“อันที่จริงแล้ว พวกเรานับลำดับให้ท่านนบีอีซา(อฺ)ว่าท่านเป็นลูกหลานของบรรดานบีต่างๆ จากสายสกุลของมัรยัม(อฺ) ทำนองเดียวกัน พวกเราก็สืบต่อการเป็นเชื้อสายของนบี(ศ)จากสายสกุลด้านท่านหญิง

ฟาฏิมะฮฺ(อฺ) จะให้บอกหลักฐานเพิ่มเติมอีกไหม ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน ?”

ฮารูนกล่าวว่า

“เอาซิ”

๗๓

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มีโองการว่า :

“ดังนั้นถ้าใครโต้แย้งเจ้าในเรื่องนั้น หลังจากที่ความรู้มีมายังเจ้าแล้ว ก็จงกล่าวเถิดว่า มาซิท่านทั้งหลาย เราจะเรียกลูกๆ ของเราและลูกๆ ของพวกท่านและเรียกสตรีของเรา และสตรีของพวกท่าน และตัวของเราและตัวของพวกท่าน ต่อจากนั้น เรามาสาบานกัน โดยที่เราขอให้การสาปแช่งของ

อัลลอฮฺมีแก่ผู้ปฏิเสธ”

(อาลิอิมรอน: 61)

“ในครั้งนั้น ท่านนบี(ศ)ไม่ได้เรียกใครแม้สักคนเดียวให้เข้าไปอยู่ใต้ผ้ากิซาอ์ร่วมกับท่าน(ศ) และเมื่อตอนทำการสาบานกับพวกนะศอรอนอกจากท่านอฺะลี บิน อะบีฏอลิบ (อฺ) ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อฺ) ท่านฮะซัน (อฺ) และท่านฮุเซน (อฺ) แล้วไม่มีใครอื่นอีก

จึงแปลความหมายโองการของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ว่า

“ลูกๆ ของเรา” ได้ว่าหมายถึง ‘ท่านฮะซันและท่านฮุเซน”

ส่วน “สตรีของเรา”  หมายถึง “ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ”

และ “ตัวของเรา” หมายถึง “ท่านอิมามอฺะลี บินอะบีฏอลิบ”นั่นเอง” (2)

(2) เล่มเดียวกัน หน้า 49.

๗๔

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 3

ท่านรอฮิบได้ถามท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ว่า

“รากของต้นฏูบาเป็นอย่างไรในสายตระกูลของอีซา ? เมื่อพวกท่านอยู่ในสายตระกูลของมุฮัมมัด แล้วแตกกิ่งก้านสาขาออกไปทุกสาย”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)ตอบว่า

“ดวงอาทิตย์นั้น แสงของมันสาดไปถึงที่ต่างๆ ทุกแห่งหน และทุกพื้นที่ทั้งๆ ที่มันอยู่ในชั้นฟ้า”

เขากล่าวว่า

“แต่ในสวนสวรรค์นั้น อาหารมิได้บกพร่องด้วยการกินเลยจริงไหม?”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)ตอบว่า

 “แสงสว่างในโลกนี้ไม่สามารถทำให้อะไรในสวรรค์บกพร่องไปได้เลย”

เขากล่าวว่า

“ในสวนสวรรค์มีร่มเงาที่ทอดยาวอยู่เป็นนิจใช่หรือไม่ ?”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ช่วงเวลาก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ทุกสิ่งจะเป็นเงาทอดยาว

๗๕

พระองค์ตรัสว่า :

“เจ้าไม่เห็นดอกหรือว่า พระผู้อภิบาลของเจ้าได้ทรงทอดร่มเงาให้ยาวออกไปอย่างไร”

(อัล-ฟุรกอน: 45)

เขาถามอีกว่า

“แล้วจริงหรือที่ว่า การกิน การดื่มในสวนสวรรค์นั้นจะไม่ทำให้ขับถ่ายและไม่ปัสสาวะ ?”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ก็เหมือนทารกที่อยู่ในครรภ์นั่นเอง ?”

เขาถามอีกว่า

“จริงหรือที่ว่า ชาวสวรรค์ จะมีคนรับใช้ที่คอยบริการตามความประสงค์โดยมิต้องสั่งงาน”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“เมื่อเวลาที่คนเราต้องการสิ่งใด อวัยวะในร่างกายจะรับรู้สิ่งนั้นและจะทำให้ตามความประสงค์ โดยที่เจ้าของไม่ต้องออกคำสั่ง ?”

เขาถามอีกว่า

“กุญแจสวรรค์ทำด้วยทองคำหรือทำด้วยเงิน ?”

๗๖

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“กุญแจสวรรค์อยู่ที่วาจาของคนเรา ที่กล่าวว่า “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ”(ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺ)”

รอฮิบกล่าวว่า

“จริงของท่าน”

แล้วเขาก็เข้ารับอิสลาม เข้าร่วมกับอิมามมูซา(อฺ)(3)

(3) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 374.

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 4

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) ถูกถามถึงเรื่อง ‘ความยะกีน’

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ความยะกีน หมายถึงการยอมมอบหมายตนเองยังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) การสวามิภักดิ์ต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) การพึงพอใจในการกำหนด (ก่อฎอ) ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และถือว่าอำนาจทั้งมวลขึ้นอยู่ ณ อัลลอฮฺ (ซ.บ.)” (4)

(4) ตะฮัฟฟุล-อุกูล หน้า 301.

๗๗

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 5

ท่านอิมามมูซา(อฺ)ถูกถามเกี่ยวกับความหมายของ “อัลลอฮฺ”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ผู้ทรงควบคุมบริหารกิจการทั้งเล็กที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุด”(5)

 (5) อุศูลุล-กาฟี เล่ม 1 หน้า 115.

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 6

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องของชายคนหนึ่งที่กล่าวว่า

“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า

“ฉันจะบริจาคด้วยทรัพย์สินอย่างมากมาย”

ว่าเขาควรจะบริจาคอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ถ้าคนสาบานเป็นเจ้าของฝูงแกะ เขาจะต้องบริจาคแกะ 84 ตัว ถ้าเป็นผู้ครอบครองเงินดิรฮัม เขาจะต้องบริจาค 84 ดิรฮัม หลักฐานในเรื่องนี้อยู่ที่โองการหนึ่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ว่า:

“และแน่นอนที่สุด อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงให้ความช่วยเหลือต่อสูเจ้าที่อยู่ตามบ้านเมืองอันมากมาย”

(อัต-เตาบะฮฺ: 25)

๗๘

กล่าวคือ จำนวนบ้านเมืองในเขตของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ก่อนที่โองการนี้จะถูกประทานลงมานั้นมี 84 แห่ง (6)

(6) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 353

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 7

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ถูกถามเกี่ยวกับ ‘การที่ชายคนหนึ่งขุดสุสานของผู้ตาย และตัดคอของผู้ตาย แล้วเอาผ้ากะฝั่นที่ห่อไปว่าจะมีการตัดสินอย่างไร?”

.

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ต้องตัดมือเยี่ยงคนลักขโมย เพราะเขาลักผ้ากะฝั่น และต้องปรับเงิน 100 ดีนารฺ เพราะตัดศีรษะคนตาย เพราะเราต้องถือว่า คนตายอยู่ในฐานะเสมือนทารกในครรภ์มารดาที่ยังไม่ได้เป่าวิญญาณ” (7)

(7) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 253.

๗๙

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 8

ท่านอะบูอะฮฺมัดแห่งคุรอซานได้ถามท่าน(อฺ)ว่า

“การเป็นกุฟรฺ(ผู้ปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้า)กับการตั้งภาคี(ชิริกฺ)นั้นอันไหนมาก่อนกัน”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านมีอะไรกับปัญหานี้หรือ ข้าพเจ้าเคยสัญญากับท่านไว้อย่างไรบ้างในเรื่องการสนทนากับผู้คนทั้งหลาย ?”

ท่านอะบูอะฮฺมัดกล่าวว่า

“ท่านฮิชาม บินฮะกัม สั่งข้าพเจ้าให้ถามท่าน”

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ตอบว่า

“การที่กุฟรฺคือสิ่งที่มาก่อน กุฟรฺคนแรกได้แก่อิบลิส

(ดังกุรอานกล่าวว่า)

 “เขาดื้อรั้นและเย่อหยิ่ง และเป็นหนึ่งในมวลผู้ปฏิเสธ”

(อัล-บะกอเราะฮฺ: 34)(8)

(8) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 17 หน้า 203.

๘๐