ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม0%

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 133

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 133
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 60499
ดาวน์โหลด: 4743

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 133 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 60499 / ดาวน์โหลด: 4743
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ชีวประวัติอิมามมูซา อัลกาซิม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 9

ชาวคริสเตียนคนหนึ่งเดินทางมาเข้าพบค่อลีฟะฮฺร่อชีด เขามีชื่อว่า นะฟีอฺเป็นคนเฉลียวฉลาด วันนั้นเขาปรากฏตัวที่หน้าประตูวังของ “อัร-รอชิด” และมีผู้ติดตามเขาคือ อับดุลอะซีซ บินอุมัร บินอับดุลอะซีซก็เข้ามาพบด้วย ส่วนท่านอิมามมูซา บิน ญะอฺฟัร(อฺ)ก็ได้เดินทางเข้ามาพร้อมกับลาตัวหนึ่ง คนเฝ้าประตูให้การต้อนรับอย่างดี และให้เกียรติกว่าคนอื่นๆ ในที่นั้น พร้อมกับอนุญาตให้ท่าน(อฺ)เข้ามาอย่างรวดเร็ว

นะฟีอฺได้ถามอับดุลอะซีซว่า

“ชายผู้นี้เป็นใคร ?”

อับดุลอะซีซตอบว่า

“ท่านยังไม่รู้จักเขาอีกหรือ? ชายคนนี้คือผู้อาวุโสของตระกูลอะบูฏอลิบ นี่แหละคือท่านมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)”

นะฟีอฺกล่าวว่า

“ข้าพเจ้าแปลกใจกับคนเหล่านี้เป็นอันมาก ที่ให้เกียรติกับคนๆ นี้อย่างลึกซึ้งถึงขนาดถ้าเขาจะให้คนเหล่านี้นอนราบไปบนเตียง เขาก็ทำได้ แต่คอยดูเถอะ ถ้าเขาออกมาเมื่อไหร่ฉันจะสบประมาทเขาให้ดู”

อับดุลอะซีซกล่าวกับเขาว่า

 “ท่านอย่าทำเช่นนั้นเลย เพราะบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺนั้น เมื่อมีใครระรานพวกเขาด้วยถ้อยคำใดๆ พวกเขาจะฝากความต่ำต้อยตลอดกาลไว้กับคนๆ นั้น”

๘๑

เมื่อท่านมูซา(อฺ)ออกมา นะฟีอฺถือโอกาสเข้าไปดึงเชือกลาของท่าน(อฺ) แล้วกล่าวว่า

“เจ้าเป็นใคร ?”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“นี่เจ้า...ถ้าหากว่าเจ้าต้องการจะรู้ถึงเชื้อสาย ฉันจะบอกให้รู้ว่า ฉันคือบุตรของมุฮัมมัด ฮะบีบุลลอฮฺ(ผู้เป็นที่รักของอัลลอฮฺ) บุตรของอิสมาอีล

ซะบีฮุลลอฮฺ(ผู้ถูกเชือดโดยคำสั่งของอัลลอฮฺ)บุตรของอิบรอฮีม คอลีลุลลอฮฺ(ผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ) ถ้าท่านต้องการจะรู้ถึงบ้านเกิดเมืองนอน ฉันก็จะบอกว่า มันเป็นเมืองที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบัญญัติไว้ให้แก่เจ้า(ถ้าหากท่านเป็นมุสลิม) และบรรดามุสลิมไปทำฮัจญ์ที่นั่น ถ้าเจ้าต้องการจะรู้ถึงความภาคภูมิใจ

ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ว่า มุชริก(ผู้ตั้งภาคี)ของกลุ่มชนของฉัน มุสลิมของกลุ่มชนของเจ้าจะไม่รู้สึกเพียงพอเลย จนกว่าเขากล่าวว่า :

โอ้ มุฮัมมัด จงออกมาเพื่อพวกเรา เราก็จะรู้สึกเพียงพอแล้วจากพวกกุเรช

...จงถอยออกไปให้ห่างจากลาเถิด”

ว่าแล้วชาวคริสเตียนคนนั้นก็ถอยออกห่าง ด้วยอาการตื่นตกใจ แล้วผละจากไปอย่างคนแพ้พ่าย

อัลดุลอะซีซกล่าวกับเขาว่า

“ฉันบอกท่านแล้วมิใช่หรือ ?”(9)

(9) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 17 หน้า 206.

๘๒

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 10

ท่านฟัฏลฺ บินร่อบีอฺได้กล่าวว่า : ครั้งหนึ่งฮารูน รอชีดได้เข้าไปทำฮัจญ์ โดยเริ่มต้นด้วยการฏอวาฟ โดยที่คนทั่วไปถูกสั่งห้ามในเวลาช่วงนั้น เพราะเขาต้องการจะทำคนเดียว ในขณะที่เขาทำอย่างนั้นอยู่ ก็มีชาวอาหรับคนหนึ่งรีบเร่งออกมายังบัยตุลลอฮฺ ทำการฏอวาฟพร้อมกับเขา

ยามได้เข้าไปกล่าวกับเขาว่า

“นี่เจ้าจงถอยออกไปให้พ้นจากท่านคอลีฟะฮฺก่อนเถิด”

ชาวอาหรับผู้นั้นแสดงอาการไม่พอใจ พร้อมกับกล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงให้สิทธิเสมอภาคแก่มวลมนุษย์ในสถานที่แห่งนั้น โดยทรงมีโองการว่า :

“ทั้งผู้ที่อยู่ในเขตและนอกเขตล้วนเสมอเหมือนกันในสถานที่นี้”

(อัล-ฮัจญ์: 25)

ฮารูนสั่งให้ยามระงับการสกัดกั้นเขา ดังนั้นเมื่อรอชีดเวียนฏอวาฟ

ชาวอาหรับผู้นั้นก็ฏอวาฟนำหน้าเขาไปทุกรอบจนเมื่อไปถึงหินดำ

เขารุดหน้าออกไปเพื่อจะจูบ แต่ชาวอาหรับผู้นั้นก็แย่งเข้าทำการจูบก่อน ต่อมารอชีดหันไปที่อัล-มะกอมเพื่อทำนมาซ ชาวอาหรับคนนั้นก็นมาซ

เบื้องหน้าเขา ครั้นเมื่อฮารูน รอชีดเสร็จจากการนมาซเขาได้ให้คนไปเรียกชาวอาหรับผู้นั้นมา

๘๓

ยามกล่าวกับชาวอาหรับผู้นั้นว่า

“จงตอบรับท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน”

ชายคนนั้นตอบว่า

“ถ้าฉันมีธุระกับเขา ฉันจะไปหาเขาเอง แต่ถ้าเขามีธุระกับฉัน เขาต้องมาหาฉัน”

ยามกล่าวว่า

“จริงของท่าน”

ครั้นแล้วฮารูนก็เข้าไปหาเขา พลางกล่าวสลาม ฮารูนกล่าวว่า

“โอ้ชายอาหรับเอ๋ย จะให้นั่งด้วยได้ไหม ?”

ชาวอาหรับกล่าวว่า

“จำเป็นอะไรแก่ฉันที่จะต้องขออนุญาตนั่ง เพราะนี่เป็นบ้านของ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ที่ทรงประทานมาให้แก่ปวงบ่างของพระองค์ ถ้าท่านต้องการนั่งก็นั่ง ถ้าท่านต้องการไปก็ไป”

ฮารูนได้นั่งลง แล้วกล่าวว่า

“โอ้ ชายอาหรับเอ๋ย คนอย่างท่านนี้ถือว่าดูหมิ่นราชวงศ์ใช่ไหม ?”

เขาตอบว่า

“ใช่”

ฮารูนกล่าวว่า

“ฉันขอถามท่านสักอย่างหนึ่ง ถ้าตอบไม่ได้ฉันจะให้ท่านเดือดร้อน”

เขากล่าวว่า

“เป็นการถามในฐานะผู้ต้องการรู้หรือว่าแกล้งถาม”

ฮารูนกล่าวว่า

“เป็นการถามในฐานะผู้ต้องการรู้”

๘๔

เขากล่าวว่า

“เชิญนั่งในที่ของผู้ถาม และจงถาม”

ฮารูนกล่าวว่า

“กฎข้อบังคับ(ฟัรฎู)ของท่านมีอะไรบ้าง ?”

เขากล่าวว่า

“แท้จริงกฎข้อบังคับ(ฟัรฎู)ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเมตตาให้แก่ท่านนั้นมี 1 ประการ, 5ประการ, 17 ประการ, 34 ประการ และ 94 ประการ, 153 ประการใน 17 ประการ, ใน 12 ประการมี1 ประการ, ใน 40 มี 1, และใน 200 มี 5, เวลาทั้งหมดมี 1 ประการ และ 1 ประการต่อ 1 ประการ”

ฮารูน รอชีด หัวเราะเยาะพลางกล่าวว่า

“ผิดไปแล้ว ฉันถามท่านเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ(ฟัรฎู)ของท่าน แต่ท่านกลับคำนวณตัวเลขให้ฉันฟัง”

เขากล่าวว่า

“ท่านยังไม่รู้ดอกหรือว่า เรื่องของศาสนาทุกประการย่อมมีการคำนวณ ในเมื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงดำเนินการต่าง ๆ กับมวลมนุษย์ด้วยการคำนวณ”

หลังจากนั้นเขาได้อ่านโองการที่ว่า :

“ถึงแม้มันจะมีน้ำหนักเพียงเมล็ดผักกาด เราก็จะนำมันมาแสดงให้ปรากฏ เพียงพอแก่เราแล้วซึ่งการคำนวณ”

(อัล-อันบิยาอ์: 47)

๘๕

ฮารูนกล่าวว่า

“ดังนั้น จงอธิบายสิ่งที่ท่านพูดมาซิ ไม่เช่นนั้น ฉันจะสั่งฆ่าท่านระหว่างศอฟากับมัรวะฮฺนี่แหละ”

ยามคนนั้นกล่าวว่า

“ขอให้ยกชีวิตเขาไว้เพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เถิด และขอให้เห็นแก่สถานที่มะกอมแห่งนี้”

ชายอาหรับคนนั้นหัวเราะในคำพูดอันนั้น ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“ท่านหัวเราะอะไร หรือคนอาหรับ”

เขากล่าวว่า

“ฉันแปลกใจต่อท่านทั้งสองมาก เพราะไม่รู้ว่า ใครกันแน่ที่โง่กว่ากัน คนหนึ่งขอให้ชะลอความตายในขณะที่วาระสุดท้ายมาถึง ส่วนอีกคนหนึ่งขอให้เอาชีวิตในขณะที่วาระสุดท้ายยังมาไม่ถึง”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“อธิบายสิ่งที่ท่านพูดซิ”

เขากล่าวว่า

“ที่ฉันพูดว่า กฎข้อบังคับมี 1 ประการนั้นคือ “ศาสนาอิสลาม” ทั้งระบบมีเพียงประการเดียว

และเขาต้องนมาซ 5 เวลา นั่นคือ 17 ร็อกอะฮฺ 34 สุญูด และ 94 ตักบีรฺ และ 153 ตัสบีฮฺ ส่วนที่ฉันกล่าวว่าใน 12 ประการ มี 1 ประการนั้น ได้แก่ การถือศีลอดในเดือนร่อมะฏอน 1 เดือนจากเดือนทั้งหมดที่มี 12 เดือน ที่ฉันกล่าวว่าใน 40 มี 1 นั้นก็คือการที่ใครครอบครองเงินไว้ 40 ดีนารฺ

 อัลลอฮฺ(ซ.บ.) กำหนดให้เขาต้องแจกจ่ายออกไป 1 ดีนารฺ และที่ฉันกล่าวว่า ใน 200 มี 5 นั้น

๘๖

 ได้แก่ ในทรัพย์สินที่ท่านครอบครอง 200 ดิรฮัม อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงมีบทบัญญัติให้จ่าย 5 ดิรฮัม ส่วนที่ว่าเวลาทั้งหมดมี 1 ประการ ได้แก่การทำ “ฮัจญะตุ้ลอิสลาม”(สำหรับผู้ที่มีความสามารถและอยู่ในเงื่อนไขที่ต้องทำฮัจญ์ชั่วชีวิต 1 ครั้ง) และที่ว่า 1 ประการต่อ 1 ประการคือ (ผู้ใดหลั่งเลือดของบุคคลอื่น 1 ชีวิต ไม่เป็นธรรม จำเป็นจะต้องหลั่งเลือดของเขาเช่นกัน

ดังที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสว่า : “ชีวิตต่อชีวิต”

ฮารูนกล่าวขึ้นว่า

“เขาเก่งจริง ๆ มอบเงินให้เขา 1 ถุง”

ชายคนนั้นถามขึ้นว่า

“ฉันสมควรได้รับถุงเงินนั้นจากการพูดหรือคำถาม”

ฮารูนตอบว่า

“จากการพูด”

ชาวอาหรับผู้นั้นกล่าวอีกว่า

“ฉันขอถามท่านสัก 1 คำถาม ถ้าท่านตอบได้ รางวัลจะเป็นของท่านซึ่งท่านจะต้องบริจาคมันไปในสถานที่อันทรงเกียรตินี้ แต่ถ้าท่านตอบไม่ได้ ท่านจะต้องจ่ายรางวัลเพิ่มมาอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งฉันจะจ่ายให้แก่คนยากจนในหมู่ของฉัน”

ฮารูน รอชีดได้สั่งให้นำรางวัลออกมา แล้วกล่าวว่า

“จงถามในสิ่งที่ท่านอยากถาม”

ชายอาหรับผู้นั้นกล่าวว่า

“จงบอกเรื่องแมลงปีกแข็งสีดำว่า มันจะป้อนอาหารหรือให้นมลูกของมันอย่างไร ?”

ฮารูน รอชีดสะดุ้ง พลางกล่าวว่า

“คนอาหรับเอ๋ย ใครเขาถามปัญหาอย่างนี้กันบ้าง ?”

๘๗

ชายอาหรับผู้นั้นกล่าวว่า

“ฉันได้ยินคนที่เคยได้ยินท่านศาสนทูต(ศ)ที่ได้กล่าวว่า

“ใครที่เป็นผู้ปกครองของหมู่ชนใด เขาจะต้องมีสติปัญญาที่เข้ากันได้กับคนหมู่นั้น ท่านเป็นผู้นำในประชาชาตินี้จำเป็นจะต้องไม่ถูกถามปัญหา

ใดๆ เกี่ยวกับศาสนาของท่าน และไม่ต้องถูกถามถึงเรื่องหลักฟัรฎูต่างๆ ด้วย นอกจากต้องคอยเป็นฝ่ายถามอย่างเดียวเท่านั้นหรือ ? แล้วท่านมีคำตอบในเรื่องนี้หรือเปล่า ?”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“ขอให้อัลลอฮ์(ซ.บ.)เมตตาท่านเถิด ข้าพเจ้าตอบไม่ได้ ดังนั้นจงอธิบายสิ่งที่ท่านกล่าวเถิด และจงเอารางวัลไปสองเท่า”

ชายอาหรับผู้นั้นกล่าวว่า

“แท้จริง อัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้น เมื่อพระองค์ทรงสร้างโลก พระองค์ทรงสร้างสัตว์โลกทั้งชนิดที่ไม่มีเลือดและไม่มีมูล พระองค์ทรงสร้างมาจากดิน และทรงบันดาลให้มันมีเครื่องยังชีพและชีวิต

การเป็นอยู่ของมันมาจากดิน เมื่อตัวอ่อนแยกออกมาจากผู้ให้กำเนิดมัน แม่ของมันไม่ได้ป้อนอาหาร และนมใด ๆ การเป็นอยู่ของมันทั้งหมดมาจากดิน”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า ไม่เคยมีใครเคยผ่านการทดสอบกับคำถามอย่างนี้”

๘๘

ชายอาหรับคนนั้นรับเอารางวัลแล้วเดินออกไป คนทั้งหลายเดินตามหลังเขาไปด้วย แล้ว

ถามไถ่ถึงชื่อของเขา ปรากฏว่า ชื่อเขาคือ มูซา บินญะอฺฟัร(อฺ) เมื่อคนมาบอกเช่นนั้นแก่ฮารูน รอชีด

เขาได้กล่าวว่า

“ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า แน่นอนใบไม้นี้สมควรแล้วที่ต้องมาจากต้นไม้ต้นนั้น”(10)

(10) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 275.

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 11

มีชายคนหนึ่งกล่าวถึงเรื่องที่คนกลุ่มหนึ่งแอบอ้างว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะเสด็จลงมาสู่ชั้นฟ้าแห่งโลกดุนยา”

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะไม่เสด็จลงมา เพราะการประจักษ์แจ้งของพระองค์ในสิ่งที่อยู่ใกล้หรือไกลนั้นเท่าเทียมกัน ความไกลมิได้ไกลจากพระองค์เลย และความใกล้มิได้ใกล้ต่อพระองค์เลย

พระองค์ไม่มีความต้องการต่อสิ่งใดทั้งสิ้น แต่ทุกสิ่งต้องการพระองค์ พระองค์ผู้ทรงครอบครองความสมบูรณ์ทั้งมวล ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) พระองค์คือผู้ทรงมีอานุภาพ ทรงมีวิทยปัญญา

๘๙

ส่วนคำกล่าวว่า ของพวกที่พรรณนาถึงคุณลักษณะของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ที่กล่าวว่า “อัลลอฮฺ(ซ.บ.) เสด็จลงมานั้น” จะขอกล่าวว่า

“พระองค์ทรงสูงส่งยิ่งกว่าเรื่องนี้ การกล่าวเช่นนั้น เป็นการลดหย่อนและเป็นการเพิ่มเติมให้แก่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) สิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่ทุกอย่างนั้นย่อมต้องการผู้ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ดังนั้น ผู้ใดสงสัยในเรื่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ด้วยความสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่งเท่ากับเขาเสียหายไปแล้ว

ดังนั้นจะระวังระไวในเรื่องคุณลักษณะของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ต่อการที่กล่าวออกไปในลักษณะที่กำหนดใดๆ ทำให้เกิดความบกพร่อง หรือเกิดการต่อเติม หรือเกิดความเคลื่อนไหว และเสด็จลงมาสถิตย์ หรือประดับยืนอยู่หรือนั่งอยู่เฉยๆ เพราะแท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงยิ่งใหญ่เกินจากการกล่าวถึงคุณลักษณะใดๆ”(11)

(11) อัล-เอียะฮฺติยาจญ์ เล่ม 2 หน้า 156.

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 12

ท่านดาวูด บินก่อบีเศาะฮฺกล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้ยินท่านอิมามริฏอ(อฺ)กล่าวว่า บิดาของข้าพเจ้าถูกถามว่า

“อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงยับยั้งกิจการใดๆ ที่ทรงบัญชาไปแล้วด้วยหรือ? หรือว่าทรงห้ามในกิจการใดๆ ที่ทรงมีความประสงค์ หรือว่าพระองค์ทรงช่วยเหลือใด ๆ ที่พระองค์ไม่ทรงต้องการ ?”

๙๐

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ที่ท่านถามว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงยับยั้งกิจการใดๆ ที่ทรงบัญชาไปแล้วด้วยหรือ ? นั้น ขอตอบว่า จะเป็นอย่างนั้นไปมิได้ เพราะถ้าหากเป็นไปอย่างนั้นก็เท่ากับพระองค์ย่อมจะต้องทรงยับยั้งมิให้อิบลีสกราบนบีอาดัม(อฺ) และถ้าทรงยับยั้งอิบลีซโดยให้มีเหตุอุปสรรคจากพระองค์

พระองค์ก็จะไม่ทรงสาปแช่งอิบลีส ส่วนประเด็นที่ท่านถามว่า พระองค์ทรงห้ามในกิจการใดๆ ที่พระองค์ทรงมีความประสงค์ด้วยหรือ ?”

ก็ขอตอบว่า จะเป็นอย่างนั้นไปมิได้ เพราะถ้าหากเป็นไปอย่างนั้น ก็เท่ากับว่า เมื่อทรงห้ามนบีอาดัม(อฺ)มิให้รับประทานผลไม้นั้นแล้ว พระองค์ทรงมีความประสงค์จะให้เขารับประทานมัน? และถ้าพระองค็ทรงประสงค์ให้นบีอาดัม(อฺ)รับประทานผลไม้นั้นแล้ว พระองค์ก็จะไม่ทรงมีโองการว่า :

“และอาดัมได้ละเมิด ดังนั้นเขาจึงผิดพลาด”

(ฎอฮา: 121)

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า เป็นไปมิได้ที่ว่า พระองค์จะทรงบัญชาสิ่งหนึ่งแต่มีความประสงค์อีกอย่างหนึ่ง

ส่วนประเด็นที่ท่านถามว่า : พระองค์ทรงช่วยเหลือในกิจการที่พระองค์มิทรงปรารถนาด้วยหรือ ?”

ขอตอบว่า จะเป็นอย่างนั้นไปมิได้ และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสูงส่งเกินกว่าการที่จะช่วยเหลือให้เกิดการสังหารบรรดานบีต่างๆ ช่วยเหลือให้มีการปฏิเสธพวกเขาเหล่านั้น และการสังหารอิมามฮุเซนและบุตรหลานจำนวนมากเหล่านั้น จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะทรงช่วยเหลือในสิ่งที่พระองค์ไม่ปรารถนา แน่นอนพระองค์ทรงเตรียมไฟนรกญะฮันนัมไว้สำหรับผู้ฝ่าฝืนและทรงสาปแช่งผู้ที่ปฏิเสธการปฏิบัติตามพระองค์

๙๑

 หากเป็นไปได้ว่าพระองค์ทรงช่วยเหลือในสิ่งที่พระองค์ไม่ทรงปรารถนาก็เท่ากับว่า ทรงให้ความช่วยเหลือฟิรเอาว์นในเรื่องการเป็นผู้ปฏิเสธ และที่เขาอ้างตนว่า เป็นพระผู้เป็นเจ้าในสากลโลก ท่านเห็นด้วยกระนั้นหรือ ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงปรารถนาให้ฟิรเอาว์นอ้างตนเองว่าเป็นพระผู้เป็นเจ้า ? ผู้ใดที่กล่าวอย่างนั้นจะต้องขออภัยโทษ เขาจะต้องขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) เนื่องจากการกล่าวเท็จต่อพระองค์ มิเช่นนั้นเขาจะต้องถูกตัดคอ”(12)

(12) อ้างเล่มเดิม หน้า 158.

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 13

ฮารูน รอชีดถามท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ว่า

“ทำไมพวกท่านจึงมีเกียรติยศยิ่งกว่าเรา ทั้ง ๆ ที่เราและพวกท่านต่างก็มาจากตระกูลเดียวกัน คือลูกหลานของอับดุลมุฏฏอลิบ ทั้งเราและพวกท่านเป็นหนึ่งเดียวกัน พวกเราคือลูกหลานของอับบาส พวกท่านคือลูกหลานของอะบูฏอลิบ คนทั้งสองคือลุงของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ความใกล้ชิดของเขาทั้งสองคนต่อท่านนบี(ศ)มีเท่าเทียมกัน ?”

๙๒

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)กล่าวว่า

“พวกเราใกล้ชิดกว่า”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“ใกล้ชิดกว่าอย่างไร ?”

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)กล่าวว่า

“เพราะอับดุลลอฮฺกับอะบูฏอลิบนั้นร่วมพ่อแม่เดียวกัน

ส่วนอับบาสบรรพบุรุษของพวกท่านมิได้ร่วมมารดาเดียวกับอับดุลลอฮฺและอะบูฏอลิบ”

ฮารูน รอชีดกล่าวอีกว่า

“ทำไมพวกท่านอ้างว่าตนเองเป็นทายาทของท่านนบี(ศ)ทั้งๆ ที่ผู้เป็นลุงย่อมมีสิทธิเหนือผู้เป็นลูกของลุง และท่านศาสนทูต(ศ)นั้นได้เสียชีวิตลงในขณะที่อะบูฏอลิบได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว

ส่วนอับบาสคือลุงที่ยังมีชีวิตอยู่ ?”

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)กล่าวตอบว่า

“ท่านอะมีรุลมุอ์มินีนจะไม่ถามคำถามนี้ได้ไหม แล้วถามเรื่องอื่นก็ได้ทั้งนั้นตามความประสงค์”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“ไม่ ท่านจะตอบหรือไม่ตอบ ?”

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)กล่าวว่า

“ขอท่านรับรองความปลอดภัยแก่ข้าพเจ้าก่อน”

ฮารูน ร่อชีดกล่าวว่า

“ข้าพเจ้ารับรองความปลอดภัยแก่ท่าน ก่อนจะพูดอยู่แล้ว”

๙๓

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)กล่าวว่า

“ในคำสอนของท่านอฺะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ)นั้นมีอยู่ว่าสำหรับบุตรแห่งสายโลหิตไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงย่อมไม่มีส่วนของมรดกให้แก่ใคร นอกจากบิดามารดา สามีและภรรยา และเมื่อมีบุตรแห่งสายโลหิตก็ไม่ต้องแบ่งมรดกใด ๆ ให้แก่ลุง คัมภีร์อันทรงเกียรติและหลักซุนนะฮฺก็มิได้กล่าวว่าอย่างนั้น นอกจากพวกตีมและพวกอะดี กับพวกบะนีอุมัยยะฮฺ เท่านั้นที่กล่าวว่า “ลุงคือบิดา”

ความเห็นของพวกเขาไม่ตรงกับความเป็นจริงและไม่มีแบบอย่างมาจากท่านศาสนทูตแต่อย่างใด

ใครก็ตามที่กล่าวโดยคำสอนของท่านอฺะลี(อฺ) ย่อมเป็นนักปราชญ์ที่มีหลักเกณฑ์ตัดสินที่แตกต่างกับ

หลักเกณฑ์ตัดสินของคนเหล่านั้น ท่านนูฮฺ บินดิรอจญ์เองก็ได้กล่าวในปัญหานี้ด้วยคำสอนของท่านอฺะลี(อฺ) และได้ตัดสินไปอย่างนั้น

 เมื่อท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีนแต่งตั้งเขาให้เป็นผู้ปกครองชาวอียิปต์ ชาวกูฟะฮฺ ชาวบัศเราะฮฺ ท่านก็ดำเนินการตัดสินไปตามหลักการนี้”

ฮารูน รอชีดได้ออกคำสั่งให้นำคนที่สอนแย้งกับคำสอนนี้มาพบ เช่น ท่านซุฟยาน อัษเษารี ท่านอิบรอฮีม อัล-มาซินีและท่านฟาฎีล บินอิยาฎ ซึ่งคนเหล่านั้นยืนยันว่า

“นั่นคือคำสอนของท่านอฺะลี(อฺ)ในเรื่องนี้จริง”

เขาจึงกล่าวกับคนเหล่านั้นว่า

“แล้วทำไมพวกท่านจึงไม่สอนไปตามนั้น ในเมื่อนูฮฺ บินดิรอจญ์ ก็ตัดสินอย่างนั้น ?”

๙๔

พวกเขากล่าวว่า

“เราถูกความจำเป็นบังคับ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีนก็เคยทราบเรื่องนี้จากคำสอนของบรรพชนรุ่นก่อน อันอ้างถึงคำสอนของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ที่ว่า ‘อฺะลีคือผู้ตัดสินที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่าน’

และท่านอุมัร บินค็อฏฏอบเองก็ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า “อฺะลีคือผู้ตัดสินที่ดีที่สุดของเรา” เขาคือคนที่เป็นที่ยอมรับ เพราะเรื่องราวต่างๆ ทั้งหมดที่ท่านนบี(ศ)ได้กล่าวยกย่องสาวกของท่าน(ศ)นั้นมีอยู่ในตัวของท่านอฺะลีทั้งสิ้น เช่น ความเป็นเครือญาติ ความเคร่งครัดต่อบทบัญญัติ ความรู้อันเป็นเรื่องภายในแห่งหลักการตัดสิน”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“พูดต่อไปเถิด ท่านมูซาเอ๋ย”

ท่านอิมามมูซา (อฺ)กล่าวว่า

“ผู้ที่อยู่ในชุมนุมทั้งหลาย โดยเฉพาะฝ่ายของท่านมีความไว้วางใจได้ใช่ไหม ?”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“ไม่เป็นไร”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านนบี(ศ)มิได้มอบมรดกให้แก่ใคร ถ้าไม่อพยพและจะไม่มอบหมายอำนาจให้นอกจากผู้ที่ได้อพยพ”

ฮารูนกล่าวว่า

“ท่านมีหลักฐานอะไร ?”

๙๕

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)กล่าวโองการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า :

“และบรรดาผู้ที่ศรัทธาแต่ไม่อพยพนั้น เจ้าไม่ต้องมอบอำนาจการปกครองใด ๆ แก่พวกเขาจนกว่าพวกเขาจะอพยพ”

(อัล-อันฟาล: 72)

“และอันที่จริงแล้วลุงของฉันคือท่านอับบาส ไม่ได้ทำการฮิจเราะฮฺ(อพยพ)”

ฮารูนถามว่า

“ท่านมูซาเอ๋ย ท่านเคยกล่าวเรื่องนี้กับศัตรูคนใดของเรามาแล้วหรือไม่ หรือว่าเคยบอกพวกนักปราชญ์ฟุก่อฮาอ์ มาบ้างแล้ว ?”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ขอยืนยันต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ว่า ไม่ และยังไม่มีใครถามเรื่องนี้เลย นอกจากอะมีรุ้ลมุอ์มินีน”(13)

(13) อ้างเล่มเดิม หน้า 163.

๙๖

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 14

ท่านอฺะลี บินยักฏีนกล่าวว่า คอลีฟะฮฺมะฮฺดีได้ถามอิมามมูซา กาซิม(อฺ)เกี่ยวกับเรื่องของ “สุราว่ามันเป็นสิ่งต้องห้ามตามคำสั่งในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)หรือเปล่า เพราะคนทั้งหลายรู้แต่เพียงว่า มีการสั่งห้ามเกี่ยวกับเรื่องนั้น แต่ไม่รู้ว่า ต้องห้ามตามศาสนบัญญัติหรือไม่ ?”

ท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)กล่าวว่า

“มันเป็นข้อห้ามตามคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) โอ้ ท่านอะมีรุล มุอ์มินีน”

ค่อลีฟะฮฺมะฮฺดีกล่าวว่า

“โอ้ ท่านอะบุลฮะซัน มันเป็นข้อห้ามตามคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จาก โองการใด ?”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า :

“อันที่จริง พระผู้อภิบาลของฉันทรงห้ามความชั่วทั้งประเภทที่เปิดเผย และประเภทซ่อนเร้นและห้ามความบาป และการละเมิดโดยไม่ชอบธรรม” (อัล-อะอฺรอฟ : 33)

 หมายเหตุ

(จะเห็นได้ว่าท่านอิมามมูซา (อฺ) เรียกฮารูน ร่อชีดว่า “อะมีรุล มุอ์มินีน”

โดยเหตุผลของการตกอยู่ในภาวะจำยอม)

๙๗

สำหรับคำว่า “ประเภทที่เปิดเผยนั้น” ได้แก่ การล่วงประเวณีอย่างเปิดเผยซึ่งเป็นความชั่วที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในหมู่ชนผู้งมงาย

ส่วนคำว่า ‘ประเภทที่ซ่อนเร้น’ หมายถึง เรื่องของสตรีที่บิดาได้แต่งงานด้วยแล้ว เพราะคนในสมัยก่อนที่จะมีการแต่งตั้งนบี (ศ) นั้น ถ้าใครมีภรรยา แล้วตนเองได้ตายไป บุตรชายจะสามารถแต่งงานกับนางได้ ถ้านางมิใช่มารดาของตน ซึ่งอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงห้ามในเรื่องนี้

สำหรับคำว่า ‘ความบาป’ มันหมายถึง ‘สุรา’ เพราะอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงมีคำตรัสในที่อื่นว่า:

“พวกเขาถามเจ้า ในเรื่องสุราและการพนัน จงกล่าวเถิด ในเรื่องนั้นเป็นบาปอันใหญ่หลวง”

(อัล-บะกอเราะฮฺ: 219)

สำหรับคำว่า “ความบาป”ในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ณ ที่นี้ หมายถึง “สุราและการพนัน” และมันเป็นบาปใหญ่ ดังคำตรัสของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)”

ค่อลีฟะฮฺมะฮฺดีกล่าวว่า

“โอ้อฺะลี บินยักฏีน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า นี่คือคำวินิจฉัยของพวกตระกูลฮาชิม”

ท่านอฺะลี บินยักฏีนกล่าวว่า

“ท่านพูดความจริง ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ ที่ไม่ได้นำความรู้นี้ออกไปจากพวกท่าน

อะฮฺลุลบัยตฺ”

๙๘

แล้วยังกล่าวอีกว่า

“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ อัล-มะฮฺดีไม่รีรอที่จะกล่าวกับข้าพเจ้าว่า เจ้าพูดถูกแล้ว พวกนอกคอก(รอฟิฎี)” (14)

(14) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 277.

ถาม~ตอบ

เรื่องที่ 15

ท่านมุฮัมมัด บินอะบีอุมัยรฺได้กล่าวว่า : ข้าพเจ้าเคยได้ถามท่านอิมามมูซา(อฺ)ว่า

“บุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เอ๋ย โปรดสอนเรื่องหลักเตาฮีด(เอกภาพของอัลลอฮฺ(ซ.บ.))ให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“อะบูอะฮฺมัดเอ๋ย ในเรื่องหลักเอกภาพของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้น

ท่านจงอย่ากล่าวให้เกินเลยไปจากที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ มิฉะนั้นท่านจะเสียหาย จงรู้ไว้เถิดว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงมีองค์เดียว เป็นองค์เดียวอันเป็นที่พึ่ง ไม่ให้กำเนิดเพื่อสืบทายาท และไม่ถูกประสูติเพราะจะเป็นภาคี ไม่มีมเหสี ไม่มีบุตร และไม่มีหุ้นส่วนใด ๆ ทรงดำรงชีวิตอยู่โดยไม่ตาย ทรงมีอานุภาพโดยไม่อ่อนแอ ทรงยิ่งใหญ่เกรียงไกร โดยไม่แพ้พ่าย ทรงสุขุมโดยไม่รีบร้อน ทรงดำรงอยู่ตลอดไปโดยไม่แปรเปลี่ยน ทรงคงอยู่ตลอดไปโดยไม่สูญสลาย ทรงมั่นคงแน่นอน โดยไม่เสื่อมคลาย ทรงมั่งคั่งเหลือล้นโดยไม่ขาดแคลน

๙๙

 ทรงมีเกียรติยศยิ่งโดยไม่ตกต่ำ ทรงมีความรู้โดยไม่โง่เขลา ทรงยุติธรรมโดยไม่อธรรม ทรงเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โดยไม่ตระหนี่ สติปัญญาใดๆ ย่อมจำกัด

ขอบเขตของพระองค์มิได้ มโนภาพใดๆ ย่อมไม่ถูกต้องต่อพระองค์ ขอบเขตใด ๆ ไม่อาจโอบล้อมพระองค์ สถานที่ใด ๆ มิอาจรองรับพระองค์ สายตาใด ๆ มิอาจสัมผัสพระองค์ พระองค์ทรงมีความอ่อนโยน ทรงเปิดเผย และไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ ทรงได้ยิน ทรงมองเห็น พระองค์ทรงมีโองการว่า :

 “ที่ได้มีการกระซิบสนทนากันสามคน ย่อมมีพระองค์เป็นบุคคลที่สี่ ที่ใดมีห้าคน พระองค์ย่อมเป็นที่หก ไม่ว่าน้อยกว่านั้นหรือมากกว่านั้น จะต้องมีพระองค์อยู่ด้วยทั้งสิ้น ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ณ ที่ใด”

(อัล-มุญาดะละฮฺ: 7)

พระองค์นั้นเป็นองค์แรก ซึ่งไม่มีใครดำรงอยู่ก่อนพระองค์ทรงเป็นองค์สุดท้ายที่ไม่มีใครดำรงอยู่ ภายหลังจากพระองค์ พระองค์ทรงเป็นองค์แรกเริ่ม เดิมทีไม่มีสิ่งใดที่เพิ่งถูกสร้างมาคล้ายคลึงพระองค์ ทรงอยู่เหนือลักษณะทั้งหลายของบรรดาสิ่งถูกสร้าง ทรงสูงสุด ทรงยิ่งใหญ่เกรียงไกร”(15)

(15) อัต-เตาฮีด หน้า 77

๑๐๐