ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ชีวประวัติอิมามฮุเซน0%

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน

ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 52929
ดาวน์โหลด: 4750


รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 149 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 52929 / ดาวน์โหลด: 4750
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

อัตชีวประวัติอิมามมะอฺศูมีน 3

ฮุเซน บิน อะลี(อฺ)

เขียน

ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล

คำนำ

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตานิรันดร์

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ขององค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) เพียงพระองค์เดียว

ความสันติสุข แด่ท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล) และความจำเป็นสุขแด่บรรดา

อิมามผู้บริสุทธิ์ยิ่ง

นับได้ว่าเป็นความโปรดปรานจากองค์อัลลอฮ์อีกครั้งหนึ่งแก่พวกเราผู้อยู่ในแนวทางแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ของศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล) ในประเทศไทยมีโอกาสศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของอิมามมะอ์ซูมีน

ด้วยเหตุนี้ สถาบันศึกษา มัดรอซะฮ์ ดารุล-อิลมิ อิมามคูอีย์ จึงได้จัดการแปลและพิมพ์อัตชีวประวัติของ อิมาม ฮุเซน

ทางสถาบันใคร่ขอความร่วมมือให้พี่น้องผู้ศรัทธาทุกท่านและฝ่ายช่วยกันสนับสนุนหนังสือชุดนี้ด้วยการซื้อและบริจาคทรัพย์สินของท่าน เพื่อทางเราจักได้มีโอกาสจัดพิมพ์เล่มอื่นต่อไป

เราขอวิงวอนจากองค์อัลลอฮ์ ได้โปรดประทานความรู้และความเข้าใจในเรื่องของอิสลามแด่พี่น้องผู้ศรัทธาทุกท่านด้วยเถิด

วัสลามุอะลัยกุม

สถาบันศึกษา มัดรอซะฮ์ ดารุล-อิลมิ อิมามคูอีย์

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540

บทนำของอิมามที่ 3

ท่านอิมามอะบูอับดุลลอฮฺ อัล-ฮุเซน บิน อะมีรุล มุอ์มินีน (อฺ) คือหลานของท่านศาสนทูต ผู้ทรงเกียรติ (ศ) และ......

􀂙 ท่าน (อฺ) เป็นเหมือนดวงใจของท่านศาสดา (ศ)

􀂙 ท่าน (อฺ) เป็นประมุขของชายหนุ่มชาวสวรรค์

􀂙 ท่าน (อฺ) เป็นหนึ่งในห้าของบุคคลแห่งผ้าคลุมกิซาอ์

􀂙 ท่าน (อฺ) เป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากมลทินทั้งปวง

ตามที่อัล-กุรอานได้บัญญัติไว้ ความว่า

“ อันที่จริงอัลลอฮฺทรงประสงค์เพียงเพื่อขจัดความมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยตฺและทรงชำระขัดเกลาพวกเจ้าให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ ”

( อัล-อะฮฺซาบ: 33)

จากอัล-กุรอาน ท่าน(อฺ)คือผู้สำแดงภาพลักษณ์แห่งจริยธรรมของศาสดามุฮัมมัด(ศ) และเป็นภาพลักษณ์แห่งความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของท่านอะลี(อฺ) ท่าน(อฺ)เป็นศูนย์รวมของความประเสริฐ นานัปการ เป็นผู้ให้แบบอย่างอันสูงส่ง เป็นประมุขของเหล่าบรรดาผู้พลีชีพในวิถีทางศาสนา มวลมนุษย์ทั้งหลายต่างได้รับบทเรียนด้านการต่อสู้จากท่าน(อฺ) การต่อสู้ของท่าน(อฺ)ในวันอาชูรออ์ ได้มอบบทเรียนให้แก่ประชาชาตินี้ ในการต่อสู้กับบรรดาผู้อธรรมและยืนหยัดต่อสู้กับผู้รุกราน

ประวัติศาสตร์ อันยาวนานของมวลมนุษยชาติยังไม่เคยได้ประจักษ์ถึงการยืนหยัดต่อสู้ใดๆให้เหมือนกับการที่ได้ประจักษ์ถึงการยืนหยัดต่อสู้ของท่านผู้นี้ ซึ่งเป็นประมุขของบรรดาชะฮีดในวันอาชูรออ์ นับตั้งแต่แผ่นดินนี้ได้ถูกสร้างมาก็ยังไม่เคยมีปรากฏการณ์ใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าจะเคยมีนักสู้ที่ห้าวหาญเช่นนี้มาก่อน ท่าน(อฺ)คนเดียวที่มีสมาชิกครอบครัวเคียงข้างเพียง 10 คน พร้อมกับสหาย 70 คนเศษ แต่มีข้าศึกนักจำนวนมากเป็นพันๆ คน วันนั้นสำหรับอิมามฮุเซน (อฺ) เพียงวันเดียวโลกนี้ทั้งโลกต้องยอมสดุดีให้มวลมนุษยชาติต้องยอมสงบให้และทำให้โลกต้องศึกษาเรียนรู้

ปรัชญาอันลึกลับของท่าน(อฺ)

เรื่องนี้และเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับวันเวลาทั้งหลายของอิมามฮุเซน(อฺ)ล้วนเป็นอมตะชั่วนิรันดร์กาล ทุกอย่างในวิถีของท่าน(อฺ)มีแต่ความประเสริฐ หนังสือเล่มนี้จะเป็นบันทึกเกี่ยวกับเกร็ดชีวิตของท่านเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ได้สะท้อนให้เป็นแสงสว่างสำหรับพวกเรา เพื่อกู่เรียกมวลประชาชาติมุสลิมให้ดำเนินชีวิตตามร่องรอยแห่งวิถีชีวิตของท่าน(อฺ)ผู้เป็นบิดาของเหล่าผู้เสียสละบรรดาชะฮีดทั้งหลาย

ชีวประวัติของอิมาม อะบูอับดิลลาฮฺ(อ)

นามจริง

ฮุเซน บินอะ ลี(อฺ)

ท่านตา.....

ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ)

ท่านยาย....

ท่านหญิงเคาะดีญะฮฺ บินติคุวัยลิด(ร.ฎ.)

ท่านปู่......

ท่านอะบูฎอลิบ(ร.ฎ.)

ท่านย่า....

ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บินติ อะซัด(ร.ฏ.)

ท่านบิดา.....

ท่านอิมามอะลี บิน อะบีฏอลิบ(อฺ)

ท่านมารดา.....

ท่านหญิงฟาติมะฮฺ ซะฮฺรอ(อฺ)

ท่านพี่ชาย.....

ท่านอิมามฮะซัน(อฺ)

น้องสาว......

ท่านหญิงซัยนับ อัล-กุบรอ(อฺ)

ท่านหญิงอุมมุกุลซูม(ร.ฏ.)

สถานที่และวันถือกำเนิด....

ท่าน(อฺ)ถือกำเนิด ณ เมืองมะดีนะฮฺ เมื่อวันที่ 3 ชะอฺบาน ฮ.ศ. 4

วันแรกที่เกิดท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) รีบเร่งรุดไปหาด้วยความยินดีปรีดาอย่างยิ่งท่าน (ศ) กล่าวอะซานให้ที่หูข้างขวาและกล่าวอิกอมะฮฺให้ที่หูข้างซ้ายและได้ทำบุญเลี้ยงแสดงความยินดี เมื่อถึงวันที่ 7 ท่านได้ตั้งชื่อให้ว่า “ ฮุเซน ” ท่านศาสนทูต (ศ) ได้เชือดแกะพลีเป็นอะกีเกาะฮฺและสั่งมารดาของท่านให้โกนผมไฟและจัดการบริจาคเป็นเงินจำนวนเท่ากับน้ำหนักของเส้นผม

ท่าน(อฺ)มีความเหมือนกับศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)มากที่สุด กล่าวคือมีเรือนร่างสมส่วน ไม่สูงต่ำ หน้าอกผึ่งผาย สง่างาม ฝ่ามือและเท้าเรียวงามมีเส้นขนดกตามเรือนร่างและมีหนวดสีขาวเรียบ

ท่าน(อฺ)เติบโตภายใต้การดูแลของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวคือ ท่านศาสนทูต(ศ)เป็นผู้เลี้ยงดูและโอบอุ้มมาด้วยตัวท่าน(ศ)เอง

ฉายานาม....

อัร-ร่อชีด

อัล-วะฟียฺ

อัฏ-ฏ็อยยิบ

อัซ-ซัยยิด

อัซ-ซะกี

อัล-มุบาร็อก

อัต-ตาบิอฺลิมัรฎอติลลาฮฺ

อัด-ดะลีลอะลา ซาติลลาฮฺ

ซัยยิดชะบาบอะฮฺลิลญันนะฮฺ

ช่วงชีวิตของท่าน(อฺ)ร่วมกับบิดา.......

ท่าน(อฺ)ทำหน้าที่ติดตามท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ) ผู้เป็นบิดาและร่ำเรียนวิชาในสำนักอันยิ่งใหญ่ของท่าน(อฺ)เป็นเวลาถึงหนึ่งในสี่ศตวรรษ

ท่าน(อฺ)ได้เข้าร่วมกับบิดาในการสู้รบถึง 3 สมรภูมิด้วยกัน คือ อัล-ญะมัล , ศิฟฟิน , และนะฮฺร่อวาน

ภรรยา.......

ท่านหญิงลัยลา บินติอะบีมุรเราะฮฺ บินอุรวะฮฺ บินมัซอูดแห่ง ตระกูลษะกอฟียฺ

ท่านหญิงอุมมุอิซหาก บินติฏ็อลฮะฮฺ บินอุบัยดิลลาฮฺ อัต-ตัยมี

ท่านหญิงชาฮฺซะนาน บินติกุสรอ ยัซด์ญัรด์ กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย

ท่านหญิงร็อบบาบ บินติอุมะริ้ลก็อยซฺ บินอะดีย

บุตรชาย......

อิมามซัยนุล-อาบิดีน

อะลี อักบัร

ญะอฺฟัร

อับดุลลอฮ( 1)

บุตรสาว......

ท่านหญิงซะกีนะฮฺ ฟาฏิมะฮฺ รุก็อยยะฮฺ

ลายสลักบนแหวน......

คำว่า “ ฮัซบิยัลลอฮฺ ”

ความว่า “ ข้ามีเพียงอัลลอฮฺ ก็พอแล้ว ”

นักกวีประจำยุค......

ยะหฺยา บินฮิกัม

องค์รักษ์.....

อัซอัด อัล-ฮิจรีย์

ช่วงชีวิตของท่าน(อฺ).......

ท่าน(อฺ)ได้ให้สัตยาบันต่อพี่ชายของท่าน(อฺ)คือท่านอิมามฮะซัน(อฺ)หลังจากที่บิดาของท่านถูกสังหาร เมื่อ ฮ.ศ. 40 ท่าน (อฺ) ได้ให้เกียรติยกย่องฐานะของพี่ชายอย่างสูงสุด

ตามรายงานจากท่านอิมามญะอฺฟัร ศอดิก(อฺ) ที่ท่านฏ็อบรอซีได้บันทึกไว้ว่า “ ท่านฮุเซน ( อฺ) ไม่เคยดำเนินงานล้ำหน้าท่านฮะซัน (อฺ) เลย และไม่เคยปริปากคัดค้านท่านเลยเมื่อยามที่อยู่ร่วมกัน เพื่อแสดงให้เก็นถึงการให้เกียรติอย่างสูงนั่นเอง ” (2)

(1) นักประวัติศาสตร์บางท่านระบุว่าบุตรชายของท่านมี 6 คน

(2) หนังสือ มิชกาตุล-อันวาร หน้า 170.

ท่านใช้ชีวิตอยู่ภายหลังจากท่านอิมามฮะซัย(อฺ)พี่ชายเสียชีวิตแล้วเป็นเวลา 10 ปี ในช่วงเวลานั้นท่าน (อฺ) คืออิมามที่ถูกบัญญัติมาให้เชื่อฟังปฏิบัติตาม (ตามทัศนะของมวลมุสลิมกลุ่มใหญ่)

ในฐานะทายาทของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ผู้เป็นที่รักยิ่งของท่าน เป็นสิ่งที่สองในจำนวนสิ่งสำคัญสองประการที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้ฝากไว้ในประชาชาตินี้ (กิตาบุลลฮฺและเชื้อสาย)และเป็นนายของบรรดาชายหนุ่มชาวสวรรค์ตามความเชื่อถือที่เป็นหนึ่งเดียวกันของมวลมุสลิม

ท่าน(อฺ)เดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮฺพร้อมกับครอบครัวและบรรดาสหายมุ่งหน้าไปยังเมืองมักกะฮฺ ในฐานะผู้คัดค้านการให้สัตยาบันรับรองแก่ยะซีด การเดินทางของท่าน(อฺ)มีขึ้นตอนกลางคืนของวันอาทิตย์สองวันสุดท้ายของเดือนร่อญับ ฮ.ศ. 60 ในขณะนั้นท่าน (อฺ) ได้อ่านโองการ

ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า

“ แล้วเขาก็ได้ออกเดินทางจากที่นั้น ในสภาพที่มีความหวาดระวังตัว เขากล่าวว่า พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดคุ้มครองให้ข้าปลอดภัยจากพวกอธรรมด้วยเถิด ”

( อัล-ก่อศ็อศ: 21)

ท่าน(อฺ)ได้เข้าเมืองมักกะฮฺเมื่อผ่านพ้นเดือนชะอฺบานไปแล้วสามวันในฮ.ศ. 60 ขณะนั้นท่าน (อฺ) ได้อ่านโองการที่ว่า

“ ครั้นเมื่อเขาได้มุ่งหน้ามาถึงยังเมืองมัดยันเขาก็กล่าวว่า หวังว่าพระเจ้าของข้าฯจะทรงชี้นำหนทางอันเที่ยงตรงให้แก่ข้าฯด้วย ”

( อัล-ก่อศ็อศ: 22)

ท่าน(อฺ)ได้รับจดหมายจากชาวเมืองกูฟะฮฺ และคำสัญญาของพวกเขาที่ว่าจะให้สัตยาบันรับรองท่าน(อฺ)และจงรักภักดีจนกระทั่งว่าสามารถเก็บรวบรวมจดหมายเหล่านั้นได้มากถึง 12,000 ฉบับ

ท่าน(อฺ)จึงจัดการส่งบุตรชายของลุงของท่านคนหนึ่ง คือ มุสลิม บิน อะกีล(ร.ฏ.) เดินทางไปยังเมืองกูฟะฮฺในฐานะผู้แทนและทูตพิเศษ

ต่อมาท่าน(อฺ)ได้รับข่าวว่า ยะซีด บุตรของมุอาวียะฮฺ ได้ส่งคนมาเพื่อสังหารท่าน(อฺ)ถึงแม้ว่าท่านจะหลบหลีกเข้าไปพักพิงบริเวณที่กำบังของอัล-กะอฺบะฮฺก็ตาม

ท่าน(อฺ)จึงออกเดินทางจากมักกะฮฺในวันที่ 8 เดือนซุลฮิจญะฮฺ (วันตัรวียะฮฺ) ฮ.ศ. 60 หลังจากที่ได้กล่าวคุฏบะฮฺที่นั่นอันเป็นการประกาศคำเชิญชวนของท่าน (อฺ)

ท่าน(อฺ)ได้เข้าถึงเขตอิรักบริเวณเส้นทางเมืองกูฟะฮฺ แต่ได้เจอกับกองทหารกลุ่มหนึ่งของอิบนุซิยาดที่ถูกส่งมาคุมเชิงอยู่ที่นั่นโดยการนำของฮุร บิน ยะซีด อัร-ร็อยฮานี จนกระทั่งท่าน ( อฺ) ต้องถอยร่นไปตั้งหลักที่กัรบะลาอ์

ท่าน(อฺ)ได้มาถึงกัรบะลาอฺในวันที่ 8 เดือนมุฮัรร็อม ฮ.ศ. 51

เพียงกองคาราวานของท่าน(อฺ)มาถึงยังกัรบะลาอ์เท่านั้น ก็ปรากฏว่าทหารของอิบนุซิยาดก็ประชิดเข้ามาอย่างมากมายถึง 30,000 คน

ท่าน(อฺ)ได้พลีชีวิตรวมทั้งสมาชิกครอบครัวของท่านถูกต้อนจากกัรบะลาอ์ ในวันที่ 11 และได้ถูกนำไปยังเมืองกูฟะฮฺในสภาพของเชลย ต่อจากนั้นก็ได้ถูกนำไปยังเมืองซีเรีย

ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(อฺ) ได้จัดการฝังศพของท่านเมื่อวันที่ 13 มุฮัรร็อม ฮ.ศ. 61

ท่านญาบิร บินอับดุลลอฮฺ อันศอรี(ร.ฏ.) ผู้ซึ่งเป็นศ่อฮาบะฮฺอาวุโสที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมสุสานของท่านเมื่อวันที่ 20 เดือนศ่อฟัร ฮ.ศ. 61 และในวันเดียวกันนี้อิมามซัยนุลอาบิดีน (อฺ) บุตรชายของท่านก็ได้มาเยี่ยมเยียนด้วยพร้อมกับสมาชิกครอบครัวที่รอดชีวิตเมื่อครั้งที่พวกเขาเดินผ่านเส้นทางนี้เพื่อไปยังเมืองมะดีนะฮฺ หลังจากได้ผ่านภัยพิบัติไปแล้วทั้งในเมืองกูฟะฮฺและซีเรีย

วายชนม์.......

ท่าน(อฺ)เป็นชะฮีดที่กัรบะลาอ์ ในวันที่ 10 มุฮัรร็อม ฮ.ศ. 61

หลุมฝังศพของท่าน(อฺ).......

สุสานของท่าน(อฺ)อยู่ที่กัรบะลาอฺ อันสวยงาม โดดเด่นเป็นสง่ามีโดมที่ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ สามารถมองเห็นได้ในระยะที่ห่างไกลนับเป็นสิบๆไมล์ มวลมุสลิมทั้งภาคตะวันออก ตะวันตกของโลกต่างพากันหลั่งไหลกันเข้าเยี่ยมชมไม่ขาดสาย บ้างก็มายังสถานที่ฝังศีรษะอันทรงเกียรติของท่านแห่งนั้นเพื่อทำนมาซ มาขอดุอาอ์

ฮุเซน บินอฺะลี (อฺ) ในอัลกุรอาน อันทรงเกียรติ

หาเราจะพรรณนาถึงเรื่องราวในอัล-กุรอานอันทางเกียรติที่ถูกประทานมาในเรื่องของอะฮฺลุลบัยตฺแล้วแน่นอน เราจำเป็นจะต้องบันทึกเป็นหนังสือที่มีความหนามากกว่าเล่มนี้ เพราะบรรดาอิมามนักวิชาการและนักตัฟซีร รวมทั้งนักประวัติศาสตร์ทั้งหลายได้รายงานไว้ว่ามีโองการอัล-กุรอานนับจำนวนเป็นร้อยๆ ที่กล่าวถึงพวกเขาเหล่านั้น ในที่นี้เราจะไม่ละเลยคำพูดตอนหนึ่งของท่านอะมีรุล-มุอ์มินีน(อฺ) ที่ว่า

“ อัล-กุรอานนั้น ถูกประทานลงมาใน 4 เรื่องด้วยกัน คือ เรื่องราวเกี่ยวกับพวกเรา เรื่องที่เกี่ยวกับศัตรูของเรา เรื่องประวัติศาสตร์และอุทธาหรณ์และเรื่องบทบัญญัติหลักการทางศาสนาสำหรับพวกเรานั้นคืออัญมณีอันมีค่าของอัล-กุรอาน ( 1)

ในบทนี้ เราจะกล่าวอายะฮฺที่เกี่ยวกับท่านอิมามฮุเซน(อฺ)

-1- “ พระองค์ทรงบันดาลมนุษย์มาจากน้ำ แล้วก็ได้ทรงบันดาลให้เขาแพร่เผ่าพันธุ์ทางสายตระกูลและการเกี่ยวดอง ” ( อัล-ฟุรกอน: 54)

รายงานโดยอะบู นะอีม อัล-ฮาฟิซ และอิบนุ อัล-มะฆอซะลี โดยอ้างสายสืบจากท่านซะอีดบินญุบัยรฺ จากท่านอิบนุอับบา(ร.ฏ.) ว่า

“ โองการนี้ถูกประทานมาในเรื่องของบุคคลทั้งห้าแห่งผ้าคลุมกิซาอ์ ”

หลังจากนั้นท่าน (อฺ) ได้กล่าวว่า

“ ความหมายของคำว่า ‘ น้ำ ’ ในโองการนี้ ก็คือ รัศมีของท่านนบี (ศ) ซึ่ได้มีอยู่ก่อนการสร้างมนุษย์ ต่อจากนั้นก็ได้ถูกนำไปวางไว้ที่กระดูกสันหลังของนบีอาดัม (อฺ) ต่อจากนั้นก็เคลื่อนย้ายจากระดูกสันหลังไปสู่กระดูกสันหลังหนึ่ง จนถึงกระดูกสันหลังของอับดุลมุฏฏอลิบ แล้วก้ได้แยกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งไปอยู่ที่กระดูกสันหลังของอับดุลลอฮฺ แล้วก็ได้กำเนิดท่านนบี (ศ) อีกส่วนหนึ่งได้ไปอยู่ที่กระดูกสันหลังของอะบูฏอลิบ แล้วได้กำเนิดเป็นท่านอะลี ต่อมาก็ได้สัมพันธ์กันด้วยการนิกะฮฺ คือ ท่านอะลีก็ได้แต่งงานกับท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ จนมีบุตรชายสองคนคือฮะซัน

และฮุเซน(ร.ฏ)

ท่านษะอฺละมี และท่านเมาฟิก บินอะฮฺมัด อัล-ค่อวาริชมี ได้รายงานมาจากท่านอะบีศอลิฮฺ จากท่านอิบนุ อับบาซอีกเช่นกัน อีกทั้งท่านอิบนุมัซอูดท่านญาบิร ท่านบัรรออ์ ท่านอะนัซและท่านหญิงอุมมุซะละมะฮฺ (ร.ฏ.)ได้กล่าวว่า

“ โองการนี้ได้ถูกประทานลงมาในเรื่องราวของบรรดาบุคคลในผ้าคลุมทั้งห้า ” (2)

-2-

“ และพระองค์ได้ทรงบันดาลให้มันเป็นพจนารถหนึ่งอันยืนยงอยู่ในหมู่ชนรุ่นต่อๆ ไปของเขาเพื่อพวกเขาจะได้คืนกลับ ” ( อัซ-ซุครุฟ : 28)

ในหนังสืออัล-มะนากิบกล่าวว่า รายงานจากท่านษาบิต อัษ-ษุมาลี จากท่านอฺะลี บินฮุเซน จากบิดาของท่าน จากท่านปู่ของท่าน คือท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)กล่าวว่า

“ มีคำตรัสของอัลลอฮฺ(ซ.บ)ที่ประทานลงมา ในเรื่องของเราความว่า

และพระองค์ได้ทรงบันดาลให้มันเป็นพจนารถหนึ่งอันยืนยงอยู่ในหมู่ชนรุ่นต่อๆ ไปของเขา เพื่อพวกเขาจะได้คืนกลับหมายความว่าจะทรงบันดาลให้ตำแหน่งอิมามดำรงอยู่ในบุคคลที่สืบต่อไปจากฮุเซน(อฺ)จนถึงวันฟื้นคืนชีพ ” (3)

*********

-3-

“ พระองค์ทรงให้ทะเลทั้งสองไหลวนบรรจบกันโดยระหว่างทั้งสองนั้นมีเขตกั้นซึ่งทั้งสองจะไม่ล่วงล้ำกัน ดังนั้นพวกเจ้าจะกล่าวปฏิเสธต่อความการุณย์อันใดแห่งพระผู้อภิบาลของพวกเจ้าหรือ จากทั้งสองทะเลนั้นไข่มุกและปะการังจะได้ปรากฏออกมา ”

( อัล-เราะฮฺมาน: 22)

(1) กัชฟุล-ฆ็อมมะฮฺ หน้า 92 และยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ หน้า 126

(2) ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ หน้า 118.

(3) ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ หน้า 117.

รายงานจากท่านอะนัซ (ร.ฏ.)อธิบายโองการนี้ว่า

“ ทะเลทั้งสองไหลวนมาบรรจบกันหมายถึงท่านอะลีและฟาฏิมะฮฺระหว่างทั้งสองนั้นมีเขตกั้น ได้แก่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)โดยฮะซันกับฮุเซนได้ปรากฏออกมาจากทะเลทั้งสองนั้น ” (4)

ในการตะอ์วีล(ตีความ) โองการนี้ ท่านษะอฺละบีย์ได้รับรายงานจากท่านซุฟยาน อัษ-เษารีและท่านซะอีด บิน ญุบัยรฺ กล่าวว่า

“ แท้จริงทะเลทั้งสองหมายถึงท่านอะลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮฺเขตกั้นระหว่างกลางหมายถึงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ไข่มุกและหินปะการังที่จะปรากฏออกมาหมายถึงท่านฮะซันและฮุเซน(อฺ) ” (5)

************

-4-

“ อนุมัติให้แก่บรรดาผู้ที่ถูกเข่นฆ่า เพราะเหตุว่าพวกเขาได้รับความอธรรมและแน่นอนอัลลอฮฺทรงมีความสามารถยิ่งนักต่อการให้ความช่วยเหลือพวกเขา ”

( อัล-ฮัจญ์: 39)

(4) กัชฟุล-ฆ็อลมะฮฺ หน้า 95

(5) ตัซกิร่อตุล-ค่อวาศ หน้า 245

รายงานจากท่านคอลิด อัล-กาบุลี กล่าวว่า

“ ข้าพเจ้าได้รับฟังมาจากอะบูญะอฺฟัร(อฺ) ท่านได้อธิบายความหมายโองการนี้ โดยท่านกล่าวว่า หมายถึงท่านอะลี ฮะซันและฮุเซน ”

(6)

-5-

“ พวกเขาให้อาหารโดยความรักในพระองค์ แก่คนยากจน เด็กกำพร้าและเชลยสงคราม ( พวกเขากล่าวว่า) เราให้อาหารพวกท่าน เพื่อพระองค์อัลลอฮฺ เรามิได้ต้องการรางวัลใดๆ จากพวกท่านและไม่ต้องการการขอบคุณ ” ( อัล-อินซาน: 9)

ท่านเชคฏซี (ขอความเมตตาพึงประสบแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“ ทั้งซุนนีและชีอะฮฺ รายงานว่าโองการเหล่านี้ถูกประทานมาในเรื่องของ อะลี ฟาฏิมะฮฺ ฮะซันและฮุเซน (อฺ) กล่าวคือพวกเขาได้เสียสละให้แก่คนยากจน เด็กกำพร้าและเชลยสงครามเป็นเวลาสามคืนติดต่อกันในการให้อาหารแก่คนเหล่านั้น และพวกเขาก็มิได้ละศีลอดกับอะไรเลย ดังนั้นอัลลอฮฺจึงได้ทรงยกย่องความดีงามในคราวนี้และประทานโองการในซูเราะฮฺนี้ลงมาในเรื่องของพวกเขาทั้งหมดนี้ คงจะเป็นที่เพียงพอสำหรับท่านในการที่ได้ประจักษ์ถึงคุณงามความดีอันลึกซึ้งที่ถูกอ่านอยู่ตลอดกาลจนถึงวันฟื้นคืนชีพ ” (7)

(6) อุยูนอัคบาริ้ลรีฏอ เล่ม 2 หน้า 65

(7) อัต-ติบยานฟีตัฟซีริ้ลกุรอาน เล่ม 10 หน้า 211

อิมามฮุเซน (อฺ) จากฮะดีษของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ)

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ไม่เคยละเลยการกล่าวยกย่องอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน(ศ)ในทุกๆ สถานที่และทุกสภาวการณ์ บางครั้งท่าน(ศ)จะเปรียบเทียบว่า เขาเหล่านั้นเป็นเหมือนเรือนบีนุฮฺ ซึ่งถ้าหากใครจะขึ้นเรือที่จะปลอดภัย และถ้าผู้ใดผลักใสก็จะจมและพินาศ บางครั้งท่าน(ศ)จะเปรียบว่า พวกเขาเป็นเหมือนประตูฮิฏเฏาฮฺ ซึ่งถ้าใครเข้าผ่านไปก็จะปลอดภัย บางครั้งท่าน (ศ)จะกล่าวว่า พวกเขาเป็นหลักประกัน ความปลอดภัยสำหรับชาวโลกเช่นเดียวกับดวงดาวที่เป็นหลักประกันความปลอดภัยของผู้ที่อยู่บนฟากฟ้า

และท่านศาสนทูต(ศ)ได้เคยกล่าวถึงท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ไว้เป็นฮะดีษจำนวนมาก ซึ่งในฮะดีษเหล่านั้นได้อธิบายอย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับเกียรติและฐานะของท่าน(อฺ) ดังที่เราจะบันทึกไว้ ณ ที่นี้เพียงบางส่วน

-1-

ท่านฮากิมได้บันทึกไว้ และกล่าวว่าเป็นฮะดีษเศาะฮีฮฺ จากรายงานของท่านยะห์ยา อัล-อามิรี กล่าวว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า

“ ฮุเซนเป็นส่วนหนึ่งของฉันและฉันเป็นส่วนหนึ่งของฮุเซน( 1) โอ้อัลลอฮ์ขอทรงโปรดให้ความรักแก่คนที่รักฮุเซน ฮุเซนผู้ซึ่งเป็นผู้สืบสายตระกูลคนหนึ่งของศาสดา ” (2)

-2-

ท่านอิบนุฮิบบาน ท่านอิบนุซะอัด ท่านอะบูยะอฺลา และท่านอิบนุอะซากิร ได้รายงานมาจากท่านญาบิร บินอับดุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้ ฟังท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กล่าวว่า

“ คนใดประสงค์จะได้เห็นประมุขของชายหนุ่มชาวสวรรค์ ก็ขอให้มองดูฮุเซน บุตรของอะลีเถิด ” (3)

*******

(1) คำพูดของท่านศาสนทูต (ศ) ที่ว่า ‘ ฮุเซนเป็นส่วนหนึ่งของฉัน ’ หมายความว่า ‘ ท่านฮุเซนมีฐานะเป็นบุตรของท่าน ’ ตามความหมายในโองการ มุบาฮะละฮฺ ส่วนคำว่าที่ว่า ‘ และฉันเป็นส่วนหนึ่งของฮุเซน ’ หมายความว่า ‘ ศาสนาของท่าน(ศ)ได้ดำรงอยู่ก็เพราะการต่อสู้ของท่านฮุเซน เพราะถ้าไม่มีท่านในวันนั้น แน่นอนพวกอุมัยยะฮฺจะต้องนำลัทธิญาฮิลียะฮฺกลับคืนมา

เพราะพวกเขากล่าวว่า ’ ‘ ไม่มีคำสอนศาสนาและไม่มีการลง

วะฮฺยูมาแต่อย่างใด ’

(2) ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ หน้า 164

-3-

ท่านซัลมา อัล-ฟาริซี ได้กล่าวว่า ครั้งหนึ่งขณะที่ท่านฮุเซนนั่งอยู่บนตักของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ท่าน(ศ)ก้มลงจูบเขาแล้วกล่าวว่า

“ เจ้าคือประมุข บุตรของประมุข บิดาของประมุขทั้งหลาย เจ้าคืออิมาม บุตรของอิมาม บิดาของบรรดาอิมาม เจ้าคือข้อพิสูจน์ของอัลลอฮฺบุตรของข้อพิสูจน์ของอัลลอฮฺ บิดาของบรรดาข้อพิสูจน์ของอัลลอฮฺเก้าคนจากสายโลหิตของเจ้า และคนที่เก้านั้น คือ ‘ กออิม ’ ของพวกเขา ”

- 4-

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ได้กล่าวว่า

“ ฮุเซนนั้นเป็นผู้สืบตระกูลศาสดา ผู้ใดรักฉัน ก็ต้องรักฮุเซนด้วย ” ( 4)

********

-5-

ท่านอับดุลลอฮฺ บินฮะซัน อัซ-ซะอฺดี ได้กล่าวว่า เมื่อครั้งที่ประชาชนสับสนกันเรื่องว่าใครมีเกียรติกว่ากัน ข้าพเจ้าได้ขึ้นขี่พาหนะนำเสบียงเดินทางติดตัวแล้วมุ่งหน้าออกเดินทางไปยังเมืองมะดีนะฮฺ แล้วข้าพเข้าก็ได้เข้าพบท่านฮุซัยฟะฮฺ บินยะมาน

ท่านถามว่า “ เธอเดินทางมาจากไหน ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า “ จากเมืองอิรัก ”