ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ชีวประวัติอิมามฮุเซน0%

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน

ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 52931
ดาวน์โหลด: 4750


รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 149 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 52931 / ดาวน์โหลด: 4750
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ชีวประวัติอิมามฮุเซน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

(3) อัซอาฟุร-รอฆิบีน ภาคผนวกหนังสือ นูรุ้ล-อับศอร หน้า 182

(4) ตารีค อิบนุอะชากิร เล่ม 4 หน้า 329

ท่านถามอีกว่า “ มาจากส่วนไหนของเมืองอิรัก ”

ข้าพเจ้าตอบว่า “ จากกูฟะฮฺ ”

ท่านกล่าวว่า “ ยินดีต้อนรับชาวเมืองกูฟะฮฺ ”

ข้าพเจ้าได้กล่าวกับท่านว่า “ ประชาชนต่างพากันสับสนกับพวกเราในเรื่องที่ว่าใครมีเกียรติกว่ากัน ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงได้เดินทางเรียนถามท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ ”

ท่านได้กล่าวกับฉันว่า “ ฉันจะไม่บอกเล่าเรื่องใด นอกจากเท่าที่หูสองข้างของฉันได้ยินมาและที่หัวใจของฉัดจดจำไว้และที่ตาสองข้างของฉันเคยได้เห็น ครั้งหนึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ( ศ) ได้ออกมาพบพวกเราจนฉันมองเห็นท่านชัดเจน เหมือนมองเห็นเธอในขณะนี้ ท่าน (ศ) แบกท่านฮุเซนไว้บนบ่าจนฉันมองเห็นฝ่ามืออันบริสุทธิ์ของท่านรองรับส้นเท้าท่านฮุเซนไว้ ขณะที่ท่าน ( ศ)อุ้มแนบติดทรวงอก ท่าน(ศ)ได้กล่าวว่า “ ประชาชนทั้งหลาย แน่นอนฉันรู้ซึ้งถึงเรื่องราวที่พวกท่านจะขัดแย้งกันในเรื่องความประเสริฐของบุคคลหนึ่ง นี่คือฮุเซน บุตรของอะลี คือผู้ประเสริฐที่สุดทั้งสายตาและยาย ตาของเขาคือมุฮัมมัด ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ประมุขของบรรดานบี ยายของเขาคือค่อดีญะฮฺ บินติคุวัยลิด เป็นสตรีระดับนำคนหนึ่งในสากลโลกในเรื่องการมีศรัทธาต่ออัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์

ฮุเซน บุตรของอะลีคนนี้ประเสริฐที่สุดทั้งสายบิดา และประเสริฐที่สุด

ทั้งสายมารดา บิดาของเขาคือ อะลี บินอะบีฏอลิบ พี่น้องของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ เป็นผู้ร่วมภารกิจและเป็นบุตรแห่งลุงของศาสดา เป็นบุรุษระดับแนวหน้าคนหนึ่งในสากลโลกในเรื่องการมีศรัทธา

มารดาของเขาคือฟาฏิมะฮฺ บินติมุฮัมมัด ประมุขของเหล่าสตรีในสากลโลกฮุเซนบุตรของอะลีคนนี้เป็นผู้ประเสริฐที่สุดทางสายลุงและสายป้า ลุงของเขาคือญะอฺฟัร บินอะบีฏอลิบ ผู้มีปีกอันงดงามซึ่งจะโบยบินในสวนสวรรค์ ป้าของเขาคืออุมมุฮานี บินติอะบี ฏอลิบ

ฮุเซนบุตรของอะลีคนนี้ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดทางสายน้าผู้ชายและน้าผู้หญิง น้าชายของเขาคือกอซิมบุตรของมุฮัมมัดศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ

น้าผู้หญิงของเขาคือ ซัยนับบุตรีของมุฮัมมัด ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ

หลังจากนั้นท่านได้ขยับอิมามฮุเซนมาอุ้มไว้เบื้องหน้าแล้วแสดงความดีใจ โดยกล่าวว่า

“ ประชาชนทั้งหลาย ฮุเซน บุตรของอะลีผู้นี้ ตาและยายของเขาจะอยู่ในสวรรค์ บิดาและมารดาของเขาจะอยู่ในสวรรค์และจงรู้ไว้ว่า ไม่มีเชื้อสายของบรรดานบีคนใดที่ได้รับความโปรดปรานเหมือนอย่างที่ถูกประทานให้แก่ฮุเซน บุตรของอะลี นอกจากยูซุฟ บุตรของนบียะอฺกูบเท่านั้น ” ( 5)

(5) ตารีดอิบนุอะซากิร เล่ม 4 หน้า 320

ข้อบัญญัติเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ ของท่านฮุเซน บินอฺะลี(อฺ)

บรรดานักปราชญ์ของเราได้รวบรวมข้อบัญญัติต่างๆ ของท่านศาสนทูตผู้ทรงเกียรติ(ศ)ที่มีไว้สำหรับบรรดาอิมาม(อฺ)ดังที่มีปรากฏในตำรามากมายหลายเล่ม บางครั้งจะพบว่าท่านศาสนทูต ( ศ) จะกล่าวถึงชื่อของท่านเหล่านั้น (อฺ) โดยรวม แต่บางครั้งท่าน (ศ) ก็จะกล่าวถึงชื่อของบางคน

บางครั้งท่าน(ศ)ก็ได้แนะนำในเรื่องของท่านเหล่านั้น(อฺ)ในเล่มแรกเกี่ยวกับเรื่องอิมามอะลี(อฺ)นั้น

เราได้ยกฮะดีษจำนวน 44 บทที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้วางไว้เป็นข้อบัญญัติเกี่ยวกับบรรดาอิมาม(อฺ) ซึ่งเราได้นำมาจากตำราอ้างอิงหลายเล่ม ในบทนี้ เราจะนำบางส่วนมาเสนอเฉพาะที่เกี่ยวกับท่านอิมามอะบูอับดุลลอฮฺ อัล-ฮุเซน(อฺ) จากบิดาของท่าน(ศ)คือท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ) และพี่ชายของท่าน(อฺ) คือท่านอิมามฮะซัน(อฺ)

ข้อบัญญัติ

เรื่องที่ 1

ในคำสั่งเสียตอนหนึ่งที่ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)มีไปยังท่านอิมามฮะซัน(อฺ)บุตรของท่าน(อฺ)ความว่า

“ โอ้ลูกเอ๋ย ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ มีบัญชาให้ฉันสั่งเสียแก่เจ้าและให้มอบหนังสือและดาบของฉันแก่เจ้า เช่นเดียวกับที่ท่านได้สั่งเสียแก่ฉันและมอบหนังสือและดาบของฉันแก่เจ้า

เช่นเดียวกับที่ท่านได้สั่งเสียแก่ฉันและมอบหนังสือและดาบของท่านแก่ฉัน และท่านยังสั่งฉันว่าให้สั่งเจ้าว่าเมื่อเจ้าใกล้จะถึงความตาย ให้เจ้ามอบมัน ต่อไปยังฮุเซนน้องชายของเจ้า ” ( 1)

(1) บิฮารุล-อันวาร เล่ม 10 หน้า 89

ข้อบัญญัติ

เรื่องที่ 2

ท่านอะลี บินยุนุซ อัล-อามิลี ได้รายงานไว้ในหนังสือ ‘ ศิรอฏ็อล-มุซตะกีม ’ ว่า ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน (อฺ) ได้บัญชาไว้แก่ท่านอิมามฮุเซน (อฺ) เช่นเดียวกับที่มีต่อท่านอิมามฮะซัน (อฺ) เขาได้รายงานว่า

“ แท้จริงท่านฮะซันได้สั่งเสียแก่น้องชายเมื่อคราวที่ท่านจวนจะถึงแก่

กรรม และได้มอบหมายพันธะอันสำคัญของท่านนบีและสัญญาเรื่องตำแหน่งอิมาม และแนะนำบรรดาชีอะฮฺของท่านให้ยอมรับตำแหน่ง

ค่อลีฟะฮฺ และแต่งตั้งท่านไว้ให้เป็นผู้นำทางวิชาการในภายหลัง ซึ่งเรื่องนี้ได้มีขึ้นอย่างเปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพรางแต่อย่างใด ” ( 2)

**********

ข้อบัญญัติ

เรื่องที่ 3

คำสั่งเสียบางตอนของท่านอิมามฮะซัน(อฺ)ที่มีต่อท่านมุฮัมมัด บินฮะนะฟียะฮฺ น้องชายของท่าน(อฺ)ใกล้จะถึงแก่กรรมมีใจความว่า

“ โอ้ มุฮัมมัด บินอะลี เจ้ารู้หรือไม่ว่า ภายหลังจากที่ฉันถึงแก่กรรมและวิญญาณของฉันออกจากร่างแล้ว ฮุเซน บุตรของอะลี จะเป็นอิมามภายหลังจากฉัน ณ. อัลลอฮฺในคัมภีร์แต่ยุคอดีตถือว่า มรดกของนบีนั้นเชื่อมโยงมาแต่มรดาของบิดาและมารดาของท่าน อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรับรู้ว่าพวกเจ้าเป็นมนุษย์ที่ดีเลิศของพระองค์ ดังนั้นทรงคัดเลือกศาสดามุฮัมมัดมาจากหมู่พวกเจ้าและศาสดามุฮัมมัด ก็ได้คัดเลือกท่านอะลี และท่านอะลีก็ได้คัดเลือกฉันเป็นอิมาม และฉันก็ได้คัดเลือกฮุเซน ....” ( 3)

(2) อิษบาตุล-ฮุดา เล่ม 5 หน้า 173

(3) บิฮารุล-อันวาร เล่ม 10 หน้า 140

ข้อบัญญัติ

เรื่องที่ 4

ท่านชัมซุดดีน มุฮัมมัด บินเฏาลูน ได้กล่าวว่า

“ ท่านอิมามฮะซันได้ทำการสั่งเสียไว้แก่อิมามฮุเซนผู้เป็นน้องชาย ” ( 4)

(4) อัล-อะอิมมะตุลอิษนาอะชัร หน้า 65

อิบาดะฮฺอันยิ่งใหญ่ของอิมามฮุเซน(อฺ)

บทนี้เราจะกล่างถึงเรื่องการทำอิบาดะฮฺของประมุขบรรดาชุฮะดาอ์ กล่าวคือชีวิตทุกส่วนของท่านอิมามฮุเซน(อฺ) นั้นล้วนเป็นอิบาดะฮฺ เป็นการเคารพภักดีทั้งสิ้น วันเวลาทั้งหมดของท่าน(อฺ)ล้วนแต่ติดต่อสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ (ซ.บ.)และอยู่ในหนทางของพระองค์

ฉะนั้นเมื่อเราจะกล่าวถึงเรื่องการนมาซการบำเพ็ญตนและการทำฮัจญ์ของท่าน(อฺ)ก็ขอให้เราสรุปด้วยเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่ทำนมาซในวันกับคืนหนึ่งๆ จำนวน 1 , 000 ร็อกอะฮฺ ทำฮัจญ์ทุกปีโดยเดินทางด้วยเท้า ตลอดจนด้านอื่นๆ ในลักษณะนี้ของอิบาดะฮฺทั้งหลาย

เราจะกล่าวถึงเรื่องราวบางประการที่บรรดานักประวัติศาสตร์เคยกล่าวถึงการทำอิบาดะฮ์ของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)

- 1-

ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ทำฮัจญ์จำนวน 25 ครั้ง ท่าน(อฺ)เดินทางไปยังฮะร็อมด้วยเท้า เคียงข้างด้วยพาหนะติดตามท่าน(1)

- 2-

ในแต่ละวันกับคืนหนึ่งๆ ท่านนมาซถึง 1 , 000 ร็อกอะฮฺ (2)

-3-

จากท่านอะนัซ บินมาลิก(ร.ฏ.) ได้กล่าวว่า

ฉันเคยออกเดินทางกับท่านอิมามฮุเซน(อฺ) ครั้นเมื่อไปถึงสุสานของท่านหญิงค่อดีญะฮฺ ( ร.ฏ.) ท่าน (อฺ) ก็ร้องไห้ แล้วสั่งว่า

“ โอ้ อะนัซเอ๋ย ท่านออกไปก่อนเถิด ”

ท่านอะนัซเล่าว่า แล้วฉันก็ปลีกตัวออกไปจากท่าน(อฺ) ขณะนั้นท่าน(อฺ)ยืนนมาซอยู่เป็นเวลานานมาก ฉันได้ยินท่าน(อฺ)กล่าววิงวอนว่า

“ โอ้พระผู้อภิบาล โอ้พระองค์ผู้ทางเป็นนาย โปรดเมตตาต่อบ่าวของพระองค์ที่มอบตัวด้วยเถิด

(1) มะฏอลิบุซซุอูล เล่ม 2 หน้า 28 , อะสะดุล-ฆอบะฮฺ เล่ม 2 หน้า 120

(2) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ เล่ม 1 หน้า 124

(3)

โอ้พระผู้ทรงสูงสุด ข้าขอผูกมัดตัวไว้กับพระองค์ ขอความผาสุกพึงมีแด่ผู้ซึ่งมีพระองค์เป็นนายด้วยเถิด.... ” ( 3)

-4-

มีคนเคยถามท่านอิมามอะลี บินฮุเซน(อฺ)ว่า

“ ทำไมบิดาของท่านจึงมีบุตรน้อยเหลือเกิน ?”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ ท่านจะมีบุตรหลายๆ คนได้อย่างไรกัน ในเมื่อทุกวันและคืน ท่านทำนมาซถึง 1 , 000ร็อกอะฮฺ แล้วท่านจะมีเวลาเข้าหาภรรยาได้เมื่อไหร่ ” ( 4)

*********

- 5-

เมื่อครั้งที่ อิบนุซะอัด ได้เข้าล้อมกรอบท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ในคืนที่เก้าเดือนมุฮัรร็อมนั้น

ท่านอิมาม(อฺ)ได้สั่งให้ท่านอับบาซ น้องชายของท่าน(อฺ)ไปพบกองทหารฝ่ายตรงข้าม โดยกล่าวกับท่านอับบาซว่า

“ เจ้าจงไปบอกพวกเขาเถิดว่า ถ้าหากอดใจได้ก็ขอให้รอไปจนถึงวันพรุ่งนี้และให้พวเกเขาให้โอกาสแก่พวกเราในคืนนี้ เพื่อให้เราได้ทำนมาซต่อพระผู้เป็นเจ้า ขอพรและขออภัยโทษต่อพระองค์ทั้งคืน เพราะพระองค์ทรงรู้ดีว่าฉันรักการทำนมาซ รักการอ่านอัล-กุรอานและรักการขอดุอาอ์ และกล่าวคำอิซติฆฟารมากๆ “( 5)

(4) บิฮารุล-อันวาร เล่ม 10 หน้า 144

(5) อัล-อุกดุล-ฟะรีด เล่ม 4 หน้า 384 , บิหารุล-อันวาร เล่ม 10 หน้า 145

(6) ญะลาอุล-อุยูน เล่ม 2 หน้า 167

วิถีชีวิตของอิมามฮุเซน บินอฺะลี (อฺ)

ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)เป็นผู้ที่มีจริยธรรมตามแบบอย่างของนบีมุฮัมมัด(ศ)และมีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบเหมือนท่านอะลี(อฺ)เป็นผู้ได้รับมรดกทางด้านคุณงามความดีและเกียรติยศมาจากท่านตาและบิดาของท่านโดยที่ได้รับเอาแบบอย่างอันสูงส่งมาจากบุคคลทั้งสอง

เราถือว่าเราอยู่ในช่วงเวลาที่จำเป็นจะต้องยึดถือเอาวิถีชีวิตของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)มาปฏิบัติเพื่อปรับเปลี่ยนสภาพสังคมอันเลวร้ายของเราให้หวนกลับสู่สภาพที่ดีเลิศสำหรับเราในอนาคต

ในบทนี้ เราจะกล่าวถึงเรื่องราวบางส่วนที่ได้มีการบันทึกไว้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของอิมามฮุเซน ( อฺ)

วิถีชีวิตที่ 1.

ท่านอะนัซ(ร.ฏ.)เล่าว่า ข้าพเจ้าได้เคยอยุ่ร่วมกับท่านอิมามฮุเซนเมื่อครั้ง ที่สาวใช้คนหนึ่งได้เข้ามาหาท่านและแสดงความคารวะให้สลามท่านพร้อมด้วยเหยือกน้ำอันโอชารส ท่านจึงได้กล่าวกับนางว่า

“ บัดนี้ เธอได้รับการปล่อยให้เป็นอิสระต่อเบื้องพระพักตร์แห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)แล้ว ”

ข้าพเจ้าได้กล่าวขึ้นว่า

“ นางแสดงความคารวะท่านด้วยน้ำอันโอชารสเหยือกหนึ่งไม่ถึงกับทำให้นางเดือดร้อนแต่ประการใด ทำไมท่านจึงปล่อยนางให้เป็นอิสระด้วย ?”

ท่านกล่าวว่า

“ อย่างนี้แหละที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสอนเรา อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสว่า

“ และเมื่อพวกเท่านได้รับการแสดงคารวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นจงได้คารวะตอบด้วยการกระทำที่ดีกว่านั้นหรือให้ตอบแทน ”

( อัน-นิซาอ์: 86)

และการกระทำที่ดีกว่านั้น คือ การปลดปล่อยนางให้เป็นอิสระ ” ( 1)

********

(1) กัชฟุล-ฆ็อมมะฮฺ หน้า 184 , อัล-ฟุศูลุล-มุฮัมมะฮฺ หน้า 159

วิถีชีวิตที่ 2.

ครั้งหนึ่งคนรับใช้ของท่าน(อฺ)กระทำผิดอย่างหนึ่งซึ่งมีโทษที่ท่าน(อฺ) จำเป็นต้องสั่งให้เฆี่ยน แต่เขาร้องว่า

“ โอ้นายข้า อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ตรัสว่า :

“ และบรรดาผู้ที่ข่มความโกรธไว้ได้..... ”

( อาลิอิมรอน: 134)

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ จงปล่อยเขา ”

คนรับใช้พูดต่อไปอีกว่า

“ พระองค์ตรัสว่า

“ และบรรดาผู้ให้การอภัยต่อปวงมนุษย์..... ”

( อาลิอิมรอน: 134)

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ บัดนี้ฉันให้อภัยแก่เจ้าแล้ว ”

คนรับใช้พูดอีกว่า

“ โอ้นายของข้าพระองค์ตรัสว่า

“ แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ประพฤติการดี ”

( อาลิอิมรอน: 148)

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ บัดนี้ เจ้าเป็นอิสระแล้วต่อหน้าพระพักตร์ของอัลลอฮฺ และสำหรับเจ้าจะได้รับเพิ่มอีกเท่าหนึ่งจากที่ข้าเคยให้แก่เจ้า ” ( 2)

**********

(2) กัชฟุล-ฆ็อมมะฮฺ หน้า 184 , อัล-ฟูศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 159

วิถีชีวิตที่ 3.

เมื่อครั้งที่มุอาวียะฮฺได้เดินทางเข้ามายังเมืองมักกะฮฺ เขาได้จัดส่งทรัพย์สินเป็นจำนวนมากให้แก่ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)มีทั้งเสื้อผ้า อาภรณ์อย่างครบครันท่านได้ส่งของทั้งหมดนั้นกลับคืนไปโดยที่ไม่ยอมรับอะไรเลย

นี่คือการแสดงออกให้เห็นถึงความเป็นคนประเสริฐเป็นคนรักษาเกียรติ

และมีคุณค่าอันสูงส่งและเป็นคุณสมบัติประการหนึ่งของผู้มีจริยธรรมอันดีเลิศ และเป็นคน มีไหวพริบที่ดีเยี่ยม (3)

(3) นัฟซุล-มะฮฺมูม หน้า 12 , มะฏอลิบุสสุอูล เล่ม 2 หน้า 28 ,

อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 159

วิถีชีวิตที่ 4.

บุตรชายคนหนึ่งของท่าน(อฺ)ได้เสียชีวิตลง ท่าน(อฺ)ตัดสินใจไม่ยอมดูเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนมีคนตำหนิท่าน(อฺ)ในเรื่องนี้ แต่ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ แท้จริงพวกเราอะฮฺลุลบัยตฺ เมื่อเราขออะไรจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)พระองค์ก็จะทรงประทานให้แก่เรา ฉะนั้นเมื่อพระองค์ทรงประสงค์สิ่งที่เราไม่ต้องการในสิ่งที่เรารัก เราก็พอใจ ” ( 4)

(4) อัซอาฟุร-รอฆิบีน ภาคผนวกหนังสือ นูรุล-อับศอร หน้า 183

**********

วิถีชีวิตที่ 5.

ท่านมัซอะดะฮฺ ได้กล่าวว่า :

ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮุเซน(อฺ) เดินผ่านคนยากจนเข็ญใจกลุ่มหนึ่งปรากฏว่าท่านทอดตัวลงปูผ้าคลุมให้พวกเขา พวกเขานำขนมปังออกมาแบ่งปันให้แก่ท่านโดยกล่าวว่า

“ เชิญรับเถิด ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ”

ท่าน(อฺ)ลดตัวลงนั่ง แล้วร่วมรับประทานกับพวกเขา แล้วกล่าวว่า

“ แท้จริงพระองค์ไม่ทรงรักบรรดาผู้หยิ่งผยอง ”

( อัน-นะฮฺลุ: 23)

ต่อจากนั้นท่าน(อฺ)ก็กล่าวอีกว่า

“ บัดนี้ฉันรับคำเชื้อเชิญของพวกท่านแล้ว ฉะนั้นพวกท่านจงตอบรับคำเชิญของฉันบ้าง ”

พวกเขากล่าวว่า

“ ตกลง โอ้บุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ”

พวกเขาก็ได้ลุกขึ้นเดินไปกับท่าน(อฺ) เมื่อไปถึงยังบ้านแล้ว ท่านก็ได้กล่าวกับคนรับใช้ว่า

“ จงนำสิ่งของที่พวกเจ้าเก็บสะสมไว้ออกมาซิ ” ( 5)

วิถีชีวิตที่ 6.

ในวันอาชูรออ์ ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ได้สั่งให้พรรคพวกของท่านจุดไฟในบริเวณคูกั้นด้านหลังกระโจมที่พัก เพื่อให้สถานที่รบมีอยู่เพียวด้านเดียวและให้กระโจมที่พักปลอดภัยจากการถูกบุกเข้าจู่โจมชาวเมืองกูฟะฮฺที่อยู่ตามบ้านเรือนต่างก็ได้แลเห็นกองไฟที่ติดอยู่ในหลุม ดังนั้นชิมฺร จึงได้ร้องตะโกนขึ้นว่า

“ โอ้ฮุเซน เจ้าเร่งจุดไฟเผาตัวเองก่อนจะถึงวันกิยามะฮฺหรือ ?”

ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ถามว่า

“ นั่นเป็นใคร ? ดูเหมือนจะใช่ชิมฺร บุตรของซีเญาชัน ”

มีคนบอกว่า

“ ใช่แล้ว ”

ท่านอิมาม(อฺ)จึงกล่าวว่า

“ โอ้บุตรของคนเลี้ยงแกะเอ๋ย เจ้านั่นแหละจะมีสิทธิลงนรก ก่อนเข้า ”

ชายคนหนึ่งมีชื่อว่า มุสลิม บินเอาซะญะฮฺ ต้องการจะยิงธนูใส่ไปยังชิมฺร แต่ท่านอิมาม(อฺ)กลับทัดเขาไว้ พลางกล่าวว่า

“ ฉันไม่อยากเป็นฝ่ายเริ่มก่อสงครามก่อนพวกเขา ” ( 6)

วิถีชีวิตที่ 7.

มีคนพบรอยแผลเป็นบนหลังของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ในวันโศกนาฏกรรม ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(อฺ)ถูกลามถึงรอยแผลนี้

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ นี่คือรอยแผลอันเกิดจากการที่ท่านแบกแป้งสาลีใส่กระสอบเพื่อนำไปแจกจ่ายตามบ้านเรือนของหญิงหม้าย ลูกกำพร้า และคนยากจนเข็ญใจ ” (7)

(5) บิฮารุล-อันวาร เล่ม 10 หน้า 143

(6) มักตัลฮุเซน ของมุก็อรร็อม หน้า 253

(7) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ เล่ม 1 หน้า 132

การบำเพ็ญคุณธรรมและความเผื่อแผ่ของอิมามที่ 3

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของท่านอิมามฮุเซน(อฺ) ประมุขของบรรดาชะฮีดนั้น นับเป็นเรื่องที่บรรดานักประวัติศาสตร์และนักรายงานฮาดีษและบรรณานุกรม ต่างๆได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้นเมื่อมีการกล่าวถึงท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ก็จะมีการนำเอาคุณงานความดี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ความสุภาพอ่อนโยนของท่าน(อฺ)มารายงานกันอย่างมากมายซึ่งในเรื่องเหล่านี้มิใช่เป็นเรื่องแปลก

เพราะท่าน(อฺ)คือบุตรของท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อฺ)ผู้ซึ่งถ้าหากว่ามีบ้านอยู่สองหลัง หลังหนึ่งทำด้วยทองคำ อีกหลังหนึ่งทำด้วยอิฐธรรมดา แน่นอนท่าน(อฺ)จะต้องบริจาคบ้านหลังที่ทำด้วยทองคำก่อนเป็นอันดับแรก (1)

ในบทนี้ จะเสนอเรื่องราวบางประการที่เกี่ยวกับคุณงามความดีและความเผื่อแผ่ของท่านอิมามฮุเซน(อฺ)

- 1-

ท่านอะบูอับดุรเราะฮฺมาน อับดุลลอฮฺ บินฮะบีบ อัซ-ซิลมี ได้สอนซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺให้แก่ บุตรชายคนหนึ่งของท่านอิมามฮุเซน(อฺ) ครั้นเมื่อเขาได้กลับไปอ่านให้ผู้เป็นบิดาฟัง ท่าน(อฺ)ก็ได้มอบเงินจำนวน 1 , 000 ดีนารให้แก่ท่านอับดุรเราะฮฺมาน อีกทั้งยังไมอบเพชรนิลจินดาและเครื่องใช้

อีกมากมายจนกระทั่งมีคนพูดกันถึงเรื่องนี้ว่าท่าน(อฺ)ให้การตอบแทนมากไป

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ ไหนเลยจะทัดเทียมกับที่เขามอบให้ (หมายถึงการสอน) ”

- 2-

มีชาวอาหรับคนหนึ่งมาหาท่านอิมามฮุเซน(อฺ)แล้วกล่าวว่า

“ โอ้บุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ฉันเองมีหนี้สินอยู่จำนวนหนึ่งและสุดความสามารถที่จะชดใช้คืนได้ ฉันจึงบอกกับตัวเองว่าจำเป็นจะต้องถามหาคนที่เผื่อแผ่ที่สุด แต่ก็ไม่เห็นใครจะเอื้อเฟื้อได้มากกว่าผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ”

(1) เป็นคำพูดประโยคหนึ่งของมุอาวียะฮฺ ในเรื่องของท่านอิมามอะลี (อฺ) ดังที่มีการนำมาอ้างไปแล้วในหนังสือชุดที่หนึ่ง

ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)กล่าวว่า

“ โอ้พี่น้องอาหรับเอ๋ย ฉันจะตั้งคำถามถามท่านสามประการ ถ้าหากท่านตอบได้หนึ่งข้อ ฉันจะมอบเงินให้ท่านสองในสาม และถ้าหากท่านตอบได้หมดทุกข้อ ฉันก็จะมอบให้ท่านตามจำนวนเงินทั้งหมด ”

ชาวอาหรับกล่าวว่า

“ โอ้บุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ คนอย่างท่านหรือจะตั้งคำถามคนอย่างข้าพเจ้า ตัวท่านเองเป็นถึงคนที่เยี่ยมยอดด้วยวิชาความรู้ ?”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า

“ ใช่แล้ว แต่ฉันเองเคยได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ตาของฉันกล่าวว่า การทำความดีนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของการมีความรู้ ”

ชาวอาหรับคนนั้นกล่าวว่า

“ ถ้าเช่นนั้น ขอให้ท่านถามฉันมาเถิด ถ้าฉันตอบถูกก็ดีไปแต่ถ้าตอบไม่ได้ ก็จะได้เรียนรู้จากท่านอีก ไม่มีพลังใดๆ นอกจากโดยการอนุมัติของอัลลอฮฺ ”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ งานอะไรที่ถือว่าประเสริฐที่สุด ?”

ชาวอาหรับ : “ ความศรัทธาที่มีต่ออัลลอฮฺ ”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ อะไรคือสิ่งที่ทำให้ปลอดภัยจากความเสียหาย ?”

ชาวอาหรับ : “ การมีความยึดมั่นต่ออัลลอฮฺ ”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ อะไรคือเครื่องประดับของผู้ชาย ?”

ชาวอาหรับ : “ ความรู้อันควบคู่ด้วยความสุขุม ”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ ถ้าหากฉันจะว่าเธอตอบผิด ?”

ชาวอาหรับ : “ ทรัพย์สินอันควบคู่ด้วยความเผื่อแผ่ ”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ ถ้าฉันจะว่าเธอตอบผิด ?”

ชาวอาหรับ : “ ความจนอันควบคู่กันความอดทด ”

ท่านอิมาม(อฺ) : “ ถ้าหากฉันจะว่าเธอตอบผิด ?”

ชาวอาหรับ : “ สายฟ้าแลบฟาดลงมาจากฟากฟ้า แล้วแผดเผาทำลายมันเพราะมันควรจะได้รับเช่นนั้น ”

ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ถึงกับปล่อยเสียงหัวเราะออกมา พร้อมกับมอบเงินจำนวน 1 , 000 ดีนาร ให้เขาไป อีกทั้งยังได้มอบแหวนของท่าน(อฺ)ซึ่งมีราคาสองร้อยดิรฮัมแก่เขาไปด้วย แล้วกล่าวว่า

“ โอ้ชาวอาหรับเอ๋ย จงมอบทองเหล่านี้ให้แก่เจ้าหนี้ของท่านเถิด ส่วนแหวนนั้น ให้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของท่าน ”

ชาวอาหรับได้รับเอาสิ่งของเหล่านั้น แล้วกล่าวว่า

“ อัลลอฮฺทรงมอบรู้ว่าจะประทานสาส์นของพระองค์ไว้ ณ ที่ใด ” ( 2)

- 3-

ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ได้เข้าพบท่านอุซามะฮฺ บินซัยดฺ ในขณะที่เขากำลังป่วยอยู่ เขากล่าวรำพึงด้วยความกลุ้มใจ

ท่านอิมาม(อฺ)ถามว่า

“ โอ้พี่ชายเอ๋ย ท่านกลุ่มใจด้วยเรื่องอันใด ?”

ท่านอุซามะฮฺตอบว่า

“ ฉันมีหนี้สินจำนวน 60 , 000 ดิรฮัม ”