ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 42462
ดาวน์โหลด: 4441


รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 157 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 42462 / ดาวน์โหลด: 4441
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

อัตชีวประวัติอิมามมะอฺศูมีน 4

Brief Biography of Imam Masoomeen 4

อะลี ซัยนุลอฺาบีดีน (อฺ)

IMAM ALI ZAINUL ABIDEEN (A)

เขียน

ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล

Prof. Sheik ALI MUHAMMAD ALI DUKYIL

แปล

อาจารย์อัยยูบ ยอมใหญ่

Autaz Ayyub Yomyai

บทนำ

ตลอดช่วงระยะเวลาอันยาวนานแห่งอายุขัยของโลกยังไม่เคยได้ประจักษ์ถึงมนุษย์กลุ่มใดที่เพียบพร้อมไปด้วยเกียรติคุณ และความดีเด่นนานัปการอย่างครบครัน เหมือนกับบรรดาอิมามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงอำนวยพรให้

ถึงกระนั้นก็ยังเป็นเรื่องแปลกที่ประชาชาตินี้ยังมิได้ให้การยอมรับในตำแหน่งการเป็นผู้นำของบรรดาอิมามเหล่านี้อย่างเป็นเอกฉันท์ ในขณะที่พวกเขาร่วมลงมติกันอย่างเป็นเอกฉันท์ในกรณีที่ว่ามีโองการหลายโองการและวจนะของท่านศาสดาหลายตอนที่ถูกประทานลงมาที่กล่าวถึงบรรดา

อิมามเหล่านั้นรวมทั้งข้อความที่พวกเขากล่าวถึงบรรดาอิมามไว้เอง

ในแง่ของวิชาการ พฤติกรรม การเคารพภักดี ความสมถะ ความสำรวม จริยธรรม เกียรติคุณ ความกล้าหาญ และแบบแผนการดำรงชีวิตที่เป็นเยี่ยงอย่าง กล่าวคือ พวกเขาไม่เห็นด้วยกับบรรดานักปราชญ์ชีอะฮฺในบัญญัติและหลักฐานที่ชัดเจนที่ว่า

ตำแหน่งอิมามจะต้องมีในหมู่คนเหล่านี้ดังที่มีข้อบัญญัติจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่า ท่านได้แต่งตั้งคนเหล่านี้ไว้โดยระบุชื่อของแต่ละคนๆ ไว้ ดังที่ท่านได้อ่านผ่านพ้นไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ถือได้ว่า ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺจะต้องเป็นของพวกเขาอย่างชนิดที่แยกออกจากกันมิได้ และพฤติกรรมที่ดีที่สุดในประชาชาตินี้ และเหนือกว่าใครๆ ทั้งหมดในแง่ของจริยธรรมอันแสนประเสริฐ

การที่ประชาชาติอิสลามมองข้ามความสัมพันธ์ตำแหน่งการเป็นผู้นำของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นี้ถือว่า เป็นความอยุติธรรมและการละเมิดสิทธิประการหนึ่งต่อบุคคลเหล่านั้นที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูต(ศ)ได้กำหนดไว้ และในขณะเดียวกันก็เท่ากับว่า มวลมนุษย์เหล่านี้อยุติธรรมต่อตัวเองที่ขัดขืนต่อสัจธรรมและหลีกเลี่ยงเบี่ยงเบนออกขากวิถีทางอันเที่ยงตรง ทั้งๆ ที่รู้ซึ้งอยู่แก่ใจถึงความดีเด่นและฐานภาพอันสูงส่งของพวกเขาเหล่านั้นแล้วเป็นอย่างดี

“ พวกเขาคัดค้านต่อสิ่งนั้นในขณะที่จิตใจของพวกเขายอมรับในสิ่งนั้นอยู่ด้วยความอธรรมและหยิ่งยะโส ” (1)

(1) ซูเราะฮฺ อัน-นัมล์: 14

นี่คือเรื่องที่น่าเสียใจยิ่งที่ตัดพันอย่างต่อเนื่องกันมา นับตั้งแต่ช่วงแรกของหน้าประวัติศาสตร์ แต่ความเป็นไปของสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนขึ้นอยู่กับอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เสมอ

เรื่องราวที่นำมากล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ก็คือ “ ชีวประวัติอิมามที่ 4”

ในบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) นั่นคือ อิมามอฺะลี บิน อัล-ฮุเซน บินอฺะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ)

ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นในการกล่าวถึงอิมามท่านนี้อย่างไรดีหรือว่าเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงการประสบทุกขภัยของท่านที่ไม่เคยมีบุรุษใดในโลกนี้ได้รับเท่า ? นั่นคือ โศกนาฏกรรมอันเกิดขึ้นที่กัรบะลาอฺ

นับตั้งแต่ต้นจนจบ ในฐานะที่ท่านอยู่ร่วมบิดา พี่ๆ น้องๆ และบรรดาลุง ป้า น้าอา และลูกพี่ลูกน้อง

ตลอดถึงบรรดาสหายผู้ติดตามท่านผู้เป็นบิดา(ขอให้ความปิติชื่นชมจากอัลลอฮฺ พึงมีแก่คนเหล่านั้นทั้งมวล) ขณะเดียวกันท่านอิมาม(อฺ)ท่านนี้ก็อยู่ร่วมในเหตุการณ์อันแสนระทึกใจกับบรรดาบุตรสาวของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่วิ่งกันอย่างชุลมุน เข้าๆ ออกๆ จากกระโจมพร้อมกับมีเสียงร้องตะโกนจากทหารของฝ่ายศัตรูว่า

“ เผากระโจมของพวกอธรรมเสียเถิด ”

ความอดทนของท่านพลีมอบแด่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในขณะที่ท่านมองเห็นบุตรชายของมัรญานะฮฺถือมีดดาบเข้ามาเชือดคออิมามฮุเซน(อฺ)ผู้เป็นบิดาของท่านเอง และไปจบลงที่เหตุการณ์เมื่อตอนเดินทางเข้าสู่เมืองชาม(ซีเรีย) แล้วเข้าพบในมหาสมาคมของยะซีด บุตรของอุมาวิยะฮฺผู้ชั่วร้ายในตระกูลของอุมัยยะฮฺ

มาตรแม้น ท่านนบีอัยยูบ(อฺ)ได้แลเห็นเหตุการณ์เหล่านี้เพียงบางส่วนแน่นอนท่านจะต้องยอมรับว่า

“ ใช่แล้ว นี่คือการทดสอบที่ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง ”

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ไม่เพียงแต่ทุกขภัยที่ประสบกับท่านนบีอัยยูบ(อฺ)เท่านั้นที่ต้องถือว่าเป็นเรื่องเล็ก เมื่อมาเทียบกับทุกขภัยที่ประสบกับท่าน หากแต่ทุกขภัยทั้งหลายแหล่ของชาวโลกนับแต่เริ่มมีการปฏิสนธิท่านนบีอาดัม(อฺ)ขึ้นมาในดาวเคราะห์ดวงนี้จนถึงวันฟื้นคืนชีพก็ย่อมเป็นเรื่องเล็กไปเสียทั้งสิ้น เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ท่น(อฺ)ประสบ

ในเมื่อเรื่องราวจากสภาพการณ์ประสบทุกขภัยของท่านอิมาม(อฺ)ท่านนี้

มีปรัชญาอันลึกซึ้งและให้แง่มุมต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางแล้วบทบาทการดำเนินชีวิตในด้านอื่นๆ ของท่านก็ย่อมเต็มไปด้วยอุทาหรณ์และบทเรียนอย่างมากมาย กล่าวคือท่านอิมาม(อฺ)ท่านนี้ เป็นบุคคลที่เปี่ยมล้นไป

ด้วยการเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า ดังที่ท่านอิบนุ อะบิลฮะดีดได้เคยกล่าวไว้ทำไมจะไม่ใช่อย่างนั้นเล่า ในเมื่อประวัติศาสตร์อิสลามทั้งมวลต่างร่วมกันบันทึกว่า :

ท่านผู้นี้นมาซทั้งกลางวันและกลางคืน 1,000 ร่อกะอัต อวัยวะส่วนที่ใช้ในการก้มกราบ ( ซุญูด) ถึงกับกร้านเหมือนกับรอยกร้านของเข้าอูฐที่ต้องตัดมันออกถึงปีละสองครั้ง จนไม่มีใครรู้จักท่านด้วยนามอื่นนอกจากนี้คำว่า

“ ซัยนุลอฺาบิดีน ” ( อาภรณ์แห่งผู้เคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า)

“ อัซ-ซัจญาด ” ( ผู้ถึงแล้วซึ่งการกราบ)

“ ซุษ-ษะฟะนาติล-บะอีรฺ ” ( เจ้าแห่งรอยกร้านเยี่ยงเขาอูฐ) และ

“ ซัยยิดุลอฺาบิดีน ” ( นายแห่งผู้เคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า)

ขณะเดียวกันแบบแผนในการดำเนินชีวิตของท่านอิมาม(อฺ)ผู้นี้คือแบบฉบับอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครเทียบได้ นอกจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)หรือทายาทของท่านศาสดาเท่านั้น มิฉะนั้นแล้วยังจะมีใครอีกที่ยอมรับให้การอุปการะคนในครอบครัวของมัรวาน บินฮะกัน (คนที่เป็นศัตรูของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺมากที่สุด)ด้วยการนำไปเลี้ยงดูที่ครอบครัวของท่านเองเมื่อเขาประสบความเดือดร้อน หรือยังมีใครอีกที่ให้การเลี้ยงดูชาวเมือง

มะดีนะฮฺนับร้อยหลังคาเรือน หรือยังมีใครอีกที่แบกแป้งข้าวสาลีเพื่อนำไปแจกจ่ายตามบ้านเรือนของคนยากจนอยู่เป็นประจำโดยนำไปส่งให้ถึงที่

อย่างเป็นความลับ จนคนทั้งหลายไม่รู้จักท่านเลย

เมื่อเราจะกล่าวถึง เนื้อหาสาระในบทอ้อนวอนต่อพระผู้อภิบาลของอิมาม(อฺ)ท่านนี้แล้ว ถ้าหากยกเว้นอัล-กุรอาน และวจนะของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) รวมทั้งหนังสือนะฮฺญุล-บะลาเฆาะฮฺแล้ว ก็ไม่อาจหาคำพูดใดมาเปรียบเทียบความสูงส่งได้ เพราะมันหมายถึง ต้นตำรับของวงศ์วานแห่งศาสดามุฮัมมัด(ศ) และเป็นสารานุกรมเกี่ยวกับความรู้อันยิ่งใหญ่ในเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า

เพื่อมิให้บทนำของหนังสือเล่มนี้ยืดยาวมากเกินไป จะขอนำท่านเข้าสู่เนื้อหาสาระตามบทต่างๆ ของหนังสือได้ ณ บัดนี้ ลำดับแรกจะเป็นการเสนอวิถีการดำเนินชีวิตบางแง่มุมของท่าน รวมทั้งวจนะสั้นๆ อันทรงคุณค่าและภาพพจน์จากแบบแผนชีวิตอันทรงเกียรติที่เต็มไปด้วยตัวอย่างที่สูงส่งโดยสรุปย่อให้สั้นเท่าที่จะทำได้ อีกทั้งจะมีการกล่าวถึงคำสอนของท่าน(อฺ)ที่เป็นเสมือนสุภาษิตเตือนใจ ในลำดับสุดท้ายก็จะกล่าวถึงถ้อยคำของบรรดานักปราชญ์ ผู้ทรงเกียรติ ที่ได้กล่าวยกย่องและสรรเสริญท่าน(อฺ)แต่ก็หาพรรณนาได้หมด

ชีวประวัติอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)

นามจริง

อฺะลี บินฮุเซน(อฺ)

ท่านปู่.....

อฺะลี อะมีรุลมุมินีน(อฺ)

ท่านบิดา......

ฮุเซน บินอฺะลี(อฺ)

( ผู้เป็นยอดวีรชนแห่งอิสลาม)

ท่านมารดา.....

ชาฮฺ ซานาน (ราชินีแห่งมวลสตรี)

ธิดาของท่านยัซดฺ ญัรดฺ บินชะฮฺริยาร บินกุชรอ กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย

ท่านอะมีรุลมุมินีน(อฺ) ขนานนามให้ใหม่ว่า “ มัรยัม ”

บ้งก็ว่า “ ฟาฏิมะฮฺ ” บางทีก็ถูกเรียกว่า “ ซัยยิดะตุนนิซาอ์ ”

พี่น้องชาย.......

ท่านอฺะลี อัล-อักบัร

ท่านอับดุลลอฮฺ อัร-ร่อฏีอ์

( สองวีชนแห่งอิสลามในสมรภูมิกัรบะลาอ์)(1)

(1) เสียชีวิตในขณะที่บิดา (อิมามฮุเซน) ของท่านยังมีชีวิตอยู่

พี่น้องหญิง.....

ท่านหญิงซะกีนะฮฺ

ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ

และท่านหญิงรุร็อยยะฮฺ

สถานที่และวันเกิด......

เกิดที่นครมะดีนะฮฺ เมื่อวันศุกร์ที่ 5 ชะอฺบาน ฮ.ศ. 38

สมญานาม.......

อะบู มุฮัมมัด

ฉายานาม......

ซัยนุลอาบิดีน (อาภรณ์แห่งผู้เคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า) ,

ซัยยิดุซซาญิดีน (นายแห่งผู้ถึงแล้วซึ่งการกราบ) ,

ซัยยิดุลอฺาบิดีน (นายแห่งผู้เคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า) ,

อัซ์-ซะกี (ผู้ชาญฉลาด)

อัล-อะมีน (ผู้ซื่อสัตย์) ,

ซุษ-ษะฟะนาต (เจ้าแห่งรอยกร้าน)

ท่านได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์อภิมหาวิปโยคแห่งกัรบะลาอ์

ในขบวนครอบครัวที่ถูกควบคุมตัวในฐานะเชลยที่เมืองกูฟะฮฺ

หลังจากเกิดเหตุการณ์อันเศร้าสลด ต่อจากนั้นก็ถูกนำตัวไปยังเมืองชาม

ภรรยาที่ปรากฏชื่อเสียง.....

ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บุตรีของท่านอิมามฮะซัน(อฺ)

บุตรชาย.......

ท่านมุฮัมมัด (อะบู ญะอฺฟัร อัล-บาเก็ร(อฺ))

ท่านอับดุลลอฮฺ อัล-ฮะซัน

ท่านฮุเซน

ท่านซัยดฺ

ท่านอุมัร

ท่านฮุเซน อัศฆ็อร

ท่านอับดุรเราะฮฺมาน

ท่านซุลัยมาน

ท่านอฺะลี

ท่านมุฮัมมัด อัล-อัศฆ็อร

บุตรสาว.......

ท่านหญิงค่อดีญะฮฺ

ท่านหญิงอุมมุกุลษูม

ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ

ท่านหญิงอาลียะฮฺ

ลายสลักที่วงแหวน......

วะมาเตาฟีกี อิลลา บิลลาฮฺ

“ ไม่มีสัมฤทธิ์ผลใดที่บังเกิดต่อข้าฯ นอกจากโดยอัลลอฮฺ ”

กวีผู้มีชื่อเสียงในสมัยท่าน(อฺ).......

ท่านอัล-ฟัรซะดัก

ท่านกาซีร อิซ์ซ์ะฮฺ

คนรับใช้ของท่าน......

อะบูญิบละฮฺ

อะบูคอลิล อัล-กามิลี

ยะฮฺยา อัล-มัฏอะบี

สถานที่พำนัก......

ท่าน(อฺ)อาศัยที่นครมะดีนะฮฺ

เรื่องราวที่สำคัญก็เกิดขึ้นในช่วงที่ท่าน(อฺ)พำนักอยู่

ท่าน(อฺ)ได้ให้ความรู้และแสดงความเอื้ออารีให้ประจักษ์แก่สายตาของผู้คนในสมัยนั้น

ช่วงแห่งการเป็นอิมามของท่าน(อฺ)......

ท่าน(อฺ)มีชีวิตหลังการจากไปของบิดาของท่านคือ

ท่านอิมามฮุเซน บินอฺะลี(อฺ) เป็นเวลา 34 ปี ซึ่งก็คือ ช่วงเวลาแห่งการดำรงฐานะภาพอิมามของท่านนั่นเอง

กษัตริย์ ผู้ปกครองที่อยู่ในสมัยของท่าน(อฺ)......

ยะซีด บินมุอฺาวิยะฮฺ

มุอฺาวิยะฮฺ บินยะซีด ,

มัรวาน บินฮะกัม ,

อับดุลมาลิก บินมัรวาน ,

และอัล-วะลีด บินอับดุลมาลิก บินมัรวาน

ผลงานของท่าน(อฺ).......

อัศ-ศอฮีฟะฮฺ อัซ-ซัจญาดียะฮฺ และริซาละตุลฮุกูก

ท่าน(อฺ)ถูกลอบวางยาพิษ.....

โดย อัล-วะลีด บินอับดุลมาลิก บินมัรวาน

วายชนม์.......

ในวันที่ 25 มุฮัรร็อม ปี ฮ.ศ. 95

หลุมฝังศพของท่าน(อฺ).......

ฝังอยู่ในอัล-บะเกียะอฺ เคียงข้างอาท่านคืออิมามฮะซัน(อฺ)

หลุมฝังศพของท่าน(อฺ)ถูกทำลาย......

โดยฝีมือของพวกวะฮาบีย์

ในวันที่ 8 เดือนเชาวาล ปี ฮ.ศ. 1344

ข้อบัญญัติเรื่องตำแหน่งคอลีฟะฮฺ (ผู้นำ)ของท่านอฺะลี บิน ฮุเซน(อฺ)

ตำแหน่งอิมามตกเป็นของท่านอิมามอฺะลี บิน ฮุเซน(อฺ)แต่เพียงผู้เดียว เนื่องจากไม่มีคนอื่นอ้างถึงสิทธิในตำแหน่งนี้เลยเพราะท่านคือคนที่มีความเด่นกว่าใครๆ ทั้งหมด ทางวิชาการพฤติกรรม ความสำรวม การยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า และความสมถะ และเพราะมีข้อบัญญัติจากบิดาของท่านเองไว้ให้แก่ท่านแล้วด้วย ประกอบกับมีข้อบัญญัติที่สืบทอดมาจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)อีกส่วนหนึ่ง

เราจะขอกล่าวถึงบทบัญญัติบางข้อ ดังต่อไปนี้

ข้อบัญญัติเรื่องที่ 1

ชายคนหนึ่งถามท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ว่า

“ โปรดบอกจำนวนของบรรดาอิมามภายหลังจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ มีจำนวน 12 คนเท่ากับจำนวนของต้นตระกูลของพวกบะนีอิสรออีล ”

เขาถามอีกว่า “ ขอให้ท่านบอกรายชื่อคนเหล่านั้นให้แก่ข้าพเจ้าด้วย ”

ท่านอิมามฮุเซน(อฺ)ก้มศีรษะลง แล้วผงกขึ้นพลางกล่าวว่า

“ ได้ซิ พี่น้องชาวอาหรับ แท้จริงอิมามและคอลีฟะฮฺภายหลังจากสมัยของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)แล้วมีอฺะลี บินอะบีฏอลิบ ต่อมาก็คือฮะซันและข้า อีกทั้งลูกหลานที่สืบต่อจากข้าอีก 9 คน อันถือเป็นกำเนิดสืบไปจากสายของอฺะลี ผู้เป็นบุตรของข้า หลังจากนั้นคือ มุฮัมมัดบุตรของเขา ” (2)

(2) กิฟายะตุล-อะษัร ฟิน-นุศูศิ อะลัล อะอิมมะ อิษนาอะซัร

ข้อบัญญัติเรื่องที่ 2

ท่านมุฮัมมัด บินมุสลิม(ร.ฏ.) กล่าวไว้ว่า : ข้าพเจ้าเคยถามท่าน อัศศอดิก ญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด(อฺ) เกี่ยวกับเรื่องแหวนของท่านฮุเซน บินอฺะลี (อฺ)ว่า

“ มันตกไปเป็นของใคร ?”

แล้วข้าพเจ้าก็ได้บอกท่านว่า

“ ฉันได้ยินมาว่า มันตกไปเป็นของคนที่ขโมยไปจากนิ้วของท่าน(ตอนถูกสังหาร) ”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า “ ไม่ได้เป็นอย่างที่พวกเขาพูดออก

แท้จริงท่านฮุเซน (อฺ) ได้ทำพินัยกรรมไว้แก่ อฺะลี บินฮุเซน บุตรชายของท่าน และมอบแหวนจากนิ้วของท่านให้เขาด้วย โดยท่านได้มอบให้เขาเหมือนอย่างที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) เคยมอบให้แก่

ท่านอะมีรุลมุมินีน(อฺ) และเหมือนกับที่ท่านอะมีรุลมุมินีน(อฺ)มอบให้แก่ท่านฮะซัน(อฺ) และเหมือนกับท่านฮะซัน(อฺ)มอบให้แก่ท่านฮุเซน(อฺ)นั่นเอง ต่อมาแหวนวงนั้นก็ได้ตกมาเป็นของบิดาของฉันต่อจากบิดาของท่าน(อฺ) ถัดจากท่านแล้วมันก็มาถึงฉันซึ่งฉันสวมมันอยู่ทุกวันศุกร์และนมาซโดยใส่มันด้วย ”

ท่านมุฮัมมัด บินมุสลิม (ร.ฏ.)ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อถึงวันศุกร์ข้าพเจ้าก็ได้เข้าไปหาท่านอิมามศอดิก(อฺ) ในขณะที่ท่านกำลังนมาซอยู่ เมื่อนมาซเสร็จแล้วท่านก็ยื่นมือมาให้ข้าพเจ้าดู ข้าพเจ้าได้เห็นว่าที่นิ้วของท่านมีแหวนวงหนึ่งมีลายสลักว่า

“ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ อุดดะตัน ลิลิกฺออิลลาฮฺ

( ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ พร้อมแล้วซึ่งการเข้าพบอัลลอฮฺ) ”

ท่านกล่าวว่า “ นี่คือแหวนของท่านอะบีอับดิลลาฮฺ อัล-ฮุเซน (อฺ) ผู้เป็นปู่ของฉัน ” (3)

(3) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11, หน้า 6

ท่านอัซ-ซุฮฺรี(ร.ฏ.)ได้รับรายงานจากอุบัยดิลลาฮฺ บินอุตบะฮฺ โดยเล่าว่า : ข้าพเจ้าเคยได้อยู่ใกล้ท่านฮุเซน บินอฺะลี(อฺ) ขณะนั้นอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)ซึ่งยังเป็นเด็กได้เข้ามาหาท่านฮุเซน(อฺ)ท่านได้เรียกเขาเข้ามาอุ้ม และจูบลงตรงระหว่างนัยน์ตา แล้วกล่าวว่า

“ ขอสาบานในนามแห่งบิดาของข้า กลิ่นกายของเจ้าช่างหอมหวนอะไรอย่างนี้ บุคลิกภาพของเจ้าช่างดีเหลือเกิน ”

ท่าน(อฺ)ถามว่า “ พวกเจ้าจะเข้ามาพัวพันกับข้าในเรื่องนี้หรือไม่ ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า “ ขอสาบานในนามบิดาและมารดาของข้า โอ้ ท่านผู้เป็นบุตรแห่งศาสนทูตของอัลลอฮฺ (ศ) ถ้าสิ่งที่เราขอการคุ้มครองจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.)(ไม่อยากให้เกิดขึ้น)มา ตำแหน่งที่เรารู้ว่ามีอยู่ในตัวท่าน (ตำแหน่งการเป็นอิมาม) ขณะนี้จะได้แก่ใคร ?”

ท่านอิมามฮุเซน(อฺ) ตอบว่า “ จะได้แก่ อฺะลี บุตรชายของข้าคนนี้แหละ เขาคืออิมามที่เป็นบิดาของอิมามทั้งปวง ” (4)

(4) กิฟายะตุล-อะษัร ฟิน-นุศูศิ อะลัล อะอิมมะ อิษนาอฺะชัร

อิบาดะฮฺอันยิ่งใหญ่ของอิมามซัจญาด(อฺ)

เราสามารถสรุปได้แต่เพียงว่า ท่านคือบุคคลที่มีฉายานามอันเนื่องมาจากการอิบาดะฮฺ ( เคารพภักดี) ของท่าน (อฺ) ที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าจนไม่มีใครรู้จักในชื่ออื่น นอกจากชื่อเหล่านี้ กล่าวคือนับตั้งแต่ชื่อที่ว่า ซัยนุลอฺาบิดีน จนถึงชื่อ ซัยยิดดุซซาญิดีน ซัยยิดุลอฺาบิดีน ซัจญาด และถ้าหากเราบันทึกเรื่องราวต่างๆ ทั้งหมดที่บรรดานักประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้ในเรื่องการอิบาดะฮฺของท่าน

แน่นอนเราจำเป็นจะต้องมีหนังสืออีกเล่มหนึ่งต่างหากแต่ในที่นี้เราจะขอนำมากล่าวเพียงเล็ก ๆน้อยๆ เท่านั้น

1. ท่านอิมามบาเก็ร (อฺ) ได้กล่าวไว้ว่า:

ท่านอฺะลี บิน ฮุเซน(อฺ) นมาซแต่ละครั้งในวันหนึ่งกับคืนหนึ่งมากถึง 1 , 000 ร่อกะอัต

ครั้งหนึ่งกระแสลมพัดแรงจนท่านโอนเอนเหมือนดังรวงข้าว ท่านมีต้นอินทผลัมอยู่ 500 ต้น ท่านจึงนมาซตรงต้นอินทผลัมเหล่านั้นทุกต้นๆ ละสองรอกะอัต พอท่านยืนขึ้นทำการนมาซ สีหน้าท่านเปลี่ยนไปเป็นอีกสีหนึ่ง ลักษณะของท่านในการนมาซดุจดังการยืนของข้าทาสผู้ต่ำต้อยต่อหน้ากษัตริย์ผู้เรื่องอำนาจ ร่างกายของท่านสั่งระริก เพราะความหวั่นกลัวต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเมื่อท่านนมาซในคราวหนึ่งๆ ท่านถือเสมือนหนึ่งว่าจะไม่มีโอกาสได้นมาซต่อไปอีกแล้ว(1)

( 1) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 , หน้า 251. อัล-ศิศ็อล หน้า 517.

2. และกล่าวอีกว่า:

ใบหน้าของท่านซีดเซียวเพราะความกลัว ดวงตาแดงก่ำเพราะร้องไห้หน้าผากกร้าน ปลายจมูกสึกเจ่อเพราะการกราบ แข้งและเท้าของท่านบวมเพราะยืนนามในการนมาซ เมื่อเวลานมาซมาถึงเส้นขนบนผิวหนังของท่านลุกซู่ ใบหน้าซีดเผือดเหมือนคนถูกข่มขู่(2)

(2) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 กอฟ 1/415

3. ท่านอิมามบาเก็ร (อฺ) กล่าวว่า:

ครั้งหนึ่งท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บุตรีของท่านอฺะลี บิน อะบีฏอลิบ (อฺ)เห็นการกระทำของท่านอฺะลี บิน ฮุเซน(อฺ) บุตรชายพี่ชายของนางที่หมกมุ่นอยู่กับการอิบาดะฮฺ นางได้ออกไปพบท่านญาบิรบินอับดุลลอฮฺ อัล-อันศอรี(ร.ฏ.) แล้วกล่าวว่า :

“ โอ้ สหายของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) พวกเรามีสิทธิต่อท่านอยู่หลายประการ

ประการหนึ่งก็คือ หากท่านเห็นพวกเราคนใดทำลายสุขภาพตัวเองเพราะพากเพียรอย่างถึงที่สุดแล้ว

ท่านจะต้องเตือนเขาเพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ผู้เป็นทายาทของฮุเซนผู้เป็นบิดา จมูกสึกเจ่อ หน้าผากกร้านทั้งหัวเขาและฝ่ามือของเขาด้วย เขาทุ่มตัวในการ

อิบาดะฮฺมากเกินไป ”

ท่านอิมามบาเก็ร(อฺ)กล่าวต่อไปว่า : แล้วท่านญาบิรก็ได้เข้าไปเห็นท่านอยู่ตรงสถานที่นมาซ ปรากฏว่าท่านซวนเซเพราะตรากตรำอยู่กับการ

อิบาดะฮฺ ครั้นเมื่อท่านอฺะลี(อฺ)พยุงตัวลุกขึ้น แล้วก็ทักทายท่านญาบิรอย่างแผ่วเบา จากนั้นก็นำเขาไปนั่งใกล้ๆ ตัวท่าน :

ท่านญาบิรได้จุมพิตท่าน(อฺ)แล้วกล่าวว่า :

“ โอ้ บุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ท่านทราบอยู่แล้วมิใช่หรือว่า อันที่จริงอัลลอฮฺ ( ซ.บ.) ทรงสร้างสวนสวรรค์ไว้เพื่อพวกท่านและเพื่อคนที่รักพวกท่าน สร้างนรกไว้สำหรับพวกที่โกรธเกลียดพวกท่านและเป็นศัตรูกับพวกท่าน แล้วทำไมท่านต้องทุ่มเทจนสุขภาพของท่านทรุดลงเช่นนี้ ”

ท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)กล่าวตอบว่า :

“ โอ้ สหายของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ท่านทราบหรือเปล่าว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ทวดของฉันนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงให้การ

นิรโทษกรรมตัวท่านทั้งในอดีตและอนาคตทั้งหมด แต่ท่านก็ไม่หยุดยั้งการพากเพียรของท่านเลย ขอสาบานในนามบิดาและมารดาของฉันว่า ท่านได้ทำการอิบาดะฮฺต่อพระผู้เป็นเจ้าจนแข้งของท่านบวม เท้าของท่านป่อง มีคนเคยถามท่านว่า ท่านทำอย่างนี้ทำไม ? ในเมื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงนิรโทษกรรมให้แก่ท่านหมดแล้วทั้งในอดีตและอนาคต ?

ท่านตอบว่า ก็ข้าเป็นบ่าวที่สำนึกรู้ในพระมหากรุณาธิคุณมิใช่หรือ ?”

เมื่อท่านญาบิรจ้องมองไปที่ท่านอฺะลี บิน ฮุเซน(อฺ) เขาก็ไม่หยุดยั้งในการพยายามพูดให้ท่านหันเหจากการทุ่มเทความพากเพียรและความมุมานะจนเหน็ดเหนื่อยให้ได้ตามจุดมุ่งหมาย เขาจึงกล่าวอีกว่า :

“ โอ้ บุตรของท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ(ศ) ข้าขอให้ท่านรักษาสุขภาพไว้ แท้จริงท่านมาจากครอบครัวที่ภัยบะอาอ์(ภัยพิบัติ)ถูกผลักไสออกไปเพราะพวกเขา ธงชัยต้องได้รับการเชิดชู และฟากฟ้าต้องประทานหยาดฝนลงมาเพราะ(การมีอยู่ของ)พวกเขา ”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวตอบว่า :

“ โอ้ญาบิรเอ๋ย ฉันไม่อาจหันเหจากแนวทางแห่งบิดาผู้ทนทุกข์ทั้งสองของฉันได้(ขอให้อัลลอฮฺทรงประทานพรแด่ท่านทั้งสอง) จนกว่าฉันจะได้พบกับท่านทั้งสอง ”

ท่านญาบิร(ร.ฏ.)ได้ออกมาพบกลุ่มบุคคลที่อยู่ที่นั้น แล้วกล่าวว่า :

“ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ไม่เคยปรากฏว่าลูกหลานของท่านศาสดาท่านใดจะเหมือนอย่างอฺะลี บิน ฮุเซน นอกจากศาสดายูซุฟ บุตรของยะอฺกู๊บ(ความสันติดพึงมีแด่ท่านทั้งสอง)

แต่ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺอีกว่า เชื้อสายของอฺะลี บุตรของ

ฮุเซน มีความดีเด่นกว่าเชื้อสายของยูซุฟ บุตรของยะอฺกู๊บ เพราะในหมู่พวกเขาจะมีคนหนึ่งซึ่งจะนำความยุติธรรมมาสู่โลกอย่างเต็มเปี่ยมเหมือนอย่างที่มันเคยเต็มไปด้วยความอธรรมมาก่อน ” ( 3)

(3 ) บิฮารุล- อันวารฺ เล่ม11 , หน้า19