ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 42459
ดาวน์โหลด: 4441


รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 157 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 42459 / ดาวน์โหลด: 4441
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

4. ท่านอุซต๊าซอับดุลอะซีซ ซัยยิดุลอะฮฺลิ ได้กล่าวไว้ว่า:

ไม่เคยปรากฏว่าในโลกนี้จะมีคนที่ทำการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า และสมถะมากที่สุดเหมือนท่านมาก่อน ประชาชนให้ฉายานามแก่ท่านว่า

“ ซัยนุลอฺาบิดีน ” และในเมื่อประชาชนเห็นว่า ท่านทำการกราบต่อพระเจ้าอย่างชนิดที่ไม่เคยหยุดหย่อนก็ให้ฉายานามท่านอีกว่า “ อัซ-ซัจญาด ”

เมื่อปรากฏว่า มีรอยของการกราบตรงหน้าผาก ท่านก็ได้รับฉายานามอีกว่า “ อัษ-ษะฟะนาต ” ( 4)

( 4) ซัยนุลอฺาบิดีน ของ ซัยยิดุลอะฮฺลิ หน้า 35.

5. เมื่อท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)

เข้าทำวุฏูอ์(น้ำนมาซ)เพื่อเตรียมตัวทำการนมาซนั้น ใบหน้าของท่านนั้นจะเป็นสีเหลืองซีด

มีคนเคยถามท่านว่า :

“ อะไรเป็นอุปสรรคแก่ท่านในการทำวุฏูอ์หรือ ?”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ พวกท่านรู้หรือเปล่าว่า ฉันต้องยืนอยู่เบื้องหน้าใคร ?”( 5)

( 5) อัชอาฟุร-รอฆิบีน หน้า 208. มะฏอลิบุซซุอูล เล่ม 2 , หน้า 42.

พิมพ์ครั้งที่ 2 , นูรุล-อับศ็อร หน้า 127. กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 198.

ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 183. ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 , หน้า 55.

6. เมื่อท่านจะเริ่มเข้าทำการนมาซ

ท่านจะมีอาการตัวสั่นงันงก มีคนเคยถามว่า “ ท่านเป็นอะไรไป ?”

ท่านตอบว่า “ พวกท่านไม่รู้หรือว่า ฉันจะยืนต่อหน้าใครและปรากฏกับใคร ?” ( 6)

( 6) ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 , หน้า 55.

7. ครั้งหนึ่งได้เกิดไฟไหม้ขึ้นในบ้าน

ขณะที่ท่าน(อฺ) กำลังซุญูด(กราบพระผู้เป็นเจ้า)อยู่ คนทั้งหลายต่างพากันตะโกนว่า

“ โอ้ บุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ไฟ...ไฟ..... ”

แต่แล้วท่านก็ไม่ยกศีรษะขึ้นเลยจนกระทั่งไฟดับ มีคนถามท่านเมื่อท่านลุกขึ้นนั่งแล้วว่า :

“ อะไรเป็นเหตุให้ท่านวางเฉยได้ ”

ท่านตอบว่า “ สิ่งที่ทำให้ฉันวางเฉยได้ก็คือ ไฟนรกอันยิ่งใหญ่ ” ( 7)

( 7) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 , หน้า 251.

8. ครั้งหนึ่งบุตรของท่านอิมามที่ 4 (อฺ) ตกบ่อชาวมะดีนะฮฺต่างพากันแตกตื่น จนกระทั่งสามารถนำเขาขึ้นมาได้ ขณะนั้นท่านอิมาม (อฺ) กำลังยืนนมาซอยู่โดยไม่ยอมห่างจากสถานที่ของท่านจึงมีคนพูดกับท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านได้ตอบว่า:

“ ฉันไม่รู้สึกอะไรเพราะฉันกำลังปรารภอยู่กับพระผู้อภิบาล

ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ” ( 8)

( 8) กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 207.

9. นักประวัติศาสตร์และนักบูรพาคดีอิสลาม

ได้บันทึกร่วมกันว่า : อิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)นมาซในแต่ละวันกลับคืนหนึ่งมากถึง 1 , 000รอกะอัต (9)

( 9) อัล-มะนากิบ หน้า 2 , หน้า 251. อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 183.

นูรูล-อับศ็อร หน้า 127. มะฏอลิบุซซุอูล เล่ม 2 , หน้า 47.

10. คนรับใช้ของท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน (อฺ)

เคยถูกถามในเรื่องของท่าน นางจึงถามกลับว่า

“ จะให้เล่าอย่างละเอียดหรือตอบเพียงคร่าว ๆ ?”

นางจึงกล่าวว่า “ ข้าพเจ้าไม่เคยจัดอาหารกลางวัน และไม่เคยจัดที่นอนในยามกลางคืนให้ท่านเลยแม้สักครั้งเดียว ” ( 10)

( 10) อัล-มะนากิบ เล่ม2 , หน้า 255. บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11 , หน้า 21.

11. ท่านอะบูญะอฺฟัร อัล-บาเก็ร (อฺ) กล่าวว่า:

ท่านอฺะลี(อฺ)ผู้เป็นบิดาของท่านนั้น เวลาใดที่ท่านระลึกถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ( ซ.บ.) ท่านจะต้องซุญูด (กราบพระองค์) เสมอ ไม่ว่าท่านจะอ่านอัล-กุรอานโองการใดที่มีหมายเหตุว่าให้ซุญูด ท่านจะต้องซุญูดเสมอ คราวใดที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทรงสกัดกั้นความเลวร้ายอันน่าหวาดกลัวหรือแผนการร้ายของคนหนึ่งคนใดให้พ้นไปจากท่าน ท่านจะต้องซุญูดเสมอเมื่อเสร็จจากนมาซวาญิบ (ภาคบังคับ) คราวใด ท่านจะต้องซุญูดเสมอ เมื่อใดที่มีการตกลงกันได้และไกล่เกลี่ยกันได้ระหว่างคนสองฝ่ายคราวใด ท่านจะต้องซุญูดเสมอ จึงปรากฏร่องรอยของการซุญูด (การกราบพระผู้เป็นเจ้า)ขึ้นตรงตำแหน่งอวัยวะที่ใช้ในการซุญูดทั้งหมดของท่าน ด้วยเหตุนี้ใครๆ จึงให้ฉายานามท่านว่า

“ ผู้ถึงแล้วซึ่งการกราบกรานต่อพระผู้เป็นเจ้า(อัซ-ซัจญาด) ”( 11)

( 11) อะอฺยานุซ-ชีอะฮฺ เล่ม 4 , หน้า 410. บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11 ,

หน้า 3.

12. ท่านอิมามบาเก็ร(อฺ)กล่าวว่า :

ปรากฏว่าในแต่ละปีจะมีตะปุ่มจากรอยกร้านที่อยู่ตามตำแหน่งอวัยวะแห่งการกราบของท่านตกหล่นออกมา และท่านก็เอามาเก็บรวมไว้ครั้นพอท่านวายชนม์ มันก็ถูกนำไปฝังรวมกับท่าน ( 12)

( 12) อัล- มะนากิบ เล่ม2 , หน้า252

13. ท่านอิมามซัจญาด(อฺ)ได้ไปบำเพ็ญฮัจญ์ด้วยการเดินเท้า ซึ่งท่านได้เวลาเดินทางจากมะดีนะฮฺถึงมักกะฮฺ เป็นเวลาถึง 20 วัน (13)

( 13) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 , หน้า 252. เราฏ่อตุล-วาอิศีน เล่ม 1 ,

หน้า 199.

วิถีชีวิตของอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)

อาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันหลังจากที่เราประสบกับความสูญเสียซึ่งแบบอย่างทางจริยธรรมและบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ไป

ต่อไปนี้เราจะต้องเอาวิถีของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)กลับมาปฏิบัติด้วยการยอมรับกันอย่างจริงจังเพื่อความดีงามอันเด่นชัดของเราเอง และเพื่อได้เป็นดวงประทีปในการที่เราจะได้อาศัยแสงสว่างท่ามกลางความมืดมนอนธกาลทั้งหลายแหล่ เพื่อที่ว่าจะไดรักษาไว้ซึ่งความดีงามให้อยู่ยงคงไว้ตลอดไปและเราจะได้หวนกับไปสู่อารยธรรมแบบอิสลามกันใหม่อีกครั้ง

(อินชาอัลลอฮฺ) ที่จะนำเสนอต่อผู้อ่านขณะนี้เป็นส่วนย่อยที่สุดจากวิถีชีวิตของท่านอิมามอฺะอิ บินฮุเซน(อฺ) ขอได้พึงนำเอาไปประพฤติปฏิบัติตาไว้เถิด

วิถีชีวิตที่ 1.

ท่านซุฟยานได้กล่าวว่า : ชายคนหนึ่งเข้ามาหาท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)แล้วกล่าวว่า

“ นาย.... โกรธเคืองท่าน และใส่ร้ายท่าน ”

ท่าน(อฺ)กล่าวตอบว่า “ ปล่อยเขาไปเพื่อเห็นแก่เรา ”

ครั้นพอท่าน(อฺ)มิได้ติดใจเอาเรื่องอะไร ชายคนนั้นก็คิดในใจว่าตนเองสามารถเอาชนะท่าน ( อฺ) ได้แล้ว ต่อมาชายคนนั้นมาหาท่าน (อฺ) อีก

ท่าน(อฺ)ก็กล่าวว่า :

“ นี่แน่ะท่าน ถ้าหากสิ่งที่เจ้าพูดไปมันเป็นความจริงก็ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงอภัยแก่ข้าด้วย

แต่ถ้ามันเป็นความเท็จก็ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)อภัยแก่เจ้าด้วยก็แล้วกัน ” ( 1)กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 198 , ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 หน้า 53 ,

มะฏอลิบุซซุอูล เล่ม 2 หน้า 43 , นูรุล-อับศ็อร หน้า 126

วิถีชีวิตที่ 2.

วันหนึ่งท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ) เดินทางจากบ้านแล้วพบแล้วชายคนหนึ่ง ปรากฎว่าชายคนนั้นด่าว่าท่าน(อฺ)จนกระทั่งคนรับใช้ที่ติดตามท่าน(อฺ)มาด้วยทำท่าจะเข้าไปเอาเรื่อง แต่ท่าน ( อฺ) พูดกับคนรับใช้ของท่าน (อฺ) ว่า

“ ปล่อยเขาไป ”

ต่อจากนั้นท่าน(อฺ)ก็เข้าไปหาชายคนนั้นแล้วกล่าวว่า :

“ มีหลายสิ่งหลายอย่างเกี่ยวกับเรื่องของเราที่ไม่เป็นที่เปิดเผยแก่เจ้า เจ้ามีความเดือดร้อนที่จะให้เราช่วยเหลือบ้างไหม ?”

ปรากฏว่าชายคนนั้นรู้สึกละอายแก่ใจ ท่านอิมาม(อฺ)จึงมอบผ้าคลุมผืนหนึ่งให้และสั่งคนของท่าน(อฺ)จัดเงินให้เขาอีก 1 , 000 ดิรฮัม หลังจากนั้นชายคนดังกล่าวถึงกับกล่าวว่า:

“ ข้าขอปฏิญาณตนว่า แท้จริงท่านคือ บุตรคนหนึ่งของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ” ( 2) ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 , หน้า 56. กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 200. มะฏอลิบุซซอูล เล่ม 2 , หน้า 48. นูรุบ-อับศ็อร หน้า 128.

วิถีชีวิตที่ 3

ครั้งหนึ่งมีแขกหลายคนมาหาท่าน(อฺ) คนรับใช้จึงกุลีกุจอทำขนมปังที่อบในเตาไฟมาให้ท่าน(อฺ) ปรากฎว่าคนรับใช้ผู้นั้นนำออกมาอย่างรวดเร็วจนทำให้ตะแกรงเหล็กหลุดจากมือไปถูกศีรษะของลูกชายคนหนึ่งของท่าน

อิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)ที่อยู่ใต้บันไดจนถึงแก่ชีวิต

ท่านอฺะลี(อฺ)ได้กล่าวกับคนรับใช้ผู้นั้นซึ่งกำลังเป็นทุกข์ และรุ่มร้อนใจอยู่ว่า :

“ เจ้าปลอดภัยทุกอย่างไม่ต้องกลัวหรอก เพราะเจ้ามิได้มีเจตนา ”

แล้วท่าน(อฺ)ก็จัดแจงแต่ศพลูกชายของท่าน และดำเนินการฝังเหมือนอย่างไม่มีอะไรเกิดขึ้น

( 3) มะฏอลิบุซซอูล เล่ม 2 , หน้า 48. กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 200.

ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 , หน้า 56.

วิถีชีวิตที่ 4

ครั้งหนึ่ง ฮิชาม บินอิซมาอีล ผู้ปกครองนครมะดีนะฮฺใส่ร้ายป้ายสีท่านอิมาม(อฺ)อย่างรุนแรง ครั้นเมื่อวะลีดเขี่ยเขาออกจากตำแหน่งแล้ว เขาก็ได้ยืนพูดต่อหน้าประชาชนว่า :

“ ข้าไม่เคยกลัวใครเลยนอกจากอฺะลี บินฮุเซน คนเดียว ”

แต่เมื่ออิมาม(อฺ)เดินผ่านมา ท่านได้ให้สลามเขา แล้วกระซิบบอกเป็นการส่วนตัวว่า :

“ รับรองว่าจะไม่มีเหตุร้ายแก่ท่านจากตัวฉันเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม ”

และท่าน(อฺ)ยังได้ส่งข่าวบอกเขาอีกว่า :

“ จงพิจารณาดูทรัพย์สินเงินทองของท่านขาดแคลนบ้างหรือไม่เพราะว่าที่เรานี้ยังมีให้เจ้าได้อย่างพอเพียง จงรับความปรารถนาดีจากเราและจากคนที่เคารพเชื่อฟังเราทุกคน ”

วิถีชีวิตที่ 5

เมื่อครั้งที่พวกบะนีอุมัยยะฮฺต้องเดินทางออกจากมะดีนะฮฺไปอยู่เมืองชามในครั้งที่เกิดสงคราม มัรวาน บินฮะกัมได้ฝากฝังของมีค่า และภรรยาของตนที่ชื่อว่า อฺาอิชะฮฺ บุตรีของ อุษมานบินอัฟฟาน ไว้กับท่าน(อฺ)ทั้งๆ ที่เมื่อมัรวาน บินฮะกัมได้นำชาวมะดีนะฮฺ สมุนของยะซีดและวงศ์วานของบะนี

อุมัยยะฮฺออกจากเมืองมะดีนะฮฺนั้น เขาได้พูดกับอับดุลลอฮฺ บินอุมัรว่าให้ช่วยรับสมาชิกครอบครัวของตนไว้ด้วย แต่อิบนุอุมัรปฏิเสธ ไม่ยอมทำดังนั้น มัรวานจึงหันมาพูดกับท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) โดยกล่าวว่า :

“ อะบุลฮะซัน ตัวข้าเองยังมีสมาชิกครอบครัวและของหวงอยู่(ภรรยาและสตรีที่อยู่ในปกครอง) ข้าจะขอฝากฝังให้อยู่กับผู้ที่เป็นของหวงแหนของตัวท่านด้วย ”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า “ ข้าตกลง ”

แล้วเขาก็นำสมาชิกครอบครัวมาฝากไว้กับท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)

จากนั้นท่าน(อฺ)ก็ได้นำภรรยาของท่าน(อฺ)และของมัรวานออกไปอยู่ที่ตำบล “ ยันบะอฺ ” ใกล้กับเขตตำบล “ บะฆีบัค ” อันเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย....

นี่คือจริยธรรมขั้นสูงสุด และเป็นการตอบแทนความชั่ว ด้วยการกระทำความดี(4)

(4) อิมามซัยนุลอฺาบิดีน ของอะฮฺมัด ฟะฮฺมี มุฮัมมัด หน้า 49.

วิถีชีวิตที่ 6

ท่านอิมามบาเก็ร(อฺ)กล่าวว่า: ท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)มีอูฐตัวเมียอยู่ตัวหนึ่ง ท่านเคยใช้

มันในการเดินทางไปบำเพ็ญฮัจญ์ถึง 22 ครั้ง โดยที่ไม่เคยมีมันเลยแม้แต่ครั้งเดียว(5)

(5) อุศูลุล-กาฟี เล่ม 1 , หน้า 467.

วิถีชีวิตที่ 7

ครั้งหนึ่งอัซมาเด็กรับใช้ของท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ) ยื่นภาชนะใส่น้ำให้แก่ท่าน(อฺ)

เพื่อที่ท่านจะทำวุฏอ์เพื่อนำนมาซ แต่แล้วภาชนะหลุดจากมือเป็นเหตุให้แตกกระจาย ท่าน(อฺ)เงยหน้าขึ้นมองเด็กรับใช้

ทันใดนั้นนางก็กล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า :

“ แท้จริง อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสไว้ว่า

“ และเหล่าบรรดาผู้มีความอดกลั้น ข่มโทสะ ”

ท่าน(อฺ)ก็กล่าวว่า “ ข้าอดกลั้น ข่มโทสะของข้าได้แล้ว ”

เด็กคนนั้นกล่าว(อัล-กุรอาน)อีกว่า

“ และเหล่าบรรดาผู้ให้อภัยแก่ผู้คนทั้งหลาย ”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวต่อว่า “ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) อภัยให้เจ้าแล้ว ”

เด็กรับใช้กล่าว(อัล-กุรอาน)อีกว่า

“ และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรักผู้ที่มีคุณงามความดี ”

ท่าน(อฺ)จึงกล่าวว่า :

“ เธอไปได้เลย บัดนี้เธอเป็นอิสระแล้วต่อหน้าพระพักตร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ” ( 6)

( 6) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 202.

วิถีชีวิตที่ 8

ครั้งหนึ่งท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)ได้เรียกคนรับใช้สองครั้งแต่ไม่มีเสียงขานตอบว่า จนท่าน(อฺ)ต้องเรียกในครั้งที่สาม เขาจึงขานตอบ

ท่าน(อฺ)ถามว่า “ ลูกเอ๋ย เจ้าไม่ได้ยินเสียงฉันหรือ ?”

เขาตอบว่า “ ได้ยิน ”

ท่าน(อฺ)จึงถามว่า “ แล้วทำไมเจ้าถึงไม่ขานรับ ?”

เขาตอบว่า “ ข้าต้องการจะแกล้งลองใจท่าน ”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า “ ฉันขอสดุดีต่ออัลลอฮฺที่ทรงบันดาลให้บ่าวของฉันแกล้งลองใจฉัน ”

( 7) เล่มเดิม หน้าเดิม

วิถีชีวิตที่ 9

ท่านอิมามซัจญาด(อฺ) ไม่เคยลงโทษคนรับใช้คนใดเลย หากแต่ท่าน(อฺ)จะบันทึกความผิดของแต่ละคนไว้ ครั้นพอล่วงมาถึงปลายเดือนรอมฏอนท่าน(อฺ)จะเรียกทุกคนมาประชุม แล้วแถลงถึงความผิดพลาดของแต่ละคนและขอให้พวกเขาขอการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้แก่ท่าน(อฺ)

และขณะเดียวกันท่าน(อฺ)ก็ขอการอภัยโทษให้แก่พวกเขาด้วย ต่อจากนั้นท่าน(อฺ)ก็จะปลดปล่อยแต่ละคนให้ได้รับอิสระและตอบแทนรางวัลให้อีกด้วย และท่าน(อฺ)ไม่เคยใช้งานใครจนเกินกำลัง(8)

( 8) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ เล่ม 4 , หน้า 417

วิถีชีวิตที่ 10

ปรากฏว่าท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)กับท่านฮะซัน บุตรของท่านอิมามฮะซัน(อฺ)ผู้เป็นลูกผู้พี่มีเรื่องไม่เข้าใจกันประการหนึง ดังนั้นท่านฮะซันจึงมาหาท่านอิมาม(อฺ)ที่มิสญิดซึ่งท่าน(อฺ)กำลังอยู่กับสหายหลายคนท่านฮะซันเข้าไปต่อว่าอย่างเสีย ๆ หาย ๆโดยไม่ลดละแต่ประการใดซึ่งท่าน(อฺ)ได้แต่นิ่งเงียบไม่แสดงอาการตอบโต้ จนท่านฮะซันเดินกลับ ครั้นพอตกเวลากลางคืน ท่าน ( อฺ) ก็ไปหาท่านฮะซันที่บ้าน แล้วเคาะประตูเรียก ท่านฮะซันก็ออกมาพบท่านอิมามอฺะลี (อฺ) ได้กล่าวว่า:

“ ข้าแต่ท่านผู้เป็นพี่ชาย ถ้าหากเรื่องที่ท่านพูดเป็นความจริงแล้วไซร้ก็ให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)อภัยโทษให้ข้าฯด้วย แต่ถ้าหากท่านเป็นคนกล่าวเท็จก็ขออัลลอฮฺ(ซ.บ.)อภัยโทษแก่ท่านด้วย

ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ประทานความสุขและความเมตตาแก่ท่านด้วย ”

จากนั้นก็หันหลังกลับ ทานฮะซันถึงกับออกเดินตามท่านไปและยื้อยุดท่านไว้ แล้วร้องไห้จนน้ำตาเปียกโชกพลางกล่าวว่า :

“ ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ข้าฯจะไม่หวนกลับไปทำสิ่งที่ท่านไม่พอใจอีกแล้ว ”

ท่านอิมามอฺะลี(อฺ) กล่าวว่า :

“ ขอให้ท่านได้รับสภาพตามที่ฉันได้กล่าวไปแล้วเถิด ” ( 9)

( 9) ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 , หน้า 53. กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 198.

มะฏอลิบุซซุอูล เล่ม 2 , หน้า 43.

วิถีชีวิตที่ 11

ท่านอิบรอฮีม บินซะอัด กล่าวว่า : ครั้งหนึ่งท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)ได้ยินเสียงร้องอย่างตื่นตระหนกที่บ้านของท่าน(อฺ) ในขณะที่คนกลุ่มหนึ่งนั่งอยู่กับท่าน(อฺ)ดังนั้นท่าน(อฺ)จึงถูกออกไปที่บ้าน จากนั้นก็กลับมาที่ประชุมต่อมีคนหนึ่งถามท่าน(อฺ)ว่า :

“ มีใครเป็นอะรไรบ้างหรือ ถึงได้มีเสียงตื่นตระหนกอย่างนั้น ?”

ท่าน(อฺ) ตอบว่า “ ใช่ ”

เขาเหล่านั้นรู้สึกยกย่องและมีความประทับใจในความอดทนของท่าน(อฺ)ยิ่งนัก ท่าน(อฺ)จึงกล่าวว่า :

“ แท้จริง บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺนั้น พวกเราเคารพเชื่อฟังอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในกรณีต่างๆ ที่พระองค์ทรงรัก และเราจะสดุดีพระองค์ในกรณีใด ๆ ที่เราไม่พอใจ ” ( 10)

( 10) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 , หน้า 262. บิฮารุล-อันวาร เล่ม 11 , หน้า 27.

วิถีชีวิตที่ 12

มีชายคนหนึ่งมาต่อว่าต่อขานท่านอิมามอฺะลิ บินฮุเซน(อฺ) แต่ท่าน(อฺ)ก็ทำเป็นไม่สนใจ พอชายคนนั้นกล่าวว่า :

“ เจ้าจงระวังการจับตาของข้าให้ดี ”

ท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)จึงกล่าวตอบว่า :

“ ข้าจะลดสายตาจากเจ้า ” ( 11)

(11) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 206

วิถีชีวิตที่ 13

ท่านอิมามศอดิก(อฺ) ได้เล่าว่า : ท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)มักจะออกเดินทางกับกลุ่มคนที่ไม่รู้จักท่านเสมอไม่เคยเว้น โดยที่ท่าน(อฺ)เสนอตัวเป็นผู้รับใช้คนในกลุ่มนั้นๆ ได้ทุกอย่างตามที่พวกเขาต้องการจะใช้ท่าน(อฺ)ต่อมาท่าน(อฺ)ได้เดินทางร่วมกับคนพวกหนึ่ง ปรากฎว่ามีคน ๆหนึ่งรู้จักท่าน(อฺ)เข้าพอดี ชายคนนั้นจึงถามพวกเขาเหล่านั้นว่า :

“ พวกท่านรู้หรือเปล่าว่า บุคคลผู้นี้เป็นใคร ?”

พวกเขาพากันตอบว่า “ ไม่รู้ซิ ”

ชายคนนั้นจึงบอกว่า “ นี่แหละคือ อฺะลี บินฮุเซน ”

คนเหล่านั้นต่างพากันวิ่งไปหาท่าน(อฺ)แล้วก้มลงจูบท่าน(อฺ)พลางคร่ำครวญว่า :

“ ข้าแต่บุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ท่านต้องการให้พวกเราเข้านรกอันร้อนแรงกระนั้นหรือ

หากแม้นว่าเรากระทบกระทั่งท่านด้วยมือและด้วยวาจาของเราแล้ว เมื่อนั้นพวกเราก็จะต้องประสบกับความวิบัติในยามอวสานอย่างแน่นอน อะไรเป็นเหตุให้ท่านต้องทำอย่างนี้ ?”

ท่านอิมาม(อฺ) ตอบว่า :

“ ครั้งหนึ่งข้าเดินทางกับคนพวกหนึ่งที่พวกเขารู้จักข้าดี ครั้นแล้วพวกเขาก็ปฏิบัติต่อข้าเหมือนกับปฏิบัติต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ซึ่งข้าไม่มีสิทธิถึงขนาดนั้น ข้าจึงเกรงว่า พวกเจ้าจะปฏิบัติเช่นนั้นต่อข้าอีกข้าจึงพอใจที่จะปกปิดตัวของข้าเอง ” ( 12)

(12) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11 , หน้า 21

การบำเพ็ญคุณธรรมและความเผื่อแผ่ของอิมามที่ 4

ไม่ว่าจะเป็นนักปราชญ์คนใด ถ้าเขียนเรื่องของท่านอิมามอฺะลี

ซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)แล้ว

จะต้องกล่าวถึงเรื่องการทำงาน และการบำเพ็ญความดีต่อคนยากจน แน่นอนความเมตตาและความเผื่อแผ่ของท่าน(อฺ)มีแก่คนทั่วไป รวมทั้งคนที่ปฏิเสธและขัดแย้งในเรื่องสิทธิของท่าน(อฺ)

เราได้รวบรวมบุคลิกภาพของท่าน(อฺ) ให้ด้านคุณธรรมและจริยธรรมอันสูงส่งไว้ในบทนนี้ซึ่งเป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่บรรดานักปราชญ์อธิบายไว้

- 1-

ท่านอิมามบาเก็ร(อฺ)ได้กล่าวว่า : สิ่งที่ท่าน(อฺ)ชอบที่สุดคือ การนำอาหารไปมอบแก่เด็กกำพร้า คนที่ได้รับความเดือดร้อนตกทุกข์ได้ยากและคนที่

ขัดสนทั่วไปที่ไม่มีทางออกในชีวิต

ท่าน ( อฺ) มอบของให้คนเหล่านั้นด้วยมือของท่าน (อฺ) เอง คนใดที่มีครอบครัวท่าน (อฺ) จะนำอาหารไปมอบให้แก่คนในครอบครัวของคนๆ นั้นด้วย ท่าน (อฺ) จะไม่รับประทานอาหารใดๆจนกว่าจะได้เริ่มต้นด้วยการบริจาคอาหารในส่วนนั้นๆ ไปด้วย (1)

(1) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 20 , หน้า 11

- 2-

คราใดที่มีคนขอรับบริจาคมาหาท่านอิมามอฺะลิ บินฮุเซน(อฺ)จะกล่าวว่า :

“ ยินดีต้อนรับ บุคคลที่ถือเสบียงของเข้าวันปรโลก ” ( 2)

(2) ตัซกิเราะตุล-ค่อว๊าศ หน้า 184

- 3-

ท่านอิมามอฺะลี(อฺ)เคยบริจาคถั่ว มัน และน้ำตาล จนมีคนถามท่าน(อฺ)เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่าน ( อฺ) ตอบด้วยการอ่านโองการในอัล-กุรอานว่า:

“ สูเจ้าจะไม่บรรลุถึงคุณธรรมจนกว่าจะบริจาคของที่สูเจ้ารัก ”

( อาลิ-อิมรอน: 92)

ซึ่งของพวกนี้เป็นที่ชื่นชอบของท่าน(อฺ)(3)

(3) อะอฺยานุช-ซ็อะฮฺ 4 กอฟ 464/1

- 4-

ท่านอิมามศอดิก(อฺ) ได้กล่าวว่า : ท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) เคยออกจากบ้านในยามค่ำคืน

พร้อมทั้งแบกถุงใส่เงินทั้งดีนารฺและดิรฮัม จนเมื่อไปถึงประตูบ้านๆ หนึ่ง แล้วท่าน(อฺ)ก็เคาะประตู

จากนั้นท่าน(อฺ)ก็ยื่นให้โดยหลบหน้าออกจากคนที่มารับของจากท่าน(อฺ) ครั้นพอท่าน(อฺ)ถึงแก่การวายชนม์ คนทั้งหลายก็ไม่พบกับเหตุการณ์เช่นนี้อีก เมื่อนั้นแหละคนทั้งหลายจึงรู้ว่า ที่แท้ท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)นี่เองที่เป็นคนทำเช่นนั้น (4)

(4) อุศูลุล-กาฟี เล่ม 1 , หน้า 468.

- 5-

ท่านอิมามบาเก็ร(อฺ)กล่าวว่า : เมื่อมัยยัต(ศพ)ของท่านอิมามอฺะลี(อฺ)ถูกวางลงเพื่อรับการอาบน้ำ พวกเขาก็มองเห็นที่แผ่นหลังของท่าน(อฺ)เป็นรอยคล้ายรอยหลังอูฐที่ถูกขี่ อันเกิดมาจากการที่ท่าน(อฺ)ได้แบกอาหารไปให้แก่คนยากจนอยู่เสมอนั่นเอง(5)

(5) อัล-คิศ็อล หน้า 517.

- 6-

ท่านอิมามศอดิก(อฺ)ได้เล่าว่า : ครั้งหนึ่งในวันที่ท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)ถือศีลอด ท่าน ( อฺ) ได้สั่งให้คนใช้แกงแพะให้หนึ่งตัว ครั้นพอตกเย็นท่าน (อฺ) ก็ออกเดินไปรอบๆ บริเวณบ้านเพื่อพิสูจน์ดูกลิ่นแกงแพะที่บ้านของท่าน (อฺ) ว่า ส่งกลิ่นไปถึงไหน แล้วท่าน (อฺ) ก็สั่งให้คนนำไปมอบให้บ้านนั้นๆ จนถึงบ้านหลังสุดท้ายที่หมดเขต จากนั้นท่านนำขนมปังและอินทผลัมมารับประทานเป็นอาหารค่ำของท่าน (6)

(6) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11 , หน้า 22-29.