ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 42463
ดาวน์โหลด: 4441


รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 157 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 42463 / ดาวน์โหลด: 4441
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

โดยพระองค์ตรัสว่า :

“ และเราได้สร้างคนกลุ่มอื่นหลังจากชาวเมืองนั้น ๆ อีก ”

( อัล-อันบิยาอ์: 11)

และทรงกล่าวว่า :

“ ครั้นเมื่อเขาเหล่านั้นสัมผัสการลงโทษของเรา พวกเขาก็รีบวิ่งหนี ”

( อัล-อันบิยาอ์: 12)

ทรงกล่าวอีกว่า :

“ จงอย่าวิ่งหลบหนีไป แต่จงกลับไปหาสิ่งที่พวกเจ้าทำความเสียหายไว้ และจงกลับไปสู่สถานที่พำนักของพวกเจ้าเพื่อพวกเจ้า จะได้รับการสอบสวน ”

( อัล-อันบิยาอ์: 13)

ครั้นเมื่อการลงโทษได้มายังพวกเขาแล้ว พระองค์ก็ทรงกล่าวว่า :

“ เขาเหล่านั้นกล่าวว่า : โอ้ความวิบัติของเราแท้จริงพวกเราคือผู้อธรรม ”

( อัล-อันบิยาอ์: 14)

ประชาชนเอ๋ย ถ้าพวกท่านกล่าวว่า นี่มันหมายถึงพวกตั้งภาคีละก็จะถูกต้องได้อย่างไรในเมื่อพระองค์ตรัสว่า :

“ และเราได้วางตราชูทั้งหลายอันเที่ยงธรรมในวันฟื้นคืนชีพ ดังนั้นไม่มีชีวิตใดได้รับความอธรรมแม้แต่ประการเดียว ถึงแม้จะมีน้ำหนักเท่ากับเมล็ดผักกาด เราก็จะนำมันมาให้ปรากฏเพียงพอแล้วในการที่เราเป็นผู้สอบสวนเอง ”

( อัล-อันบิยาอฺ: 47)

จงรู้ไว้ว่าปวงบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ตั้งภาคีนั้น จะไม่ได้รับการสอบสวนด้วยตราชู และจะไม่มีบัญชีถูกกางแผ่ พวกเขาเพียงแต่ถูกนำไปสู่นรกเป็นหมวดหมู่อย่างเดียวเท่านั้น ส่วนพวกที่ถูกนำขึ้นตราชู และได้รับบัญชีกางแผ่ย่อมได้แก่พวกมุสลิม ดังนั้นจงยำเกรงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เถิด

ปวงบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทั้งหลาย และจงรู้ไว้ว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ไม่ได้ต้องการที่จะให้ความเพริดแพร้วในโลกนี้บังเกิดแกเอาลิยาอ์ของพระองค์เลยแม้แต่คนเดียวอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ไม่ทรงปรารถนาให้คนเหล่านั้นอยู่กับสิ่งนั้น และสัมผัสกับความฉาบฉวยของความเพริดแพร้วเหล่านั้น

แท้จริงแล้ว พระองค์ทรงสร้างโลกและชาวโลกขึ้นมาเพื่อทรงทดสอบดูว่า งานในปรภพของบุคคลใดจะดีเลิศที่สุด

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)แน่นอนอุทาหรณ์ต่างๆ ในคัมภีร์ ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเปรียบเทียบแก่พวกท่านแล้ว และโองการแล้วต่างๆ ได้ถูกสาธยายแก่เหล่าบรรดาผู้มีสติปัญญาพร้อมมูลแล้ว บรรดาผู้เชื่อมั่นทั้งหลาย จงเป็นพวกที่มีปัญญาเถิด ไม่มีพลังและอำนาจใดๆ นอกจากโดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และจงมีสมถะไปตามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานให้ในโลกอันฉาบฉวยแห่งนี้เถิด

แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสไว้แล้ว อันเป็นคำตรัสที่ทรงสัจจะยิ่งกว่า :

“ อันที่จริงชีวิตในโลกนี้ เปรียบได้เสมือนน้ำจากฟากฟ้าที่เราประทานมา แล้วมันคลุกเคล้ากับพืชพันธุ์ของแผ่นดิน อันเป็นสิ่งที่มนุษย์และสัตว์

บริโภค จนกระทั่งแผ่นดินได้รับเอาความสวยงามของมัน (เช่น พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ )และตกแต่งตัวมันด้วยความลุ่มหลงในดุนยา ผู้ที่อาศัยอยู่ ( มนุษย์) ในมันคืดว่า พวกเขามีความสามารถมากมายเหมือนกัน

คำสั่งของเราได้มีมาถึงในตอนกลางวันหรือกลางคืน ดังนั้นเราจะได้ทำให้มันเป็นฟางแห้ง เสมือนหนึ่งว่าไม่มีอันใดปรากฏอยู่เลย

เมื่อวันวาน โดยนัยยะเดียวกันนี้เราจึงได้สาธยายโองการต่างๆ ของเราแก่ปวงชนผู้ที่ใช้ความคิด ”

( ยูนุส: 24)

ดังนั้นจงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ใช้ความคิดพิจารณาเถิดและจงอย่าได้โน้มตัวเข้าหาความลุ่มหลงในดุนยา

แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสกับท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ว่า :

“ จงอย่าโน้มตัวไปหาพวกอธรรมเพราะไฟนรกจะสัมผัสสูเจ้า ”

( ฮูด: 113)

จงอย่าโน้มตัวเข้าไปหาโลกนี้ และสิ่งต่างๆในโลกนี้ เสมือนคนที่ยึดมันเป็นเรื่องถาวรและเป็นถิ่นฐานบ้านช่องอันไม่สลาย เพราะมันเป็นเพียงบ้านที่จะต้องถูกถอดถอน เป็นบ้านแห่งการทำงานเพื่อวัดผล ดังนั้นจงทำงานที่ดีเป็นเสบียงก่อนถึงวันที่จะต้องจากมันไป และก่อนถึงวันที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะอนุมัติให้มันสลายไป เพราะผู้ที่จะทำการสลายมันนั้น ก็คือผู้ที่ทำนุบำรุงมันขึ้นมาในวันแรก และพระองค์คือผู้รับมรดกของมัน

ข้าขอวิงวอนจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เพื่อเราและพวกท่านในการเพิ่มพูนเสบียงแห่งการสำรวมตน และความสมถะในโลกนี้ ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบันดาลให้เราและพวกท่านเป็นผู้มีสมถะในชีวิตอันฉาบฉวยของโลกนี้โดยเป็นผู้มุ่งหวังแห่งปรภพ เพราะเราอยู่เพื่อพระองค์และเป็นของพระองค์

วัสลาม ” ( 6)

(6) ตะฮัฟฟุล-อุกูล หน้า 182

สาส์นสำคัญ

พลังเกื้อหนุนต่ออิสลาม

ทุกเสี้ยวชีวิตของบรรดาอิสลามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้นล้วนเป็นการเรียกร้องเชิญชวนสู่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)และเทิดทูนพรจนารถของพระองค์ให้เป็นที่โดดเด่น ดังนั้น ท่าน(อฺ)จึงใช้วิธีการทุกๆรูปแบบเพื่อการชี้นำประชาชาติมุสลิมให้ไปสู่ทิศทางที่ถูกต้องสาส์นในวาระต่างๆ ของท่าน(อฺ)ก็ถือ เป็นส่วนหนึ่งโดยเฉพาะนั่นคือบางฉบับของสาส์นเหล่านี้ได้ทำหน้าที่รับใช้ประชาชาติในการชี้นำและเผยแผ่

บุคคลใดก็ตามหากได้ตรวจสอบสาส์นเหล่านี้จะพบว่า มันคือพลังเกื้อหนุนงานอบรมสั่งสอนอิสลาม อันเต็มไปด้วยคำเตือน ปัญญาญาณ และจริยธรรมอันประเสริฐ

เราจะขอกล่าวถึงสาส์นบางฉบับของท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)

สาส์นฉบับที่ 1

เป็นสาส์นที่เขียนถึง “ อับดุลมาลิก บินมัรวาน ” เพื่อเป็นการตอบจดหมายฉบับหนึ่งที่เขาเขียนถึงท่านอิมาม (อฺ) ก่อนหน้าที่ ความว่า:

“ จดหมายของเจ้าได้ถึงข้าแล้ว เจ้าตำหนิข้าที่ข้าแต่งงานกับหญิงรับใช้ของข้า เจ้าอ้างว่า

“ สตรีชาวกุเรชนั้นเป็นคู่สมรสที่ประเสริฐสุด และจะให้กำเนิดบุตรชายที่ยอดเยี่ยมที่สุด ”

ถึงอย่างไร ก็ไม่มีใครเกินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในแง่ของความประเสริฐ และไม่มีใครเหนือกว่าท่านในแง่ของความมีเกียรติ ความจริงข้าทาสได้รับอิสรภาพ พ้นจากการปกครองของข้า ตามความประสงค์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)แล้ว ในเรื่องนี้ข้ากระทำไปเพื่อแสวงหารางวัลจากพระองค์

ต่อจากนั้นข้าได้นำนางกลับมาตามหลักการ อันเป็นกฎเกณฑ์แห่งบทบัญญัติของพระองค์ บุคคลใดที่มีความบริสุทธิ์ใจในศาสนาของ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ก็จะมิได้รับความบกพร่องใดๆ จากบัญชาของพระองค์

แน่นอนอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงยกย่องสิ่งที่ตกต่ำให้สูงส่งได้ด้วยอิสลาม และจำทำให้สิ่งที่บกพร่องอยู่สมบูรณ์ได้ด้วยอิสลาม และทรงกำจัดสิ่งที่น่าตำหนิให้หมดสิ้นไป จึงไม่เป็นข้อตำหนิใดๆ สำหรับมุสลิมหากจะยังเป็นข้อตำหนิ ก็น่าตำหนิสำหรับพวกงมงายเท่านั้น

วัสลาม

อะลี บินฮุเซน(อฺ)

เมื่ออับดุลมาลิกอ่านสาส์นฉบับนั้นจบแล้ว ก็โยนไปให้สุลัยมานผู้เป็นบุตร เมื่อสุลัยมานอ่านจบแล้วก็กล่าวว่า

“ ข้าแต่อะมีรุลมุมินีน , อฺะลี บินฮุเซนออกจะถือดีต่อท่านหนักไปแล้ว ”

อับดุลมาลิกล่าวว่า

“ ลูกเอ๋ย จงอย่าพูดอย่างนั้น นี่คือโวหารของชาวบะนีฮาชิม ลูกเอ๋ยอะลี บินฮุเซน เขายกย่องคนที่ประชาชานทั้งหลายทำให้ตกต่ำ ”

ต่อจากนั้น อับดุลมาลิกก็ได้หันไปทางเสนาอำมาตย์ของตน แล้วกล่าวว่า

“ จงบอกข้ามาว่า ผู้ใดบ้างที่ถ้าหากว่า ประชาชาทำการลดเกียรติเขาแล้ว เขายิ่งมีเกียรติเพิ่มมากขึ้นอีก ?”

พวกเขากล่าวว่า “ คนนั้นก็คือ ท่านอะมีรุลมุมินีนนั่นเอง ”

เขากล่าวว่า “ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ข้าว่าไม่ใช่ ”

พวกเขากล่าวว่า “ เราไม่รู้หรอก นอกจากท่านอะมีรุลมุมินีน ”

อับดุลมาลิกกล่าวว่า “ หามิได้ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลออฺหาใช่อะมีรุลมุมินีนคนนี้ไม่ หากแต่เขาคือ อฺะลี บินฮุเซน ” (1)

(1) ซัยนุลอฺาบิดีน ของซัยยิดุล อะฮฺลิ หน้า 60

สาส์นฉบับที่ 2

เมื่ออับดุลมาลิกทราบว่า ดาบของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)อยู่ที่ท่านอะลี บินฮุเซน(อฺ) เขาจึงส่งคนไปหาเพื่อข่มขู่ และเรียกร้องในสิ่งที่ตนต้องการ ท่านอิมาม(อฺ)ปฏิเสธ ต่อมาอับดุลมาลิกก็เขียนจดหมายถึงท่าน(อฺ)ฉบับหนึ่ง เพื่อเป็นการข่มขวัญและแจ้งให้รู้ว่า เขาจะตัดรายได้ที่เป็นส่วนของท่าน(อฺ)จากเงินกองคลัง

ท่านอิมามอฺะลิ บินฮุเซน(อฺ)ได้เขียนสาส์นตอบไปว่า

“ แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงให้การรับรองแก่บรรดาผู้ที่มีความสำรวมว่า จะให้ทางออกจากกรณีต่าง ๆ ที่เขารังเกียจ และจะประทานเครื่องยังชีพ ให้ด้วยวิธีการที่พวกเขาไม่คาดคิด

พระองค์ตรัสว่า :

“ แท้จริงอัลลอฮฺไม่ทรงรักบรรดาคนฉ้อฉลผู้ปฏิเสธ ” ( อัล-ฮัจญ์ : 38)

จงพิจารณาเถิดว่า ระหว่างเราทั้งสอง ใครกันแน่ที่เหมาะสมกับโองการนี้ ”

วัสลาม

อะลี บินฮุเซน(อ) (2)

(2) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11, หน้า 27 อะอฺยานุช-ซีอะฮฺ เล่ม 4, หน้า 481

สาส์นฉบับที่ 3

เป็นสาส์นของท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)เขียนถึงท่านมุฮัมมัด บินมุสลิม อัซ-ซุฮฺรี(ร.ฏ.)เพื่อเป็นข้อเตือนใจว่า :

“ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงให้การทดสอบทั้งเราและท่านจนเป็นที่เพียงพอแล้ว และทรงเมตตาท่านให้พ้นจากไฟนรก แน่นอนที่สุดความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ที่ให้สุขภาพท่านสมบูรณ์และอายุของท่านยืนยาวนั้นถือว่าสำคัญยิ่งที่สุดสำหรับท่านแล้ว และเมื่อข้อกำหนดต่างๆ ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ปรากฏแก่ท่านแล้ว ท่านก็สามารถปฏิบัติได้ครบถ้วน ความเข้าใจที่ท่านมีต่อศาสนาของพระองค์ และการรู้จักของท่านที่มีต่อแบบแผนของมุฮัมมัด(ศ)นบีของพระองค์ มันคือความโปรดปรานทุกข้อที่ทรงประทานให้แก่ท่าน ในการบำเพ็ญฮัจญ์ทุกครั้งที่ทรงมอบหมายให้ท่านกระทำนั้น

ไม่มีหน้าที่อื่นใดสำหรับท่านนอกจากจะขอบคุณพระองค์ในเรื่องนี้ในฐานะที่ทรงประทานเกียรติยศของพระองค์ให้แก่ท่าน

ดังโองการที่ว่า :

“ แน่นอน ถ้าหกาพวกเจ้าขอบคุณ ข้าก็จะเพิ่มพูนแก่พวกเจ้า แต่ถ้าหากพวกเจ้าเนรคุณ แท้จริงการลงโทษของข้าช่างร้ายแรงเป็นแน่แท้ ”

( บทอิบรอฮีม: 7)

จงพิจารณาดูเถิด ท่านจะเป็นคนประเภทใด ถ้าในวันพรุ่งนี้ท่านจะต้องยืนต่อหน้าอัลลอฮฺ ( ซ.บ.) แล้วจะทรงถามท่านเกี่ยวกับการโปรดปรานของพระองค์ที่ประทานให้แก่ท่านว่า ท่านได้ดูแลเอาใจใส่อย่างไรเกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆ ที่ทรงมอบหมายให้แก่ท่าน ท่านได้ปฏิบัติลุล่วงไปอย่างไร

จงอย่าคิดโดยเด็ดขาดว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะยอมรับการหลอกลวงของท่าน และอย่าคิดว่าพระองค์จะทรงพอพระทัยในความบกพร่องของท่านช้าก่อน ช้าก่อน จะเป็นอย่างนั้นมิได้ พระองค์ทรงดำเนินการกับบรรดาผู้รู้ตามที่มีปรากฏในคัมภีร์ของพระองค์ว่า :

“ เพื่อเจ้าจะได้อธิบายให้ชัดแจ้งแก่ประชาชนและเจ้าอย่าได้ปิดบังซ่อนเร้นสิ่งใด ๆ เลย ”

( บทอาลิอิมรอน: 187)

จงรู้ไว้ว่า สิ่งใดที่ท่านปกปิด ย่อมจะได้รับการเปิดเผยออกมาและฉันหวั่นใจว่า ท่านจะเคยชินอยู่กับความเลวของพวกอธรรม และท่านจะคล้อยตามแนวทางที่หลงผิด ด้วยความเหลวไหลเอาแต่ใจตัวเอง ซึ่งท่านจะขานรับเสมอในยามที่ถูกเขาเรียก สิ่งที่ฉันกลัวก็คือ วันพรุ่งนี้ ท่านจะตกอยู่ที่

นั่งเดียวกับคนคดโกงเพราะความบาปของท่านและท่านจะได้รับการสอบถมในเรื่องที่จิตใจของท่านเน้นหนักอยู่กับความอธรรมอันมืดมิด เพราะท่านได้ไปรับเอาของที่ไม่มีผู้ใดมอบให้แก่ท่าน

ท่านจึงได้ไปยอมรับต่อคนที่มิได้คืนสิทธิอันใดให้แก่ใครเลย และท่านมิได้ปฏิเสธความผิดพลาดในยามที่ท่านคล้อยตามเขาไป ท่านรักชอบกับศัตรูของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เพราะการเรียกร้องของเขาใช่ไหม ? ที่ท่านต้องตกเป็นเครื่องมือที่หนุนตามแกนอันอธรรมของพวกเขา เหล่านั้นจึงถือว่า ท่านคือ

เหยื่อแห่งความเหลวแหลกและความหลงผิดของพวกเขา อันเป็นการเชิญชวนและนำไปสู่วิถีทางแห่งความลุ่มหลงถึงขั้นที่ชักนำท่านให้หวาดระแวงบรรดาผู้รู้ และปลูกฝังท่านไว้กับหัวใจที่หลงผิดของพวกเขา ถึงกระนั้นก็ยังไม่ถึงระดับของการเป็นแนวร่วม และสมัครพรรคพวกของเขาอย่าง

เต็มที่

นอกจากท่านจะต้องไม่แสดงความคิดเห็นเพื่อการแก้ไขความผิดพลาดของพวกเขา และจะต้องไม่มีข้อแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องส่วนตัวและเรื่องทั่วๆ ไปกับพวกเขาอย่างน้อยที่สุด พวกเขาจะมอบให้ท่านในประมาณที่พอกันกับที่พวกเขาเอาไปจากท่าน พวกเขาจะควบคุมวิธีการดำเนินชีวิตของท่านโดยสะดวก แล้วจะไม่ทำลายท่านได้อย่างไร ดังนั้นจงพิจารณาเพื่อตัวของท่านเอง

เพราะมันจะมิได้รับการพิจารณาโดยบุคคลอื่นและจงสอบสวนกับชีวิตของตัวเองเหมือนคนที่ถูกสอบสวน

จงพิจารณาดูว่า ท่านได้ขอบคุณผู้ที่ให้ความโปรดปรานใหญ่น้อยแก่ท่านอย่างไรบ้าง ฉันกลัวว่า ท่านจะเป็นเหมือนกับที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ ในโองการที่ว่า :

“ หลังจากนั้น มีผู้รับช่วงการปกครองสืบต่อจากพวกเขา ได้รับมรดกแห่งคัมภีร์ (แล้วล่มพระผู้เป็นเจ้าและโลกหน้า) แสวงหาประโยชน์อันต่ำต้อยของโลกนี้(เมื่อเขาได้กระทำบาปทุกอย่างแล้ว) พวกเขากล่าวว่า เราจะได้รับการอภัยโทษ ”

( อัล-อะอฺรอฟ: 169)

ท่านมิได้อาศัยอยู่ในเรือนพักอันถาวร แต่เจ้าอยู่ในเรือนที่จำต้องเดินทางไปต่อไป ฉะนั้นคนๆ หนึ่ง จะมีอะไรเหลืออยู่เล่า นอกจากส่วนประกอบแห่งการงานของเขา คนที่มีความสุขอย่างแท้จริง คือคนที่อยู่ในโลกนี้ด้วยความยำเกรง ส่วนคนที่มีความทุกข์ที่สุด ได้แก่ คนที่ตายไปขณะที่ความบาปยังอยู่เบื้องหลัง

จงระวังไว้ บัดนี้ฉันได้เตือนท่านแล้ว จงเตรียมตัวให้พร้อม บัดนี้กาลเวลาของท่านได้มาถึงแล้ว แท้จริงท่านมิได้ปฏิบัติหน้าที่กับผู้ที่ไม่รู้อะไรและผู้ที่ดูแลท่านอยู่นั้นไม่เคยลืมเลือน จงเตรียมพร้อม เพราะการเดินทางไกลมาถึงท่านแล้ว และจงบำบัดรักษาความผิดพลาด เพราะมันจะนำไปสู่โลกอันร้ายแรง จงอย่าคิดว่าฉันต้องการดุด่า ดูหมิ่นเหยียดหยามท่านเลย แต่ฉันต้องการให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)เสริมความคิดของท่านที่ขาดหายไป และให้พระองค์นำสิ่งที่หลุดหายไปจากศาสนาของท่านคืนกลับมาให้ท่าน และฉันจะกล่าวถึงโองการของพระองค์ที่ว่า

“ จงตักเตือนกันเถิด เพราะการตักเตือนย่อมให้ประโยชน์แก่บรรดาผู้มีความเชื่อมันในพระเจ้า ”

( อัซฺ-ซฺาริยาต: 55)

หรือท่านลืมนึกถึงคนในยุคก่อน ๆที่ผ่านไปหลายศตรรษแล้วในอดีต ซึ่งท่านเป็นคนรุ่นหลังเขานั้น จงพิจารณาดูซิว่า พวกเขาได้รับการทดสอบด้วยเภทภัยเช่นเดียวกับท่านหรือไม่ พวกเขาตกที่นั่งในสภาพเช่นเดียวกับท่านหรือไม่ ท่านพอนึกออกบ้างไหมว่า ที่พวกเขารู้อยู่นั้น อะไรบ้างที่เป็นความดี และอะไรบ้างที่ท่านรู้ แต่พวกท่านไม่รู้ ยิ่งกว่านั้น ท่านยังโชคดีที่สามารถแก้ไขสภาพการณ์ต่างๆ ของท่านในหมู่ประชาชาคนทั่วไปที่มอบอำนาจให้แก่ท่าน หากในกรณีที่พวกเขากระทำตามนโยบายของท่านและทำตามคำสั่งของท่าน เช่น ถ้าท่านอนุญาตพวกเขาจะทำ แต่ถ้าท่านห้ามพวกเขาจะหยุด แต่สิ่งนี้จะไม่มีสำหรับท่าน แต่ถ้าหากเขาเหล่านั้นแสดงออกซึ่งความปรารถนาในสิ่งที่ท่านมีอยู่ ผู้รู้จะหมดไปจากพวกเขา ความโง่จะครอบงำทั้งท่านและพวกเขา

ความชอบในตำแหน่งผู้นำ และการเสาะแสวงหาผลประโยชน์ทางโลกจะมีด้วยกันทั้งจากตัวท่านและคนเหล่านั้น แล้วท่านเห็นไหมว่า ท่านตกอยู่ในความโง่เขลาเบาปัญญาแค่ไหน และคนทั่วไปตกอยู่ในภัยภิบัติอันยิ่งใหญ่แค่ไหน แน่นอนพวกเขาได้รับภัยพิบัติ เพราะการหมกมุ่นอยู่กับการเสาะแสวงหา

แต่ในสิ่งที่พวกเขาแลเห็น จิตใจของพวกเขาซ่อนเร้นเกินกว่าที่ความรู้เช่นท่านจะเข้าถึง พวกเขาจะผละจากท่านตกลงสู่ทะเลที่ลึกเกินจะหยั่งถึง และต้องอยู่ในห้วงแห่งเภทภัยอันไม่อาจประมาณได้จึงขอวิงวอนช่วยเหลือ

ต่อจากนี้ไป ท่านจงหันห่างออกจากทุกอย่างที่ท่านเคยเป็นเพื่อท่านจะได้อยู่ร่วมกับบรรดาผู้มีคุณธรรม อันได้รับการฝังร่างลงในสุสานที่มีความสัมพันธ์อย่างแนนแน่นระหว่างวิญญาณด้านในกับอัตตาภายนอกของพวกเขาซึ่งระหว่างพวกเขากับอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะไม่มีม่านกีดกั้นเลย ชีวิตทางโลกมิได้ราวีกับพวกเขา และพวกเขามิได้สร้างความเสียหายใดๆ ให้แก่โลก

พวกเขาปรารถนาจึงได้มีการแสวงหา ต่อมาไม่นานพวกเขาก็ได้พบ ในเมื่อโลกได้มาเป็นที่รู้จัก สำหรับท่านเอาเมื่อตอนที่ท่านแก่ชราลง และมีความรู้แตกฉานอีกทั้งถึงวาระสุดท้ายเช่นนี้แล้ว คนที่ยังหนุ่ม คนที่ยังโง่ คนที่

ยังไม่ประเทืองปัญญา จะยอมรับได้อย่างไรว่า แท้จริงเราเป็นสิทธิของ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเราต้องคืนกลับสู่พระองค์ ทั้งคนที่ได้รับการยกย่อง และคนที่ได้รับการตำหนิ ? เราขออุทธรณ์ต่ออัลลอฮฺ ( ซ.บ.) ทั้งที่เราได้เปิดเผยและที่เราได้พบเห็นในตัวท่านโดยเราได้คิดคำนวณนับความทุกข์ของเราที่มีต่อท่าน ณ อัลลอฮฺ (ซ.บ.)

จงพิจารณาดูว่า ท่านได้ขอบคุณผู้ที่ให้ความโปรดปรานใหญ่น้อยแก่ท่านอย่างไรบ้าง ท่านให้เกียรติกับผู้ที่ทำให้ท่านมีความดีงาม จนเป็นเลิศในหมู่ประชาชน ด้วยศาสนาของพระองค์ อย่างไรบ้าง ท่านได้ปกป้องรักษาอาภรณ์ของผู้ที่ให้อาภรณ์ปกปิดท่ามกลางคนทั้งหลายอย่างไรบ้าง

ท่านได้ทำตัวใกล้ชิดและห่างไกลแค่ไหนกับผู้ที่สั่งท่านว่า ให้ทำตัวใกล้ชิด และถ่อมตนกับพระองค์อย่างที่สุด ทำไมท่านไม่ปลุกคนที่เคลิ้มหลับไหลให้ตื่นขึ้นมาและทำไมท่านไม่ปลีกตัวให้พ้นจากคนที่เคลิ้มหลับไหลให้ตื่นขึ้นมาและทำไมท่านไม่ปลีกตัวให้พ้นจากคนที่ทำตัวผิดพลาด ? แล้วกล่าวว่า

“ ขอสาบานด้วยพระนามอัลลอฮฺ ข้ามิได้ยืนนมัสการต่อพระองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)เพียงผู้เดียวตามลำพัง ข้าได้ให้ชีวิตแก่ศาสนาด้วยการยืนหยัดนี้เพื่อพระองค์และทำลายสิ่งโมฆะนี้ด้วยการยืนหยัดดังกล่าวก็เพื่อพระองค์ ”

สิ่งนี้ผู้ที่ให้ท่านรับภาระได้ขอบใจท่านแล้ว สิ่งที่ทำให้ฉันกล่าวก็คือ

ท่านจะได้เป็นเหมือนบุคคลที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)กล่าวไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า :

“ เขาเหล่านั้นทำการดูแคลน(ไม่ใส่ใจ)ต่อการนมาซและปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ ดังนั้น พวกเขาจะได้รับการตอบแทนจากการหลงผิดนั้น ”

( มัรยัม: 59)

คัมภีร์ของพระองค์ไม่ได้ให้เจ้าแบกรับภาระ และความรอบรู้ของพระองค์ฝากให้แก่ท่านแล้วท่านก็ดูแคลนมัน เราขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ ผู้ทรงบันดาลให้เราคลาดแคล้วจากเภทภัยที่ประสบแก่ท่าน ” (3)

วัสลาม

อฺะลี บินฮุเซน (อฺ)

(3) ตะฮัฟฟุล-อุกูล หน้า 200

ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

มรดกล้ำค่าของอิสลาม

ส่วนหนึ่งจากมรดกอันล้ำค่าของอิสลาม และที่ถือว่าเป็นชีวิตชีวาสำหรับห้องสมุดภาษาอาหรับนั้นได้แก่ หนังสือ “ ริซาละตุ้ล-ฮุกูก (สารว่าด้วยสิทธิมนุษยชน) ” ของท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน (อฺ) ในหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึง สิทธิต่างๆ ที่เป็นหน้าที่ของมุสลิม 50 ประการ นับตั้งแต่สิทธิของอัลลอฮฺ

,สิทธิของชีวิตและอวัยวะต่างๆ สิทธิของบทบัญญัติภาคบังคับ,สิทธิของสังคมส่วนรวม และสิทธิอื่นๆ อันอาจเรียกรวมได้ว่า “ สิทธิมนุษยชน ”

บรรดานักปราชญ์ ผู้คงแก่เรียนเป็นจำนวนมากได้ทำการอรรถาธิบายหนังสือเล่มนี้ เช่น

ท่านซัยยิดฮะซัน อัลกฺอบานิญี ซึ่งได้อธิบายออกมาเป็นสองภาคใหญ่ๆ ในบทนี้เราจะกล่าวถึงแต่เพียงข้อบัญญัติในตัวบทเท่านั้น ส่วนผู้ใดประสงค์จะศึกษาเพิ่มเติมก็หาอ่านได้จากหนังสืออธิบาย “ ริซาละตุ้ล-ฮูกูก ” ฉบับต่างๆ

ท่านอะบูฮัมซ์ะฮฺ อัษ-ษุมาลี (ร.ฏ.)ได้กล่าวว่า สารของท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)ที่ส่งไปถึงสหายบางคน มีใจความว่า :

จงรู้ไว้ว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีสิทธิต่อท่านนานัปการ ในอิริยาบถใดก็ตาม ไม่ว่าท่านจะเคลื่อนไหว หยุดนิ่ง เปลี่ยนอิริยาบถ หรืองว่าหยุดพักไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใด ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะส่วนใด หรือเครื่องมือใด ๆ ที่ท่านใช้สอย สิทธิของอัลลออฺ(ซ.บ.)ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับท่าน

ได้แก่

สิ่งที่กำหนดมายังท่านเกี่ยวกับสิทธิของพระองค์เอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของสิทธิทั้งปวง

ต่อจากนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ได้ทรงกำหนดหน้าที่เกี่ยวกับตัวของท่านเองนับจากศีรษะถึงปลายเท้า รวมทั้งอวัยวะในส่วนต่างๆ แห่งร่างกายของท่าน กล่าวคือ

ทรงกำหนดให้ “ ลิ้น ” ของท่านมีสิทธิประการหนึ่งสำหรับท่าน

ทรงกำหนดให้ “ หู” ของท่านมีสิทธิประการหนึ่งสำหรับท่าน

ทรงกำหนดให้ “ ตา”ของท่านมีสิทธิประการหนึ่งสำหรับท่าน

ทรงกำหนดให้ “ มือ”ของท่านมีสิทธิประการหนึ่งสำหรับท่าน

ทรงกำหนดให้ “ เท้า ” ของท่านมีสิทธิประการหนึ่งสำหรับท่าน

ทรงกำหนดให้ “ ท้อง ” ของท่านมีสิทธิประการหนึ่งสำหรับท่าน

ดังนั้นอวัยวะต่างๆ ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่ท่านนำมาประพฤติปฏิบัติต่อจากนั้นพระองค์ก็ยัง

กำหนดให้การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดของท่านมีสิทธิต่อท่านอีก กล่าวคือ พระองค์ทรงกำหนดให้การนมาซของท่าน มีสิทธิประการหนึ่งสำหรับท่าน และยังได้กำหนดให้การถือศีลอดของท่านมีสิทธิต่อตัวท่านเองอีกด้วย และทรงกำหนดให้การทำทานของท่านมีสิทธิต่อท่านทรงกำหนดให้การเชือดสัตว์เพื่อเป็นกุศลทานของท่านมีสิทธิต่อตัวท่านและกำหนดให้ความประพฤติของท่านมีสิทธิหลายๆ ประการสำหรับท่าน

ต่อมาสิทธิในด้านต่างๆ จะผ่านจากตัวท่านไปสู่บุคคลอื่น อันเป็นผู้มีสิทธิต่อท่านอีกหลายประการ กล่าวคือ พระองค์ทรงกำหนดให้บรรดาอิมามมีสิทธิหลายประการต่อตัวท่าน