ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 42461
ดาวน์โหลด: 4441


รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 157 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 42461 / ดาวน์โหลด: 4441
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

จากนั้นก็จะเป็นเรื่องของสิทธิในตัวของผู้ที่อยู่ในความดูแลของท่าน และญาติมิตรของท่านโดยที่สิทธิต่างๆเหล่านี้ยังถูกแยกออกไปเป็นสิทธิว่าด้วยประการต่างๆ อีก กล่าวคือ :

สิทธิของบรรดาอิมามมี 3 ประการ ที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงกำหนดไว้สำหรับท่าน ได้แก่

สิทธิในการควบคุมท่านด้วยอำนาจ

สิทธิในการควบคุมท่านด้วยความรู้

สิทธิในการควบคุมท่านด้วยการปกครอง

และทุกอย่างนี้ ผู้ควบคุมคือ “ อิมาม ”

สิทธิของผู้ที่อยู่ในความดูแลของท่านมี 3 ประการ พระองค์ทรงกำหนดให้สิทธิของผู้อยู่ในความดูแลของท่านมีสิทธิต่อท่านในฐานะท่านเป็น “ ผู้มีอำนาจ ”

สิทธิของผู้อยู่ในความดูแลของท่าน ในฐานะท่านเป็น ” ผู้มีความรู้ ”

สิทธิของผู้อยู่ในความดูแลของท่านในฐานะที่ท่านเป็น “ ผู้ปกครอง ”

อันได้แก่ คู่ครองและผู้ที่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งอำนาจของท่านและสิทธิของผู้อยู่ในความดูแลยังมีอีกมาก เช่น การติดต่อสัมพันธ์อย่างเต็มความสามารถกับญาติพี่น้อง และพระองค์ทรงกำหนดให้เป็นหน้าที่สำหรับท่านซึ่งสิทธิแห่งมารดาของท่าน ต่อมาจึงเป็นสิทธิของบิดา สิทธิของบุตร สิทธิของพี่น้อง สิทธิของเครือญาติที่ใกล้ชิดที่สุดย่อมมีสิทธิที่สุด

สิทธิของผู้ปกครองที่ให้การดูแลท่าน สิทธิของบริวารที่ท่านต้องให้การดูแล สิทธิของคนที่ทำความดีต่อท่าน สิทธิของผู้ประกาศเวลานมาซ(มุอัซซิน) สิทธิของอิมามในนมาซของท่าน สิทธิของสมาชิกในที่ชุมชนของท่าน

สิทธิของคนข้างเคียงสิทธิของเพื่อนฝูง สิทธิของคนร่วมงาน สิทธิของทรัพย์สิน สิทธิของคู่กรณีที่เขาเป็นฝ่ายเสนอ สิทธิของคู่กรณีที่ท่านเป็นฝ่ายเสนอ สิทธิของผู้เป็นแนวร่วม สิทธิของคู่ปกปักษ์ที่เขาเป็นฝ่ายเสนอ

สิทธิของคู่ปรปักษ์ที่ท่านเป็นฝ่ายเสนอ สิทธิของผู้ขอคำปรึกษา สิทธิของผู้ให้คำปรึกษา สิทธิของผู้ขอคำเตือน สิทธิของผู้ตักเตือน สิทธิของผู้มีวัยวุฒิสูงกว่า สิทธิของผู้อ่อนวัยกว่า สิทธิของผู้มาขอ สิทธิของผู้ที่ท่านขอ สิทธิของผู้ที่ให้แก่โทษแก่ท่านทั้งโดยวาจาและพฤติกรรม จะโดยเจตนาก็ตาม สิทธิของพลเมืองร่วมศาสนาและสิทธิของคนต่างศาสนา สิทธิของคนรับใช้ อันขึ้นอยู่กับปริมาณมากน้อยแห่งเหตุและผลตามสภาพความเป็นไป

ความสุขจะเป็นของคนที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้ความช่วยเหลือจนสามารถทำหน้าที่ในสิทธิต่างๆ ของตนให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี และพระองค์ทรงให้ความสมประสงค์ และสนับสนุนเขา เพราะเหตุนี้สิทธิของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)อันยิ่งใหญ่สำหรับท่านคือ ท่านจะต้องเคารพนบนอบพระองค์จะต้องไม่ตั้งภาคีต่อพระองค์ด้วยสิ่งใดๆ ดังนั้นถ้าหากท่านกระทำด้วยความจริงใจ พระองค์จะทรงบันดาลให้ท่านได้รับความสำเร็จทั้งในโลกนี้และปรภพ

สิทธิในตัวของท่านสำหรับท่านเอง คือท่านจะต้องใช้งานมันไปด้วยการเคารพเชื่อฟังอัลลออฺ(ซ.บ.)

สิทธิของลิ้น คือจะต้องให้มันได้รับเกียรติโดยพ้นจากการพูดปด และจะต้องควบคุมให้มันอยู่ในความดีงาม งดเว้นการพูดจาคึกคะนอง ซึ่งหาประโยชน์อันใดมิได้ และต้องมีคุณธรรมต่อคนทั่วไป อีกทั้งมีวาจาดีกับคนเหล่านั้น

สิทธิของหู คือจะต้องให้มันปลอดพ้นจากการรับฟังการนินทา และรับฟังในสิ่งที่ไม่อนุญาตให้ฟัง

สิทธิของสายตา คือจะต้องลดละจากการมองสิ่งที่ไม่อนุญาต และจะต้องมีการพิจารณาด้วยการตรึกตรอง

สิทธิของมือ คือจะต้องไม่เอื้อมมือไปยังของที่ไม่ได้รับการอนุญาต

สิทธิของเท้า คือจะต้องไม่นำมันเดินไปในที่ที่ไม่อนุญาต เพราะท่านจะต้องอาศัยมันทั้งสองข้างยืนบนอัศ-ศิรอฏ(สะพานหนึ่งในวันแห่งการตอบแทน) ดังนั้นจงพิจารณาให้ดี เพื่อมันจะไม่ทำให้ท่านพลาดลงสู่ไฟนรก

สิทธิของท้อง คือจะต้องไม่ทำให้มันเป็นที่เก็บของต้องห้าม และจะต้องไม่เติมอะไรขณะที่ยังอิ่มอยู่

สิทธิของอวัยวะเพศ คือจะต้องรักษามันให้พ้นจาการล่วงประเพณี และรักษามันไว้ให้พ้นจากการถูกมอง

สิทธิของการนมาซ คือจะต้องรู้ว่า มันคือการเข้าเฝ้าอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และท่านกำลังยืนต่อหน้าพระองค์ เมื่อท่านรู้อย่างนี้ ท่านจะต้องยืนตรงเยี่ยงการยืนตรงของบ่าวผู้ต่ำต้อยด้อยค่า ที่แสวงหาความหวังอย่างยิ่งในฐานะผู้เกรงกลัวที่ยอมสยบนบนอบอย่างยิ่งต่อผู้ที่อยู่เบื้องหน้าตน ด้วยอาการสงบเสงี่ยมเจียมตัวและจะต้องยอมรับสิ่งเหล่านี้ด้วยหัวใจของท่าน และดำรงรักษามันไว้ตามข้อกำหนดและสิทธิของมัน

สิทธิของการบำเพ็ญฮัจญ์ คือท่านจะต้องรู้ว่า มันหมายถึงการเข้าเฝ้าอัลลอฮฺ(ซ.บ.) พระผู้อภิบาลของท่าน ความบาปของท่านจะต้องสลัดพ้นไป และจะทรงยอมรับการกลับตัวของท่าน และเป็นการทำหน้าที่ตาม

ข้อบังคับที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงกำหนดให้แก่ท่านได้ลุล่วงแล้ว

สิทธิของการถือศีลอดคือท่านจะต้องรู้ว่า มันคือม่านกั้นที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงวางไว้แก่ ลิ้น หู ตา ท้องและอวัยวะเพศของท่าน เพื่อปกป้องท่านให้พ้นจากไฟนรก หากท่านไม่ถือศีลอด อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงถอดถอนสิ่งกำบังของท่านออกไป

สิทธิของการทำงาน คือท่านจะต้องรู้ว่า “ ทาน ” หมายถึงเสบียงของท่านที่อยู่ ณ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) และเป็นสมบัติส่วนตัวของท่านที่ไม่จำเป็นต้องให้ใครมองเห็น เมื่อท่านรู้อย่างนี้แล้ว ท่านจะต้องเสียสละทานอย่างลับๆ อันจะมีน้ำหนักแก่ท่านยิ่งกว่าการบริจาคอย่างเปิดเผย และท่านจะต้องรู้ว่า มันจะช่วยสกัดกั้นเภทภัยและความเจ็บปวดในโลกนี้ได้ และจะปกป้องท่านให้พ้นจากไฟนรกในปรโลก

สิทธิของสัตว์ที่พลีเป็นกุศลทาน คือท่านจะต้องมีความประสงค์ในการมอบหมายมันแด่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)เท่านั้น และมิได้มีความประสงค์เพื่อมวลมนุษย์ และท่านจะต้องไม่มี ความประสงค์อื่นใด นอกจากเพื่อวิญญาณของ

ท่านจะได้รับความเมตตา ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และความปลอดภัยในวันที่ท่านเข้าพบพระองค์

สิทธิของผู้มีอำนาจ คือท่านจะต้องรู้ว่า ท่านจะต้องประสบกับความชั่วร้ายของเขา แท้จริงเขาคือผู้ที่ก่อภัยพิบัติให้เกิดแก่ท่านได้ ตามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบันดาลให้เขาเป็นผู้มีอำนาจครอบครองท่าน และท่านจะต้องไม่ทำลายเขาด้วยการยื่นมือของท่านไปสู่ความเสียหาน และอย่าได้เป็นผู้ร่วมงานกับเขาในอันที่จะนำความเลวร้ายมาสู่ท่าน

สิทธิของผู้ที่ควบคุมท่านด้วยวิชาความรู้ คือจะต้องให้เกียรติและยกย่องในการเข้าร่วมงานกับเขา และจะต้องให้การเชื่อฟังแต่โดยดี

และต้องให้การยอมรับ จะต้องไม่ขึ้นเสียงกับเขาและจะต้องไม่ตอบคำถามของคนใดที่ถามเขา ไม่ว่าในเรื่องอันใดก็ตามจนกว่าเขาจะเป็นคนตอบเอง จงอย่าพูดกับคนใดในขณะประชุมร่วมกับเขา จงอย่าตำหนิคนใดในขณะอยู่กับเขา จะต้องปกป้องเขาในขณะที่มีใครกล่าถึงเขาในแง่ร้าย จะต้องปกปิดข้อตำหนิของเขา จะต้องเปิดเผยเกียรติคุณของเขาจงอย่าร่วมในการเป็นศัตรูกับเขา จงอย่าขัดแย้งฐานะความเป็นผู้ปกครองของเขา ถ้าท่านทำอย่างนี้มะลาอิกะฮฺของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงเป็นพยานว่า ท่านปรารถนาดีต่อเขา และร่ำเรียนจากเขาเพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)มิใช่เพื่อนมนุษย์

สิทธิของผู้ที่ควบคุมท่านในฐานะผู้ปกครอง คือท่านจะต้องเคารพ เชื่อฟังและอย่าขัดขืน นอกจากกรณีที่เป็นการทรยศต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

เพราะไม่มีการเคารพเชื่อฟังใดๆ แก่ผู้ถูกสร้างที่อยู่ในการทรยศต่อพระผู้สร้างสิทธิของผู้อยู่ในความดูแลของท่าน

โดยท่านเป็นผู้มีอำนาจ คือทานจะต้องรู้ว่า พวกเขาเป็นผู้อยู่ในความดูแลของท่าน เพราะความอ่อนแอของพวกเขาและเพราะอำนาจของท่านจึงจำเป็นที่ท่านจะต้องให้ความยุติธรรม และจงปฏิบัติต่อพวกเขาเสมือน

บิดาของผู้มีความเมตตาสงสารบุตรของตน จงอภัยในความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของพวกเขา จงอย่ารีบลงโทษ แต่จงขอบคุณอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในฐานะที่ทรงมอบอำนาจให้ท่านครอบครองพวกเขาเหล่านั้น

สิทธิของผู้ที่อยู่ในความดูแลของท่าน โดยท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ คือ

ท่านจะต้องรู้ว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงกำหนดให้ท่านเป็นดุลยธรรมสำหรับพวกเขา โดยความรู้ที่ทรงประทานให้แก่ท่าน และทรงเผยคลัง(แห่งความรู้)ต่างๆ ของพระองค์ให้แก่ท่าน ดังนั้น ถ้าหากท่านมีความดีงามในการสอนคนทั้งหลาย และไม่ทำลาย ไม่บั่นทอนพวกเขา อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็จะทรงเพิ่มความดีงามของพระองค์ให้แก่ท่าน แต่หากท่านขัดขืนในการให้ความรู้แก่คนทั้งหลายหรือทำลายความต้องการของพวกเขาในยามที่พวกเขาแสวงหาความรู้จากท่าน ก็เป็นสิทธิของอัลลออฮฺ(ซ.บ.)จะทรงลบเลือนความรู้และรัศมีของพระองค์ออกไปจากท่าน และฐานะของท่านก็เป็นอันตกไปจากหัวใจของคนทั่วไป

สิทธิของภรรยาของท่าน คือจงรู้ไว้ว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงกำหนดมาให้นางเป็นที่สงบจิตใจและอบอุ่นใจแก่ท่าน

กล่าวคือ ท่านจะต้องรู้ว่า นี่คือความโปรดปรานอย่างหนึ่งจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีต่อท่าน ดังนั้น ท่านจงให้เกียรติและมีไมตรีจิตต่อนางถึงแม้สิทธิของท่านที่มีต่อนางนั้นสำคัญกว่าก็ตาม แต่สิทธิของนางที่มีต่อท่านก็คือ ท่านจะต้องเมตตานาง เพราะนางเป็นเสมือนเชลยของท่าน และท่านจงให้อาหารแก่นาง เครื่องนุ่งห่มแก่นาง และหากนางรู้เท่าไม่ถึงการณ์ท่านจงอภัยนาง

สิทธิของข้าทาสของท่าน คือท่านจงรู้ไว้ว่า เขาคือมนุษย์ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสร้างมาเป็นเสมือนบุตรของบิดามารดาท่านเช่นกัน เป็นเสมือนเนื้อและเลือดของท่านท่านมิได้ครอบครองเขาเพียงแต่ลำพังโดยไม่มีอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านมิได้สร้างอวัยวะส่วนใดของเขาขึ้นมาเลย และท่านมิได้นำเครื่องยังชีพใดๆ มามอบให้แก่เขาเลย แต่ทว่าในเรื่องนี้ เป็นหน้าที่ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ทรงประทานแก่ท่านอย่างครบครัน

ต่อจากนั้นพระองค์ทรงมอบเขามาให้ท่านควบคุมและทรงฝากขังเขาไว้กับท่าน และให้ท่านทำหน้าที่ดูแลเขาไว้เพื่อพระองค์จงรักษาไว้ซึ่งความดีงามใดๆ ก็ตามที่ท่านนำมามอบแก่เขา ดังนั้น จงทำความดีต่อเขาเหมือนดังที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทำดีต่อท่าน หากท่านไม่พอใจก็จงเปลี่ยนเอาคนใหม่ แต่อย่าลงโทษคนที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสร้างมาเลย

“ ไม่มีพลังและอำนาจใด ๆ นอกจากโดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ”

สิทธิแห่งมารดาของท่าน คือท่านจงรู้ว่า นางอุ้มท้องท่านมา อย่างชนิดที่ไม่เคยมีใครอุ้นมาอย่างนั้น และนางมอบให้แก่ท่านซึ่งผลไม้จากจิตใจของนาง(หมายถึงเลือดที่กลั่นออกมาเป็นน้ำนม) อย่างชนิดที่ไม่เคยมีใครมอบให้ท่านอย่างนั้นเลยสักคน อวัยวะทุกส่วนในเรือนร่างของนางให้ความคุ้มกันท่าน นางไม่เคยอาทรกับความหิวในขณะที่ให้อาหารแก่ท่าน ไม่อาทรกับความกระหายในขณะที่ให้ท่านดื่ม ไม่อาทรกับความเปลือยเปล่าในขณะที่ให้ท่านสวมใส่ยอมอดหลับอดนอนเพียงเพื่อท่าน ปกป้องความร้อนความหนาวแก่ท่านเสมอเพื่อท่านได้อยู่กับนาง ฉะนั้นท่านไม่อาจขอบคุณนางให้เหมาะสมได้นอกจากด้วยความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และความประสงค์จากพระองค์

สิทธิของบิดาของท่าน คือท่านจะต้องรู้ว่า เขาคือรากฐานที่มาของท่าน หากไม่มีเขา ท่านย่อมไม่มี ดังนั้นอันใดที่ท่านพบว่า ในตัวของท่านมีสิ่งที่เขาพอใจ ก็จงรู้ไว้ว่าบิดาของท่านคือรากเง่าแห่งความโปรดปรานที่มีต่อท่านในเรื่องนั้น ดังนั้นจงสรรเสริญอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และทดแทนคุณเขาให้สุดความสามารถ

“ ไม่มีพลังใดๆ นอกจากโดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ”

สิทธิของผู้เป็นบุตรของท่าน คือท่านต้องรู้ว่า เขามาจากท่าน เป็นอีกส่วนหนึ่งของชีวิตทางโลกที่เพิ่มพูนให้แก่ท่าน ทั้งในส่วนที่ดีและส่วนที่เลวของเขา ท่านจะต้องถูกสอบสวนเกี่ยวกับการควบคุมดูแลมารยาทของเขาให้ดีงาม ต้องเป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุนเขา ดังนั้น จงปฏิบัติต่อเขาในฐานะเช่นการปฏิบัติของคนที่รู้ว่าเขาคือตัวนำรางวัลอันดีงามมาสู่ตน อีกทั้งเป็นตัวนำการลงโทษอันแสนเลวมาสู่ตนด้วยเช่นกัน

สิทธิของพี่น้องของท่าน คือ ท่านจะต้องรู้ว่าเขา คือมือ คือเกียรติยศ คือพลังของท่าน ดังนั้นจงอย่าเอาเขามาเป็นอาวุธในการทรยศต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) และก่อความอธรรมแก่สรรพสิ่งทั้งหลายของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) อย่าปล่อยให้การช่วยเหลือของเขาไปสนับสนุนฝ่ายศัตรู และต้องมีการตักเตือนแก่เขา หากว่าเขาเคารพเชื่อฟังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ทรงมีเกียรติเหมือนท่านมากกว่าเขา

“ ไม่มีพลังใดๆ นอกจากโดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ”

สิทธิของผู้ปกครองที่สร้างความดีให้แก่ท่าน คือท่านจะต้องรู้ว่า เขานำทรัพย์สินของเขามาใช้จ่ายเพื่อท่านและนำท่านออกจากความต่ำต้อย และแร้นแค้นไปสู่เกียรติยศอันเป็นความอิสระ และปลดปล่อยท่านให้พ้นจากสภาพของเชลยให้พ้นจากความเป็นข้าทาส ให้พ้นจากสภาพที่อยู่ในคุกอันกักขังหน่วงเหนี่ยวท่านจากการเคารพภักดีต่อพระผู้อภิบาล ท่านจะต้องรู้ว่า เขาคือคนสำคัญที่สุดในความเป็นและความตายของท่าน ความช่วยเหลือที่เขามีต่อท่านนั้น เป็นหน้าที่สำหรับตัวท่าน เมื่อเวลาที่เขาต้องการความช่วยเหลือจากท่าน

“ ไม่มีพลังใดๆ นอกจากโดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ”

สิทธิของคนรับใช้ที่ท่านมีบุญคุณต่อเขา คือท่านจะต้องรู้ว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงถือว่า การที่ท่านปลดปล่อยให้เขาพ้นจากความเป็นทาสนั้น คือ สื่อสัมพันธ์สำหรับพระองค์ และเป็นม่านกั้นท่านให้พ้นจากนรก และมรดกของเขาในโลกนี้คือ รางวัลอันหนึ่งสำหรับท่าน ถ้าหากเขาไม่มีญาติคนใดทดแทนค่าเลี้ยงดูที่ท่านจ่ายให้เขาไปรางวัลของท่านในปรภพคือ “ สวรรค์ ”

สิทธิของผู้มีคุณงามความดีต่อท่าน คือทานจะต้องทดแทนบุญคุณของเขา และจะต้องนึกถึงความดีงามของเขาเสมอ และต้องพยายามพูดจากับเขาด้วยวาจาที่ดี จงวิงวอนขอจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เพื่อเขาด้วยความจริงใจ เพราะถ้า

ท่านทำให้อย่างนี้ก็เท่ากับท่านได้ตอบแทนบุญคุณเขาทั้งในยามเร้นลับและในยามเปิดเผย ต่อจากนั้น ถ้าวันใดท่านมีความสามารถในการตอบแทนให้สมบูรณ์ได้ก็จงตอบแทนเขา

สิทธิของผู้ทำหน้าที่ประกาศเวลานมาซ(มุอัซซิน) คือท่านจะต้องรู้ว่า เขาคือคนที่เตือนท่านให้รำลึกถึงพระผู้อภิบาลของท่าน และเชิญชวนไปสู่โชคลาภอันมหาศาล เป็นผู้ช่วนทำหน้าที่ปลดเปลื้องภาระหน้าที่ที่จำเป็นจะต้องมีต่ออัลลอฮฺ ( ซ.บ.) ให้สำเร็จลุล่วงได้ ดังนั้น จงขอบคุณเขาผู้นี้ในฐานะผู้บำเพ็ญคุณงามความดีให้

สิทธิของผู้ที่เป็นอิมามในนมาซ คือท่านจะต้องรู้ว่าเขาคือ ผู้เป็นสื่อนำระหว่างท่านกับพระผู้อภิบาลเขามีสิทธิพูดแทนท่าน

เขาวิงวอนขอให้แก่ท่านโดยที่ท่านไม่ต้องวิงวอนขอเพื่อเขา ท่านเพียงแต่ทำหน้าที่ยืนตรงต่อหน้าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็พอแล้ว หากเขามีความบกพร่องก็เป็นความบกพร่องของเขาเองไม่เกี่ยวกับท่าน

แต่ถ้าหากเขาทำถูกต้องสมบูรณ์ ท่านก็คือคนหนึ่งที่เป็นส่วนร่วมของเขา และใช่ว่าเขาจะได้รับอะไรพิเศษมากกว่าท่านก็หาไม่ (ในฐานะผู้นมาซ)ตัวของท่านถูกปกป้อง(ให้พ้นจากความผิดพลาดในนมาซ)ด้วยตัวของเขา นมาซของท่านถูกป้อง(จากความไม่สมบูรณ์)ด้วยนมาซของเขา ดังนั้น

จงตอบแทนบุญคุณของเขาให้สุดความสามารถ

สิทธิของสมาชิกในที่ชุมชนของท่าน คือท่านจะต้องสุภาพ อ่อนโยน จงให้ความเป็นธรรมกับเขาในการได้รับอนุญาตให้พูด และอย่าออกจากที่ประชุม นอกจากเขาจะให้อนุญาตและใครที่จะนั่งร่วมกับท่าน ก็อนุญาตให้เขาออกไปได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากท่าน ท่านจะต้องลืมข้อผิดพลาดของเขา และจดจำข้อดีทั้งหลายของเขาและอย่าให้เขาได้ยินอะไร

นอกจากสิ่งที่ดี ๆ

สิทธิของเพื่อนบ้านของท่าน คือจงปกป้องเขาในยามที่เขาไม่อยู่ และจงให้เกียรติในยามที่เขาอยู่ต้องช่วยเหลือเขาในยามที่เขาได้รับความไม่เป็นอธรรม อย่าช่วยทำให้เขาได้รับความอับอาย กล่าวคือ ถ้าหากท่านรู้ว่า เขามี

ความบกพร่องน่ารังเกียจ ก็จงปิดบังไว้ หากท่านรู้ว่า เขายอมรับคำตักเตือนของท่าน ท่านก็ตักเตือนเขาสองต่อสองจงอย่าพึ่งพิงยามที่เขาเดือนร้อน และจงแก้ปัญหาความยุ่งยากให้แก่เขาจงขอการอภัยโทษแก่ความผิดพลาดของเขา และจงสันถวไมตรีกับเขาด้วยไมตรีจิตอันดีงาม

“ ไม่มีพลังใดๆ นอกจากโดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ”

สิทธิของเพื่อนฝูงของท่าน คือท่านจงคบเขาด้วยการให้เกียรติ และมีความเสมอภาค ต้องให้เกียรติต่อเขา เช่นเดียวกับที่เขาให้เกียรติท่าน และจงมีไมตรีจิตต่อเขาอีกทั้งจะต้องไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่เขา

“ ไม่มีพลังใดๆ นอกจากโดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ”

สิทธิของผู้ร่วมงานของท่าน คือถึงแม้เขาจะไม่อยู่ แต่ท่านก็ต้องทำหน้าที่ให้เขาอย่างสมบูรณ์หากเขาอยู่ต้องให้ความดูแลเขา จงอย่าตัดสินความใดๆ ที่มิได้ใช้หลักเกณฑ์ของเขา จงอย่าทำงานตามความคิดของท่านโดยไม่มีข้อเสนอแนะของเขาจงรักษาทรัพย์สินของเขา และจงอย่าทรยศต่อเขาในยามที่เขามีอำนาจหรือไม่ให้เกียรติในคำสั่งของเขา(ไม่ปฏิบัติตาม) แท้จริงพลังของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะสถิตย์อยู่กับคนสองฝ่ายที่ร่วมกันทำงานเสมอ ตราบใดที่คนทั้งสองไม่ทรยศต่อกันไม่มีพลังใดๆ นอกจากโดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ”

สิทธิในทรัพย์สินของท่าน คือท่านจะต้องไม่หามาจากทางใด นอกจากทางที่ได้รับอนุญาตและจงอย่าให้จ่ายออกไปนอกจากในทางที่ถูกต้อง

จงอย่าให้มันสร้างผลกระทบแก่ตัวท่านโดยคนที่ไม่ได้ให้เกียรติแก่ท่าน

ดังนั้น จงทำมันไปทำงานที่เกี่ยวกับการเคารพเชื่อฟังอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จงอย่าตระหนี่เพราะมันจะก่อให้เกิดความสูญเสียและเป็นทุกข์ทั้งๆ ที่มั่งคั่งอยู่

“ ไม่มีพลังอำนาจใด ๆ นอกจากโดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ”

สิทธิของคู่กรณีที่เขาเป็นฝ่ายเรียกร้องจากท่าน คือ(เช่น การชดเชย หรือการจ่ายค่าทำขวัญ ฯลฯ) ถ้าท่านเป็นคนมีความสะดวกก็จงให้เขาไป แต่ถ้าหากท่านเป็นคนลำบาก ท่านจะต้องเต็มใจในการพูดด้วยวาจาที่ดี และจะต้องโน้มน้าวให้เขาคล้อยตามท่านด้วยความอ่อนโยน ละเมียดละมัย

สิทธิของผู้เป็นแนวร่วมของท่าน คือท่านอย่าหลอกลวง อย่าฉ้อฉล และอย่าปลิ้นปล้อนเขา และท่านจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ ( ซ.บ.) ในข้อที่สิทธิของคู่ปรปักษ์ที่เขาเป็นโจทย์คือ ถ้าหากข้อกล่าวหาที่มีต่อท่านเป็นมูลความจริง ท่านก็จงเป็นพยานต่อตัวท่านเองเพื่อเขาและอย่าได้อธรรมต่อเขา และต้องทำหน้าที่สนองตอบในสิทธิของเขาให้สมบูรณ์ แต่ถ้าหากข้อกล่าวหาของเขาผิดพลาดท่านก็ต้องมีไมตรีต่อเขา และจะต้องไม่ดำเนินการใดๆ ต่อเขา นอกจากด้วยวิถีทางแห่งการมีไมตรีจิต และอย่าละเมิดพระผู้อภิบาลของท่านในข้อนี้

“ ไม่มีพลังใดๆ นอกจากโดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ”

สิทธิของคู่ปรปักษ์ที่ท่านเป็นฝ่ายโจทย์ คือ ถ้าหากข้อกล่าวหาของท่านเป็นความจริง ท่านจะต้องใช้วาจาที่สุภาพที่สุดต่อเขา และอย่าเบียดบังสิทธิของเขา แต่ถ้าหากท่านตั้งข้อกล่าวหาผิดพลาด ก็จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ขอโทษต่อเขาและเลิกกิจการตั้งข้อกล่าวหา

สิทธิของผู้ขอคำปรึกษา คือหากท่านรู้ถึงแนวคิดใดๆ เพื่อเขา ท่านก็ต้องชี้แนะเขาทันทีแต่ถ้าหากท่านไม่รู้ก็จงแนะนำให้เขาไปหาคนที่รู้ในเรื่องนั้นๆ

สิทธิของผู้ให้คำปรึกษาแก่ท่าน คือท่านจงอย่ากล่าวหาเขา ถ้าหากว่า แนวความคิดที่เขาเสนอไม่เป็นที่สัมฤทธิผลแก่ท่าน แต่ถ้าหากเป็นที่สัมฤทธิผล ท่านก็ต้องสรรเสริญอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

สิทธิของผู้ขอคำตักเตือนจากท่าน คือท่านจะต้องทำหน้าที่ให้คำตักเตือนแก่เขา และจะต้องให้แนวทางของท่านที่มอบให้เขานั้น เป็นความเมตตากรุณา

สิทธิของผู้ให้คำตักเตือนแก่ท่าน คือท่านจะต้องอ่อนโยน และจงตั้งใจในการรับฟังให้จงดี กล่าวคือถ้าหากเขาทำงานซึ่งความถูกต้อง ก็จงสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) และถ้าหากไม่ถูกต้อง ท่านก็ต้องมีเมตตาต่อเขา และอย่าว่ากล่าวเขา และจะต้องรู้ว่านั่นคือข้อผิดพลาด และท่านอย่าถือสาหาความใดๆ เลย นอกจากเขาอยู่ในฐานะที่จะต้องตั้งข้อหา แต่ถึงกระนั้นก็อย่าพึงได้กระทำการใดในทันทีทันควัน

“ ไม่มีพลังอำนาจใดๆ นอกจากโดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ”

สิทธิของผู้สูงวัย คือท่านจะต้องให้เกียรติในวัยวุฒิของเขา ต้องยกย่องเขาในฐานะที่เขาเข้ามาอยู่ในอิสลาม ก่อนหน้าท่าน และจงงดเว้นจากการเผชิญหน้ากับเขาในฐานะคู่กรณี อย่าเดินล้ำหน้าไปก่อนเขา และอย่าหาว่าเขาไม่ทันท่าน(โง่)หากเขาว่าท่านไม่ฉลาด ก็จงถือซะว่าเป็นเรื่องธรรมดา และใหเกียรติแก่เขาโดยสิทธิในอิสบามและศักดิ์ศรีของเขา

สิทธิของคนที่อ่อนวัยกว่า คือท่านจะต้องมีความเมตตาต่อเขา ในการอบรมสั่งสอนและผ่อนปรนแต่โดยดี ช่วยปกปิดความลับให้แก่เขา และจะต้องเป็นมิตรให้แก่เขาอีกทั้งต้องสนับสนุนช่วยเหลือเขา

สิทธิของผู้ขอ คือ ท่านจะต้องให้เขาตามปริมาณความจำเป็นของเขา

สิทธิของผู้ที่ถูกขอ (คือท่านอยู่ในฐานะผู้ขอจากเขา)คือ ถ้าหากเขาให้อะไรก็จงรับจากเขาด้วยการขอบคุณ และมีกตัญญูต่อบุญคุณนั้นๆ แต่ถ้า

เขาขัดข้องก็จงยอมรับความขัดข้องของเขา

สิทธิของผู้ที่ช่วยปกป้องท่าน คือ ท่านจะต้องสรรเสริญอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เป็นอันดับแรก จากนั้นก็จงขอบคุณต่อเขา

สิทธิของคนที่ทำลายท่าน คือท่านจะต้องอภัยให้แก่เขา และถ้าหากท่านรู้ว่า การให้อภัยเขานั้นอาจเป็นโทษ ท่านจงให้ความช่วยเหลือเขา