ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 42478
ดาวน์โหลด: 4450


รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 157 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 42478 / ดาวน์โหลด: 4450
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

สิทธิของคนร่วมศาสนาคือท่านจะต้องให้หลักประกันในความปลอดภัย และมีเจตนาจิตจงอ่อนโยนให้กับข้อผิดพลาดของพวกเขา และจงแก้ไขปรับปรุงให้ดีงาม จงขอบคุณในความดีงามที่เขามี จงสะกัดกั้นภัยอันตรายออกจากพวกเขา จงชอบที่จะให้ได้แกเขาเหล่านั้น เหมือนท่านชอบที่จะให้ได้แก่ตัวของท่านเอง จงรังเกียจการที่จะให้ของที่ท่านรังเกียจเกิดขึ้นแก่เขาเหล่านั้น และจงถือว่าผู้อาวุโสในหมู่พวกเขาอยู่ในฐานะบิดาของท่านเองส่วนคนหนุ่มนั้น จงถือว่าอยู่ในฐานะเป็นพี่น้องของท่านเอง ส่วนสตรีสูงอายุในหมู่พวกเขา ท่านจงถือว่าอยู่ในฐานะมารดาของท่านเอง ส่วนเด็กที่อยู่ในวัยอ่อนเยาว์ ท่านก็จงถือว่าเป็นเสมือนลูกของท่านเอง

สิทธิของคนต่างศาสนา คือท่านจะต้องยอมรับพวกเขาไปตาม กรณีต่าง ๆที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้การยอมรับต่อพวกเขาและจงอย่าอธรรมต่อพวกเขา ในสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาได้รับมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) โดยพันธะสัญญาของพระองค์ ( 1)

(1) อัล-คิศ็อล หน้า 570

สุภาษิต :

คำสอนอันทรงคุณค่าของอิมามที่ 4

สื่อกลางในการดำเนินงานด้านชี้แนวทางของบรรดาอิมาม(อฺ)อีกประการหนึ่งคือ การที่ท่านได้แนะนำสั่งสอนประชาชนรอบข้างด้วยสุภาษิตและคำตักเตือนใจที่ให้หลักการในเรื่องมารยาทและจริยธรรม ด้วยถ้อยคำสั้น ๆ เรียบง่าย จับใจและสะดวกในการจดจำ บรรดาสหายของท่านจึงนำมาประพฤติปฏิบัติและเจริญรอยตาม ในมหาสมุทรแห่งหนังสือวิชาการมีถ้อยคำนับพันๆ ถ้อยคำของบรรดาอิมาม(อฺ)ทั้งหลาย จนกระทั่งมีนักปราชญ์บางคนได้รวบรวมถ้อยคำสั้น ๆของท่านอิมามอฺะลี อะมีรุลมุมินีน(อฺ) ไว้ในหนังสือเล่มเดียวมากกว่าสองพันสุภาษิต

ในบทนี้เราจะกล่าวถึงสุภาษิตบางข้อของท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)

สุภาษิตที่ 1

ผู้ใดงดเว้นการสั่งสอนเรื่องคุณธรรม และห้ามปรามในสิ่งชั่วร้ายเปรียบเสมือนผู้ปฏิเสธคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เขาจะต้องระวังให้จงหนักมีคนถามว่า จะต้องระวังเรื่องอันใด ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ กลัวว่าผู้ทรงอำนาจสูงสุดจะลงโทษ หรือจะก่อการใดๆ ที่เป็นการละเมิดแก่เขาอย่างร้ายแรง ” (1)

(1) ตัชกิเราะตุล-ค่อว๊าศ หน้า 185

สุภาษิตที่ 2

การทำงานที่เพียบพร้อมไปด้วยความยำเกรง(ตักฺวา)ไม่มีวันถูกทำให้ลดน้อยลง ดังนั้น การถูกยอมรับจะถูกทำให้ลดน้อยลงได้อย่างไรกัน

สุภาษิตที่ 3

คนที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ชิงชังมากที่สุด คือคนที่เป็นผู้นำเพราะอายุอย่างเดียว โดยมิได้เป็นเพราะผลงาน

สุภาษิตที่ 4

คนที่ถูกกลั่นแกล้ง ทั้ง ๆ ที่พูดจาดีล้วนมีมากมาย คนที่ถูกลวงทั้ง ๆ ที่ระมัดระวังตัวอย่างดีล้วนมีมากมาย( 2)

(2) อัล-อิมามอฺะลี ของมุฆ็อนนียะฮฺ หน้า 219

สุภาษิตที่ 5

ความสมบูรณ์ทางศาสนาของมุสลิมคนหนึ่ง ก็คือ ไม่พูดในสิ่งที่ตนไม่เห็น ออกความเห็นแต่น้อย มีใจโอบอ้อมอารีและอดกลั้น อีกทั้งมี มารยาทที่ดีงาม

สุภาษิตที่ 6

ความปลอดภัยของคนที่เชื่อมั่นในพระเจ้ามี 3 ประการ

1) รักษาลิ้นของตนเองมิให้นินทาผู้อื่น

2) ฝักใฝ่แต่ในสิ่งที่ยังประโยชน์แก่ตนเองทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

3) ร้องไห้ในความผิดพลาดของตนนานๆ

สุภาษิตที่ 7

นอกเหนือจากการรู้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)แล้ว ไม่มีอะไรเป็นที่ชื่นชอบสำหรับพระองค์ ยิ่งกว่าการปกป้องดูแลปากท้อง(ไม่ให้กินของฮะรอมและปกป้องอวัยวะเพศ(ไม่ล่วงประเพณี)

สุภาษิตที่ 8

จงละอายต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)เถิด เพราะพระองค์อยู่ใกล้ตัวท่านเหลือเกิน

สุภาษิตที่ 9

จงระวังเรื่องการนินทา เพราะมันหมายถึงการเป็นสุนัขที่ประจำในนรกตลอดกาล

สุภาษิตที่ 10

สิ่งที่จะช่วยเพิ่มอัตราน้ำหนักในตราชูแห่งวันฟื้นคืนชีพ ย่อมไม่มีอะไรดีเลิศกว่ามารยาทที่ดีงาม( 3)

(3) ซัยนุลอฺาบีดีน ของมุก็อรร็อม หน้า 216-220

สุภาษิตที่ 11

คนใดที่นอนไปด้วยความอิ่มหนำสำราญ แต่ปล่อยให้ผู้ศรัทธาหิวโหย อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะตรัสแก่มวลมะลาอิกะฮฺว่า :

“ มะลาอิกะฮฺของข้าเอ๋ย จงเป็นพยานต่อบ่าวของข้าคนนี้เถิด ข้ามีบัญชาต่อเขา แต่เขากลับทรยศต่อข้า และเคารพเชื่อฟังคนอื่น มอบหมายการงานของตนเพื่อคนอื่น ขอสาบานด้วยเกียรติและความยิ่งใหญ่ของข้า แน่นอนข้าจะไม่ให้อภัยให้แก่เขาอย่างเด็ดขาด ” (4)

(4) ซัยนุลอฺาบิดีน ของมุก็อรร็อม หน้า 64

สุภาษิตที่ 12

ความพอใจกับการตัดสินที่น่ารังเกียจ เท่ากับเป็นการถอดถอนความสูงส่งของอีหม่านโดยสิ้นเชิง( 5)

(5) อะอฺยานุช-ซีอะฮฺ กอฟ 1/527

สุภาษิตที่ 13

น่าประหลาดใจแท้ สำหรับคนที่ยิ่งยะโส ที่เมื่อวานเขาเป็นเพียงอสุจิ และพรุ่งนี้เขาจะเป็นซากศพ

น่าประหลาดใจเหลือแสน สำหรับคนที่สงสัยในเรื่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทั้งๆมองเห็นงานสร้างสรรค์ของพระองค์อยู่

น่าประหลาดใจแท้ สำหรับคนที่ปฏิเสธการเกิดใหม่ในโลกหน้าทั้งๆ ที่เขาประจักษ์ซึ่งการเกิดใหม่ในโลกนี้อยู่แล้ว

น่าประหลาดใจแท้ สำหรับคนที่ทำงานเพื่อโลกแห่งการดับสูญในขณะที่ทอดทิ้งการงานเพื่อโลกอันถาวร

สุภาษิตที่ 14

การขออภัยโทษนั้นอยู่ที่ความประพฤติและการปฏิบัติตัวเสียใหม่มิใช่อยู่ที่คำพูด( 6)

(6) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 199,206

สุภาษิตที่ 15

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงซ่อนเร้นของ 4 ประการไว้ใน 4 ประการนี้คือ

1) ซ่อนความชื่นชมของพระองค์ ดังนั้นจงอย่าถือว่า การเคารพเชื่อฟังพระองค์เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เพราะบางทีมันอาจจะสอดคล้องตรงตามความชื่นชมของพระองค์ แต่ท่านไม่รู้

2) ทรงซ่อนความโกรธไว้ในกรณีที่มีความทรยศต่อพระองค์ดังนั้นจงอย่าถือว่า การทรยศต่อพระองค์ในเรื่องใดเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เพราะบางทีมันอาจตรงตามที่พระองค์ทรงกริ้วอยู่แล้ว แต่ท่านยังไม่รู้ก็ได้

3) ทรงซ่อนการตอบสนองในยามที่มีการวิงวอนขอแต่พระองค์ ดังนั้นจงอย่าถือว่า การวิงวอนขอต่อพระองค์เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เพราะบางทีดุอฺาอ์นั้นก็ตรงกับการตอบสนองของพระองค์พอดี แต่ท่านยังไม่รู้ก็ได้

4) ทรงซ่อนคนที่พระองค์ทรงรักไว้ในมวลบ่าวของพระองค์ ดังนั้น จงอย่าดูแคลนบ่าวคนใดของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เพราะบางทีเขาอาจเป็นคนที่พระองค์ทรงรักเขา แต่ท่านไม่รู้ก็ได้

สุภาษิตที่ 16

ท่านอิมามอะลี บินฮุเซน(อฺ) มองไปที่คนๆ หนึ่งซึ่งเพิ่งหายจากการป่วยไข้ ท่านกล่าวกับเขาว่า

“ ขอแสดงความยินดีที่ท่านบริสุทธิ์จากความบาป แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)นึกถึงท่าน ดังนั้น จงระลึกถึงพระองค์ที่ทรงให้ท่านหาย ฉะนั้นจงขอบคุณต่อพระองค์ ”

สุภาษิตที่ 17

ท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ) กล่าวว่า

“ คนใดที่ให้อาหารแก่ผู้ศรัทธาในพระเจ้าจนอิ่ม โดยไม่มีใครในบรรดาสรรพสิ่งรู้เลย ส่วนที่เป็นรางวัลสำหรับเขาในปรภพจะไม่มีใครรู้ แม้กระทั่งมะลาอิกะฮฺและบรรดานบีใดๆ นอกจากพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ”

แล้วท่าน(อฺ)ก็กล่าวว่า

“ ข้อแม้สำหรับผู้ได้รับการอภัยโทษ คือการมอบอาหารอย่างลับๆ แก่มุสลิม ” (7)

(7) ซันุลอาบิดีน ของมุก็อรร็อม หน้า 191,196-197

สุภาษิตที่ 18

บุคคลใดที่มี 4 ประการนี้อยู่ในตนเอง จะทำให้ความเป็นอิสลามของตนสมบูรณ์ขึ้น จะทำให้ความบาปถูกปิดกั้นจากเขา และเขาจะเข้าพบกลับ

อัลลอฮฺ (ซ.บ.)ด้วยความปิติชื่นชม นั่นคือ

1) คนที่ปฏิบัติตามสัญญาต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่พระองค์ทรงกำหนดให้แก่เขากระทำสำหรับมวลมนุษย์

2) มีวาจาสัตย์ต่อคนทั่วไป

3) ละอายในทุกอย่างที่เป็นความชิงชังของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และของคนทั่วไป

4) มีมารยาทดีต่อสมาชิกของครอบครัว

สุภาษิตที่ 19

วาจาดีจะทำให้ทวีทรัพย์สิน มีความเจริญด้านเครื่องยังชีพ สงบจิตในวาระสุดท้าย เป็นที่รักของคนในครัวเรือนและทำให้ได้เข้าสวรรค์( 8)

(8) อัล-คิศ็อล หน้า 222,290, 317

สุภาษิตที่ 20

ได้มีการวางหลักประกันไว้กับพระผู้อภิบาลของท่านว่า

“ คนหนึ่ง ๆ จะต้องไม่ขอในสิ่งใด ๆนอกจากปัญหาที่เดือดร้อนจงถึงวันหนึ่งที่เขาจำเป็นต้องขอ ” (9)

(9) มันลา-ยะฮฺฏุรุลฮุล-ฟะกีฮฺ เล่ม 2, หน้า 40

ถาม ~ ตอบ

ข้อมูลลึกซึ้งของอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)

บรรดานักประวัติศาสตร์ และนักบูรพาคดีของอิสลาม ต่างได้บันทึกคำสอนอันมากมายของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) เป็นต้นว่า พินัยกรรม คำเทศนา คำเตือนใจ สุภาษิต และอุทาหรณ์ต่างๆ ขณะเดียวกัน ท่านเหล่านั้นก็ได้บันทึการตอบคำถามบางเรื่องที่บรรดาอิมาม(อฺ)ได้ตอบเพื่อคลี่คลายปัญหาต่าง ๆอันถูกนำเสนอแก่ทั้งหลาย(อฺ) ปัญหาเหล่านี้มีลักษณะแตกต่างกัน

บางครั้งเป็นคำถามที่เกี่ยวกับการอธิบายบางโองการจากพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน บางครั้งก็เกี่ยวกับบทบัญญัติศาสนา บางครั้งก็เกี่ยวกับหลักเอกภาพและความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งในเรื่องราวเหล่านี้ ไม่มีใครทราบข้อมูลอันลึกซึ้งได้ นอกจากบรรดาอิมาม(อฺ)เท่านั้น

ในตอนที่ผ่านมา เราได้กล่าวถึงการตอบาคำถามของอิมามท่านอื่นๆ บางข้อไปแล้ว บัดนี้ เราจะเสนอเรื่องราวบางประการจากการตอบคำถามของท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)

ถาม - ตอบ

เรื่องที่ 1

ท่านอะบีฮาซิม(ร.ฏ.) กล่าวว่า ชายคนหนึ่งถามท่านอิมามซัยนุล-อาบิดีน(อฺ)ว่า :

“ ท่านรู้จักการนมาซหรือไม่ ?”

ข้าพเจ้ารู้สึกโกรธทันที แต่อิมาม(อฺ)กล่าวว่า

“ ปล่อยเขาเถิด ฮาซิม เพราะบรรดานักปราชญ์ย่องจะต้องมีความสุขุม ”

จากนั้นท่าน(อฺ)ได้หันหน้าไปยังผู้ถามแล้วกล่าวว่า

“ ใช่ ข้ารู้จักการนมาซดี ”

เขาจึงถามท่าน(อฺ)ถึงหลักปฏิบัตินมาซ ข้อห้ามในการนมาซ ข้อบังคับในการนมาซ ข้อที่เพิ่มพูนความดีในนมาซแล้วมาถึงคำถามที่ว่า

ถาม อะไร คือการเปิดประตูเข้าสู่การนมาซ ?

ตอบ การกล่าวตักบีรฺ (ให้ความเกรียงไกรต่ออัลลอฮฺ)

ถาม อะไร คือหลักฐานของการนมาซ ?

ตอบ การอ่าน (ฟาฏิฮะฮฺและซูเราะฮฺ)

ถาม อะไร คือการนอบน้อมในการนมาซ ?

ตอบ การนอบน้อมอยู่ที่การมองในตำแหน่งที่กราบ

ถาม อะไร คือเขตหวงห้ามของการนมาซ (หมายถึงการเริ่มต้นที่จะไม่กระทำสิ่งใดที่ทำให้นมาซเป็นโมฆะ) ?

ตอบ การกล่าวตักบีรฺ

ถาม อะไร คือเขตอนุญาตของการนมาซ(หมายถึงหลักจากนี้จะทำสิ่งที่ทำให้นมาซเป็นโมฆะ และอื่นๆ ได้) ?

ตอบ การกล่าวสลาม (สิ้นสุดการนมาซ)

ถาม อะไร คือของมีค่าที่สุดในการนมาซ ?

ตอบ การตัซบีฮฺ (การมอบความบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺ)

ถาม อะไร คือสัญญลักษณ์ของการนมาซ ?

ตอบ สัญญลักษณ์ของนมาซคือ การสดุดีและวิงวอนขอหลังจากเสร็จจากการนมาซ

ถาม อะไร คือความสมบูรณ์ของการนมาซ ?

ตอบ ความสมบูรณ์ของการนมาซอยู่ที่การอวยพรแด่มุฮัมมัด(ศ)และวงศ์วานของมุฮัมมัด

ถาม อะไร คือเหตุผลว่าการนมาซถูกรับรอง ?

ตอบ ยอมรับในความเป็นผู้นำของเราและไม่สมคบกับศัตรูของเรา

เขากล่าวว่า “ ช่างไม่มีเว้นหลักฐานสักข้อเดียว ”

จากนั้นท่าน(อฺ) ได้ลุกขึ้นแล้วกล่าวว่า “ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงรู้ดีว่า จะประทานสาส์นของพระองค์ลง ณ ที่ใด ” (1)

(1) อัล-มะนากิบ เล่ม 1, หน้า 236

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 2

ท่านอิมามที่ 4 ถูกถามเกี่ยวกับเรื่อง “ การถือฝักฝ่าย (อฺะเศาะบียะฮฺ) ”

ท่าน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ การถือฝักฝ่ายที่เป็นเหตุให้เจ้าตัวต้องเป็นบาปนั้นคือ การที่คนๆ หนึ่งเห็นว่า ความชั่วของคนในพรรคพวกของตนดีกว่าความดีของคนในกลุ่มอื่น การที่คน ๆ หนึ่งรักชอบคนที่เป็นพวกของตนไม่นับว่าเป็นการถือฝักฝ่ายแต่ประการใด แต่การถือฝักฝ่ายหมายถึง การสนับสนุนพรรคพวกของตนเอง แม้ว่าจะเป็นฝ่ายอธรรม ” (2)

(2) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 207

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 3

มีคนถามว่า “ ใคร คือ คนที่น่ากลัวที่สุด ?”

ท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)ตอบว่า

“ คนที่เห็นว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรน่ากลัวสำหรับตนเลย ” (3)

(3) ฟะฏออิลุล-อิมามอฺะลี ของมุฆนียะฮฺ หน้า 219

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 4

ท่านซะอีด บิน อัล-มุซีบ(ร.ฏ.)กล่าวไว้ว่า :

ข้าพเจ้าเคยถามท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) ถึงเรื่องของชายคนหนึ่งซึ่งเตะภรรยาของตนจนเด็กในท้องแท้งตาย

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า

“ หากมันยังเป็นแค่อสุจิ เขาจะต้องจ่ายค่าสินไหม 20 ดีนารฺ ถ้ามันเริ่มก่อตัวในครรภ์แล้วและจะอยู่ในสภาวะนั้น 40 วัน และถ้ามันตกไปอยู่ในครรภ์และก่อตัวในสภาวะนั้น 80 วัน หากแท้งออกมาในลักษณะก้อนเนื้อเขาจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน 60 ดีนารฺ และหากมันตกอยู่ในครรภ์

และก่อตัวในสภาวะนั้น 120 วัน หากแท้งออกมาในลักษณะมีรูปโฉมครบถ้วนมีเนื้อง มีกระดูก มีอวัยวะต่างๆ พร้อมมีวิญญาณ และมีชีวิตมาก่อนแล้วเขาจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน ครบถ้วนบริบูรณ์ทุกประการ (สำหรับการฆ่าคนตาย) ” (4)

(4) อัล-มะนากิบ เล่ม 2, หน้า 259

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 5

กษัตริย์แห่งโรงมีสาส์นถึงอับดุลมาลิกฉบับหนึ่ง มีใจความว่า

“ ข้าได้กินเนื้ออูฐที่บิดาของเจ้าขับไล่มาจากมะดีนะฮฺแล้ว แน่นอนที่สุด ข้าจะยกกองทัพมารบกับเจ้าด้วยกำลังทหารคราวละ 100,000 คน ”

อับดุลมาลิกจึงเขียนส่งต่อไปให้ฮัจญาจน์เพื่อให้ส่งต่อไปให้อิมาม

ซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ) ช่วยเขียนตอบ ซึ่งท่าน(อฺ)ได้เขียนตอบส่งกลับมาให้ว่า

“ ณ อัลลอฮฺ พระองค์ทรงมีบัญชีสำหรับการพิทักษ์คุ้มครองไว้ฉบับหนึ่ง(เลาฮุล-มะฮฺฟูศฺ) ทุกวันพระองค์จะทรงดูแล 300 ครั้ง แต่ละครั้งที่ทรงดูแล พระองค์จะทรงบันดาลให้มีทั้งความเป็นและความตาย บันดาลให้มีเกียรติและต่ำต้อย ทรงดำเนินการตามที่ประสงค์ ข้าหวังใจว่า เพียงการดูแลครั้งเดียวก็พอสำหรับเจ้าแล้ว ”

ฮัจญาจจึงเขียนตามนี้ส่งไปให้อับดุลมาลิก แล้วอับดุลมาลิกก็เขียนตามที่ส่งไปให้กษัตริย์แห่งโรม ครั้นพออ่านจบ กษัตริย์แห่งโรมก็ตรัสว่า

“ อันนี้จะมาจากใครอื่นมิ ได้ นอกจากจะต้องเป็นคำพูดของท่านศาสดา ” (5)

(5) อัล-มะนากิบ เล่ม 2, หน้า 259. บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11, หน้า 38.

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 6

ท่านอิมามซัจญาด(อฺ)ถูกถามถึงเรื่อง “ วันฟื้นคืนชีพ ” และได้ตอบว่า

“ เมื่อถึงวันฟื้นคืนชีพ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงรวบรวมบรรดาผู้คนในยุคแรกและในยุคสุดท้ายเข้าด้วยกัน ต่อจากนั้นมะลาอิกะฮฺจากฟ้าชั้นแรกก็จะลงมาห้อมล้อมเขาเหล่านั้นเป็นทิวแถว และจะตีสัญญาณแห่งไฟนรกรอบๆ เขาเหล่านั้น ต่อมามะลาอิกะฮฺจากฟ้าชั้นที่สองก็จะลงมา และจะตีสัญญาณแห่งไฟนรกรอบๆ เขาเหล่านั้น ต่อมามะลาอิกะฮฺจากฟ้าชั้นที่สามก็จะลงมาและจะตีสัญญาณแห่งไฟนรกรอบๆ เขาเหล่านั้น จนกระทั่งครบจำนวนของมะลาอิกะฮฺจากฟ้าทั้งเจ็ดชั้น มาทำการตีสัญญาณแห่งไฟนรก ”

และมีชายคนหนึ่งลุกขึ้นมาถามท่านอิมาม(อฺ)ว่า

“ ข้าแต่ผู้เป็นบุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(อฺ) แล้วอฺะลีและพรรคพวกของเขาอยู่ที่ไหนเล่า ?”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ อยู่บนทิพยสถานอันบรมสุข พร้อมด้วยอาหารและเครื่องดื่มเขาเหล่านั้นไม่มีความเศร้าโศกใดๆ เลย ” (6)

(6) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 3, หน้า 242.

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 7

ท่านอิมามซัจญาด(อฺ)ได้อธิบายถึงเหตุการณ์ในวันฟื้นคืนชีพเกี่ยวกับการชำระโทษภัยระหว่างผู้อธรรมกับผู้ได้รับความอธรรม

มีชายคนหนึ่ง ลุกขึ้นแล้วถามว่า

“ ข้าแต่ผู้เป็นบุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ถ้าหากคนที่เป็นผู้ศรัทธาต่อพระเจ้า มีการกระทำอันเป็นการอธรรมแก่ผู้มีมิจฉาทิฏฐิต่อพระเจ้า(กาเฟร)เล่า จะมีการชำระโทษกันอย่างไร ในเมื่อฝ่ายหนึ่งเป็นชาวนรก ?”

ท่านอิมาม(อฺ) ตอบว่า

“ ความชั่วต่างๆ จะออกจากตัวของผู้ศรัทธาไปตามปริมาณนั้นๆ แล้วตกแต่งแก่ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ดังนั้นผู้มีมิจฉาทิฏฐิจึงได้รับการลงโทษกับความผิดนั้นๆ พร้อมกันไปกับความผิดของเขาในฐานะเป็นผู้มิจฉาทิฏฐิ ”

เขาถามว่าต่ออีกว่า “ แล้วถ้าหากว่า คนมุสลิมสร้างความอธรรมต่อคนมุสลิมด้วยกันเล่า การชำระโทษจะเป็นอย่างไร ?”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“ ความดีงามประการต่างๆ ของผู้อธรรมจะถูกนำไปมอบแก่ผู้ที่ได้รับความอธรรมนั้น ถ้าหากว่า เขาไม่มีความดีงามใด ๆ ก็จะมีการนำความผิดพลาดต่างๆ ของผู้ได้รับความอธรรมออกมามอบให้แก่ผู้อธรรม ” (7)

(7) ชัยนุลอฺาบีดีน ของ มุก็อรร็อม หน้า 145.

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 8

ท่านอิมามที่ 4 ถูกถามเกี่ยวกับเรื่อง “ ความสมถะ ” ( ซุฮดฺ) และได้ตอบว่า

“ ความสมถะมี 10 ประการ ความสมถะในขั้นสูงสุดได้แก่ ขั้นต่ำสุดของความสำรวม (วะเราะอฺ) ความสำรวมขั้นสูงสุดได้แก่ ขั้นต่ำสุดของความเชื่อมั่นทางจิตใจ (ยะกีน) ความเชื่อมั่นขั้นสูงสุด ได้แก่ ขั้นต่ำสุดของความปิติยินดีต่อพระเจ้า (ริฏอ) จงรู้ไว้ว่า ได้มีการกล่าวถึงเรื่องความสมถะไว้ในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) อยู่แล้ว นั่นคือ

“ เพื่อสูเจ้าจะไม่ระทมทุกข์กับสิ่งที่สูญเสียไปจากสูเจ้า และสูเจ้าจะไม่ปลื้มอกปลื้มใจ (จนถึงขั้นลำพองใจ) ในสิ่งที่ถูกประทานมาแก่สูเจ้า) ” (8)

( อัล-ฮะดีด: 23)

(8) อุศูลลุลกาฟีย์ เล่ม 2, หน้า 128.

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 9

ท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)ถูกถามถึงว่า

“ การงานที่ดีที่สุด ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มีอะไรบ้าง ?”

ท่าน(อฺ) ได้ตอบว่า

“ ถัดจากการรู้จักอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และการรู้จักท่านศาสนทูตแห่งพระองค์(ศ)แล้ว งานที่ดีที่สุดก็คือ ความรู้สึกไม่ยินดีต่อโลก ในเรื่องนี้มีการแยกแยะออกเป็นหลายแขนง เพราะผู้ทรยศมีหลายประเภท

ประการแรก คือการทรยศต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในลักษณะหยิ่งยะโสอันได้แก่ การทรยศของอิบลีซ เมื่อครั้งที่ขัดขืนและเย่อหยิ่ง พร้อมกับเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ(กาเฟร) ต่อมาคือการริษยา อันเป็นการทรยศในแบบของบุตรชายนบีอาดัม(อฺ) เมื่อเราริษยาพี่ชายของตนเองแล้วสังหารเขาตาย สิ่ง

ที่แยกออกไปจากข้อที่ได้แก่ การหลงใหลต่อสตรี หลงใหลต่อโลก หลงใหลต่อตำแหน่งผู้นำหลงใหลต่อความสุขส่วนตัว หลงใหลต่อคำพูด หลงใหลต่อเกียรติยศ หลงใหลในทรัพย์สินเงินทอง มันได้ก่อรูปร่างด้วยกัน 7 ประเด็นด้วยการรวมกันเข้าอยู่ในรูปของการหลงใหลต่อโลกนี้ (ดุนยา) นั่นเอง

บรรดาศาสดาและนักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า

“ ความหลงใหลในดุนยาคือ ต้นเหตุแห่งความผิดพลาดทั้งมวล ” (9)

(9) ซัยนุลอฺาบิดีน ของ มุก็อรร็อม หน้า 152.

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 10

เมื่อท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) กลับถึงเมืองมะดีนะฮฺ หลังจากที่ได้ผ่านเหตุการณ์โศกนาฏกรรมในกัรบะลาอ์

อิบรอฮีม บิน ฏอลฮะอฺ บินอุบัยดิลลาฮฺ ได้ลุกขึ้นถามอย่างดูแคลนว่า

“ ใครเป็นฝ่ายชนะ ?”

ท่านอิมาม(อฺ) ได้ตอบว่า

“ ให้ถึงเวลานมาซ มีการประกาศเชิญชวน แล้วมีการยืนนมาซก่อนเถิดแล้วเจ้าจะรู้ว่า ใครเป็นฝ่ายชนะ ” (10)

(10) ซัยนุลอฺาบิดีน ของ มุก็อรร็อม หน้า 370.

ท่านอิมาม(อฺ)ต้องการจะบอกให้รู้ว่า บรรดาวงศ์วานของผู้บริสุทธิ์(อฺ)คือ ผู้มีชัยชนะ โดยอธิบายว่า

“ พวกเขาเป็นประชาชาติที่มีความเป็นอมตะ ศัตรูของพวกเขาต่างหากที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ อันจะติดตามด้วยความบาป ความมัวหมอง และการสาปแช่งที่ไม่เลือนราง อันความชั่วเหล่านั้นจะอยู่ยงไม่มีการเลือนลับดัลร่องรอยของมันไปได้เลย ตราบชั่วนิรันดร์.... ”

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 11

ท่านอิมามอฺะลี ซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)ถูกถามว่า

“ ทำไมท่านนบี(ศ)จึงเป็นคนกำพร้าทั้งบิดามารดา ?”

ท่าน(อฺ)กล่าวตอบไปว่า

“ เพื่อที่ว่า ท่าน(ศ)จะไม่ต้องรับภาระในหน้าที่ว่าด้วยสิทธิของผู้ถูกสร้าง ” (11)

(11) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 207

ถาม ~ ตอบ

เรื่องที่ 12

มีคนถามท่านอิมามซัจญาด(อฺ)ว่า

“ ทำไมคนบางคนในตระกูลกุเรชจึงโหดร้ายกับบิดา (อิมามฮุเซน(อฺ))ของท่านเหลือเกิน ”

ท่าน(อฺ)ตอบว่า

“ เพราะคนแรกในหมู่พวกเขาต้องเข้าสู่ไฟนรก ส่วนคนสุดท้ายต้องได้รับภัยพิบัติ ” (12)

(12) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 กอฟ 1/527 กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 207