ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 42460
ดาวน์โหลด: 4441


รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮุเซน ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 157 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 42460 / ดาวน์โหลด: 4441
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ชีวประวัติอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

และในหนังสือเล่มนี้ ท่านได้สรุปบทดุอาอ์ของท่านอิมาม (อฺ) ที่ยังไม่มีอยู่ในหนังสือ

“ อัศ-ศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ ” ซึ่งต่อมาท่านมิรซา อับดุลลอฮฺ อัล-อิศฟะฮานี ก็ได้ดำเนินการแก้ไขผลงานของท่านชัยคฺ อัล-อามิลี กล่าวคือ ท่านได้รวบรวม “ อัศ-ศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ ” ขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ต่อจากนั้นท่านชัยคฺ นูรีก็ได้ดำเนินการแก้ไขในส่วนที่ท่านมิรซาอับดุลลอฮฺบกพร่องไป โดยรวบรวมหนังสือ “ อัศ-ศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ ” ขึ้นเป็นครั้งที่4 ต่อมาท่านซัยยิดมุฮฺซิน อัล-อามีน ศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ ” ขึ้นเป็นครั้งที่ 5 และรวบรวมเป็นครั้งที่ 6 โดยท่านมุฮัมมัด บาเก็ร บิน มุฮัมมัด ฮะซัน

อัล-บีรญันดี ต่อมาได้มีการรวบรวมเป็นครั้งที่ 7 โดยท่านฮาดี กาชิฟ

อัล-ฆิฏออ์ และครั้งที่ 8 โดยท่านมิรซา อฺะลี อัล-มัรอะชี หนังสือ

“ อัศ-ศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ ” ฉบับนี้ได้รับการพิมพ์ครั้งแล้วครั้งเล่า

หากเราทำจิตใจของเราให้เที่ยงธรรม แน่นอนที่สุดเราจะต้องถือว่าบทดุอฺาอ์ต่าง ๆเหล่านี้ก็คือ การยอมโดยสิ้นเชิงต่อพระผู้มีความประเสริฐสุด เป็นการก้าวไปสู่เกียรติยศ เป็นแนวทางอันเที่ยวตรงแก่วิถีชีวิตโดยทั่วไปของเรา และแน่นอนเราจะได้พบกับความผาสุกในชีวิจทางโลก

และปรภพ

ในบทนี้เราจะกล่าวถึงบทดุอฺาอ์บทสั้น ๆ ที่เราคัดมาจากหนังสือ

“ อัศศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ ” และจากที่อื่น ๆ ของท่านอิมามอะลี บิน

ฮุเซน อัซ-ซัจญาด(อฺ) ดังต่อไปนี้

ดุอฺาอ์

บทที่ 1

บทดุอฺาอ์ที่ท่านฮัมมาด บินฮะบีบ อัล-กูฟี(ร.ฏ.)ได้ยินท่านอิมาม ซัจญาด(อฺ)อ่านที่ “ บีดาอ์ ” ตรงเส้นทางระหว่างมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ มีดังนี้:

“ ข้าแต่พระองค์ บรรดาคนหลงผิดทั้งหลายต่างหมายมุ่งหาพระองค์ซึ่งพวกเขาจะประสบกับพระองค์ในฐานะผู้ได้รับการชี้นำ บรรดาคนยำเกรงทั้งหลายต่างนอบน้อมยังพระองค์ แล้วพวกเขาจะพบพระองค์ในฐานะผู้มีสติปัญญา บรรดาคนที่หวนกลับต่างเข้าหาพระองค์ซึ่งพวกเขาจะพบพระองค์ได้ในฐานะผู้มีความมุ่งหวัง เมื่อไรกันที่ร่างกายเขาจะหยุดพักจากการทุ่มเทเพื่อสิ่งอื่นนอกจากพระองค์ เมื่อไรกันเขาถึงจะพอใจในการแสวงหาสิ่งอื่น นอกจากพระองค์ที่พระองค์ทรงสร้างสรรค์มันขึ้นมา ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าบัดนี้ความมืดมิดแผ่กระจายออกไปหมดแล้ว แต่หัวใจของ

ข้าฯยังไม่บรรลุถึงความสำเร็จในการอ้อนวอนต่อพระองค์ ขอได้ทรงประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่าน และทรงโปรดอำนวยให้ข้าฯได้มีสิทธิในกิจการของโลกทั้งสองด้วยเถิด ข้าแต่พระผู้ทรงเมตตาเหนือกว่าผู้เมตตาใดๆ ” ( 4)

(4) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 , หน้า 245

ดุอฺาอ์

บทที่ 2

เป็นบทดุอฺาอ์ที่ท่านอิมามซัจญาด(อฺ)ได้สอนบุตรของท่าน(อฺ)

ซึ่งท่านอะบูฮัมซ์ะฮฺ อัษ-ษุมาลี(ร.ฏ.)กล่าวว่า :

ท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)ได้พูดกับบุตรชายว่า

“ ลูกเอ๋ย หากภัยพิบัติใด ๆ ของโลกนี้มาประสบแก่เจ้า หรือพวกเจ้าต้องตกที่นั่งลำบากก็ให้คนใดคนหนึ่งในหมู่พวกเจ้า ทำน้ำวุฏอฺเพื่อนมาซและให้เขานมาซ 4 หรือ 2 ร่อกะอัต เมื่อนมาซ

เสร็จแล้วก็ให้เขากล่าวว่า

ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของคนมีความทุกข์

ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงได้ยินเสียงกระซิบทั้งปวง

ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงบำบัดรักษาเภทภัยทั้งหลาย

ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งที่เร้นลับทั้งหลาย

ข้าแต่พระองค์ ผู้แก้ไขเหตุการณ์ใด ๆ ตามที่ทรงประสงค์

ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นที่วิงวอนของบูชา

ข้อแต่พระองค์ ผู้ทรงคัดเลือกมุฮัมมัด

ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงเป็นสหายของอิบรอฮีม

ข้าฯขอวิงวอนต่อพระองค์ในฐานะผู้ประสบความทุกข์โศกมหันต์

ข้าฯอ่อนแอจนเกินกำลัง หนทางแก้ของข้าฯมีน้อยนัก

ข้าฯขอวิงวอนในฐานะคนที่จมอยู่กับความยากแค้นอันลี้ลับ ซึ่งไม่มีใครช่วยแก้ไขสภาพความเป็นอยู่นี้ได้ นอกจากพระองค์

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเมตตาที่เหนือกว่าผู้เมตตาใดๆ

มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ แท้จริงข้าฯคือ ผู้มีความผิด

ท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ ผู้ใดที่อ่านดุอฺาอ์บทนี้แล้ว ไม่ว่าเขาจะประสบกับทุกข์เภทภัยใดๆ ก็จะได้รับการปลดเปลื้องทั้งสิ้น ” ( 5)

( 5) อัล-ฟุศูลุล มุฮิมมะฮฺ หน้า 192

ดุอฺาอ์

บทที่ 3

เป็นบทดุอฺาอ์ที่ท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)วิงวอนในตอนย่ำรุ่ง

ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า การวิงวอนขออภัยโทษของข้าฯนี้มีเฉพาะต่อพระองค์ ในขณะนี้ข้าฯเป็นคนที่ติดอยู่กับสิ่งที่พระองค์ห้าม นั่นคือ

การขาดซึ่งความละอายและละเว้นการขออภัยทั้งที่รู้ดีว่า

ความเมตตาของพระองค์มีมหาศาล อันเป็นการทำลายสิทธิของความหวัง

ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า ถึงแม้ความบาปของข้าฯ มั่นจะทำให้ข้าฯรู้สึกสิ้นหวังในการขอต่อพระองค์ แต่ข้าฯก็รู้ดีว่า ความเมตตาต่อพระองค์นั้นแผ่ไพศาลจนข้าฯมั่นใจว่า จะสามารถทำให้ข้าฯยำเกรงพระองค์ได้ ดังนั้นขอได้ทรงโปรดประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด และทรงบันดาลให้ความหวังของข้าฯที่มีต่อพระองค์เป็นจริงขึ้น และให้สิ่งที่ข้าฯหวาดกลัวจากพระองค์อยู่นั้นอย่าได้เป็นความจริงเลย โดยความมีจิตสำนึกของข้าฯ ที่มีความดีงามต่อพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเกรียงไกรเผื่อแผ่เหนือกว่าผู้ให้ความเผื่อแผ่ใด ๆ (6)

( 6) อัล-ญันนะตุล วากิยะฮฺ ของดามาด

ดุอฺาอ์

บทที่ 4

เป็นบทดุอฺาอ์ของท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) ที่มีใจความดังนี้

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าฯขอความคุ้มครองต่อพระองค์ กรณีที่สภาพอันเปิดเผยของข้าฯเป็นที่น่ายินดีในสายตาอันหื่นกระหาย ในขณะที่สภาพอันซ่อนเร้นของข้าฯเป็นที่ชิงชัง ณ พระองค์ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าข้าฯทำความชั่วก็ขอจากพระองค์ให้ข้าพระองค์ดีขึ้น ถ้าข้าฯกลับตัวมุ่งสู่พระองค์

ก็ขอให้พระองค์หวนกลับมาหาข้าพระองค์(7)

( 7) ตัซฺกิเราะตุล-ค่อว๊าศ หน้า 184. และศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 หน้า 33.

ดุอฺาอ์

บทที่ 5

เป็นบทดุอฺาอ์หนึ่งของท่านอิมามซัจญาด(อฺ) มีใจความดังนี้

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าฯเป็นใครกันที่พระองค์ถึงกับทรงโกรธกริ้วข้าฯ ดังนั้น ข้าฯขอวิงวอนต่อพระองค์ว่า ได้โปรดให้มวลอาณาจักรของพระองค์เป็นเครื่องประดับแก่ความดีของข้าฯ และอย่าให้มันเป็นความน่าชังจนก่อความชั่วให้แก่ข้า ฯ อย่าให้ความมั่งคั่งของข้าฯบกพร่องจากของที่อยู่ใน

คลังของพระองค์ และอย่าให้สิ่งนั้นๆ เพื่อความยากแค้นให้แก่ข้าพระองค์เลย(8)

( 8) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11 , หน้า 29

ดุอฺาอ์

บทที่ 6

ดุอฺาอ์ของอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)บทนี้ กล่าวเมื่อบรรลุถึงความดีงามทั้งมวล

ข้าแต่พระองค์ การรำลึกถึงพระองค์คือ ความประเสริฐสุดสำหรับผู้รำลึก

ข้าแต่พระองค์ การขอบคุณต่อพระองค์คือ ชัยชนะสูงสุดของผู้ขอบคุณ

ข้าแต่พระองค์ การเคารพเชื่อฟังพระองค์คือความปลอดภัยสูงสุดสำหรับผู้เคารพเชื่อฟัง

ขอได้โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด

ขอได้โปรดให้หัวใจของเรามีภาระอยู่กับการรำลึกถึงพระองคื จนหมดเวลาครุ่นคิดถึงผู้อื่น

โปรดให้ลิ้นของเรา มีภาระกับการขอบคุณพระองค์จนหมดเวลาจากการพูดกับคนอื่น

โปรดให้อวัยวะแห่งเรือนร่างของเรมีภาระกับเคารพเชื่อฟังพระองค์จนหมดเวลาในการเคารพเชื่อฟังผู้อื่น

แต่ถ้าหากทรงบันดาลให้เราหมดภาระ ก็ขอให้การหมดภาระนั้นๆ เป็นไปด้วยความปลอดภัย อย่าให้มีโทษทัณฑ์ใด ๆ รังควานเรา และอย่าให้ความเดือดร้อนใด ๆ แผ้วพานเรา

จนกระทั่งให้บัญชีที่บันทึกความชั่วคลาดแคล้วไปจากเรา จนไม่มีการกล่าวถึงความชั่วใดๆ ของเรา

และให้เราได้รับบัญชีที่บันทึกความดีงานตามที่เราพอใจ เพราะความดีงามต่าง ๆของเราได้รับการบันทึก และในเมื่อชีวิตของเราผ่านพ้นไป และอายุขัยของเราหมดสิ้นไปและเมื่อการเรียกร้องของพระองค์ที่เราหลีกเลี่ยงมิได้มาถึงยังเรา ก็ได้โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด

และขอได้โปรดให้ตอนลงท้ายแห่งบัญชีบันทึกการงานของเราถูกระบุว่า มีการให้อภัยโทษที่ถูกยอมรับ และหลังจากนี้แล้ว โปรดอย่าให้เราได้รับความบาปใดๆ ที่ร่างกายของเราก่อขึ้น และโปรดอย่าเปิดโปงความลับใดๆ ที่พระองค์ทรงปกปิดไว้ให้เป็นที่ปรากฏแก่คนทั้งหลาย ในวันที่เรื่องราว

ของบรรดาบ่าวทั้งหลายได้รับการเปิดเผย แท้จริงพระองค์คือ ผู้ทรงเมตตาอยู่เป็นนิจนิรันดร์ สำหรับผู้ที่เรียกร้องยังพระองค์ และทรงเป็นผู้ขานรับต่อคนที่อ้อนวอนต่อพระองค์(9)

( 9) “ อัศ-ศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ ” หน้า 44

ดุอฺาอ์

บทที่ 7

ดุอฺาอ์ของอิมามที่ 4 บทนี้ กล่าวเมื่อคลาดแคล้วจากสิ่งที่น่ากลัวหรือให้ได้รับสิ่งที่ต้องการโดยพลัน

ข้าแต่อัลลอฮฺ มวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ ตามคุณงามความดีแห่งพระบัญชาของพระองค์ และโดยที่ทรงบันดาลให้เภทภัยของพระองค์คลาดแคล้วไปจากข้าฯ ขอได้โปรดอย่าทำให้โชคของข้าฯ อันได้มาจากความเมตตาของพระองค์ต้องมีอันเป็นเหตุให้การผ่อนผันของพระองค์พลาดไปเสียจากข้าฯ

แล้วข้าฯต้องเป็นคนโชคร้ายเพราะสิ่งที่ข้าฯรัก ในขณะที่คนอื่นโชคดีมีสุข เพราะสิ่งที่ข้าฯรังเกียจ และถ้าหากให้ข้าฯใช้ชีวิตอยู่โดยได้รับการผ่อนผัน ท่ามกลางเภทภัยอันไม่หยุดยั้ง และท่ามกลางความหนักหน่วงอันไม่บรรเทาแล้วไซร้ ก็ขอได้นำสิ่งที่พระองค์ประวิงอยู่ มาให้ข้าฯเสียเถิดและโปรดประวิงสิ่งที่ข้าฯประสบอยู่ ออกไปจากข้าฯเสียเถิด เพราะการรับโทษในโลกอันต้องสูญเสีย ใช่ว่าจะมากมายแต่ประการใด และการรับโทษในโลกอันถาวร ใช่ว่าจะน้อยแต่ประการใด และขอได้โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด(10)

(10) “ อัศ-ศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ ” หน้า 65

ดุอฺาอ์

บทที่ 8

ดุอฺาอ์บทนี้ท่านอิมามซัจญาด(อฺ)กล่าวเมื่อยามประสบความเดือนร้อนหรือความทุกข์ทรมานต่าง ๆ

ข้าแต่พระองค์ เงื่อนงำแห่งความเดือนร้อนทั้งปวงล้วนคลี่คลายไปโดยสิทธิอำนาจของพระองค์ ความทุกข์ทรมานย่อมหมดสิ้นไปได้โดยการบันดาลของพระองค์

ข้าแต่พระองค์ อันทางออกเพื่อไปสู่หนทางรอดพ้นย่อมเป็นไปได้ด้วยการบันดาลจากพระองค์ ความยุ่งยากใดๆ ล้วนสยบต่อเดชานุภาพของพระองค์ความเดือดร้อนใดๆ ย่อมมีทางแก้ไขด้วยความอนุเคราะห์ของพระองค์ พระบัญชาทั้งปวงล้วนดำเนินไปโดยเดชาสามารถแห่งพระองค์ สรรพสิ่งทั้งปวงล้วนดำเนินไปตามเจตจำนงของพระองค์

นั่นคือ เจตจำนงของพระองค์ที่ไม่อาจมีใครตั้งข้อหาใดๆ ได้ และเป็นไปโดยเจตนาของพระองค์ที่ไม่มีใครหยุดยั้งเอาชนะได้

พระองค์คือผู้ที่ได้รับการเรียกหาจากคนมีทุกข์ พระองค์คือผู้ทรงช่วยแก้ไขให้กับคนที่ได้รับการทรมาน ไม่มีใครสกัดกั้นสิ่งใด ๆ ได้ นอกจากโดยการสกัดกั้นของพระองค์ และไม่มีใครแก้ไขอะไรได้ นอกจากการแก้ไขของพระองค์

ข้าแต่พระผู้อภิบาล บัดนี้ข้าฯต้องตกอยู่ในสภาพอันเต็มไปด้วยความทุกข์อันหนักหน่วง ข้าฯต้องทรมารกับภาระอันหนักอึ้งที่ข้าฯเผชิญอยู่ ขอให้ทรงอนุเคราะห์ให้แก่ข้าฯ โดยเดชาสามารถของพระองค์ และทรงโปรดมอบพลังให้แก่ข้าฯ ด้วยอำนาจของพระองค์ เพราะไม่มีผู้ใดที่สามารถให้ความช่วยเหลือใด ๆ ในกรณีที่พระองค์จะทรงให้ความช่วยเหลือ ไม่มีใครสามารถขจัดออกไปได้ในกรณีที่พระองค์ทรงประสงค์จะประทานให้ ไม่มีใครเปิดอะไรได้ในกรณีทีพระองค์ทรงปิดและไม่มีใครสามารถปิดได้ในกรณีที่พระองค์ทรงเป็ดและไม่มีใครให้ความสะดวกได้ในกรณีที่

พระองค์บันดาลให้เกิดอุปสรรคและไม่มีใครให้ความช่วยเหลือได้ในกรณีของบุคคลที่พระองค์ทรงบั่นทอนดังนั้นขอได้โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด

ข้าแต่พระผู้อภิบาล ขอได้ทรงเปิดประตูแห่งความแคล้วคลาดของข้าฯ ด้วยความกรุณาของพระองค์เถิด และจงทำลายอำนาจแห่งความทุกข์ให้สลายไปจากข้าฯ และโปรดมอบความปรารถนาดีตามสิ่งที่ข้าฯอุทรณ์มาให้ข้าฯด้วยเถิด และโปรดบันดาลให้ข้าฯได้สิ้มรสแห่งความหวานชื่นของ

การงานตามที่ข้าฯขอ และขอได้ประทานความเมตตาของพระองค์ให้แก่ข้าฯ รวมทั้งทางรอดพ้นอันสุขสบาย และโปรดบันดาลให้ข้าฯได้รับทางออกและการมีชีวิตชีวาจากพระองค์

และอย่าให้ข้าฯทนทุกข์อยู่จนไม่มีเวลาทำหน้าที่ตามกฎข้อบังคับของพระองค์ และปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ของพระองค์

ข้าแต่พระผู้อภิบาล บัดนี้ข้าฯได้รับความลำบากอย่างแสนสาหัส ภาระที่ข้าฯเผชิญอยู่สร้างความทุกข์ให้แก่ข้าฯอย่างเต็มเปี่ยม พระองค์เท่านั้นที่สามารถแก้ไขปัญหาที่ข้าฯกำลังประสบอยู่ได้

ขอได้โปรดดำเนินการในเรื่องนี้ให้แก่ข้าฯด้วยเถิด ถึงแม้จะไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ จากพระองค์ก็ตาม

ข้าแต่พระผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งบัลลังก์อันยิ่งใหญ่(11)

(11) “ อัศ-ศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ ” หน้า 38

ดุอฺาอ์

บทที่ 9

ท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) วิงวอนดังนี้ เมื่อยากที่ประสบความยากแค้นในการครองชีพ

ข้าแต่อัลลอฮฺ พระองค์ทรงทดสอบเราในเรื่องการครองชีพว่า จะมีความคิดที่ผิดพลาดหรือไม่ และทรงทดสอบในชีวิตแห่งโลกนี้ว่า เราจะตั้งความหวังอย่างเลื่อนลอยหรือไม่ จนกระทั่งเราแสวงหาหาเครื่องยังชีพจากทางของผู้ที่อยู่ในฐานะต้องรับเครื่องยังชีพ และเราต้องทุ่มเท

ความหวังอย่างเดียวกับคนที่ใช้ชีวิตอย่างทุ่มเท

ขอทรงโปรดประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด และทรงประทานความเชื่อมั่นอย่างจริงใจให้แก่เรา จนเรามีความสมบูรณ์พอสำหรับการตั้งความหวัง

และโปรดบันดาลให้เราเข้าใจในความเชื่อถืออันจริงใจ เพื่อเราจะได้รับการผ่อนผันให้แพ้จากความเดือนร้อน และได้โปรดบันดาลให้เป็นไปตามสัญญาของพระองค์ที่สัญญาไว้ในพระบัญชาของพระองค์ และโปรดดำเนินไปตามคำสาบานของพระองค์ที่มีอยู่ในคัมภีร์ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาความเดือนร้อนของเรา

เรื่องราวการครองชีพที่พระองค์ทรงให้การรับรองไว้และเพื่อเป็นการขจัดความยุ่งยากต่างๆ ที่พระองค์ทรงรับรองในการช่วยเหลือไว้

ข้าฯขอยืนยันว่า พระคำของพระองค์ทรงสัจจะ และขอสาบานว่า คำสาบานของพระองค์ย่อมมีอันเป็นไปอย่างถูกต้องบริบูรณ์

ดังโองการที่ว่า

“ และในฟากฟ้านั้น คือเครื่องยังชีพ(ริซกฺ)ของสูเจ้า

พร้อมกับสิ่งที่สูเจ้าได้รับการสัญญาไว้ ”

( อัซฺ-ซฺาริยาต: 22)

จากนั้นทางมีโองการอีกว่า

“ ดังนั้น ขอสาบานต่อพระผู้อภิบาลแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินว่า แน่นอนยิ่ง สิ่งนี้(สัญญาที่จะให้ปัจจัยยังชีพ)เป็นสัจธรรมอย่างหนึ่งเหมือนกับที่สูเจ้าพูดกันไว้ ”

( อัซฺ-ซฺาริยาต: 23)( 12 )

(12) อัศ-ศ่อฮีฟะตุซ-ซัจญาดียะฮฺ หน้า 103

การตอบสนองตอบต่อดุอฺาอ์คุณสมบัติพิเศษ

ของอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)

คุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งของบรรดาอิมาม(อฺ)ของเราคือ มีดุอฺาอ์ที่ได้รับการตอบสนองจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ได้มีการกล่าวถึงเรื่องนี้ของ

ท่านทั้งหลายเป็นอันมาก ในเล่มที่ผ่านมา

เราได้เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการตอบสนองต่อดุอฺาอ์ของบรรดาอิมาม

3 ท่านแรกไปแล้ว อีกทั้งได้

กล่าวถึงผลอันเกิดขึ้นจากการสนองตอบที่พระผู้เป็นเจ้ามีต่อดุอฺาอ์ของท่าน ในบทนี้เราจะกล่าวถึงบางเรื่องที่รายงานกันมา ในเรื่องการตอบสนองรับที่มีต่อดุอฺาอ์ของท่านอิมามท่านที่ 4 อฺะลี บินฮุเซน(อฺ)

บทที่ 1

ท่านมินฮาล บินอุมัรได้กล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์แล้วได้พบท่านอิมามอฺะลิ บิน ฮุเซน(อฺ) ท่านได้กล่าวว่า

“ ฮัรมะละฮฺ บินกาฮิล เป็นอย่างไรบ้าง ?”

ข้า ฯ ได้ตอบว่า “ ข้าพเจ้ายังปล่อยให้เขามีชีวิตอยู่ที่เมืองกูฟะฮฺ ”

ท่าน(อฺ)ได้ยกมือขึ้นกล่าวคำวิงวอนว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ขอให้เขาได้ลิ้มรสของเหล็กอันร้อนเถิด

ข้าแต่อัลลอฮฺ ขอให้เขาได้ลิ้มรสของไฟนรกเถิด ”

ท่านมินฮาลได้เล่าว่า : คนกลุ่มหนึ่งเข้าพบท่านมุคตาร(ร.ฏ.) ซึ่งเข้ามาพบอย่างนอบน้อมพลางกล่าวว่า

“ ขอแสดงความยินดีกับท่านประมุข ”

ขณะนั้นเขาได้จับตัวของฮัรมะละฮฺมาได้ แล้วท่านมุคตารสั่งให้ตัดมือตัดเท่าทั้งสองข้างของเขา และจับเขาโยนลงไปเผาในกองไฟ(1)

(1) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 , หน้า 238.กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า 209

บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม 11 , หน้า 16

บทที่ 2

ปรากฏว่าท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ) ได้วิงวอนขอทุกวันว่า

ให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)บันดาลให้ท่านได้เห็นคนที่สังหารบิดาของท่าน(อฺ)ถูกฆ่าด้วย

ครั้นเมื่อท่านมุคตาร(ร.ฏ.)ได้สังหารคนที่ฆ่าท่านอิมามฮุเซน(อฺ)แล้วเขาก็จัดส่งศีรษะของอุบัยดิลลาฮฺ บินซิยาด กับศีรษะของอัมรฺ บินอัลอาศไปกับทูตของตน เพื่อไปมอบให้แก่ท่านอิมาม

ซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ) เขาได้พูดกับผู้เป็นทูตของเขาว่า

“ แท้จริง เขา(อฺ)นมาซในยามกลางคืน ครั้นพอรุ่งเช้า เขา(อฺ)ก็จะนมาซในยามเช้า ต่อจากนั้น จะถึงเวลาที่เขา(อฺ)รับประทานอาหาร ฉะนั้นเมื่อเจ้าไปถึงประตูบ้านเขา(อฺ)แล้ว ก็จงขออาหารจากเขา(อฺ) เมื่อมีการบอกกับเจ้าว่า อาหารพร้อมแล้ว เจ้าก็จงอนุญาต แล้ววางศีรษะทั้งสองนี้ที่สำรับอาหารของเขา(อฺ)แล้วจงกล่าวว่า :

“ มุคตารฝากสลามมาถึงท่าน ”

แล้วกล่สวกับเขา(อฺ)ว่า

“ ข้าแต่ผู้เป็นบุตรของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) บัดนี้

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ให้การตอบรับต่อการวิงวอนขอของท่านแล้ว ”

ผู้เป็นทูตได้ทำตามในเรื่องนี้ทุกประการ เมื่อท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดีน(อฺ)ได้แลเห็นศีรษะทั้งสองบนสำรับอาหารแล้ว ท่าน(อฺ)ทรุดการลงกราบ(ซุญูด)พระผู้เป็นเจ้า แล้วกล่าวว่า

“ ข้าฯขอสรรเสริญอัลลอฮฺ ที่ทรงให้การสนองตอบต่อคำวิงวอนของ

ข้าฯ และทำให้ข้าฯสามารถแก้แค้นคนที่ฆ่าบิดาของข้าฯได้สำเร็จ ”

แล้วท่าน(อฺ)ได้ยกมือขออฺาอ์ให้มุคตาร(ร.ฏ.)ได้รับการตอบแทนใน

คุณงามความดีของเขา(2)

(2) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 , หน้า 247

บทที่ 3

เมื่อครั้งที่ท่านอิมามซัยนุลอฺาบิดี(อฺ)ทราบข่าวว่า มุซัรริฟ บิน อุกบะฮฺ มุ่งหน้ามาที่นครมะดีนะฮฺเพื่อทำร้ายท่าน อิมาม(อฺ)ได้อ่านดุอฺาอ์ว่า

ข้าแต่พระผู้อภิบาลของข้าฯ ความโปรดปรานที่พระองค์ทรงประทานแก่ข้าฯ นั้นมีมากมาย

แต่การขอบพระคุณของข้าฯที่มีต่อพระองค์นั้นน้อยมาก การทดสอบของพระองค์ทีทรงทดสอบข้าฯนั้นมีมากมาย แต่ความอดทนของข้าฯที่มีต่อสิ่งนั้นมีน้อยมาก

ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงได้รับการขอบพระคุณจากข้าฯเพียงเล็กน้อยสำหรับความโปรดปรายอันมากมายมหาศาลของพระองค์

แต่พระองค์ก็ไม่ทรงหวงห้ามจากข้าฯ

ข้าแต่พระองค์ ผู้ซึ่งประจักษ์ถึงความอดทนของข้าฯว่า มีเพียงน้อยนิดต่อการทดสอบของพระองค์ แต่ถึงกระนั้น พระองค์ก็มิได้ทรงบั่นทอน

ข้าแต่ผู้ทรงไว้ซึ่งความดีงามที่ไม่เคยขาดหายอย่างเด็ดขาด

ข้าแต่พระผู้ทรงเผื่อแผ่ความดีงามที่ไม่อาจคำนวณนับได้

ขอทรงประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด ได้โปรดสะกัดกั้นความชั่วร้ายของเขาให้พ้นไปจากข้าฯ ขอให้พระองค์ทรงรับรองแทนข้าฯ และขอให้ทรงคุ้มครองข้าฯให้พ้นจากความชั่วของเขาด้วยเถิด

ครั้นเมื่อมุซัรริฟได้เดินทางมาถึงนครมะดีนะฮฺแล้ว เขาได้กล่าวว่าเขาไม่ต้องการทำอะไรกับท่านอฺะลี บินฮุเซน(อฺ) ฉะนั้นเขาจึงได้เข้าไปพบแล้วคารวะท่าน(อฺ) ยกย่องให้เกียรติ และแสดงความรักอย่างไมตรีจิต(3)

(3) อัล-อิรชาด หน้า 277

บทที่ 4

ท่านญาบิร บินยะซีดได้รับคำบอกเล่าจากท่านอิมามมุฮัมมัดบาเก็ร(อฺ)ว่า :

ครั้งหนึ่งท่านอิมามอฺะลี บินฮุเซน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“ ความตายอย่างกระทันหัน เป็นเรื่องที่มีการผ่อนปรนแก่บรรดาผู้ศรัทธา และเป็นเรื่องที่น่าเสียใจสำหรับพวกมิจฉาทิฎฐิ เพราะผู้ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้านั้น เขาจะได้รู้จักคนที่อาบน้ำศพเขาและหามเขา ถ้าหากเขามีความดีรออยู่ ณ พระผู้อภิบาล เขาก็จะเร่งให้ผู้ที่หามศพของเขาไปเร็ว ๆ ( เพื่อไปพบกับมรรคผล) แต่ถ้าเขามิได้เป็นคนเช่นนี้ เขาก็จะเรียกร้องผู้ที่หามศพของเขาให้ทำอย่างช้าๆ (เพราะไม่ต้องการไปพบกับการลงทัณฑ์) ”