ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี 0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: อิมามอลี
หน้าต่างๆ: 166

ชีวประวัติอิมามอะลี

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 166
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 32818
ดาวน์โหลด: 4377

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามอะลี
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 166 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 32818 / ดาวน์โหลด: 4377
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

มิฉะนั้นความชั่วของพวกเจ้าจะครอบงำพวกเจ้า เมื่อนั้น ถ้าพวกเจ้าวิงวอนขอพระองค์ก็จะไม่ทรงตอบรับพวกเจ้า”

ต่อจากนั้น ท่านได้กล่าวอีกว่า

“โอ้บุตรหลานของอับดุลมุฏฏอลิบเอ๋ย ฉันจะไม่สั่งเสียพวกเจ้าว่าให้หลั่งเลือดของพี่น้องมุสลิม โดยพวกท่านจะกล่าวว่า อะมีรุลมุมีนีนถูกสังหารแล้ว แน่นอน ไม่มีใครสังหารฉัน นอกจาก ฆาตกรที่ฆ่าฉันคนเดียวเท่านั้น”

“พวกเจ้าจงรู้ไว้เถิดว่า ถ้าหาก ฉันตายลงกับการฟันครั้งเดียวของเขาในครั้งนี้ พวกเจ้าก็จงฟันเขากลับไปหนึ่งครั้งเช่นเดียวกัน และจงอย่าให้ชายคนใดฟันซ้ำ เพราะฉันเคยได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ได้กล่าวว่า

 “การซ้ำเติมเป็นของต้องห้ามแม้กับสุนัขที่ตะกละก็ตาม”

3. ในบันทึกของท่าน อะมีรุลมุมีนีน(อ)ที่ส่งไปยัง ฮาริษ อัล-ฮัมมะดานี นั้น มีใจความว่า

“และจงยึดสายเชือกแห่งอัล-กุรอาน และจงนำกุรอานไว้เพื่อสั่งสอนและจงนำหลักการที่กุรอานได้อนุมัติให้ใช้ได้นำมาใช้และจงนำข้อห้ามจาก อัล-กุรอานมาเป็นข้อห้ามจงเชื่อในสิ่งที่มาจากความจริง จงเปรียบเทียบจากสิ่งที่ผ่านมาจากโลกนี้ กับสิ่งที่ยังคงเหลืออยู่ ถึงแม้มันจะเป็นของที่คล้ายคลึงกัน แต่ของที่มาที่หลังย่อมตามทันของที่มาในตอนแรกของมันได้เสมอ

ของๆ มันทุกอย่างล้วนสลายและแยกจากกัน และจงให้เกียรติกับพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.) อย่ากล่าวถึงพระองค์นอกจากสิ่งที่เป็นสัจจะ

 จงคิดถึงความตายให้มาก และจงคิดถึงเรื่องราวหลังจากความตายให้มาก และจงอย่าตั้งใจกับความตายอย่างเด็ดขาดจนกว่าจะอยู่กับเงื่อนไขที่มั่นคงแล้ว

๑๐๑

 จงระมัดระวังกับการงานทุกอย่างที่เจ้าของงานนั้นๆ พึงพอใจในงานดังกล่าวเพื่อตนเองและเป็นที่รังเกียจสำหรับมุสลิมทั่วไป จงระมัดระวังการงานที่กระทำลงไปในที่ลับทุกประเภท และที่น่าละอายแก่ใจที่จะกระทำ

นั้นๆ ในที่ที่เปิดเผยและจงระมัดระวังงานทุกประเภท ที่ถ้าหากเจ้าของงาน

นั้นๆ ถูกถามถึงแล้ว เขาแสดงความรังเกียจหรือมีอาการแก้ตัว จงอย่าทำตัวของเจ้าให้ตกเป็นเป้าเนื่องจากพูดมาก และจงอย่าพูดกับประชาชนทุกเรื่องที่เจ้าเคยได้ยินได้ฟังมา เพราะในเรื่องเช่นนี้มีความเท็จจริงมากมาย

 จงหนักแน่นด้วยความอดกลั้น จงหลีกเลี่ยงจากการใช้อำนาจ จงมีความละมุนละม่อมในยามโกรธ จงผ่อนปรนกับฝ่ายบริหาร(ในยามที่อำนาจการปกครองอยุ่ในมือของเจ้า) จงเป็นผู้ลงโทษตัวเอง และจงปรับปรุงความโปรดปรานทุกอย่างที่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ทรงประทานให้แก่เจ้าให้ดีๆ และจงอย่าทำให้ความโปรดปรานของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ที่ทรงประทานมายังเจ้าต้องสูญเสียไป และจงทำให้เป็นที่ประจักษ์แก่ตัวเองของเจ้าว่า มีความเป็นไปตามกรณีที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้ทรงโปรดปรานสิ่งนั้น ๆ ให้แก่เจ้า”

“จงรู้ไว้เถิดว่า ผู้ศรัทธาที่มีคุณงามความดีมากที่สุด ต้องเสียสละทุ่มเทชีวิต พวกพ้องและทรัพย์สินของตน เพราะไม่ว่าเจ้าจะเสียสละสิ่งของอันใดที่ดีๆ มันจะยังคงอยู่เป็นถาวรสำหรับเจ้าเสมอ อะไรก็ตามที่เจ้าชักช้าแชเชือน มันจะเป็นความดีงามสำหรับคนอื่นไปเสียเสมอ จงระมัดระวังในการเป็นเพื่อนกับคนที่มีความคิดเห็นอ่อนแอ และมีงานที่น่ารังเกียจ เพราะว่าเพื่อนย่อมเป็นตัวอย่างของเพื่อน จงอาศัยอยู่ในแหล่งอาศัยที่มีคนหมู่มาก เพราะที่นั่นเป็นศูนย์รวมของบรรดามุสลิม จงระมัดระวังสภาพหลงลืม แข็งข้อ และตระหนี่ในการส่งเสริมต่อการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮ์(ซ.บ.)

๑๐๒

จงให้ความเห็นสั้นๆ กับเรื่องใดก็ตามที่เป็นประโยชน์แก่เจ้า จงระมัดระวังในเรื่องการนั่งตามตลาดร้านค้า เพราะมันเป็นแหล่งมั่วสุมของมารชัยฏอน และเป็นที่แสดงออกของความเลวร้าย จงมองคนที่เจ้ามีความเป็นเลิศมากกว่าเขาไว้ให้มาก เพราะว่านี่คือประตูบานหนึ่งของความสำนึกรู้ในพระคุณกรุณา จงอย่าเดินทางในวันศุกร์จนกว่าจะได้นมาซเสียก่อน

 ยกเว้นในกรณีที่เป็นงานเสียสละเพื่อวิถีทางของอัลลอฮ์(ซ.บ.)หรือเป็นเพราะอยู่ในภารกิจที่เดือดร้อน จงปฏิบัติตามอัลลอฮ์(ซ.บ.)ในการทำงานทุกกรณีของเจ้า เพราะการปฏิบัติตามอัลลอฮ์(ซ.บ.)คือความประเสริฐเลอเลิศยิ่งกว่าสิ่งใด จงปลอบประโลมตัวของเจ้าให้ตกอยู่ในการเคารพภักดี

และจงเป็นเพื่อนกับมัน และจงอย่าใช้อำนาจข่มมัน จงฉวยเอาโอกาสและความสามารถของมันเพื่อกิจการอันนอกเหนือไปจากนมาซที่ถูกบังคับ คือจำเป็นต้องชดใช้ชำระคืนตามข้อผูกพัน (นมาซกอฎอ)ไปตามวาระของมัน จงระวังตนจากการเป็นมิตรกับคนฝ่าฝืน เพราะความชั่วย่อมถูกติดตามมาด้วยความชั่ว

จงสำรวมตนต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) จงรักบุคคลอันเป็นที่รักของพระองค์ จงระวังความโกรธเพราะมันคือพลพรรคที่ยิ่งใหญ่ของอิบลีส วัสลาม”

๑๐๓

สุภาษิตอันลือชื่อของท่านอิมามอะลี(อ)

ถ้อยคำต่างๆ ของท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ)นั้นไม่อาจสรุปลงด้วยบทสั้นๆ ได้ ในหนังสือ“นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์” ได้รวบรวมสุภาษิตอันลือชื่อของท่านไว้ถึงห้าร้อยบท

สำนักพิมพ์อัลฮะดีษแห่งเลบานอน อามีน อัร รัยฮานี ได้พิมพ์สุภาษิตของท่านถึง 100 บท ลงในหนังสือเล่มหนึ่งต่างหากและอีกเล่มหนึ่ง พิมพ์มากถึง 1, 000 บท นอกเหนือจากนี้สำนักพิมพ์อื่นๆ ก็ดำเนินการจัดพิมพ์สุภาษิตของท่านนับเป็นจำนวนพันๆ บทอีกเช่นกัน

ต่อไปนี้เป็นสำนวนสุภาษิตสั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องจริยธรรม ความรู้เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า มารยาท และความรู้ทั่วไปที่ไม่เป็นประโยคยาวๆ เหมือนแห่งอื่น ในเรื่องราวเหล่านี้นับว่าเป็นสิ่งที่อำนวยประโยชน์ให้แก่สภาพสังคมของเราอย่างมากมายเลยทีเดียว ในที่นี้เราจะเสนอสุภาษิตของท่านอิมามอะลี(อ)ได้กล่าวไว้จำนวน 25 บท

1. เมื่อท่านมีอำนาจเหนือฝ่ายศัตรูของท่านก็จงถือหลักการผ่อนปรนแก่เขาอย่างดีที่สุดแทนการใช้อำนาจ

2. ผู้ใดทำงานช้า ผลลัพธ์ของงานก็จะเสร็จเร็วไม่ได้

3. การชำระบาปใหญ่อยู่ที่การช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ และการผ่อนปรนแก่คนที่กำลังลำบาก

๑๐๔

4. บุตรของอาดัมเอ๋ย ถ้าเจ้าเห็นว่าพระผู้อภิบาลของเจ้ามอบความโปรดปรานมาแก่เจ้าในขณะที่เจ้ากำลังทรยศพระองค์อยู่นั้นก็จงได้ระมัดระวังเถิด

5. เมื่อเจ้าอยู่ด้านหลังสุด ส่วนความตายนั้นอยู่ข้างหน้าสุด นั่นแหละ คือที่ต้องพบกันอย่างรวดเร็ว

6. ลิ้นคือสิงโตดุ หากเว้นว่างจากมัน มันก็จะเป็นอูฐเชื่อง

7. ฉันแปลกใจจริง ๆ กับคนที่ทำบาปในขณะเดียวกับที่ขออภัยโทษ

8. คนที่ปรับปรุงแก้ไขเรื่องที่อยู่ระหว่างตนกับอัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้ อัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็จะแก้ไขเรื่องระหว่างเขากับมนุษย์ได้และคนที่แก้ไขเรื่องระหว่างตนกับปรโลกได้ อัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็จะแก้ไขเรื่องระหว่างเขากับโลกนี้ได้ คนใดที่เป็นผู้ขัดเกลาตนเอง อัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็จะเป็นผู้พิทักษ์รักษาเขา

9. ความยิ่งใหญ่ของผู้สร้างอยู่ใกล้กับตัวเจ้า และสิ่งที่เล็กที่สุดจากสิ่งที่ถูกสร้างนั้น อยู่ในดวงตาของเจ้าเอง

10. วาระที่ผู้ถูกอธรรมกระทำต่อผู้อธรรม ย่อมร้ายแรงกว่าวาระที่ผู้อธรรมกระทำต่อผู้ถูกอธรรม

11. จะไม่ถือว่าเป็นการเชื่อฟังของมนุษย์ในขณะเมื่อเขาฝ่าฝืนต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)

๑๐๕

12. สิ่งใดก็ตามอันเป็นเรื่องของศาสนา ถ้าประชาชนละทิ้งเพียงเพื่อความสะดวกสบายในทางโลก อัลลอฮ์(ซ.บ.) จะทรงบันดาลภัยพิบัติที่ร้ายแรงกว่านั้นให้เกิดขึ้นแก่พวกเขา

13. ผู้ใดที่ทำให้ตัวเองตกอยู่ในข้อกล่าวหา ก็จงอย่าประณามคนที่มองตนในแง่ร้ายอย่างเด็ดขาด

14. ผู้กัดฟันเพราะความโกรธเพื่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)จะเป็นคนที่เข้มแข็งที่สุดในการต่อสู้กับความผิดพลาด

15. เสบียงที่เลวร้ายที่สุดในการคืนกลับสู่ปรโลก คือการเป็นศัตรูกับบ่าวของอัลลอฮ์(ซ.บ.)

16. จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)บ้างเถิด แม้แต่เพียงนิดหน่อย และจงทำให้มีสิ่งปิดป้องกำบังระหว่างเจ้ากับอัลลอฮ์(ซ.บ.) แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เบาบาง

17. ในความโปรดปรานทุกอย่างล้วนมีสิทธิอยู่ ณ อัลลอฮ์(ซ.บ.) ผู้ใดกระทำหน้าที่ตามสิทธินั้นๆ เขาก็จะได้รับมัน ผู้ใดริดรอนสิทธินั้นๆ ก็จะเป็นอันตราย เพราะพลาดโอกาสจากความโปรดปรานนั้นๆ

18. งานที่ดีที่สุดมักจะเป็นงานที่เจ้าต้องฝืนใจของเจ้ากระทำเสมอ

19. ความขมขื่นที่มีในโลกนี้ คือความหวานชื่นในโลกหน้า และความหวานชื่นในโลกนี้คือความขมขื่นในโลกหน้า

๑๐๖

20. บุตรของอาดัมเอ๋ย จงเป็นทายาทของตนเองกับทรัพย์สินของตนเอง และจงทำงานไปกับทรัพย์สินนั้นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์อันควรแก่การที่คนที่มาทีหลังเจ้าจะสามารถทำงานไปกับมันได้

21. ถ้าท่านยากจน ก็จงทำการค้ากับอัลลอฮ์(ซ.บ.)ด้วยการบริจาค

22. คนที่หวงแหนคนรักของตน จะไม่ล่วงประเวณีเป็นอันขาด

23. พวกเจ้าจงยำเกรงกับการประพฤติที่เป็นการทรยศต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)ในยามที่อยู่ตามลำพัง เพราะผู้ทรงมองเห็นคือผู้ตัดสิน

24. บาปที่รุนแรงที่สุด ได้แก่การกระทำที่เจ้าตัวดูแคลนว่าเป็นเรื่องเล็ก

25. การให้อภัยคืออาภรณ์ประจำตัวของคนจน การขอบคุณคืออาภรณ์ติดตัวของคนรวย(1)

----------------------------------------------------------

(1)สุภาษิตสั้นๆ เหล่านี้ ล้วนนำมาจากหนังสือ นะฮญุลบะลาเฆาะฮ์

๑๐๗

ตอบคำถามของอิมามอะลี(อ)

ลึกซึ้งและสะสวย

บ่อยครั้งเหลือเกินที่มีการถามแบบรุกไล่ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ด้วยคำถามที่ยาก แต่ท่านก็สามารถตอบได้อย่างทันท่วงทีและสละสะสวย มีความลึกซึ้งอยู่ในคำตอบอย่างน่าสังเกตุ บางครั้งท่านต้องตอบคำถามของนักปราชญ์

คริสเตียนและพวกยิว ปรากฏว่าคนเหล่านั้นต่างมีความฉงนใจในคำตอบยิ่งนัก เมื่อมาถามท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)

ดังตัวอย่างการตอบคำถามของท่านต่อไปนี้

ถาม-ตอบ

เรื่องที่ 1

มีชาวอาหรับชนบทคนหนึ่งเข้าพบท่านอะมีรุลมุมินีน(อ) แล้วกล่าวว่า “ฉันเห็นสุนัขตัวหนึ่งร่วมเพศกับแพะตัวหนึ่ง แล้วมันก็มีลูกออกมา บทบัญญัติในเรื่องนี้จะว่าอย่างไร?”

ท่านอิมามอะลี(อ)ตอบว่า “จงพิจารณาดูในเวลากิน หากมันกินเนื้อ มันก็คือสุนัข แต่ถ้ามันกินหญ้า มันก็คือแพะ”

ชาวอาหรับชนบท “ฉันเห็นมันในบางครั้งก็กินหญ้า และในบางครั้งก็กินเนื้อ”

อิมาม(อ) “จงดูในการดื่ม หากมันดื่มอย่างแพะ มันคือแพะ แต่หากมันตวัดลิ้นดื่มอย่างสุนัขมันก็คือสุนัข”

๑๐๘

ชาวอาหรับชนบท “ฉันเห็นมันดื่มอย่างนั้นบ้าง และดื่มอย่างนี้บ้าง”

อิมาม(อ) “ก็จงดูมันในเวลาเดินกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ถ้าสัตว์นั้นๆ เดินช้ากว่ามันๆ คือสุนัขแต่ถ้าสัตว์เลี้ยงนั้นๆ เดินเร็วกว่าหรือพอๆ กัน มันคือแพะ”

ชาวอาหรับชนบท “ฉันเห็นมันทั้งสองพอๆ กัน”

อิมาม(อ) “จงพิจารณาดูในเวลานั่ง หากมันคุกเข่าหมอบ มันคือแพะ แต่หากมันใช้เท่ายันมันคือสุนัข”

ชาวอาหรับชนบท “ฉันเห็นมันทั้งสองอย่าง”

อิมาม(อ) “จงเชือดมันดู หากมันมีกระเพาะมันคือแพะ แต่ถ้ามันมีลำไส้ใหญ่เท่านั้น มันคือสุนัข”

คนอาหรับชนบทผู้นั้นก็ยอมรับฟังเนื่องจากความละเอียดพิสดารที่ท่านอิมามอะลี(อ)ให้คำตอบนั่นเอง(1)

-------------------------------------------------

(1) เกาะฎอ อะมีริลมุมีนีน ของชัยค์ฮูเซน ซะฟาอี

ถาม-ตอบ

เรื่องที่ 2

มีชายคนหนึ่งถูกนำตัวมาหาท่านอุมัร บินค็อฎฎอบ เพราะเขาเที่ยวออกประกาศกับคนทั้งหลายที่ถามถึงความเป็นอยู่ของเขาว่า “ท่านเป็นอย่างไรบ้าง?”

แล้วเขาตอบว่า “ฉันก็มีความเป็นอยู่ที่ดี เพราะว่าฉันได้กลายเป็นผู้ที่ชอบของฟิตนะฮ์ (ไม่ดีหรือทดสอบจากอัลลอฮ์) ฉันกลายเป็นผู้รังเกียจความจริง ฉันเชื่อถือพวกยิวและพวกนะศอรอ (คริสเตียน) ฉันศรัทธาในสิ่งที่ฉันมองไม่เห็น ฉันจะยึดมั่นในสิ่งที่ยังไม่ถูกสร้างมา”

๑๐๙

ดังนั้น ท่านอุมัรจึงส่งชายคนนี้ไปหาท่านอิมามอะลี(อ) เมื่อมาถึงท่านอุมัรก็ได้เล่าเรื่องราวจากคำพูดของชายคนนั้น

ท่านอะลี(อ)ได้กล่าวว่า “ชายคนนั้นพูดถูก ที่เขารักของฟิตนะฮ์ ก็เพราะอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กล่าวว่า อันที่จริงทรัพย์สินและลูกๆ ของสูเจ้าเป็นของทดสอบ และที่เขารังเกียจความจริงนั่น ก็หมายความว่า ความตายตามที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) บอกว่า “ความตายจะมาในฐานะเป็นความจริง” ที่เขาเชื่อพวกยิวกับพวกนะศอรอนั้น ก็เพราะอัลลอฮ์ทรงมีโองการว่า “พวกยิวกล่าวว่า พวกนะศอรอนั้นมิได้ตั้งอยู่กับสิ่งอันใดเลย” และพวกนะศอรอก็กล่าวว่า พวกยิวก็มิได้ตั้งอยู่กับอะไรเลย ที่ว่าเขาศรัทธาในสิ่งที่เขามองไม่เห็นก็หมายความว่า เขาศรัทธาในอัลลอฮ์(ซ.บ.)นั่นเอง ที่ว่าเขายึดมั่นในสิ่งที่ยังไม่ถูกสร้างก็หมายความว่า เขายึดมั่นในยามอวสาน”

ท่านอุมัรกล่าวว่า “ข้าขอความคุ้มครองจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้พ้นจากความหลงผิดในยามที่ไม่มีอะลี (อ) อยู่ด้วย” (2)

------------------------------------------------------------------------------------

(2)นูรุล อัลศ็อร ของชิบลันญี หน้า 79

๑๑๐

ถาม-ตอบ

เรื่องที่ 3

ท่านกะอับ อัลอะห์บารี ได้ถามท่านว่า “โอ้ บิดาของฮะซัน (อิมามอะลี (อ)) จงบอกข้าพเจ้าซิว่า ใครคือคนที่ไม่มีพ่อ ใครคือคนที่ไม่มีญาติ ใครคือคนที่ไม่มีทิศทางสำหรับตน?”

ท่านอิมามอะลี(อ)กล่าวว่า “คนที่ไม่มีพ่อ ได้แก่ อีซา (อ) คนที่ไม่มีญาติได้แก่ อาดัม (อ) คนทีไม่มีทิศทางสำหรับตนได้แก่ อาคารแห่งอัลลอฮ์ (ซ.บ.)(บัยตุลฮะรอม)”

เขาพูดอีกว่า “จงบอกข้าพเจ้าว่า ในของสามอย่างที่ไม่ปฏิสนธิในครรภ์และมิได้ออกมาจากเรือนร่าง?”

อิมาม(อ)ตอบว่า “ไม้เท้าของมูซา (อ) อูฐของชาวษะมูด และแกะของอิบรอฮีม (อ) จงถามมาเถิดกะอับ”

เขากล่าวอีกว่า “โอ้ บิดาของฮะซัน ยังมีอยู่อย่างหนึ่ง ถ้าหากท่านตอบได้ แสดงว่าท่านเป็นเลิศอย่างแน่แท้”

อิมาม(อ)พูดว่า “ถามมาเถิด กะอับ”

เขาถามว่า “สุสานที่เคลื่อนที่ไปกับเจ้าของคืออะไร?”

อิมาม(อ)ตอบว่า “นั่นคือ ท่านยูนุส (อ) บุตรของมะตา ในขณะที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ขังเขาไว้ในท้องปลาตัวใหญ่” (3)

------------------------------------------------

(3) เล่มเดิม

๑๑๑

ถาม-ตอบ

เรื่องที่ 4

ชาวยิวคนหนึ่งได้ถามท่านอิมามอะลี(อ)ว่า “จงบอกข้าพเจ้า มาซิว่า อะไรที่มิได้เป็นของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และอะไรที่มิได้มาจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และอะไรที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ไม่ทรงรู้?”

อิมาม(อ)กล่าวว่า “สำหรับสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ไม่ทรงรู้นั้น ก็คือสิ่งที่พวกยิวในหมู่ชนของท่านพูดกันเองว่า แท้จริงอุซัยร์เป็นบุตรของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ไม่ทรงรู้เรื่องการมีบุตรของพระองค์ สำหรับสิ่งที่ท่านพูดว่ามิได้เป็นของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั้น ก็คืออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงไม่มี

สิ่งตั้งภาคีเสมอพระองค์ ที่ว่ามิได้มาจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)นั้น ได้แก่ความอธรรมต่อปวงบ่าวนั้นมิได้มาจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)”

ยิวคนนั้นถึงกับกล่าวว่า “ข้าฯขอปฏิญานตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และแท้จริงมุฮัมมัด (ศ) เป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ.บ.)” (4)

----------------------------------------------------

(4) อัต-เตาฮีด หน้า 377

๑๑๒

ถาม-ตอบ

เรื่องที่ 5

หัวหน้าของพวกยิวคนหนึ่งกล่าวว่า “บรรดามุสลิมแอบอ้างว่า อะลี (อ) เป็นคนที่ถกเถียงปัญหา และมีความรู้มากกว่าคนทั้งหมด ท่านทั้งหลายจงพาข้าไปหาอะลี (อ) ซิเพื่อข้าฯจะได้ถามเขาในคำถามที่เขาต้องตอบผิดแน่ ๆ”

แล้วพวกเขาก็เข้ามาหาท่านอิมามอะลี(อ)

ชายคนนั้นกล่าวว่า “โอ้ อะมีรุลมิมินีน ข้าฯต้องการจะถามปัญหาท่านสักข้อ”

อิมาม(อ)กล่าวว่า “จงถามข้าฯได้ตามที่ท่านต้องการ”

เขาถามว่า “โอ้ อะมีรุลมุมินีน พระผู้อภิบาลของเรามีมาตั้งแต่เมื่อไหร่?”

อิมาม(อ)ตอบว่า “โอ้ ชาวยิวเอ๋ยคำว่า มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่นั้น เขาใช้สำหรับผู้ที่เคยไม่มีมาก่อนแล้วมีขึ้นมา ในเมื่อพระองค์คือผู้ทรงมี ที่ไม่ใช่มีขึ้นมาอย่างการก่อตัว ทรงมีอยู่โดยที่ไม่มีวิธีการในการมี

ชาวยิวเอ๋ย คำว่าทรงมีมาก่อนจะใช้กับพระองค์ได้อย่างไร ในเมื่อทรงมีมาก่อน ก่อนการมีอย่างชนิดอย่างชนิดที่ไม่มีจุดคาดหมายและไม่มีที่สิ้นสุด เป็นจุดแห่งความคาดหมายที่ตัดขาด

จากจุดแห่งความคาดหมายใด ๆ ทั้งปวง เพราะพระองค์คือ จุดแห่งความคาดหมายของจุดแห่งความคาดหมายทั้งหลาย”

ชาวยิวผู้นั้นกล่าวว่า “ข้าฯขอปฏิญานว่า ศาสนาของท่านเป็นสัจธรรมและแนวทางอื่นที่ขัดแย้งกับสิ่งนี้ ย่อมเป็นโมฆะทั้งสิ้น” (5)

-----------------------------------------------------------------------------

(5) อัตเตาฮีด หน้า 176

๑๑๓

ถาม-ตอบ

เรื่องที่ 6

รายงานจากท่านซัลมาน อัลฟาริซี (ขออัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงประทานความเมตตาแก่ท่าน) ได้เล่าประวัติที่ยืดยาวเรื่องหนึ่งในตอนที่ท่านญาษิลีกได้เดินทางเข้ามายังเมืองมะดีนะฮ์พร้อมกับพวกคริสเตียนอีกจำนวนนับร้อยคน หลังจากการวายชนม์ของท่านนบี(ศ) เขาได้ถามท่านอะบูบักรเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ แต่ท่านอะบูบักรก็มิได้ตอบเขาแต่อย่างใด จากนั้นเขาก็ถูกแนะนำให้ไปหาท่านอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ)แล้วเขาก็ถามท่านอิมาม(อ) ก็ตอบส่วนหนึ่งของเรื่องที่ถามกันก็คือ

เขาถามว่า “จงบอกข้ามาซิว่า พระพักตร์ของพระผู้อภิบาลผู้ทรงสูงสุดเป็นอย่างไร?”

ท่านอิมาม(อ)ก็ได้จัดการหาไฟและฟืนมาจุด ครั้นพอมันลุกโชติช่วงแล้ว อิมาม(อ)ก็กล่าวว่า “ใบหน้าของไฟกองนี้อยู่ที่ไหน?”

เขาตอบว่า “ใบหน้าของมันมีอยู่ทุกทิศ”

อิมาม(อ)กล่าวว่า “นี่เพียงแค่ไฟที่ถูกจุด ถูกจัดแต่งสร้างสรรค์ขึ้นมาก็ไม่มีใครสามารถจะรู้จักใบหน้าของมันได้ แล้วเทียบกันได้อย่างไรกับผู้ทรงสร้างมันขึ้นมาที่ไม่มีส่วนคล้ายคลึงกับมันเลย แต่ทั้งทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ล้วนเป็นของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ดังนั้นไม่ว่าพวกท่านจะหันหน้าไปทางไหนก็เท่ากับพบพระพักตร์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ไม่มีสิ่งซ่อนเร้นใด ๆ ซ่อนเร้นจากพระผู้อภิบาลของเราได้” (6)

--------------------------------------------------------------------------

 (6) อัตเตาฮีด หน้า 182(5) อัตเตาฮีด หน้า 176

๑๑๔

วินิจฉัยอันชาญฉลาดของท่านอะมีรุลมุมีนีน(อ)

บ่อยครั้งที่ปัญหาอันยุ่งยาก และลำบากในการพิจารณาตัดสินได้ถูกนำมาเสนอแก่ท่านอิมามอะลี(อ) ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาที่ต้องใช้กำลังทางด้านความคิดอย่างสูง ที่ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ถูกนำขึ้นมาเสนอแก่ท่านก็เป็นเพราะว่าท่านคือ ผู้ตัดสินปัญหาที่ชาญฉลาด และสามารถบอกเล่ารายละเอียดต่าง ๆ ได้ดีที่สุด นี่มิได้เป็นเรื่องที่เกินเลยจากความจริงแต่ประการใด ในเมื่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ได้เคยกล่าวถึงท่านไว้ว่า

“ท่านทั้งหลายจงให้อะลี(อ) เป็นผู้ตัดสินปัญหา”

ท่านอิบนุซะอ์ด และนักปราชญ์อีกหลายท่านได้รับรายงาน มาจากท่านอะลี(อ)ว่า

“เมื่อครั้งที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ได้ส่งฉันไปปกครองเมืองยะมันนั้น ฉันได้กล่าวว่า

“โอ้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) ท่านได้ส่งฉันไปปกครองเมือง

ยะมันทั้ง ๆ ที่ฉันยังเป็นคนหนุ่ม ฉันจะไปพิจารณาตัดสินปัญหาในระหว่างพวกเขาได้อย่างไร ในเมื่อฉันยังไม่มีความรู้ในเรื่องการตัดสินปัญหา”

ท่านได้ตบมาที่หน้าอกของฉันด้วยมือของท่าน แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ขอได้โปรดชี้นำหัวใจของเขาและจงทำให้วาจาของเขามั่นคง ขอสาบานต่อพระผู้ซึ่งทรงผลิเมล็ดพืช ฉันไม่เคยสงสัยแต่ประการใดกับการตัดสินปัญหาใด ๆ ของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย”(1)

-------------------------------------------------------------------------------------------

(1) อัฏเฏาะบะกอด อัลกุบรอ เล่ม 2 หน้า 100

๑๑๕

เรามีหนังสือหลายเล่มที่บันทึกเกี่ยวกับเรื่องการตัดสินปัญหาของ

ท่านอะลี(อ) แต่เราจะนำมันมาเสนอเพียงบางส่วน

(1)

ท่านชะรีฮ์ ได้กล่าวว่า “ฉันดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษา ในสมัยของท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ

วันหนึ่งมีชายคนหนึ่งมาหาฉันแล้วกล่าวว่า

“โอ้ อะบูอุมัยยะฮ์ มีชายคนหนึ่งได้มอบผู้หญิงสองคนให้แก่ข้าฯ คนหนึ่งนั้นเป็นอิสรชน

ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นเชลย ซึ่งฉันได้ให้ทั้งสองคนอยู่ในบ้านเดียวกัน วันหนึ่งทั้งสองคนได้คลอดบุตรเป็นบุตรชายหนึ่ง เป็นบุตรหญิงหนึ่ง แต่ทั้งสองต่างก็อ้างว่าเด็กผู้ชายเป็นบุตรของตน และต่างคนก็ปฏิเสธที่จะรับเด็กผู้หญิง ขอให้ท่านได้โปรดตัดสินไปตาม หลักเกณฑ์การตัดสินของท่านในเรื่องของคนทั้งสองนี้ด้วยเถิด”

แต่ฉันไม่มีปัญญาตัดสินปัญหาระหว่างคนทั้งสองนี้แต่ประการใด ฉันจึงไปหาท่านอุมัร

แล้วฉันก็ได้เล่าเรื่องราวให้ท่านฟัง

ท่านถามว่า “แล้วท่านตัดสินไปอย่างไร?”

ฉันตอบว่า “ถ้าหากฉันสามารถตัดสินได้ เรื่องอะไรฉันจะมาหาท่าน”

ดังนั้นท่านอุมัรจึงรวบรวมบรรดาสาวกทั้งหมดของท่านนบี(ศ) มาประชุม และสั่งให้ฉันเล่าเรื่องที่ฉันได้บอกเล่าท่านไปแล้วแก่คนเหล่านั้น และท่านได้หารือกับคนเหล่านั้น ซึ่งทุกๆ คนต่างก็ให้ความเห็นมาที่ฉันบ้าง ที่ท่านอุมัรบ้าง

ท่านอุมัรกล่าวว่า “แต่ฉันรู้จักผู้ที่ให้ทางออกแก่ปัญหานี้ได้”

๑๑๖

พวกเขากล่าวว่า“ท่านพูดอย่างนี้คงจะหมายถึงบุตรของอะบีฎอลิบหรือ?”

ท่านกล่าวว่า “ถูกแล้ว แล้วจะดำเนินการอย่างไร?”

พวกเขาตอบว่า “ท่านก็ส่งคนไปเชิญตัวเขามาหาท่านได้”

ท่านกล่าวว่า “ไม่ได้ ศักดิ์ศรีของตระกูลบนีฮาชิมมีอยู่ที่เขา แหล่งที่มาแห่งความรู้ก็อยู่ที่เขา

เขาควรจะถูกไปหามิใช่จะเป็นฝ่ายมาหา เพราะวิทยปัญญาอยู่ที่บ้านของเขา ดังนั้นพวกท่านจงลุกขึ้นไปหาเขาพร้อมกับเรา”

แล้วเราก็มาหาท่านอะมีรุลมุมินีน(อ) ขณะนั้นเราได้พบว่า เขาซบอยู่กับฝาบ้านแล้วอ่านโองการที่มีใจความว่า

“มนุษย์คิดหรือว่า ตนจะถูกทอดทิ้งอย่างไร้ความหมาย”

แล้วท่านก็ร้องไห้ พวกเรารั้งรออยู่จนกระทั่งท่านหยุดร้อง จากนั้นก็ขออนุญาตเข้าไปหาท่าน แล้วท่านก็ได้ออกมาหาพวกเราทั้งๆ ที่ท่านใส่เสื้อคลุมที่มีแขนครึ่งเดียว ท่านได้หันหน้าไปหาท่านอุมัร แล้วกล่าวว่า

“มีอะไรในการมาของท่านหรือ ?”

ท่านอุมัรหันกลับมา แล้วสั่งให้ฉันเล่าเรื่องราวให้ท่านอะลี(อ)ฟัง

อิมาม(อ)ถามว่า “แล้วท่านตัดสินไปอย่างไร?”

ฉันตอบว่า “ฉันไม่มีปัญญาแก้ปัญหานี้”

แล้วท่านก็หยิบของสิ่งหนึ่งมาจากพื้นดิน แล้วกล่าวว่า

“การตัดสินปัญหานี้ง่ายกว่าสิ่งนี้เสียอีก”

ต่อจากนั้นท่านได้สั่งให้นำผู้หญิงทั้งสองคนมา และท่านได้นำภาชนะอย่างหนึ่งมาด้วย แล้วท่านก็มอบให้ผู้หญิงคนหนึ่ง พลางกล่าวว่า “จงบีบน้ำนมลงในนี้ซิ”

๑๑๗

แล้วนางก็บีบน้ำนมของนางลงในนั้น แล้วท่านก็เอาไปชั่งดูน้ำหนักและมอบภาชนะอีกอันหนึ่ง พลางกล่าวว่า “จงบีบน้ำนมลงในนี้ซิ”

เมื่อนางบีบน้ำนมลงในภาชนะแล้ว ท่านก็เอาไปชั่งดูน้ำหนักอีก แล้วท่านก็กล่าวแก่คนที่มีน้ำนมน้ำหนักเบาว่า “เจ้าจงรับเอาลูกที่เป็นผู้หญิงของเจ้าไป”

และกล่าวแก่คนที่น้ำหนักน้ำนมหนักว่า “เจ้าจงรับเอาลูกผู้ชายไป”

แล้วท่านก็หันไปหาท่านอุมัร พลางกล่าวว่า “ท่านยังไม่รู้ใช่ไหมว่าอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กำหนดส่วนได้ของผู้หญิงเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ชาย กล่าวคือทรงบันดาลให้สติปัญญาและมรดกของนางมีน้อยกว่าของผู้ชาย ทำนองเดียวกัน นมที่จะให้แก่เด็กที่เป็นผู้หญิงก็มีอัตราน้อยกว่าของเด็กผู้ชาย”

ท่านอุมัรกล่าวว่า “แน่นอนที่สุด ความรู้ของท่านเป็นสัจธรรม แต่ทว่าพวกของท่านยังโง่อยู่ โอ้บิดาของฮะซัน”

อิมาม(อ)กล่าวว่า “ไม่เป็นไร โอ้บิดาของฮัฟเศาะฮ์ แท้จริงวันแห่งการตัดสินนั้นถูกกำหนดไว้แล้ว” (2)

-------------------------------------------------------------

(2) เกาะฎอ อะมีริลมุมินีน (อ) ของตุชตะรี หน้า 121

(2)

ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับกรณีที่ชายคนหนึ่งตีชายอีกคนตรงที่สำคัญ คนที่ถูกตีได้อ้างว่า เขามองอะไรไม่เห็นเลย และไม่รู้สึกว่าจะได้กลิ่นอะไรอีกเลย และลิ้นก็หมดความรู้สึกไปเสียเฉยๆ

๑๑๘

อิมาม(อ)กล่าวว่า “ถ้าหากเขาพูดความจริง เขาก็จะได้รับค่าทำขวัญ

 3 กรณี

มีคำถามขึ้นว่า “แล้วจะรู้ว่าเขาพูดความจริงได้อย่างไรเล่า

 ท่านอะมีรุลมุมินีน?”

อิมาม(อ)ตอบว่า “ที่เขาอ้างว่า เขาไม่รู้สึกได้กลิ่นอะไรเลยนั้น ก็จงเอาดินชนวนเข้าไปใกล้เขาดู คือถ้าเป็นเหมือนอย่างที่เขาพูด เขาก็จะดมมันได้เฉย ๆ มิฉะนั้นแล้วเขาจะเวียนศีรษะ และน้ำตาจะไหลออกมา ส่วนที่เขาอ้างในเรื่องตาทั้งสองข้างของเขานั้น ก็จงให้เขาแหงนใบหน้าให้ดวงอาทิตย์ตรงกับตาทั้งสอง ถ้าเขาโกหกเขาจะลืมตาไม่ได้เลย แต่ถ้าเขาพูดความจริงเขาจะสามารถเปิดนัยน์ตาทั้งสองข้างดูได้เฉย ๆ ส่วนกรณีที่เขาอ้างในเรื่องลิ้นก็ให้เอาเข็มจิ้มลิ้นลงไปดู คือถ้าหากเลือดที่ออกมาเป็นสีแดง หมายความว่าเขาโกหก แต่ถ้าเลือดที่ออกมาเป็นสีดำ นั่นหมายความว่าเขาพูดความจริง

(3)

ท่านอิมามศอดิก(อ)ได้กล่าวไว้ว่า ในสมัยของท่านอะลี(อ) มีชายคนหนึ่งมุ่งมาจากทางภูเขา

พร้อมกับถกเถียงกับคนรับใช้ของตนมาระหว่างทางเพราะเหตุว่าผู้เป็นนายจ้างตีเขาเนื่องจากเขาทำความผิด

เขาผู้นั้นกล่าวว่า “เธอมิได้เป็นนายจ้างของฉัน ฉันเองต่างหากที่เป็นนายจ้างของเธอ ต่างฝ่ายต่างก็อ้างกันอย่างนี้”

๑๑๙

จนในที่สุดฝ่ายหนึ่งก็กล่าวขึ้นว่า “แล้วจะได้เห็นดีกัน ให้พวกเราไปถึงเมืองกูฟะฮ์ก่อนเถอะ เจ้าศัตรูของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) แล้วฉันจะพาเจ้าไปพบท่านอะมีรุลมุมินีน (อ)”

ครั้นเมื่อคนทั้งสองมาถึงเมืองกูฟะฮ์ ต่างก็มาหาท่านอะมีรุลมุมินีน(อ) คนที่ตีคนรับใช้ก็กล่าวขึ้นว่า “นี่คือเด็กรับใช้ของฉัน เขากระทำความผิด ฉันจึงตีเขาแล้วเขาก็ตะคอกใส่ฉัน”

อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เขานั่นแหละที่เป็นคนรับใช้ของฉัน ความจริงท่านพ่อของฉันได้ส่งเขามาร่วมเดินทางกับฉัน เพื่อสอนให้ฉันเรียนรู้ แต่เขากลับตะคอกใส่ฉันเพื่อจะเอาทรัพย์สินของฉันไป”

ผู้เล่ารายงานนี้กล่าวว่า จากนั้นคนนี้ก็สาบาน คนนั้นก็สาบาน คนนี้ก็กล่าวหาคนนั้น คนนั้นก็กล่าวหาคนนี้

อิมาม(อ)จึงกล่าวว่า “ท่านทั้งสองจงหยุดกันก่อน ในค่ำคืนนี้ฉันจะตัดสินท่านทั้งสองเอง

แน่นอนว่าจะไม่มีการตัดสินอย่างอื่นเกิดขึ้นนอกจากความเป็นธรรมอย่างแท้จริง”

ครั้นในเวลาต่อมาท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ก็กล่าวแก่กัมบัรว่า “จงเจาะรูที่ฝาผนัง สักสองรู”

เมื่อถึงเวลาตอนเช้า อิมาม(อ)ก็ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยจนดวงอาทิตย์ขึ้นสูงแล้ว ชายทั้งสองคนก็เข้ามา บรรดาประชาชนทั้งหลายก็มาชุมนุมกัน พลางกล่าวว่า “แน่นอน กรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในคราวนี้ ไม่เคยประสบแก่ท่านมาก่อนเลย ท่านจึงยังไม่ออกมา”

๑๒๐