ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี 0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: อิมามอลี
หน้าต่างๆ: 166

ชีวประวัติอิมามอะลี

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 166
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 32825
ดาวน์โหลด: 4378

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามอะลี
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 166 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 32825 / ดาวน์โหลด: 4378
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

อิมาม(อ)ได้กล่าวแก่คนทั้งสองว่า “เจ้าทั้งสองจะว่าอย่างไรกัน?” ว่าแล้วท่านก็พูดกับคนทั้งสองว่า “จงออกกันไปเถิด ฉันยังมองไม่เห็นว่าใครคนไหนที่พูดความจริง”

จากนั้นท่านก็กล่าวกับชายคนหนึ่งว่า “จงเอาศีรษะของเจ้าลอดเข้าไปในรูนี้ซิ”

ต่อจากนั้นท่านก็พูดกับกัมบัรว่า “จงไปเอาดาบของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) มาให้ฉันซิกัมบัร เพื่อฉันจะได้รีบฟันคอ เจ้าคนที่เป็นคนรับใช้ในจำนวนสองคนนี้เสีย”

ทันใดนั้นเอง คนรับใช้ก็รีบเอาศีรษะออกทันที ส่วนอีกคนหนึ่งก็ยังคงอยู่อย่างเดิมในรู

อิมาม(อ)ได้กล่าวว่า “เจ้าใช่ไหมที่แอบอ้างว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนรับใช้?”

เขาตอบว่า “ใช่แล้ว แต่ทว่าเขาตีฉันและเข้มงวดกับฉัน”

แล้วท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ก็ได้อบรมแก่เขา และปล่อยเขาไปกับเจ้านายตามเดิม

๑๒๑

(4)

มีหญิงคนหนึ่งมาหาท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ ซึ่งผู้หญิงคนนี้ได้นำตัวชายหนุ่มชาวคริสเตียนคนหนึ่งมาด้วย และนางมีความใคร่กับชายหนุ่มคนนั้น แต่เมื่อเขาไม่ได้ทำให้นางพอใจ นางก็ต้องการจะหาเรื่องใส่เขา คือนางได้เอาไข่ฟองหนึ่งมาทำให้แตกใส่ลงบนผ้าของนาง และเปื้อนตรงบริเวณขาของนาง แล้วนางก็มาหาท่านอุมัรพร้อมกับทำเสียงตื่นตระหนกว่า

“ผู้ชายคนนี้ปลุกปล้ำฉัน เขาทำให้ฉันต้องขายหน้าพวกพ้องของฉัน และนี่คือร่องรอยจากการกระทำของเขา”

ท่านอุมัรก็ซักถามบรรดาสตรีซึ่งพวกนางก็บอกว่า

“แท้จริงที่ร่างกายของนาง และเสื้อผ้าของนางนั้นเป็นคราบอสุจิ”

ท่านจึงคิดที่จะลงโทษชายหนุ่มชาวคริสเตียนคนนั้น ชายหนุ่มก็เลยขอร้องให้ท่านช่วยเหลือ และกล่าวว่า

“ท่านโปรดพิสูจน์ความจริงในเรื่องของข้าพเจ้าเถิด

ขอสาบานต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)ว่า ข้ามิได้กระทำความชั่ว และไม่มีจิตเสน่หานางเลย เพียงแต่นางนั่นเองที่ชอบเย้ายวนอารมณ์ของข้า ซึ่งข้าก็ข่มใจไว้ได้”

๑๒๒

ท่านอุมัรกล่าวว่า “โอ้บิดาของฮะซัน ท่านมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร?”

ท่านอิมามอะลี(อ)ก็มองไปที่ผ้าของนาง และสั่งให้เอาน้ำที่ร้อนจัดมา จากนั้นท่านก็รดน้ำร้อนลงบนผ้า ซึ่งไข่ขาวนั้นก็กลายเป็นของแข็ง จากนั้นท่านก็เอามาดมและลิ้มรสดู แล้วท่านก็ทราบในรสของมัน ผู้หญิงคนนั้นก็พ่ายแพ้และยอมรับผิด

(5)

อิมามอะลี(อ)ได้พบชายหนุ่มคนหนึ่งกำลังร้องไห้อยู่ และรอบๆ เขานั้นมีคนพวกหนึ่งกำลังปลอบให้เขาสงบเงียบ เรื่องของเขามีอยู่ว่า บิดาของชายคนนั้นออกเดินทางไปกับคนพวกหนึ่ง

ต่อมาพวกเขาก็อ้างว่า บิดาของเขาเสียชีวิตแล้ว และพวกเขาก็โกงทรัพย์สินของบิดาของเขาด้วย ทั้งๆ ที่บิดาของเขามีทรัพย์สินมากมาย และท่านชะรีฮ์ซึ่งเป็นผู้พิพากษาก็ได้ตัดสินความนิรโทษพวกเขาแล้วด้วย

อิมาม(อ) จึงดำเนินการเรียกหาผู้ชายเหล่านั้น และขอเจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจการมาด้วย และท่านได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สองคนอยู่ประจำชายเหล่านั้นทุก ๆ 1 คน แล้วท่านก็แยกพวกเขาให้เข้ามา และเพ่งมองที่ใบหน้าพลางกล่าวกับพวกเขาว่า

“พวกเจ้าจะว่าอย่างไร ฉันยังไม่รู้เลยว่าพวกเจ้ากระทำอะไรลงไปกับบิดาของชายผู้นี้อย่างไรบ้าง”

ต่อจากนั้นท่านอิมาม(อ)ก็สั่งให้พวกเขาแยกตัวออกจากกัน(3)

---------------------------------------------------------------------------------------------

(3) ท่านอะลี (อ) เป็นคนแรกที่ใช้หลักการแยกตัวผู้ต้องหาออกจากกัน

๑๒๓

และท่านได้สั่งให้นำขึ้นไปบนแท่นสูงของมัสยิดทีละคน ต่อจากนั้นท่านได้สั่งให้อับดุลลอฮ์ บินอะบีรอฟิอ์ บันทึกคำให้การ แล้วท่านได้กล่าวแก่ประชาชนว่า

“ถ้าหากฉันกล่าวตักบีร (ให้ความเกรียงไกรแด่อัลลอฮ์ ซ.บ.) ก็ขอให้พวกท่านกล่าวตาม

แล้วท่านก็เรียกเขาเหล่านั้นมาถามทีละคน ด้วยคำถามว่าออกจากบ้านในวันอะไร เดือนอะไร ปีอะไร บิดาของชายหนุ่มคนนี้ตายที่ไหน ป่วยด้วยโรคอะไร ป่วยอยู่นานเท่าใด มีใครอยู่ดูแล ตอนที่เขาป่วย และตายในวันอะไร ใครเป็นคนห่อกะฟั่น (ผ้าห่อศพตามศาสนบัญญัติ) ใครเป็นคนนมาซให้ ใครเป็นคนนำศพลงในหลุ่ม ?”

และชายคนนั้นก็ตอบคำถามเหล่านี้

ครั้นเมื่อถามคำถามต่างๆ เสร็จแล้วท่านอะลี(อ)ก็ได้กล่าว “ตักบีร” บรรดาสาวกทุกคนก็กล่าวตาม พวกที่ยังเหลืออยู่ก็คิดด้วยความฟุ้งซ่าน และแน่ใจว่าพวกพ้องของตนต้องให้การพาดพิงมายังพวกตนและตัวของเขาเองแน่แล้ว อิมาม (อ) ยังได้ออกคำสั่งให้นำชายคนนั้นไปขังไว้

ต่อจากนั้นท่านก็เรียกคนต่อไป แล้วกล่าวกับเขาว่า

“เจ้าอย่าได้คิดว่าฉันไม่รู้ในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำลงไปกับบิดาของชายหนุ่มคนนี้”

ชายคนนั้นกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเองก็เหมือนกับคนพวกนั้นแหละ ข้ามีความรังเกียจที่จะฆ่าเขา”

๑๒๔

เมื่อชายคนนี้ให้การอย่างนี้ อิมาม(อ)ก็เรียกพวกเขามาทีละคนๆ ซึ่งแต่ละคนก็ให้การในเชิงยอมรับทั้งหมด หลังจากนั้นท่านก็สั่งให้นำคนเหล่านั้นไปขังคุก เป็นอันว่าเรื่องนี้ได้เป็นที่ถูกยอมรับ แล้วท่านก็สั่งให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินและชีวิต(4)

------------------------------------------------------------------------------

(4) กอฎออุล อิมาม อะมีรุล มุมินีน (อ) ของชัยค์ฮุเซน อะลี อัซซะฟาอี

(6)

มีชายสองคนมาหาสตรีชาวกุเรช แล้วฝากเงินให้นางเก็บไว้ 100 ดีนาร พร้อมกับกล่าวว่า

“นางจงอย่ามอบเงินจำนวนนี้ให้แก่คนใดคนหนึ่งระหว่างเราสองคนนี้โดยเฉพาะ นอกจากในยามที่เรามาพร้อมกันเท่านั้น”

แล้วต่อมาไม่นานนัก มีคนหนึ่งในจำนวนสองคนนี้มาหานางแล้วกล่าวว่า

“เพื่อนของฉันตายเสียแล้ว นางโปรดมอบเงินจำนวนนั้นคืนให้ฉันเถิด”

นางตอบปฏิเสธ แต่ชายคนนั้นก็รบเร้านางกับครอบครัวของนาง ก็เป็นที่สุดวิสัยแก่นาง

จนกระทั่งนางต้องมอบเงินจำนวนนี้ให้เขาไป ต่อจากนั้นไม่นานชายอีกคนหนึ่งก็มาอีกแล้วกล่าวว่า

“โปรดมอบเงินจำนวนนั้นให้แก่ฉันเถิด”

นางกล่าวว่า “ก็เพื่อนของท่านมาหาข้าฯและอ้างว่าท่านตายแล้ว ข้าจึงมอบเงินจำนวนนั้นแก่เขาไป”

แล้วคนทั้งสองก็โต้เถียงกันจนเรื่องไปถึงท่านอุมัร ดังนั้นท่านอุมัรจึงลงความเห็นที่จะตัดสินเอาโทษนาง และให้นางเป็นผู้รับผิดชอบ

๑๒๕

นางกล่าวว่า “ข้าขอปฏิญาณต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ว่า ขออย่าให้ท่านทำหน้าที่ตัดสินเรื่องของเราเลย เราจะเอาเรื่องนี้ไปหาท่านอะลี บินอะบีฎอลิบ (อ)”

ครั้นเมื่อคนทั้งสองไปหาท่านอะลี(อ) ท่านก็รู้ทันทีว่า ชายคนนี้ฉ้อโกงนาง

แล้วท่านได้กล่าวว่า “เจ้าเคยพูดใช่ไหมว่านางจงอย่ามอบเงินจำนวนนี้ให้แก่ใคร ในจำนวนเราสองคน โดยเฉพาะถ้าหากคนหนึ่งไม่มาด้วย?

เขาตอบว่า “ใช่แล้ว”

อิมาม(อ)ตอบว่า “แท้จริงเงินของเจ้ามีอยู่ที่เรา จงไปตามเพื่อนของเจ้ามาซิ เพื่อเราจะได้มอบให้แก่เจ้าทั้งสอง”

เมื่อเรื่องนี้ได้ยินไปถึงท่านอุมัร ท่านก็กล่าวทันทีว่า

“โอ้ อัลลอฮ์(ซ.บ.)ขออย่าปล่อยให้ฉันอยู่ในขณะที่ไม่มีบุตรของอะบีฎอลิบเลย”(5)

--------------------------------------------------------------------------

(5) อัล เฆาะดีร เล่ม 6 หน้า 126 อ้างจากอัล อัซกิยาอ์ ของอิบนุอัล เญาซี หน้า 18

(7)

มีหญิงสองคนต่างก็ฟ้องต่อท่านอุมัรว่า เด็กชายคนหนึ่งนั้นเป็นบุตรของนาง โดยที่หญิงทั้งสองต่างคนก็ไม่มีหลักฐานยืนยัน และไม่มีใครคัดค้านคนทั้งสองในเรื่องของเด็กคนนี้ นอกจากนางสองคนนี้เท่านั้น ดังนั้น ท่านอุมัรก็เกิดความสับสนในการตัดสินเรื่องนี้ ท่านจึงมอบเรื่องไปหาอิมามอะลี(อ)

 อิมาม(อ) ก็เรียกหญิงทั้งสองเข้ามารับฟังการอบรม และสอนให้นางทั้งสองเกรงกลัวต่อจากนั้นทั้งสองก็เปิดฉากถกเถียงกัน

๑๒๖

อิมามอะลี(อ)จึงกล่าวขึ้นในขณะที่นางทั้งสองถกเถียงกันว่า “จงเอาเลื่อยมาให้ฉันซิ”

หญิงทั้งสองกล่าวว่า “ท่านจะทำอะไรหรือ?”

อิมาม(อ)ตอบว่า “ฉันจะเลื่อยเขาออกเป็นสองส่วน เพื่อให้เธอทั้งสองได้เอาไปคนละครึ่ง”

หญิงคนหนึ่งนิ่งเงียบ

แต่คนหนึ่งกล่าวว่า “ยาอัลลอฮ์ ยาอัลลอฮ์ โอ้บิดาของฮะซัน ถ้าเป็นอย่างนั้น ฉันยอมยกเขาให้นางดีกว่า”

อิมาม(อ)จึงกล่าวว่า “อัลลอฮ์ (ซ.บ.) คือผู้ทรงเกรียงไกร นี่คือลูกชายของเธอโดยแท้ เพราะถ้าหากเป็นลูกของอีกคนนางจะต้องหวงแหน และแสดงความอาลัยรักต่อเขา”

ดังนั้นหญิงคนนั้นก็นิ่งเงียบ เพราะว่าความจริงเด็กคนนั้นเป็นของหญิงอีกคนหนึ่งและเป็นบุตรของนางจริง ข่าวนี้ได้ยินไปถึงท่านอุมัร ท่านได้ขอดุอาอ์ให้แก่ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ในฐานะที่ช่วยแก้ไขปัญหา และตัดสินได้สำเร็จ(6)

--------------------------------------------------------------------

(6) อัล อิรซาด ของท่านชัยค์ มุฟีด หน้า 96

๑๒๗

(8)

มีหญิงคนหนึ่งคลอดบุตร เมื่อตั้งครรภ์ได้หกเดือนถูกนำตัวมาหาท่านอุษมาน ท่านอุษมานเล็งเห็นว่าต้องตัดสินลงโทษนางด้วยการขว้างให้ตายอิมามอะลี(อ)จึงกล่าวว่า

 “ถ้าหากนางแย้งท่านด้วยคัมภีร์ของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ฉันก็จะแย้งท่านด้วย”

เพราะอัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า

“การตั้งครรภ์ของเขา และช่วงเวลาของเขาสามสิบเดือน”

แล้วทรงกล่าวอีกว่า “และมารดาทั้งหลายย่อมให้นมบุตรของตนครบสองปีบริบูรณ์ สำหรับผู้ที่ต้องการจะให้นมจนครบสมบูรณ์ ดังนั้นสองปีจึงเป็นช่วงเวลาของการให้นม หกเดือนจึงเป็นช่วงเวลาของการตั้งครรภ์”

ท่านอุษมานจึงกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้นก็ให้ปล่อยนางไปเถิด” (7)

--------------------------------------------------------------------------

(7) อัล มะนากิบ เล่ม 1 หน้า 501

(9)

มีคดีหนึ่งถูกส่งมาให้ท่านอุมัรตัดสิน คือคนใช้คนหนึ่งได้สังหารเจ้านายของตนตาย ดังนั้นท่านอุมัรจึงออกคำสั่งให้ฆ่าตกตามกันไป แต่อิมามอะลี(อ) ได้เรียกเขามาแล้วถามว่า “ท่านฆ่าเขาจริงหรือ?”

เขาตอบว่า “ใช่ครับ”

อิมาม(อ)ถามว่า “ท่านฆ่าเขาทำไม”

เขาตอบว่า “เขาปลุกปล้ำ และพยายามร่วมเพศกับข้าพเจ้า”

อิมาม(อ)ได้กล่าวแก่ทายาทของผู้ตายว่า “พวกท่านฝังนายของพวกท่านแล้วหรือยัง”

๑๒๘

พวกเขาตอบว่า “ฝังแล้ว”

อิมาม(อ)ถามว่า “ฝังเมื่อไหร่?”

พวกเขาตอบว่า “ฝังไปเมื่อชั่วโมงที่ผ่านมา”

อิมาม(อ)จึงพูดกับท่านอุมัรว่า “ให้ขังเด็กรับใช้คนนี้ไว้ก่อนสักสามวันและจงอย่าพูดอะไรในเรื่องนี้ จนกว่าครบสามวันเสียก่อน”

ต่อจากนั้นท่านก็ได้กล่าวแก่ทายาทของผู้ตายว่า

“เมื่อครบสามวันแล้วพวกท่านจงมาพบข้าพเจ้าที่นี่”

ครั้นเมื่อครบสามวันแล้ว พวกเขาก็มาหาท่านอะลี(อ)

ท่านอะลี(อ)ก็จับมือท่านอุมัรออกไป จนกระทั่งถึงสุสานของผู้ตาย แล้วท่านอะลี(อ)ก็สั่งแก่ทายาทของผู้ตายว่า

“นี่คือสุสานของพวกท่านใช่ไหม ?”

พวกเขารับว่า “ใช่”

ท่านอะลี(อ)กล่าวว่า “พวกท่านจงขุดจนกระทั่งถึงหลุมชั้นในแล้วให้เอาคนตายของพวกท่านออกมา”

ดังนั้น พวกเขาได้มองไปยังผ้ากะฝั่น(ผ้าห่อศพ)ในหลุมชั้นใน แต่แล้วก็ไม่พบคนตาย พวกเขาจึงบอกท่านอะลี(อ)

ท่านอะลี(อ)กล่าวว่า “อัลลอฮ์ (ซ.บ.) คือผู้ทรงเกรียงไกร ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ฉันมิได้โกหก และไม่เคยโกหก ฉันได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) กล่าวว่า คนในประชาชาติของฉันไม่ว่าใครถ้าหากมีพฤติกรรมเหมือนอย่างประชาชาติของนบีลูฎ (อ) แล้วตายลงในเรื่องนี้ ก็จงรีบนำเขาลงในหลุมเสีย เพราะเมื่อเขาถูกวางในหลุมแล้ว อยู่ไม่เกินสามวันแผ่นดินจะสูบเขาไปอยู่รวมกับพวกลูฎอันเป็นพวกที่ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ เขาจะถูกนำไปรวมอยู่กับคนเหล่านั้น” (8)

-------------------------------------------------------------------------

(8) ละอาลิล อัคบาร์ ของตุวัยซัรกานี หน้า 589

๑๒๙

(10)

ท่านอาศิม บินฮัมซะฮ์ ได้เล่าว่า มีเด็กผู้ชายคนหนึ่งกับผู้หญิงคนหนึ่งมาหาท่านอุมัร แล้วเด็กผู้ชายคนนั้นก็กล่าวว่า

“ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.) นี่คือมารดาของฉันนางได้อุ้มครรภ์ฉันมาเป็นเวลาถึง 9 เดือน และนางยังได้ให้นมแก่ฉันเป็นเวลาสองปีบริบูรณ์ แต่แล้วนางก็ผละหนีจากฉัน และขับไล่ฉัน และอ้างว่านางไม่รู้จักฉัน”

แล้วก็ได้มีพี่น้องฝ่ายนางมาถึงจำนวน 4 คน และพยานฝ่ายนางอีก 40 คนมายืนยันว่า เด็กคนนี้ตั้งข้อหากลั่นแกล้งให้นางต้องได้รับความอับอายญาติพี่น้อง แท้จริงนางยังอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง และไม่เคยแต่งงานมาก่อน

ดังนั้น ท่านอุมัรจึงออกคำสั่งให้เฆี่ยนเด็กผู้ชายคนนั้น แต่เขาแลเห็นท่านอะลี(อ)

เขาจึงกล่าวว่า “โอ้ ท่านอะมีรุลมุมินีน (อ) จงตัดสินเรื่องระหว่างฉันกับมารดาของฉันด้วยเถิด”

ดังนั้นท่านอะลี(อ)ก็นั่งลงตรงที่นั่งของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)แล้วกล่าวว่า “แม่นางมีผู้ปกครองมาด้วยหรือ?”

นางตอบว่า “จ้ะ เขาเหล่านี้ทั้ง 4 คน คือพี่น้องของฉัน”

ท่านอะลี(อ)ได้กล่าวว่า “จะให้ฉันตัดสินเรื่องของพวกท่านและพี่น้องของพวกท่านด้วยหรือไม่?”

พวกเขากล่าวว่า “ขอยอมรับ”

๑๓๐

ดังนั้น ท่านอะลี(อ)ได้กล่าวว่า “ข้าขอให้อัลลอฮ์ (ซ.บ.) และผู้มาร่วมชุมนุมนี้เป็นพยาน ฉันจะขอทำการแต่งงานหญิงคนนี้ให้แก่เด็กชายคนนี้ด้วยเงิน 400 ดิรฮัม สำหรับเรื่องเงินเป็นหน้าที่ของฉันเอง โอ้กัมบัร ไปเอาเงินมาให้ฉันซิ”

ครั้นเขาได้นำเงินมาแล้ว ท่านก็กล่าวว่า “จงรับมันไปมอบให้ที่ตักของภรรยาของเธอ และจงจับมือของนางพากลับบ้านไปเลย”

หญิงคนนั้นร้องขึ้นว่า “ขอยืนยัน โอ้ท่านผู้เป็นบุตรแห่งลุงของศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ) ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นี่คือบุตรชายของฉันจริง เป็นเพราะว่าพี่เขยของฉันได้ร่วมหลับนอนกับฉันด้วยความชั่วร้ายแล้วฉันก็ได้คลอดเขาออกมา พอเขาเติบโตแล้ว พวกเขาปฏิเสธและสั่งให้ฉันปฏิเสธเขาด้วยและฉันก็กลัวพวกเขา”

แล้วนางก็จับมือของเด็กผู้ชายจากไปพร้อมกัน

ท่านอุมัรกล่าวว่า “หากไม่มีอะลี (อ) อุมัรต้องพินาศเป็นแน่แท้” (9)

---------------------------------------------------------------

(9) อัลมะนากิบ เล่ม 1 หน้า 494

(11)

ท่านอับดุรเราะฮ์มาน บินฮัจญาจได้เล่าว่า “ฉันเคยได้ฟังท่านอิบนุ อะบีลัยลาเล่าเรื่องพรรคพวกของเขาว่า ท่านอะมีรุลมุมินีน (อ) ได้ตัดสินเรื่องระหว่างชายสองคนที่เป็นเพื่อนกันในยามเดินทาง ครั้นเมื่อคนทั้งสองต้องการจะรับประทานอาหาร คนหนึ่งก็ได้นำขนมปังออกมาจากถุงเสบียงของตน 5 แผ่น ส่วนอีกคนหนึ่งก็นำของตนออกมา 3 แผ่น แล้วปรากฏว่า มีคนเดินทางผ่านมาคนหนึ่ง เขาทั้งสองจึงเรียกเชิญให้เข้ามารับประทานอาหารของพวกเขาทั้งสอง แล้วชายคนนั้นก็รับประทานร่วมกับคนทั้งสอง

๑๓๑

 จนกระทั่งไม่มีอะไรเหลือ เมื่อเสร็จจากการรับประทานอาหารแล้ว

ชายคนนั้นก็มอบของราคาเล็กๆ น้อยๆ ให้แก่คนทั้งสองในราคาแปด

ดิรฮัม อันเป็นการตอบแทน

อาหารของคนทั้งสองที่เขาได้รับประทานไป เจ้าของขนมปัง 3 แผ่น ก็กล่าวแก่คนที่เป็นเจ้าของขนมปัง 5 แผ่นว่า

 “ท่านจงแบ่งมันออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน ระหว่างฉันกับท่าน”

แต่เจ้าของขนมปัง 5 แผ่นกล่าวว่า “ไม่ได้ เราสองคนจะต้องเอาไปตามส่วนเฉลี่ยของอาหารเสบียงที่เอาออกมา”

ดังนั้นคนทั้งสองก็ไปหาท่านอะมีรุลมุมินีน(อ) เพื่อตัดสินในเรื่องนี้ เมื่อท่านได้รับฟังเรื่องราวของคนทั้งสองฝ่ายแล้ว ท่านก็กล่าวกับคนทั้งสองว่า

“ท่านทั้งสองคนจงปรองดองกันเองเถิด เพราะเรื่องของท่านสองคนเป็นเรื่องง่าย ๆ”

แต่เขาทั้งสองกล่าวว่า “จงตัดสินเรื่องระหว่างเราด้วยความถูกต้องเถิด”

ครั้นแล้ว ท่านก็มอบให้คนที่เป็นเจ้าของขนมปัง 5 แผ่น เจ็ดดิรฮัมและมอบให้คนที่เป็นเจ้าของขนมปัง 3 แผ่นเพียงหนึ่งดิรฮัม แล้วกล่าวว่า

“คนหนึ่งเอาขนมปังออกมา 5 แผ่น และอีกคนหนึ่งเอาออกมา 3 แผ่นมิใช่หรือ ?”

เขาทั้งสองตอบว่า “ใช่แล้ว”

ท่านกล่าวว่า “แขกของท่านรับประทานร่วมกับท่านทั้งสองเหมือนๆ กับที่ท่านทั้งสองรับประทานใช่หรือไม่?”

เขาทั้งสองกล่าวว่า “ใช่แล้ว”

ท่านกล่าวว่า “คนที่เป็นเจ้าของขนมปังสามแผ่น เจ้ากินขนมปังไป 2 แผ่นกับอีกสองในสามของแผ่นใช่หรือไม่?

๑๓๒

คนที่เป็นเจ้าของขนมปังห้าแผ่น เจ้าก็กินขนมปังไป 2 แผ่น กับอีกสองในสามของแผ่นใช่หรือไม่? และแขกก็กินขนมปังไป 2 แผ่นกับอีกสองในสามของแผ่นใช่หรือไม่? แล้วเจ้าของขนมปังสามแผ่นก็ยังคงเหลือขนมปังของตน 1 ใน 3 ของแผ่นใช่หรือไม่ ? แล้วเจ้าของขนมปังสามแผ่นก็ยังคงเหลือขนมปังของตน 1 ใน 3 ของแผ่นใช่หรือไม่ ? แล้วเจ้าของขนมปัง 5 แผ่นก็ยังคงเหลือขนมปังของตน 2 แผ่นกับ 1 ใน 3 ของแผ่น ใช่หรือไม่ ? และมันถูกกินไป2 แผ่นกับอีกสองในสามของแผ่น ดังนั้นฉันจึงมอบให้แก่ท่านทั้งสองในอัตรา 1 ใน 3 ของแผ่นต่อหนึ่งดิรฮัม ดังนั้นฉันจึงมอบให้แก่เจ้าคนที่คงเหลือขนมปัง สองแผ่นกับ 1 ใน 3 เจ็ดดิรฮัมและมอบให้แก่เจ้าของ

ขนมปัง 3 แผ่น เพียงหนึ่งดิรฮัม”(10)

------------------------------------------------------------------------

(10) วะซาอิลุชชีอะฮ์ เล่ม 18 หน้า 210

คำวิงวอนอย่างสั้น

เอกลักษณ์ประการหนึ่งของบรรดาอิมาม(อ)ของเราคือ “ดุอาอ์” โดยมีคุณลักษณะที่ไม่มีใครเหมือน มีความดีเด่นในเรื่องนี้โดยเฉพาะ

อุซตาส อับดุลอะซีซ ได้กล่าวว่า “ผลงานดังกล่าวนี้ ไม่มีผู้ใดสามารถทำได้ดีกว่าบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) เช่นในหมู่พวกเขามีหนังสือ

 “อัศ-เศาะฮีฟะตุซ ซัจญาดียะฮ์” มันคือสมบัติอันล้ำค่าของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) วงศ์วานของศาสดามุฮัมมัด (ศ) เป็นคลังแห่งความรู้อันยิ่งใหญ่ เป็นศูนย์แห่งวิทยาการและจริยธรรม เป็นเอกลักษณ์พิเศษสำหรับการหาความรู้ในสภาวะแห่งพระผู้เป็นเจ้า”

ได้มีการรวบรวมเอาบทดุอาอ์ของท่านอิมาม(อ)เหล่านี้มาบันทึกโดยนักปราชญ์จำนวนนับร้อย

๑๓๓

อีกทั้งยังได้มีการหยิบยกมาบันทึกไว้ในหนังสือวิชาการเกี่ยวกับประวัติและสารานุกรมต่างๆอย่างมากมาย

เรามีหนังสือเกี่ยวกับประมวลบทดุอาอ์ของอิมามอะลี(อ) ฉบับที่บันทึกโดย ท่านอับดุลลอฮ์ บินศอลิห์ อัซ-ซามาฮีญี อันเป็นหนังสือที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ที่บทดุอาอ์ของท่านเกี่ยวข้องด้วย

ในบทนี้ เราจะนำบทดุอาอ์บางส่วนของท่านอะลี(อ) มาบันทึกเป็นพอสังเขป

1. “ข้าแต่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ข้าขอความคุ้มครองจากพระองค์ ให้พ้นจากความมักมาก ให้พ้นจากความโกรธ และความริษยา ให้พ้นจากความอ่อนแอ ให้พ้นจากความไม่มีอุตสาหะ การเบียดเบียน การคล้อยตามอารมณ์ ให้พ้นจากการปฏิบัติตามความอยาก ความขัดแย้งต่อทางนำ ความหลงลืม ให้พ้นจากความประพฤติในทางผิด ให้พ้นจากการเป็นคนบาป ให้พ้นจาก การทรยศ ตัดขาดการเชื่อฟังปฏิบัติตาม สนับสนุนคนสะสมทรัพย์สิน และเบียดเบียนคนที่ยากจน ปกครองคนด้วยวิธีการที่เลวร้าย ไม่ขอบพระคุณผู้ที่สร้างสรรค์ให้แก่เราให้พ้นจากการที่ต้องช่วยเหลือผู้อธรรมบั่นทอนคนที่ถูกกดขี่ ออกความคิดเห็นในสิ่งที่ไม่ชอบธรรมแก่ตน หรือพูดในสิ่งที่ไม่มีความรู้ เราขอความคุ้มครองให้พ้นจากการเบียดเบียนผู้อื่น ให้พ้นจากการพึงพอใจในทรัพย์สินและผลงานและความหวังที่ยาวนาน เราขอความคุ้มครองให้พ้นจากวิถีชีวิตที่เลวร้าย การกลั่นแกล้งผู้น้อย ให้เราพ้นจากมารชัยฏอน ให้พ้นจากการละเมิดของผู้มีอำนาจ เราขอความคุ้มครองให้พ้นจากความสุรุ่ยสุร่ายและความสิ้นเปลือง ให้พ้นจากการเบียดเบียนของเหล่าศัตรู ให้พ้นจากความขาดแคลนเพื่อนฝูง ให้พ้นจากชีวิตที่แร้นแค้นหรือการตายที่ไม่เป็นไปตามวาระกำหนด

๑๓๔

ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ข้าขอความคุ้มครอง ให้พ้นจากความขาดทุนอันยิ่งใหญ่ ให้พ้นจากภัยพิบัติอันใหญ่หลวง ให้พ้นจากสถานที่คืนกลับอันแสนเลวและถูกตัดขาดจากรางวัล และต้องรับการลงโทษ ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ข้าขอความ

คุ้มครองต่อพระองค์ ให้พ้นจากสิ่งเหล่านี้ทุกประการ ด้วยความเมตตาและความประเสริฐจากพระองค์ แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงมีอำนาจเหนือทุกสิ่ง”(1)

2. ดุอาอ์ของท่านอะลี(อ) เมื่อหันมองดวงจันทร์เสี้ยว

“ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ข้าขอจากพระองค์ซึ่งความดีงามแห่งเดือนนี้และความมีรัศมีของมันความแจ่มจ้าของมัน ความมีสิริมงคลของมัน ความสะอาดบริสุทธิ์ของมัน และลาภยศจากมัน ข้าขอต่อพระองค์ให้ได้ ความดีที่มีอยู่ในมัน และความดีที่ตามหลังมันมา ข้าขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้พ้นจากความชั่วที่มีอยู่ในมัน และความชั่วที่ติดตามมาภายหลังมัน ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.)โปรดนำมันเข้ามาสู่เราด้วยความปลอดภัยและศรัทธา ด้วยความสันติและความสุขสงบ ด้วยความจำเริญและการสำรวม ด้วยความสัมฤทธิ์ผลตามที่พระองค์ทรงรักและทรงปิติชื่นชม”(2)

3. ในสิบวันแรกของเดือนซุล-ฮิจญะฮ์ ท่านอะลี(อ) ได้ขอดุอาอ์ว่า

“ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮ์(ซ.บ.) ตามจำนวนของหนามและต้นไม้ ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮ์(ซ.บ.) ตามจำนวนของเม็ดและหยาดหยดของฝน ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)ตามจำนวนของก้อนหินและก้อนกรวดทราย ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)

-----------------------------------------------------------------------------

(1) ชัรฮ์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เล่ม 2 หน้า 66

(2) มิศบาหุล มุตะฮัจญุด หน้า 384

๑๓๕

 ตามจำนวนของการกระพริบตา ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในยามกลางคืนที่มืดมิดและในยามเช้าที่กระจ่าง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)ตามจำนวนของกระแสลมทั้งบนบกและในทะเล ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์(ซ.บ.) นับแต่วันนี้จนถึงวันที่มีการเป่าลงในแตรสังข์สัญญาณ”(3)

4. หลังจากนมาซภาคบังคับ ท่านอะลี(อ) อ่านดุอาอ์ ดังนี้

“ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ข้าขอวิงวอนจากพระองค์โดยอ้างนาม ของพระองค์อันถูกพิทักษ์คุ้มครองรักษาไว้โดยสะอาดบริสุทธิ์ด้วยจำเริญ ข้าขอวิงวอนจากพระองค์ ด้วยพระนามของพระองค์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ และด้วยอำนาจของพระองค์ที่ทรงมีมาแต่เดิม ข้าแต่ผู้ทรงให้ตลอดกาล ข้าแต่ผู้ทรงปลดปล่อยเชลย ข้าแต่ผู้ทรงปลดปล่อยคนผิดให้พ้นจากไฟนรก

 ข้าขอวิงวอนจากพระองค์ได้โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัด และได้โปรดปลดปล่อยข้าให้พ้นจากไฟนรก ให้ข้าได้ออกจากโลกนี้ด้วยความสุขสันติ ให้ข้าได้เข้าสู่สวรรค์ด้วยความปลอดภัยและโปรดบันดาลให้เบื้องต้นของ

ดุอาอ์ข้านี้เป็นชัยชนะ และในตอนกลางของมันเป็นความสำเร็จ ให้ตอนท้ายของมันเป็นความดีงามแท้จริงพระองค์คือผู้ทรงรู้ในสิ่งเร้นลับเสมอ”(4)

5. อิมามศอดิก(อ) ได้กล่าวว่า ท่านอะมีรุลมุมีนิน(อ) ได้กล่าวในตอน “สุญดชุกูร” ว่า

“ข้าแต่ผู้ทรงไม่มีอะไรจะให้แก่คนที่กระวนกระวาย นอกจากความดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

-----------------------------------------------------

(3) อุดดะตุด ดาอี หน้า 99

(4) อัล-ญุนนะตุลวากิยะฮ์ ของกัฟอะมีย์ หน้า 14

๑๓๖

ข้าแต่ผู้มีไว้ซึ่งคลังทั้งมวลแห่งชั้นฟ้า และแผ่นดิน โปรดอย่าให้ความชั่วของข้า ต้องยับยั้งพระองค์มิให้ประทาน ความดีงามของพระองค์

ข้าขอวิงวอนต่อพระองค์ได้โปรดประทานให้ ข้าได้ในสิ่งที่

พระองค์เป็นเจ้าของ ขณะที่พระองค์เป็นเจ้าของความดี เกียรติยศ และ

การอภัย ข้าแต่พระผู้อภิบาล พระองค์คือผู้ทรงสามารถยิ่งในการตอบแทน ด้วยบทลงโทษ ข้าแต่พระผู้อภิบาล แน่นอนข้าย่อมคู่ควรกับสิ่งนั้น ข้าไม่มีข้อพิสูจน์และไม่มีข้อแก้ตัวใด ๆ ที่จะมีต่อพระองค์ ความบาปทุกอย่างที่

ข้ากระทำลงไปและความผิดทุกประการที่ข้ากระทำไป และความชั่วทุกอย่างที่ข้ากระทำไป ขอได้โปรดอภัยให้แก่ข้า และโปรดเมตตา และโปรดอนุโลมให้ในสิ่งที่พระองค์ทรงรู้ แท้จริงพระองค์ทรงให้ความรัก

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสมอ”(5)

6. ดุอาอ์วิงวอนขอของท่านอะลี(อ) ตอนหนึ่งมีดังนี้

“ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ขอได้โปรดบันดาลให้ลิ้นของข้าสะอาดจาก

การโกหก ให้หัวใจของข้าสะอาดพ้นจากความหลอกลวง ให้การงานของข้าสะอาด พ้นจากการโอ้อวด ให้สายตาของข้าสะอาด พ้นจากสิ่งที่ชั่วร้าย เพราะพระองค์ทรงรู้ในสิ่งที่ชั่วร้ายอย่างเปิดเผย และสิ่งซ่อนเร้นในหัวใจ”(6)

------------------------------------------------

(5) เล่มเดิม หน้า 42

(6) ชัรฮ์ นะฮ์ญุล บะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 69

๑๓๗

7. ดุอาอ์วิงวอนขอของท่านอะลี(อ)ในช่วงเวลาเช้า(ซุบฮิ)

“มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ผู้ทรงบันดาล ให้ฉันรู้จักพระองค์ และไม่ทอดทิ้งให้ฉันอยู่ในสภาพที่หัวใจบอด

        มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ผู้ซึ่งบันดาลให้ฉันเป็นประชาชาติของมุฮัมมัด(ศ)

       มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ผู้ซึ่งบันดาลให้เครื่องยังชีพของฉันอยู่ในอุ้งอำนาจของพระองค์ และไม่ทำให้มันตกอยู่ในอุ้งมือของมวลมนุษย์

       มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ที่ทรงปกป้องความลับของข้าให้พ้นจากความอับอายต่อมวลมนุษย์”(7)

 8. ดุอาอ์อีกบทหนึ่งของท่านอะลี(อ) มีดังนี้

“มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ ผู้ที่ไม่มีใครสามารถควบคุมความรอบรู้ของพระองค์ได้

       มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ ผู้ซึ่งไม่มีใครทำลายคลังทั้งมวลของพระองค์

       มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ ผู้ซึ่งไม่มีใครทัดทานความเกรียงไกรของพระองค์ได้

       มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ ผู้ซึ่งไม่มีใครบั่นทอนสิ่งที่มีอยู่ ณ พระองค์ได้ มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ ผู้ที่ไม่มีใครตัดรอนความยั่งยืนของพระองค์ได้

 มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ ผู้ซึ่งไม่มีภาคีหุ้นส่วนใด ๆ ในภารกิจของพระองค์ มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ ผู้ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นอีกเลย นอกจากพระองค์”(8)

----------------------------------------------------------------

(7) อัล ญุนนะตุลวากิยะฮ์ ของดามาด หน้า 50

(8) อัล-ญุนนะตุลวะกิยะฮ์ ของกัฟอะมีย์ หน้า 93

๑๓๘

9. ดุอาอ์บทหนึ่งของท่านอะลี(อ) มีดังนี้

“ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้โปรดอภัยให้แก่ข้า ในความผิดซึ่งพระองค์รู้ว่ามีอยู่ในตัวข้า ดังนั้นถ้าหากพระองค์ทรงคิดคำนวณต่อข้า ขอได้โปรดคิดคำนวณด้วยการให้อภัย

ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้โปรดอภัยในทุกสิ่งที่เป็นความผิดในตัวข้าและที่พระองค์ ไม่ทรงพบว่าจะมีทางผ่อนผันใด ๆ

 ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ได้โปรดอภัยให้แก่ข้า ในกรณีที่ข้าได้แสวงหาความใกล้ชิดต่อพระองค์แล้ว ต่อจากนั้น หัวใจของข้าก็ได้แปรเปลี่ยนเสีย

ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ได้โปรดอภัยแก่ข้าให้พ้นจากความพลาดพลั้งเผอเรอ และการถูกครอบงำด้วยด้วยอารมณ์ต่ำและปลายลิ้นที่โง่เขลา”(9)

10. บทดุอาอ์ของท่านอะลี(อ) เมื่ออ่านอัล-กุรอานจบแล้ว

“ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.) โปรดเผยหัวอกของข้าให้เข้าใจอัล-กุรอานและโปรดให้เรือนร่างของข้ามีพฤติกรรมไปตามอัล-กุรอาน และโปรดให้สายตาของข้าได้รับแสงสว่างจากอัล-กุรอาน ให้ลิ้นของข้ามีวาจาเป็นไปตาม

อัลกุรอาน โปรดให้ข้าอยู่กับมันตราบเท่าที่พระองค์ยังทรงไว้ชีวิตข้าอยู่

แท้จริงไม่มีพลังและไม่มีอำนาจใด ๆ นอกจากโดยพระองค์”(10)

----------------------------------------------------------------

(9) เล่มเดิม หน้า 42

 (10) มิศบาฮุล มุตะฮัจญุด หน้า 225

๑๓๙

การตอบสนองที่มีต่อบทดุอาอ์ของท่านอะลี(อ)

เกียรติคุณในด้านนี้ บรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ)ได้รับการกล่าวถึงไว้มากมาย จะเห็นได้ว่า มีบันทึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากคำวิงวอนของท่านเหล่านี้ต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะอัลลอฮ์(ซ.บ.) ทรงสัญญาต่อปวงบ่าวของพระองค์ว่า จะให้การตอบสนองต่อบรรดาผู้ศรัทธา ดังที่พระองค์ตรัสว่า

“สูเจ้าจงวิงวอนขอต่อข้าเถิด แล้วข้าจะตอบสนองต่อสูเจ้า”

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะเป็นอย่างไรอีกกับคำวิงวอนขอโดยอิมามของบรรดาผู้ศรัทธา และผู้นำของมวลมุสลิม

ในบทนี้ เราจะกล่าวถึงรายงานบางประการเกี่ยวกับเรื่องการสนองตอบที่มีต่อคำวิงวอนของท่านอะลี(อ)

1. เมื่อครั้งที่ท่านอะลี(อ) ขอคำยืนยันจากบรรดาสาวกของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ที่เคยเป็นสักขีพยานในเหตุการณ์แห่งวันเฆาะดีร ซึ่งมีสาวกจำนวน 30 ท่านลุกขึ้นยืนยันต่อท่านในเรื่องนี้ แต่ท่านอะนัส บินมาลิก มิได้ลุกขึ้นยืนยัน ท่านอะลี(อ)กล่าวว่า

“ทำไมท่านจึงไม่ลุกขึ้นยืนยันร่วมกับบรรดาสาวกของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ไปตามความจริงที่ท่านได้ยินเรื่องนี้จากท่านศาสนทูต(ศ)ในวันนั้น ?”

ท่านอะนัสกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านอะมีรุลมุมีนิน ฉันอายุมากแล้ว ฉันจึงลืมไป”

๑๔๐