ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี 0%

ชีวประวัติอิมามอะลี ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: อิมามอลี
หน้าต่างๆ: 166

ชีวประวัติอิมามอะลี

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 166
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 32824
ดาวน์โหลด: 4377

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามอะลี
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 166 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 32824 / ดาวน์โหลด: 4377
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามอะลี

ชีวประวัติอิมามอะลี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ระดับความเป็นคนที่สูงส่งด้วยจิตใจที่โอบอ้อมอารีของท่านอะลี(อ)นั้น แม้แต่ศัตรูของท่านอย่าง มุอาวิยะฮ์ บินอะบีซุฟยาน ก็ยังกล่าวยกย่องไว้ว่า “เขาเป็นคนที่ถ้าหากว่าเป็นเจ้าของบ้านสองหลัง หลังหนึ่งทำด้วยทองคำอีกหลังหนึ่งทำด้วยฟาง แน่นอนเขาจะต้องบริจาคหลังที่ทำด้วยทองคำก่อน หลังที่ทำด้วยฟาง” (13)

ท่านชุอบีย์ได้กล่าวว่า “ท่านอะลี (อ) คือคนที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากที่สุด” (14)

“ท่านเคยแบ่งทรัพย์จากกองทุนส่วนกลาง(บัยตุลมาล)ที่เมืองบัศเราะฮ์ภายหลังจากสงครามญะมัลปรากฏว่า ส่วนรับของทหารทุกคนมีห้าร้อย

ดิรฮัมและท่านอะลี(อ) ก็รับห้าร้อยดิรฮัมด้วยเช่นเดียวกัน”

ท่านอะบูอัสวัด อัด-ดุอ์ลียกล่าวว่า “เมื่อเสร็จสงครามญะมัลแล้ว

 ท่านอะลี(อ)ก็เข้ามาจัดการกับทรัพย์สินส่วนกลางที่เมืองบัศเราะฮ์กับบรรดาประชาชนทั้งชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอร

-----------------------------------------------------------

(13.) ชัรฮ์ นะฮ์ญุล-บะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 7

(14). ชัรฮ์ นะฮ์ญุล-บะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 7

๖๑

 ฉันก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนคนเหล่านั้นด้วย ครั้นเมื่อท่านเห็นว่าทรัพย์สินส่วนกลางมีจำนวนมาก

ท่านก็กล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงแบ่งปันกันในระหว่างสหายของฉัน คนละห้าร้อยดิรฮัม” แล้วทุกคนก็แบ่งปันกันไปตามจำนวนนั้น ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ผู้ทรงแต่งตั้งนบีมุฮัมมัด (ศ) มาว่า “จำนวนเงินเหล่านั้นไม่ขาดไม่เกินแม้แต่ดิรฮัมเดียว เหมือนกับว่าท่านรู้จำนวนยอดเงินนั้นมาก่อน คือปรากฏว่ามีเงินจำนวนหกล้านดิรฮัมจำนวนคนก็มีหนึ่งหมื่นสองพันคน”(15)

ท่านฮุบะตุล-อัรนี กล่าวว่า ท่านอะลี(อ) ได้จัดแบ่งทรัพย์สินบัยตุลมาลที่เมืองบัสเราะฮ์ให้แก่สหายของท่านคนละห้าร้อยดิรฮัม และท่านเองก็รับเอาห้าร้อยดิรฮัมเหมือนคนเหล่านั้น แล้วปรากฏว่ามีชายคนหนึ่งที่มิได้ออกสงครามเข้ามาหา และกล่าวว่า “ท่านอะมีรุลมุมีนีน แท้จริงหัวใจของฉันอยู่กับท่านเสมอ ถึงแม้ร่างกายของฉันจะมิได้อยู่กับท่านก็ตาม ดังนั้นโปรดมอบบางส่วนให้ฉันได้รับบ้างเถิด” แล้วท่านก็มอบเงินห้าร้อยดิรฮัมในส่วนที่ท่านรับไปนั้นให้แก่เขาไปโดยที่ท่านมิได้รับส่วนแบ่งในคราวนั้นเลยแม้แต่น้อย”(16)

--------------------------------------------------

(15.) ชัรฮ์ นะฮ์ญุล-บะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 100

(16). ชัรฮ์ นะฮ์ญุล-บะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 100

๖๒

ถ้าหากเราจะกล่าวถึงงานในด้านการต่อสู้ของท่าน ท่านอะลี(อ)ก็เคยร่วมรบกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)มาทุกสมรภูมิ ท่านเป็นนักรบที่กล้าหาญอยู่หน้าเสมอ และท่านเป็นราชสีห์ที่ครอบครองชัยชนะทุกสมรภูมิ ท่านคือผู้ถือธงรบประจำกองทัพของประชาชาติมุสลิม ดังเช่นในเหตุการณ์สงครามบะดัร อัล-กุบรอ ท่านได้สังหารพวกตั้งภาคีถึงสามสิบห้าคน ในขณะที่บรรดามุสลิมและมะลาอิกะฮ์ ได้สังหารสามสิบห้าคนเช่นกัน ในสงคราม

อุฮุดท่านได้สังหารพวกแนวหน้าทั้งหมด ครั้นเมื่อบรรดามุสลิมแตกพ่าย หลังจากที่คอลิด บินวะลีดเข้าบุกจู่โจม ท่านยืนหยัดเพื่อปกป้องท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) จนบรรดานักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า

 “ญิบรออีลได้ประกาศในวันนั้นว่า “ไม่มีดาบอื่นใดอีกนอกจากดาบชุลฟิก็อรและไม่มีชายหนุ่มคนใดอีกนอกจากอะลี (อ)” (17)

ในสงครามคัยบัร บรรดาชาวมุฮาญิรีนมีไม่น้อยเลยที่ต้องการถือธง แต่ก็ไม่แคล้วที่แต่ละคนต้องรีบเร่งนำธงกลับมาหาท่านศาสนทูต(ศ)ด้วยความพ่ายแพ้จนท่านนบี(ศ)กริ้วแล้วกล่าวว่า

“พรุ่งนี้ ฉันจะต้องมอบธงรบให้แก่คนๆ หนึ่งที่รักอัลลอฮ์(ซ.บ.) และ

ศาสนทูต(ศ)ของพระองค์ อีกทั้งอัลลอฮ์(ซ.บ.)และศาสนทูต(ศ)ของพระองค์ก็รักเขา เขายืนหยัด ไม่หนีและไม่กลับมาจนกว่าอัลลอฮ์(ซ.บ.)จะให้เขาได้รับชัยชนะ”

----------------------------------------------

(17.) มะนากิบ อะมีรุลมุมีนีน(อ)ของท่านอิบนุ มะฆอซะลีย์ หน้า 19

๖๓

ในวันรุ่งขึ้นท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ก็ได้เรียกท่านอะลี(อ)มาหาและมอบธงรบให้ ท่านได้รับธงรบแล้วรีบรุดมุ่งหน้านำกองทัพออกไปสมรภูมิจนกระทั่งได้สังหาร มะระฮับ จอมทัพและพังประตูเมืองได้สำเร็จและได้สังหารพวกยะฮูดีเป็นจำนวนมาก ในที่สุดชัยชนะก็เป็นของกองทัพมุสลิม

ในสงครามอะห์ซาบ อะบูซุฟยานและเหล่าบรรดามุชริกีนกลุ่มต่างๆ ยกทัพมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำลายล้างท่านนบี(ศ) และบรรดามุสลิมปรากฏว่าท่านอะลี(อ)ได้สังหารหัวหน้ากลุ่ม นั่นคืออัมร บินอับดะวุดและเอาชนะกลุ่มต่างๆ ทั้งหมดจนล่าถอยไม่เป็นกระบวน ในการที่ท่านอะลี(อ)สังหารอัมร์คราวนี้เองที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า

 “มีค่าเท่ากับการเคารพภักดีของมนุษย์และญินรวมกัน”

ในสงครามหุนัยน์ซึ่งบรรดามุสลิมต้องแตกพ่ายทั้งหมดคงเหลือแต่พวกบะนีฮาชิมสิบเก้าคนเท่านั้น และท่านอะลี(อ)ก็ยืนหยัดในการทำหน้าที่ปกป้องท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) ให้รอดพ้นจากภัยอันตรายจนสามารถสังหารอะบูญะรูลได้สำเร็จ ในฐานะที่เขาเป็นผู้ถือธงของฝ่ายมุชริกีน

ฮุวาซันได้เตลิดหนีเพราะความกลัวในแสนยานุภาพของท่านอะลี(อ)และได้ประสบชัยชนะอย่างสมบูรณ์ บรรดามุสลิมก็เป็นฝ่ายได้เปรียบในสมรภูมิสงครามครั้งอื่นๆ ของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ก็เป็นอย่างนี้

ชาวมุฮาญิรีนเหล่านั้นได้นำธงรบออกไปเองเช่น ท่านอะบูบักร ท่านอุมัร อิบนุค็อฏฏ็อบ ศาสนาได้ถูกก่อตั้งขึ้นแล้วมันก็ดำรงอยู่ หากแม้นมิใช่เพราะการต่อสู้ของท่านที่ผ่านมาแล้วโครงสร้างแห่งศาสนาก็มิอาจดำรงอยู่ได้

๖๔

สำหรับในส่วนของเรื่องวิชาการ ท่านอะลี(อ)ได้กล่าวไว้เองว่า

 “ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ได้สอนวิชาการให้แก่ฉันมากถึงหนึ่งพันหมวดวิชา ในแต่ละหมวดวิชานั้น ท่านได้เปิดเผยให้อีกหมวดวิชาละหนึ่งพันแขนง” (18)

มีคนถามท่านอิบนุอับบาสว่า “ความรู้ของท่านกับความรู้ของบุตรแห่งลุงของท่านเปรียบกันได้แค่ไหน?” ท่านตอบว่า “เหมือนหยดหนึ่งของน้ำฝนกับทะเลอันกว้างใหญ่” (19)

ท่านได้กล่าวว่า “ถ้าหากได้นำแผ่นกระดาษมาซ้อนให้ฉัน เพื่อฉันจะได้อธิบายถึงความหมายของคำว่า “บิสมิลลาฮ์ฯ” แล้วไซร้จะมากเท่ากับจำนวนสัมภาระที่สำหรับอูฐตัวหนึ่งบรรทุก”

ท่านยังกล่าวอีกว่า “หากแม้นแผ่นกระดาษได้ถูกนำมากระจายให้แก่ฉัน เพื่อฉันจะตัดสินในเรื่องระหว่างพวกที่ถือคัมภีร์เตารอต กับคัมภีร์เตารอตของพวกเขา และระหว่างพวกที่ถือคัมภีร์อินญีล กับคัมภีร์อินญีลของพวกเขาและระหว่างพวกที่ถือคัมภีร์อัล-ฟุรกอน กับคัมภีร์อัล-ฟุรกอนของพวกเขา และไม่ว่าจะเป็นโองการใดในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ถูกประทานลงมาในเรื่องสำคัญ

--------------------------------------------------

(18). ฟะรออิด ซิมฏัยน์ เล่ม 1 หน้า 101

(19.) ซัรฮ์ นะฮ์ญุล-บะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 6

๖๕

ฉันจะต้องรู้เสมอว่า “มันถูกประทานลงมาเมื่อใด และถูกประทานลงมาในเรื่องของใคร”(20)

ท่านเคยกล่าวแก่บรรดาผู้นำกองทัพว่า “ท่านทั้งหลายจงถามฉันก่อนที่พวกท่านจะจากไป ขอสาบานต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) ว่า ไม่ว่าพวกท่านจะถามในเรื่องใดที่เกี่ยวข้องระหว่างพวกท่านกับยามอวสาน และไม่ว่าจะเป็นข้อทดสอบใดๆ ที่นำทางและที่ทำให้หลงผิด ฉันสามารถที่จะบอกเล่าให้พวกท่านทราบในตื้นลึกหนาบางของมันได้อย่างครบถ้วนแม้กระทั่งเรื่องที่ว่า ใครจะมีชัยชนะในสงคราม และใครจะต้องเสียชีวิต”(21)

ท่านซะอีด บินมุซีบได้กล่าวว่า “ไม่มีใครนอกจากอะลี อิบนิ อะบี

ฏอลิบที่กล้าพูดว่า จงถามฉัน”(22)

ท่านอะลี(อ)ยังเคยช่วยแก้ปัญหาที่สำคัญ ๆ ให้แก่บุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้นำก่อนหน้าท่าน เมื่อยามประสบปัญหา จนถึงกับว่าท่านอุมัรบินคอฏฏอบได้กล่าวว่า “ฉันขอความคุ้มครองให้พ้นจากการเกิดปัญหาที่ร้ายแรง ในขณะที่อะลี พ่อของฮะซันไม่อยู่ และถ้าหากไม่มีอะลีแล้วไซร้

แน่นอนอุมัรต้องประสบกับหายนะเป็นแน่แท้”(23)

-----------------------------------------------------------------

(20). อะอ์ยานุซซีอะฮ์ 3 กอฟ 1 / 106

(21.) ชัรฮ์ นะฮ์ญุล-บะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 183

(22). อะซะดุล-ฆอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 22 และ อะอิมมะตุล-อิบนาอะซัร ของอิบนิ ฏูลูล 51

(23). ตัซกิเราะตุลเคาะวาศ หน้า 87

๖๖

ท่านอุษมาน บินอัฟฟานได้กล่าวว่า “หากแม้นว่าไม่มีอะลี แน่นอนอุษมานต้องประสบกับ ความหายนะอย่างแน่แท้” (24)

ในส่วนของความปราดเปรื่องนั้น ปรากฏว่าท่านเป็นคนที่สอนคนให้มีความฉลาดปราดเปรื่องด้วยโวหารของท่านที่เต็มไปด้วยอรรถรสแห่งคัมภีร์

ท่านอับดุลฮะมีด บินยะฮ์ยา อัลกาติบ ได้กล่าวว่า “ฉันจดจำคำปราศรัยของท่านได้เจ็ดสิบเรื่อง ช่างมีความลึกซึ้งมากมายอะไรเช่นนั้น” (25)

มุอาวิยะฮ์ บินอะบีซุฟยาน ศัตรูของท่านอิมามอะลี(อ) และมีแผนการร้ายต่อท่านเสมอมาก็ยังกล่าวแก่มุหัฟฟิน บินอะบีมุหัฟฟิน เมื่อมุหัฟฟินกล่าวแก่เขาว่า “ฉันเพิ่งมาจากคนที่อ่อนแอ ไร้สมรรถภาพที่สุด”

 มุอาวิยะฮ์กล่าวตอบว่า “เขา (อะลี) จะเป็นคนที่อ่อนแอที่สุดได้อย่างไร ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ว่า ในบรรดาคนของตระกูลกุเรช ไม่มีใครอีกแล้วที่ปราดเปรื่องยิ่งไปกว่าเขา” (26)

--------------------------------------------------

(24). อัล-เฆาะดีร เล่ม 8 หน้า 214

(25.) ชัรฮ์ นะฮ์ญุล-บะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 8

(26). ชัรฮ์ นะฮ์ญุล-บะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 8

๖๗

หนังสือ “นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์” คือ หลักฐานชิ้นหนึ่งที่แสดงว่ามันเป็นโวหารที่สูงส่งเกินกว่าโวหารของมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งๆ ที่มิใช่เป็นถ้อยคำของผู้สร้าง บรรดานักปราชญ์ล้วนให้ความสำคัญในการเรียนรู้และจดจำอย่างทั่วหน้า

ท่านอัลลามะฮ์ อามินีย์ได้กล่าวเป็นหลักฐานว่า บทอรรถาธิบายมีมากมายถึงแปดสิบเล่ม(27)

ในส่วนของความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความมีเมตตาของท่านนั้นดังเป็นที่รู้กันว่า ท่านต้องเป็นคู่กรณีกับชาวเมืองบัศเราะฮ์ แต่ครั้นเมื่อท่านได้มีชัยชนะเด็ดขาดเหนือคนเหล่านั้น ท่านก็ออกคำสั่งให้สหายของท่านวางมือและคืนทรัพย์สินให้แก่คนเหล่านั้น และยังมีการป่าวประกาศอีกว่า

“ผู้ใดวางอาวุธ เขาจะปลอดภัย ผู้ใดเข้าไปในบ้านเขาก็จะปลอดภัย”

ความเมตตาของท่านแผ่คลุมถึงแม้กระทั่วกับบรรดาหัวหน้าของฝ่ายข้าศึกท่านเคยอภัยให้แก่ท่านหญิงอาอิชะฮ์ และส่งกองทัพของนางคืนกลับมะดีนะฮ์อย่างดีงาม ยิ่งท่านให้อภัยให้แม้แต่มัรวาน บินฮุกมะศัตรูของท่าน

ท่านอิบนุซุบัยร ได้เคยกล่าวคำปราศรัยท่ามกลางชาวบัศเราะฮว่า

“คนที่น่าตำหนิและอ่อนแอได้เดินทางมาหาพวกท่านแล้ว” แต่หลังจากที่เขาพ่ายแพ้ต่อท่านอิมามอะลี(อ) เขาถูกนำตัวมาพบท่าน(อ)

-------------------------------------------------

(27). อัล-เฆาะดีร เล่ม 4 หน้า 193

๖๘

อิมามอะลี(อ)กลับกล่าวแก่เขาว่า “จงไปเถอะข้าไม่อยากเห็นหน้าเจ้า” (แสดงถึงการให้อภัยของท่านไม่เอาความต่ออิบนุซุบัยร์)

เช่นเดียวกันที่ท่านได้ให้อภัยแก่ซะอีด บินอาศเมื่อตอนที่ท่านจับตัวเขาได้ที่มักกะฮ์

นี่คือส่วนเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับคุณงามความดีของท่านอะลี(อ) ทั้งๆ ที่เกียรติคุณของท่านมีมากมายหลายสุดคณานับ และเราก็ได้ทราบเกี่ยวกับคำพูดของท่านอิบนุอับบาส มาแล้วที่ว่า

“ถ้าหากต้นไม้จะเป็นปากกาทะเลเป็นน้ำหมึก มนุษย์และญินจะเป็นสมุดบันทึกและบัญชีก็ไม่อาจพรรณนาคุณงามความดีของท่านอะมีรุลมุมีนีนให้จบสิ้นได้”

ในทัศนะของอัล-กุรอาน

เรื่องของท่านอะลี(อ) ที่ถูกประทานลงไว้ในอัล-กุรอานมีมากมายอย่างชนิดที่ไม่มีเรื่องของใครเทียบได้ คำยืนยันในเรื่องนี้มีปรากฏหลักฐานอยู่ในตำราตัฟซีร และหนังสือที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์หลายเล่มที่รวบรวมรายละเอียดของโองการที่กล่าวถึงท่านอะลี(อ)

ท่านอับดุลลอฮ์ บินอับบาสได้กล่าวว่า

 “ในเรื่องของอะลีมีโองการที่ถูกประทานมาถึงสามร้อยโองการ” (1)

----------------------------------------------

(1) อัล-ฟุตูหาต อัล-อิสลามียะฮ์ เล่ม 2 หน้า 516

๖๙

ท่านกล่าวอีกว่า “แน่นอนที่สุดสำหรับบรรดาสาวกทั้งหลายของมุฮัมมัด (ศ) นั้น อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงมีการกล่าวตำหนิไว้ในอัล-กุรอานไม่ที่ใดก็ที่หนึ่ง แต่จะไม่ทรงกล่าวถึงอะลีในลักษณะอื่นใด นอกจากยกย่องเท่านั้น” (2)

ท่านกล่าวอีกว่า “โองการใดก็ตามที่เริ่มต้นว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย……” ล้วนแต่หมายความว่า อะลี คือผู้นำอยู่ในโองการนั้นๆ และเป็นต้นแบบอยู่ในโองการนั้น ๆ” (3)

ฉันได้รับฟังมาเป็นจำนวนที่มากครั้งเหลือเกินกับเรื่องของคนๆ หนึ่งที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)กล่าวถึงเขาว่า

“อะลีอยู่กับอัล-กุรอานและอัล-กุรอานอยู่กับอะลี ทั้งคู่จะไม่พรากจาก

กันจนกว่าจะไปถึงฉัน ณ อัลเฮาฏ์แห่งสวรรค์”(4)

มีนักปราชญ์ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นหลังจำนวนหนึ่งรวบรวมโองการต่างๆ ที่ถูกประทานลงมาในเรื่องราวของบุคคลกลุ่มที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงประทานสิริมงคลให้แก่พวกเขา ดังที่เราจะกล่าวถึงชื่อของนักปราชญ์เหล่านั้นบางส่วน

---------------------------------------------

(2) ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮ์ หน้า 126

(3) กัชฟุล-ฆ็อมมะฮ์ หน้า 93

(4) อัล-ฟุตูหาตุล-อิสลามียะฮ์ เล่ม 2 หน้า 517 กัชฟุล-ฆ็อมมะฮ์ หน้า 120

๗๐

1. ท่านอิบรอฮีม บินมุฮัมมัด บินสะอีด บินฮิลาล บินซะฮัด บินมัสอูด อัษ-ษักฟี กล่าวว่า

“ส่วนหนึ่งของอัล-กุรอานคือ โองการต่างๆ ที่ถูกประทานลงมาในเรื่องของท่านอะมีรุลมีมีนีน(อ)” (5)

2. ท่านอะห์หมัด บินฮะซัน อัล-อัซฟะรอยินี อะบุลอับบาส ได้กล่าวถึงโองการต่าง ๆ ที่ถูกประทานลงมาในเรื่องของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ) ไว้ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า “อัล-มะศอบีห์”นับเป็นหนังสือที่มีคุณค่ายิ่งเล่มหนึ่ง (6)

3. ท่านฮาฟิซ อะบูนะอีม อะหมัด บินอับดุลลอฮ์ อัลอิศฟะฮานีย์ บันทึกเกี่ยวกับโองการต่าง ๆ ที่ถูกประทานมาในเรื่องของท่านอะลี(อ)(7)

4. ท่านอะหมัด บินมุฮัมมัด บินสะอีด อิบนุอุกดะฮ์ ก็ได้อธิบายไว้ในตอนที่กล่าวถึงโองการที่ว่า “อันแท้จริง ฉันเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น” (8)

5. ท่านฮะซัน บินอะหมัด บินกอซิม บินมุฮัมมัด บินอะลี บินอะบีฏอลิบ บันทึกในหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า “คุณสมบัติเฉพาะของท่านอะมีรุลมุมีนีน (อ) จากอัล-กุรอาน” (9)

---------------------------------------------------------------

(5) อัล-ฟะฮรอซต หน้า 27

(6) อัร-ริญาล ลิล-นะญาชีย หน้า 68 และมะอาลิมุล อุละมาอ์ หน้า 15

(7) มะอาลิมุล อุละมาอ์ หน้า 25

(8) มะอาลิมุล อุละมาอ์ หน้า 17

(9) อัร-ริญาล หน้า 49

๗๑

6. ท่านฮุเซน บินกอซิม บินมุฮัมมัด บินอัยยูบ บินชัมอูน อะบูอับดุลลอฮ์ อัล-กาติบ บันทึกในหนังสือชื่อ “นามทั้งหลายของท่านอะมีรุลมุมีนิน (อ) ในอัล-กุรอาน” (10)

7. ท่านอัส-ฮัยร์(11) บันทึกเป็นหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับโองการต่าง ๆ ของอัล-กุรอานที่ถูกประทานในเรื่องของอะฮ์ลุลบัยต์(อ)(12)

8. ท่านศอดิก มะห์ดี อัล-ฮุซัยนี บันทึกหนังสือชื่อ “อะฮ์ลุลบัยต์ตามที่ปรากฏในอัล-กุรอาน” (13)

--------------------------------------------------

 (10) อัร-ริญาล หน้า 49

(11) ในหนังสืออัล-กะนีวัล-อัลกอบ เล่ม 2 หน้า 199 มีชื่อเต็มว่า อะบูอับดุลลอฮ์ บินอิสมาอีลบินอะหมัด นัยซาบูร ท่านคอตีบได้อธิบายลงใน

 ตารีคอัล-บัคดาด

(12) มะอาลิมุล อุละมาอ์ หน้า 144

(13) หน้า 406 ตีพิมพ์โดย “มัรกัซ อิลมี” กรุงเบรุต 1979

9. อีกเล่มหนึ่งชื่อ “อะลีตามที่ปรากฏในอัล-กุรอาน” (14)

10. หนังสือของท่านผู้นี้อีกเช่นกัน ชื่อ “อัล-มะห์ดี ตามที่มีปรากฏในอัล-กุรอาน” (15)

11. ท่านอับดุลอะซีซ บินยะฮ์ยา บินอะหมัด บินอีซา อัล-ญะลูดี สหายคนหนึ่งของท่าน อะบีญะอ์ฟัร(อ) มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ

 “โองการที่ถูกประทานลงมาในเรื่องของบุคคลทั้งห้า” (16)

12. ท่านผู้นี้ยังมีหนังสืออีกเล่มหนึ่งชื่อ “โองการจากอัล-กุรอานที่ถูกประทานมาในเรื่องของท่านอะมีรุลมุมีนีน (อ)” (17)

๗๒

13. ท่านฮากิม อะบูอับดุลลอฮ์ อุบัยดิลลาฮ์ บินอับดุลลอฮ์ อัล-หัซกานี มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่งชื่อ

 “หลักฐานที่ถูกประทานมาเกี่ยวกับรากฐานของการให้เกียรติ” (18)

14. หนังสือของท่านอีกเล่มหนึ่งชื่อ “คุณสมบัติของท่านอะลี บิน อะบีฏอลิบ ในอัล-กุรอาน” (19)

15. ท่านอะบูอัล-ฟะร็อจ อะลี บินฮุเซน อัล-อิสฟะฮานก็มีหนังสือเล่มหนึ่งคือ “โองการในอัล-กุรอานที่ถูกประทานในเรื่องของอะลี อะมีรุลมุมีนีน (อ)” (20)

16. ท่านอะลี ร็อสตุม บันทึกหนังสือชื่อ “โองการต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องคุณงามความดี” (21)

----------------------------------------------------------------

(14) จากสำนักพิมพ์ ดารุศ ศอดิก เบรุต ปี 1379 เล่มที่ 1 หน้า 404 เล่มที่ 2 หน้า 527

(15) จากสำนักพิมพ์ ดารุศ ศอดิก เบรุต ปี 1978 หน้า 262

(16) อัล-ริญาล หน้า 168 มะอาลิมุล อุละมาอ์ หน้า 80 อัซซะรีอะฮ์ เล่มที่ 19 หน้าที่ 19

(17) อัล-ริญาล หน้า 168

(18) มะอาลิมุลอุละมาอ์ หน้า 78

(19) มะอาลิมุล-อุละมาอ์ หน้า 78

(20) อัล-ฟะฮร็ซ ของอิบนุ นะดีม 224 และอัซ-ซะรีอะฮ เล่ม 19 หน้า 28

(21) ฉบับตีพิมพ์ในอิหร่าน

๗๓

17. ท่านอะลี มุฮัมมัด อะลี ตุคัยล์ ได้บันทึกเรื่อง “อะลีในทัศนะของอัล-กุรอาน” (22)

18. ท่านมุฮัมมัด บินอะหมัด บินอับดุลลอฮ์ บินอิสมาอีล มีหนังสือชื่อ “ข้อความในอัล-กุรอานที่ถูกประทานมาเกี่ยวกับเรื่องของอะลี (อ)” (23)

19. หนังสือของท่านอีกเล่มหนึ่งคือ “ชื่อต่าง ๆ ของท่านอะมีรุล-มุมีนีน (อ) ในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.)” (24)

20. ท่านมุฮัมมัด บินเอาเราะมะฮ์ อัล-กุมมี มีหนังสือชื่อ “ข้อความจากอัล-กุรอานที่ถูกประทานมาในเรื่องของอะมีรุลมุมีนีน (อ)” (25)

21. ท่านมุฮัมมัด บินอับบาส บินอะลี บินมัรวาน มีหนังสือชื่อ “ข้อความจากอัล-กุรอานที่ถูกประทานลงมาในเรื่องของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ)” (26)

22. ท่านอะบูอับดุลลอฮ์ มุฮัมมัด บินอิมรอน มุร ชะบานี มีหนังสือชื่อ “ข้อความในอัล-กุรอานที่ถูกประทานมาเกี่ยวกับ อะลี อิบนิ อะบีฏอลิบ” (27)

23. ท่านมุฮัมมัด บินมุฮัมมัด บินนุอมาน หรือ ชัยค์ มุฟิด มีหนังสือชื่อ “ความเป็นผู้นำของอะมีรุลมุมีนีน (อ) ที่มีในอัล-กุรอาน” (28)

--------------------------------------------------------

(22) จัดพิมพ์โดยดารุส-มุรตะฎอ เบรุต 1980

(23) อัร-ริญาล หน้า 270 และอัล-ฟะฮร็อซ หน้า 179

(24) อัลฟะฮร็อซ หน้า 179

(25) อัร-ริญาล หน้า 232

(26) อัร-ริญาล หน้า 268 และอัล-ฟะฮร็อซ หน้า 177

(27) มะอาลิมุล-อุละมาอ์ หน้า 118

(28) อัร-ริญาล หน้า 284

๗๔

24. ท่านมุฮัมมัด บินมุมิน อัช-ชีรอซี มีหนังสือเล่มหนึ่งคือ “โองการของอัล-กุรอานที่ถูกประทานมาในเรื่องของท่านอะมีรุลมุมีนีน (อ)”(29)

25. ท่านฮารูน บินอุมัร บินอับดุลอะซีซ อัล-มะญาชะอี มีหนังสือชื่อ “โองการในอัล-กุรอาน เกี่ยวกับท่านอะมีรุลมุมีนีน (อ)”(30)

26. ท่านยะฮ์ยา บินอะลี บินฮะซัน บินมุฮัมมัด บินอัลบัฎรีก มีหนังสือชื่อ “คุณสมบัติที่ดีเด่นของท่านอะมีรุลมุมีนีน (อ) ในอัล-วะห์ยู”(31)

27. ท่านซัยยิดได้อ้างไว้ในหนังสือ “ซะอัด ซุอูด” หน้า 111 เกี่ยวกับหนังสือ เรื่องข้อความที่ถูกประทานมาในอัล-กุรอานเกี่ยวกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) และอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) ของท่าน แต่มิได้กล่าวนามของผู้เรียบเรียง (32)

---------------------------------------------------

(29) มะอาลิมุล อุละมาอ์ หน้า 118

(30) อัรริญาล หน้า 308

(31)อัซ-ซะรีอะฮ์ เล่ม 7 หน้า 175

(32) โปรดดูหนังสือของเราที่ชื่อว่า “อะลีในอัล-กุรอาน” ซึ่งในนั้นมีการตีพิมพ์โองการที่ถูกประทานมาในเรื่องของท่านถึง 50 โองการ

๗๕

ในบทนี้เราจะขอสรุปเพียงห้าโองการที่ถูกประทานมาในเรื่องของท่านอะลี อะมีรุลมุมีนีน(อ)

1. โองการของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ที่ว่า

“บรรดาผู้ที่บริจาคทรัพย์สินของตน ในยามกลางคืนและกลางวันโดยลับและเปิดเผยนั้น สำหรับพวกเขาคือรางวัลของพวกเขา ณ พระผู้อภิบาลของพวกเขา ความหวาดกลัวใด ๆ จะไม่มีแก่พวกเขา และ พวกเขาจะไม่ระทมทุกข์” (ซูเราะฮ์ อัล-บะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 274)

ท่านวาฮิดี ได้อ้างโองการนี้ไว้ในหนังสือตัฟซีรของท่าน โดยมีสายสืบอ้างถึงท่านอิบนุ อับบาส (ร.ฏ.)ที่ท่านกล่าวว่า

 “อะลี บินอะบีฏอลิบ มีทรัพย์สินเพียงสี่ดิรฮัมเท่านั้น แต่เขาบริจาคไปในยามค่ำคืนหนึ่งดิรฮัม บริจาคในยามกลางวันอีกหนึ่งดิรฮัม บริจาคในที่ลับอีกหนึ่งดิรฮัม และบริจาคในที่เปิดเผยหนึ่งดิรฮัม อัลลอฮ์(ซ.บ.)จึงประทานโองการนี้ลงมา “บรรดาผู้ที่บริจาคทรัพย์สินของตนในยามกลางคืน

และในยามกลางวัน โดยลับและโดยเปิดเผยนั้น สำหรับพวกเขาคือรางวัลของพวกเขา ณ พระผู้อภิบาลของพวกเขา ความหวาดกลัวใด ๆ จะไม่มีแก่พวกเขาและพวกเขาจะไม่ระทมทุกข์”

รายงานจากท่านเมาฟิก บินอะหมัด และฮะมูวัยนี และซะละบีย์ และมาลิกี และอะบีนะอีมอัล-ฮาฟิซโดยที่คนเหล่านั้นได้มีสายสืบที่รายงานมาจาก มุญาฮิด ที่ได้จากท่าน อิบนุอับบาสที่ว่า

“ที่อะลี อิบนุอะบีฏอลิบมีเพียงสี่ดิรฮัมเท่านั้น แล้วเขาได้บริจาคในยามกลางคืนหนึ่งดิรฮัม ในยามกลางวันหนึ่งดิรฮัม ในยามลับหนึ่งดิรฮัมและในยามเปิดเผยหนึ่งดิรฮัม

๗๖

แล้วโองการนี้ก็ถูกประทานลงมาว่า “บรรดาผู้ที่บริจาคทรัพย์สินของตน ในยามกลางคืนและในยามกลางวัน โดยลับและโดยเปิดเผย สำหรับพวกเขาคือรางวัลของพวกเขา ณ พระผู้อภิบาลของพวกเขา ความหวาดกลัวใดๆ จะไม่มีแก่พวกเขา และพวกเขาจะไม่ระทมทุกข์”

2. โองการที่ว่า

“อันที่จริงแล้วผู้ปกครองของสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮ์(ซ.บ.) และ ศาสนทูตของพระองค์(ศ)และบรรดาผู้ศรัทธาที่เขาเหล่านั้นดำรงการนมาซและส่งมอบ(ทรัพย์สิน)ซะกาตในขณะที่พวกเขาโค้ง”

(ซูเราะฮ์อัล-มาอิดะฮ์ โองการที่ 55)

ท่านซุยูฏี ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ อัดดุรรุล-มันษูร ว่า

ท่านคอฏีบได้รายงานไว้ในหนังสือมุตตาฟัก จากคำบอกเล่าของ

ท่านอิบนุอับบาสว่า “ท่านอะลีได้บริจาคแหวนของท่านไปในขณะที่ท่านกำลังโค้ง (ในพิธีนมาซ) โดยท่านนบี (ศ) ได้กล่าวแก่ชายผู้ขอคนนั้นว่า

“ใครให้แหวนวงนี้แก่ท่านเล่า ?”

เขากล่าวว่า “ชายผู้ที่กำลังโค้งอยู่นั่นไง”

แล้วอัลลอฮ์(ซ.บ.) ก็ประทานโองการนี้ลงมาท่านอับดุล-ร็อซซาก

ท่านอับดุ บินฮะมีด ท่านอิบนุ ญะรีร ท่านอะบูชัยค์ ท่านอิบนุมัรดุวียะฮ์ ได้รายงานคำบอกเล่ามาจากท่านอิบนุอับบาส เกี่ยวกับโองการนี้

 อันที่จริงแล้ว ผู้ปกครองของสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮ์(ซ.บ.)

และศาสนทูตของพระองค์(ศ))ว่า ได้ถูกประทานลงมาในเรื่องของท่านอะลี อิบนิ อะบีฏอลิบ(อ)

๗๗

ท่านฏ็อบรอนี ได้รายงานไว้ใน “อัล-เอาซัฏ” และท่านอิบนุมัรดุวียะฮ์ได้รายงานคำบอกเล่าจากท่านอัมมาร์ บินยาซิรว่า “มีผู้ขอรับบริจาคคนหนึ่งยืนใกล้ท่านอะลีในขณะที่ท่านกำลังโค้ง (ในพิธีนมาซ) แล้วท่านก็ถอดแหวนออก จากนั้นก็ได้มอบมันไปให้แก่คนขอรับบริจาคผู้นั้น ต่อมา

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ได้เดินทางมาถึงเขาแล้วเขาก็บอกเรื่องนี้ให้ท่านรู้ แล้วโองการนี้ก็ถูกประทานลงมายังท่านนบี(ศ)ที่ว่า

 “อันแท้จริงแล้วผู้ปกครองของสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และท่านศาสนทูตของพระองค์ (ศ) เท่านั้น”

เมื่อท่านศาสนทูตอ่านโองการนี้ ให้บรรดาสาวกทั้งหลายของท่านฟังแล้ว ท่านก็กล่าวว่า

“ฉันเป็นผู้ปกครองของใคร อะลีก็เป็นผู้ปกครองของคนนั้นด้วย”

ท่าน อิบนุมัรดุวียะฮ์ ได้รับคำบอกเล่าจากท่านอะลี อิบนุอะบีฏอลิบว่า โองการนี้ถูกประทานให้แก่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ที่บ้าน เมื่อท่านออกจากบ้านแล้วก็เข้ามัสยิด ขณะนั้นประชาชนกำลังนมาซกันอยู่ บ้างก็โค้ง บ้างก็สุญูด และบ้างก็กำลังยืนนมาซ ในขณะนั้นมีผู้ขอบริจาคอยู่คนหนึ่ง ท่านจึงกล่าวว่า

“โอ้ชายผู้ขอรับบริจาค มีใครให้อะไรแก่ท่านสักอย่างแล้วหรือยัง ?”

เขาตอบว่า “ยังเลย นอกจากท่านอะลีที่กำลังโค้งอยู่นั่นแหละที่มอบแหวนวงนี้ให้แก่ฉัน”

๗๘

ท่านอิบนุอะบีฮาติม และท่านอิบนุอะซากิร ได้รับคำบอกเล่าจากท่าน

 ซะลิมะฮ์ บินกะฮีลว่า ท่านอะลี(อ) ได้บริจาคแหวนของท่าน ในขณะที่ท่านกำลังโค้ง แล้วโองการนี้ก็ถูกประทานลงมาความว่า

 “อันที่จริงแล้วผู้ปกครองของสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และท่านศาสนทูตของพระองค์ (ศ)….”

ท่านฏ็อบรอนี ท่านอิบนุ มัรดุวียะฮ์ และท่านอะบูนะอีม ได้รับคำบอกเล่าจากท่าน อะบีรอฟิอ์ ว่า “ข้าพเจ้าได้เข้าพบท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ในขณะที่ท่านกำลังยืนรับวะห์ยูอยู่ สักครู่หนึ่งท่านจึงอ่านโองการออกมาว่า “อันที่จริงแล้วผู้ปกครองของสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และท่านศาสนทูตของพระองค์”

มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ผู้ทรงประทานความโปรด

ปรานอันบริบูรณ์แก่อะลี(อ)และโปรดประทานความดีงามให้แก่อะลีโดยเฉพาะ”

ท่าน อิบนุมัรดุวียะฮ์ รับคำบอกเล่าจาก ท่านอิบนุอับบาส อีกตอนหนึ่งว่า “ในขณะที่ท่านอะลี บิน อะบีฏอลิบกำลังยืนนมาซอยู่นั้น ผู้ขอรับบริจาคคนหนึ่งได้เข้ามาหา ซึ่งท่านกำลังโค้งอยู่ แล้วท่านก็ได้มอบแหวนของท่านให้ชายผู้นั้นไป”

แล้วโองการนี้ก็ถูกประทานลงมา ฉะนั้นคำว่า “ผู้ศรัทธา” ในโองการนี้ “อะลีจึงเป็นคนแรกของพวกเขา”

๗๙

ในหนังสือ “อัด-ดุรรุลมันษูร” และ “อัล-กัซซาฟ” อธิบายว่า

“วะฮุมรอกิอูน” ในที่นี้ “อักษรวาว” หมายถึง “สภาพการณ์ (ฮาล) นั้นๆ” คือเขากระทำการนั้น ในขณะที่เขากำลังอยู่ในสภาพโค้ง

นั่นก็คือ ขณะที่มีการนอบน้อมต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) เมื่อเวลานมาซและเมื่อเวลาบริจาคมีการกล่าวกันว่า นั่นคือสภาพการณ์ของผู้ที่กำลังบริจาคซะกาต หมายความว่าเขาบริจาคซะกาตในขณะที่กำลังโค้งเมื่อตอนนมาซ และนี่คือโองการที่ถูกประทานมาในเรื่องของท่านอะลี บิน อะบีฏอลิบ (อ) โดยคนขอรับบริจาค มาขอในขณะที่ท่านโค้งนมาซ แล้วท่านก็ส่งมอบแหวนของท่านให้แก่เขาไป”

ท่านกล่าวอีกว่า “ถ้าหากท่านจะกล่าวว่า จะถูกต้องได้อย่างไร ที่โองการนี้จะหมายถึง ท่านอะลีในขณะที่ถ้อยคำในโองการระบุถึงคนหมู่มาก”

ขอตอบว่า “ถึงแม้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับคน ๆ เดียวแต่สามารถใช้ถ้อยคำสำหรับคนส่วนมากได้ ในกรณีที่เรียกร้องความสนใจของคนทั้งหลายให้มีต่อเรื่องราวนั้นๆ”

3. โองการที่ว่า

“สูเจ้าถือหรือว่าให้ผู้ทำหน้าที่จัดน้ำดื่มแก่ผู้บำเพ็ญฮัจญ์ กับผู้ที่ทำนุบำรุงมัสยิดอัล-ฮะรอมมีความเสมอเหมือนกับผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และ

วันปรโลก และได้ต่อสู้เสียสละในวิถีทางของอัลลอฮ์ ไม่เสมอเหมือนกันดอกในทัศนะของอัลลอฮ์ และอัลลอฮ์ไม่ทรงชี้นำกลุ่มชนผู้อธรรม”

(ซูเราะฮ์ อัตเตาบะฮ์ โองการที่ 19)

๘๐