ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน0%

ชีวประวัติอิมามฮะซัน ผู้เขียน:
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 134

ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
ผู้แปล: อัยยูบ ยอมใหญ่
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 134
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 61847
ดาวน์โหลด: 4994

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามฮะซัน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 134 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 61847 / ดาวน์โหลด: 4994
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ชีวประวัติอิมามฮะซัน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

5. ท่านอะสามะฮฺ บินซัยดฺ กล่าวว่า : คืนวันหนึ่งฉันมีความจำเป็นต้องเข้าพบท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ปรากฏว่าท่านกำลังมีกิจธุระสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง แต่ฉันไม่ทราบว่ามันคืออะไร ครั้นเมื่อฉันเสร็จจากกิจธุระที่จำเป็นของฉันแล้ว ฉันก็กล่าวว่า

“ ท่านกำลังยุ่งอยู่กับกิจการที่สำคัญอันใดหรือ ?”

ซึ่งขณะนั้นทั้งท่านฮะซันและท่านฮุเซนก็ติดอยู่ที่สะเอวของท่านทั้งสองข้าง ท่านกล่าวว่า

“ ก็ลูกชายทั้งสองคนของฉัน และของลูกสาวของฉันนี่ไงล่ะ ข้าแต่อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์ทรงรู้ว่า ข้ารักเขาทั้งสอง ”

( ท่านกล่าวอย่างนี้ถึงสามครั้ง)(5)

6. ท่านฮะมูวัยนี ได้รายงานตามคำบอกเล่าจากสายสืบของเขาที่ได้รับคำบอกเล่ามาจากท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ว่า : แท้จริงท่านศาสดา(ศ)ได้จับมือของท่านฮะซันและท่านฮุเซน(ขอให้อัลลอฮฺทรงมีความปิติชื่นชมต่อท่านทั้งสอง) แล้วกล่าวว่า

“ ผู้ใดรักฉัน และรักคนทั้งสองนี้ และรักบิดาของคนทั้งสองนี้ และรักมารดาของคนทั้งสองนี้ เขาจะอยู่ร่วมกับฉันในวันฟื้นคืนชีพในระดับที่เป็นฐานะของฉัน ” ( 6)

------------------------------------------------------

(5 ) มะนากิบ อะมีรุลมุมินีน ( อ ) โดยอิบนุ อัล - มะฆอซะลี หน้า 374

(6 ) ฟะรออิดุซ - ซัมฏีน เล่ม 2 หน้า 36

๒๑

บัญญัติเกี่ยวกับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของท่านอิมามฮะซัน(อ)

ในบทนำก่อนเริ่มต้นชีวประวัติของท่านอะมีรุลมุมินีน(อ) นั้น เราได้เสนอประมวลบัญญัติของท่านศาสนทูตผู้ยิ่งใหญ่(ศ)(1) ที่ให้ไว้กับบรรดา

อิมามทั้ง 12 ท่าน(อ) ซึ่งในตอนนั้นเราได้กล่าวถึงฮะดีษไปทั้งสิ้น 44

ฮะดีษ

(1)ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่า ประชาชาติอิสลามทั้งหลายไม่อาจอ้างได้เลยว่า

มีบัญญัติมาในเรื่องตำแหน่งของค่อลีฟะฮฺของบุคคลต่างๆ ภายหลังจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) จวบจนถึงบรรดาค่อลีฟะฮฺในราชวงศ์

อับบาซียะฮฺ แต่ในขณะเดียวกันนั้น ท่านก็สามารถพบเห็นประมวลบัญญัติว่าด้วยตำแหน่งอิมามแก่บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ได้ และนี่คือส่วนหนึ่งจากข้อแม้อีกมากมายของพวกเขา

ในขณะเดียวกันบรรดาฮะดีษดังกล่าวเหล่านั้นก็มีบัญญัติเกี่ยวกับท่าน

อิมามฮะซัน(อ)และอิมามฮุเซน(อ) โดยเฉพาะอีกด้วย เช่น ฮะดีษของท่าน

ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่กล่าวว่า

“ บุตรชายสองคนของฉันนี้เป็นอิมามอยู่เสมอไม่ว่าในยามยืน หรือยามนั่ง ” ( 2)

นอกจากว่าจะมีบัญญัติจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งเป็นอิมามของบรรดาอิมามเหล่านี้(อ) แล้ว

ท่านอิมามแต่ละท่านก็ได้บัญญัติแต่งตั้งอิมามท่านต่อๆ มาอีกด้วย

-----------------------------------------------------------

(2 ) อัล - อิรชาด หน้า 204

๒๒

ในบทนี้ จะกล่าวถึงประมวลบัญญัติจากท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ที่มีต่อตำแหน่งของท่านอิมามฮะซัน(อ) บางตอนคือ

1. รายงานจากท่านซะลีม บินก็อยซ์ว่า :

ข้าขอยืนยันว่า ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ได้สั่งเสียแก่ท่านฮะซัน(อ)ผู้เป็นบุตร และข้าขอยืนยันต่อคำสั่งเสียของท่านที่มีแก่ท่านฮุเซน(อ) และท่าน

มุฮัมมัด ฮะนีฟียะฮฺ และลูก ๆ ของท่านทั้งหมด และบรรดาผู้นำของบรรดา

ผู้ปฏิบัติตามและอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน ต่อจากนั้นท่านได้มอบคัมภีร์และดาบแก่ท่านฮะซัน(อ) แล้วกล่าวว่า

“ โอ้ลูกรัก ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้มีบัญชาให้ข้าสั่งเสียไว้กับเจ้า และให้ข้ามอบคัมภีร์ของข้าและดาบของข้าให้แก่เจ้า เหมือนเมื่อตอนที่ท่านได้สั่งเสียแก่ข้า และมอบคัมภีร์และดาบของท่านให้แก่ข้าและได้สั่งข้าว่าให้สั่งเจ้าไว้ว่า ในยามที่ความตายจะมาถึงเจ้า เจ้าก็ต้องมอบมันให้แก่น้องชายของเจ้า นั่นคือฮุเซน ”

ต่อจากนั้นท่านก็ได้หันไปยังอิมามฮุเซน(อ) ผู้เป็นบุตรของท่านแล้วกล่าวว่า

“ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้บัญชาให้เจ้ามอบมันต่อไปยังบุตรของเจ้าคนนี้ ”

ต่อจากนั้นท่านก็ได้จับมือของท่านอะลี บินฮุเซน(อ) แล้วกล่าวว่า

“ และท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้สั่งเจ้าว่า ให้มอบมันต่อไปยังมุฮัมมัด บินอะลี บุตรของเจ้า แล้วจงนำสลามจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)และจากฉันฝากไปถึงเขาด้วย ” ( 3)

---------------------------------------------------------

(3 ) บินฮารุล - อันวารฺ เล่ม 10 หน้า 89

๒๓

2. ท่านอัศบัฆฮฺ บินนะบาตะฮฺ ได้กล่าวว่า :

แท้จริงเมื่อครั้งที่ท่านอิมามอะลี(อ)ถูกอิบนุมุลญิม(ชายถูกสาปแช่ง)ฟันจนได้รับบาดเจ็บสาหัสนั้น ท่านได้เรียกหาท่านอิมามฮะซัน(อ) และท่าน

อิมามฮุเซน(อ) ให้เข้าไปหา แล้วกล่าวว่า

“ แท้จริงพ่อจะต้องเสียชีวิตในคืนนี้จึงขอให้เจ้าทั้งสองฟังพ่อไว้ให้ดี เจ้านั้น ฮะซันเอ๋ย ต้องเป็นทายาทของพ่อ (4) และเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ภายหลังจากพ่อ ส่วนเจ้านั้น โอ้ ฮุเซน เจ้าต้องเป็นผู้ร่วมงานกับเขาในหน้าที่ทายาท จงเงียบเสียงและจงทำตามคำสั่งของเขาตราบเท่าที่เขายังอยู่ ครั้นเมื่อเขาอำลาจากโลกนี้ไปแล้ว เจ้าคือผู้พูดถัดจากเขาและเป็นผู้ดำรงตำแหน่งต่อจากเขา ”

( 4) ข้อบัญญัติเกี่ยวกับตำแหน่งตามที่บรรดานักปราชญ์ระบุไว้ อย่างเป็นเอกฉันท์นั้น มีอยู่ว่า

ท่านอิบนุอับบาสได้ยืน ณ เบื้องหน้า ของท่านฮะซัน(อ)แล้วกล่าวว่า “ ท่านทั้งหลาย นี่คือบุตรแห่งศาสดาของพวกท่าน และเป็นทายาทแห่งอิมามของพวกท่าน ขอให้เชื่อถือ ตามเขา พวกเขากล่าวว่า

เขาเป็นที่รักของเรา และเขาทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จำเป็น แก่เราที่จะต้องรักเขา แล้วคนทั้งหลายก็เข้าทำการให้สัตยาบันต่อท่าน ดู อัล-อิรชาด หน้า 192

แล้วท่านก็เขียนพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรส่งเวียนไปยังสมาคมทั้งหลายของนักปราชญ์(5)

ท่านอิบนุ อะบิลฮะดีด ได้กล่าวว่า : ท่านอิมามอะลี(อ)ได้มอบหมายตำแหน่งคอลีฟะฮฺให้แก่ท่านอิมามฮะซัน(อ) ในตอนที่ท่านจวนจะถึงแก่ชีวิต(6)

-----------------------------------------------------

(5 ) อิษบาตุล - ฮุดาฮ์ เล่ม 5 หน้า 140

(6 ) ชัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เล่ม 1 หน้า 57

๒๔

อิมามฮะซัน(อ) กับการเคารพภักดี(อิบาดะฮฺ)

ถ้าจะกล่าวถึงบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ที่ได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจสู่การเคารพภักดีอยู่เป็นเนืองนิตย์ และการท่องบ่นคำวิงวอนภาวนาอันมากมาย ความมีเกียรติคุณและความดีงามเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

มีจริยธรรมอันประเสริฐสูงสุดแล้ว คนเหล่านี้(อ)คือศูนย์แห่งความดีงามเป็นจุดสุดยอดสำหรับเกียรติคุณ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้มอบมรดกทางด้านจริยธรรมอันสูงส่งให้แก่เขาเหล่านั้น และท่านได้ปลูกฝังคนเหล่านั้นให้อยู่กับแบบแผนชีวิตและครรลองชีวิตของท่าน พวกเขาจึงมีโอกาสรับเอามาซึ่งจริยธรรมอันสุดประเสริฐ และความมีบุคลิกภาพอันทรง

เกียรติ

เรื่องราวในภาคนี้จะว่าด้วย การเคารพภักดีของท่านอิมามฮะซัน(อ) ซึ่งไม่สามารถที่จะบรรยายให้ถึงที่สุดของความเหมาะสมได้ ทั้งในแง่ของความเหน็ดเหนื่อย ความบากบั่น พากเพียรความนบนอบและความอ่อนน้อมดังที่เราจะกล่าวถึงเพียงบางส่วนจากเรื่องนี้

1. ท่านอิมามศอดิก(อ) ได้กล่าวว่า : บิดาของฉันได้รับคำบอกเล่ามาจากบิดาของท่าน(อ)ว่า :

แท้จริง ท่านฮะซัน บุตรของอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) นั้น เป็นคนที่ทำการเคารพภักดีมากที่สุดสำหรับคนในสมัยของท่าน อีกทั้งเป็นคนที่สมถะที่สุด และมีความดีเด่นที่สุดในหมู่พวกเขา

๒๕

เมื่อถึงเวลาไปบำเพ็ญฮัจญ์ ท่านจะเดินทางไปทำพิธีฮัจญ์ด้วยการเดินเท้า ถึงแม้ว่าบางทีท่านจะต้องเดินแบกของด้วยก็ตาม เมื่อท่านรำลึกถึงความตาย ท่านก็ร้องไห้ และเมื่อนึกถึงสุสานก็ร้องไห้ เมื่อนึกถึงการบังเกิดใหม่และการฟื้นคืนชีพก็ร้องไห้ เมื่อนึกถึงตอนเดินผ่านสะพานศิรอฎก็ร้องไห้

เมื่อนึกถึงการปรากฏตัวต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านก็นึกถึงมันด้วยอาการหวาดกลัวตัวสั่นเสมอในเรื่องนั้นและในยามที่ท่านดำรงการนมาซ

ท่านจะทุ่มเทชีวิตจิตใจอย่างสุดซึ้งต่อพระผู้อภิบาลของท่าน เมื่อท่านรำลึกถึงสวนสวรรค์และนรก ท่านก็รบเร้าที่จะขอให้ปลอดภัย และวิงวอนขอสวนสวรรค์จากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากไฟนรกทุกครั้งที่ท่านอิมามฮะซัน(อ)อ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานถึงโองการที่เริ่มต้นว่า :

“ ยา อัยยุฮัลละซีนะอามะนู ”

ท่านจะตอบรับคำเรียกนี้เสมอ ไม่เคยขาดว่า

“ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าขานรับแล้ว ”

ไม่ว่าท่านจะมองเห็นสิ่งใดรอบๆ ตัวท่าน ท่านก็จะต้องรำลึกอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เสมอ เป็นคนที่มีวาจาซื่อสัตย์ที่สุด และเป็นคนที่พูดจาฉะฉานที่สุดในบรรดาคนสมัยนั้น(1)

2. ท่านอิมามฮะซัน(อ)เดินเท้าไปประกอบพิธีฮัจญ์ถึง 25 ครั้ง โดยมีคนในตระกูลติดตามไปพร้อมกับท่านด้วย(2)

-----------------------------------------------------

(1 ) อามาลีย์ ของชัยค์ อัศ - ศ็อดดูก หน้า 151

(2 ) กัชฟุล - ฆุมมะฮฺ หน้า 164 อัชอาฟุร - รอฆิบีน ภาคผนวกของหนังสือ นูรุลอับศ็อร หน้า 176

๒๖

3. เมื่อท่านอาบน้ำวูฎุอ์ ท่านจะทุ่มเทชีวิตจิตใจอย่างสุดซึ้ง ใบหน้าจะซีดเผือด เคยมีคนพูดกับท่านในเรื่องนี้ ท่านตอบว่า

“ เป็นหน้าที่อย่างแท้จริงสำหรับทุกคนที่จะยืนต่อเบื้องพระพักตร์ของพระผู้อภิบาลแห่งบัลลังค์อัรชฺ จะต้องมีสีหน้าซีดเผือด และทุ่มเทชีวิตจิตใจของตนลงไปอย่างสุดซึ้ง ”

เมื่อท่านมาถึงบริเวณประตูของมัสยิด ท่านจะเงยศีรษะขึ้น แล้วกล่าวว่า

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้า แขกของพระองค์มาหยุดอยู่ที่ประตูของพระองค์แล้ว ข้าแต่พระผู้ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม บัดนี้ผู้กระทำผิดมาหาพระองค์แล้ว ดังนั้นขอได้โปรดขจัดความน่าชังที่อยู่ในตัวของข้าออกไปด้วยความดีงามที่มีอยู่ ณ พระองค์เถิด โอ้ พระผู้ทรงเกีรยติยิ่ง ” ( 3)

---------------------------------------

(3 ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ 4 กอฟ 1 / 13

๒๗

แบบแผนชีวิตอิมามฮะซัน(อ) รากฐานเดียวกับท่านศาสดา(ศ)

แบบแผนชีวิตของท่านอิมามฮะซัน(อ)เป็นแบบแผนชีวิตอย่างเดียวกับท่านตา(ศ) และบิดาของท่าน(อ) เช่น การผ่อนปรนให้แก่คนทำความผิด การให้โอกาสแก่คนที่ประสบความเดือดร้อนถ่อมตัวอยู่เสมอ

อีกทั้งในด้านอื่นๆ อันเป็นแง่มุมของการดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ พรั่งพร้อม

คุณลักษณะต่างๆที่มีเกียรติประชาชาติอิสลามในยุคปัจจุบันนี้จะใช้ความพยายามฝ่าอุปสรรคอย่างมากมายสักปานใด เพื่อจะมีโอกาสวางอยู่บนรากฐานของแบบแผนเหล่านี้ และเพื่อให้ได้มีโอกาสดำเนินชีวิตอยู่กับ

วิถีทางเส้นนี้ เพื่อนำเอาอดีตอันรุ่งโรจน์ ของตนกลับคืนมาสักครั้งหนึ่ง

ในบทนี้ เราจะขอกล่าวถึงแง่มุมบางประการจากแบบแผนชีวิตของท่าน

อิมามฮะซัน(อ)

1. ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้กล่าวว่า

“ ประชาชาติอาหรับที่ฉันควบคุมอยู่จะให้สันติภาพแก่ผู้ที่ให้สันติภาพจะต่อสู้กับคนที่ต่อสู้ถึงกระนั้นฉันก็ละได้เพื่อแสวงหาความปิติชื่นชมยังอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และสงวนไว้ซึ่งเลือดเนื้อของมวลมุสลิม ” ( 1)

--------------------------------------------------------------

( 1) อัซอาฟุร-รอฆิบีน ภาคผนวกของหนังสือ นูรุล-อับศ็อร หน้า 173

๒๘

2. ท่านมุบัรริด และท่านอิบนุ อาอิชะฮฺ กล่าวว่า : มีชาวซีเรียคนหนึ่งแลเห็นท่านอิมามฮะซัน(อ)ขี่พาหนะมา เขาก็เริ่มด่าว่าทันที ส่วนท่านฮะซัน(อ)มิได้โต้ตอบแต่ประการใด ครั้นพอเขาด่าเสร็จแล้ว ท่านฮะซัน(อ)ก็หันไปยิ้มกับเขาแล้วกล่าวว่า

“ โอ้ ท่านผู้อาวุโส ข้าพเจ้าคิดว่า ท่านคงเป็นคนแปลกหน้าอาจเข้าใจผิดได้ ถ้าท่านขอความเมตตาจากเรา เราจะมอบมันให้แก่ท่าน ถ้าท่านเอ่ยปากขอสิ่งใดเราก็จะตอบสนองแก่ท่าน ถ้าท่านขอคำแนะนำทาง เราก็จะนำทางให้แก่ท่าน ถ้าท่านต้องการขอให้เราช่วยแบกสัมภาระเราก็จะช่วยแบก

มันให้แก่ท่าน ถ้าท่านขัดสนเรายินดีให้ทุกอย่างแก่ท่าน ถ้าท่านถูกติดตามเราก็จะให้การอุปการะแก่ท่าน ถ้าท่านประสงค์ที่จะทำอะไรเรายินดีกระทำให้แก่ท่าน ถ้าท่านมุ่งตรงมายังเรา ท่านก็เป็นแขกของเราจนกว่า ท่านจะเดินทางจากไป เพราะว่าสถานที่ที่ต้อนรับอย่างอบอุ่นมีอยู่ที่เรา ความเอื้อเฟื้ออันกว้างขวาง และทรัพย์สินอันมหาศาลก็มีอยู่ที่เรา ”

เมื่อชายคนนั้นฟังท่านพูดจบ ก็ถึงกับร้องไห้แล้วกล่าวว่า

“ ฉันขอยืนยันว่า ท่านคือผู้ที่เป็นตัวแทนของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในหน้าแผ่นดินของพระองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรู้ยิ่งว่า ที่ใดใครควรแก่การประทานคำสอนของพระองค์มา ตัวของท่านและบิดาของท่าน แต่ก่อนเป็นที่โกรธเกลียดของฉันมากที่สุดในบรรดาสรรพสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)สร้างมา แต่

บัดนี้ท่านเป็นที่รักของฉันมากที่สุดในบรรดาสรรพสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)สร้างมา ”

แล้วเขาก็เปลี่ยนมาขอเดินทางร่วมกับท่าน และเป็นแขกของท่านไปจนกระทั่งอำลาจากกันและเป็นคนที่มีความมั่นคงในความรักต่อบรรดา

อิมามทั้งหลายตั้งแต่บัดนั้น(2)

๒๙

3. ท่านอิมามฮะซัน(อ)เดินผ่านคนจนจำนวนหนึ่ง โดยที่คนเหล่านั้นก้มตัวลงที่พื้นดินซึ่งมีขนมปังหักตกอยู่ คนเหล่านั้นต่างก็เก็บขนมปังดังกล่าวมาเพื่อรับประทานกัน แล้วพวกเขาก็เรียกท่านให้เข้าไปร่วมรับประทานกับพวกเขาด้วย ท่านก็ตอบรับพวกเขาในเรื่องนี้พลางกล่าวว่า

“ แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ไม่ทรงรักบรรดาผู้โอหังบังอาจ ”

ครั้นเมื่อรับประทานเสร็จแล้ว ท่านก็เชิญคนเหล่านั้นไปเป็นแขกของท่าน โดยที่ท่านจัดอาหารและเครื่องนุ่งห่มให้แก่คนเหล่านั้นด้วย(3)

4. เคยมีคนถามท่านอิมามฮะซัน(ขอให้อัลลอฮฺทรงประทานความปิติชื่นชมต่อท่าน)ว่าเพราะเหตุใดที่เราเห็นอยู่เสมอว่า ท่านไม่เคยขัดใจผู้ขอรับบริจาคเลย ทั้ง ๆ ที่ท่านเองก็ขาดแคลน ?

ท่านตอบว่า “ แท้จริงข้าพเจ้าคือผู้ขอต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ซึ่งข้าพเจ้าเป็นผู้ตั้งความหวังต่อพระองค์เหลือเกิน ข้าพเจ้าละอายใจมาก ถ้าหากข้าจะเป็นคนขอที่ขัดใจคนขอด้วยกัน แท้จริงอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงประทานความโปรดปรานของพระองค์ให้แก่ข้าอยู่เสมอ ๆ และทรงสัญญากับข้าว่า ให้ข้ามอบความโปรดปรานของพระองค์แก่ประชาชนต่อไป ดังนั้นข้าจึงหวั่นเกรงว่า ถ้าหากข้าผิดสัญญา พระองค์ก็จะตัดขาดข้อสัญญากับข้าด้วย ” ( 4)

5. ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อ) กล่าวว่า “ ทั้งท่านอิมามฮะซัน (อ) และอิมามฮุเซน (อ) ไม่เคยยอมรับของขวัญชิ้นใด ๆ จากมุอาวิยะฮฺ บินอะบีซุฟยานเลย ” ( 5)

-------------------------------------------------------------

๓๐

(2 ) อัล - มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 157 กัชฟุล - ฆ็อมมะฮฺ หน้า 167 มะฏอลิบุซ - ซุอุล เล่ม 2 หน้า 12 บางประโยคแตกต่างกันเล็กน้อย

(3 ) ฮะยาดุล - อิมามฮะซัน บินอะลี ของอัล - กุรซีย์ เล่ม 1 หน้า 119

(4 ) นูรุล - อับศ็อร หน้า 177

(5 ) มุสนัด อิมามมูซา บินญะอฺฟัร ( อ ) หน้า 44

๓๑

คุณธรรมและความเผื่อแผ่ของอิมามฮะซัน(อ)

ทุกคนที่อธิบายประวัติของท่านอิมามฮะซัน(อ) จะต้องกล่าวถึงคุณธรรมและความมีไมตรีจิตของท่านเสมอ ในฐานะที่ท่านเป็นขวัญและกำลังใจของประชาชาติอิสลาม ถ้าหากเราจะรวบรวมข้อความที่บรรดานักประวัติศาสตร์ และนักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวถึงเกียรติคุณของท่านอิมามฮะซัน ( อ) แล้ว แน่นอนเราจะได้หนังสืออีกเล่มหนึ่งต่างหากที่มีความหนามากกว่าหนังสือเล่มนี้ เราจะขอกล่าวสรุปเพียงบางประการที่คนเหล่านั้นกล่าวถึงดังนี้

1. อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงจัดแบ่งทรัพย์สินของท่านไว้สามวาระ จนกระทั่งว่า ท่านต้องมอบรองเท้าไปข้างหนึ่งและมีไว้ที่ตัวเองอีกข้างหนึ่ง(1) และจ่ายทรัพย์ของท่านเพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)อีกสองวาระ(2)

2. มีชายคนหนึ่งมาหาท่านและขอของที่จำเป็นประการหนึ่งจากท่าน ท่านกล่าวแก่เขาว่า

“ นี่แน่ะท่าน สิทธิในการขอของท่านมีต่อข้าโดยตรง มันยิ่งใหญ่สำหรับข้า และความรู้ในตัวข้ามาก เพราะมันเป็นสิ่งจำเป็นที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าข้า มือของข้า หมดความสามารถที่จะต้านทานส่วนที่เป็นสิทธิของท่านได้ทรัพย์สมบัติอันมากมายนั้น ในทัศนะของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)มันเป็นเพียง

ของเล็กๆ น้อยๆ อะไรก็ตามที่อยู่ในการครอบครองของข้าถือว่าเป็นความโปรดปรานที่ดีที่สุดของท่าน ถ้าหากท่านรับเอาไปจากข้าและยกออกไปให้พ้นจากข้าซึ่งความเกรงอกเกรงใจแล้ว ข้าก็ไม่หน่วงเหนี่ยวส่วนที่เป็นหน้าที่ของท่านเลย ท่านกระทำไปเถิด ”

---------------------------------------------

(1 ) อัล - อิซติบศ็อร เล่ม 2 หน้า 142

(2 ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ 4 กอฟ 1 / 26 อะซะตุล - ฆอบะฮฺ เล่ม 2 หน้า 12

๓๒

เขากล่าวทันทีว่า “ ข้าแต่บุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ข้าขอรับเพียงส่วนน้อย และขอขอบคุณในความเอื้อเฟื้อให้ และขออภัยในความขัดข้อง ”

แล้วท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็เรียกเจ้าหน้าที่คนหนึ่งมาช่วยคิดคำนวณทรัพย์สินที่ต้องจ่ายให้จนมีจำนวนมากมายหลายรายการ

แล้วท่านกล่าวว่า “ จงนำออกมาสักสามแสนดิรฮัม ”

แล้วเขาก็นำมาให้ห้าหมื่นดิรฮัม

ท่านกล่าวว่า “ แล้วไหน อีกห้าร้อยดีนารฺ ”

เขากล่าวว่า “ อยู่ที่ฉัน ”

ท่านกล่าวว่า “ จงนำออกมา ”

แล้วเขาก็นำออกมา จากนั้นท่านก็มอบทั้งเงินดิรฮัมและดีนารฺให้แก่ชายคนนั้นไป พลางกล่าวว่า “ เชิญผู้ที่จะขนมันเข้ามาซิ ”

ชายคนนั้นได้นำคนมาสองคน แล้วท่าน(อ)ก็ได้มอบเสื้อคลุมของท่านเพื่อเป็นค่าจ้างในการขนเงิน

เจ้าหน้าที่กล่าวแก่ท่านว่า “ ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เราไม่มีดิรฮัมอยู่อีกเลย ”

ท่านกล่าวว่า “ ข้าหวังว่ารางวัลของข้าที่มีอยู่ ณ อัลลอฮฺ จะต้องยิ่งใหญ่เสมอ ” ( 3)

3. ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ซื้อฝากระดานแผ่นหนึ่งจากคนกลุ่มหนึ่งในหมู่ชาวอันศ็อร ในราคาสี่แสนดิรฮัม ต่อมาท่านได้รับฟังข่าวมาว่า คนเหล่านั้นเที่ยวร้องขอ(ฝากระดาน)จากประชาชนท่านจึงได้คืนของกลับไปให้พวกเขา(4)

---------------------------------------------------------------

(3 ) มะฏอลิบุช - ซุอุล เล่ม 2 หน้า 10 อัล - ฟุศูลุล - มุฮิมมะฮฺ หน้า 139

(4 ) อัซอาฟุร - รอฆิบีน ภาคผนวกของหนังสือ นูรุล - อับศ็อร หน้า 176

๓๓

4. ชาวอาหรับชนบทคนหนึ่งมาหาท่านอิมามฮะซัน(อ) แล้วท่านได้กล่าวกับเจ้าหน้าที่ของท่านว่า “ จงนำเงินในตู้มอบให้เขาไปเถิด ”

ปรากฏว่าในนั้นมีเงินอยู่สองหมื่นดิรฮัม แล้วท่านก็มอบให้เขาไป

ชายคนนั้นกล่าวว่า

“ โอ้ นายข้า ทำไมท่านไม่วางเฉยต่อฉัน ท่านล่วงรู้ในความจำเป็นของฉันกระนั้นหรือ ?”

ท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้กล่าวตอบเป็นกลอนว่า(5)

“ เราคือชนชั้นตระกูลหนึ่งอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง ความหวังและความปรารถนาได้ก่อเกิดมาในที่แห่งนั้น จนรู้ดีที่สุดก่อนที่คำถามจะมีต่อตัวของเรา เป็นที่เกรงขามสำหรับกระแสน้ำที่หลั่งไหล ถึงแม้นว่าทะเลได้ล่วงรู้ในความดีงามแห่งตระกูลของเราแล้วไซร้ มันจะเหือดแห้งลงทันที แม้จะท่วมท้นอยู่ก็ตามเพราะความละอาย ”

----------------------------------------

(5 ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ 4 กอฟ 1 / 109

5. ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ) ท่านอิมามฮุเซน(อ) และท่านอัลดุลลอฮฺ บินญะอฺฟัร ออกเดินทางกลับจากทำพิธีฮัจญ์ ปรากฏว่าเสบียงที่นำติดตัวมาได้หมดลงไม่มีอะไรเหลือ คนทั้งสามหิวโหยและกระหายน้ำเป็นกำลัง แล้วพวกเขาก็เหลือบไปเห็นหญิงชราคนหนึ่งนั่งอยู่ในกระโจมกลางทะเลทราย ดังนั้นพวกเขาก็เข้าไปเพื่อขอน้ำดื่ม

๓๔

นางได้กล่าวว่า

“ มีแม่แพะตัวนี้แหละ พวกท่านรีดนมมันออกมาดื่มกันเถอะ ”

แล้วทั้งสามคนก็รีดนมแพะออกมาดื่มแก้กระหาย ต่อมาทั้งสามก็ขออาหารจากนาง นางก็กล่าวว่า

“ ไม่มีอะไรเลย นอกจากแพะตัวนี้แหละ ท่านทั้งสามเชือดกันเองเถิด ”

แล้วคนหนึ่งในจำนวนนั้นก็ทำการเชือดแพะ เสร็จแล้วก็ชำแหละเนื้อออกมา ต่อจากนั้น นางก็จัดการช่วยเอาไปย่างให้คนทั้งสามรับประทาน

เมื่อพวกเขารับประทานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็กล่าวแก่นางว่า

“ พวกเราเป็นคนในตระกูลกุเรช เราต้องเดินทางมาที่นี่อีก เมื่อเรากลับมาทางนี้ ขอให้ท่านเรียกเราเถิด พวกเราจะตอบแทนความดีแก่ท่าน ”

ต่อจากนั้นทั้งสามก็อำลาจากไป ครั้นในเวลาต่อมาสามีของนางก็เดินทางกลับมา แล้วนางก็เล่าเรื่องราวให้สามีของนางฟัง สามีกล่าวตำหนิว่า

“ เจ้าเชือดแพะให้เขาทำไม ในเมื่อเราไม่เคยรู้จักมาก่อนว่า พวกเขาเป็นใคร ”

แล้วนางก็ตอบว่า “ เขาเป็นชาวกุเรช ”

ต่อจากนั้นไม่กี่วันนางมีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าเมืองมะดีนะฮฺ

เมื่อเดินทางไปถึง ท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็เห็นนางซึ่งท่านยังจำได้ดี ท่านเข้ามาพูดกับนางว่า “ ท่านยังจำข้าพเจ้าได้หรือไม่ ”

นางตอบว่า “ จำไม่ได้ ”

ท่านกล่าวว่า “ ข้าพเจ้าคือแขกของท่านในวันนั้นไงล่ะ ”

แล้วท่านก็สั่งเจ้าหน้าที่จัดแพะมาหนึ่งพันตัว แล้วส่งมอบให้แก่นางและมอบเงินให้อีกหนึ่งพันดีนารฺ

๓๕

จากนั้นท่านให้คนนำนางไปพบท่านอิมามฮุเซน(อ) ซึ่งท่านก็มอบให้นางอย่างนี้อีกเหมือนกัน แล้วส่งนางต่อไปหา

ท่านอับดุลลอฮฺ บินญะอฺฟัร(ร.ฎ.) ซึ่งท่านก็ปฏิบัติต่อนาง

เช่นเดียวกับท่านอิมามทั้งสอง(6)

6. ครั้งหนึ่งท่านอิมามฮะซัน(อ)ได้ยินเสียงชายคนหนึ่งวิงวอนขอจากพระผู้อภิบาลว่า

“ ให้ประทานเครื่องยังชีพแก่เขาสักหนึ่งหมื่นดิรฮัม ”

ทันใดนั้นท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็รีบวิ่งไปที่บ้าน แล้วนำเงินจำนวนดังกล่าวมามอบให้ชายคนนั้น(7)

-----------------------------------------------------------

(6 ) อัซอฺาฟุร - รอฆิบีน ภาคผนวกหนังสือนูรุล - อับศ็อร หน้า 177 และอัล - ฟุศูลุล - มุฮิมมะฮฺ หน้า140

(7 ) นูรุล - อับศ็อร หน้า 176

๓๖

คำปราศรัยอันทรงเกียรติของอิมามฮะซัน(อ)

คำปราศรัยของท่านอิมามฮะซัน(อ)ทั้งในช่วงสมัยที่บิดาของท่าน(อ)มีชีวิตอยู่และเสียชีวิตแล้ว มีอยู่มากมายรวมทั้งก่อนหน้าทำสัญญาสันติภาพและภายหลังจากนั้นด้วย ซึ่งถ้าหากเราจะรวบรวมคำปราศรัยของท่านทั้งหมดมาบันทึกก็จะเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งต่างหาก

ส่วนคำปราศรัยในที่นี้จะรวบรวมในเรื่องการสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) การขอพรให้แก่ท่านศาสนทูตของพระองค์(ศ)และกล่าวถึงคุณงามความดีของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) และเรียกร้องเชิญชวนสู่สัจธรรม ดังที่จะนำเสนอ

ณ บัดนี้

คำปราศรัยเรื่องที่ 1.

คำปราศรัยของอิมามฮะซัน(อ)ที่เมืองกูฟะฮฺ

เรื่อง....การต่อสู้

“ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ผู้ทรงเกริกเกียรติเกรียงไกร ผู้ทรงเอกะแห่งอำนาจ ผู้ทรงเป็นใหญ่สูงสุดยิ่ง ไม่ว่าพวกท่านจะใช้คำพูดค่อย ๆ หรือดังก็ตาม ไม่ว่าทำเสียงแผ่วเบาในยามกลางคืน หรือเสียงที่ชัดเจนในตอนกลางวันก็เสมอกันทั้งนั้นสำหรับพระองค์ ข้าขอสรรเสริญต่อพระองค์ เนื่องในการทดสอบอันดีงาม และความโปรดปรานทั้งหลายต่างพากันเป็นที่ประจักษ์ และเนื่องในกรณีที่มีทั้งของที่เรารักและที่เราชัง อันได้แก่ความเดือดร้อนและความสะดวกสบาย และข้าขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ทรงเป็นเอกะ ไม่มีภาคีใดๆสำหรับพระองค์

๓๗

และแน่นอนมุฮัมมัด(ศ) คือ บ่าวและศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ทรงบัญญัติเรื่องตำแหน่งศาสดาของท่าน(ศ)ไว้แก่เรา และทรงเจาะจงให้ท่าน(ศ)เป็นที่ถูกประทานมา ซึ่งสาส์นของพระองค์ และทรงบันดาลมายังท่าน(ศ)สภาวะแห่งการดลบันดาลจากพระองค์ และทรงคัดเลือกให้ท่าน(ศ)อยู่เหนือสรรพสิ่งของพระองค์ทั้งหมด และทรงส่งท่าน(ศ)มายังมวลมนุษย์และญินในขณะที่ยังเคารพ บูชาเจว็ด เชื่อฟังปฏิบัติตามชัยฏอน และทรยศต่อ

พระผู้ทรงเมตตาอยู่ ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.) โปรดประทานพรแก่ท่านและลูกหลานของท่าน และโปรดตอบแทนรางวัล แก่ท่าน(ศ)ให้ดีเลิศกว่ารางวัลที่ทรงตอบแทนแก่ศาสนทูตทั้งปวง ถัดไปจากนี้ ข้าจะขอกล่าวต่อพวกท่านทั้งหลายในสิ่งที่พวกท่านต่างก็รู้ดีกันอยู่แล้ว ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)อะลี บินอะบีฏอลิบนั้น

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงชี้นำภารกิจของท่าน(อ)และทรงให้การสนับสนุนช่วยเหลือท่าน(อ) ท่าน(อ)ได้ส่งข้ามายังพวกท่านทั้งหลายเพื่อเชื้อเชิญท่านไปสู่สิ่งที่ถูกต้อง และพฤติกรรมที่เป็นไปตามคัมภีร์ และการต่อสู้ในวิถีทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ถึงแม้ว่าความรีบเร่งในเรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่พวกท่านรังเกียจ

ส่วนความล่าช้าในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่พวกท่านพึงพอใจก็ตาม ถ้าหากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประสงค์

แน่นอนที่สุดท่านทั้งหลายต่างทราบดีว่า ท่านอิมามอะลี(อ)ได้นมาซร่วมกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)แต่เพียงผู้เดียวมาก่อน และในวันที่ท่าน(อ)ให้ความเชื่อมั่นต่อท่านศาสดา(ศ)นั้น ท่าน ( อ) มีอายุเพียง 10 ปี ต่อจากนั้น ท่าน (อ) ก็ได้ร่วมออกรบ พร้อมกับท่านศาสดา (ศ) ในทุกๆ สมรภูมิและปรากฏว่าการวินิจฉัยความของท่าน (อ) ล้วนเป็นที่ชื่นชอบของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และเป็นการเชื่อฟังปฏิบัติตามต่อท่านศาสนทูตของพระองค์ (ศ) ผลงานอันดีงามของท่าน (อ) ที่มีในอิสลามนั้น

๓๘

เป็นไปตามที่ท่านทั้งหลายทราบอยู่แล้ว และท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) มีแต่ความปิติชื่นชมต่อท่าน(อ)ตลอดมา จนกระทั่งท่านโอบกอดท่านศาสดา(ศ) ด้วยอ้อมแขนของท่านอาบน้ำให้แก่มัยยิตของท่านศาสดา(ศ)ด้วยตัวของท่านเองแต่ผู้เดียว โดยมีมะลาอิกะฮฺทำหน้าที่อารักขาท่าน และฟัฎลฺบุตรชายของลุงของท่านได้ตักน้ำยื่นให้ท่าน ต่อจากนั้นท่านก็นำร่างของท่านศาสดา(ศ) ลงสู่หลุมฝังศพ ท่านศาสดา(ศ)เคยสั่งเสียท่าน(อ)ให้ชำระหนี้สินให้ และกิจการอื่นนอกเหนือจากนี้อีกมากมาย

ทุกสิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงถึงความโปรดปรานที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีต่อท่าน(อ) ”

ต่อจากนั้นท่านก็กล่าวต่อว่า

“ ขอสาบานด้วยนามของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ท่าน(อ)ไม่เคยเรียกร้องอันใดเพื่อตัวของท่าน(อ)เอง

แน่นอนที่สุดประชาชนสวามิภักดิ์ ต่อท่านเหมือนอย่างการสวามิภักดิ์ของลูกอูฐในยามที่ถูกต้อนยังแหล่งน้ำ กล่าวคือคนทั้งหลายต่างพากันให้สัตยาบันต่อท่าน(อ)ว่า จะเป็นผู้ปฏิบัติตามต่อมาบรรดาผู้ตระบัดสัตยาบันในหมู่พวกเขาก็ตัดขาดไปโดยที่มิได้เกิดมาจากสาเหตุอันใดจากตัวของท่าน และไม่มีความขัดแย้งอันใดที่นำมาโดยท่าน มันเป็นเรื่องของความริษยาและความละเมิดที่มีต่อท่าน

ท่านทั้งหลายที่เป็นบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จงมีความสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ จงอุตสาหะอย่างจริงจังและอดทน จงขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และจงหวนกลับมาหาขอเรียกร้องของท่านอะมีรุลมุมินีน(อ)ที่มีต่อพวกท่าน อัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะผูกมัดเรากับพวก

ท่านอย่างที่ทรงผูกมัดบรรดาที่รักของพระองค์กับบรรดาผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ให้แนบแน่นด้วยกัน

๓๙

และทรงบันดาลให้เรากับท่าน ทั้งหลายมีความยำเกรงต่อพระองค์ และทรงสนับสนุนเรา และท่านทั้งหลาย ในการต่อสู้กับศัตรูของพระองค์ ข้าขอการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ผู้ทรงยิ่งใหญ่เพื่อตัวข้าและเพื่อท่านทั้งหลาย ” ( 1)

------------------------------------------------------------

(1 ) อะอฺยานุช - ชีอะฮฺ 4 กอฟ 1 / 31

คำปราศรัยเรื่องที่ 2.

ท่านอะมีรุลมุมินีน(อ) เคยกล่าวกับท่านอิมามฮะซัน(อ)ว่า

“ จงลุกขึ้นซิ แล้วจงกล่าวคำปราศรัย เพราะฉันจะฟังคำปราศรัยของเจ้า ”

แล้วท่านอิมามฮะซัน(อ)ก็ลุกขึ้นยืนกล่าวว่า

“ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ซึ่งถ้าหากใครพูดพระองค์จะทรงได้ยินเสมอ และถ้าหากใครนิ่งเงียบ พระองค์จะทรงรู้ถึงสิ่งที่อยู่ในจิตใจของเขาเสมอ ใครดำรงชีพอยู่

พระองค์ก็ทรงบันดาลปัจจัยยังชีพให้เสมอ ใครที่ตายลงก็จะไปสู่พระองค์ในฐานะเป็นสถานที่คืนกลับเสมอ ต่อจากนั้น สุสานคือแหล่งพำนักของเรา วันฟื้นคืนชีพคือ สถานที่นัดหมายของเรา

และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)คือผู้ทรงเปิด เผยเรื่องราวของเรา แท้จริงอะลีคือบานประตู ผู้ใดได้เข้าทางนี้ เขาคือผู้ศรัทธา และผู้ใดออกจากทางนี้ เขาคือผู้ปฏิเสธ

(กาเฟร) ”

๔๐