การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน0%

การรู้จักอัล-กุรอาน ผู้เขียน:
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม: ห้องสมุดกุรอาน
หน้าต่างๆ: 154

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน: ฮุจญฺตุลอิสลาม ดร. มุฮัมมัดอะลี ริฎอ เอซ ฟาฮานี
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 154
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 49954
ดาวน์โหลด: 5584

รายละเอียด:

การรู้จักอัล-กุรอาน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 154 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 49954 / ดาวน์โหลด: 5584
ขนาด ขนาด ขนาด
การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

คำว่า กุรอาน ในหมู่นักวิชาการและนักวิจัยมีทัศนะความเห็นแตกต่างกัน กล่าวคือ

1. บางทัศนะกล่าวว่าคำว่า กุรอาน ไม่ได้ผันมาจากศัพท์คำใดทั้งสิ้น คำๆ นี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าตั้งแต่แรกเริ่ม

2. บางทัศนะกล่าวว่าคำว่า กุรอาน ผันมาจากคำว่า เกาะระอะ หมายถึงการอ่าน กล่าวคือ กุรอาน คือคัมภีร์ที่ถูกอ่านแล้ว

3. บางทัศนะกล่าวว่าคำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ของคำว่า เกาะระนะ หมายถึง การประชิดติด การแนบสนิท การติดกัน การแสดงสัมพันธภาพ เนื่องจากคำ โองการต่าง ๆ และซูเราะฮฺประชิดติดกันจึงเรียกว่า กุรอาน

4. บางทัศนะกล่าวว่าคำว่า กุรอาน ผันมาจากคำว่า เกาะรออิน ซึ่งเป็นพหูพจน์ของคำว่า กะรีนะฮฺ หมายถึงสัญลักษณ์ เนื่องจากโองการอัล-กุรอานเป็นสัญลักษณ์ที่สนับสนุนกันและกันจึงเรียกว่า กุรอาน

ข้อควรพิจารณา แน่นอนว่ากุรอานกะรีม มีชื่อและคุณลักษณะอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ฟุรกอน หมายถึง การจำแนกความจริงและความเท็จ กิตาบ ซิกรฺ ตันซีล นูร ฮุดายฺ มะญีด และอื่นๆ อีกมากมาย

๑๔๑

2. อายะฮฺ

คำว่า อายะฮฺ ในเชิงภาษามีหลายความหมายด้วยกัน เช่น สัญลักษณ์ เครื่องหมาย การรวบรวม สิ่งมหัศจรรย์ และความแปลกประหลาด

ส่วน อายาตกุรอาน ได้ถูกจัดวางบนความหมายทุกความหมายที่มีความเหมาะสมในเชิงภาษา เช่น

1. ทุกอายะฮฺอัล-กุรอาน แสดงให้เห็นถึงการนำมาซึ่งความสัจจริง

การไร้ความสามารถของผู้เป็นปรปักษ์ และการการจำแนกออกจากสิ่งตรงข้าม

2. ทุกอายะฮฺ ได้รวบรวมจากอักษร คำต่าง ๆ และประโยค

3. ทุกอายะฮฺ อาจเป็นไปได้ที่บ่งบอกถึงความมหัศจรรย์ ถ้าหากพิจารณาจากคำและมาตรฐานของอัล-กุรอาน

๑๔๒

อายะฮฺในทัศนะของนักปราชญ์หมายถึง บางส่วนจากอักษร หรือคำ หรือประโยค ซึ่งริวายะฮฺได้กำหนดขอบเขตที่แน่นอนของสิ่งเหล่านี้ไว้แล้ว

การรู้จักโองการอัล-กุรอานถือเป็น เตาฟีกกียฺ หมายถึงท่านศาสดา

(ซ็อล ฯ) ได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว กล่าวคือ ขณะที่ท่านอ่านโองการท่านได้หยุดเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจขอบเขตของโองการ

อัล-กุรอานมีทั้งสิ้น 6236 โองการ ตามการกำหนดหมายเลยในปัจจุบัน ไม่รวม บิซมิลลาฮฺ ในซูเราะฮฺอื่นๆ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นโองการแยกต่างหากจาก ซูเราะฮฺ ยกเว้น บิสมิลลาฮฺ ในซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ ที่นับว่าเป็นโองการแยกต่างหาก

สิ่งจำเป็นต้องกล่าวคือ การเรียบเรียงโองการต่างๆ และซูเราะฮฺเป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตามการชี้นำของท่านญิบรออีล

นักวิชาการอุลูมกุรอาน (ศาสตร์เกี่ยวกับกุรอาน) กล่าวว่า ทุกครั้งที่

อัล- กุรอานถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้เรียกผู้จดบันทึกมาและสั่งให้จดบันทึกโองการต่าง ๆ ไว้ในซูเราะฮฺที่แตกต่างกันอย่างเป็นระเบียบ แม้แต่บิสมิลลาฮฺ ท่านก็ได้สั่งให้บันทึกไว้เหนือซูเราะฮฺต่าง ๆ ยกเว้นซูเราะฮฺบะรออะฮฺ

๑๔๓

3. ซูเราะฮฺ

คำว่า ซูเราะฮฺ ในเชิงภาษาแบ่งออกเป็นหลายความหมายด้วยกัน

1. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ เป็นคำที่แปลงมาจากคำว่า ซูเราะฮฺ หมายถึงของที่กินเหลือ หรือนํ้าที่เหลือค้างภาชนะจากการดื่ม และเนื่องจาก ซูเราะฮฺอัล-กุรอาน เป็นส่วนหนึ่งของอัล-กุรอาน จึงเรียกว่า ซูเราะฮฺ

2. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ หมายถึงการห้อมล้อม การล้อมกรอบ หรือกำแพงเมือง และการที่เรียกซูเระาฮฺอัล-กุรอานว่า ซูเราะฮฺ เสมือนว่า

ซูเราะฮฺได้ล้อมกรอบโองการต่าง ๆ ให้อยู่ในการควบคุมของตน

ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า ซูเราะฮฺ

3. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ มาจากคำว่า ซิวาร หมายถึง สายสร้อย หรือกำไล และการที่เรียกซูเราะฮฺอัล-กุรอานว่า ซูเราะฮฺ เนื่องจากว่า โองการต่างๆ ได้ถูกร้อยเข้าด้วยกันอย่างเป็นลูกโซ่

4. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ หมายถึง ตำแหน่ง หรือฐานันดรที่สูงส่ง และเนื่องจากว่าพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้านั้นมีฐานะภาพอันสูงส่ง จึงเรียกว่า ซูเราะฮฺ

5. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ มาจากคำว่า ตะเซาวุร หมายถึง การทำให้สูงขึ้น หรือการผสมผสาน เนื่องจากว่าซูเราะฮฺต่าง ๆ ได้เรียงซ้อนแลดูว่าสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า ซูเราะฮฺ

๑๔๔

ซูเราะฮฺในความหมายของนักปราชญ์

นักปราชญ์ส่วนใหญ่ให้ทัศนะว่า ซูเราะฮฺ คือส่วนหนึ่งของโองการ

อัล-กุรอานที่มีการเริ่มต้นและมีการสิ้นสุด หรือบางส่วนของโองการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่าง 2 บิสมิลลาฮฺ

จำนวนซูเราะฮฺต่าง ๆ อัล-กุรอานทีทั้งสิ้น 114 ซูเราะฮฺ ซูเราะฮฺที่เล็กที่สุดคือ ซูเราะฮฺอัลเกาซัร มีทั้งสิ้น 3 โองการ และซูเราะฮฺที่ใหญ่ที่สุดคือ ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ มีทั้งสิ้น 286 โองการ

การเรียงซูเราะฮฺ

การเรียงซูเราะฮฺอัล-กุรอานเริ่มต้นจากซูเราะฮฺอัลฟาติฮะฮฺ และสิ้นสุดที่

ซูเราะฮฺ อันนาซ แน่นอนการเรียบเรียงดังกล่าวขัดแย้งกับสาเหตุของการประทานอัล-กุรอาน ซึ่งเริ่มต้นจากซูเราะฮฺ อัล อะลัก และสิ้นสุดที่ซูเราะฮฺ อันนัศรฺ

การเรียบเรียงซูเราะฮฺ อัล-กุรอานเป็นเตาฟีกกียฺหรือไม่ หมายถึงท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นผู้สั่งให้เรียบเรียง

๑๔๕

ประเด็นดังกล่าวนักวิชาการมีทัศนะแตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ทัศนะดังนี้

1. กลุ่มที่หนึ่ง กล่าวว่าการเรียบเรียงอัล-กุรอานเป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โดยอ้างว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นผู้กำหนดโองการต่างๆ ว่าให้วางไว้ตรงที่ใด นอกเหนือจากนั้นแล้วอัล-กุรอาน ได้ถูกเรียบเรียงในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

2. กุล่มที่สอง ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการฝ่ายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัล-กุรอาน กล่าวว่า การเรียบเรียงซูเราะฮฺอัล-กุรอานในปัจจุบันมิใช่เตาฟีกียฺ แต่เป็นการวินิจฉัยซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่นี้คือ เศาะฮาบะฮ์ของท่านศาสดา และสิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้สิ้นชีพไปแล้ว

3. กลุ่มที่สาม เชื่อว่าการเรียบเรียงซูเราะฮฺส่วนใหญ่เป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

ซึ่งบางส่วนเท่านั้นที่บรรดามุสลิมได้เรียบเรียงขึ้นภายหลังจากที่ท่านศาสดา (ซ้อล ฯ) ได้สิ้นชีพไปแล้ว

การตั้งชื่อซูเราะฮฺ

ซูเราะฮฺบางบทได้รับการตั้งชื่อในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เช่น

ซูเราะฮฺอัลฮัมด์ ริวายะฮฺบางบทกล่าวว่าซูเราะฮฺนี้ในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ถูกเรียกว่า ฟาติฮะตุลกิตาบ (ปฐมบทแห่งคัมภีร์)

๑๔๖

นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า ลักษณะชื่อเช่นนี้ได้ถูกกำหนดโดยวะฮฺยู

แต่ทว่าซูเราะฮฺบางบทและโองการบางกลุ่มหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้สิ้นชีพไปแล้ว ได้ถูกตั้งชื่อขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องจากเนื้อหาได้ครอบคลุมบางเรื่องที่เฉพาะเจาะจง จึงตั้งชื่อซูเราะฮฺด้วยนามที่มีชื่อเรียกตามนั้น ไม่ใช่เตาฟีกียฺและวะฮฺยูก็ไม่ได้กำหนดนามเหล่านั้น

ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่านามชื่อซูเราะฮฺต่าง ๆ นั้นได้ถูกเรียกตามความเหมาะสม และตามความสำคัญของเนื้อหาสาระในสมัยนั้น ประกอบกับไม่มีเหตุผลอ้างอิงแม้แต่นิดเดียวว่า การตั้งซื่อซูเราะฮฺอัล-กุรอานใหม่เป็นสิ่งต้องห้าม เช่น ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ ได้ถูกตั้งชื่อนี้เนื่องจาก เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวัวของพวกบนีอิสรอเอล ได้ถูกอธิบายไว้ในบทนี้จึงเรียก

ซูเราะฮฺนี้ว่า บะเกาะเราะฮฺ หมายถึงวัวตัวเมีย ขณะที่ซูเราะฮฺบทนี้มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น ฟิซฏอฏุลกุรอาน (คัยมะฮฺแห่งกุรอาน) อัล ฟิรเดาซฺ (สรวงสวรรค์) หรือซินามุลกุรอาน (ขุนเขาแห่งอัล-กุรอาน) เป็นต้น

การตั้งชื่อซูเราะฮฺอัลฮัมด์ เนื่องจากซูเราะฮฺดังกล่าวเป็นปฐมบทของคัมภีร์จึงเรียกว่า ฟาติฮะตุลกิตาบ (ปฐมบทของคัมภีร์) และยังมีนามอื่นอีก เช่น ฮัมดฺ อุมมุลกิตาบ (แม่บทแห่งคัมภีร์) ฟาติฮะตุลกุรอาน อุมมุลกุรอาน อัซซับอุลมะซานียฺ อัลวาฟียะฮฺ อัลกาฟียะฮฺ และอื่น ๆ อีกหลายชื่อ

ซูเราะฮฺอัลนิซาอฺ ได้ถูกเรียกว่า นิซาอฺ เนื่องจากอัล-กุรอานบทนี้ได้กล่าวอธิบายอะฮฺกามเกี่ยวกับผูหญิงโดยละเอียด จึงตั้งชื่อว่า ซูเราะฮฺอัลนิซาอฺ

๑๔๗

ส่วนต่าง ๆ ของอัล-กุรอาน

ตามริวายะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่าอัล-กุรอานแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

1. ซับอุฏิวาล หมายถึง 7 ซูเราะฮฺที่ยาวที่สุดประกอบด้วย ซูเราะฮฺ

อัลบะเกาะเราะฮฺ ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน ซูเราะฮฺ อันนิซาอฺ ซูเราะฮฺ

อัลมาอิดะฮฺ ซูเราะฮฺ อัลอันอาม ซูเราะฮฺ อัลอะอฺรอฟ และซูเราะฮฺ อัลอันฟาลร่วมกับซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ

2. มิอีน หมายถึงซูเราะฮฺต่าง ๆ ที่มีประมาณ 100 โองการประกอบด้วย

ซูเราะฮฺบนีอิสรออีล ซูเราะฮฺ อัลกะฮฺฟิ ซูเราะฮฺมัรยัม ซูเราะฮฺ ฏอฮา ซูเราะฮฺอัลอัมบิยาอฺ ซูเราะฮฺอัลฮัจญฺ และซูเราะฮฺอัลมุอฺมินูน

3. มะซานียฺ หมายถึง ซูเราะฮฺต่าง ๆ หลังจากมิอีน และมีโองการน้อยกว่า 100 โองการ (การให้ความหมายเช่นนี้มีควาขัดแย้งกัน)

4. มุฟัซซ็อล หมายถึงซูเราะฮฺที่มี ฮามีม และรวมไปถึงซูเราะฮฺเล็กๆ

การให้ความหมายเช่นนี้มีความขัดแย้งกัน

๑๔๘

ปรัชญาของการแบ่งอัล-กุรอานเป็นซูเราะฮฺต่าง ๆ นักวิชาการฝ่ายอุลูม

อัลกุรอานกล่าวว่า การแบ่งอัล-กุรอานเป็นซูเราะฮฺต่างๆ มีประโยชน์มากมายแฝงอยู่ กล่าวคือ

- มาตรฐานความมหัศจรรย์อัล-กุรอานคือ 1 ซูเราะฮฺ เช่น ซูเราะฮฺอัลเกาซัร และซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ ซึ่งทั้งสองซูเราะฮฺถือว่าเป็น 2

ความมหัศจรรย์

- ง่ายและสะดวกในการท่องจำ

- ง่ายต่อการสอนเด็ก ๆ ให้เรียนรู้อัล-กุรอาน

- การจัดระเบียบซูเราะฮฺของอัล-กุรอานได้กลายเป็นแบบอย่างในการจัดทำหนังสืออื่น ๆ

- การจัดแบ่งอัล-กุรอานเป็นซูเราะฮฺให้ผู้อ่านไม่รู้สึกเบื่อหน่ายประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งชื่อซูเราะฮฺ

การตั้งชื่อซูเราะฮฺต่างๆ ทำให้มองเห็นองค์สำคัญดังต่อไปนี้

1. นามต่าง ๆ ทีเป็นธรรมชาติ เช่น อัตตีน (ผลมะเดื่อ) อัชชัมซ์ (ดวงอาทิตย์)

2. นามต่าง ๆ ที่เป็นชื่อของกาลเวลา เช่น ลัยล์ (กลางคืน) อัฎฎุฮา (ตอนสาย) วัลอัซรฺ (กาลเวลา) อัลญุมอะฮฺ (วันศุกร์) เป็นต้น

3. นามต่าง ๆ ที่เป็นชื่อสัตว์ เช่น อัล-บะเกาะเราะฮฺ (วัวตัวเมีย) อันนะฮฺลิ (ผึ้ง) อันนัมล์ (มด)

๑๔๙

4. นามต่าง ๆ ที่เป็นชื่ออคนและบรรดาศาสดา เช่น อันนาซ (มุนษย์)

มุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) อิบรอฮีม (อ.)

5. นามต่างๆ ที่เป็นชื่อวันกิยามะฮฺ (วันแห่งการย้อนกลับ) เช่น

อัลกอริอะฮฺ (การตอกทุบ) อัลวากิอะฮฺ อัดดุคอน อัลฮากเกาะฮฺ

6. นามต่างๆ ที่เป็นชื่อสถานที่ เช่น อัรรูม อัลบะลัด

7. นามต่าง ๆ ที่เป็นพระนามและเป็นซิฟัตของพระผู้เป็นเจ้า เช่น ฟาฏิร นูร เราะฮฺมาน มุลกฺ

8. นามต่าง ๆ ที่เป็นซิฟัตของอัล-กุรอาน เช่น ฟุรกอน ฟุซซิลัต

9. นามต่าง ๆ ที่เป็นอุซูลุดดีน และฟุรุอุดดีน เช่น เตาฮีด (อิคลาศ) ฮัจญฺ ซัจญฺดะฮฺ

10. นามต่าง ๆ ที่เรื่องราวเกี่ยวกับจริยธรรม เช่น อัตเตาบะฮฺ อัชชูรอ

11. นามต่าง ๆ ที่เป็นอักษรย่อ เช่น ศ็อด นูน ก๊อฟ และอื่น ๆ

๑๕๐

4. ข้อมูลเกี่ยวกับอัล-กุรอาน

โองการแรกที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือ 5 โองการแรกจากซูเราะฮฺ อัลอะลัก

โองการสุดท้ายที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือโองการที่ 281 ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ

وَاتَّقُوا يَوْمًا تُرْجَعُونَ فِيهِ إِلَى اللَّـهِ ۖ ثُمَّ تُوَفَّىٰ كُلُّ نَفْسٍ مَّا كَسَبَتْ وَهُمْ لَا يُظْلَمُونَ

และพวกเจ้าจงยำเกรงวันหนึ่ง ซึ่งพวกเจ้าจะถูกนำกลับไปยังอัลลอฮฺในวันนั้น แต่ละชีวิตจะถูกตอบแทนโดยครบถ้วนตามที่ชีวิตนั้นได้แสวงหาไว้ และพวกเขาจะไดไม่ถูกอธรรม

เมื่อโองการข้างต้นได้ถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ให้นำไปบันทึกในซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ หลังจากนั้นสองสามวันท่านก็ได้อำลาจากโลกไป

อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺแรกที่ถูกประทานให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือ ซูเราะฮฺ อัลอะลัก

อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺสมบูรณ์ที่ถูกประทานให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็น

ซูเราะฮฺสุดท้ายคือ ซูเราะฮฺ อัลนัศรฺ

๑๕๑

วันที่อัล-กุรอานเริ่มประทานลงมาเป็นครั้งแรกแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือ ลัยละตุลก็อดรฺ (คํ่าคืนแห่งอานุภาพ) ซึ่งอาจเป็นคํ่าที่ 23 ของเดือนรอมฎอน

นักวิชาการบางท่านมีความเชื่อเรื่อง การประทานอัล-กุรอานทั้งดัฟอียฺ (ลงมาในคราวเดียวกันทั้งหมด) และตัดรีญียฺ (ทยอยลงมาตลอด 23 ปี)

จำนวนอักษรที่ถูกใช้ในอัล-กุรอาน 321250 ตัว

จำนวนคำที่ถูกใช้ในอัล-กุรอาน 77437 คำ

จำนวนโองการที่มีในอัล-กุรอาน 6236 โองการ

จำนวนซูเราะฮฺที่มีในอัล กุรอาน 114 ซูเราะฮฺ

จำนวนฮิซบฺต่างๆ ที่มีในอัล กุรอาน 120 (ทุกๆ 4 ฮิซบฺเท่ากับ 1 ญุซอ์)

จำนวนญุซที่มีในอัล กุรอาน 30 ญุซอ์

คำที่อยู่ตรงกลางอัล-กุรอานคือ (وليتلطف ) บท อัลกะฮฺฟิ โองการที่ 19

การบันทึกอัล-กุรอาน บนสื่อต่างๆ ที่จัดหาได้ในยุคสมัยนั้นได้แก่ ไม้จากต้นอินทผลัม หินอ่อนสีขาว กระดูกช่วงหัวไหล่ของอูฐ ใบไม้ หรือหญ้า หรือหนังสัตว์ บางครั้งใช้ใยไหม หรือผ้าก็มี

๑๕๒

ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลต่อไปนี้

1. การวิจัยอัล-กุรอาน ในประวัติศาสตร์ ซัยยิดมุฮัมมัดบากิร ฮุจญะตีย์ พิมพ์ที่สำนักพิมพ์ ฝ่ายวัฒนธรรมอิสลาม ปี 1375 สุริยคติ

2. อัตตัมฮีด ฟีอุลูมิลกุรอาน อายะตุลลอฮฺ ฮาดียฺ มะอฺริฟัต ( 7 เล่ม) (ภาษาอาหรับ)

3. ตารีค อุลูมิลกุรอาน อบุลฟัฎล์ มีรมุฮัมมะดียฺ (ภาษาอาหรับ)

4. อัลบัยยาน ฟี ตัฟซีริลกุรอาน อายะตุลลอฮฺ คูอีย์ (ภาษาอาหรับ)

5. อุลูมกุรอาน ซัยยิดมฮัมมัดบากิร ฮะกีม (ภาษาอาหรับ)

******************

๑๕๓

สารบัญ

คำนำ 2

หมวดที่ 1. การอ่านอัล-กุรอานจากตัวบท 5

บทที่ 1. การอ่านอัล-กุรอาน 5

การให้ความสำคัญต่อการอ่านอัล-กุรอาน 5

มารยาทการอ่านอัล-กุรอาน 7

มารยาทด้านนอกในการอ่านอัล-กุรอาน 8

หมวดที่ 2 มารยาทด้านในของการอ่านอัล-กุรอาน 44

บทที่ 2 การท่องจำอัล-กุรอาน 61

อัล-กุรอาน คือ พจนารถที่ล้ำลึกของอัลลอฮฺ 61

ประโยชน์ของการท่องจำอัล-กุรอาน 62

มารยาทภายในของการท่องจำ 67

มารยาทภายนอกของการท่องจำ 68

ทำจิตใจให้สงบ 71

การฝึกฝนความจำ 71

การใส่ใจต่อความเป็นระเบียบในการท่องจำ 72

การอ่านและฟังอัล-กุรอานมากๆ 72

การเข้าร่วมชุมนุมกับนักท่องจำอัล-กุรอาน 72

การท่องจำชื่อซูเราะฮฺต่างๆ 73

ท่องจำโองการที่กล่าวซ้ำหรือที่คล้ายคลึงกัน 74

การเรียนรู้กฎไวยากรณ์ภาษาอาหรับ 74

ให้ท่องจำที่ละน้อยแต่จำให้ดี 74

ประเมินความสามารถของตัวเอง 75

สถานที่เหมาะสมต่อการท่องจำ 75

ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการท่องจำ 76

การท่องจำอัล-กุรอานและมองอัล-กุรอานเวลาอ่านไม่ขัดแย้งกัน 76

แก้ไขข้อคลางแคลง 77

ฝึกฝนและอ่านซ้ำ 78

ท่องจำหมายเลขและสัญลักษณ์ต่าง ๆ 78

การป้องกันการลืมโองการ 78

3. แนวทางในการท่องจำ 80

ข้อควรพิจารณา 80

ค. แนวทางหลักสำหรับการท่องจำอัล-กุรอาน 81

ข้อควรพิจารณา 81

ง. การท่องจำอัล-กุรอานและเด็ก 81

หมวดที่ 3 ผลสะท้อนของอัล-กุรอานที่มีต่อมนุษย์ 83

ก. การส่งผลในการอ่านอัล-กุรอาน 83

เป็นการรำลึกถึงอัลลอฮฺ 83

เป็นการเปิดประตูแห่งการเคารพภักดี 83

เป็นการปิดประตูบาป 84

รางวัลของผู้อ่านอัล-กุรอานคือดุอาอฺถูกยอมรับ 85

อัล-กุรอานเป็นสาเหตุให้อีหม่านเพิ่มพูน 85

อัล-กุรอานเป็นชะฟาอฺ 86

การชี้นำของพระผู้เป็นเจ้า 87

ทำความสะอาดภายในและสร้างสรรค์จิตวิญญาณ 87

ความสะอาดตามชัรอียฺ 88

อนามัยส่วนตัว 88

กลายเป็นชาวกุรอาน 88

ความคิดจะเติบโต 89

เป็นการอิบาดะฮฺทางสายตา 89

ส่งผลต่อการเลี้ยงดูบุตร 89

เป็นการชำระล้างบาปต่าง ๆ 90

ทำให้ปลอดภัยจากไฟนรก 90

เป็นการสนทนากับพระผู้เป็นเจ้า 90

การอ่านอัล-กุรอานทำให้จิตใจมีชีวิตชีวา 90

การอ่านอัล-กุรอานเป็นอุปสรรคในการทำอนาจารทั้งหลาย 90

ข. ผลการอ่านอัล-กุรอานที่เกิดกับชีวิตทางสังคม 91

เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอัล-กุรอานแก่สังคม 91

การพบวิชาการสมัยใหม่และแนวทาง 92

การประกวดแข่งขันอัล-กุรอานอย่างต่อเนื่อง 92

ทำให้ภาษาอัล-กุรอานเติบโตมากขึ้น 92

ผลของการยอมรับการเรียนรู้อัล-กุรอาน 93

อัล-กุรอานเป็นยาบาบัดอาการป่วยไข้ของสังคม 93

เพื่อการช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการตั้งภาคีเทียบเคียงกับพระเจ้า 95

การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากให้รอดพ้นจากบิดเบือน 95

หมวดที่ 4 ผลสะท้อนของการท่องจำอัล-กุรอานที่มีต่อมนุษย์และสังคม 96

หมวดที่ 5 ขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอาน 98

ซูเราะฮฺในความหมายของนักปราชญ์ 145

การเรียงซูเราะฮฺ 145

การตั้งชื่อซูเราะฮฺ 146

๑๕๔