การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน0%

การรู้จักอัล-กุรอาน ผู้เขียน:
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม: ห้องสมุดกุรอาน
หน้าต่างๆ: 154

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน: ฮุจญฺตุลอิสลาม ดร. มุฮัมมัดอะลี ริฎอ เอซ ฟาฮานี
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 154
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 49952
ดาวน์โหลด: 5584

รายละเอียด:

การรู้จักอัล-กุรอาน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 154 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 49952 / ดาวน์โหลด: 5584
ขนาด ขนาด ขนาด
การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ดุอาอฺที่อ่านหลังการอ่านอัล-กุรอานไม่ว่าจะเอ่ยด้วยภาษาใดก็ตามถือว่าเป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น แต่ริวายะฮฺบางบทได้สนับสนุนให้กล่าวดุอาอฺดังต่อไปนี้

( 1)

اللَّهُمَّ ارْحَمْنِي بالقُرْءَانِ وَاجْعَلهُ لِي إِمَاماً وَنُوراً وَهُدًى وَرَحْمَةًاللَّهُمَّ ذَكِّرْنِي مِنْهُ مَانَسِيتُ وَعَلِّمْنِي مِنْهُ مَاجَهِلْتُ وَارْزُقْنِي تِلاَوَتَهُ آنَاءَ اللَّيْلِ وَأَطْرَافَ النَّهَارِ وَاجْعَلْهُ لِي حُجَّةً يَا رَبَّ العَالَمِينَ

โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดเมตตาต่อข้าฯด้วยสื่อจากคัมภีร์อัล-กุรอาน และโปรดบันดาลใด้คัมภีร์เป็นผู้ชี้นำ เป็นแสงสว่าง เป็นทางนำ และเป็นความเมตตา โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดทำให้ข้าฯรำลึกถึงสิ่งที่ข้าฯได้หลงลืม โปรดสอนข้าฯในสิ่งที่ข้าฯไม่รู้ โปรดให้ข้าฯสัมฤทธิ์ผลการอ่านอัล-กุรอานทั้งในยามคํ่าคืนและยามกลางวัน และโปรดบันดาลให้อัล-กุรอานเป็นข้อพิสูจน์สำหรับข้าฯ โอ้พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก( 2)

1อ้างแล้ว เล่มที่ 89 หน้าที่ 207

2มะฮัจญฺตุลบัยฎอ เล่ม 2 หน้า 227

๔๑

19. การอ่านอัล-กุรอานให้จบ

การอ่านอัล-กุรอานคือการสนทนากับพระผู้เป็นเจ้ายิ่งอ่านมากเท่าใดยิ่งเป็นการดี

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ในสถาการณ์แบบใดหรืออยู่ในช่วงไหนให้อ่านอัล-กุรอานเป็นการดีที่สุด

ส่วนริวะยะฮฺบางบทกล่าวเน้นไว้อย่างมากว่าให้อ่านอัล-กุรอานให้จบ หมายถึงให้เริ่มอ่านตั้งแต่แรกจนกระทั่งจบเล่ม

1. คุณค่าและความประเสริฐของการอ่านอัล-กุรอานให้จบเล่ม

ได้มีผู้ถามท่านอิมามซัจญาด (อ.) ว่าการงานใดที่มีคุณค่ามากที่สุด

ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ผู้เริ่มต้นผู้ทำให้สิ้นสุด มีผู้ถามว่า อะไรคือผู้เริ่มต้นผู้ทำให้สิ้นสุด

ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า คือผู้ที่ได้เริ่มต้นอ่านอัล-กุรอานและได้อ่านจนกระทั่งจบทุกครั้งที่เขาได้เปิดอ่าน ตั้งแต่ช่วงแรกจนถึงช่วงสุดท้ายของอัล- กุรอาน ( 1)

1บิฮารุลอันวาร เล่ม 89 หน้า 204

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ผู้เริ่มต้นผู้ทำให้สิ้นสุดคือ ผู้เริ่มต้นอ่านอัล-กุรอานและอ่านจนกระทั่งจบดุอาอฺของเขาจะถูกตอบรับ ณ อัลลอฮฺ ( 2)

2อ้างแล้ว เล่ม 89 หน้า 205

๔๒

2. คุณค่าการอ่านอัล-กุรอานจบในมักกะฮฺ หนึ่งในอะมัลที่ได้รับการสนับสนุนไว้อย่างมาก คือ การอ่านอัล-กุรอานให้ครบหนึ่งจบที่มักกะฮฺ ดังเช่นที่ ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดอ่านอัล-กุรอานจบ ณ

นครมักกะฮฺ เขาจะไม่ตายจนกว่าเขาจะได้เห็นท่านศาสดามุฮัมมัด และได้เห็นตาแหน่งของเขา ณ สรวงสวรรค์ ( 3)

3 อ้างแล้วเล่มเดิม

3. ดุอาอฺเมื่อจบอัล-กุรอาน ดุอาอฺทุกบทที่อ่านหลังจากจบอัล-กุรอานล้วนแล้วแต่ดีทั้งสิ้น แต่เป็นสิ่งที่ดีกว่าที่เราจะเรียรู้วิธีการดุอาอฺของบรรดาผู้นำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดุอาอฺของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งท่านจะอ่านทุกครั้งเมื่ออ่านอัล-กุรอานจบ

اَللّهُمَّ اشْرَحْ بِالْقُرْآنِ صَدْری، وَ اسْتَعْمِلْ بِالْقُرْآنِ بَدَنی، وَ نَوِّر

بِالْقُرْآنِ بَصَری، وَ اَطْلِقْ بِالْقُرْآنِ لِسانی، وَ اَعِنّی عَلَیْهِ ما

اَبْقَیْتَنی، فَاِنَّهُ لا حَوْلَ وَ لا قُوَّةَ اِلّا بِكَ

โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดเปิดหัวอกของข้าฯด้วยสื่อของอัล-กุรอาน โปรดทำให้ร่างกายของข้าฯได้ปฏิบัติตามอัล-กุรอาน โปรดบันดาลให้สายตาของข้าฯสว่างไสวด้วยอัล-กุรอาน โปรดบันดาลให้ลิ้นของข้าฯรำพันแต่อัล-กุรอาน โปรดช่วยเหลือข้าฯบนหนทางนี้ตราบที่ข้าฯยังมีชีวิตอยู่ เพราะไม่มีพลังและการเคลื่อนไหวใดนอกจากโดยสื่อจากพระองค์( 1)

*********************

1อ้างแล้ว เล่ม 89 หน้า 209

๔๓

หมวดที่ 2 มารยาทด้านในของการอ่านอัล-กุรอาน

เพื่อประโยชน์ที่สมบูรณ์ในการอ่านอัล-กุรอาน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเงื่อนไขสมบูรณ์ในการอ่านทั้งภายนอก (มารยาทด้านนอกในการอ่าน

อัล-กุรอาน) และภายใน (มารยาทด้านในของการอ่านอัล-กุรอาน)

บุคคลใดที่มีเงื่อนไขภายในสมบูรณ์ในการอ่านอัล-กุรอาน เขาจะได้รับประโยชน์ที่สมบูรณ์ที่สุดในการอ่านอัล-กุรอานและได้ใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งไม่เกินเลยที่จะพูดว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงขจัดการทดสอบต่าง ๆ ให้รอดพ้นไปจากสังคมเนื่องจากนักอ่านเหล่านี้นั่นเอง ( 1)

1มะฮัจญฺตุลบัยฎอ เล่ม 2 หน้า 218

แต่ในบางครั้ง นักอ่านอัล-กุรอานบางคน ให้ความสนใจเฉพาะมารยาทภายนอกของการอ่านโดยไม่ได้เอาใจใส่ต่อมารยาทภายในพวกเขาจึงไม่ได้รับประโยชน์อันใดจากการอ่านอัล-กุรอาน เงื่อนไขภายในของการอ่าน

อัล-กุรอานประกอบด้วย

1. การตั้งเจตนาบริสุทธิ์ของผู้อ่านอัล-กุรอาน

ความบริสุทธิ์ใจหมายถึง การกระทำภาระกิจต่างๆ เพื่ออัลลอฮฺ (ซบ.) เท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้เปรียบเสมือนระหัสแห่งความสำเร็จในทุกการกระทำ และ

จะทำให้การงานของบุคคลนั้นมีความสูงส่งยิ่งขึ้นไป

แต่ถ้ามีเจตนาไม่บริสุทธิ์ การงานเหล่านั้นก็จะไม่มีคุณค่าและนอกจากจะทำให้มนุษย์ไม่พบกับความสมบูรณ์แล้ว ยังทำให้เขาสภาพจิตภายในมีความตกตํ่าอีกต่างหาก

๔๔

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ผู้ใดอ่านอัล-กุรอานเพื่อแสวงหาความพึงพอพระทัยจากพระผู้เป็นเจ้า และเพื่อสร้างความเข้าใจในศาสนา เขาจะได้รับรางวัลตอบแทนเหมือนกับรางวัลทั้งหมดที่ถูกประทานให้มวลมลาอิกะฮฺ บรรดาศาสดา และบรรดาศาสนทูต( 1)

1วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 4 หน้า 838

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า นักอ่านอัล-กุรอานแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ บางคนอ่านอัล-กุรอานเพื่อจะได้ขึ้นชื่อว่าเขาเป็นนักอ่านบางคนเพื่อภาระกิจทางโลกเขาได้อ่านอัล-กุรอาน เพื่อไม่ให้กิจการเหล่านั้นมีอุปสรรค

บางคนอ่านอัล-กุรอานเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์สมบูรณ์ในนมาซ ทั้งตอนกลางวันและกลางคืน( 2)

2มะฮัจญฺตุลบัยฎออฺ เล่ม 2 หน้า 218

2. ความตั้งใจและการเอาใจใส่ในความหมาย

คุณค่าของอิบาดะฮฺอยู่ที่ การตั้งมั่นของจิตใจและการเอาใจใส่ต่ออิบาดะฮฺที่กำลังปฏิบัติ การอ่านอัล-กุรอานเช่นกันจะมีคุณค่าก้ต่อเมื่อผู้อ่านให้ความสำคัญและมีการตั้งใจสูง หมายถึงผู้อ่านต้องรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังสนทนาและอยู่ ณ พระพักตร์ของพระองค์

๔๕

ความตั้งใจจริงบางครั้งเท่านั้นที่สามารถทำได้อย่างดี ริวายะฮฺจากท่าน

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานในยามวิกาลที่เงียบสงัดดีที่สุด เนื่องจากว่าช่วงเวลานั้นจิตใจของเราว่างเปล่า( 1)

ริวายะฮฺบางบทได้แนะนำว่า จงหลีกเลี่ยงการอ่านอัล-กุรอานเร็ว ๆ แและจงใจในความหมาย เมื่ออัล-กุรอานกล่าวถึงสวรรค์จงขอสวรรค์จากพระองค์ เมื่อกล่าวถึงนรกจงขอความคุ้มครองจากพระองค์( 2)

ริวายะฮฺเหล่านี้ได้สอนเราว่า ขณะที่อ่านอัล-กุรอนจงใส่ใจในความหมาย อ่านด้วยจิตใจที่นอบน้อมและตั้งใจเพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด

ถ้าบุคคลใดอ่านอัล-กุรอานด้วยความไม่ตั้งใจหรือไม่ใส่ใจในความหมาย เขาก็จะไม่ได้รับสิ่งใดจากอัล-กุรอานนอกเสียจากการเสียเวลาและผลบุญเล็กๆ น้อยๆ ในการอ่าน

ข้อควรพิจารณา ความตั้งใจในการอ่านหรือการทำจิตใจให้มั่นคงในการอ่าน

-------------------------------------------------

1มะฮัจญะตุลบัยฎอ เล่ม 2 หน้า 221

2อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 617

๔๖

สามารถทำได้โดยการใส่ใจต่อเงื่อนไขภายนอก เช่น เลือกสถานที่สงบในการอ่าน อ่านช้า ๆ และใช้อัล-กุรอานที่แปลเป็นภาษาท้องถิ่น

3.การคิดและไตร่ตรอง

อัล-กุรอานเป็นคัมภีร์ที่ประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ ดังนั้น เป้าหมายของการอ่านอัล-กุรอานก็เพื่อสิ่งนี้ ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าวัตถุประสงค์ที่กล่าวว่าจงอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง หมายถึงการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอัล-กุรอาน ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้อ่านคิดไตร่ตรองในความหมายของอัล-กุรอาน

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสถึงเรื่องการไตร่ตรองและพิจารณาความหมายของ

อัล-กุรอานดังนี้

كِتَابٌ أَنزَلْنَاهُ إِلَیْكَ مُبَارَكٌ لِّیَدَّبَّرُوا آیَاتِهِ وَلِیَتَذَكَّرَ أُوْلُوا الْأَلْبَابِ

คัมภีร์ (อัลกุรอาน) เราได้ประทานลงมาแก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาอายาตต่าง ๆ ของอัลกุรอานและเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ ( 1)

1 อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ (ซ็อด / 29

إِنَّا أَنزَلْنَاهُ قُرْآنًا عَرَبِيًّا لَّعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ

แท้จริงพวกเราได้ให้อัลกุรอานแก่เขาเป็นภาษาอาหรับ เพื่อพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด ( 2)

2 อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ ยูซุฟ / 2

๔๗

บางครั้งพระองค์ประณามบุคคลที่ไม่ใส่ใจความหมายของอัล-กุรอาน โดยกล่าวว่า

أَفَلَا يَتَدَبَّرُونَ الْقُرْآنَ أَمْ عَلَى قُلُوبٍ أَقْفَالُهَا

พวกเขามิได้พิจารณาใคร่ครวญอัลกุรอานดอกหรือ หรือว่าบนหัวใจของพวกเขามีกุญแจหลายดอกคล้องอยู่ ( 1)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ มุฮัมมัด / 48

ท่านอิมามะลี (อ.) กล่าวว่า จงรู้ไว้เถิดว่าการอ่านอัล-กุรอานที่ไม่มีการไตร่ตรองไม่มีความดีใดๆ( 2

2บิฮารุลอันวารเล่ม 89 หน้า 211

แน่นอนว่าการอ่านอัล-กุรอานที่ไม่มีการพิจารณาในความหมาย ผู้อ่านจะไม่ได้รับทางนำใดๆ จากอัล-กุรอาน ซึ่งการที่อิมาม (อ.) กล่าวว่าไม่มีความดี ใดๆ ในการอ่านเนื่องจากไม่บรรลุเป้าหมายในการอ่าน

๔๘

4. ความนอบน้อม

จิตวิญญาณของผู้อ่านอัล-กุรอานเนื่องจากมี่ความมักคุ้นกับความหมายของโองการต่างๆ พวกเขาจึงมีความนอบน้อมถ่อมตนผสมกับความเกรงกลัวพระผู้เป็นเจ้า ยิ่งมีการรู้จักและมีความสมบูรณ์มากเท่าใด

ความนอบน้อมถ่อมตนและความเกรงกลัวก็จะมีมากเท่านั้น

บุคคลที่มีความมักคุ้นกับอัล-กุรอานฐานันดรของพวกเขาจะไปถึงระดับหนึ่งคือ บรรดาโองการต่าง ๆ จะมีอิทธิพลกับพวกเขาและถ่ายทอดออกมาทางใบหน้าอย่างเห็นได้ชัด เช่น บางครั้งถ้าเป็นโองการประเภทแจ้งข่าวดีพวกเขาจะร้องไห้ด้วยความปลาบปลื้มใจ แต่ถ้าเป็นโองการที่กล่าวถึงการลงโทษพวกเขาจะหลั่งนํ้าตาด้วยความหวาดกลัว การร้องไห้เช่นนี้จะทำให้หัวใจเกิดความสงบและชำระล้างจิตวิญญาณให้สะอาด

อัล-กุรอานได้กล่าวถึงบุคคล 2 ประเภทเมื่อได้ยินโองการอัล-กุรอานพวกเขาจะเกิดความกลัวและก้มลงกราบพระผู้เป็นเจ้าพร้อมกับร้องไห้

อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَيَرُّونَ لِلأَذْقَانِ يبَكُونَ وَيَزِيدُىُمْ خُشُوعًا

และพวกเขาจะหมอบราบจนใบหน้าจรดพื้นพลางร้องไห้ และ (การอ่านโองการ) จะเพิ่มการสารวมแก่พวกเขา ( 1)

๔๙

บางโองการกล่าวว่า

أَلَمْ يَأْنِ لِلَّذِينَ آمَنُوا أَنْ تَخْشَعَ قُلُوبُهُمْ لِذِكْرِ اللَّهِ

ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือสาหรับบรรดาผู้ศรัทธาที่หัวใจของพวกเขาจะนอบน้อมต่อการราลึกถึงอัลลอฮฺ ( 2)

มีผู้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่าการอ่านอัล-กุรอานของใครดีทีสุด

ท่านตอบว่า การอ่านของบุคคลที่เมื่อเราได้ยินเสียงอ่านของเขาแล้ว ทำให้เราเกรงกลัวอัลลอฮฺมากยิ่งขึ้น ( 3)

ถ้ามีความรู้สึกว่าภาพจิตใจเป็นอุสรรคต่อผลของอัล-กุรอานที่จะเกิดกับเรา วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือ การร้องไห้ซึ่งนํ้าตาจะค่อย ๆ ชำระล้างความมืดทึบที่เกาะกุมอยูที่หัวใจและจิวิญญาณจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงเป็นจิตที่มีความนอบน้อมและเกรงกลัวพระผู้เป็นเจ้ามากยิ่งขึ้น

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า จงอ่านอัล-กุรอานและร้องไห้ หรือขณะที่อ่านให้อยู่ในสภาพเหมือนคนร้องไห้ ( 4)

---------------------------------------------------

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อิซรอ / 109

2อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล ฮะดีด 16

3มีซานุล อิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 89

4มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 89 ฮะดีษที่ 16243

๕๐

ท่านอิบนุอับบาส สานุศิษย์ วิชาตัฟซีรที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของท่านอิมาม

อะลี (อ.) กล่าวว่า

เมื่ออ่านอัล-กุรอานโองการที่มีซัจดะฮฺวาญิบ ไม่ต้องรีบร้อนลงซัจญฺดะฮฺ

ถ้าดวงตาทั้งสองของท่านไม่ร้องไห้ก็จงทำให้หัวใจร้องไห้ ( 1)

1นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คุฏบะฮฺที่ 193

บางที่ความหมายของการร้องไห้ ณ ที่นี้อาจหมายถึงการนอบน้อมถ่อมตนก็ได้

5. ผลบุญที่มากมายกับการกระทำเพียงอย่างเดียว

อิสลามได้แนะนำแนวทางไว้หลายทางด้วยกัน ซึ่งคนเราสามารถไปถึงจุดหมายปลายทางและพบกับความสมบูรณ์ได้ด้วยทางดังกล่าว ณ ที่นี้จะขออธิบายพอสังเขปเพียงสองทาง ดังนี้

1. อ่านอัล-กุรอานแทนคนอื่น โดยปกติอะมัลวาญิบไม่สามารถทำแทนคนอื่นที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ เช่น ไม่มีใครสามารถนมาซกะฎอแทนเราได้ แต่อะมัลมุสตะฮับสามารถทำแทนกันได้ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม ดังนั้น ถ้าเราเนียตอ่านอัล-กุรอานแทนท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ เพือนฝูงและคนใกล้ชิดอื่นๆ ทั้งผู้ที่ทำแทนและ

ผู้ถูกแทนจะได้รับผลบุญเต็มบริบูรณ์ และนอกจากนั้นแล้วผู้ที่ทำแทนยังได้รับผลบุญอีกมากมายในฐานะที่ได้ทำสิ่งที่เป็นมุสตะฮับ

๕๑

อีกมุมหนึ่งการทำความดีแทนท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ย่อมได้รับผลรางวัลตอบแทนแน่นอน เกี่ยวกับเรื่องนี้ริยายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวยืนยันไว้ ( 2)

2วะซาอิลุชชีอะฮฺ บาบที่ 12 อัล อับวาบิล กะฎอ ฮะดีษที่ 1-9

2. อุทิศ (ฮะดียะฮฺ) ผลบุญการอ่านอัล-กุรอานให้กับคนอื่น หลังจากอ่านอัล-กุรอานหรือทำสิ่งที่เป็นมุซตะฮับแล้ว สามารถฮะดียะฮฺผลบุญที่ได้รับจากการกระทำนั้นให้กับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) หรือบิดามารดา และคนอื่นๆ ได้

ริวายะฮฺกล่าวว่า มีบุคคลหนึ่งนามว่า อะลี บิน มุฆีเราะฮฺ ได้ไปหาท่าน

อิมามมูซากาซิม (อ.) และกล่าวกับท่านอิมามว่า ฉันได้อ่านอัล-กุรอานจบหลายครั้งในเดือนรอมฎอน เมื่อวันอีดมาถึงฉันได้ฮะดียะฮฺผลบุญของการอ่านจบหนึ่งให้กับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ท่านอิมามอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอิมามฮะซัน ท่านอิมามฮุซัยนฺ และอะอิมมะฮฺท่านอื่นจนถึงท่าน

การทำเช่นนี้ฉันจะได้รับรางวัลใดๆ หรือไม่

ท่านอิมามมูซา (อ.) กล่าวว่า รางวัลของท่านคือวันกิยามะฮฺ ท่านจะได้อยู่ร่วมกับท่านเหล่านี้

มุฆีเราะฮฺ กล่าวว่า อัลลอฮุอักบัร ฉันจะได้รับรางวัลเช่นนี้หรือ

ท่านอิมาม (อ.) กล่าว 3 ครั้งว่า ใช่ ท่านจะได้รับรางวัลเช่นนี้ (1)

1อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 618 ฮะดีษที่ 4, บิฮารุลอันวาร เล่ม 95 หน้า 5

๕๒

ข้อควรพิจารณา การฮะดียะฮฺรางวัลหรือการเป็นตัวแทนในการอ่านอัล- กุรอาน และการปฏิบัติอะมัลมุสตะฮับอื่นๆ นอกจากจะได้รับรางวัลมากมายแล้วยังเป็นการเตรียมสำรองการกระทำในกรณีที่อมัลไม่สมบูรณ์ แต่ต้องห่างไกลจากการโอ้อวดและการก่อความเสียหาย

6. การเข้าใจความจริงของโองการต่าง ๆ

หลังจากได้ไตร่ตรองและพิจารณาความหมายของโองการแล้ว

ลำดับต่อไปคือการสร้างความเข้าใจถึงแก่นและความหมายด้านในของโองการ

อัล- กุรอานนั้นมีความหมายหลายด้าน เช่น พระลักษณะของอัลลอฮฺ (ซบ.) การเข้าใจแก่นแท้ของโองการเป็นเรื่องยากอย่างยิ่ง

บางครั้งอุปสรรคทั้งภายในและภายนอกเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้มนุษย์ไม่เข้าใจแก่นแท้ของดำรัสแห่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องขจัดอุปสรรคดังกล่าวให้หมดไป นำจิตใจให้ออกห่างจากการกระซิบกระซาบของมาร การคิดและพิจารณาให้ลุ่มลึก การขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ (ซบ.) เพื่อให้เข้าใจแก่นแท้ของอัล-กุรอาน

๕๓

หนึ่งในอุปสรรคที่ขวางกั้นไม่ให้เข้าใจความหมายที่เป็นแก่นแท้ของ

อัล- กุรอานคือ ชัยฏอนมารร้าย

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ถ้าชัยฏอนไม่สามารถเข้าสู่จิตใจของมนุษย์ได้อย่างง่ายดายแล้วละก็ เราจะได้เห็นด้านในของโลกอย่างแน่นอน ( 1)

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ภายนอกของอัล-กุรอานนั้นสวยงามตระการตา ส่วนภายในนั้นลุ่มลึกยิ่งนัก ( 2)

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า อัล-กุรอานแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ

ตัวบทของอัล-กุรอาน สัญลักษณ์ต่าง ๆ ความจริง และแก่นแท้

ตัวบทของอัล-กุรอานนั้นสำหรับประชาชนทั่วไป

สัญลักษณ์ของอัล-กุรอานสำหรับประชาชาติที่เจาะจง ความจริงของ

อัล-กุรอานสำหรับมวลมิตรของพระองค์ ส่วนแก่นแท้ของอัล-กุรอานสำหรับบรรดาอัมบิยาอฺทั้งหลาย( 3)

1อะฮฺยาอุลูมุดดีน เฆาะซาลี เล่ม 1 หน้า 515

2นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คุฏบะฮฺที่ 18

3บิฮารุลอันวาร เล่ม 92 หน้า 20 มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 94

๕๔

7. การยกย่องอัล-กุรอาน

นักปราชญ์บางท่านกล่าวว่า หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัล-กุรอานคือ การให้เกียรติและยกย่องอัล-กุรอานด้วยจิตด้านใน อันเป็นยกย่องที่คู่ควรและมีความเหมาะสมยิ่งนักสำหรับผู้พูด ซึ่งได้แก่ อัลลอฮฺ (ซบ.)

พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกร

8. การให้ความพิเศษ

นักปราชญ์บางท่านกล่าวว่าหนึ่งในมารยาทของการอ่านอัล-กุรอานคือ ต้องคิดว่าอัล-กุรอานกำลังพูดกับเรา เช่น ถ้าได้ยินโองการที่เป็นการสั่งห้ามและสั่งใช้ต้องคิดว่านั่นเป็นการสั่งให้เราทำ

9. การให้ความสำนึกที่ดี

นักปราชญ์บางท่านกล่าวว่า หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัล-กุรอานคือ ผู้อ่านต้องไม่แสดความสุขอย่างออกหน้าออกตา และต้องไม่แสดงความพอใจกับตัวเองและอย่างหลงตัวเองว่าเป็นผู้ขัดเกลาหรือยกระดับจิตใจแล้ว

สมมุติว่า เมื่ออ่านถึงโองการที่สรรเสริญบรรดาปวงบ่าวที่เป็นกัลยาณชน จะต้องแยกตัวเองออกมาและคิดว่าเราไม่ใช่คนพวกนั้น แต่จงวิงวอนต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ว่าขอพระองค์ทรงโปรดให้เราไปถึงยังตำแหน่งนั้นด้วยเถิด

๕๕

และเมื่ออ่านถึงโองการที่เป็นบทลงโทษ จงรู้ตัวเองว่าแท้จริงเราคือต้นเหตุของการลงโทษ และเราคือบุคคลที่อัล-กุรอานกำลังกล่าวถึง และจงขอความช่วยเหลือและความคุ้มครองจากพระองค์

10. การให้ความก้าวหน้า

นักปราชญ์บางท่านกล่าวว่าหนึ่งในมารยาทของการอ่านอัล-กุรอานคือ การให้ความก้าวหน้า หมายถึงผู้อ่านเมื่ออ่านไปถึงยังจุด ๆ หนึ่งต้องคิดว่าอัล-กุรอานไม่อ่านออกมาจากปากของเรา แต่เรากำลังฟังอัล-กุรอานที่พระองค์กำลังตรัสให้ฟัง

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ฉันของสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า แท้จริงพระองค์ทรงอยู่ ณ เบื้องหน้าขณะที่ปวงบ่าวอ่านอัล-กุรอาน เพียงแต่ว่าเรามองไม่เห็นพระองค์

11. การปฏิบัติตามอัล-กุรอาน

นักปราชญ์บางท่านกล่าวว่าหนึ่งในมารยาทของการอ่านอัล-กุรอาน ซึ่งถือว่าเป็นมารยาททั้งภายในและภายนอกของการอ่านอัล-กุรอานคือ ผู้อ่านต้องปรับตัวเองทั้งภายนอกและจิตใจด้านในให้เข้ากับอัล-กุรอาน หมายถึงต้องมีมารยาทของอัล-กุรอาน และต้องขัดเกลาตนเองด้วยอัล-กุรอาน

๕๖

ต้องปฏิบัติตนตามการสั่งห้ามและสั่งใช้ของอัล-กุรอาน ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ได้ก็ต่อเมื่อเราได้อ่านอัล-กุรอานเสมอ ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่ามีริวายะฮฺจาก

อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ได้กล่าวถึงโองการที่ว่า บรรดาผู้ที่เราได้ให้คัมภีร์แก่พวกเขา พวกเขาอ่านคัมภีร์อย่างจริงจัง ( 1)

หมายถึง การปฏิบัติตามอัล-กุรอานนั่นเอง

الَّذينَ آتَيْناهُمُ الْکِتابَ يَتْلُونَهُ حَقَّ تِلاوَتِهِ

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า เมื่อสูเจ้าอ่านอัล-กุรอาน จำเป็นต้องละเว้นจากการกระทำความผิดทั้งหมด ถ้าหากไม่ละเว้นเท่ากับว่าเจ้าไม่เคยอ่าน

อัล- กุรอานเลย ( 2)

1 อัล - กุรอาน ซูเราะฮ์ อัล บะเกาะเราะฮฺ / 121

2 มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 84, อัรดุรุร มันซูร เล่ม 1 หน้า 111

ด้วยเหตุนี้เองจะเห็นว่า บางริยายะฮฺกล่าวว่า มีผู้อ่านอัล-กุรอานไม่น้อยเลยที่ถูกอัล-กุรอานสาปแช่ง ( 1)

1 บิฮารุลอันวาร เล่ม 92 หน้า 184

แน่นอนผู้ที่ปฏิบัติตนไม่ตรงกับอัล-กุรอาน หรือไม่สร้างตนเองและจิตวิญญาณให้ตรงกับอัล-กุรอานเท่ากับเขาได้อ่านภายนอกของอัล-กุรอานเท่านั้น และอัล-กุรอานไม่ยอมรับเขา ทว่ายังได้ห่างไกลออกจากเขา ซึ่งการกระทำเช่นนี้ในความจริงก็เท่ากับว่าเขาไม่เคยอ่านอัล-กุรอานเลยแม้แต่นิดเดียว

๕๗

12. การรับรู้ภาพปรากฏของอัลลอฮฺจากอัล-กุรอาน

ริวายะฮฺจำนวนมากมายกล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรากฏในอัล-กุรอาน ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ฉันขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า พระองค์ทรงปรากฏในดำรัสของพระองค์ เพียงแด่ว่าเรามองไม่เห็นพระองค์

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวไว้ในนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺของท่านว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรากฏแก่ประชาชนในคัมภีร์ของพระองค์

การปรากฏของอัลลอฮฺ (ซบ.) ในอัล-กุรอานและดำรัสของพระองค์หมายความว่าอย่างไร และการรับรู้การปรากฏของพระองค์มีความรู้สึกอย่างไร

ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องความหมายด้านในของอัล-กุรอาน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อผลแห่งการรู้จักอัล-กุรอาน และการเข้าใจระขั้นสูงของอัล-กุรอานได้เกิดกับตน แน่นอนว่าไม่ได้เกิดกับทุกคน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดขึ้นไม่ได้เพราะสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับความพยายาม และการปฏิบัติตัวให้อยู่ในครรลองของอิสลาม

๕๘

มีการขัดเกลาและยกระดับจิตใจตนเองเสมอ ตัวอย่างของนักปราชญ์มากมายทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้แสดงให้เห็นว่า ท่านเหล่านั้นได้รับเกียรติดังกล่าว เฉกเช่น นักปราชญ์แห่งยุคสมัยท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ผู้พลิกโฉมหน้าใหม่ของอิสลามให้โลกได้รู้จัก ท่านได้แสดงให้เห็นว่าอัล-กุรอานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่ท่านใช้เป็นอาวุธพิฆาตศัตรู

ตะญัลลียฺ หมายถึงการปรากฏภาพลักษณ์ เช่น ครั้งที่ท่านศาสดามูซา (อ.) ได้วอนขอต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ว่าต้องการเห็นพระองค์ พระองค์ตรัสว่า

وَلَمَّا جاءَ مُوسي‏ لِميقاتِنا وَ کَلَّمَهُ رَبُّهُ قالَ رَبِّ أَرِني‏ أَنْظُرْ إِلَيْکَ قالَ لَنْ تَراني‏ وَ لکِنِ انْظُرْ إِلَي الْجَبَلِ فَإِنِ اسْتَقَرَّ مَکانَهُ فَسَوْفَ تَراني‏ فَلَمَّا تَجَلَّي رَبُّهُ لِلْجَبَلِ جَعَلَهُ دَکًّا وَ خَرَّ مُوسي‏ صَعِقاً فَلَمَّا أَفاقَ قالَ سُبْحانَکَ تُبْتُ إِلَيْکَ وَ أَنَا أَوَّلُ الْمُؤْمِنينَ

และเมื่อมูซาได้มาตามกำหนดเวลาของเรา พระผู้อภิบาลของเขาได้ตรัสแก่เขา เขาได้กล่าวขึ้นว่า โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดให้ข้าฯได้เห็นพระองค์ด้วยเถิด เพื่อข้าฯจะได้มองดู พระองค์ตรัสว่า เจ้าจะไม่มีวันนเห็นฉันเด็ดขาด ทว่าเจ้าจงมองไปที่ภูเขาเถิด ถ้าหากมันมั่นอยู่ ณ ที่ของมัน เจ้าก็จะได้เห็นข้า ครั้นเมื่อพระผู้อภิบาลของเขาได้ประจักษ์ที่ภูเขา ก็ทำให้มันทลายตัวลงอย่างราบเรียบ และมูซาได้ล้มลงในสภาพหมดสติ ครั้นเมื่อเขาฟื้นขึ้น เขาก็กล่าวว่ามหาบริสุทธิ์พระองค์ ข้าฯขอลุแก่โทษต่อพระองค์และข้าฯคือคนแรกในหมู่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย( 1)

1 อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล อะอ์รอฟ / 143

๕๙

แน่นอนเมื่อพระองค์ปรากฏ ณ ภูเขาๆ นั้นได้แตกกระจายลงอย่างฉับพลัน ขณะที่พระองค์ทรงปรากฏบนอัล-กุรอานและอัล-กุรอานมิได้มีที่ท่าว่าจะสลาย สิ่งนี้ย่อมยืนยันให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของอัล-กุรอาน ซึ่งทำให้รู้ว่านักอ่านอัล-กุรอานทุกท่านต้องมีความระมัดระวังและปราณีตอย่างสูงในการอ่านอัล-กุรอาน

***********************

๖๐