การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน0%

การรู้จักอัล-กุรอาน ผู้เขียน:
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม: ห้องสมุดกุรอาน
หน้าต่างๆ: 154

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน: ฮุจญฺตุลอิสลาม ดร. มุฮัมมัดอะลี ริฎอ เอซ ฟาฮานี
ผู้แปล: เชคชรีฟ เกตุสมบูรณ์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 154
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 49975
ดาวน์โหลด: 5584

รายละเอียด:

การรู้จักอัล-กุรอาน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 154 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 49975 / ดาวน์โหลด: 5584
ขนาด ขนาด ขนาด
การรู้จักอัล-กุรอาน

การรู้จักอัล-กุรอาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ค. แนวทางหลักสำหรับการท่องจำอัล-กุรอาน

1. อ่านโองการซํ้า หมายถึง เริ่มต้นอ่านอัล-กุรอานและอ่านซํ้าไปมาจนจำ ซึ่งวิธีการนี้มีรายละเอียดว่า บางครั้งอ่านจนจบโองการโดยอ่านซํ้าไปซํ้ามา หรือบางครั้งแบ่งโองการออกเป็นส่วนต่างๆ หมายถึง สังเกตช่วงหยุดของโองการและแบ่งไปตามนั้น มิใช่แบ่งตามความสั้นยาวของโองการ หลังจากนั้นให้อ่านซ้ำไปซํ้ามาจนจำ หลังจากท่องจำแล้วกี่โองการก็ตามให้อ่านทวนใหม่ตั้งแต่แรกจนจบ

2. ฟังอัล-กุรอานจากเทปบันทึก หมายถึงการอ่านโองการซํ้าพร้อมกับฟังเสียง ซึ่งแนวทางนี้การฝึกฝนและการฟังมีผลอย่างมากต่อการท่องจำ

3. ใช้วิธีการเขียนโองการ หมายถึงให้เขียนโองการซํ้าหลาย ๆ ครั้งจนกระทั่งเกิดความเคยชินโดยไม่ต้องดูตัวบทเวลาเขียนครั้งต่อไป ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้จำอัล-กุรอานไปในตัว

ข้อควรพิจารณา

นักท่องจำอัล-กุรอานและผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายต่างให้ทัศนะว่าวิธีการแรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ง. การท่องจำอัล-กุรอานและเด็ก

ประสบการณ์ได้บอกว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับท่องจำอัล-กุรอานคือ เริ่มตั้งแต่อายุ 6 ถึง 15 ปี เนื่องจากในวัยนี้สมองเด็กยังว่างอยู่ไม่มีเรื่องต้องคิด ไม่ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ซึ่งเป็นวัยที่มีความเหมาะสมที่สุด

๘๑

แน่นอนว่าก่อนวัยนี้ตัวการอื่นๆ ก็มีผลไม่น้อยต่อการท่องจำอัล-กุรอานเช่น

1. การอ่านอัล-กุรอานของมารดาที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งมีผลในทางบวกอย่างมากกับทารกที่อยู่ในครรภ์ และตัวการสำคัญก่อนช่วงนี้คือ อสุจิที่สะอาดของบิดา พลังอีหม่าน ความยำเกรง และจิตใจที่ใสสะอาดของบิดามารดาเป็นตัวการสำคัญที่จะให้จิตวิญญาณแก่ทารกน้อยในครรภ์

2. การอ่านอัล-กุรอานให้ทารกที่อยู่ในวัยกินนม ซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กมีความคุ้นเคยกับอัล-กุรอาน

บางท่านได้เขียนว่า การอ่านอัล-กุรอานให้เด็กเป็นภารกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและเป็นการกระทำมีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งในอนาคตสิ่งนี้จะกลายเป็นตัวการสำคัญสำหรับการท่องจำอัล-กุรอาน

3. การเชิญชวนเด็กให้รักที่จะอ่านและท่องจำอัล-กุรอาน แต่การบังคับเด็กให้ท่องจำเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ทว่าเป็นวิธีที่จะทำให้เด็กมีปฏิกิริยาแข็งกร้าวและไม่ชอบอัล-กุรอานในที่สุด

วิธีดึงดูดใจที่ดีที่สุดเพื่อให้เด็กมีความรักและคิดอยากท่องจำอัล-กุรอานคือ การเล่าเรื่องเล่าต่างๆ ในอัล-กุรอานพร้อมกับอ่านโองการประกอบ

******************

๘๒

หมวดที่ 3 ผลสะท้อนของอัล-กุรอานที่มีต่อมนุษย์

อัล-กุรอานนั้นเหมือนกับการอ่าน การท่องจำ ความเข้าใจ และการปฏิบัติที่มีผลต่อมนุษย์ ซึ่งการส่งผลของอัล-กุรอานมีทั้งส่วนตัวและส่วนรวม

ณ ที่นี้จะขอกล่าวบางกรณีเท่านั้น เช่น

ก. การส่งผลในการอ่านอัล-กุรอาน

ตามที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อมารยาททั้งภายนอกและภายใน ของการอ่านอัล-กุรอานมีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก กล่าวคือ

1. เป็นการรำลึกถึงอัลลอฮฺ

นักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลายจะเริ่มอ่านด้วยการระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า โดยกล่าวว่า บิสมิลลาฮฺ ฮิรเราะฮฺมานิรรอฮีม ซึ่งการกล่าวประโยคนี้ออกมา

ถือว่าเป็นการรำลึกถึงพระองค์ที่ดีที่สุด และทำให้เรารู้จักสัจธรรมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่ามนุษย์รำลึกถึงพระองค์มากเท่าใด มนุษย์ก็จะใกล้ชิดกับพระองค์มากเท่านั้น

2.เป็นการเปิดประตูแห่งการเคารพภักดี

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ประตูแห่งการเคารพภักดีสามารถเปิดได้ด้วยการกล่าวบิสมิลลาฮฮฺ ( 1)

1ซะฟีนะตุลบิฮาร เล่ม 2 หน้า 417

๘๓

ดังนั้น จะเห็นว่าหนึ่งในประโยชน์สำคัญของการอ่านอัล-กุรอานคือการเริ่มต้นด้วยบิสมิลลาฮฺ เท่ากับเป็นการเปิดประตูแห่งการเคารพภักดี

3. เป็นการปิดประตูบาป

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ประตูแห่งบาปทั้งหลายสามารถปิดได้ด้วยการกล่าวขอความคุ้มครองจากพระองค์ว่า

อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม ( 2)

2อ้างแล้วเล่มเดิม

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัล-กุรอาน คือ

การขอความคุ้มครองจากพระองค์ ซึ่งประโยชน์คือเป็นการปิดประตูบาปต่างๆ

4. ประสบความสำเร็จในการอ่านดุอาอฺก่อนและหลังการอ่านอัล-กุรอาน

ดุอาอฺ หมายถึง การเรียกร้องหรือการวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าในสิ่งที่ตนปรารถนา ดังที่กล่าวไปแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีก่อนและหลังการอ่านอัล-กุรอานให้ดุอาอฺ ซึ่งสามารถดุอาอฺตามที่ริวายะฮฺที่ได้กล่าวไว้ หรือทุกดุอาอฺที่ต้องการสามารถกล่าวได้ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามทั้งสองกรณี ดุอาอฺคือ เตาฟีกสำหรับผู้อ่านอัล-กุรอานเพราะเท่ากับได้สนทนาและวิงวอนในสิ่งที่ตนปรารถนาจากพระองค์ และบั้นปลายสุดท้ายเท่ากับมนุษย์มีเตาฟีกเพิ่มขึ้นในการดำเนินชีวิต ทั้งทางโลกและทางธรรม

๘๔

5. รางวัลของผู้อ่านอัล-กุรอานคือดุอาอฺถูกยอมรับ

ท่านอิมามซอดิก (อ.) รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า บุคคลใดเปิดอัล-กุรอานและอ่านจนจบดุอาอฺของเขาจะถูกตอบรับ ณ อัลลอฮฺ ( 1)

1บิฮารุลอันวาร เล่ม 89 หน้า 204

6. อัล-กุรอานเป็นสาเหตุให้อีหม่านเพิ่มพูน

เมื่อมีซูเราะฮฺถูกประทานลงมาได้มีคนหนึ่งพูดว่า อัล-กุรอานบทนี้ทำให้ผู้ใดมีอีห่มานเพิ่มขึ้นบ้าง อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَإِذَا مَا أُنزِلَتْ سُورَةٌ فَمِنْهُم مَّن يَقُولُ أَيُّكُمْ زَادَتْهُ هَذِهِ إِيمَانًا فَأَمَّا الَّذِينَ آمَنُواْ فَزَادَتْهُمْ إِيمَانًا وَهُمْ يَسْتَبْشِرُونَ

และเมื่ออัล-กุรอานบทหนึ่งถูกประทานลงมา ดังนั้น ในหมู่พวกเขามี

ผู้กล่าวว่า มีใครบ้างจากพวกท่านที่บทนี้ทำให้เขามีศรัทธาเพิ่มขึ้น ฉะนั้นสำหรับบรรดาผู้ศรัทธา บทนี้ได้ทำให้ศรัทธาของพวกเขาเพิ่มขึ้น แล้วพวกเขาก็มีความปิติยินดี ( 1)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺอัต เตาบะฮฺ 124

๘๕

อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า

وَإِذَا تُلِيَتْ عَلَيْهِمْ آيَاتُهُ زَادَتْهُمْ إِيمَانًا وَعَلَى رَبِّهِمْ يَتَوَكَّلُونَ

และเมื่อบรรดาโองการของพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา โองการเหล่านั้นได้เพิ่มพูนความศรัทธาแก่พวกเขา (อันฟาล 2)

7. ความโปรดปรานของพระองค์ถูกประทานลงมากับอัล-กุรอาน

อัล-กุรอานกล่าวว่า และเราได้ประทานส่วนหนึ่งจากอัล-กุรอานลงมา ซึ่งเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา ( 2)

2อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลอิซรออฺ 82

ดังนั้น นักอ่านอัล-กุรอานคือ บุคคลแรกที่มีส่วนร่วมในความโปรดปรานของอัล-กุรอาน

8. อัล-กุรอานเป็นชะฟาอฺ

อัล-กุรอานเป็นโอสถที่บำบัดโรคภายในของมนุษย์ อาการป่วยใข้ทางจิตใจ และเป็นยารักษาสำหรับบุคคลที่มีอาการป่วยทางใจที่มนุษย์ด้วยกันไม่สามารถรักษาให้หายได้ และโดยเหตุผลแล้วบุคคลแรกที่ได้รับการรักษาโดยอัล-กุรอานคือ ผู้อ่านอัล-กุรอานทั้งหลาย

๘๖

9. การชี้นำของพระผู้เป็นเจ้า

อัล-กุรอานเป็นคัมภีร์แห่งการชี้นำ บุคคลแรกที่ได้รับการชี้นำจาก

อัล-กุรอานคือ ผู้ศรัทธาและผู้มีความยำเกรง อัล-กุรอานกล่าวว่า

จงกล่าวเถิด มุฮัมมัด อัล-กุรอานเป็นทางนำและเป็นการบำบัดแก่บรรดา

ผู้ศรัทธา ส่วนบรรดาผู้ไม่ศรัทธานั้น ( 1)

1.อัล - กุรอาน อัซ ฟุซซิลัต 44

จริงอยู่ที่ว่าการชี้นำแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน แต่ละคนจะได้รับไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถและความพอดี แต่อย่างไรก็ตามทุกคนมีสิ่ทธิ์ได้รับประโยชน์จากการชี้นำทั้งสิ้นแต่จะมากหรือน้อยอย่างไร ขึ้นอยู่กับอีหม่านและความยำเกรงของแต่ละคนว่าจะมากน้อยเพียงใด

10.ทำความสะอาดภายในและสร้างสรรค์จิตวิญญาณ

ผู้อ่านอัล-กุรอาน ถ้าหากใส่ใจต่อมารยาทด้านในของการอ่านมากเท่าใด ความบริสุทธิ์ใจ และความสงบมั่นของจิตวิญญาณก็จะเพิ่มมากขึ้นไปตามขั้นตอน เท่ากับเป็นการขัดเกลาจิตใจและสร้างสรรค์จิตวิญญาณไปในตัว

๘๗

11. ความสะอาดตามชัรอียฺ

ก่อนอ่านอัล-กุรอาน ผู้อ่านทุกท่านต้องฆุซลฺหรือวุฎูอฺก่อน เพื่อขจัดความโสมมและความโสโครกของจิตวิญญาณให้หมดไป หมายถึงวุฎูอฺและฆุซลฺนั้นจะช่วยสร้างรัศมีและขจัดความโสมมภายในจิตใจให้หมดไป เรียกว่าเป็นความสะอาดตามชัรอียฺ ดุจดังเช่นที่ได้ขจัดความโสโครกให้หมดไปจากร่างกาย

12. อนามัยส่วนตัว

ผู้อ่านอัล-กุรอานควรจะแปรงฟัน อาบนํ้า มีวุฎูอฺ หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซึ่งการกระทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการรักษาความสะอาดส่วนตัว ทำให้เป็นคนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง

13. กลายเป็นชาวกุรอาน

การอ่านและการสร้างความคุ้นเคยกับอัล-กุรอาน จะทำให้มนุษย์ได้รับรัศมีและอยู่ภายใต้คำสอนของอัล-กุรอานไปโดยปริยายที่ละน้อย และเขาจะกลายเป็นมนุษย์กุรอานไปในที่สุด หมายถึงจะปฏิบัติตัวและไม่กระทำสิ่งใดขัดกับอัล-กุรอานเด็ดขาด กิริยามารยาทจะกลายเป็นกิริยาของอัล-กุรอาน ความเชื่อก็อัล-กุรอาน ความสะอาดก็อัล-กุรอาน อีกนัยหนึ่ง เท่ากับเขาได้ย้อมตัวเองดัวยสีสันของอัล-กุรอาน ฐานันดรของเขาจะสูงส่งขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นภาพลักษณ์และคำพูดของอัล-กุรอาน

๘๘

14. ความคิดจะเติบโต

ขณะที่อ่านอัล-กุรอาน ถ้าตรึกตรองตามไปทีละน้อย จะเป็นสาเหตุทำให้ความคิดอ่านของตนั้นนเติบโตตามไปด้วย แน่นอนเมื่อความคิดเติบโตก็จะทำให้การดำเนินชีวิตประสบแต่ความสำเร็จ

15. เป็นการอิบาดะฮฺทางสายตา

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การมองไปที่หน้ากระดาษของอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ ( 1)

แน่นอนพระวัจนะของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เหมาะสมสำหรับบุคคลที่อ่านอัล-กุรอานเป็นประจำ ท่าน (ซ็อล ฯ) กล่าวอีกว่า สายตาได้รับประโยชน์จากการอิบาดะฮฺก็เมื่อยามที่มองไปยังอัล-กุรอาน ( 2)

1บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 89 หน้า 199

2มะฮัจญะตุลบัยฎอ เล่ม2 หน้า 231

16. ส่งผลต่อการเลี้ยงดูบุตร

เมื่อบิดา มารดา อ่านอัล-กุรอานในบ้าน แน่นอนย่อมส่งผลในทางบวกแก่บุตรและธิดาของตน เท่ากับเป็นการอบรมสั่งสอนบุตรในทางอ้อม และเป็นสาเหตุทำให้บุตรของตนมีความรักต่ออัล-กุรอาน

๘๙

17. เป็นการชำระล้างบาปต่าง ๆ

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานเป็นการขอลุแก่โทษบาปกรรม ( 1)

18. ทำให้ปลอดภัยจากไฟนรก

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานคืออุปสรรคขวางกั้นไฟนรก และเป็นสาเหตุให้ปลอดภัยจากการลงโทษของพระองค์

19. เป็นการสนทนากับพระผู้เป็นเจ้า

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า เมื่อใดก็ตามหากพวกท่านต้องการสนทนากับพระผู้อภิบาลละก็จงอ่านอัล-กุรอาน ( 2)

20. การอ่านอัล-กุรอานทำให้จิตใจมีชีวิตชีวา ( 3)

21. การอ่านอัล-กุรอานเป็นอุปสรรคในการทำอนาจารทั้งหลาย

แน่นอนถ้าหากเราเป็นนักอ่านอัล-กุรอานที่แท้จริง และรู้จักไตร่ตรองโองการต่าง ๆ วิถีชีวิตและความคิดอ่านของเราย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

1บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 92 หน้า 17

2บิฮารุลอันวาร เล่ม 92 หน้า 17

3อ้างแล้วเล่มเดิม

๙๐

และนอกเหนือจากการอ่านแล้ว ยังได้ปฏิบัติตามอัล-กุรอานอีกต่างหาก ความชั่วและความอนาจารทั้งหลายจะเกิดในสังคมได้อย่างไร

ข. ผลการอ่านอัล-กุรอานที่เกิดกับชีวิตทางสังคม

ประเด็นที่กล่าวถึงมารยาททั้งภายนอกและภายใน เกี่ยวกับการอ่าน

อัล- กุรอาน สามารถกล่าวได้ว่าสิ่งนี้มีบทบาทมากกับวิถีชีวิตทางสังคม เช่น

1. เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอัล-กุรอานแก่สังคม

เมื่อทุกคนอ่านอัล-กุรอานจากเล่มผลที่จะตามมาคือ การพิมพ์อัล-กุรอานให้พอดีกับจำนวนคน เมื่ออัล-กุรอานถูกพิมพ์มาก และการอ่านได้รับความนิยมมากเท่าใดวัฒนธรรมของอัล-กุรอานก็จะเติบโตมากเท่านั้น และเป็นการเรียกร้องให้ประชาชนให้สนใจอัล-กุรอานมากยิ่งขึ้น เช่น ในอิหร่านปัจจุบันเมื่อเทียบกับอิหร่านก่อนการปฏิวัติจะแตกต่างกันลิบลิ่ว สมัยก่อนไม่มีคนสนใจอัล-กุรอานเท่าที่ควร จะมีเฉพากผู้ใหญ่ คนสูงอายุ และนักเรียนศาสนาเท่านั้น อิหร่านไม่เคยมีชื่อเสียงเรื่องการอ่าน และการท่องจำอัล-กุรอาน แต่ปัจจุบันนี้อิหร่านสามารถพัฒนาการอ่าน และการท่องจำอัล-กุรอานเป็นอันดับหนึ่งในเอเซียหรือในโลกก็ว่าได้ ทุกสาขาอาชีพในอิหร่านมีนักกอรียฺและนักท่องจำส่งเข้าแข่งขันเสมอ มีนักท่องจำอัล-กุรอานรุ่นจิ๋วตั้งแต่อายุ 3 ขวบขึ้นไปจำนวนมากมาย สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของวัฒธรรมอัล-กุรอานและความสนใจของประชาชน

๙๑

2. การพบวิชาการสมัยใหม่และแนวทาง

ภายใต้ร่มเงาของการอ่านอัล-กุรอานทำให้พบวิชาการใหม่ ๆ เช่น หลักการอ่านอัล-กุรอาน ความรู้เกี่ยวกับอัล-กุรอาน และการอธิบาย

อัล-กุรอาน

3. การประกวดแข่งขันอัล-กุรอานอย่างต่อเนื่อง

เมื่อสังคมต้อนรับการอ่านอัล-กุรอานมากขึ้น การแข่งขันในเชิงวิชาการทั้งการอ่าน การท่องจำ และการอธิบายอัล-กุรอานตามหน่วยงาน

องค์กรต่าง ๆ และระดับประเทศก็มีมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งผลที่ตามมาคือ ประชาชนส่วนใหญ่รักการฝึกฝนความศรัทธาของตนไปโดยปริยาย

4. ทำให้ภาษาอัล-กุรอานเติบโตมากขึ้น

เมื่อสังคมมีการอ่านอัล-กุรอานกันมากยิ่งขึ้นภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาอัล-กุรอานก็ได้รับความสนใจมากขึ้นตามลำดับ อีกด้านหนึ่งภาษาอาหรับถือเป็นภาษากลางสำหรับชาวมุสลิมทุกคน เมื่อทุกคนเข้าใจภาษา

อัลกุรอานมากขึ้น การโจมตีทางด้านวัฒนธรรมก็จะลดน้อยลงไปตามลำดับ ประกอบกับทำให้มีการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

๙๒

5. ผลของการยอมรับการเรียนรู้อัล-กุรอาน

การเติบโตด้านการอ่านอัล-กุรอานเป็นสาเหตุทำให้วัฒนธรรม ความรู้ และจริยธรรมอิสลามเติบโตตามไปด้วย และเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนลำรึกถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ดีวิธีหนึ่ง อีกทั้งเป็นการสอนให้ประชาชนรำลึกถึงพระองค์ในทางอ้อม

6. อัล-กุรอานเป็นยาบาบัดอาการป่วยไข้ของสังคม

ดังที่ทราบแล้วว่าอัล-กุรอานเป็นยารักษาอาการป่วยไข้ภายในดีที่สุด ซึ่งเป็นสาเหตุในการบำบัดสังคมไปในตัว อัล-กุรอานกล่าวว่า

قُلْ هُوَ لِلَّذِينَ آمَنُوا هُدًى وَشِفَا

อัลกุรอานเป็นแนวทางที่เที่ยงธรรม เป็นทางนำและเป็นการบำบัดบรรดาผู้ศรัทธา ( 1)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัซ ฟุซซิลัต 44

وَنُنَزِّلُ مِنَ الْقُرْآنِ مَا هُوَ شِفَاءٌ وَرَحْمَةٌ لِّلْمُؤْمِنِينَ

และเราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา ( 2)

2อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล อิซรอ 82

๙๓

อัล-กุรอานยํ้าเน้นเสมอเรื่องการต่อสู้กับสิ่งอานาจารและความชั่วร้าย และเป็นยาบำบัดความป่วยไข้ของสังคมที่ดีที่สุด อัล-กุรอานปลุกจิตวิญญาณของสังคมให้ตื่นขึ้น และสอนประชาชาติให้รู้จักการเสียสละทั้งเลือดเนื้อและทรัพย์สิน เพื่อปกป้องมาตุภูมิและศาสนาของตน

แน่นอนการที่อัล-กุรอานสอนเช่นนี้เนื่องจากสิ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่สามารถทำให้สังคมมนุษย์รอดพ้นความวิบัด มีความจำเริญ และมีความสมบูรณ์ บนพื้นฐานดังกล่าวทำให้ประชาชาติแสดงความเคารพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่คิดร้าย หรืออคติ หรือนินทาว่าร้ายกันและกัน ในอีกด้านหนึ่งถ้าสังคมใดปราศจากสิ่งเหล่านี้ สังคมนั้นก็จะกลายเป็นสังคมที่สะอาดบริสุทธิ์ และมีความสงบเรียบร้อย

7. การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการปกครองที่กดขี่ของทรราช

อัล-กุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า

وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَّسُولًا أَنِ اعْبُدُوا اللَّـهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ ۖ

แน่นอน เราได้ส่งเราะซูลลงมาในทุกๆ ประชาชาติ เพื่อเชิญชวนมนุษย์ไปสู่การเคารพภักดีต่อพระเจ้า และออกห่างจากบรรดาผู้อธรรม ( 1)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺ อันนะฮฺลิ 36

๙๔

8. เพื่อการช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการตั้งภาคีเทียบเคียงกับพระเจ้า

9. การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากให้รอดพ้นจากบิดเบือน

อัล-กุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า

فَالَّذِينَ آمَنُوا بِهِ وَعَزَّرُوهُ وَنَصَرُوهُ وَاتَّبَعُوا النُّورَ الَّذِي أُنزِلَ مَعَهُ ۙ أُولَـٰئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ

ดังนั้น บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา และให้ความสำคัญแก่เขาและช่วยเหลือเขา และปฏิบัติตามแสงสว่าง)ที่ถูกประทานลงมาแก่เขา ชนเหล่านี้แหละคือบรรดาผู้ที่สำเร็จ ( 2)

2อัล - กุรอาน บทอัลอะอฺรอฟ / 157

การแพร่ขยายการอ่านอัล-กุรอานเป็นสาเหตุทำให้ วัฒนธรรมของการอัล-กุรอานก็ถูกปฏิบัติไปโดยปริยาย ดังจะเห็นว่า การช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากการกดขี่ การบิดเบือน และการตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้าล้วนเป็นวัฒนธรรมของอัล-กุรอานทั้งสิ้น

๙๕

บทที่ 2 ผลสะท้อนของการท่องจำอัล-กุรอานที่มีต่อมนุษย์และสังคม

ประโยชน์ทั้งหลายที่มีต่อการอ่านอัล-กุรอานได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งสิ่งนั้นเป็นสัจจะสำหรับการท่องจำอัล-กุรอานเช่นกัน ก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงมารยาทและเงื่อนไขของการท่องจำอัล-กุรอาน พร้อมทั้งกล่าวถึงริวายะฮฺและโองการที่เกี่ยวข้องกับการท่องจำมาแล้ว ในบทนี้จะขอยํ้าเน้นถึงโองการต่างๆ เหล่านั้น เช่น

1. การท่องจำอัล-กุรอานเป็นสาเหตุให้อัลลอฮฺ (ซบ.) อภัยในความผิด ต่างๆ ( 1)

1มุซตัดร็อก อัลวะซาอิล เล่ม 4 หมวด 17 หน้า 269 ฮะดีษที่ 4669

บางริวายะฮฺกล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ทรงลงโทษหัวใจที่เป็นแหล่งรวบรวมโองการต่าง ๆ ของพระองค์ ( 2)

2มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 76

2. นักท่องจำอัล-กุรอาน ถ้าปฏิบัติตามสิ่งที่ตนได้ท่องจำ เขาคือพลพรรคของอัลลอฮฺ ( 3)

3อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 441

๙๖

3. การท่องจำหนึ่งโองการเทียบเท่าสวรรค์หนึ่งชั้น ( 4)

4บิฮารุลอันวาร เล่ม 89 หน้า 22

4. การท่องจำอัล-กุรอานเป็นความโปรดปรานของอัลลอฮฺ (ซบ.)

ท่าน อิมามซอดิก (อ.) กล่าวสิ่งนี้ไว้ในบทดุอาอฺของท่าน ( 5)

5อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 417

5. การท่องจำอัล-กุรอาน การอ่านโองการซํ้าไปซํ้ามาเป็นการรำลึก

อัลลอฮฺ (ซบ.) ที่ดีทีสุด ซึ่งสิ่งนี้เป็นเตาฟีกอย่างหนึ่งของพระองค์

6. เป็นการเก็บข้อมูลหลายประการจากอัล-กุรอาน นักท่องจำได้พยายามเก็บรายละเอียดทั้งหมดของอัล-กุรอานทั้งซูเราะฮฺ โองการ การเแปล

การตัฟซีร และสาเหตุของการประทานโองการ เพื่อเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีที่สุดระหว่างสติปัญญากับอัล-กุรอาน และเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ท่องจำได้เร็วที่สุด

7. การท่องจำเป็นบทนำของการปฏิบัติตามอัล-กุรอาน นักท่องจำ

อัล- กุรอาน เมื่อเทียบกับนักอ่านอัล-กุรอานจะมีการปฏิบัติตามอัล-กุรอานมากกว่า

8. นักท่องจำอัล-กุรอานตามความเป็นจริงแล้วเขาคืออัล-กุรอานพูดได้

****************

๙๗

หมวดที่ 4 ขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอาน

อัล-กุรอานุลกะรีมเปรียบเสมือนเป็นสำรับอาหารที่ทรงคุณค่ายิ่งของ

พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติทุกท่านสู่สำรับอาหารของพระองค์ และให้ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่มีความสามารถ แต่ละคนสามารถได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานตามความสามารถและการขวนขวายของตน

การชี้นำ (ฮิดายะฮฺ) ของอัล-กุรอานเป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งบางขั้นตอนเป็นการชี้นำสำหรับคนทั่วไป และบางขั้นตอนของการชี้นำสำหรับบุคคลที่มีเงื่อนไขเฉพาะเจาะจงพิเศษเท่านั้น

บางครั้งอาจกล่าวได้ว่า อัล-กุรอานถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำทางมนุษย์ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้เข้าสู่ภายใต้ร่มเงาแห่งการชี้นำของ

อัล- กุรอาน กล่าวว่า เพื่อชี้นามวลมนุษยชาติ ( 1)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ / 185

บางครั้งอาจกล่าวได้ว่า อัล-กุรอานถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำกลุ่มชนที่เฉพาะเจาะจงพิเศษ หมายถึงการได้รับการชี้นำขั้นสูงสุดของอัล-กุรอาน เช่น กลุ่มชนที่มีความยำเกรง

๙๘

อัล-กุรอานกล่าวว่า เพื่อชี้นำมวลผู้มีความยำเกรง ( 1)

กลุ่มชนที่มีความดีงาม อัล-กุรอาน กล่าวว่า เพื่อชี้นาและเป็นการเมตตาแก่บรรดาผู้กระทาความดี ( 2)

ในบางครั้ง บางกลุ่มชนใช้ประโยชน์จากความหมายภายนอก หรือเพียงแค่มองไปยังอัล-กุรอานเท่านั้น แต่บางกลุ่มชนได้พิจารณาไตร่ตรองและเข้าไปสู่การอธิบายความหมายที่ลึกซึ้งของอัล-กุรอาน

หนังสือเล่มที่อยู่ตรงหน้าท่านผู้อ่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย พยายามรวบรวมขั้นตอนที่ง่ายที่สุด และรวบรัดเพื่อสร้างความเข้าใจและได้รับประโยชน์มากที่สุดจากอัล-กุรอาน ที่สำคัญที่สุดเพื่อเป็นบันไดก้าวไปสู่การชี้นำขั้นสูงสุดของอัล- กุรอาน เพื่อที่ว่าตัวเราจะได้กลายเป็นชาวอัล-กุรอาน

1. การมองไปยังอัล-กุรอาน

ขั้นตอนแรกในการรู้จักอัล-กุรอาน หรือคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งพระผู้เป็นเจ้าคือ การมองไปยังคัมภีร์เป็นขั้นตอนที่ง่ายที่สุดสำหรับการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอาน เนื่องจากอัล-กุรอานนั้นเป็นรัศมี กล่าวว่า มนุษยชาติทั้งหลาย แน่นอนได้มีหลักฐานจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้ามายังพวกเจ้าแล้ว และเราได้ให้แสงสว่างอันชัดแจ้งลงมายังพวกเจ้าด้วย ( 3)

1อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ / 2

2อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺลุกมาน / 3

3อัล - กุรอาน ซูเราะฮฺนิซาอฺ / 174

๙๙

และการมองไปยังอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การมองไปยังเล่มของอัล-กุรอาน หมายถึงหน้ากระดาษของอัล-กุรอานเป็น

อิบาดะฮฺ ( 1)

1บิฮารุลอันวาร เล่ม 89 หน้า 199

แม้กระทั่งผู้ท่องจำอัล-กุรอานยังได้รับคำแนะนำว่าให้มองไปยัง

อัล-กุรอานขณะอ่าน ( 2)

2อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้า 449 พิมพ์ที่มักตะบะตุลอิสลามียะฮฺ เตหะราน 1388 สุริยคติ

ขั้นตอนดังกล่าวได้ครอบคลุมการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานทั้งผู้ที่มีความรู้ และไม่มีความรู้ และยังเป็นแนวทางสำหรับบุคคลที่ยังไม่สามารถอ่านอัล-กุรอาน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวตามความเป็นจริงแล้วอวัยวะทุกส่วนบนร่างกายต่างได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานทั้งสิ้น เช่น สายตาได้รับประโยชน์จากการมองไปยังอัล-กุรอาน

2. การฟังอัล-กุรอาน

ขั้นตอนที่สองสำหรับการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานคือ ขณะที่อ่านอัล-กุรอานให้ฟังด้วยความตั้งใจ และใคร่ครวญในความหมาย

๑๐๐