ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร0%

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 17950
ดาวน์โหลด: 4460

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 239 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 17950 / ดาวน์โหลด: 4460
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ต่อไปนี้จะเป็นการกล่าวลำดับถึงเรื่องราวที่ดีเด่นในแง่มุมต่าง ๆ จากวิถีการดำเนินชีวิตของท่านอิมามอะบูญะอ์ฟัรอัล-บากิร(อ)

- ๑-

เมื่อท่านอิมามบากิร(อ)ได้พบเห็นผู้ประสบภัยพิบัติ ท่าน(อ)จะขอความคุ้มครองจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)ในอาการที่สงบเงียบ(๒)

( ๒) กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๒๑.

- ๒

ท่านมุฮัมมัด บิน มุนกะดิรได้กล่าวไว้ว่า :

เมื่อฉันได้เห็นท่านมุฮัมมัด บินมุนกะดิรได้ถามขึ้นว่า

“ สิ่งใดที่เป็นบทเรียนของท่าน ? ”

ท่านมุฮัมมัด บินมุนกะดิรได้เล่าว่า :

ครั้งหนึ่งฉันได้เคยเดินทางไปยังเมือมะดีนะฮฺ ท่ามกลาช่วงเวลาที่ร้อนจัดแล้วฉันได้พบกับท่านมุฮัมมัด บินอะลี

ซึ่งเป็นคนที่เคร่งครัดในศาสนา เขากำลังนั่งพิงทับคนรับใช้ผิวดำของเขาอยู่ ๒ คน ฉันบอกกับตัวเองว่า ผู้อาวุโสในตระกูลกุเรชคนนี้หาความสุขทางโลกอย่างนี้ในช่วงเวลาเช่นนี้กระนั้นหรือ ฉันยืนยันที่จะสั่งสอนเขา เมื่อฉันขยับเข้าไปใกล้ ฉันก็ได้กล่าวสลามแก่เขา ท่านอะลีได้ตอบรับสลาม ในขณะนั้นตัวของเขาเปียกโชกไปด้วยหยาดเหงื่อ ฉันได้กล่าวขึ้นว่า :

“ ขอให้อัลลอฮ์ (ซ.บ.) แก้ไขท่านด้วยเถิด ผู้อาวุโสแห่งตระกูลกุเรชมัวแต่หาความสุขทางโลกอยู่ในช่วงเวลาเช่นนี้กระนั้นหรือ ถ้าความตายมาเยือนท่านในชณะที่ท่านอยู่ในสภาพเช่นนี้

ท่านจะทำอย่างไร ?

ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)ได้กล่าวตอบ ขณะที่ท่าน(อ)ได้ผละจากคนใช้ทั้งสองคน พลางกล่าวว่า

“ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ถ้าความตายมาหาฉัน ในขณะที่ฉันอยู่อย่างนี้ ซึ่งฉันถือว่า ฉันกำลังทำหน้าที่ตามคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั่นคือ ฉันยับยั้งตัวของฉันมิให้ละเมิดต่อท่านและต่อมนุษย์ทั้งหลาย

ที่ฉันกลัวอยู่อย่างเดียวก็คือว่า ถ้าความตายจะมาหาฉันในขณะที่ฉัน

กำลังกระทำในสิ่งที่ละเมิดต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)เท่านั้น ”

ท่านมุฮัมมัด บินมุนกะดิรจึงกล่าวว่า

“ ขอให้อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ประทานความเมตตาแก่ท่านด้วยเถิด ตอนแรกฉันต้องการที่จะให้บทเรียนแก่ท่าน แต่แล้วท่านกลับให้บทเรียนแก่ฉัน ” (๓)

( ๓) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า ๑๙๖. กัซฟุล-ฆุมมะฮ์ หน้า ๒๑๓.

- ๓-

ท่านอิมามศอดิก(อ)ได้กล่าวว่า :

ในบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ)นั้น บิดาของฉันเป็นคนที่มีทรัพย์สินน้อยที่สุด แต่เป็นคนที่มีเสบียงมากที่สุด ท่าน(อ)ได้บริจาคทานด้วย

เงินดีนารทุก ๆ วันศุกร์

แล้วท่าน(อ)ได้กล่าวว่า

“ การบริจาคทานในวันศุกร์นั้นจะเพิ่มพูนความดีงามอย่างมากมาย เนื่องในวันศุกร์เป็นวันที่มีความดีเหนือกว่าวันอื่น ๆ ทั้งปวง ( ๔)

( ๔) ษะวาบุล-อะอ์มาล หน้า ๑๘๕.

- ๔-

ในยามที่ท่านอิมามบากิร(อ)ยิ้มแย้มแจ่มใน ท่าน(อ)จะกล่าวดุอาอ์พร้อมกันไปว่า

“ โอ้ พระผู้เป็นเจ้า โปรดอย่าได้ลงโทษแก่ข้าพระองค์ ” (๕)

( ๕) มะฏอลิบุซ-ซะอูล เล่ม ๒ , หน้า ๕๒. กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๑๑.

มีคนกลุ่มหนึ่งได้มาหาท่านอะบูญะอ์ฟัร(อ)แล้วคนเหล่านั้นก็ได้พบว่า ลูกชายคนเล็กของท่าน(อ)กำลังป่วยหนัก ซึ่งเขาเหล่านั้นเห็นว่าท่าน(อ)ได้ให้ความสนใจอยู่อย่างเป็นพิเศษ และด้วยความเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ซึ่งท่าน(อ)ไม่สบายใจเลย

พวกเขาเหล่านั้นกล่าวกันว่า

“ หากมีอะไรเกิดขึ้น แน่นอนน่ากลัวที่สุดว่า เราจะต้องได้เห็นในสิ่งที่เราไม่พึงปรารถนา ”

แต่แล้วไม่นานก็ได้ยินเสียงร้องเรียกท่าน(อ)ขึ้นอย่างฉับพลัน ครั้งแล้วเมื่อท่าน(อ)กลับออกมาหาพวกเขาสีหน้าของท่าน(อ)ยังดูสงบ ราบเรียบเหมือนกับไม่ได้อยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น

เลย คนเหล่านั้นพูดกับท่าน(อ)ว่า

“ พวกเรากลัวเหลือเกินว่า เราจะได้เห็นท่านในอาการที่เป็นทุกข์ระทมถ้าหากความสูญเสียเกิดขึ้นกับท่าน ซึ่งมันเท่ากับได้สร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้นกับพวกเราด้วย ”

ท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ได้กล่าวว่า

“ แน่นนอนที่สุด เรารักและปรารถนาที่จะให้คนที่เรารักมีความสุขปลอดภัย แต่ถ้าคำบัญชาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) มาถึง เราก็จะน้อมรับในสิ่งที่พระองค์ทรงต้องการ (๖)

( ๖) บิฮารุล-อันวาร เล่ม ๑๑ , หน้า ๘๖.

- ๖-

ท่านอะบูอับดุลลอฮ์(อ) ได้กล่าวว่า :

ในตอนที่ท่านอะบูญะอ์ฟัร(อ)เสียชีวิต ท่าน(อ)ได้ปล่อยทาสของท่าน(อ)ให้เป็นอิสระหลายคน ซึ่งแต่ละคนล้วนแล้วแต่ประพฤติตัวไม่ดี ส่วนคนที่ประพฤติตัวดีนั้นท่าน(อ)ยังคงไว้ให้อยู่กับท่าน(อ)ในฐานะทาสตามเดิม

ฉันได้ถามท่าน(อ)ว่า

“ โอ้ ท่านพ่อ ทำไมท่านจึงปลดปล่อยคนพวกนั้นให้เป็นอิสระและทำไมท่านจึงคงสภาพคนพวกนี้ไว้เหมือนเดิม ? ”

ท่านอิมาน(อ)ตอบว่า

“ แท้จริงแล้วคนทั้งสองพวกต่างก็ถูกลงโทษจากฉันไปแล้วเหมือน ๆ กัน เพราะฉะนั้นฉันจึงทำอย่างนี้ ” ( ๗)

( ๗) อัด-ดัมอะตุซ ซากิบะฮฺ หน้า ๔๑๕.

-๗-

ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)ไม่ชอบที่จะได้ยินคนในบ้านของท่าน(อ)เรียกผู้ขอบริจาคทานว่า ‘ ผู้ขอ ’ แต่ท่านอิมาม (อ) สอนคนในบ้านว่า

“ พวกท่านจงเรียกชื่อของเขาเหล่านั้นด้วยชื่อที่ดี ๆ ของพวกเขาเถิด"(๘)

( ๘) อ้างเล่มเดิม หน้า ๔๑๖.

คุณธรรมและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของอิมามที่ ๕

ข้อสำคัญของคุณธรรมและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มิได้อยู่ตรงที่ว่า จะต้องมอบสิ่งของจำนวนมากมายมหาศาลให้ หากแต่ข้อสำคัญของมันอยู่ตรงที่การมอบให้นั้นจะต้องเกิดจากความศรัทธา

และความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า อีกทั้งจะต้องประกอบไปด้วยจริยธรรมที่ดีงาม ตลอดจนการรักษาชื่อเสียงเกียรติยศของผู้ขอ เช่นเดียวกันกับที่ว่าถ้าผู้รับมีความจำเป็นในเรื่องทรัพย์สินอย่างมาก การให้ก็จะต้องเป็นไปด้วยคุณธรรมอย่างสูงเช่นกัน

บรรดานักปราชญ์ผู้อรรถาธิบายอัล-กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องราวของบางโองการที่ถูกประทานมาเกี่ยวกับตัวของท่านอะลี

อะมีรุล-มุอ์มินีน(อ) ถึงแม้จะเป็นการบริจาคสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ

แต่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็ได้ทรงประทานโองการในเรื่องนี้ไว้ใน

อัล-กุรอานคือ

“ บรรดาผู้ซึ่งบริจาคทรัพย์สินของพวกเขาในยามกลางคืน และในยามกลางวัน ทั้งโดยลับและโดยเปิดเผยนั้น สำหรับพวกเขาคือ รางวัลของพวกเขาจากพระผู้อภิบาลของพวกเขา และจะไม่มีความ

หวาดกลัวใด ๆ จากพวกเขา และพวกเขาจะไม่เศร้าโศก ”

( อัล - บะกอเราะฮ์ : ๒๗๔)

ซึ่งเป็นโองการที่ถูกประทานมาหลังจากที่ท่านอิมามอะลี

บิน อะบีฏอลิบ(อ)ได้บริจาคเงิน ๔ดิรฮัมสุดท้ายของท่าน(อ)เท่าที่มีอยู่ โดยท่าน(อ)ได้บริจาคในยามกลางคืน ๑ ดิรฮัม ในยามกลางวัน

๑ ดิรฮัม ในยามลับ ๑ ดิรฮัม และในยามเปิดเผย ๑ ดิรฮัม

อีกโองการหนึ่งที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้ประทานลงมาในเรื่องของท่าน(อ)คือ

“ อันที่จริงแล้ว ผู้ปกครองของพวกสูเจ้ามี แต่เพียงอัลลลอฮ์ และศาสนทูตของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาซึ่งดำรงนมาซ และจ่ายซะกาตในขณะโค้ง ”

( อัล - มาอิดะฮ์: ๕๕)

โองการนี้ได้ถูกประทานลงมาเนื่องจากท่านอิมามอะลี(อ)บริจาคแหวนของท่าน(อ)แก่ผู้มาขอบริจาคในมัสญิดของท่านศาสดา

มุฮัมมัด(ศ)แต่ไม่มีผู้ใดมอบอะไรให้ ขณะที่ท่านอิมามอะลี(อ)

นมาซอยู่ ท่าน(อ)ได้กระดิกนิ้วของท่าน(อ)เป็นสัญญาณส่งไปยัง

ผู้ขอคนนั้น ซึ่งเขาก็ได้ถอดแหวนวงนั้นของท่าน(อ)เอาไป

และยังมีอีกซูเราะฮ์หนึ่งที่ถูกประทานลงมาคือ ‘ อัล-ฆอชิยะฮฺ ’ เกี่ยวกับเรื่องของอะฮ์ลุลบัยต์ ( อ) หลังจากที่เขาได้บริจาคส่วนหนึ่งของแป้งสาลีให้แก่คนขัดสน เด็กกำพร้า และเชลย

มีรายงานจากท่านอะบู บะศีร(ร.ฎ.)ว่า :

ข้าพเจ้าได้กล่าวกับอิมามท่านหนึ่ง(หมายถึงระหว่างท่านอิมาม

บากิรหรืออิมามศอดิก)ว่า

“ การบริจาคที่ประเสริฐยิ่งนั้นเป็นอย่างไร ? ”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ หมายถึง ทุ่มเท เสียสละในสิ่งที่มีอยู่น้อยที่สุด เพราะฉันเคยได้ยินได้ฟังโองการหนึ่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ตรัสว่า:

“ และเขาเหล่านั้นยอมให้ตัวของพวกเขารับความทุกข์เป็นการทดแทน ถึงแม้ว่าจะมีความจำเป็นเฉพาะกับพวกเขาอยู่ก็ตาม ” ( ๑)

( ๑) จากหนังสือ ‘ ษะวาบุล-อะอ์มาล ’ หน้า ๑๔๒.

ข้อที่ควรสังเกตก็คือว่า ถ้าการมอบให้และการบริจาคทานเป็นไปด้วยวิธีการอันถูกต้อง ก็ย่อมจะหมายถึงคุณค่าที่สูงส่งกว่าการพิจารณาในแง่ของจำนวนสิ่งของที่บริจาค เพราะการกระทำ

เช่นนี้ย่อมประกอบด้วยความบริสุทธิ์ใจ และการมุ่งถวายต่อพระผู้เป็นเจ้า

แนวทางอันละเอียดถี่ถ้วนนี้เองที่บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)ได้ถือปฏิบัติในขณะที่พวกเขามอบสิ่งของและบริจาค

แน่นอนที่สุด บรรดาอิมามเหล่านี้ได้ถวายตนอย่างใกล้ชิดยังอัลลอฮ์(ซ.บ.)โดยการบริจาคสิ่งต่าง ๆเหล่านั้น อีกทั้งยังเป็นการกระทำที่นำพวกท่านให้เข้าถูกยังพระองค์ นับเป็นเกียรติประวัติที่ควรค่าในการกล่าวถึงตลอดไปชั่วนิรันตร์ ท่ามกลางอนุชนรุ่นต่อไปในภายภาคหน้ายั่งยืนนาน

เราจะขอนำเอาเรื่องราวเหล่านี้บางส่วนของท่านอิมามอะบูญะอฟัร(อ)มาเสนอดังนี้

.... ๑....

‘ ซัลมา ’ หญิงรับใช้คนหนึ่งของท่านอิมามอะบูญะอ์ฟัร(อ) ได้กล่าวว่า:

ไม่ว่ายามใดที่มิตรสหายของท่าน(อ)เข้าพบ ทุกคนจะไม่สามารถออกมาจากการเข้าพบท่าน(อ)ได้

จนกว่าเขาเหล่านั้นจะได้รับประทานอาหารที่เอร็ดอร่อยเสียก่อน และท่าน(อ)จะมอบเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวยงามให้กับพวกเขาเหล่านั้นและท่าน(อ)ยังได้มอบเงินดีนารอีกจำนวนหนึ่งให้แก่พวกเขาเหล่านั้นด้วย

ข้าพเจ้าเคยพูดกับท่าน(อ)ในเรื่องนี้เพื่อที่จะให้ท่าน(อ)ลดปริมาณของที่จะบริจาคลงไปบ้าง

ท่าน(อ)กล่าวว่า

“ ซัลมาเอ๋ย อะไรก็ตามที่มันเป็นสิ่งดี ๆ ในโลกนี้ เราจะต้องนำมันมาเป็นสื่อสัมพันธ์กับหมู่พี่น้อง และเพื่อไมตรีจิตต่อกัน ” (๒)

( ๒) นูรุล-อับศอร หน้า ๒๐๗. กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๑๑. อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮ์ หน้า ๑๙๗. ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮ์ เล่ม ๒ , หน้า ๖๓.

.... ๒....

ท่านอัมร์ บินดีนารและท่านอับดุลลอฮ์ บินตุฟัยล์ บินอามิรได้กล่าวว่า :

ไม่ว่าในยามใดที่เราได้พบกับท่านอะบูญะอ์ฟัรมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ท่าน(อ)จะต้องนำส่งของบริจาคของขวัญเพื่อเป็นสื่อสัมพันธ์ และเสื้อผ้าอาภรณ์ให้แก่พวกเราเสมอไป

แล้วท่าน(อ)จะกล่าวว่า

“ นี่คือสิ่งของสำรองไว้สำหรับพวกท่าน ก่อนที่พวกท่านจะมาพบกับฉัน ” ( ๓) ( ๓) กัซฟุล-ฆุมมะฮ์ หน้า ๒๔๑. อะอ์ยานุช-ชีอะฮ์กอฟ ๒/๔๙.

.... ๓....

ท่านอัซวัด บินกะซีรได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้ร้องทุกข์ต่อท่านอะบูญะอ์ฟัร(อ)เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและการที่ญาติพี่น้องกระด้างกระเดื่อง

ท่าน(อ)กล่าววว่า

“ พี่น้องที่เลวยิ่งนั้นได้แก่ ผู้ที่เอาใจใส่ต่อเจ้าในขณะที่เจ้าร่ำรวยแต่ตัดขาดจากเจ้าในขณะที่เจ้ายากจน ”

หลังจากนั้นท่าน(อ)ได้ส่งคนรับใช้ให้นำถุงเงินออกมา ซึ่งในนั้นมีเงินจำนวน ๗๐๐ ดิรฮัม

แล้วกล่าวว่า

“ จงเอาเงินก้อนนี้ไปใช้จ่ายเถิด ครั้งเมื่อจ่ายเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จงบอกให้ฉันรู้ด้วย ” (๔)

( ๔) ศิฟาตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม ๒ , หน้า ๖๓. อัล-ฟุซูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า ๑๙๗. กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า๒๑๑. มะฏอลิบุซ-ซูอูล เล่ม ๒ , หน้า ๕๓.

๔....

ท่านซุลัยมาน บินก็อรรอมได้กล่าวว่า :

ท่านอะบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บินอะลี(อ)นั้นได้เคยนำเงินมาจุนเจือพวกเราครั้งละ ๕๐๐ ดิรฮัมบ้าง ๖๐๐ ดิรฮัมบ้าง ๑ , ๐๐๐ ดิรฮัมบ้าง

ท่าน (อ)ไม่เคยแหนงหน่ายจากการผูกสัมพันธ์กับพี่น้องของท่าน(อ)และการติดต่อกับคนที่มีความต้องการและมีความมุ่งหวังจะได้รับจากท่าน(อ) ( ๕)

( ๕) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้ ๑๙๗. กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๑๔. มะฏอลิบุซ-ซูอูล เล่ม ๒ , หน้า ๕๓.

๕....

ท่านอะบูอับดุลลอฮ์(อ)ได้กล่าว่า

ข้าพเจ้าได้เข้าไปพบบิดาของข้าพเจ้าในวันหนึ่ง ในขณะนั้นท่าน(อ)ได้บริจาคทานแก่คนยากจนหลายคนแห่งเมืองมะดีนะฮ์ ด้วยเงินจำนวน ๘ , ๐๐๐ ดีนาร และท่าน (อ) ได้ปล่อยทาสให้เป็นอิสระจำนวน ๑๑ คน ( ๖)

( ๖) บิฮารุล-อันวารฺ เล่ม ๑๑ , ห น้า ( ๔) ศิฟาตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม ๒ , หน้า ๖๓. อัล-ฟุซูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า ๑๙๗. กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า๒๑๑. มะฏอลิบุซ-ซูอูล เล่ม ๒ , หน้า ๕๓. ห น้า ๘๖.

สำนักคิดทางวิชาการของอิมามบากิร(อ)

รัฐอันแข็งแกร่งที่มุอาวิยะฮฺได้สถาปนามันขึ้นมานั้น เกิดขึ้นด้วย

เลือดเนื้อของบรรดาศอฮาบะฮฺ และบรรดาตาบิอีน ผู้อาวุโสทั้งสิ้น ท่านอิมามฮะซัน(อ)ผู้ที่เป็นหลานของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ท่านอัมร์ บินฮุมก์ อัล-ค็อซซาอี ท่านฮิจร์ บินอุดัย อัล-ฮินดี และบรรดามิตรสหาย ตลอดจนถึงบรรดามุลลิมรุ่นอาวุโสคนอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง

ท่านอิบนุ ฮินด์ นักปราชญ์ใหญ่คนหนึ่งได้ให้ข้อสังเกตว่า :

อาณาจักรการปกครองของอุมัยยะฮ์นั้นเป็นอาณาจักรที่คงไว้ซึ่งความเป็นเผด็จการเหนืออำนาจเผด็จการใด ๆ

หลังจากที่อิมามฮุเซน(อ)ได้พลีชีพไปเพราะถูกสังหารแล้ว การปะทะกำลังเริ่มมีขึ้น ซึ่งความเด็ดขาดของอับดุลมาลิก บินมัรวาน ก็มิได้ให้คุณประโยชน์แต่ประการใดแก่อาณาจักร แล้ว

ฮัจญาจ บินยูซุฟก็ได้แผ่อำนาจเข้ามาครอบงำโดยการปกครองแบบทรราชของตน แล้ว

อาณาจักรของวงศ์อุมัยยะฮ์ได้ถึงแก่การล่มสลายในรัชสมัยของฮิชาม บินอับดุลมาลิก เนื่องจากการรณรงค์ต่อสู้ของราชวงศ์

อับบาซิยะฮ์ที่ได้เริ่มต้นขึ้นในประเทศเปอร์เซีย(อิหร่าน)

ท่านอิมามอะบูญะอ์ฟัร(อ)ได้อาศัยเวลาในสภาพการณ์เหล่านี้เป็นโอกาสในการเปิดสำนักวิชาการของท่าน(อ)ขึ้นจนสามารถผลิตบรรดานักปราชญ์ออกมาจากสำนักวิชาการดังกล่าวจำนวน

หลายร้อยคน ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ยืนยันให้เห็นถึงความเป็นจริง

ตามที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้เคยแจ้งให้ท่านญาบิร บินอับดุลลอฮ์ อันศอรี(ร.ฏ.)ได้ทราบไว้ในกาลก่อนว่า

“ ญาบิรเอ๋ย หวังว่าเจ้าจะได้มีโอกาสอยู่ต่อไปจนทันได้พบกับบุตรชายคนหนึ่งของบุตรชายฮุเซน ชื่อของเขาจะเหมือนกับชื่อของฉัน เขาจะมีความแตกฉานทางวิชาการอย่างแท้จริง

หมายความว่า เขาสามารถที่จะอธิบายวิชาการในแขนงต่าง ๆ ได้อย่างถี่ถ้วน ครั้นถ้าหากเจ้าได้มีโอกาสพบเห็นเขา เจ้าก็จงฝากสลามฉันให้แก่เข้าด้วยเถิด ”

ความแตกฉานและความเก่งกาจสามารถทางวิชาการของท่านอิมามญะอ์ฟัร(อ)นั้นมีมากมายอย่างล้นเหลือ จนกระทั่งโลกนี้ดาษดื่นไปด้วยวิชาความรู้ของท่าน(อ) และได้มีการนำเอาวิชาความรู้ของท่าน(อ)มาแพร่หลายกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เคยมีวิชาความรู้ของผู้ใดได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันไปอย่างนี้มาก่อน

ท่านญาบิร อัล-ญุอ์ฟี(ร.ฏ.)ได้กล่าวว่า

“ ท่านอะบูญะอ์ฟัรนั้นได้สอนฮะดีษให้แก่ข้าพเจ้าจำนวน ๗๐ , ๐๐๐ ฮะดีษ (๑)

( ๑) อะอ์ยานุช-ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๒/๒๘.

ท่านมุฮัมมัด บินมุสลิม(ร.ฏ.)ได้กล่าวว่า

“ ไม่ว่าข้าพเจ้าจะข้องใจในสิ่งใด ๆ ก็ตาม ข้าพเจ้าจะต้องเรียนถามท่านอะบูญะอ์ฟัร(อ) เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เสมอ จนกระทั่งว่า ข้าพเจ้าได้เรียนถามฮะดีษต่าง ๆ จากท่านมากถึง ๓๐ , ๐๐๐ ฮะดีษ ( ๒)

( ๒) ริยาลุล-กุซซี หน้า ๑๐๙.

ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ในสมัยของท่าน(อ)บางคนยืนยันในการบอกเล่าเรื่องของท่าน(อ)ว่า

ประชาชนทั้งหลายได้พากันรุมล้อมท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ) เพื่อขอร้องให้ท่านออกคำวินิจฉัยความเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ทางศาสนบัญญัติ และคนเหล่านั้นต่างก็ได้ข้อปุจฉาในแขนงวิชาการต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาสลับซับซ้อนอย่างมากมาย

ซึ่งท่าน(อ)ก็มิได้ปฏิเสธแม้สักคำถามเดียวจนกระทั่งท่าน ( อ) ได้ออกคำวินิจฉัยความให้แก่เขาเหล่านั้นมากถึง ๑ , ๐๐๐ ปัญหา เสร็จแล้วท่านจึงมุ่งหน้าเพื่อเดินทางต่อไป ( ๓)

( ๓) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๗๕.

ท่านเชคมุฟีด(ร.ฮ.)ได้กล่าวว่า :

ท่านอิมามบากิร หรือท่านมุฮัมมัด บินอะลี บินฮุเซน(อ)นั้น นับว่าเป็นตัวแทนของอิมามอะลี บินฮุเซน(อ)และเป็นทายาทของท่าน(อ)ท่ามกลางบรรดาพี่น้องจำนวนหลายคน ท่าน(อ)อยู่ใน

ฐานะที่เป็น ‘ อัล-กออิม ’ ( ผู้เป็นหลักฐานที่ดำรงอยู่)

สำหรับตำแหน่งอิมามภายหลังจากท่านอิมามอะลี บินฮุเซน (อ)ท่าน(อ)ได้สำแดงให้เป็นที่ปรากฏแก่บรรดาหมู่คณะของท่าน(อ)ถึงเกียรติคุณอันล้นพ้นเหลือในด้านวิชาการ ในด้านความมีสมถะ และความเป็นผู้นำ ท่าน(อ)เป็นผู้ที่ให้ข้อคิดเตือนสติปัญญาแก่พวกเขาทั้งหลาย และเป็นผู้สนับสนุนพวกเขาเหล่านั้นอย่างเต็มกำลัง

ความสามารถ ทั้งในโอกาสต่าง ๆ โดยทั่วไป และบางโอกาสเป็นการเฉพาะ ในหน้าประวัติศาสตร์นั้นจะเห็นได้ว่าไม่มีคนหนึ่งคนใดจากลูกหลานของท่านอิมามฮะซัน(อ)และอิมามฮุเซน(อ)จะเป็นผู้

ที่สำแดงให้ปรากฏถึงวิชาความรู้ทางศาสนา

ความรู้ทางประวัติศาสตร์และซุนนะฮฺ อีกทั้งความรู้ทางอัล-กุรอาน จริยศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และวัฒนธรรม ให้เพียบพร้อมอย่างที่ท่านอะบูญะอ์ฟัร(อ)

ได้สำแดงให้ปรากฏ บรรดามวลมิตรสหายคนอื่น ๆ นั้น ล้วนแต่ได้เรียนรู้วิชาการทางศาสนาจากท่าน(อ)ผู้นี้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นบรรดานักปราชญ์ในรุ่นตาบิอีน หรือบรรดานักปราชญ์ของปวง

มุสลิมระดับแนวหน้า ล้วนแล้วแต่ได้กลายมาเป็นผู้รู้ก็เนื่องจากคุณงามความดีทางวิชาการของท่าน ( อ) และได้ถือเอา (อ) เป็นเยี่ยงอย่าง อีกทั้งได้ดำเนินชีวิตไปตามคุณลักษณะของท่าน (อ)

ดังที่มีปรากฏเป็นหลักฐานในบทกวีตอนหนึ่งซึ่งนักกวีผู้มีชื่อเสียงคือท่านกูรตีได้กล่าวไว้ว่า :

“ โอ้ ผู้ปราชญ์เปรื่องทางวิชาการของเหล่าบรรดาผู้มีตักวา โอ้ ผู้มีปัญญาที่ประเสริฐยิ่งของเหล่าบรรดานักปราชญ์ ” (๔)

( ๔) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๘๔.

ท่านอิบนุชะฮ์ริออชูบ(ร.ฮ.)ได้กล่าวไว้ว่า :

บรรดานักปราชญ์อื่น ๆ ตลอดจนถึงนักปราชญ์ในรุ่นตาบิอีนและนักฟุกอฮา(นักนิติศาสตร์อิสลาม)รุ่นอาวุโสของบรรดามุสลิมนั้นต่างก็ได้เรียนรู้วิชาการทางศาสนาจากท่านมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ดังนี้

ในรุ่นศอฮาบะฮ์ คือ ท่านญาบิร บินอับดุลลอฮ์ อันศอรี

ในรุ่นตาบิอีนคือ ท่านญาบิร บินยะซีด อัล-ญุอ์ฟี และท่านกีซาน ซัคติยานี ผู้เชียวชาญทางสาขาศูฟีจากบรรดานักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง ผู้ซึ่งได้รับเอาความรู้จากท่าน(อ)มาบันทึกต่อนั้นคือ

ท่าน(อ)ฏ็อบรี ท่านบะลาซิรีย์ ท่านซะลามี และท่านคอฏีบ

คนกลุ่มนี้ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับตัวท่านอิมามบากิร(อ)ไว้ในตำราประวัติศาสตร์ของพวกตน

และยังมีบันทึกไว้ตามรายชื่อหนังสือดังนี้

หนังสือ ‘ อัล-มุวัฏเฏาะ ’ หนังสือ ‘ ชะรอฟุล-มุศฏอฟา ’ หนังสือ ‘ อัล-อิบานะฮฺ ’ หนังสือ ‘ มุชนะตัย อะบีฮะนีฟะฮ์ วัลมะรูซี ’ หนังสือ ‘ ตัรฆีบุล อิศฟะฮานี ’ หนังสือ ‘ บะซิฏุล-วาฮิดี ’ หนังสือ ‘ ดัฟซีรุล-นุกอซ ’ หนังสือ ‘ ตัฟซีร-ซะมัคชะรี ’ หนังสือ ‘ มะอริฟะตุ อุศูลิลฮะดีษ ’ และหนังสือ ‘ ริซาละตุซ ซัมอานีย์ ’

“ เจ้าของตำราเหล่านี้จะกล่าวด้วยประโยคเดียวกันว่า:

“ ท่านมุฮัมมัด อิบนุอะลีได้กล่าวไว้ ”

หรือบางทีพวกเขาก็จะกล่าวว่า :

“ ท่านมุฮัมมัด บากิรได้กล่าวไว้ดังนี้ ” ( ๕)

( ๕) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๘๔.

ท่านอิบนุ ชะฮ์ริออชูบ(ร.ฮ.)ยังได้กล่าวอีกว่า :

บรรดานักปราชญ์ทั้งหลายได้ลงมติเห็นพ้องต้องกันว่า นักปราชญ์ทางศาสนา ผู้เชี่ยวชาญรุ่นแรกๆ นั้นมี ๖ ท่าน ทุกคนล้วนเป็นสานุศิษย์ของอะบูญะอ์ฟัร(อ)และอะบูอับดุลลอฮ์(อ)ผู้เป็นอิมามมะอศูมีน อันได้แก่

๑. ท่านซุรอเราะฮ์ บินอะอยุน

๒. ท่านมะอรูฟ บินค็อรบูซ อัล-มักกี

๓. ท่านอะบูบะศีร อัล-อะซะดี

๔. ท่านฟุฏัยล์ บินยะซาร

๕. ท่านมุฮัมมัด บินมุสลิม อัฏ-ฏออิฟี

๖. ท่านบุรอยด์ บินมุอาวิยะฮ์ อัล-ดัจลีล

ท่านอิบนุชะอริออชูบ ยังได้กล่าวอีกว่า :

ท่านฮุมรอน บินอะอ์ยุน อัช-ชัยบานี และพี่น้องของท่าน (เช่น ท่านบุกัยร์ ท่านอับดุลเราะฮ์มาน ท่านอับดุลมาลิก)

ส่วนหนึ่งจากสานุศิษย์ของท่านได้แก่

ท่านมุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บินบะซีอ์ ท่านอับดุลลอฮ์ บินมัยมูน อัล-กีดาฮ์ ท่านมุฮัมมัด บินมัรวาน อัล-กูฟี ท่านอิสมาอีล บินฟัฏลาฮ์ อัล-ฮาชิมี ท่านอะบูฮารูน อัล-มักฟูฟ ท่านศอรีฟ นาศิฮ์

ท่านซะอีด บินศอรีฟ พัล-อัชกาฟ อัด-ดูลี ท่านอิสมาอีล อิบนุญาบิร อัล-ค็อษอะมี ท่านอุกะฮฺ บินบะชีร อัล-อะซะดี ท่านอัซลัม อัล-มักกี(คนสนิทของอิบนุฮะนะฟียะฮฺ) ท่านอะบูบาศีรลัยษ์ บิน บักตะรี

อัล-มุรอฏี ท่านอัล-กูมีต บิน เซด อัล-อะซะดี ท่านนาญิยะฮฺ บินอัมมาเราะฮ์ อัศ-ศ็อยดาวี ท่านมุอาซบินมุสลิม อัล-ฮิรอย์ อัน-นะฮฺวี และท่านบะชีร อัร-ริฮาล( ๖)

( ๖) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๙๕.

ท่านอะบูนะอีม อิศบะฮานีได้กล่าวว่า : บรรดาตาบิอีนที่ได้ศึกษาวิชาความรู้จากท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)นั้น ได้แก่

ท่านอัมร์ บินดีนาร ท่านอะฏออ อิบนุ อะบีริบาอ ท่านญาบิร อัล-ญุอฟี ท่านอะบาน บินตัฆลิบ

และมีบรรดาอิมามตลอดจนถึงนักปราชญ์ทางศาสนาอีกหลายท่านในรุ่นหลัง ที่ได้เรียนรู้เรื่องราวศาสนาที่มาจากท่านเช่น

ท่านลัยษ์ บินอะบีซะลิม ท่านอิบนุ ญุรีฮฺ ท่านฮัจญาจญ์ บินอิรฏอ( ๗) ( ๗) ฮิลยะตุ้ล-เอาลิยาอ์ เล่ม ๓ , หน้า ๑๘๘.

จากวันนั้นถึงวันนี้ กาลเวลาได้ผ่านไปแล้ว ๑๓ ทศวรรษที่ท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ได้สถาปนาสำนักวิชาการนี้ขึ้นมา ความรู้ทางศาสนบัญญัติฮะดีษและตัฟซีร ตลอดจนถึงวิชาการแขนงอื่นๆ ก็ยังคงมีอยู่อย่างไม่ขาดสาย สายธารแห่งวิชาความรู้อันบริสุทธิ์ยังดำเนินติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องไม่เคยหยุดยั้ง

การตัฟซีรพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน

ในบทที่ผ่านมา ท่านได้อ่านถึงเรื่องราวของทางวิชาการของท่าน

อิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ไปแล้ว จะเห็นได้ว่าการสถาปนาขึ้นมาซึ่งสำนักวิชาการอันยิ่งใหญ่ของท่านอิมาม(อ)ในการสร้างสรรศิษยานุศิษย์ให้มีความรู้ในแขนงต่าง ๆ นั้นได้มีแขนงวิชาความรู้ในด้านการตัฟซีรอัล-กุรอานอีกด้วย

ถ้าหากคนทั้งหลายให้การยอมรับต่อบรรดาอิมามโดยหวนย้อนไปพิจารณาวิชาการตัฟซีรของพวกท่านโดยเฉพาะแล้วไซร้ จะได้เห็นว่า ท่านเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญในวิชาการด้านนี้เป็นพิเศษเหนือกว่าบุคคลอื่น ๆ ทั้งนี้ ก็เพราะว่าพวกท่าน(อ)คือ ศูนย์หลักของพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน