ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร0%

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 17947
ดาวน์โหลด: 4460

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 239 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 17947 / ดาวน์โหลด: 4460
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ดังที่มีคำอธิบายไว้ใน ‘ ฮะดีษษะกอลัยน์ ’ พวกท่าน (อ) ได้รับการกล่าวกันในโองการของอัลลอฮ์ ( ซ.บ.) ที่ว่า:

“ และไม่มีผู้ใดล่วงรู้การตีความของมันได้ นอกจากอัลลอฮ์ และบรรดาผู้สันทัดชัดเจนในวิชาความรู้ ” ( อาลิ-อิมรอน: ๗)

แน่นอนที่สุด ใครก็ตามที่ได้ศึกษาตำราตัฟซีรเล่มต่าง ๆ เขาก็จะได้พบว่า ในตำราเหล่านั้นเต็มไปด้วยการกล่าวถึงการตัฟซีรของบรรดาอิมามมะอศูมีน(อ) จนกระทั่งว่า นักตัฟซีรบางท่านได้

รวบรวมหนังสือขึ้นมาสรุปเฉพาะแต่รายงานริวายะฮฺต่าง ๆ ที่ได้รับการบอกเล่ามาจากบรรดาอิมามเหล่านั้น(อ) (๑)

เป็นที่น่าเสียใจอยู่ประการหนึ่งว่า ขนาดหนังสือของเราเล่มนี้นั้นมีเนื้อที่ไม่กว้างมากพอสำหรับการที่จะรวบรวมการตัฟซีรของ

อิมามบากิร(อ)มาบันทึกไว้หมด แต่เชื่อมั่นได้อย่างหนึ่งว่า

ผู้ที่สนใจใคร่ศึกษาย่อมสามารถที่จะรวบรวมตำราตัฟซีรอัล-กุรอานที่สมบูรณ์แบบ

ทั้งนี้โดยสรุปเอาเฉพาะแต่การตัฟซีรที่ได้รับมาจากอิมามทั้งสองท่านนี้คือ ท่านอิมามบากิร(อ)กับท่านอิมามศอดิก ( อ)

เราจะขอกล่าวถึงการตัฟซีรบางโองการของอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)มาบันทึกไว้ต่อไปนี้

(๑) เช่น ตัฟซีรของท่านอะลี บินอิบรอฮีม อัล-กุมมี ,

ตัฟซีรของท่านฟูรอต อัล-กูฟี ตัฟซีรของท่านอัยยาชีย์ ตัฟซีรของท่านฮุวัยซี และตัฟซีรของท่านซัยยิดบะฮฺรอนี

ตัฟซีรอัล-กุรอาน

ซูเราะฮ์อัล-อิซรออ์ โองการที่ ๓๒

อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงตรัสว่า :

“ และสูเจ้าจงอย่าเข้าใกล้การล่วงประเวณี (ซินา) เพราะมันเป็นสิ่งที่ชั่วช้า และเป็นหนทางที่เลวทรามยิ่ง ” ( อัล-อิซรออ์: ๓๒)

ท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ได้อธิบายโองการนี้ไว้ว่า

คำว่า ‘ เป็นสิ่งที่ชั่วช้า ’ ( ฟาฮิชะฮฺ)หมายถึง การละเมิดและการทรยศ เพราะแท้จริงอัลลอฮ์(ซ.บ.)จะทรงชิงชังและกริ้วโกรธต่อเขาผู้นั้น

คำว่า “ เป็นหนทางที่เลวทรามยิ่ง ” ( ซาอะ ซะบีลา)

หมายความว่า คนที่จะได้รับการลงโทษอย่างแสนสาหัส และถือว่าการทำผิดประเวณีนั้นเป็นบาปใหญ่ที่สุดประการหนึ่ง(๒)

(๒) ตัฟซีรอัล-บุรฮาน เล่ม ๒ , หน้า ๔๑๗.

ตัฟซีรอัล-กุรอาน

ซูเราะฮ์อัล-อิซรออ์ โองการที่ ๗๐

อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงตรัสว่า :

“ และเราได้ให้เกียรติยกย่องเขาเหล่านั้นเหนือบรรดา ผู้ที่เราได้สร้างขึ้นมา อันจะได้รับคุณงามความดีอย่างมากมาย ”

( อัล-อิซรออ์: ๗๐)

ท่านอิมามบากิร(อ)ได้อรรถาธิบายว่า

พระองค์ได้ทรงสร้างทุกสิ่งมาให้อยู่ในสภาพที่ก้มตัวลง นอกเหนือจากมนุษย์เท่านั้นที่พระองค์ได้สร้างมันมาให้อยู่ในสภาพเหยียดตรง ( ๓)

( ๓) อ้างเล่มเดิม หน้า ๔๒๙.

ตัฟซีรอัล-กุรอาน

ซูเราะฮ์อัล-อันบิยาอ์ โองการที่ ๓๐

ซูเราะฮ์ฏอฮา โองการที่ ๘๑

อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงตรัสว่า :

พวกปฏิเสธมิได้เห็นดอกหรือว่า แท้จริงชั้นฟ้าและแผ่นดินนั้นรวมคิดเป็นมวลเดียวกันแล้วเราได้แยกมันทั้งสองออกจากกัน ”

( อัล-อันบิยาอ์: ๓๐)

ท่านอัมร์ บินอะบีด นักปราชญ์แห่งเมืองบัศเราะฮฺได้เข้ามาหาท่านมุฮัมมัด บินอะลี บินฮุเซน(อ)เพื่อทดสอบท่าน(อ)ด้วยคำถามต่าง ๆ ซึ่งเขาได้ตั้งคำถามว่า

“ ขอให้ช่วยไขความตามโองการ (อัล-อันบิยาอ์: ๓๐) นี้ที่ว่า อะไรคือ ความหมายของคำว่า ‘ รวมติดเป็นมวลเดียวกัน ’ และคำว่า ‘ แยกมันทั้งสองออกจากกันด้วยเถิด ?

ท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ตอบว่า

“ แต่ก่อนนี้ชั้นฟ้ารวมติดเป็นมวลเดียวกัน ทำให้ไม่มีฝนตกลงมาและแผ่นดินก็รวมติดเป็นมวลเดียวกัน ทำให้ไม่มีฝนตกลงมาและแผ่นดินก็รวมติดเป็นมวลเดียวกัน พืชพันธุ์ธัญญาหารก็ไม่งอกเงย ”

อัมรฺถึงกับเงียบงัน เพราะตนเองไม่สามารถจะหาข้อใดมาโต้แย้ง( ๔)

( ๔) นุรุล-อับศอร หน้า ๒๐๗.

และเขาได้ถามท่านอิมามอะบูญะอ์ฟัร(อ)อีกว่า

“ ขอให้ท่านได้โปรดขยายความหมายของโองการอีกโองการหนึ่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ว่า:

“ และผู้ใดก็ตาม ถ้าความโกรธกริ้วของฉันได้ถูกสำแดงให้ปรากฏขึ้นแก่เขาแล้วไซร้แน่นอนเหลือเกิน เขาจะต้องวิบัติ (ฏอฮา: ๘๑)

“ ขอท่านถาม คำว่า ‘ กริ้วโกรธ ’ ( ฆ่อฏอบ) ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร ? ”

ท่านอะบูญอฟัร(อ)ตอบว่า

“ หมายถึง ‘ การลงโทษ ’ นั่นเอง ”

“ โอ้ อัมรฺเอ๋ย แท้จริงผู้ใดที่อ้างว่า อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้แปรสภาพจากสิ่งหนึ่งไปเป็นอีกสิ่งหนึ่งก็เท่ากับเขากำหลังอธิบายคุณลักษณะของพระองค์ให้เป็นดังเช่น คุณลักษณะของมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮ์(ซ.บ.)นั้นไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีชัยชนะเหนือพระองค์ได้ และไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงพระองค์ได้( ๕

( ๕) อัต-เตาฮีด หน้า ๑๖๘.

ตัฟซีรอัล-กุรอาน

ซูเราะฮ์อัล-อะฮฺซาบ โองการที่ ๔๙

อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงตรัสว่า :

“ ดังนั้นสูเจ้าจงให้ประโยชน์แก่พวกนางและ (ถ้าสูเจ้าจะหย่าขาดจากนาง) ก็ให้เป็นการหย่าขาดที่ดีงาม ” ( อัล-อะฮ์ซาบ: ๔๙)

ท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)กล่าวว่า

“ หมายถึงให้พวกสูเจ้ารับภาระกับพวกนางโดยคุณธรรมตามที่พวกท่านมีความสามารถ แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เป็นผู้ทรงเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และทรงมีความละอาย จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความละอายในอันที่จะต้องมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้มากที่สุดต่อสตรีที่อยู่ในการปกครอง ( ๖)

( ๖) บิฮารุล-อันวาร เล่ม ๑๗ , หน้า ๑๖๗.

ตัฟซีรอัล-กุรอาน

ซูเราะฮ์ซะบะอ์ โองการที่ ๕๒

อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงตรัสว่า :

“ สำหรับพวกเขาจะสามารถเข้าถึงความศรัทธาจากสถานที่ไกลเช่นนี้ได้อย่างไร ” ( ซะบะอ์: ๕๒)

ท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)กล่าวว่า

“ โองการนี้มีความหมายว่า เขาเหล่านั้นแสวงหาทางนำจากที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ และเท่ากับว่าเป็นผู้ที่ถูกทำให้สูญเปล่าเนื่องจากไม่สามารถจะเข้าถึงได้เลย ( ๗)

( ๗) ตัฟซีร อัล-บุรฮาน เล่ม ๓ , หน้า ๓๒๙.

ตัฟซีรอัล-กุรอาน

ซูเราะฮ์ศอด

โองการที่ ๗๕

อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงตรัสว่า :

“ อะไรคือสิ่งที่ยับยั้งมิให้เจ้าขุญูดต่อสิ่งที่ฉันได้สร้างขึ้นมากับมือของฉัน ” ( ศอด: ๗๕)

ท่านมุฮัมมัด บิน มุสลิม(ร.ฎ.)ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าได้ถามท่านอิมามอะบูญะอ์ฟัร(อ)เกี่ยวกับโองการของ

อัลลอฮ์(ซ.บ.)ข้างต้น

ท่านอิมาม(อ)กล่าวตอบว่า

“ คำว่า ‘ มือ ’ ในภาษาอาหรับหมายถึง ‘ กำลัง ความสามารถและความโปรดปราน ’

มีโองการของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ที่ว่า :

“ และจงรำลึกถึงเรื่องราวแห่งข่าวของเรา นั่นคือ ‘ ดาวูด ’ เจ้าแห่งมือ (พลัง) ” ( ศอด: ๑๗)

และซูเราะฮ์อัซ-ซฺาริยาต โองการ ๔๗ ที่ว่า :

ส่วนอีกโองการของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ที่ว่า :

“ และเราได้สนับสนุนเขาด้วยวิญญาณอันบริสุทธิ์ (ตามรากศัพท์ หมายถึง การสนับสนุน

ด้วยมือ) ” ( อัล-บะกอเราะฮ์: ๘๗ )

ตามสำนวนอาหรับก็มักจะมีคนพูดกันว่า ‘ ฉันมีมือสีขาว ’ หมายความว่า ‘ ฉันได้รับความโปรดปราน ’…” ( ๘)

( ๘) ตัฟซีร อัล-บุรฮาน เล่ม ๔ , หน้า ๖๔.

ตัฟซีรอัล-กุรอาน

ซูเราะฮ์ฟุศศิลัต

โองการที่ ๕๓

อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงตรัสว่า :

“ แล้วเราจะบันดาลให้เขาเหล่านั้นได้แลเห็นสัญญาณต่าง ๆ ของเรา ทั้งที่อยู่ในขอบฟ้าอันไกลโพ้น และที่อยู่ในตัวของพวกเขาเองเพื่อที่ว่ามันจะอธิบายให้ความกระจ่างชัดแก่พวกเขาว่า สิ่งนี้เป็นสัจธรรมที่แท้จริง ” ( ฟุศศิลัต: ๕๓)

ท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ) อธิบายว่า

“ สิ่งที่พระองค์ทรงบันดาลให้พวกเขาแลเห็นได้ในตัวเขาก็คือเรือนร่าง และที่พระองค์ทรงบันดาลให้พวกเขาแลเห็นได้ในขอบฟ้าอันไกลโพ้นก็คือ ระบบการโคจรที่อยู่เบื้องบนเหนือตัวของพวกเขา กล่าวคือ พวกเขาจะได้แลเห็นความสามารถของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทั้งที่มีอยู่ในตัวของพวกเขาและที่มีอยู่ในขอบฟ้าอันไกลโพ้น แล้ว

โองการที่ว่า :

“ เพื่อที่ว่ามันจะอธิบายให้ความกระจ่างชัดแก่พวกเขาว่า สิ่งนี้เป็นสัจธรรมที่แท้จริง ”

เรื่องนี้หมายถึง การจะมาปรากฏของท่านอิมามอัล-กออิม อัลมะฮฺดี(อ) นั่นคือสัจธรรมจากอัลลอฮ์(ซ.บ.) เมื่อเขาได้แลเห็นงานสร้างสรรค์อันนี้แล้ว แน่นอนที่สุดเขาจะต้องยอมรับว่า เรื่องนี้ต้องเป็นความจริง( ๙)

( ๙) อัล-ฆ็อยบะตุ ของ นุอฮมานี หน้า ๔๔

ตัฟซีรอัล-กุรอาน

ซูเราะฮ์อัล-ฟัตฮฺ โองการที่ ๔

ซูเราะฮฮอัล-มุญาดะละฮฺ โองการที่ ๒๒

อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงตรัสว่า :

“ พระองค์คือผู้ซึ่งประทานความสงบมั่นให้อยู่ในดวงใจของบรรดาผู้ศรัทธา ” ( อัล-ฟัตฮฺ: ๔)

ท่านอะบูฮัมซะฮฺได้กล่าวว่า : ข้าพเจ้าเคยได้ถามท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)เกี่ยวกับซูเราะอฮอัล-ฟัตฮฺ โองการที่ ๔ ข้างต้น

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ หมายถึงความศรัทธานั่นเอง ”

ท่านอะบูฮัมซะฮฺถามอีกว่า

“ โองการของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่มีใจความว่า:

“ และพระองค์ทรงสนับสนุนพวกเขาด้วยวิญญาณบริสุทธิ์จากพระองค์ ” ( อัล-มุญาดะละฮฺ : ๒๒) นั้นหมายถึงอะไร ? ”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ หมายถึงความศรัทธานั่นเอง ” ( ๑๐)

( ๑๐) ตัฟซีร อัล-บุรฮาน เล่ม ๔ , หน้า ๑๙๕.

ตัฟซีรอัล-กุรอาน

ซูเราะฮ์อัซฮ-ซฺาริยาต

โองการที่๕๐.

อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงตรัสว่า :

“ ดังนั้นพวกท่านจงมุ่งหมายอย่างเร่งรีบไปหาอัลลอฮ์ แท้จริงสำหรับเรื่องนี้ ฉันเป็นเพียงผู้ตักเตือนที่ชัดแจ้งสำหรับพวกท่าน ” ( อัซฺ-ซาริยาต: ๕๐)

ท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)กล่าวว่า

“ หมายถึง จงประกอบพิธีฮัจญ์ยังอัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่ง (๑๑)

( ๑๑) ตัฟซีร อัล-บุรฮาน เล่ม ๔ , หน้า ๑๙๕ , ๒๓๗.

ตัฟซีรอัล-กุรอาน

ซูเราะฮ์อัต-ตะฆอบุน

โองการที่ ๑๔

อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงตรัสว่า :

“ แท้จริงส่วนหนึ่งจากคู่ครองของสูเจ้าและบรรดาลูก ๆ ของสูเจ้านั้นเป็นศัตรูของสูเจ้า

ดังนั้นจงระวังพวกเขาเหล่านั้นไว้เถิด ” ( อัต-ตะฆอบุน: ๑๔)

ท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ได้กล่าวว่า

“ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ในสมัยที่มีการอพยพกันนั้น เมื่อสามีต้องการจะอพยพไปหาท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ก็มักจะขัดข้องเกี่ยวกับบุตรและภรรยาของตนที่มักจะกล่าวว่า

“ เราขอยืนยันกับอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ว่า ถ้าท่านจากเราไป พวกเราจะต้องสูญหายหลังจากท่านไปแล้วอย่างแน่นอน ”

“ ดังนั้นบางคนต้องเชื่อฟังคนในครอบครัว จึงต้องอยู่เฉยไม่สามารถอพยพไปหาท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้

ด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮ์(ซ.บ.)จึงบัญชาว่าให้พวกเขาเหล่านั้นระมัดระวังลูก ๆและภรรยาของตน และห้ามเขาเหล่านั้นมิให้เชื่อฟัง แต่มีบางคนที่สามารถผ่านอุปสรรคไปได้ แล้วยังกำชับบุตรและภรรยาด้วยอีกว่า

“ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ว่า ถ้าหากว่าพวกเธอไม่อพยพไปพร้อมกับฉันแล้วไซร้ ถ้าหากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงรวบรวมฉันกับพวกเธอในวันปรโลก ฉันจะไม่อำนวยคุณประโยชน์ใดๆ ให้แก่พวกเธออย่างเด็ดขาด ”

ครั้นในเมื่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงรวมเขากับคนในครอบครัวให้อยู่ด้วยกันแล้ว พระองค์ก็ได้บัญชาให้เขาปฏิบัติด้วยคุณธรรมที่ดีงาม

ดังที่พระองค์ทรงมีโองการต่อไปว่า :

“ และถ้าหากสูเจ้าอภัย และผ่อนผันให้ แท้จริงอัลลอฮ์คือ ผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงกรุณาปราณี ” ( ๑๒)

( ๑๒) ตัฟซีร อะลี บินอิบรอฮีม หน้า ๖๘๔.

บทเทศนาของอิมามบากิร(อ)

ท่านอิบนุอับบาส(ร.ฏ.)ได้แสดงความเสียใจไว้อย่างสุดซึ้งจากกรณีที่ท่านอิมามอะมีรุลมุมินีน ( อ) ไม่ได้กล่าวบทเทศนาที่มีชื่อว่า “ คุฏบะฮฺชักฺชะกียะฮฺ ” ให้จบบริบูรณ์ ถึงแม้ว่าเขาจะเคยได้ยินได้ฟังคำเทศนาจากท่านอิมามอะมีรุลมุมินีน (อ) และคำสั่งเสียของท่าน ตลอดทั้งสุภาษิตต่าง ๆ นับเป็นร้อย ๆ ครั้ง

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสำหรับท่านอินุอับบาส(ร.ฏ.) เขาได้พบได้เห็นว่า ชีวิตของบรรดาอิมามทั้งหลายนั้นล้วนประสบแต่ความยากลำบากและการกดขี่ทารุณ

ซึ่งพวกท่าน(อ)สามารถที่จะกล่าวจะพูดอะไรออกไปได้แม้แต่จะเป็นคำเทศนาตอบโต้การที่พวกทรราชด่าประนาม

บรรพบุรุษของท่านบนมิมบัรของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ผู้เป็นปู่ทวดของพวกท่าน พวกท่านก็ไม่อาจที่จะตอบโต้คนเหล่านั้นได้ และไม่สามารถที่จะแสดงอาการรังเกียจทางสีหน้าได้

ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า การที่บรรดาอิมาม(อ)สามารถรักษาคำสอน วิชาการแนวทางการดำเนินชีวิตและเกียรติยศไว้ได้นั้นก็โดยอาศัยอำนาจและการช่วยเหลือของพระผู้เป็นเจ้า

เช่น ท่านอิมามอะมีรุลมุนีน(อ)นั้นถึงแม้ว่าบรรดาผู้ที่จงรักภักดีท่านจะต้องปิดบังซ่อนเร้นการกล่าวถึงคุณงามความดีของท่าน

แต่ศัตรูของท่าน(อ)ก็ยังซ่อนเร้นการกล่าวถึงคุณงามความดีของท่าน แต่ศัตรูของท่าน(อ)ก็ยังซ่อนเร้นการแสดงความจงเกลียดจงชัง

ดังที่ท่านอิมามชาฟิอี(ร.ฮ.)ได้เคยกล่าวไว้ ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับบรรดาลูกหลานของท่านในสมัยหลัง ๆ

อย่างไรก็ตาม เราจะบันทึกเรื่องราวบางประการของคำเทศนาของท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)ไว้ ดังนี้ :

คำเทศนาที่ ๑

ณ เมืองชาม

ท่านอิมามศอดิก(อ)ได้กล่าวว่า :

เมื่อท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)บิดาของข้าพเจ้าเดินทางไปยังดะมัสกัส ท่าน(อ)ได้ยินประชาชนพูดกัน

“ นี่คือบุตรของอะบูตุรอบ (ฉายานามหนึ่งของท่านอิมามอะลี) ”

ท่านอิมามาศอดิก(อ)กล่าวต่อไปว่า :

แล้วท่าน(อ)ก็เอนหลังพิงฝาผนังของอัล-กะอบะฮฺ กล่าวสดุดีต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) และศอละวาตแต่ท่านศาสดา(ศ)

ต่อจากนั้น

ท่าน(อ)ได้กล่าวว่า

“ จงหลีกห่างจากคนพาลและลูกหลานของพวกกลับกลอก

(มุนาฟิก) จงปิดกลั้นและสะกัดไฟนรกญะฮันนัมด้วยแสงเดือนเพ็ญอันเจิดจ้า และโดยน้ำทะเลอันล้นปรี่ โดยมวลดาราอันจรัสแสง

และโดยแสงประทีปของผู้ศรัทธา โดยหนทางอันเที่ยงตรงก่อนที่เราจะโน้มใบหน้าลงไป เราได้นำมันหวนกลับไปอยู่เสียข้างหลัง หรือเป็นเพราะว่าพวกเขาถูกสาปแช่ง เหมือนดังเช่นบรรดาพวกวัน

เสาร์(พวกยิว)เคยถูกสาปแช่ง พระบัญชาของอัลลอฮ์ย่อมเป็นจริงเสมอ ”

ต่อจากนั้นท่าน(อ)ได้กล่าวด้วยถ้อยคำต่อไปนี้

“ กับลูกหลานของท่านศาสดา พวกท่านยังเยาะเย้ยและสบประมาทได้กระนั้นหรือ นอกจากทางนี้แล้วยังมีหนทางใดที่ไหนอีกที่พวกท่านจะใช้เดินนอกจากความเศร้าโศกคราวนี้แล้ว ยังจะมี

ความเศร้าโศกใดไหนอีกที่ พวกท่านจะหลั่งน้ำตา ”

“ โปรดระวัง... โปรดระวัง..

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ แสงเรืองรองได้ล่วงหน้าไปแล้ว และชัยชนะนั้นได้เป็นไปอย่างเด็ดขาดแล้ว จงขวนขวายเพื่อไปสู่จุดหมายอันสูงสุด จงระวังตนตามคำเทศนา แต่แล้วสายตาก็พลาดไป จนได้จากมัน และได้ยอมจำนนกับสิ่งอื่น อีกทั้งผลักไสสายใยแห่งความสูงส่ง ดังนั้นผู้ที่ได้ขว้างตัวเองไปด้วยความพยายาม ย่อมเป็นคนโกหก แล้วเขาจะสามารถเข้าถึงทางนำจากหนทางอันไกลโพ้นได้ไฉน ?”

ท่าน(อ)ยังได้กล่าวอีกว่า

“ จงให้อิสระแก่พวกเขาเถิด จงอย่าได้ปฏิเสธต่อบิดาของวกเขาด้วยการตั้งข้อตำหนิหรือปิดกั้น เขาเหล่านั้นคือผู้ที่ถ้าหากได้สร้างสรรค์ก็จะเป็นพวกที่สร้างสรรได้ดียิ่ง และถ้าหากให้คำสัญญา

ก็จะทำตามคำสัญญา และถ้าหากเขาผูกมัดก็จะผูกมัดอย่างมั่นคง ”

“ เป็นไปได้อย่างไรที่พวกเขา จะขัดขวางพี่น้องของท่านศาสดา (ศ) ในขณะที่พวกเขาขอความช่วยเหลือ

เขาเป็นเพื่อนของท่านศาสดาในขณะที่พวกเขาหลบหลีก เขาเคียงข้างท่านศาสดา

ในขณะที่พวกเขาแตกพ่าย เขาเป็นญาติสนิทที่ดูแลรักษาคลังสมบัติในขณะที่พวกเขาพยายามเปิดมัน ( ใช้จ่ายมัน) เขาคือผู้ที่เคยนมาซสองกิบละฮฺในขณะที่พวกเขาหลงผิด เขาคือผู้ที่ได้รับการยืนยันว่ามี

ศรัทธาในขณะที่พวกเขาปฏิเสธ เขาคือผู้ที่ถูกตั้งข้อหาว่า ละเมิดสัญญากับพวกที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์

ในขณะที่พวกเขาถูกลงทัณฑ์ เขาคือตัวแทนในที่นอนยามค่ำคืนที่ถูกปิดล้อมขณะที่พวกเขาหวาดผวา เขาคือผู้ถูกกล่าวคำอำลาอย่างเงียบเชียบในยามแห่งการลาจาก.... (๑)

( ๑) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๙ และบิฮารุล-อันวาร เล่ม ๑๑ , หน้า ๙๑.

คำเทศนาที่ ๒

ณ เมืองชาม

เมื่อท่านอะบูญะอ์ฟัร(อ) ได้ถูกนำตัวไปยังเมืองชามเพื่อไปพบเจ้าเมือง ฮิชาม บินอับดุลมาลิก ตอนที่ท่าน(อ)ยืนอยู่ที่ประตูทางเข้าฮิชามได้หันมาพูดกับข้าราชบริพารของเขาว่า

“ เมื่อข้าได้บริภาษ มุฮัมมัด บินอะลีแล้ว พวกเจ้าก็เตรียมบริภาษเขาไว้ด้วย ”

จากนั้นเขาก็ได้อนุญาติให้ท่าน(อ)เข้ามา

ครั้นเมื่อท่าน(อ)เดินเข้ามา ท่าน(อ)ก็กล่าว

“ อัสสะลามุอะลัยกุม ”

พร้อมกับโบกมือเป็นสัญญาณว่าให้สลามกับทุกคน เสร็จแล้วท่าน(อ)ก็ได้นั่งลง ฮิชามยิ่งทวีความแค้นเคืองมากขึ้น เพราะท่านอิมาม(อ)ไม่ได้ให้สลามเฉพาะแก่ตนเองในฐานะค่อลีฟะฮฺและนั่งลงโดยที่ยังมิได้รับอนุญาต

เขากล่าวขึ้นว่า

“ โอ้ มุฮัมมัด บุตรของอะลี คนของท่านไม่วายเว้นในการสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิมเรียกร้องทุกอย่างเพื่อตัวเอง ”

เขาคิดว่าท่านอิมาม(อ)มีความรู้น้อยและโง่เขลา จึงถึงโอกาสสั่งสอนท่าน(อ) ครั้นเมื่อเขาเงียบแล้ว คนของเขาก็เข้ามาตะคอกท่าน(อ)ทีละคน ๆ จนกระทั่งหมด

ท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ) ก็ลุกขึ้นยืนแล้วกล่าวว่า

“ โอ้ประชาชนทั้งหลาย พวกเจ้าจะเดินกันไปทางไหน และที่ไหนคือที่ที่เป็นเป้าหมายของพวกเจ้า พวกเรานี้คือผู้ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้นำทางคนรุ่นแรกของพวกเจ้า และพวกเรานี้เองคือผู้ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้ทำความสมบูรณ์แก่คนรุ่นสุดท้ายของพวกเจ้า ดังนั้นถึงแม้ว่าพวกเจ้าจะเป็นกษัตริย์แห่งโลกดุนยา แต่เราก็คือกษัตริย์แห่งวันปรโลก และภายหลังจากอาณาจักรของเราแล้ว จะไม่มีกษัตริย์ใด ๆ อีก เพราะพวกเราคือผู้สืบมรดกในยุคสุดท้าย

อัลลอฮ์(ซ.บ.) ทรงตรัสไว้ว่า :

“ ผลลัพธ์สุดท้าย (ที่ดี) จะเป็นของผู้ที่ยำเกรงต่ออัลลอฮ์ ”

( อัล-กอศ็อศ: ๘๓)

ครั้นแล้วท่านอิมามอะบูญะอฟัร(อ)ก็ถูกจับตัวไปขัง ตอนที่อยู่

ในที่คุมขัง ท่าน(อ)ให้ความสนิทสนมกับทุกคน มีไมตรีจิต ดังนั้นผู้คุมเรือนจำจึงได้มาหาเจ้าเมืองเล่าเรื่องของท่าน(อ)ให้เขารู้ เขาจึงออกคำสั่งให้นำตัวท่าน(อ)และมิตรสหายของท่าน(อ)ออก

เดินทางกลับไปยังเมืองมะดีนะฮฺ ทั้ง ๆ ที่เป็นฤดูหนาวจัด( ๒)

(๒)อัล -มะนากิบ เล่ม ๒ , หน้า ๒๘๐ และอุศูล-กาฟี เล่ม ๑ , หน้า ๔๗๑

คำสั่งเสียของ

อิมามที่ ๕

สาระสำคัญประการหนึ่งที่บรรดาอิมาม(อ)ได้ทิ้งไว้ให้บรรดามุสลิมคือ คำสั่งเสียของพวกท่าน(อ)ที่มีอย่างมากมายซึ่งเต็มไปด้วยคำแนะนำ จริยธรรม สุภาษิต วิชาการและวัฒนธรรม

ในหน้าประวัติศาสตร์ของอิสลาม ยังไม่เคยเป็นที่ปรากฏมาก่อนเลยว่า จะมีคำสั่งเสียของใครที่สมบูรณ์เพียบพร้อมอย่างนี้

ทั้งจากบรรดานักปราชญ์รุ่นก่อน ๆ และในรุ่นหลัง ๆ รวมทั้งบรรดานักคิด นักปรัชญาใด ๆ ก็ตาม

ทั้งนี้ก็มิใช่เพื่อเหตุอื่นอันใด นอกจากเป็นเพียงความปรารถนาของพวกท่านที่ต้องการจะให้สังคมเจริญก้าวหน้า ให้ประชาชาติอิสลามมีพัฒนาการ และให้จริยธรรมที่ดีงามเป็นที่แพร่หลายไปสู่บรรดามนุษยชาติ

เรื่องเหล่านี้มิได้เป็นสิ่งมากมายอะไรสำหรับพวกท่าน เพราะพวกท่านถือว่าพวกท่านเป็นตัวแทนของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) :

-อุซตาซอับดุล กอดิร อะฮฺมัด ยูซุฟได้กล่าวไว้เช่นนี้

เป็นผู้ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาซุนนะฮฺและหลักธรรมต่าง ๆ ของศาสดามุฮัมมัด(ศ) โอกาสหน้าบางทีข้าพเจ้าอาจรวบรวมคำสั่งเสียเท่าที่ข้าพเจ้าศึกษามาได้มาพิมพ์เป็นเล่มหนึ่งต่างหาก เพื่อเติมลงในที่ว่างของห้องสมุดทางจริยธรรม

ต่อไปนี้จะเป็นบันทึกคำสั่งเสียบางส่วนของท่านอิมามมุฮัมมัด บินอะลี(อ)

(๑) คำสั่งเสียของท่านอิมามที่ ๕

ต่อท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซ

เมื่อตอนที่ท่านอิมามอะบูญะอ์ฟัรมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ได้เข้าพบกันท่านอุมัรฺ บันอับดุลอะซีซ

เข้าได้กล่าวว่า

“ โอ้ อะบูญะอ์ฟัรโปรดสั่งเสียอะไรแก่ข้าพเจ้าด้วย ”

ท่านอิมาม(อ)กล่าวว่า

“ ฉันขอสั่งเสียว่า ให้ท่านถือเอามุสลิมคนเล็ก ๆ เป็นลูก คนรุ่นกลางเป็นพี่น้อง คนรุ่นอาวุโสเป็นพ่อ ดังนั้นท่านจงเมตตาต่อลูก จงมีไมตรีจิตต่อพี่น้อง และจงทำความดีต่อบิดา (๑)

( ๑) บทนำของเมาซูอะตุล-อะตะบาต อัล-มุก็อดดะซะฮฺ หน้า ๒๐๒.

(๒) คำสั่งเสียของท่านอิมามที่ ๕

ต่อท่านญาบิร บินยะซีด อัล-ญุอฟี

ท่านญาบิร อัล-ญุอ์ฟีได้กล่าวว่า : ท่านมุฮัมมัด บินอะลี(อ)ได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า

“ โอ้ ญาบิร แท้จริงผู้ที่ความบริสุทธิ์สะอาดแห่งศาสนาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ซึมซับเข้าในหัวใจแล้วนั้น เขาจะไม่มีเวลายุ่งกับ

สิ่งอื่น ๆ ได้อีก

ญาบิรเอ๋ย โลกนี้ไม่มีอะไรเลย และไม่น่าจะเป็นอะไรได้เลย นอกจากเป็นเพียงเสื้อผ้าให้ท่านสวมใส่ เป็นอาหารให้ท่านกลืนกิน เป็นพาหนะให้ท่านขับขี่ หรือไม่ก็เป็นสตรีให้ท่านเชยชม

เท่านั้น

ญาบิรเอ๋ย แท้จริงผู้ศรัทธานั้น จะไม่มีความมั่นใจต่อโลกนี้เลยว่ามันจะยั่งยืนและจะไม่ประมาทต่อการมาของวันปรโลก เสียงแห่งการให้ร้ายที่เข้ามากระทบโสตประสาทของเขาไม่ได้ทำให้เขาหยุดยั้งจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้ ความเพริดแพร้วที่มาประจักษ์กับสายตาของเขาก็ไม่ได้ทำให้เขามืดบอดจากรัศมีของอัลลอฮ์(ซ.บ.)เลย ดังนั้นพวกเขาจะมีชัยชนะด้วยอาภรณ์ของผู้มีคุณธรรม

แท้จริงบรรดาผู้สำรวมตนนั้นจะมีเสบียงอันน้อยนิด เมื่อเทียบกับชาวโลกทั้งหลาย แต่จะให้ความช่วยเหลือแก่ท่านมากที่สุด แม้ท่านจะลืม พวกเขาก็ยังระลึกถึงท่าน และถ้าท่านระลึกถึงพวกเขา

ก็จะช่วยเหลือท่าน พวกเขาพูดแต่สิ่งที่เป็นสัจธรรมของอัลลอฮ์(ซ.บ.) และดำรงตนตามพระบัญชาของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ” (๒)

( ๒) ตัชกิรอตุล-เคาวาศ หน้า ๑๙๑.