ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร0%

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 18539
ดาวน์โหลด: 4710

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 239 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 18539 / ดาวน์โหลด: 4710
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ดังที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ ”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ หมายถึง ‘ แม่น้ำฏอลูต ’ ดังในอัล-กุรอานที่ว่า:

“... นอกจากผู้ที่เพียงเอามือของตนวักน้ำเพียงกอบมือเดียว... ” ( อัล-บะกอเราะฮฺ: ๒๔๙)

ท่านฏอวูซได้ถามอิมามอีกว่า

“ โปรดบอกข้าพเจ้าเกี่ยวกับเรื่องการทำนมาซภาคบังคับ (ศอลาต) ที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องมีน้ำวุฏูอ์ และเรื่องการถือศีลอดประเภทที่ทำได้โดยไม่จำเป็นจะต้องงดเว้นการกินและการดื่ม ”

ท่านอิมามบากิร(อ)ตอบว่า

“ สำหรับการนมาซ (ศ่อลาต) ที่ไม่จำเป็นต้องมีน้ำวุฏูอ์นั้น หมายถึง การให้ศ่อละวาด แด่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) (๑๓)

( ๑๓) “ ศอลาต ” ที่แปลว่านมาซ กับ “ ศ่อละวาต ” ที่หมายถึง การกล่าว “ อัลลอฮ์มะศ็อลลิอะลา มุฮัมมัด วะอาลิมุฮัมมัด ” มาจากรากศัพท์คำเดียวกัน

ส่วนการถือศีลอดที่ว่านั้นคือ ประเภทที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงมีโองการไว้ในอัล-กุรอานว่า :

“... จงกล่าวเถิด (มัรยัม) ว่า แท้จริงฉันได้ทำการบนบาน (นะขัร) ต่อพระผู้ทรงกรุณาว่า ฉันจะถือศีลอดโดยที่ฉันจะไม่พูดกับมนุษย์คนใดเลยในวันนี้ ” ( มัรยัม: ๒๖)

ท่านฏอวูซได้ถามท่านอิมามบากิร(อ)อีกว่า

“ โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงสิ่ง ๆ ที่มีการทั้งการเพิ่มขึ้นและการลดลง และสิ่งหนึ่งที่มีแต่การเพิ่มขึ้นแต่ไม่ลดลง กับอีกสิ่งหนึ่งที่มีการลดลงไม่มีการเพิ่มขึ้น ว่ามีอะไรบ้าง ? ”

ท่านอิมาม(อ)ได้ตอบว่า

“ สำหรับสิ่งที่มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงนั้นได้แก่ ‘ ดวงจันทร์ ’ ส่วนสิ่งที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ลดลงนั้นได้แก่ ‘ ทะเล ’ และสิ่งที่ลดลงโดยไม่เพิ่มขึ้นได้แก่ ‘ อายุ ’ นั่นเอง ” ( ๑๔)

( ๑๔) อะอยานุช-ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๒/๔๒.

ถามตอบ

-๑๔-

ท่านอิมามอะบูญะอ์ฟัร(อ)ได้เข้าไปในมัสยิดอัล-ฮะรอม แล้วก็ได้มีพวกตระกูลกุเรชกลุ่มหนึ่งมองดูท่าน(อ)เขาเหล่านั้นถามกันเองว่า

“ นั่นคือใคร ? ”

ได้มีคนตอบพวกเขาว่า

“ นั่นคือ อิมามของประชาชนชาวอิรัก ”

พวกเขาบางคนพูดขึ้นว่า

“ ถ้าพวกท่านจะส่งใครบางคนไปถามเขาก็ได้ ”

แล้วได้มีชายคนหนึ่งจากพวกกุเรชได้เข้าไปหาท่านอิมามมุฮัมมัด

บากิร(อ) แล้วถามท่าน(อ)ว่า

“ โอ้ ท่านลุงเอ๋ย อะไรคือบาปใหญ่ที่สุด? ”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ การดื่มสุรา

เมื่อคนอื่นมาถามอีก ท่าน(อ)ก็ตอบไปเช่นนั้น จนคนพวกนั้นผลัดกันเข้าไปถามซ้ำแล้วซ้ำอีก ท่าน(อ)จึงกล่าวแก่พวกเขาคนหนึ่งว่า

“ ฉันบอกไปแล้วมิใช่หรือ โอ้หลานเอ๋ย ว่าบาปใหญ่ที่สุดคือการดื่มสุรา เพราะแท้ที่จริงการดื่มสุรานั้นมันจะนำให้เข้าไปทำซินา (ผิดประเวณี) ขโมย และฆ่าชีวิตของคนที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงหวงห้ามได้

รวมทั้งสามารถทำการตั้งภาคี(ชิริก)ต่ออัลลออ(ซ.บ.)ได้ ดังนั้นผู้ใดดื่มสุราจึงมีบาปที่เหนือความบาปทั้งปวง เช่นเดียวกับ พุ่มไม้ของต้นไม้ต้นหนึ่งซึ่งมันจะต้องอยู่สูงกว่าทุกส่วนของต้นไม้นั้น ” ( ๑๕)

( ๑๕) อะอยานุช-ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๒/๔๓.

ถามตอบ

-๑๕-

ผู้ที่มีความรู้ในศาสนาคริสต์คนหนึ่งแห่งเมืองชามได้ถามท่านอิมามบากิร(อ)

“ เรื่องที่พวกท่านอ้างว่า สวรรค์นั้นมีกินมีดื่ม แต่ไม่มีการขับถ่ายนั้นเป็นอย่างไรกัน ? ”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ เช่นเดียวกันกับทารกที่อยู่ในครรถ์มารดา ซึ่งมีแต่การกินแต่ไม่มี

การขับถ่ายเช่นกัน ”

ผู้รู้ทางศาสนาคริสต์คนนั้นได้ถามอีกว่า

“ สภาพที่พวกท่านได้อ้างว่ามีผลไม้ในสวรรค์ที่สุกงอมเอร็ดอร่อยโดยจะมีอยู่กับชาวสวรรค์ทั้งหมด จะเป็นอย่างไร ? ”

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า

“ ก็แท้ที่จริงแล้ว แผ่นดินของเราก็มีผลไม้ที่เอร็ดอร่อยอยู่ตลอดเวลา สำหรับชาวโลกดุนยานี้ทั้งหมดอยู่แล้ว ”

ชายคนนั้นถามอีกว่า

“ โปรดบอกข้าพเจ้าเกี่ยวกับเรื่องของเวลายามหนึ่งว่า หมายถึง ยามใดกันแน่ที่ไม่ได้เป็นยามกลางคืน และมิได้เป็นยามกลางวัน ”

ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)ตอบว่า

“ หมายถึงเวลาในยามที่ดวงอาทิตย์กำลังจะขึ้น นั่นคือผู้ที่เศร้าใจอันเนื่องมาจากถูกทดสอบจะเบาเสียงลง (ร้องไห้ในช่วงกลางคืน) ผู้ที่อดนอน (เนื่องจากการทำอิบาดะฮฺ) ก็จะเริ่มล้มตัวลงนอน

คนที่หลับก็จะเริ่มรู้สึกตัวขึ้น ”

ผู้มีความรู้ในศาสนาคริสต์ถามท่านอิมาม(อ)อีกว่า

“ ข้าพเจ้าจะขอถามท่านในเรื่องของคนสองคนที่เกิดในวันเดียวกันและตายในวันเดียวกัน

แต่อายุของคนแรกที่นับได้ในโลกนี้คือ ๕๐ ปี ส่วนอีกคนหนึ่งมีอายุ ๑๕๐ ปี ?”

ท่านอิมาม(อ)ได้ตอบว่า

“ คนสองคนนั้นได้แก่อุเซรฺและอุซีเราะฮฺ เขาทั้งสองเกิดในวันเดียวกันแต่ในเมื่อคนทั้งสองอายุได้ ๒๕ ปี อุเซรฺได้ขี่ลาของตนผ่านเมืองอินฎอกียะฮฺ ซึ่งเป็นเมืองที่ได้ถูกทำลายล้างอย่างราบเรียบด้วยภัยพิบัติ เขาได้กล่าวขึ้นว่า

“ อัลลอฮ์ (ซ.บ.) จะทรงชุบชีวิตของเมืองนี้หลังจากที่มันได้พังพินาศไปแล้วได้อย่างไรกัน ”

“ ดังนั้นอัลลอฮ์ (ซ.บ.) จึงบันดาลให้เขาตายไปเป็นเวลา ๑๐๐ ปี ต่อมาพระองค์ก็ทรงบันดาลให้เขาฟื้นคืนชีพขึ้นมา แล้วเขาก็ได้เดินทางกลับไปยังบ้านของอุซีเราะฮฺ ซึ่งในขณะนั้นไม่มีใครรู้จัก

เขาเสียแล้ว เขาได้ไปขออาศัยอยู่กับอุซีเราะฮฺ และอุซีเราะฮฺก็ได้ให้การต้อนรับเขาเป็นอย่างดี

ในขณะนั้นหลาน ๆ ของอุซีเราะฮฺต่างก็เป็นผู้ใหญ่กันหมดแล้ว ส่วนอุเซรฺยังเป็นคนหนุ่มซึ่งอยู่ในวัยเดิม คือมีอายุ ๒๕ ปี อุเซรฺพยายามพูดพร่ำเกี่ยวกับอุซีเราะฮฺผู้เป็นพี่ชายฝาแฝดของตน และพูดถึง

เรื่องหลาน ๆ อยู่เสมอ คนเหล่านั้นที่ถูกกล่าวถึงก็ได้ทบทวนถึงเรื่องราวที่อุเซรฺกล่าวถึงพวกตนได้ ”

“ พวกเขากล่าวกับอุเซรฺว่า

“ ท่านรู้เรื่องราวที่ผ่านมาในอดีตนับเป็นสิบ ๆ ปี มาแล้วได้อย่างไร ”

และอุซีเราะฮฺเองซึ่งในขณะนั้นก็มีอายุถึง ๑๒๕ ปีได้กล่าวว่า

“ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นคนหนุ่มที่มีอายุเพียง ๒๕ ปีอย่างท่านคนใดที่จะรอบรู้ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกันระหว่างข้าพเจ้ากับอุเซรฺน้องชายฝาแฝดของข้าพเจ้าเมื่อสมัยที่อยู่ในวัยหนุ่ม ๆ ยิ่งกว่าท่าน ขอให้บอกมาเถิดว่าท่านเป็นใคร เป็นมะลาอิกะฮฺหรือว่าเป็นผู้มีบุญมาเกิดในโลกนี้ ?”

อุเซรฺ ได้กล่าวตอบว่า

“ ข้าพเจ้านี่แหละคือ ‘ อุเซรฺ ’ อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงลงโทษข้าพเจ้าอันเนื่องมาจากคำพูดประโยคหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้พูดไป หลังจากที่พระองค์ได้ทรงคัดเลือก และชี้นำทางแก้ข้าพเจ้าแล้ว

โดยพระองค์ทรงบันดาลให้ข้าพเจ้าตายไปถึง ๑๐๐ ปี พระองค์ก็ได้ทรงบันดาลให้ข้าพเจ้าฟื้นคืนชีพขึ้นมาเพื่อให้ความศรัทธามั่น เพิ่มพูนแก่ข้าพเจ้ามากขึ้นกับเรื่องนี้

แท้จริงอัลลอฮ์(ซ.บ.)เป็นผู้มีความสามารถเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง และนี่คือลาและนี่คืออาหารและนี่คือเครื่องดื่มของข้าพเจ้าเมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าเดินทางออกจากพวกท่านไปในคราวนั้น

บัดนี้อัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้ทรงคืนสิ่งของเหล่านี้กลับมายังข้าพเจ้าเหมือนดังที่เคยมี ”

บัดนั้นเองคนทั้งหลายก็เชื่อมั่นในสิ่งที่อุเซรฺได้พูด อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงให้อุเซรฺใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับพวกเขาเหล่านั้น อีก ๒๕ ปีต่อมา อัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้ทรงเอาชีวิต ทั้งของอุเซรฺและอุซีเราะฮฺ

พี่ชายฝาแฝดคืนกลับไปในวันเดียวกัน ฉะนั้นอายุของอุเซรฺจึงมีเพียง ๕๐ ปี ในขณะที่อายุของอุซีเราะฮฺพี่ชายฝาแฝดมีมากถึง ๑๕๐ ปี ”

ผู้รู้ในศาสนาคริสต์คนนั้นจึงได้บอกกับพรรคพวกของตนว่า

“ พวกท่านนำคนที่มีความรู้มากกว่าฉันมาพบกับฉันเสียแล้ว จนฉันมีความรู้สึกละอายแก่ใจเหลือเกิน ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ” ( ๑๖)

( ๑๖) อะอยานุช-ชีอะฮฺ ๔ กอฟ เล่ม ๒ หน้า ๔๖.

ถามตอบ

-๑๖-

พวกคอวาริจญ์คนหนึ่งได้มาหาท่านอิมามอะบูญะอ์ฟัร(อ) แล้วกล่าวว่า

“ โอ้ อะบูญะอ์ฟัรเอ๋ย ท่านเคารพภักดีสิ่งใด ?”

ท่าน(อ)ตอบว่า

“ ข้าพเจ้าเคารพภักดีเอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ”

ชายคนนั้นถามอีกว่า

“ แล้วท่านเห็นพระองค์ด้วยหรือไม่ ?”

ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)กล่าวตอบว่า

“ บรรดาสายตาที่ใช้มองดูทั้งหลาย มิอาจมองเห็นพระองค์ได้ แต่หัวใจที่มีอีหม่านอย่างถ่องแท้ ย่อมได้มองเห็นพระองค์

พระองค์มิได้เป็นที่รู้จักได้โดยการเปรียบเทียบ และมิอาจถูกสัมผัสได้โดยอวัยวะสัมผัส และไม่มีมนุษย์คนใดเสมอเหมือนละม้ายคล้ายคลึงกับพระองค์ การพรรณนาให้เป็นภาพพจน์โดยสัญญาณใด ๆ การรู้จักโดยสัญลักษณ์ใด ๆ ไม่เป็นที่เหมาะสมกับวิทยปัญญาของ

พระองค์เลย นี่คืออัลลอฮ์(ซ.บ.)ผู้ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ”

ชาวคอวาริจญ์คนนั้นจึงกล่าวยอมรับว่า

“ อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงรู้ดีว่าจะทำอย่างไรกับศาสนาของพระองค์ ” ( ๑๗)

( ๑๗) อัต-เตาฮีด หน้า ๑๐๘

ถามตอบ

-๑๗-

ท่านอิมามบากิร(อ)ถูกถามในครั้งหนึ่งว่า

“ ทำไมอัลลอฮ์ (ซ.บ.) จึงได้กำหนดเรื่อง การถือศีลอดมาแก่ปวงบ่าวของพระองค์ ?”

ท่าน(อ)ตอบว่า

“ เพื่อให้คนร่ำรวยได้รู้จักกับรสชาติของความหิวโหย แล้วจะได้เกิดความเอ็นดูสงสารแก่คนยากจน ” ( ๑๘)

( ๑๘) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๒๑.

ถามตอบ

-๑๘

ท่านอิมามบากิร(อ)ยังได้ถูกถามถึงเรื่องการรายงานฮะดีษที่ไม่ได้แจ้งให้ทราบถึงสายสืบที่มาของฮะดีษนั้น ๆ

ท่าน(อ)กล่าวตอบว่า

“ เมื่อฉันจะรายงานฮะดีษสักบทหนึ่ง แล้วฉันจะต้องระบุถึงสายสืบทำไมอีก ในเมื่อสายสืบของฉันในฮะดีษนั้น ๆ คือบิดาของฉัน ‘ ซัยนุลอาบีดีน ’ อันได้รับมาจากบิดาของท่าน ‘ ฮุเซน ’ ผู้พลีชีพ อันได้มาจากบิดาของท่าน ‘ อะลีบินอะบีฏอลิบ ’ อันได้มาจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) อันได้มาจากญิบรออีล อันได้มาจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)ผู้ทรงสูงสุด ”( ๑๙)

( ๑๙) อะอลามฺล-วะรอ หน้า ๒๖๔.

ถามตอบ

-๑๙-

ท่าน อิมามบากิร(อ)ได้ถูกถามถึง

“ เรื่องความปลอดภัยในวันข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร ? ”

ท่าน(อ)ตอบว่า

“ อันที่จริงแล้ว ความปลอดภัยจะมีอยู่เพียงในการที่ไม่หลอกลวงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เท่านั้น

มิฉะนั้นแล้วอัลลอฮ์(ซ.บ.)จะทรงหลอกลวงพวกท่าน เพราะว่าถ้าใครหลอกลวงอัลลอฮ์(ซ.บ.)

พระองค์ก็จะทรงหลอกเขาผู้นั้นแล้วอัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงถอดถอนความศรัทธาออกจากตัวของเขา

ในขณะที่ตัวของเขาจะถูกหลอก ถึงแม้ว่าเขาจะรู้สึกตัวก็ตามได้ ”

มีคนถามท่าน(อ)อีกว่า

“ แล้วเขามีการหลอกลวงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อย่างไร ? ”

ท่านอิมาม(อ)กล่าวว่า

“ เขาจะกระทำในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เขาทำ แต่แล้วเขากลับทำสิ่งนั้น ๆโดยต้องการ

ในจุดประสงค์อย่างอื่น ดังนั้นพวกท่านจงเกรงกลัวอัลลอฮ์(ซ.บ.)แท้จริงแล้ว คนที่ต้องการเอาหน้าเอาตา เมื่อถึงวันกิยามะฮฺ

เขาจะถูกเรียกด้วยชื่อ ๔ ชื่อ คือ กาฟิร(คนปฏิเสธ) ฟาญิร(คนชั่ว) ฆอดิร(คนหลอกลวง) คอซิร(คนขาดทุน) ผลงานของท่านจะถูกลบล้าง รางวัลของท่านจะถูกทำลาย จะไม่มีโชคดีใด ๆ สำหรับท่านเลยในวันนั้น ดังนั้นท่านจะได้รับรางวัลของท่านจากคนที่ท่านทำงานเพื่อเขาเท่านั้น ” ( ๒๐)

( ๒๐) อัล-บุรฮาน เล่ม ๑ หน้า ๖๐.

ถามตอบ

-๒๐-

ท่านฏอวูซได้ถามท่านอิมามบากิร(อ)ว่า

“ มนุษย์ได้ประสบความหายนะจำนวนหนึ่งในสามครั้งไหน ? ”

ท่าน(อ)ตอบว่า

“ อะบูอับดุรเราะฮฺมานเอ๋ย มนุษย์จะไม่ถูกทำลายจำนวนหนึ่งในสามดอก แต่ท่านต้องถามว่า มนุษย์ได้ประสบความหายนะจำนวนหนึ่งในสี่เมื่อไหร่ ? อันนี้หมายถึงวันที่ กอบีลฆ่า ฮาบีล

เพราะตอนนั้นมีคนอยู่ ๔ คน ได้แก่ อาดัม เฮาวา ฮาบีล และกอบีล ดังนั้นเท่ากับพวกเขาได้ตายไปหนึ่งในสี่ของคนทั้งโลก ”

ท่านฏอวูซถามอีกว่า

“ ถ้าเช่นนั้น ใครคือบิดาของมนุษยชาติต่อจากท่านอาดัม (อ) คนที่เป็นฆาตกรหรือคนที่ถูกฆ่า ?”

อิมาม(อ)ตอบว่า

“ ไม่ใช่ทั้งสองคน หากแต่บิดาของมวลมนุษยชาติได้แก่ ท่านชัยษ ”( ๒๑)

( ๒๑) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๒๘๘.

ถามตอบ

-๒๑-

ท่านญาบิร บินยะซีด อัล-ญุอ์ฟีย์ได้กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ถามจากท่าน

อิมามบากิร(อ)ถึงความหมายของคำว่า

“ ลาเฮาละ วะลา กูวะตะ อิลลา บิลลาฮฺ ”

ท่าน(อ)ตอบว่า

“ ความหมายของมันก็คือว่า เราไม่มีความสามารถจะหลีกเลี่ยงการละเมิดต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้เลย

นอกจากด้วยความช่วยเหลือของอัลลอฮ์(ซ.บ.) และเราไม่มีพลังในการภักดีต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้เลย

นอกจากโดยความสัมฤทธิ์ผลอันมาจากอัลลอฮ์(ซ.บ.) ” ( ๒๒)

( ๒๒) อัต-เตาฮีด หน้า ๒๔๒.

ดุอาอ์ของอิมามบากิร(อ)

คำวิงวอน(ดุอาอ์)เป็นมรดกล้ำค่าอย่างหนึ่งของบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ)ซึ่งท่านเหล่านั้นได้ร่ำเรียนมาจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) และได้สั่งสอนไว้ให้แก่บรรดาประชาชาติไปสู่

ทิศทางที่ดีเลิศ ยุติธรรมและมีเกียรติ

บทดุอาอ์เหล่านี้ นอกเหนือจากการแสดงให้เห็นถึงการสรรเสริญเทิดทูนเอกองค์อัลลอฮ์ ( ซ.บ.) ถวายความบริสุทธิ์แด่พระองค์ และขอบคุณในความการุณย์ของพระองค์ และนอกจากการขจัดซึ่งแนวความคิดต่าง ๆ ที่ผิด ๆ ในเรื่องของพระองค์ทั้งในด้านการเปรียบเยบและพรรณาไปในลักษณะของผู้มีเรืองนร่างแล้ว

ดุอาอ์ของบรรดาอิมาม(อ)ยังเป็นแหล่งที่มาของการให้ความรู้ทาง

จริยธรรม คุณธรรมอันสูงส่ง

ในหน้าต่อไปนี้เราจะเสนอบทดุอาอ์บางส่วนของอิมามมุฮัมมัด

บากิร (อ)

ดุอาอ์

บทที่ ๑

บทดุอาอ์บางบทที่ท่านอิมามบากิร(อ)ใช้วิงวอนขอในขณะเดินทางออกนอกเคหะสถาน มีดังนี้

“ ข้าพเจ้าขอความคุ้มครองในสิ่งต่าง ๆ ที่มะลาอิกะฮฺของอัลลอฮ์ ขอความคุ้มครองให้พ้นจากความชั่วร้ายสำหรับวันใหม่นี้ ซึ่งถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์ได้ลับดวงไปแล้วและไม่คืนกลับมาอีกให้

พ้นจากความชั่วร้ายตัวของฉันและพ้นจากความชั่วร้ายในคนอื่น ให้พ้นจากความชั่วของมารร้าย ให้พ้นจากความชั่วร้ายของคนที่ต่อต้านบรรดาเอาลิยาอของอัลลอฮ์(ซ.บ.)

ให้พ้นจากความชั่วร้ายของญินและมนุษย์ ให้พ้นจากความชั่วร้ายของสัตว์ร้าย ให้พ้นจากความชั่วร้ายของพาหนะที่ต้องห้าม

ข้าขอแต่อัลลอฮ์ให้นำตัวข้าพเจ้าให้พ้นจากความเลวร้ายทุกประการเถิด ” ( ๑)

(๑) อิด-ดะดุด-ดาอี หน้า ๒๑๐

ท่าน (อ)ได้กล่าวว่า “ ใครที่ได้อ่านดุอาอ์บทนี้

อัลลอฮ์(ซ.บ.)จะทรงยกโทษและอภัยให้แก่เขาและจะสามารถเอาชนะความชั่วร้ายและพระองค์จะทรงคุ้มครองให้เขาพ้นจากความเลวร้าย

ดุอาอ์

บทที่ ๒

มีดุอาอ์บทหนึ่งของท่านอิมามบากิร(อ)ที่เคยสอนให้ท่านมุฮัมมัดบินมุสลิม(ร.ฏ.)แล้วเคยสั่งไว้ว่า “ จงจำดุอาอ์นี้ไว้ให้เหมือนกับที่เธอรักษาตาทั้งสองข้างของเธอ ”

“ มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ผู้ซึ่งไม่มีบุตร ไม่มีภาคีคู่เคียงใด ๆ ในสากลจักรวาลสำหรับพระองค์สำหรับพระองค์ไม่มีผู้คุ้มครองจากความต่ำต้อยใด ๆ (เพราะตัวของพระองค์เป็นผู้คุ้มครองจากสรรพสิ่ง) และความเกรียงไกรยิ่งใหญ่เป็นของพระองค์ ” ( ๒)

(๒) มิฟตาฮุล-ฟะลาอ หน้า ๑๔๖.

ดุอาอ์

บทที่ ๓

ดุอาอ์ที่ท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)อ่านเป็นประจำหลังนมาซอิชาอ์คือ

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ด้วยสิทธิของมุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัดขออัลลอฮ์ทรงประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด ขอพระองค์อย่าให้เราหมกหมุ่นอยู่ในความชิงชังของพระองค์

อย่าให้เราลืมการรำลึกถึงพระองค์ โปรดอย่าเปิดเผยสิ่งซ่อนเร้นของพระองค์ออกไปจากพวกเรา โปรดอย่าหวงห้ามเกียรติยศของพระองค์ต่อเรา โปรดอย่าเผยความกริ้วของพระองค์ที่ทรงมีต่อเรา โปรดอย่าให้เราห่างเหินจากความชิดใกล้พระองค์ โดปรดอย่าให้เราถูกลดหย่อนความเมตตาของพระองค์ โปรดอย่าถอดถอนความจำเริญของพระองค์ออกจากเรา โปรดอย่ายับยั้งการอภัยต่อพวกเรา โปรดปรับปรุงเราในสิ่งที่ทรงประทานแก่เรา โปรดเพิ่มให้เราซึ่งความดีของพระองค์อันจำเริญ อันประเสริฐ อันจำเริญ อันเลิศเลอ อันงดงาม อันดีงาม โปรดอย่าเปลี่ยนแปลงความโปรดปรานที่มีต่อเรา โปรดอย่าให้เราผิดหวังจากความปรานีของพระองค์ โปรดอย่าทำให้เราหลงทางในเมื่อพระองค์ทรงนำทางเราแล้ว และโปรดมอบให้แก่เราซึ่งความชิดใกล้ต่อพระองค์ในความเมตตา

แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ประทานให้เสมอ ข้าแต่อัลลอฮ์โปรดบันดาลให้หัวใจของเรามีความสงบ

และให้วิญญาณของเรามีความประเสริฐและให้ปลายลิ้นของเราเป็นสัจจะ ให้ความศรัทธาของเรายั่งยืน ให้ความเชื่อมั่นของเราเป็นจริง อย่าให้การค้าของเราสูญเปล่า

โอ้พระผู้อภิบาลของเรา โปรดประทานให้แก่เราซึ่งความดีงามในชีวิตแห่งโลกดุนยานี้ และความดีงามแห่งปรโลกและโปรดปกป้องคุ้มครองเราให้พ้นจากการลงโทษในไฟนรกโดยความเมตตาของพระองค์ ” ( ๓)

( ๓) อัล-ญันนะตุล-วากิยะฮฺ

ดุอาอ์

บทที่ ๔

ดุอาอ์บทหนึ่งของท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ)ที่อ่านในยามนอน

“ ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ข้าแต่อัลลอฮ์ แท้จริงข้าขอมอบตัวให้แก่พระองค์ และขอผินหน้าของข้าให้แก่พระองค์และมอบภาระอันหนักอึ้งบนสันหลังของข้าให้แก่พระองค์ ขอมอบหมายยังพระองค์ทั้งความเกรงกลัวและความปรารถนาต่อพระองค์ ไม่มีที่ใดจะปลอดภัยจากพระองค์ นอกเหนือจากที่พระองค์ ข้าศรัทธาต่อคัมภีร์ของพระองค์ที่ทรงประทานมา และศรัทธาต่อศาสดาของพระองค์ที่ทรงส่งมา ”

จากนั้นท่าน(อ) ก็กล่าวคำตัซบีฮฺ ด้วยถ้อยคำการตัซบีฮฺตามคำสอน

ของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ อัซ์-ซะฮฺรออ์(อ)(๔)

( ๔) มิฟตาฮุล-ฟะลาฮฺ หน้า ๒๑๒.

ดุอาอ์

บทที่ ๕

ดุอาอ์ของอิมามบากิร(อ) ที่วิงวอนขอหลังนมาซในยามกลางคืน

ศอลาตุลลัยลฺ. มีดังนี้

“ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) องค์เดียว ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ มวลอาณาจักรเป็นของพระองค์ และมวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ ทรงให้มีชีวิตแล้วทรงให้ตาย

ทรงให้ตายแล้วทรงให้มีชีวิต และพระองค์ทรงมีชีวิตที่ไม่ตาย ความดีงามอยู่ในอำนาจของพระองค์

พระองค์ทรงมีความสามารถเหนือทุกสิ่ง

ข้าแต่อัลลอฮ์ มวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นที่ร้องขอของบรรดาผู้ร้องขอ ดังนั้นมวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของผู้ที่ต้องการหาที่พึ่ง

ดังนั้นมวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ พระองค์ทรงปรานีเหนือบรรดาผู้ปรานีใด ๆ ดังนั้นมวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์

ข้าแต่อัลลอฮ์ เพราะพระองค์เท่านั้นที่ความต้องการใด ๆ ทุกประการลุล่วง ดังนั้นมวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ และด้วยพระองค์เท่านั้น

ข้าแต่อัลลอฮ์ ให้ความต้องการของข้าได้มีอันลุล่วงในคืนนี้ ดังนั้นได้โปรดดลบันดาลให้มันเป็นไปแก่ข้าด้วยเถิด

ข้าแต่ผู้ดลบันดาล ข้าแต่อัลลอฮ์ พระองค์ทรงให้สัจธรรม คำตรัสของพระองค์เป็นสัจธรรม พระองค์ทรงเป็นเจ้าของอันสัจธรรม

และแท้จริงยามอวสานนั้นจะมีมาอย่างไม่ต้องสงสัย และแท้จริงพระองค์จะทรงชุบชีวิตของผู้ที่อยู่ในสุสานให้ฟื้นขึ้นมา

ข้าแต่อัลลอฮ์ ข้าขอจำนนต่อพระองค์ ข้าขอศรัทธาต่อพระองค์ ข้าขอมอบหมายตนต่อพระองค์ ข้าขออุทธรณ์ต่อพระองค์ ข้าขอการตัดสินต่อพระองค์ ดังนั้นโปรดอภัยให้ข้าในสิ่งที่ข้าได้

กระทำผ่านมาและต่อไปข้างหน้า ทั้งที่ข้าซ่อนเร้นไว้และสิ่งที่ข้าเปิดเผยแท้จริง พระองค์ทรงมีชีวิตซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์(๕)

(๔) อัล-ญันนะตุ-วากิยะฮฺ ของ เซคกะฟะอมี หน้า ๓๐.

อิมามบากิร(อ) :ให้บทเรียนแก่ค่ลอลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮฺ

นักประวัติศาสตร์ต่างได้ยอมรับเป็นเอกฉันท์ว่า

ท่านอมีรุลมุอ์มินีน(อ)นั้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสมัยของคอลิฟะฮฺ ๓ คนแรก

ท่าน(อ)ต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการแต่บ่อยครั้งเหลือเกิน

ที่ท่าน(อ)ต้องก้าวออกมาเพื่อแก้ปัญหาที่ลำบากยากยิ่งให้แก่ผู้นำที่ดำรงตำแหน่งก่อนท่าน(อ)อันเป็นปัญหาที่สุดวิสัยที่ใคร ๆ และบรรดาคนมุสลิมจะแก้ไขได้ คนเหล่านั้นต้องย้อนกลับไปหาท่าน(อ)

อยู่เสมอเพื่อให้ท่าน(อ)แก้ไขสิ่งต่าง ๆ ให้แก่พวกเขา

ดังที่บรรดานักประวัติศาสตร์ได้บันทึกถ้อยคำของท่านอุมัรบินค็อฏฏอบ(ร.ฏ.)ที่กล่าวไว้ในเรื่องนี้ว่า

“ ขอต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ว่าอย่าให้ฉันมีชีวิตอยู่หลังจากบุตรของ

อะบีฏอลิบ (อิมามอะลี)เลย ”

และคำพูดที่ว่า

“ หากไม่มีอะลี แน่นอน อุมัรต้องพินาศอย่างแน่นอน ”

และคำที่ว่า

“ ขออย่าให้มีปัญหาอุปสรรคใด ๆ ในยามที่ไม่มีบิดาของฮะซัน

(อิมามอะลี)เลย ”

แน่นอนบรรดานักปราชญ์ได้เก็บรวบรวมเอาเรื่องการตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของท่านอะลี(อ)

ไว้เป็นตำราหลายเล่ม และส่วนหนึ่งก็ได้นำเสนอไปแล้วในตอนต้นของหนังสือเล่มนี้ บรรดาลูกหลานของท่าน(อ) จากบรรดาอิมาม(อ) ก็ได้ทำหน้าที่ในการแก้ปัญหาอันยุ่งยากให้แก่นักปกครองในยุคสมัยของพวกท่าน(อ) ซึ่งคนเหล่านั้นไม่สามารถหาใครชี้แนะได้จึงต้องย้อนกลับมาหาพวกท่าน(อ) และยอมรับเอาข้อเสนอแนะในเรื่องนั้นจากพวกท่าน(อ)ไปปฏิบัติ

อิมามบากิร(อ)สอนวิธีใช้เหรียญดีนารและดิรฮัมแก่คอลีฟฮฺ

อับดุลมาลิก

ในบทนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องราวของปัญหาที่เกิดขึ้นในสมัยของ

อับดุลมาลิก บินมัรวาน แล้ว

อับดุลมาลิก ได้นำปัญหาเหล่านั้นไปหาท่านอิมามบากิร(อ)พิจารณา และได้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่อิมามบากิร(อ)ได้เสนอแนะให้แก่เขา