ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร0%

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน: ศาสตราจารย์เชคอะลีมุฮัมมัด อะลีดุคัยยิล
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 18536
ดาวน์โหลด: 4705

รายละเอียด:

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 239 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 18536 / ดาวน์โหลด: 4705
ขนาด ขนาด ขนาด
ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ชีวประวัติอิมามมูฮัมมัด อัลบากิร

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

และท่าน(ศ)ได้กล่าวแก่สาวกของท่าน(ศ)ว่า

“ ฮะรอม (ต้องห้าม) แก่สาวกของฉันและคนในครอบครัวของฉันที่จะมองไปยังเอาเราะฮฺ (สิ่งที่จะต้องปกปิด) ของฉัน

นอกจาก ‘ อะลี ’ พี่น้องของฉัน เพราะแท้จริงเขามาจากฉันและฉันมาจากเขา

อันใดก็ตามที่เป็นของเขาย่อมหมายความว่าเป็นของฉัน และอันใดที่เป็นของฉันย่อมหมายความว่าเป็นของเขา เขาคือคนชำระหนี้ของฉัน เขาคือคนทำหน้าที่ตามข้อสัญญาของฉัน ”

หลังจากนั้นท่าน(ศ)ได้กล่าวกลับสาวกของท่าน(ศ)ว่า

“ อะลี บินอะบีฏอลิบ ได้ทำการต่อสู้ไปตามความหมายแห่งนัยยะของอัล-กุรอาน

เช่นเดียวกับที่ฉันได้ต่อสุ้ไปตามความหมายแห่งนัยยะนั้น จึงไม่มีใครเลยแม้สักคนเดียวที่สาธยายถึงนัยยะแห่งอัล-กุรอานให้ครบถ้วนบริบูรณ์ได้ นอกจากการสาธยายของอะลี(อ) ”

และด้วยเหตุนี้ ท่านศาสดา(ศ)จึงกล่าวอีกว่า

“ อะลีเป็นคนตัดสินความให้แก่พวกท่าน ”

คือหมายความว่า “ เขาเป็นผู้พิพากษาของพวกท่าน ”

และท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ ได้เคยกล่าวว่า

“ หากไม่มีอะลี อุมัรต้องประสบความพินาศแน่นอน ”

ซึ่งขณะที่อุมัรยังยืนยันสนับสนุนท่านอะลี(อ) คนอื่นจะคัดค้านท่าน(อ)ได้อย่างไร ?”

ฮิชามถึงกับนิ่งเงียบเป็นเวลานาน ต่อจากนั้นก็ยกศีรษะขึ้น พลางกล่าวว่า

“ จงเรียกร้องในสิ่งที่ท่านต้องการมาเถิด ? ”

บิดาของฉันกล่าวว่า

“ ท่านปล่อยให้ครอบครัวของฉันโดดเดี่ยวอยู่ข้างหลัง เนื่อจากการนำฉันมาที่นี้ ”

เขากล่าวว่า

“ แน่นอน อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงบันดาลให้ความอบอุ่นเกิดขึ้นแทนความโดดเดี่ยวของพวกเขา

โดยการคืนกลับของท่านไปสู่พวกเขา ท่านมิต้องลุกขึ้นจงมีความสุขกับวันนี้ของท่าน ”

ดังนั้น บิดาของฉันได้ก้มศีรษะนิดหนึน่งแก่เขา และขอดุอาอ์ให้แก่เขาด้วย และฉันก็ได้กระทำตามที่บิดาของฉันกระทำ ต่อจากนั้นท่าน(อ)ก็ลุกขึ้น ฉันก็ลุกขึ้นพร้อมกับท่าน(อ) และเราก็เดินออกมา(๒)

( ๒) บิฮารุล-อันวาร เล่ม ๑๑ หน้า ๘๘.

คำสดุดีของบรรดานักปราชญ์ผู้ทรงเกียรติ

นับตั้งแต่สมัยแรกจนถึงปัจจุบันนี้ ประชาชาติอิสลามโดยส่วนรวมมีความภาคภูมิใจในเกียรติคุณอันดีงามของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ยิ่งกว่าใคร ๆ ในหมู่มวลมุสลิม และให้การยอมรับว่าพวกเขาเหมาะสมในตำแหน่งคอลีฟะฮฺ

หนังสือประวัติศาสตร์เหล่านี้รวมถึงหนังสืออัตชีวประวัติ บรรณานุกรมต่าง ๆได้เป็นศูนย์รวมถ้อยคำของบรรดานักปราชญ์ และบรรดาผู้ทรงเกียรติที่ให้คำสดุดี คำยกย่อง เทิดทูน และหยิบยกเอาคุณงามความดี และฐานภาพอันสูงส่งของพวกเขามากล่าวถึง

ถ้าหากจะนับจำนวนของบรรดานักค้นคว้า ที่กล่าวถึงถ้อยคำเหล่านี้ให้ได้ทั้งหมดทุกคน

แน่นอนเลยทีเดียวว่า จะต้องเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ประกอบด้วยบทตอนต่าง ๆ จำนวนมาก

เราเพียงแต่จะขอนำเอาบางส่วนของถ้อยคำของเขาเหล่านั้นที่กล่าวถึงท่านอิมามบากิร(อ)มากล่าวถึงในที่นี้

คำสดุดี

- ๑-

ท่านญาบิร บินอับดุลลอฮฺ อัล-อันศอรี(ร.ฏ.)ได้กล่าวกับท่าน(อ)ว่า :

“ ท่านคือบุตรของมนุษย์ที่ประเสริฐที่สุด (ค็อยรุล-บะรียะฮฺ) ปู่ของท่านคือ ประมุขของชายหนุ่มในสวนสวรรค์ ทวดหญิงของท่านคือ ประมุขของเหล่าสตรีในสากลโลก ” ( ๑)

( ๑) อัด-ดุมอะตุซ-ซากิบะฮฺ หน้า ๔๐๓.

คำสดุดี

- ๒-

ชายคนหนึ่งได้ตั้งปัญหาถามท่านอิบนุอุมัร(ร.ฏ.)ข้อหนึ่ง แต่เขามิสามารถให้คำตอบได้ เขาจึงบอกชายคนนั้นว่า

“ จงไปหาเด็กชายผู้นั้นเถิด แล้วจงถามเขา และโปรดสอนให้ข้าพเจ้ารู้ตามที่เบอกท่านด้วยเถิด ”

ว่าพลางเขาชี้ไปยังท่านมุฮัมมัด บากิร(อ)แล้วชายคนนั้นได้เข้ามาหาท่าน(อ)ถามท่าน(อ)

แล้วท่านอิมาม(อ)ก็ตอบชายคนนั้นกลับไปหาท่านอิบนุอุมัร แล้วได้เล่าให้เขาฟัง

อิบนุอุมัรกล่าวว่า

“ แท้จริงพวกเขาเป็นอะฮฺลุลบัยตฺแห่งความรู้ความเข้าใจ ” ( ๒)

( ๒) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๒๘๖.

คำสดุดี

- ๓-

ท่านญาบิร บินยะซีด อัล-ญุอ์ฟี(ร.ฏ.)นั้น เมื่อท่านได้รายงานฮะดีษบทใดจากท่านมุฮัมมัดบินอะลี(อ) ท่านจะกล่าวว่า :

“ ทายาทคนหนึ่งในบรรดาทายาทผู้สืบมรดกทางวิชาการของบรรดานบี คือ ท่านมุฮัมมับินอะลี บินฮุเซน (อ) เล่าฮะดีษให้ฉันว่า... ” ( ๓)

( ๓) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๑๓.

คำสดุดี

- ๔-

ท่านอัล-อับร็อช อัลกัลบี ได้กล่าวกับท่านอิมาม(อ)หลังจากถามท่าน(อ)ในปัญหาข้อหนึ่งแล้วท่าน(อ)ก็ได้ตอบดังนี้

“ ท่านคือบุตรของศาสดาแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ที่แท้จริง ”

หลังจากนั้นก็ได้หันกลับไปยังฮิชาม แล้วกล่าวว่า

“ เราขอเรียกร้องจากพวกท่าน โอ้ บุตรหลานของอุมัยยะฮฺ แท้จริงนี่คือคนมีความรู้ที่สุดในโลกเกี่ยวกับเรื่องราวในชั้นฟ้าและแผ่นดิน เพราะนี่คือลูกหลานของศาสดาแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ” ( ๔)

( ๔) กัชฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๑๓.

คำสดุดี

-๕-

ท่านอะบูอิซฮาก ได้กล่าวว่า :

“ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นใครเหมือนเขาเลย ” ( ๕)

( ๕) อะอยานุช-ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๒/๒๐.

คำสดุดี

-๖-

ท่านอับดุลลอฮฺ บินอะฏอ อัล-มักกีได้กล่าวว่า :

“ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นนักปราชญ์ในกลุ่มของคนใดอายุน้อยกว่านักปราชญ์ในกลุ่มของพวกเขา นั่นคือท่านอะบูญะอ์ฟัรบินอะลี บินฮุเซน (อ) แน่นอน ข้าพเจ้าเห็นฮิกัม บินอุตัยบะฮฺ เมื่อยามที่อยู่ต่อหน้าเขาเป็นเสมือนยังเด็กเล็ก ๆ คนหนึ่งที่อยู่ต่อหน้าครูของตนทั้ง ๆ ที่เขาคือผู้ยิ่งใหญ่ในหมู่พรรคพวกของพวกเขาเอง ” ( ๖)

( ๖) บิฮารุล-อันวาร เล่ม ๑๑ หน้า ๘๒

คำสดุดี

-๗-

ท่านฮิกัม บินอุตัยบะฮฺได้กล่าวถึงโองการหนึ่งที่ว่า :

“ แท้จริงในเรื่องนี้(การลงทัณฑ์)เป็นสัญญาณสำหรับบุตะวัซซิมีน(ผู้ชาญฉลาด) ”

แน่นอน ด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.)มุฮัมมัดต้องเป็นคนหนึ่งในบรรดาคนเหล่านั้น ”( ๗)

คำสดุดี

-๘-

อับดุลมาลิกได้เขียนหนังสือไปถึงเจ้าเมืองมะดีนะฮฺว่า :

“ ให้ส่งตัวมุฮัมมัด บินอะลี มายังข้าพเจ้าโดยสวมพันธนาการมาด้วย ”

เจ้าเมืองมะดีนะฮฺเขียนจดหมายตอบกลับไปว่า

“ จดหมายของข้าพเจ้าฉบับนี้มิได้มีเจตนาที่จะขัดแย้งกับท่านอะมีรุล-มุอ์มินึน และมิได้ปฏิเสธคำบัญชาของท่านแต่อย่างใด หากแต่ข้าพเจ้าเห็นว่าจะต้องทบทวนข้อความคัมภีร์เพื่อเป็นคำเตือนสำหรับท่าน แท้จริงชายคนที่ท่านประสงค์จะให้จับตัวนั้น ปัจจุบันนี้ในหน้าพื้นแผ่นดินไม่มีใครอ่อนโยนเท่าเขา ไม่มีใครอยู่อย่างสมถุ และไม่มีใครถ่อมตนเท่าเขา...

“ แท้จริง อัลลอฮ์จะไม่ทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของคนกลุ่มใด นอกจากพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงโดยตัวของพวกเขาเอง ”

( ๗) กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๑๒.

ปรากฏว่า อับดุลมาลิก ดีใจมากที่ข้าหลวงของตนยับยั้งตนในเรื่องนี้ ทั้ง ๆ ที่เขาเองก็รู้ดีว่าข้าหลวงได้สั่งสอนเขาเสียแล้ว(๘)

คำสดุดี

-๙-

ฮิชาม บินอับดุลมาลิก (ค่อลีฟะฮฺคนหนึ่งในวงศ์อุมัยยะฮฺ) ได้กล่าวกับท่าน(อ)ว่า :

“ ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ไม่มีสิ่งใดที่ข้าพเจ้าจะสามารถกล่าวเท็จกับท่าน

ได้เลย ”( ๙)

และเขายังเคยกล่าวอีกว่า

“ ชาวกุเรชยังคงอยู่ในฐานะผู้นำของชาวอาหรับและมิใช่ชาวอาหรับตลอดไปตราบเท่าที่ยังมีคนอย่างท่านอยู่ในหมู่พวกเขา ”( ๑๐)

( ๘) อะอยานุช-ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๒/๘๕.

( ๙) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๒๗๘.

( ๑๐) บิฮารุล-อันวาร เล่ม ๑๑ หน้า ๘๘.

คำสดุดี

-๑๐-

ท่านก่อตาดะฮฺ บินดิอามะฮฺ อัล-บัศรี(ร.ฏ.)ได้กล่าวกับท่าน(อ)ว่า :

“ ข้าพเจ้าเคยนั่งอยู่ต่อหน้าฟุกอฮาอ์ (นักปราชญ์ในหลักนิติศาสตร์ของอิสลาม) และเบื้องหน้าของอิบนุอับบาส (ร.ฏ.) แต่หัวใจของข้าพเจ้าไม่เคยเต้นแรงเมื่อยามอยู่ ณ เบื้องหน้าของผู้ใดให้เหมือนกับที่มันเต้นแรง เมื่ออยู่เบื้องหน้าท่านเลย ” ( ๑๑)

คำสดุดี

-๑๑-

ท่านอับดุลลอฮฺ บิน มุอัมมัร อัล-ลัยษี(ร.ฏ.)ได้กล่าวกับท่าน(อ)ว่า :

“ ความรู้ที่ออกมาจากพวกท่านนั้น ข้าพเจ้าคิดอยู่เสมอว่า เป็นรากฐานของพฤกษาแห่ง

ความรู้ กล่าวคือ เปรียบได้ว่าพวกท่านเป็นผลไม้นั้น ส่วนคนทั่วไปเป็นแค่ใบของมันเท่านั้น ” ( ๑๒)

คำสดุดี

-๑๒-

ท่านอะบูซัรอะฮฺ(ร.ฏ.)กล่าวว่า :

“ แท้จริงอะบูญะอ์ฟัรเป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ” ( ๑๓)

( ๑๑) อะอยานุช-ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๒/๓๙.

( ๑๑) กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๒๒๑.

( ๑๓) อัล-มะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๒๗๑.

คำสดุดี

-๑๓-

ท่านชัมซุดดีน มุฮัมมัด บินฏูลูน(ร.ฮ.)ได้กล่าวว่า :

“ คนที่ห้าในหมู่พวกเขาคือบุตรของอะลี นั่นคือ มุฮัมมัด อะบูญะอ์ฟัรบินซัยนุลอาบิดีน บินฮุเซน บินอะลี บินอะบีฏอลิบ (ขออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้โปรดประทานความยินดีแก่ท่านเหล่านั้น) มีฉายานามว่า ‘ อัล-บากิร ’

นั่นคือ บิดาของญะอ์ฟัรอัศ-ศอดิก(ขออัลลอฮ์ได้โปรดยินดีต่อท่าน) ‘ อัล-บากิร ’ นั้นเป็นคนมีความรู้ เป็นประมุขชั้นผู้ใหญ่

ที่เรียกเขาว่า ‘ อัล-บากิร ’ ก็เพราะเขาเปรื่องปราดทางวิชาการ หมายความว่า สามารถธิบายขยายความวิชาการต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดและกว้างขวางเกี่ยวกับตัวของเขาผู้นี้ นักกวีได้กล่าวถึงเขาว่า:

“ โอ้ ผู้แตกฉานเปรื่องปราดทางวิชาแห่งเหล่าบรรดาผู้สำรวมตนต่อพระเจ้า และเป็นคนประเสริฐสุดสำหรับเหล่าบรรดาผู้มีสติปัญญากว้างไกลเหนือภูผา ” ( ๑๔)

คำสดุดี

-๑๔-

ท่านมุฮัมมัด บินฏ็อลฮะฮฺ(ร.ฮ.)ได้กล่าวว่า :

“ เขาคือ บากิร (อ) แห่งความรู้ ศูนย์รวมแห่งความรู้ปราดเปรื่องเรืองรุ่งด้วยความรู้ของท่าน มีความสูงส่ง มีศักดิ์ศรีในความรู้ที่เปี่ยมล้นเป็นคนมีหัวใจที่ใสสะอาด มีผลงานที่ผ่องแผ้วหมดจด

มีจิตใจที่เกลี้ยงเกลา มีจริยาที่ประเสริฐ มีอายุขัยโดยการปฏิบัติตามอัลลอฮ์(ซ.บ.)ตามวาระต่าง ๆ ของท่าน มีความสันทัดจัดเจนในฐานะของผู้สำรวมตนต่อพระเจ้า ” ( ๑๕)

( ๑๔) อัล-อะอิมะฮฺ อิษนาอะชัร หน้า ๘๑.

( ๑๕) มะฏอลิบุซ-ซุอูล หน้า ๘๐.

คำสดุดี

-๑๕-

ท่านอิบนุ อะบีลฮะดีด(ร.ฮ.)ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ‘ ชัรฮฺ นะฮฺญุล-บะลาเฆาะฮฺ ’ ว่า

“ มุฮัมมัด บินอะลี บินฮุเซนนั้น คือประมุขของบรรดาฟุกอฮาอ์แห่งฮิญาซ ประชาชนทั้งหลายต่างได้เรียนรู้วิชาศาสนบัญญัติจากเขาและจากญะอ์ฟัรบุตรของเรา ” ( ๑๖)

คำสดุดี

-๑๖

ท่านอะนูนะอีม อิศบะฮานี(ร.ฮ.)ได้กล่าวว่า

“ คนหนึ่งจากพวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้รู้ระดับนำ เป็นคนสำรวมตนที่อดทนยิ่ง อะบูญะอ์ฟัรมุฮัมมัด บินอะลี อัล-บากิร เขาเป็นเชื้อสายของบรรดานบีที่เป็นศูนย์รวมความรู้แห่งศาสนาเท่าที่มี

เขาสามารถพูดได้ทั้งในแง่การสาธยายขยายความและสาระต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ และเขาคล่องแคล่วงในการให้บทเรียนและยกอุทาหรณ์ เขาสามารถยับยั้งข้อสงสัยและการโต้แย้งทั้งหลาย

ได้... ”( ๑๗)

( ๑๖) อัล-มัดค็อล อิลา เมาซูอะติด อะตะบาคิล มุก็อดดะซะฮฺ หน้า ๒๐๑.

( ๑๗)ฮิลลียะตุ้ล-เอาลิยาอ์ เล่ม ๓ หน้า ๑๘๐.

คำสดุดี

-๑๗-

ท่านอะฮ์มัด บินยูซุฟ อัด-ดะมัชกี อัล-กุรมานี ได้กล่าวว่า :

บทที่ ๔ จะกล่าวเรื่องราวของผู้ทรงเกียรติและผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง อิมามมุฮัมมัด บินอะลี อัล-บากิร (ขออัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงยินดีต่อท่าน) ที่ได้รับสมญานามว่า ‘ อัล-บากิร ’ ก็เพราะเหตุว่าเขาเป็นคนมีความเปรื่องปราดในวิชาความรู้ และบางส่วนก็ว่า เขาได้รับฉายานามนีโดยรายงานฮะดีษจากท่านญาบิร บินอับดุลลอฮฺ อัล-อันศอรี ที่กล่าวว่า :

“ โอ้ ญาบิรเอ๋ย หวังว่าท่านคงจะได้อยู่จนทันพบกับหลานคนหนึ่งของฮุเซน ชื่อของเขาจะเหมือนกับชื่อฉัน เขาจะมีความแตกฉานปราดเปรื่องในความรุ้ คือเขาสามารถจำแนกแยกแยะวิชาการออกได้อย่างแตกฉาน ครั้นถ้าหากท่านได้พบกับเขาก็จงบอกเขาด้วยเถิดว่า ฉันได้ให้สลามมายังเขา เขาได้เป็นตัวแทนของบิดาในท่ามกลางหมู่พี่น้องของเขา และได้เป็นทายาทเป็นกออิม สำหรับตำแหน่งอิมามภายหลังจากบิดา ”( ๑๘) ( ๑๘) อิคบารุด-ดุวัล หน้า ๑๑๑.

คำสดุดี

-๑๘-

ท่านอะลี บินมุฮัมมัด บินอะฮฺมัด อัล-มักกี(อิบนุศิบาฆ)(ร.ฮ.)ได้กล่าวว่า :

“ ท่านมุฮัมมัด บินอะลี บินฮุเซน(อ)นั้นพร้อม ๆ กันไปกับที่ท่านเป็นคนมีความรู้ มีเกียรติยศ มีความเป็นผู้นำเป็นหัวหน้า และดำรงตำแหน่งอิมาม ท่านยังเป็นคนที่มีความเอื้ออารี ทั้ง

ในหมู่ชนชะอะฮฺและซุนนี ท่านมีชื่อเสียงดีเด่นในฐานะเป็นคนมีจิตใจกรุณาแก่คนทั่วไป เป็นที่ยอมรับในเกียรติยศและคุณธรรม ทั้ง ๆ ที่สมาชิกในครอบครัวของท่านมีหลายคน และฐานะความเป็นอยู่ของท่านก็ปานกลาง ” ( ๑๙)

คำสดุดี

-๑๙-

ท่านชัมซุดดีน อะฮฺมัด บินมุฮัมมัด บินอะบีบักร บินค็อลกาน(ร.ฮ.)ได้กล่าวว่า :

“ ท่านอะบูญะอ์ฟัรมุฮัมมัด อิบนุ อะลี ซัยนุนอาบิดีน บินฮุเซน บินอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ)นั้นเป็นผู้มีฉายานามว่า ‘ อัล-บากิร ’ เป็น ๑ ในบรรดาอิมามทั้ง ๑๒ ท่าน เป็นคนที่แตกฉานทางวิชา

ความรู้ เป็นคนมีวิชา เป็นประมุขที่ยิ่งใหญ่ สาเหตุที่คนเรียกว่า ‘ บากิร ’ ก็เพราะท่านมีความเปรื่องปราดแตกฉานในวิชาการ หมายความว่า มีความสามารถสูง และสามารถอธิบายขยายความได้อย่างกว้างขวาง ”

จนนักกวีได้กล่าวถึงท่าน(อ)ไว้ว่า :

“ โอ้ บากิร ผู้แตกฉาน เปรื่องปราดทางวิชาแห่งเหล่าบรรดาผู้สำรวมตนต่อประเจ้า และเป็นผู้ประเสริฐสุดสำหรับเหล่าบรรดาผู้มีปัญญากว้างไกลเหนือภูผา ”( ๒๐)

( ๑๙) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๐๑.

( ๒๐) วุฟฟิยาตุล-อิยาน เล่ม ๓ หน้า ๓๑๔.

สดุดี

-๒๐-

ท่านอะฮฺมัด บินฮะญัร(ร.ฮ.)ได้กล่าวว่า :

“ ทายาทของเขา (อิมามซัยนุลอาบิดีน) มีคนหนึ่งที่เป็นคนที่ได้ชื่อว่า นักอิบาดะฮฺและนักวิชาการ และใช้ชีวิตอย่างสมถะ เขาคือ ‘ อะบูญะอ์ฟัรมุฮัมมัด อัล-บากิร ’ ที่ได้ชื่อว่าอย่างนี้ก็

เพราะเป็นคนปราดเปรื่องที่สุดในแผ่นดิน หมายความว่า สามารถจำแนกแยกแยะเรื่องราวอันสลับซับซ้อนที่มีในผืนแผ่นดินนี้ได้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เองที่เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้เป็นกองคลังแห่ง

ความรู้ มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในอะฮฺกามต่าง ๆ ระเบียบกฏเกณฑ์และคุณค่าแห่งเมตตาธรรม ไม่มีใครที่ถูกปิดบังเรื่องนี้ได้ นอกจากคนมีสายตามืดบอด หรือคนที่มีความประพฤติตัวเสียหายเลวทราม และอยู่ในที่ลับเท่านั้น

ที่ได้ชื่อว่า ‘ บากิร ’ ก็เพราะเขาเป็นคนปราดเปรื่องในวิชาความรู้เป็นศูนย์รวมความรู้ เป็นที่นิยมยกย่องในวิชาความรู้ และความสูงส่งทางวิชาการ มีหัวใจที่ใสสะอาด มีผลงานอันบริสุทธิ์ผุด

ผ่อง มีจิตใจที่เกลี้ยงเกลา มีจริยธรรมที่ประเสริฐ มีชีวิตอยู่ด้วยการเคารพเชื่อฟังอัลลอฮ์(ซ.บ.) ตลอดอายุขัย มีฐานภาพอันสูงส่งและโดดเด่นในสาขาวิชาการจนเป็นที่ยอมรับทั้งจากฝ่ายซุนนะฮฺ และ

บรรดาพวกที่นิยมการพรรณาถึงภาพพจน์สำหรับท่าน(อ)มคำสดุดียกย่องมากมาย ในด้านการประพฤติตัว ด้านวิชาการอันไม่สามารถกล่าวถึงได้หมดในที่ที่จำกัดอย่างนี้ได้ ”

แต่ที่ถือว่าเป็นที่สุดของเกียรติก็คือ คำรายงานของอิบนุ อัล-มะดีนี

ที่ว่า :

ท่านญาบิรได้กล่าวกับเขาในขณะที่เขายังเป็นเด็กอยู่ว่า :

ท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์(ศ)ได้ฝากสลามมายังท่าน(อ) มีคนถามว่า

“ เรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างไร ? ”

ท่านญาบิร(ร.ฏ.) กล่าวว่า

“ ฉันอยู่กับท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ขณะที่ท่านกำลังนั่งอยู่และฮุเซนก็ได้นั่งบนตักของท่าน(ศ) ทั้งสองกำลังเล่นกัน ท่าน(ศ)กล่าวว่า :

“ โอ้ญาบิรเอ๋ย เขาจะมีบุตรคนหนึ่งที่ชื่อว่า ‘ อะลี ’ เมื่อถึงวันกิยามะฮฺจะมีเสียงประกาศว่า

“ ขอให้ประมุขของบรรดาผู้ทำการอิบาดะฮฺลุกขึ้นเถิด ”

ปรากฏว่า บุตรของฮุเซนจะลุกขึ้น ถัดจากนั้น เขาจะมีบุตรคนหนึ่งชื่อ ‘ มุฮัมมัด ’ โอ้ ญาบิรเอ๋ย ถ้าเจ้าได้ทันพบกับเขาก็จงนำสลามจากฉันไปฝากยังเขาด้วย ” ( ๒๑)

คำสดุดี

-๒๑-

ท่านยูซุฟ บินอิสมาอีล อัน-นะบะฮานีได้กล่าวว่า :

“ ท่านมุฮัมมัด บากิร บินอะลี ซัยนุลอาบิดีน บินฮุเซน(ขออัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้ทรงยินดีต่อพวกท่านเหล่านั้น) เป็นหนึน่งในบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺอันทรงเกียรติของเรา เป็นหนึ่งในบรรดานักปราชญ์ที่ยอดเยี่ยมปราดเปรื่องในวิชาการ... ”( ๒๒)

( ๒๑) อัศ-เศาะวาอิกุล-มุฮัรร่อเกาะฮฺ หน้า ๑๒๐.

( ๒๒) ญามิอุล-กะรอมาติล-เอาลิยาอ์ เล่ม ๑ หน้า ๙๗.

คำสดุดี

-๒๒-

ท่านมุฮัมมัด บินอะบีบักร์ อัช-ชีลลี(ร.ฮ.)ได้กล่าวว่า :

“ อิมามผู้ยิ่งใหญ่ในวิชาการที่ได้รับการนิยมยกย่อง เป็นผู้ทรงเกียรติอันกว้างไพศาล และมีความรู้อย่างลึกซึ้ง ถือกำเนิดที่เมืองมะดีนะฮฺ...มีชื่อเรียกกันว่า ‘ อะบูญะอฟัร ’

มีฉายานามว่า ‘ อัล-บาเก็ร ’ เนื่องจากแตกฉานปราดเปรื่องในความรู้ ท่านเป็นคนขยายความรู้ให้แผ่กว้างออกไป ”

คำสดุดี

-๒๓-

ท่านมุฮัมมัด อะมีน บัฆดาดี อัช-ซุวัยดี กล่าวว่า :

ท่าน(มุฮัมมัด บากิร(อ))คือ ตัวแทนของพ่อของท่านในหมู่พี่น้องของท่าน เป็นทายาท และผู้ยืนหยัดในหลักการต่อจากบิดาของท่าน ไม่มีใครในหมู่ลูกหลานของฮุเซนที่จะเก่งกล้าในวิชาการศาสนา จริยธรรม มารยาท ประวัติศาสตร์และวิชาไวยากรณ์อาหรับมากไปกว่า ‘ อะบูญะอฟัร ’( ขออัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงยินดีต่อท่าน)

เขายังกล่าวอีกว่า

“ ความดีเด่นอันเลอเลิศของท่านมีมากมายเกินกว่าที่จะบรรยายในเรื่องหนึ่ง ๆ ได้ ”

คำสดุดี

-๒๔-

ท่านอะลี ญะลาลุลอฮ์ ฮุซัยนีกล่าวว่า :

“ เขา(อัล-บากิร)คือผู้มีความรู้กว้างไกล มีขันติเป็นเลิศ ”

คำสดุดี

-๒๕-

ท่านอะฮฺมัด ฟะฮฺมี มุฮัมมัด กล่าวว่า :

“ ท่านอะบูญะอ์ฟัรมุฮัมมัด อัล-บากิร(อ) คือจุดเด่นแห่งกาลเวลาไข่มุกแห่งกาลสมัย ท่านถือกำเนิดในเดือนศ่อฟัร ปี ฮ.ศ.๕๗ ท่านคือฮาชิมีอะละวี และฟาฏิมีคนหนึ่ง ท่านคือที่รวมของบุตรหลานของฮะซันและฮุเซนมีฉายานามว่า ‘ บากิร ’ ก็เพราะว่า ท่านเป็นผู้ปราดเปรื่องและไขข้อข้องใจในปัญหาวิชาการทั้งมวล ”

บทส่งท้าย

หลังจากที่ได้เล่าเรื่องราวของอัตชีวประวัติส่วนหนึ่งของท่านอิมาม อะบูญะอฟัร(อ)ได้ผ่านสายตาท่านผู้อ่านไปแล้ว สิ่งที่ท่านอ่านไปนั้นมันช่างน้อยนิดเสียเหลือเกิน

ท่านได้ยินวิถีการดำเนินชีวิตและหลักปฏิบัติของท่าน(อ)ที่นำไปสู่ความเรียบง่ายไปแล้ว

สิ่งที่น่าชมเชยก็คือ ขอให้หนังสือเล่มนี้ คือ เสียงเรียกร้องข้าพเจ้าและท่านสู่การปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินชีวิตของท่านอิมามผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ เป็นผู้เลียนแบบร่องรอยของท่านเป็นผู้ตั้งใจแน่ว

แน่สู่เป้าหมายของท่าน

“ โอ้พระผู้อภิบาลของเรา แท้จริงเราได้ยินเสียงเรียกร้องที่เชิญชวนสู่การอีหม่านที่ว่า จงศรัทธาต่อพระผู้อภิบาลของสูเจ้าแล้วเราก็ได้ศรัทธาแล้ว

โอ้พระผู้อภิบาลของเรา โปรดอภัยโทษบาปทั้งมวลของเราและขจัดความเลวร้ายที่เราได้ทำไปให้ออกไปจากตัวเรา และได้โปรดเอาชีวิตเราไปอยู่พร้อมกับผู้ทรงธรรมทั้งหลาย

โอ้พระผู้อภิบาลของเรา โปรดประทานสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสัญญากับศาสนทูตของพระองค์ให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด โปรดอย่าได้ทำให้เราต้องขมขื่นในวันกิยามะฮฺ แท้จริงแล้ว

พระองค์จะไม่บิดพลิ้วต่อสัญญาที่พระองค์ได้ให้ไว้

โอ้ อัลลอฮ์(ซ.บ.) โปรดช่วยเหลือเราให้มีชัยต่อตัวเราเองด้วยกับสิ่งที่พระองค์ได้ทรงช่วยเหลือกัลยาณชนของพระองค์ให้มีชัยต่อตัวของพวกเขาด้วยสิ่งนั้น โปรดปกป้องเราให้พ้นจากความชั่ว พ้นจากการปิดล้อมของการยั่วยวนและเสียงเรียกร้องสู่ความเลว

แท้จริงพระองค์ ผู้ทรงเกียรติ และมีอานุภาพยิ่ง ”