ศาสนากับโลก

ศาสนากับโลก0%

ศาสนากับโลก ผู้เขียน:
ผู้แปล: จรัญ มะลูลีม
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 53

ศาสนากับโลก

ผู้เขียน: ชะฮีด มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรี
ผู้แปล: จรัญ มะลูลีม
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 53
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 9676
ดาวน์โหลด: 3996

รายละเอียด:

ศาสนากับโลก
  • ศาสนากับโลก ๑
  • โดย มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี ๑
  • ด้วยพระนามแห่งพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเมตตากรุณายิ่ง ๒
  • การตีความอย่างผิดๆ ของผู้ถือสันโดษ ๔

  • การจูงใจให้สนใจในโลก ๑๒

  • การสละโลก ๑๘

  • ตรรกวิทยาแห่งพระมหาคัมภีร์กุรอาน ๒๒

  • ตรรกวิทยาและโลกทัศน์ของพระมหาคัมภีร์กุรอาน ๓๓

  • ลัทธิวัตถุนิยมและจริยธรรม ๓๕

  • การเคารพสิทธิและความรังเกียจโลก ๔๑

  • คุณค่าในตัวและคุณค่าที่สัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๔๓

  • เหตุผลของมนุษย์ ๔๙

  • ความยุติธรรมและชะตากรรมของสังคม ๕๓

  • บทบาทของความยุติธรรมและความถูกต้องทางสังคมในด้านจิตใจ ๕๕

  • ความยุติธรรมในสังคม ความคิดและความศรัทธา ๖๕

  • การมองดูพระผู้เป็นเจ้าในแง่ร้าย ๖๙

  • ความยุติธรรมในสังคมและจริยธรรม ๗๑

  • ข้อยกเว้น ๗๓

  • ผลแห่งการแบ่งแยกในเรื่องจริยธรรม ๗๗

  • จริยธรรมที่ยุติธรรมในสังคมที่ยุติธรรม ๘๓

  • ความลับแห่งความสำเร็จของอิสลาม ๘๗

  • ผลแห่งความยุติธรรมที่มีต่อพฤติกรรมโดยทั่วๆ ไป ๙๑

  • เชิงอรรถ ๙๙

  • สารบัญ ๑๐๒

ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 53 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 9676 / ดาวน์โหลด: 3996
ขนาด ขนาด ขนาด
ศาสนากับโลก

ศาสนากับโลก

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ศาสนากับโลก

โดย มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี

แปลโดย จรัญ มะลูลีม

จัดพิมพ์ในรูปแบบห้องสมุดออนไลน์โดยเว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์

ด้วยพระนามแห่งพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเมตตากรุณายิ่ง

เรื่องที่จะอภิปรายกันในตอนนี้ ก็คือ ทรรศนะของศาสนาที่มีต่อ “โลก ” แน่ละ การอภิปรายของเราจะกำจัดอยู่แต่เพียงทรรศนะของอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวทางของตรรกวิทยา ซึ่งแนวทางนี้ได้ถูกใช้อยู่ในพระมหาคัมภีร์กุรอานอันบริสุทธิ์

ควรจะเข้าใจได้ด้วยว่า แนวทางเชิงตรรกวิทยานี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะในบรรดาเรื่องราวที่มีการเทศนาและการบรรยายทางศาสนานั้น เรื่องที่พูดกันอยู่ทั่วไปก็คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลก

“โลก” ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ คือ “ความเลวร้ายของโลก ” “ ข้อแนะนำให้ปฏิเสธและละเว้นจากเรื่องทางโลก ” และอื่นๆ เมื่อใดก็ตามที่บุคคลได้รับการกระตุ้นให้เป็นนักเผยแพร่และบรรยายแก่ประชาชนสิ่งแรกที่เข้ามาในจิตใจของบุคคล เช่นนี้ คือ ความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้บทกวีบางบทหรือบทร้อยแก้วหรือคำสอนอันบริสุทธิ์บางอย่างเกี่ยวกับโลก

ดังนั้น เมื่อมนุษย์ชาติ จะมิได้รับฟังเรื่องใดเท่ากับเรื่องนี้และในเมื่อเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับศีลธรรมและจริยธรรมและกับวิถีทางที่ผู้คนต้องประสบในชีวิตประจำวันแล้ว มันจึงเป็นเรื่องเบื้องต้นที่สำคัญ เป็นเรื่องที่เมื่อตีความหมายด้วยการใช้เหตุผลแล้วจะมีผลในการขัดเกลาความประพฤติด้านจริยธรรมให้สมดุลซึ่งรวมถึงการนับถือตนเอง ทัศนคติที่สูงส่ง ความเจริญรุ่งเรืองและความสัมพันธ์ที่ดีภายในสังคม

อย่างไรก็ตาม เมื่อมันถูกตีความอย่างผิดๆ ก็จะเป็นเหตุให้เกิดความมึนงงและการละเลยไม่แยแสต่อความรู้สึกใดๆ เป็นที่มาแห่งความโชคร้าย หมดความหวังทั้งมวลและเป็นความทุกข์ยากของบุคคลและสังคมด้วย

การตีความอย่างผิดๆ ของผู้ถือสันโดษ

เป็นเรื่องที่น่าเสียใจว่าการตีความในแบบหลังนี้ได้แพร่ขยายออกไป ข้อแนะนำ คำเทศนา และบทกวีทางประวัติศาสตร์และร้อยแก้วในเรื่องเหล่านี้จะปรากฎอยู่เสมอในรูปแบบที่สองเหตุผลในเรื่องนี้มีอยู่สองประการ ประการที่หนึ่ง ก็คือ อิทธิพลของความคิดที่ไม่ใช่แบบอิสลามกับปรัชญาที่อาศัยมุมมองในแง่ร้ายต่อโลกและต่อความมีอยู่ทางวัตถุและต่อกิจการทางโลกซึ่งแพร่หลายอยู่ในหมู่มุสลิม

เนื่องมาจากการผสมผสานกันของผู้คนที่แตกต่างกันภายในชุมชนมุสลิม เหตุผลอื่นคือเหตุการณ์ทางประวิติศาสตร์ที่ไม่น่าชื่นชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุด้านสังคมที่ปรากฎอยู่เหนือบรรยากาศของอิสลามตลอดหนึ่งพันสี่ร้อยปีที่ผ่านมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม เราจะต้องมองผ่านเรื่องเหล่านี้ไปเพื่อมาตรวจสอบอย่างละเอียดถึงตรรกวิทยาของพระมหาคัมภีร์กุรอานอันบริสุทธิ์ เราจะต้องดูว่าปรัชญาในแง่ร้ายเหล่านี้มีอยู่ในพระมหาคัมภีร์กุรอานเองหรือว่ามันเป็นเพียงการเสแสร้งแต่งขึ้นมา

พระมหาคัมภีร์กุรอานแนะนำว่า “โลก ” นั่นคือ ที่อยู่ชั่วคราว ไม่มีค่าควรแก่ความหวังและความปรารถนาตัวอย่างของโองการนี้ได้บอกเราว่า “โลก ” นั่นคือ ที่อยู่ชั่วคราว ไม่มีค่าควรแก่ความหวังและความปรารถนาตัวอย่างของโองการนี้ได้บอกเราว่า

“อันทรัพย์สมบัติและบรรดาลูกๆ นั้น เป็นเพียงสิ่งประดับในชีวิตทางโลกนี้เท่านั้น แต่การกระทำที่ดีย่อมเป็นสิ่งไม่ตายย่อมประเสริฐกว่าในพระผู้อภิบาลของเจ้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการตอบแทนและความหวัง ” (๑๘: ๔๖)

กระนั้นก็ตาม ถึงแม้ว่าพระมหาคัมภีร์กุรอานจะถือว่าโลกนี้ไม่มีค่าควรแก่ความหวังและความปรารถนาของมนุษย์เราก็ไม่เคยได้รับการบอกเล่าว่าสรรพสิ่งที่มีอยู่และสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหลาย – ทั้งแผ่นฟ้า ผืนดิน ภูเขา แม่น้ำ ทะเล ที่ราบ ป่า ทะเลทราย พืชผัก สัตว์ และเขตแดนของความมีอยู่ของมนุษย์และระบบทั้งหลายของมัน ความเคลื่อนไหว และการพัฒนาในปัจจุบัน - ว่าเป็นเรื่องไม่ดี ไร้ผลและไร้ประโยชน์

ตรงกันข้ามพระมหาคัมภีร์อันกุรอานแสดงถึงกฏระเบียบอันมีระเบียบอันมีระบบ นั่นคือ การสร้างในลักษณะเป็นระบบอันถูกต้องและยุติธรรม และพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงบอกแก่เราว่า

“เรามิได้สร้างฟากฟ้าและพื้นดิน รวมทั้งสรรพสิ่งระหว่างทั้งสองนั้นเพียงเพื่อความสนุกสนาน ” (๔๔: ๓๘)

ยิ่งกว่านั้นในคัมภีร์อัลกุรอาน มีการให้สัตย์สาบาน โดยส่วนหนึ่งของการสร้าง นี่เน้นถึงจุดที่ว่า โลกทางกายภาพเองนั้นมีความหมายอย่างยิ่ง คำสาบานอย่างเช่น ขอยืนยันด้วยดวงตะวันและแสงสว่างของมันและดวงจันทร์เมื่อมันโครจรตามดวงตะวัน ( ๙๑ : ๑-๒ ) ขอยืนยันด้วยต้นมะเดื่อและต้นมะกอก และภูเขาซีนาย และเมืองอันปลอดภัยนี้ (มักกะฮ์) ( ๙๕ : ๑-๓ )

“ขอยืนยันด้วยบรรดาม้าที่ส่งเสียงหอบขณะวิ่ง …” (๑๐๐ : ๑ ) “และชีวิต (มนุษย์) …” ( ๙๑ : ๗ ) แล้วเรายังได้รับการบอกเล่าในพระมหาคัมภีร์อันกุรอานว่า “เจ้าจักไม่เห็นเลยว่าในการบันดาลของพระผู้ทรงเมตตายิ่ง (เราะห์มาน) นั้น

จะมีความขัดแย้งกันเอง แล้วจงหันสายตากลับมาพิเคราะห์อีกเถิดว่าเจ้าเห็นความบกพร่องบ้างไหม ” (๖๗ : ๓ )

เป็นเรื่องสำคัญว่า ทรรศนะในแง่ร้ายเกี่ยวกับการสร้างและวงจรและระเบียบอันเป็นระเบียบของโลกนั้นขัดแย้งกับความคิดของอิสลาม นั่นคือแก่นแท้แห่งความคิดอันสำคัญของอิสลามคือหลักของเตาฮีด (เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า ทฤษฎีในด้านร้ายเหล่านี้สามารถมีอยู่ได้โดยอาศัยลัทธิวัตถุนิยมและการปฏิเสธแหล่งความจริง ความยุติธรรมและเหตุผล หรือวางอยู่บนหลักการที่นักปรัชญาบางคนแหล่งลัทธิที่ถือสิ่งที่เป็นคู่ถืออยู่เท่านั้น นั่นก็คือ แหล่งกำเนิดแห่งชีวิตสองแหล่งซึ่งขัดกัน อย่างหนึ่งเป็นแหล่งแห่งความดี ส่วนอีกแหล่งหนึ่งเป็นแหล่งแห่งความชั่วร้าย

อย่างไรก็ตาม ในศาสนาที่ถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวนั้น ความเชื่อในเรื่องความเมตตาและปรานีทั้งหลาย การรู้จักและรู้สึกได้ถึงพระผู้เป็นเจ้า จึงไม่มีที่ว่างให้แก่ความคิดในแง่ร้ายตามที่ได้กล่าวไว้อย่างแจ่มแจ้งในโองการหลายโองการในพระมหาคัมภีร์กุรอาน

สิ่งที่ได้บอกไว้ในพระมหาคัมภีร์กุรอานเกี่ยวกับโลก ก็คือ โลกนั้นเป็นสิ่งที่มีกำหนดตายตัวและต้องแตกทำลายไป และโลกเปรียบเหมือนต้นไม้ คือ พุ่งขึ้นมาจากพื้นดินหลังฝนตกแล้วก็เจริญเติบโตขึ้น หลังจากนั้น ก็จะกลายเป็นสีเหลืองและแห้งเหี่ยวลงแล้วค่อยๆ แตกทำลายไปสิ้นนั้น อันที่จริงจะเชิดชูคุณค่ามนุษย์ให้สูงส่งขึ้น ด้วยวิธีนี้ เราได้รับการบอกเล่าว่า อย่าถือว่าโลกเป็นจุดสุดยอดแห่งความหวังและความปรารถนาทั้งสิ้นของเรา แต่ก็ไม่ได้เป็นเหตุผลให้ใครๆ คิดว่าโลกนี้เลวร้ายและน่าชังไปทั้งหมด

ดังนั้น จึงไม่มีนักวิชาการที่ดีคนใดของอิสลาม จะตีความตามโองการของพระมหาคัมภีร์กุรอานในข้อที่เกี่ยวกับโลกไปในทางที่ไม่ดีต่อโลกหรือขัดต่อวงจรและความเคลื่อนไหวของมันได้

การจูงใจให้สนใจในโลก

โองการของพระมหาคัมภีร์กุรอานที่เกี่ยวกับโลกนั้น มีการตีความกันไปหลายอย่าง หนึ่งในทรรศนะเหล่านี้ ก็คือ โลกในตัวมันเองแล้วมิได้มีความเลวร้าย ในเมื่อมันประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ ทางโลก ซึ่งได้แจ้งไว้ในพระมหาคัมภีร์กุรอาน โดยตัวมันเองไม่ได้เป็นสิ่งชั่วร้ายอะไร เพราะมันประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้นขององค์พระผู้สร้าง ผู้ทรงเชิดชูเราขึ้นสู่ที่สูงพร้อมกับสิ่งเหล่านั้น ดังนั้น จึงไม่ได้เป็นสิ่งเลวร้าย

สิ่งที่เลวร้ายและน่าอับอายในทรรศนะนี้ ก็คือ ความหลงใหลและความปรารถนาในสิ่งเหล่านี้ ในทรรศนะนี้ แต่ไม่ใช่ตัวของโลกเองหรอกที่เลวทราม และเรารู้ว่าการตีความเช่นนี้ มีอยู่ในบทกวีและร้อยแก้วจำนวนนับไม่ถ้วน

และนี่คือ การตีความที่แพร่หลายมากที่สุด มุสลิมส่วนมากเมื่อถูกถามถึงความเลวร้ายของโลก ก็จะตอบว่า ความรักที่มีต่อโลกเป็นเรื่องเลวทราม และโลกโดยตัวของมันเองแล้วเป็นของดี มิฉะนั้น พระผู้เป็นเจ้าคงจะไม่สร้างมันขึ้นมา อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพิจารณาถึงการตีความนี้อย่างรอบคอบแล้ว เราก็จะพบว่าทั้งๆ ที่โลกได้รับความนิยม แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันจะไม่มีปัญหาเอาเสียเลย และจะเห็นว่ามันไม่เป็นไปตามการตีความอัลกุรอานอย่างแท้จริง

ประการแรก เราต้องมองดูก่อนว่า ความติดใจซึ่งมนุษย์มีต่อโลกนั้น เป็นธรรมชาติและเป็นความติดใจตามสัญชาติญาณหรือไม่ – นั่นคือ ความติดใจนั้นถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นหนึ่งในสัญชาติญาณของมนุษย์หรือเปล่า ? หรือว่ามันจะปรากฎขึ้นมาในตัวคนในฐานะเป็นผลของเหตุการณ์เฉพาะตอนหลัง เหมือนอย่างการสร้างและเลียนแบบนิสัยตัวอย่างเช่น พ่อแม่ รักลูกในขณะที่เด็กก็รักพ่อแม่ของเขา ผู้หญิงและผู้ชายต่างก็ถูกดึงดูดจากกันและกันเพราะเป็นเพศตรงข้ามกัน ทุกๆ คนถูกจูงใจด้วยทรัพย์สมบัติและความร่ารวย ความเคารพนับถือ ความมีชื่อเสียงและอื่นๆ ความดึงดูดใจเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นสัญชาติญาณของมนุษย์ชาติหรือไม่ ? หรือว่าเป็นผลที่เกิดมาโดยบังเอิญของการเลี้ยงดูที่ไม่ดี ?

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความดึงดูดใจและความรักเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมชาติและเรื่องของสัญชาติญาณ ดังนั้น เป็นไปได้อย่างไรว่า มันจะเลวทรามและชั่วร้าย และจะกลายเป็นสิ่งที่เราจะต้องผลักใสมันออกไปได้อย่างไร ? ความจูงใจเหล่านี้มีมาแต่กำไเนิดในจิตใจของมนุษย์ ในทำนองเดียวกัน ที่เราไม่อาจกล่าวได้ว่า ส่วนใดส่วนหนึ่งของจักรวาลรอบๆ ตัวเราเป็นสิ่งชั่วหรือเลวทราม หรือว่า การสร้างสรรค์นั้นเป็นไปโดยปราศจากความรอบรู้ (ฮิกมะฮฺ) ของพระผู้เป็นเจ้า ในทานองเดียวกัน เราก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า ส่วนหนึ่งส่วนใดของมนุษย์จำเป็นจะต้องเลวร้าย หรือการสร้างมนุษย์ขึ้นมานั้นปราศจากความรอบรู้เช่นเดียวกันเพราะไม่มีเส้นโลหิตเล็กๆ หรือแขนขาหรือแม้แต่เส้นผมของมนุษย์ที่เป็นส่วนเกินหรือไร้ประโยชน์อยู่เลย ดังนั้น มันจึงเป็นพลัง สัญชาติญาณและเป็นส่วนหนึ่งของดวงวิญญาณของมนุษย์

ในบรรดาความปรารถนาและความดึงดูดใจทั้งหลายนั้นไม่มีความปรารถนาอันเป็นธรรรมชาติและสัญชาติญาณหรือความดึงดูดใจที่ถูกสร้างขึ้นโดยปราศจากความรอบรู้ ปราศจากวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเลย ความปรารถนาอันเป็นธรรมชาติและสัญชาติญาณทั้งหลายที่เกิดขึ้นด้วยความรอบรู้ของพระผู้เป็นเจ้า และหากว่าไม่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ พื้นฐานของชีวิตทั้งหมดก็จะแตกสลายไป

ยิ่งกว่านั้นความรักเหล่านี้ได้ถูกกล่าวถึงว่า เป็นสัญลักษณ์แห่งความรอบรู้ของพระผู้เป็นเจ้าหรือฮิกมะฮ์ในพระมหาคัมภีร์กุรอานเอง ตัวอย่างเช่น

ในซูเราะฮ์หนึ่งที่กล่าวถึงการสร้างมนุษย์ การนอนหรือสิ่งอื่นๆ ที่ถูกกล่าวถึงในฐานะที่เป็นเครื่องหมายแห่งความรอบรู้ของพระผู้เป็นเจ้านั้นเราได้รับการบอกเล่าว่า

“และ สัญลักษณ์บางอย่างของพระองค์ คือ การที่พระองค์ทรงบันดาลความรักและเมตตาให้มีขึ้นระหว่างพวกเจ้า แท้จริงในนั้นย่อมเป็นนานาสัญลักษณ์สำหรับกลุ่มชนที่ตริตรอง ”

(๓๐:๒๑)

ถ้าหากว่าความรักสามีหรือภรรยาเป็นเรื่องเลวทรามแล้ว มันก็คงไม่ได้รับการบอกกล่าวไว้ในโองการนี้ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายอันสูงส่งของพระผู้เป็นเจ้า

เป็นที่แลเห็นได้อย่างชัดเจนแล้วว่า ความรักใคร่เอ็นดูเหล่านี้ได้ถูกบรรจุไว้ในธรรมชาติของมนุษย์ และเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า มันเป็นวิถีทางสำหรับกิจการทางโลก เพื่อจะได้มีระเบียบและกระแสทางที่เป็นระบบ หากว่าความรักเหล่านี้ไม่มีอยู่แล้วก็จะไม่มีการสืบต่อของผู้คนมาเป็นรุ่นๆ ชีวิตหรือวัฒนธรรมก็จะไม่ก้าวหน้าไปได้ หรือสัญชาติญาณของมนุษย์และการงานการอุตสาหกรรมหรือการต่อสู้ใด ๆ ก็คงมีอยู่ไม่ได้ กล่าวโดยสังเขป ก็คือมนุษยชาติจะไม่มีอยู่บนหน้าแผ่นดิน

การสละโลก

ถ้าเราพิจารณาถึงการตีความและทรรศนะเกี่ยวกับโลกทั้งสองอย่างนี้ – อย่างหนึ่ง คือ ทรรศนะของผู้ที่มองโลกและความเพลิดเพลินเจริญใจของมันว่าเป็นสิ่งชั่วร้ายเลวทราม อีกทรรศนะหนึ่ง คือ ผู้ที่ถือว่าตัวของโลกเองเป็นสิ่งที่ดี แต่ความยั่วยวนของมันและความหลงใหลไปในโลกนั้นเป็นสิ่งเลวทราม ขอให้เรามาพิจารณากันว่า โลกให้ความสุขต่อมนุษย์และปลดปล่อยเขาจากความทุกข์ยากโดยวิธีใด

บรรดาผู้มีทรรศนะในทางลบเกี่ยวกับโลกและความเป็นอยู่ทั้งหลาย ต่างถือว่า ความมีอยู่และชีวิตเป็นเรื่องร้ายกาจเลวทรามไม่มีทางแก้ไขใดๆ นอกจาก ยอมรับความผิดหวังไร้ที่หมายและฆ่าตัวตาย นี่เป็นทรรศนะที่อ่อนแอที่สุดและคนที่มีความทุกข์มากที่สุดในโลก คือ ผู้ที่มีทรรศนะเช่นนี้

๑๐

อีกทางหนึ่งผู้มองโลกว่า เป็นของดี แต่มีทรรศนะว่าความยั่วยวนใจและความหลงใหลที่มีต่อมันเป็นเรื่องเลวร้ายนั้นกล่าวว่า การสร้างและการเผา การก่อสร้างและทาลายเป็นสิ่งเปล่าประโยชน์โดยสิ้นเชิงเช่นเดียวกันและหนทางไปสู่ความสุขและอิสรภาพของมนุษย์นั้นอยู่ที่การต่อสู้กับความปรารถนาและความรักของเขา และการตัดรากเหง้าของมันออกเสียจากตัวตนของเขา จากทรรศนะนี้มนุษย์ก็จะเป็นอิสระจากความเลวทรามร้ายกาจทั้งปวง กลายเป็นผู้ที่มีความสุขอยู่ในทรวงอก

ทรรศนะแรก ไม่จำเป็นต้องมีคำตอบใด ๆ แต่คำตอบต่อทรรศนะที่สองก็คือ

ประการแรก

ทฤษฎีทางปรัชญาที่ลึกซึ้งล่าสุดได้รับการยืนยันโดยจิตวิทยาว่า สัญชาติญาณตามธรรมชาติและความรักที่มีอยู่ในจิตใจมนุษย์นั้น ไม่อาจจะระงับหรือขจัดตัดรอนให้หมดไปได้ เท่าที่จะทำได้มากที่สุด ก็คือโดยอาศัยการบำเพ็ญทุกขกริยา คนที่บำเพ็ญทุกขกริยาจะถูกนำไปสู่ความสำนึกภายใน แต่จะปรากฎตัวออกมาในรูปแบบที่มีอันตรายโดยผ่านช่องทางที่ผิดธรรมชาติ ก่อให้เกิดผลข้างเคียง คือ การทำงานอย่างผิดพลาดของระบบประสาทและจิตวิญญาณ

ประการที่สอง

หากว่าสามารถจะตัดขาดสิ่งนั้นได้ก็จะเป็นอันตรายร้อยเปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกับการตัดแขนขาหรืออวัยวะที่สำคัญออกไป

๑๑

สัญชาติญาณตามธรรมชาติของมนุษย์แต่ละอย่างและทุกอย่างนั้นเป็นพลังที่ได้ถูกบรรจุไว้ในตัวเรา เพื่อจะได้กระตุ้นให้มีการกระทำและการเคลื่อนไหว ในการสร้างมันขึ้นมานั้นไม่ใช่เรื่อง เล่นๆ หรือไร้ประโยชน์ แล้วเพราะเหตุใดเล่าแหล่งกำเนิดของพลังเหล่านี้ จึงควรจะถูกละเลย หรือถูกทาลายให้พินาศไป ?

ตรรกวิทยาแห่งพระมหาคัมภีร์กุรอาน

ข้อความจากพระมหาคัมภีร์กุรอาน ก็คือ ความปรารถนาและความรักที่มีต่อโลกนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นสิ่งเลวทราม พระมหาคัมภีร์กุรอานไม่เคยวางแนวทางใดๆ ที่จะนำความสุขมาให้ด้วยการตัดหรือทำลายความปรารถนาตามธรรมชาติ และความติดใจของเราลงไปเลย

สิ่งที่พระมหาคัมภีร์กุรอานวิจารณ์และตำหนิ ก็คือ ความรักที่มากมายล้นเหลือเกินไป หมายความถึง การที่ขึ้นอยู่กับโลกของวัตถุด้วยความพึงพอใจ และแน่ใจอยู่กับวัตถุเพียงอย่างเดียว พระมหาคัมภีร์กุรอานบอกเราว่า

“อันทรัพย์สมบัติและบรรดาลูกๆ นั้น เป็นเพียงสิ่งประดับในชีวิตทางโลกนี้เท่านั้นแต่การกระทำที่ดีย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ตายและย่อมประเสริฐกว่าในทรรศนะขององค์ผู้อภิบาลของเจ้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการตอบแทนและความหวัง ( ๑๘:๔๖)

๑๒

และคำว่า “ความหวัง ” ในตอนท้ายของโองการนี้ ทำให้เราเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าโองการนี้เกี่ยวกับจุดหมายและอุดมคติของมนุษย์

พระมหาคัมภีร์กุรอานอันบริสุทธิ์กล่าวถึงผู้คนที่ชอบทางโลกด้วยคำต่อไปนี้ คือ

“…แท้จริงบรรดาผู้ไม่มุ่งหวังที่จะพบกับเรา และมีความพึงพอใจในชีวิตทางโลกนี้และได้พบความสงบในชีวิตเช่นนั้น คนเหล่านี้ คือ ผู้ละเลยต่อสัญลักษณ์ต่างๆ ของเรา ” (๑๐:๗)

โองการนี้ตำหนิการที่มนุษย์มีความสุขและพอใจอยู่แต่เฉพาะวัตถุ ไม่เหลือความคิดใด ๆ ได้เลยสาหรับโลกหน้าหรือสำหรับพระผู้เป็นเจ้า และหาความสงบจากชีวิตทางวัตถุเท่านั้น ดังนั้น เหล่านี้จึงเป็นลักษณะของผู้ที่มุ่งทางโลก ในความหมายที่น่าติเตียน

ในตอนอื่นของพระมหาคัมภีร์กุรอาน เราได้รับการบอกเล่าว่า

“ดังนั้นเจ้าจงหันออกจากบุคคลที่หันเหจากคำตักเตือนของเราเถิด และเขามิได้มุ่งหมายสิ่งใดทั้งสิ้น นอกจากชีวิตทางโลกนี้เท่านั้น นั่นแหละ คือ ขอบเขตแห่งความรู้ของพวกเขา ” (๕๓: ๒๙-๓๐)

อีกครั้งหนึ่งที่มีการกล่าวถึงมนุษย์ และตาหนิบรรดาผู้ซึ่งไม่ปรารถนา และไม่มีจุดหมายใดมากไปกว่าโลกทางวัตถุ และบรรดาผู้ที่ความคิดของเขามิได้ไปไกลเกินกว่านี้

๑๓

หรืออีกแห่งว่า

“ความลุ่มหลงในความใคร่ต่างๆ คือ ความลุ่มหลงในสตรี บุตร ในเงินและทองซึ่งมีอยู่ในทรัพย์สมบัติที่สะสมไว้ในม้าฝีเท้าจัด ในปศุสัตว์และไร่นา เหล่านี้คือ สิ่งซึ่งอำนวยความสุขในชีวิตทางโลก แต่จุดหมายที่ดีที่สุด คือการมุ่งไปสู่พระผู้เป็นเจ้า ” (๓:๑๔)

โองการนี้ ก็เช่นกันมิได้ตำหนิเฉพาะความปรารถนาตามธรรมชาติและความรักเท่านั้น แต่ได้ตำหนิไปถึงเรื่องที่ว่า ความรักที่มีต่อสิ่งของที่ปรารถนานั้นถูกทำให้สวยงามตามทัศนะของคนบางคนและถูกถือว่าเป็นสิ่งยิ่งใหญ่และสวยงามมากกว่าที่มันเป็นอยู่จริง ๆ และได้ทำให้คนบางคนหลงเสน่ห์ของมัน

๑๔

กลายเป็นความคิดในอุดมคติแต่อย่างเดียวของพวกเขาเหล่านั้น ในทำนองเดียวกัน เราได้รับการบอกเล่าว่า “เจ้าพอใจกับชีวิตในโลกนี้ แทนที่จะพอใจกับชีวิตในโลกหน้าเช่นนั้นหรือ ? ส่วนของชีวิตในโลกนี้

เมื่อเปรียบเทียบกับชีวิตในโลกหน้านั้นมิได้เป็นสิ่งใดเลยนอกจากสิ่งน้อยนิด ”

ความมุ่งหมายของโองการเหล่านี้ก็เพื่อจะวิจารณ์ตำหนิติเตียน ความพึงใจและการหลงเสน่ห์ทางโลกแต่อย่างเดียว

ความรักที่มีต่อทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน ส่วนประกอบอื่นๆ แห่งชีวิตทางโลกนั้น แตกต่างจากความพึงพอใจในสิ่งเหล่านั้นแต่อย่างเดียว และถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นศูนย์กลางแห่งความหวัง และความปรารถนาของตน

เมื่อจุดหมายมันมีไว้เพื่อป้องกันมนุษย์จากการถูกผูกขาดโดยความปรารถนาทางโลกทางแก้ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่การตำหนิติเตียน โจมตีหรือพยายามที่จะถอนรากถอนโคนธรรมชาติทั้งหลายออกไป ตรงกันข้าม ทางแก้ปัญหาอยู่ที่การรอดพ้นและการได้รับประโยชน์จากห่วงโซ่แห่งการเป็นอิสระ ความปรารถนาทางธรรมชาติ ซึ่งปรากฏขึ้นมา หลังจากความปรารถนาทางวัตถุซึ่งจาเป็นต้องนำมันมาสู่ชีวิตและส่งเสริมมัน

๑๕

ดังนั้น ความมุ่งหมายของคำสอนทางศาสนา จะต้องเป็นไปเพื่อปลุกความรู้สึกอันสูงส่งเหล่านี้ของมนุษย์ให้ตื่นขึ้น อันเป็นความรู้สึกที่สูงส่งและมีเกียรติ มีกำเนิดมาจากแหล่งที่สูงส่ง ความรู้สึกทางวัตถุ และจำเป็นต้องปลุกขึ้นมา ความรู้สึกเหล่านี้คือความรู้สึกทางวัตถุและจำเป็นต้องปลุกขึ้นมา ความรู้สึกเหล่านี้ คือ ความรู้สึกทางด้านจิตวิญญาณและการกระตุ้น ปลุกเร้าที่จำเป็นนั้นจะต้องได้มาจากศาสนา

ในความรัก ความชอบแต่ละอันและทุกอัน เปรียบเสมือนน้ำพุที่ไหลมาจากดวงวิญญาณ ความมุ่งหมายของศาสนานั้นไม่ต้องการกีดขวางกระแสแห่งความดึงดูดทางวัตถุ ความมุ่งหมายทางศาสนา ก็คือ การเปิด และทำให้น้ำพุอื่นๆ ที่ไหลอยู่กลายเป็นน้ำพุในด้านจิตวิญญาณ หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งศาสนานั้นจะต้องไม่จำกัดและลดพลังทางความรู้สึกทางเพศซึ่งถูกสร้างขึ้นมาคู่กับการสร้างอื่นๆ นอกจากนี้ ด้วยความรอบรู้ของพระผู้เป็นเจ้า สิ่งที่ศาสนาจะต้องทำ ก็คือ เป็นอิสระจากห่วงโซ่ที่แตกต่างกันทางพลังจิตวิญญาณ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการปลดปล่อย

เรื่องนี้สามารถทำให้เข้าใจชัดเจน โดยตัวอย่างง่ายๆ : สมมติว่า ชายคนหนึ่งมีบุตรชายคนหนึ่ง ซึ่งเขาต้องส่งบุตรชายคนนั้นไปโรงเรียน และหลังจากนั้น เขาเห็นว่า ความสนใจทั้งสิ้นของบุตรอยู่กับการเล่นและการกินเท่านั้น ในกรณีนี้

๑๖

จึงเป็นเรื่องธรรมดาว่า ชายผู้นั้นย่อมไม่มีความสุขและจะไม่พูดกับบุตรอย่างดี เขาจะตำหนิติเตียนบุตรชายและบางทีอาจเรียกเขาว่าเป็นคนตะกละตะกรามไร้ประโยชน์ก็ได้ เขาทำเช่นนี้ก็เพราะเขาต้องการให้บุตรชายสนใจในบทเรียนและหนังสือ สนใจในการอ่านการเขียนและอื่นๆ และตามธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ความสนใจในสิ่งเหล่านี้จะปรากฏขึ้นในเด็กๆ หลังความสนใจในการเล่นและการกิน

ยิ่งกว่านั้น ความสนใจที่สูงกว่านี้จำเป็นจะต้องได้รับการกระตุ้นและการส่งเสริม สัญชาติญาณความปรารถนาในความรู้นั้นมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกผู้ทุกคน แต่จะสงบนิ่งอยู่อย่างช่วยไม่ได้จนกว่ามันจะถูกปลุกเร้า

อย่างไรก็ตาม ไม่มีเหตุผลใดที่จะคิดว่า บิดาต้องการที่จะให้บุตรชายหยุดเล่นหรือหยุดกิน หากวันหนึ่งเขาได้พบว่าบุตรชายของเขาหมดความสนใจในการเล่นและในอาหารแล้ว เขาก็จะรู้สึกลำบากใจทันที และอาจทึกทักเอาว่าเป็นขั้นตอนของความป่วยไข้ที่แสดงออกมาและอาจส่งบุตรไปหาหมอก็ได้ บิดารู้ว่าในขณะที่บุตรชายของเขาแข็งแรงขึ้นนั้น เขาจะต้องสนใจในการไปโรงเรียนและในหนังสือ แต่จะต้องมีความสุข มีการเล่นการกินในเวลาที่เหมาะสมด้วย

๑๗

ตรรกวิทยาและโลกทัศน์ของพระมหาคัมภีร์กุรอาน

แนวทางตรรกวิทยา ซึ่งพระมหาคัมภีร์กุรอานแสดงให้เห็นในเรื่องโลกและข้อห้าม มิให้คนเราอุทิศความสนใจทั้งหมดต่อโลกนั้น เป็นสาเหตุบางอย่างของทรรศนะ แห่งพระมหาคัมภีร์กุรอานเกี่ยวกับโลกมีอยู่ว่า ความสุขของชีวิตมิได้จากัดอยู่แต่วัตถุและชีวิตทางโลกเท่านั้น ในขณะที่ยอมรับความงดงามของโลกนี้ในระดับที่เหมาะสมแล้ว

พระมหาคัมภีร์กุรอานยังกล่าวถึงการมีอยู่ของสิ่งอื่นๆ ที่ยิ่งใหญ่กว่า จนเมื่อเปรียบเทียบกับโลกนี้แล้ว โลกนี้แทบจะไม่ใช่อะไรเลย

ในทำนองเดียวกันในเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์นั้น พระมหาคัมภีร์กุรอานยืนยันว่า ชีวิตนี้มิได้จำกัดอยู่แค่ขอบเขต ของชีวิตในโลกนี้ แต่มนุษย์มีชีวิตในโลกหน้าด้วย ตามความคิดของพระมหาคัมภีร์กุรอานแล้ว ขอบเขตแห่งชีวิตมนุษย์นั้นขยายออกไปเกินกว่าชีวิตของโลกนี้จนถึงขอบเขตที่ไม่รู้จบ ดังนั้นจึงเป็นที่กระจ่างชัดว่ามนุษย์จะต้องไม่มองเห็นว่าโลกเป็นความปรารถนาสุดยอดทั้งหมดทั้งสิ้นของเขา

ดังนั้น ความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ในฐานะที่เป็นสาขาหนึ่งของโลกทัศน์และปรัชญาของอิสลามจึงไม่ยอมให้เรามองโลกและกามวิสัยในแง่ร้าย ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้น จึงต้องมีความคิดของอิสลาม อีกสาขาหนึ่ง ซึ่งชี้ให้เห็นความจำเป็นที่จุดหมายและความหวังสูงสุดของมนุษย์จะต้องอยู่เหนือโลกและกิจการทางโลก นี่ก็คือ สาขาที่เกี่ยวกับความรู้ว่ามีโลกหน้า

๑๘

ลัทธิวัตถุนิยมและจริยธรรม

นอกจากนี้ สาขาอื่นที่สำคัญของสานักคิดอิสลามก็ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการลดความสำคัญของโลกแห่งวัตถุลงไปด้วย นั่นคือ สาขา จริยธรรม และการขัดเกลาศีลธรรม

นอกจากเป็นที่ยอมรับของสำนักคิดอื่นแล้ว สาขานี้ยังมีความคิดว่าเพื่อจะทำให้สังคมของมนุษย์เป็นสังคมที่มีอารยธรรมจะต้องมีแนวทางบางอย่างที่ทาให้ความละโมภอยู่ในสายกลาง และชักชวนผู้คนให้รับเอาความปรารถนาด้านจริยธรรมและจิตวิญญาณ ไฟแห่งตัณหาและความละโมภโลภมากยิ่งลุกโชนแรงขึ้นเท่าไร นอกจากจะไม่เพิ่มสิ่งใดให้แก่ความเข้มแข็งของสังคมแล้ว สังคมยิ่งจะถูกทำลายและทำให้เสียหายไปได้ง่ายๆ ด้วย

ในเรื่องความสุขนั้นถึงแม้ว่าคนเราไม่ควรจะมีความสุขจนสุดกู่และความสุขและความรุ่งเรืองนั้นอยู่ที่การละเว้นจากสิ่งใดๆ เกือบทุกสิ่งเหมือนอย่างที่นักปรัชญาบางคนคิดก็ตาม แต่ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า ความไม่สนใจต่อโลกและความสำราญของมันนั้นเป็นเงื่อนไขอันแรกของความสุขที่แท้จริงทั้งในส่วนบุคคลและสังคม

ในที่นี้ เราจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาอื่นๆ ซึ่งจะต้องมีการอธิบาย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องการป้องกันมิให้มนุษย์มีความปรารถนาและติดตรึงอยู่แค่โลกฝ่ายวัตถุเท่านั้นเป็นไปได้ที่ใครจะคิดคลางแคลงใจว่าเราควรจะรักโลกทั้งสองโลก

๑๙

และอาจจะคิดสงสัยด้วยว่า อุดมคติของมนุษย์ที่มีความสมดุลย์เป็นอย่างดีนั้นจะต้องเป็นทั้งโลกวัตถุและพระผู้เป็นเจ้าอันเป็นลัทธิเชื่อในพระเจ้าหลายองค์

ย่อมไม่เป็นไปอย่างแน่นอน! นี่มิได้เป็นจุดหมายของอิสลาม จุดหมายของอิสลาม ก็คือ มนุษย์นั้นมีความสัมพันธ์ต่อสิ่งดึงดูด สิ่งดึงดูดซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้สร้างขึ้นมาในมนุษย์ตามความรอบรู้ของพระองค์ บรรดาศาสดาและอิมามได้รับการอำนวยพรจากสิ่งดึงดูดเดียวกันและพวกเขาได้ขอบพระคุณผู้เป็นเจ้าในสิ่งเหล่านี้ ไม่อาจเป็นไปได้ที่จะยุติความรู้สึกเหล่านี้และไม่ใช่ของดีด้วยที่จะยุติมัน ถ้าหากว่าความรู้สึกนั้นมีอยู่

มนุษย์นั้นมีความสามารถอื่นๆ ที่ไปไกลเกินกว่าความรักใคร่แบบโลกิยะ มีความสามารถที่จะมีอุดมคติ อุดมคติของมนุษย์ จะต้องไม่เป็นโลกวัตถุ ความรักและความชอบชนิดที่ไม่ดี ความปรารถนาและความรักเป็นรูปแบบหนึ่งของสติปัญญาที่อยู่ในระดับปัจจัยที่จำเป็นของชีวิต

อย่างไรก็ตาม ความฉลาดในการมีอุดมคติ เป็นความฉลาดพิเศษซึ่งมีแหล่งของมันอยู่ในแก่นแท้ของมนุษย์และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมนุษย์ บรรดาศาสดาไม่ได้มีมาเพื่อทำลายความปรารถนาและความรักหรือเพื่อให้ต้นตอของมันเหือดแห้งไปแต่อย่างใด สิ่งที่ท่านได้กระทำ คือ การขจัดโลกวัตถุออกไปจากตำแหน่งสุดยอดของอุดมคติของมนุษย์โดยยกเอาพระผู้เป็นเจ้าและโลกหน้าเข้ามาแทนที่มัน ในความจริงแล้ว บรรดาศาสดา ได้ทำงานเพื่อปกป้องโลกและความรู้สึกทางโลกิยะที่มีอยู่ มิให้ปล่อยให้ตำแหน่งตามธรรมชาติของมันเป็นเรื่องน่าสนใจน่าดึงดูดใจและน่าปรารถนา

๒๐