หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์

หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์0%

หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ ผู้เขียน:
กลุ่ม: หลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 33

หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์

ผู้เขียน: สัยยิดมุจญ์ตะบา ลารีย์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 33
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 28328
ดาวน์โหลด: 311

รายละเอียด:

หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 33 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 28328 / ดาวน์โหลด: 311
ขนาด ขนาด ขนาด
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์

หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์

ผู้เขียน:
ภาษาไทย
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม
ผู้ประพันธ์: สัยยิดมุจญ์ตะบา มูสาวีย์ ลารีย์
แปลและเรียบเรียงโดย อบูนัสรีน




เกริ่นนำ ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
ท่านผู้อ่านผู้มีเกียรติ
ไม่จำเป็นเสมอไปว่าคราใดก็ตามที่เราสนทนาหรือนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับอิมามะฮฺและวิลายะฮฺแล้ว จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยก และเกิดกรณีพิพาทกันระหว่างชีอะฮฺกับสุนนีย์ เพราะถ้าหากเราหลีกเลี่ยงปัญหาทางการเมือง และพยายามถกเถียงในขอบเขตทางวิชาการแล้ว ก็จะสามารถทำความเข้าใจในหลักศรัทธาและโลกทัศน์ของชีอะฮฺ ยิ่งถ้าเราได้ทำความรู้จักอย่างถ่องแท้และเจาะลึกมากเพียงไร ก็จะยิ่งช่วยเสริมสร้างความเป็นภราดรภาพและถมช่องว่างที่เหินห่างระหว่างประชาชาติมุสลิมโดยปริยายอีกด้วย

โดยปกติ การแลกเปลี่ยนทางวิชาการเป็นการสำแดงให้เห็นถึงโลกทัศน์และอิสรเสรีทางความคิด เพราะแม้แต่ผู้นำมัซฮับทั้งสี่ก็ยังมีทัศนะและคำฟัตวาที่แตกต่างกัน ซึ่งนักปราชญ์มุสลิมทุกสำนักคิดถือว่าความแตกต่างในด้านแนวคิด มิใช่อื่นใด นอกจากผลลัพธ์แห่งทัศนะและมุมมองที่แตกต่างกันนั่นเอง เพราะถ้าหากผู้นำมัซฮับทั้งสี่มีความเห็นหรือคำฟัตวาที่สอดคล้องตรงกันแล้ว พวกเขาจะต้องมีมัซฮับเป็นหนึ่งเดียวกัน มิใช่ 4 มัซฮับดังที่เป็นมา อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความแตกต่างและทัศนะที่ขัดแย้งกันนั้น พวกเขาก็ยังแลกเปลี่ยนและร่วมกันพิจารณาในปัญหาที่ขัดแย้งโดยไม่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศแห่งความเป็นพี่น้องและภราดรภาพแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ ทัศนะที่แตกต่างจึงหาใช่อุปสรรคขัดขวางมิให้ชีอะฮฺกับสุนนีย์ร่วมกันพิจารณาประเด็นที่ขัดแย้งบนพื้นฐานของความเพียรพยายามที่อิสรเสรีและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน

เป็นความจริงที่ว่าถ้าหากเอกภาพมิได้วางอยู่บนพื้นฐานของการเผยความจริง โดยพยายามปกปิดปัญหาและสารัตถะในทางประวัติศาสตร์แล้ว เอกภาพที่แท้จริงย่อมจะไม่มีวันบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ในอีกด้านหนึ่ง การพิจารณาทบทวนเหตุการณ์ที่เป็นจริงทางประวัติศาสตร์อย่างพิถีพิถัน จะช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กว้างยิ่งขึ้น และมิได้มีอุปสรรคแต่อย่างใดที่สำนักคิดตะชัยยุอฺกับตะสันนุนจะอนุรักษ์หลักความเชื่อของตนด้วยการแลกเปลี่ยนทัศนะทางวิชาการที่ทั้งสองได้มีบทบาทและช่วยเสริมสร้างประชาชาติอิสลามให้เป็นเอกภาพ เอกภาพที่ช่วยเชิดชูอิสลามให้โดดเด่นและทำให้ศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าดำรงอย่างมีเกียรติบนหน้าแผ่นดิน

เราจะต้องตื่นจากภวังค์แห่งการหลับใหลด้วยการละทิ้งปัญหาหรือความแตกต่างทางความคิดที่เป็นกระพี้หรือสิ่งปลีกย่อย แล้วหันมาทำความรู้จักและเจียระไนอัญญะมณีอันทรงคุณค่าของอิสลามและสารัตถะแห่งระบอบการปกครองของคัมภีร์อัลกุรฺอานด้วยการแลกเปลี่ยนและร่วมกันพิจารณาทางวิชาการอย่างเป็นระบบและด้วยความเสรีทางความคิด มิฉะนั้นแล้ว ความอคติที่เปลือยเปล่าและห่างไกลจากตรรกะ ทัศนะที่แข็งทื่อ และการยึดถือทัศนะของตนเป็นสรณะจะนำพาไปสู่วิถีแห่งความตีบตันต่อการศึกษาค้นคว้าและแลกเปลี่ยนความรู้และหลักวิชาการ

เอกภาพของประชาชาติจะบังเกิดขึ้นได้ มิได้หมายความว่าเราจะต้องหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงข้อเท็จจริงในทางประวัติศาสตร์ เอกภาพที่แท้จริงจะอุบัติขึ้นได้จะต้องไม่ปิดหูปิดตาจากสารัตถะที่แท้จริง แต่สิ่งที่จำต้องระมัดระวังให้จงหนักก็คือการสนทนาในนามแห่งวิชาการที่ในทางปฏิบัติแล้วเต็มไปด้วยการยั่วยุและสอดใส่อารมณ์โดยปราศจากเหตุผล การยุแยงตะแคงรั่วที่จะเป็นบ่อเกิดแห่งความขัดแย้ง แตกแยก ขาดความสมานฉันท์ และจุดไฟแห่งความอาฆาตพยาบาทและความเป็นศัตรูต่อกัน การถกเถียงทางวิชาการและประวัติศาสตร์ นอกจากจะไม่ส่งผลกระทบทางเซ็นซิทีฟ แต่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้เหตุผล ตรรกะ สติปัญญา การปกป้องความเชื่อและหลักการของตน และการวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดของเพื่อนร่วมศาสนา การเรียกร้องเชิญชวนให้อีกฝ่ายใช้หลักการและเหตุผลพิจารณาหลักการของตนอย่างถี่ถ้วนเที่ยงธรรมโดยหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งและการเผชิญหน้าด้วยอารมณ์ แต่ด้วยการพยายามทำความเข้าใจและให้เกียรติในความคิดเห็นซึ่งกันและกันนั้น จะไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งใด ๆ ต่อเอกภาพของประชาชาติอิสลาม และการแลกเปลี่ยนทางวิชาการจะต้องไม่เป็นอุปสรรคในการสร้างความสมานฉันท์และความเป็นพี่น้องในระหว่างประชาชาติอิสลาม

กุม
สัยยิดมุจญ์ตะบา มูสะวีย์ลารีย์
เดือนมิฮฺรฺ 1366





มีต่อ...
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

1 อิมามะฮฺ และวิลายะฮฺ ฐานภาพของผู้นำในทัศนะอิสลาม “อิมาม” คือผู้นำ แบบฉบับ และผู้ประสานสัมพันธภาพระหว่างประชาชาติ พวกเขาจะได้รับประโยชน์จากการชี้นำทางการปกครอง ความคิด การปฏิบัติตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและคำบัญชาของอิมาม

“อิมามะฮฺ” มีนัยและความหมายที่กว้าง เป็นทั้งศูนย์รวมแห่งความคิด และเป็นทั้งผู้แบกรับภารกิจทางการเมือง การปกครอง สังคม เศรษฐกิจ อิมามคือผู้สืบสานเจตนารมณ์และอุดมการณ์ของท่านศาสดาให้ธำรงสืบไป อิมามคือผู้ที่ถ่ายทอดสารธรรมคำสอนแห่งคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้า และชี้นำประชาชาติในทุก ๆ มิติ

ภารกิจในการชี้นำประชาชาติจะดำเนินไปตามครรลองคลองธรรมอย่างแท้จริงได้จะต้องอยู่ภายใต้สารธรรมคำสอนและอุดมการณ์อิสลามเท่านั้น อุดมการณ์ที่ท่านศาสนทูตแห่งอิสลาม (ศ) ได้สถาปนา วางรากฐานทางสังคมและกฎหมาย บางครั้ง นัยและคำจำกัดความของอิมามะฮฺและวิลายะฮฺอาจให้ความหมายที่เฉพาะผู้ที่มีภารกิจรับผิดชอบทางสังคมและการเมืองเท่านั้น แต่สำหรับบุคคลที่แบกรับภารกิจในการชี้นำมนุษยชาติทั้งมิติทางจิตวิญญาณด้วยสาสน์และสารัตถะแห่งคำสอนทางศาสนา อีกทั้งเป็นผู้นำในทางการเมือง การปกครอง และเป็นศูนย์รวมทางความคิด และตัวเขาเองยังขับเคลื่อนอยู่ในท่ามกลางประชาคมอิสลามเพื่อวางรากฐาน กฎชะรีอะฮฺและแบบแผนของพระผู้เป็นเจ้า พร้อมทั้งเรียกร้องเชิญชวนประชาชนให้เคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามชะรีอะฮฺและแบบแผนแห่งฟากฟ้าในทุกมิติเต็มกำลังความสามารถ และให้การพิทักษ์เกียรติยศแห่งความเป็นมนุษย์มิให้ตกไปสู่ความเป็นเดรัจฉาน

ผู้ที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมสูงส่งดังกล่าวนี้ เขาคืออิมามผู้สัตย์จริงในทุก ๆ มิติ และคือผู้ชี้นำประชาชนทั้งทางโลกและทางธรรม กล่าวโดยสรุป “อิมาม” คือผู้สำแดงแบบฉบับและมาตรฐาน และมิติแห่งพระผู้เป็นเจ้าและเอกภาพของพระองค์ และภารกิจของเขาต่ออัลลอฮฺและต่อสิ่งถูกสรรสร้างของพระองค์ และการดำเนินตามพระบัญชาในมิติแห่งการเคารพภักดี จริยธรรม สังคม ภายใต้บทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และคือผู้ที่สามารถชี้นำมนุษยชาติให้เคลื่อนไปสู่ทิศทางและเป้าหมายแห่งความสมบูรณ์นั้น ในขณะเดียวกัน ศรัทธาชนจะต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามคำบัญชาของเขาอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ เนื่องจากอิมามคือแบบอย่างและบรรทัดฐานที่ชัดเจนในการเสริมสร้างและพัฒนาตนเองและสังคม และวิถีและแบบฉบับในการดำเนินชีวิตของเขาก็เพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์ประชาชาติอิสลามนั่นเอง

นักวิชาการอะฮฺลิสสุนนะฮฺส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าคำว่า “คิลาฟะฮฺ” มีความหมายและคำจำกัดความเดียวกับคำว่า “อิมามะฮฺ” กล่าวคือเมื่อประชาชนได้มอบความไว้วางใจเลือกเคาะลีฟะฮฺให้เป็นผู้รับผิดชอบภารกิจอันยิ่งใหญ่ในทางสังคม โดยวิถีที่จะได้มาซึ่งตำแหน่งผู้ปกครองนั้นก็ด้วยการเลือกตั้งจากมุสลิม หมายถึงเคาะลีฟะฮฺจะเป็นทั้งผู้ที่เข้ามาแก้ปัญหาทางศาสนาให้แก่ประชาชนและเสริมสร้างกองทัพให้เข้มแข็งเพื่อรักษาความสงบสุขของสังคมและรัฐอิสลามจากการรุกรานของเหล่าศัตรู ด้วยเหตุนี้ อิมามจึงเป็นเพียงหัวหน้ารัฐบาลหรือผู้ปกครองทางสังคมที่มีภารกิจสูงสุดเเค่เพียงการสถาปนาความยุติธรรมและรักษาความมั่นคงของรัฐอิสลามเท่านั้น และนี่คือเจตนารมณ์ที่ประชาชนได้เลือกเขาขึ้นมา

ดังนั้น คุณสมบัติหรือเงื่อนไขของผู้นำหรือผู้ปกครอง ณ ที่นี้ก็คือจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีความพร้อมและเหมาะสมที่จะนำชะรีอะฮฺของพระผู้เป็นเจ้ามาจัดการลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำความผิด ให้การคุ้มครองพลเมืองดีจากการละเมิดสิทธิของทุจริตชนคนพาล ในขณะเดียวกัน ยังมีภารกิจในการตระเตรียมกองกำลังทหารให้พร้อมสรรพเพื่อพิทักษ์เขตแดนและอาณาจักรอิสลามจากเหล่าผู้รุกราน และเผชิญหน้ากับการตั้งภาคีทุกรูปแบบ และขจัดอุปสรรคขวากหนามที่ขวางกั้นการเรียกร้องเชิญชวนมนุษย์ไปสู่เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า การญิฮาดและต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธเพื่อทำลายการทรยศฝ่าฝืนและความอวิชาที่เป็นอุปสรรคขวางกั้นมิให้การดำเนินภารกิจเพื่อสัจธรรมก้าวหน้าและประสบความสำเร็จด้วย

ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าผู้นำหรือผู้ปกครองจะไม่มีความรู้หรือไม่ประสีประสาต่อบทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า หรือแม้กระทั่งไม่มีความสำรวมตนต่อพระผู้เป็นเจ้า ฝ่าฝืนหรือทำความผิดบาปเพียงไรก็ตาม ก็ไม่ถือเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการทำหน้าที่แต่อย่างใด กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทัศนะดังกล่าวถือว่าตัวแทนของท่านศาสดา (ศ) ที่จะเป็นผู้แบกรับภารกิจสืบต่อจากท่านนั้น ไม่จำเป็นว่าเขาผู้นั้นจะเป็นผู้กดขี่ ฉ้อฉล อธรรม ละเมิดต่อสิทธิของผู้อื่น หรือใช้อำนาจทางทหารกดขี่บีฑาและหลั่งเลือดผู้บริสุทธิ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของตนและต่อประชาคมมุสลิม ดังนั้น นักการเมืองที่เต็มไปด้วยเล่ห์เพทุบายก็สามารถจะได้รับฉันทานุมัติให้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา (ศ) ได้ ด้วยมาตรฐานทางศีลธรรมและจริยธรรมดังกล่าว เมื่อไรก็ตามที่เขาชี้นำและปกครองประชาชนให้เฉไฉออกจากวิถีแห่งสัจธรรมและความยุติธรรมแล้ว ไม่เพียงแต่ประชาชนจะไม่มีสิทธิคัดค้านและต่อต้านเขาเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น วาญิบที่จะต้องอิฏออะฮฺ (เชื่อฟังปฏิบัติตาม) เขาอีกด้วย

บรรทัดฐานจากโลกทัศน์ดังกล่าวนี้เองที่ได้มีนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งของชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺไว้ว่า “ประชาชาติอิสลามไม่มีสิทธิถอดถอนเคาะลีฟะฮฺออกจากตำแหน่งด้วยสาเหตุที่เขาได้ล่วงละเมิดบทบัญญัติและพระบัญชาของอัลลอฮฺ และไม่ปฏิบัติตามกฎหมายชะรีอะฮฺของพระองค์ ยิ่งไปกว่านั้น วาญิบที่ประชาชนทุกคนจะต้องตักเตือนชี้นำเขาให้หันมาสู่หนทางที่เที่ยงธรรมด้วย” (อัตตัมฮีด กอฎีย์บากิลานีย์ หน้า 186)

ผู้ปกครองที่อธรรมและฉ้อฉลโดยไม่แยแสและมีความรับผิดชอบต่อประชาคมมุสลิมเยี่ยงนี้ จะให้ประชาชนคอยระแวดระวังและตักเตือนพฤติกรรมอันโฉดชั่วของเขาได้อย่างไร และจะมีวิธีการใดที่จะตักเตือนและปรับปรุงเขาให้ไปสู่วิถีทางอิสลาม ? ลำพังแค่การตักเตือนจะช่วยฉุดรั้งให้เขากลับคืนสู่วิถีทางที่ถูกต้องกระนั้นหรือ ?

โดยสารัตถะแล้ว มาตรว่าพระองค์ทรงประสงค์จะปล่อยให้ประชาชาติต้องตกอยู่ภายใต้เงื้อมมือของผู้ปกครองที่ไม่มีคุณสมบัติคู่ควร ไม่มีความสำรวมตนจากความชั่ว เห็นแก่ตัว และกดขี่บีฑาแล้ว ย่อมไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่พระองค์จะทรงแต่งตั้งศาสดาให้ทำหน้าที่ผู้สื่อสาสน์แทนพระองค์ และประทานวิวรณ์เพื่อเป็นบทบัญญัติบังคับใช้ในสังคม มิฉะนั้น การที่เสรีชนผู้ศรัทธา มีจิตสำนึก และเสียสละได้ลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจของผู้ปกครองที่อธรรมตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา แสดงว่าพวกเขาได้ฝ่าฝืนต่อพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้ากระนั้นหรือ ?

ดร.อับดุลอะซีซ อัดเดาวะรีย์ นักวิชาการ และนักคิดนักเขียนสุนนีย์ได้ให้ทัศนะไว้ว่า :-
“เมื่อมีบุคคลหนึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺแล้ว ทฤษฎีทางการเมืองของอะฮฺลิซซุนนะฮฺถือว่าไม่เพียงแต่จะยึดมั่นในคัมภีร์อัลกุรฺอานและหะดีษเท่านั้น แต่ยังจะต้องคำนึงถึงเหตุการณ์ที่อุบัติมาภายหลังว่าสอดคล้องกับกุรฺอานและหะดีษหรือไม่ ด้วยเหตุนี้ อาจกล่าวได้ว่าทฤษฎีทางการเมืองของคิลาฟะฮฺมีผลกระทบโดยตรงต่อคนทุกรุ่น ทั้งนี้เนื่องจากตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺจะผันแปรไปตามสถานการณ์และอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือกรณี “กอฎี อบุลหะสัน มะวารฺดีย์” ผู้พิพากษาศาลสูงสุดของเคาะลีฟะฮฺที่ได้เขียนตำราชื่อ “อัลอะหฺกาม อัสสุนฎอนียะฮฺ” ซึ่งตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺก็เป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของเขาเช่นกัน กล่าวคือในยุคเสื่อมทรามที่สุดของเคาะลีฟะฮฺ เขาได้พยายามใช้ความคิดและทรรศนะส่วนตัวเพื่อประยุกต์ทัศนะต่าง ๆ ของบรรดาฟุเกาะฮาอ์ในยุคสมัยก่อนหน้าเขาให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางการเมืองในยุคของเขา จุดเด่นของกอฎีผู้นี้ก็คือความพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าในการนำเสนอทรรศนะเอกเทศของตนกับทรรศนะของอุละมาอ์รุ่นก่อน โดยเขาได้ให้ทัศนะไว้ดังนี้คือ

“อนุมัติให้ประชาชนยอมจำนนอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ปกครองที่ไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมคู่ควร ถึงแม้ว่าจะมีผู้ปกครองที่ดีกว่าก็ตาม และเมื่อบุคคลหนึ่งได้รับการเลือกตั้งแล้ว กลไกลทางการเมืองทุกชนิดไม่มีสิทธิที่จะถอดถอนเคาะลีฟะฮฺอันเนื่องจากมีผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและดีกว่าเขา ด้วยเหตุนี้ กอฎีย์อบุลหะสัน มะวารฺดีย์ จึงเห็นด้วยกับทฤษฏีดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อต้องการที่จะหาเหตุผลและข้ออ้างมาลบล้างการปกครองของเคาะลีฟะฮฺที่ไร้คุณสมบัติ และอาจจะเพื่อต้องการลบล้างทฤษฏีและหลักความเชื่อของชีอะฮฺ ดังนั้น เราจะพบว่าประเด็นวิภาษวิธีและหลักความเชื่อที่เขาได้นำเสนอตามทัศนะของชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺนั้น ก็เพียงเพื่อจะหาเหตุผลและความชอบธรรมให้กับสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคเท่านั้น และในความเป็นจริงแล้ว พวกเขามิได้มีเป้าหมายอื่นใดนอกจากเพียงเพื่อที่จะหาข้ออ้างมาประกอบกับสิ่งที่เรียกว่า “อิจญ์มาอฺ” นั่นเอง ( อันนัซมุลอิสลามียะฮฺ เล่ม 1 หน้า 72 – 84 )

นี่คือพื้นฐานทางความคิดและทฤษฏีของกลุ่มชนที่ขนานนามตนเองว่าเป็นผู้ที่ดำเนินรอยตามสุนนะฮฺหรือแบบฉบับของท่านศาสดา และเป็นผู้พิทักษ์ศาสนาและชะรีอะฮฺของท่าน ในขณะเดียวกัน พวกเขากลับกล่าวหานักปราชญ์และปัญญาชนมุสลิม และผู้ฟื้นฟูสังคมด้วยการดำเนินรอยตามแบบอย่างของบรรดาอิมามผู้ทรงคุณธรรม ผู้เป็นหลักฐานและข้อพิสูจน์ของอัลลอฮฺ และเป็นผู้ชี้นำมนุษย์สู่วิถีทางที่เที่ยงธรรมว่าเป็นพวก “รอฟิฎีย์” (พวกปฏิเสธ) และละทิ้งสุนนะฮฺของท่านรอสูลุลลอฮฺ (ศ)

ถ้าปล่อยให้อำนาจการปกครองต้องตกอยู่ในกำมือของผู้ปกครองที่ขาดไร้วิสัยทัศน์อิสลาม และยังเหยียบย่ำทำลายชะรีอะฮฺของอัลลอฮฺ และประชาชาติอิสลามจะต้องเชื่อฟังคำสั่งของเขาอย่างเคร่งครัดโดยไม่มีสิทธิทักท้วงหรือขัดขืนคำสั่งของเขา เพื่อผลประโยชน์ของผู้มีสิทธิอันชอบธรรมแล้ว ศาสนาของอัลลอฮฺจะประสบกับชะตากรรมเช่นไร ?
นี่หรือคือโลกทัศน์และจิตสำนึกแห่งอิสลาม นี่หรือคือการสำแดงความจงรักภักดีต่อชะรีอะฮฺที่ท่านนบีย์ (ศ) ได้นำมา ?
บทสรุปของทฤษฎีดังกล่าวมิใช่การยอมจำนนต่ออำนาจอธรรมของผู้ปกครองที่ทุจริตอย่างไม่มีที่สิ้นสุดหรอกหรือ ?
แต่อิมามะฮฺตามโลกทัศน์แห่งสำนักตะชัยยุอฺ หมายถึงอำนาจการปกครองที่มาจากอัลลอฮฺ และหมายถึงตำแหน่งที่ได้รับการสถาปนาหรือแต่งตั้งเฉกเช่นตำแหน่งนบูวะฮฺ (ตำแหน่งศาสดา) ซึ่งพระองค์ทรงประทานแก่ผู้ที่มีเกียรติคุณและฐานภาพสูงสุดในแต่ละยุคสมัย จะต่างกันก็เพียงศาสดาจะได้รับวิวรณ์จากพระองค์เพื่อวางรากฐานทางศาสนาและสำนักคิด ในขณะที่อิมามจะเป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์และพิทักษ์อุดมการณ์เหล่านั้นให้ธำรงอยู่ต่อไป และเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะเจริญรอยตามการดำเนินชีวิตและแบบฉบับของพวกเขาในทุกมิติ ทั้งด้านจิตวิญญาณ ศีลธรรม จริยธรรม และการเมืองการปกครอง

ภายหลังจากการอสัญกรรมของศาสนทูตของอิสลาม (ศ) แล้ว ประชาชาติอิสลามก็เริ่มตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีผู้ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมและมีความรอบรู้เกี่ยวกับวิวรณ์ มีความสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน และเป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์แห่งสุนนะฮฺของท่านศาสดาผู้สถาปนาชะรีอะฮฺ เพราะนอกจากภารกิจในการพิทักษ์สังคมให้รอดพ้นจากการหันเหออกจากทิศทางแห่งสัจธรรม ความรู้เท่าทันต่อสถานการณ์อย่างลึกซึ้งรอบด้านต่อภยันตรายต่างๆ ของปัจจัยและความผันผวนทางการเมืองและสังคม พวกเขายังจะต้องมีความรอบรู้เชี่ยวชาญในด้านการวินิจฉัยสารธรรมคำสอนทางศาสนาที่ครอบคลุมในทุก ๆ มิติ โดยอาศัยสารัตถะจากแหล่งกำเนิดของวิวรณ์เพื่อรับใช้ประชาชาติ ซึ่งจะเป็นผลให้กฎหมายของอัลลอฮฺธำรงคงอยู่ต่อไปภายใต้โครงสร้าง (ยังคงดำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ของตนไว้) และความยุติธรรมและดวงประทีปแห่งสัจธรรมและความยุติธรรมจะไม่ดับสลายไป

อิมามะฮฺและคิลาฟะฮฺคือตำแหน่งที่ไม่อาจจะแยกจากกันได้ เฉกเช่นที่ฐานภาพของผู้นำและผู้ปกครองของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺที่ไม่สามารถจะแยกออกจากตำแหน่งนบูวะฮฺนั่นเอง เพราะแท้จริง จิตวิญญาณแห่งอิสลามกับการเมืองในอิสลามคือสองส่วนที่หล่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทางประวัติศาสตร์กลับกลายเป็นว่าอำนาจทางการเมืองต้องถูกแบ่งแยกจากอิมามผู้เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และมิติทางการเมืองของศาสนาได้ถูกแยกออกจากมิติในทางจิตวิญญาณด้วยเช่นกัน

ถ้าผู้นำประชาชาติอิสลามมิได้เป็นบุคคลที่มีสมบัติที่เหมาะสมและคู่ควร มีความยุติธรรม มีความสำรวมตน บริสุทธิ์จากความประพฤติเสื่อมทรามและไม่เหมาะสมทางศีลธรรม อีกทั้งคำพูดและการกระทำของเขามิได้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อประชาชนแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นเขายังกลับเป็นผู้ทำลายชะรีอะฮฺและหันส้นเท้าให้กับหลักการที่ธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมแล้ว นอกจากจะไม่มีช่องว่างและบรรยากาศที่พร้อมจะตอบรับความยุติธรรมแล้ว โอกาสที่จะพัฒนาให้ก้าวไปสู่คุณธรรมความสูงส่ง เกียรติยศ ความสำรวมตน ก็จะไม่มีวันเกิดขึ้นได้อย่างสิ้นเชิง และเป้าหมายของรัฐและการปกครองในระบบอิสลาม ซึ่งได้แก่การสร้างสรรค์และจรรโลงมนุษย์ให้ตระหนักถึงปฐมเหตุอันสูงส่ง และการสร้างบรรยากาศที่บริสุทธิ์ยุติธรรมที่พร้อมจะแผ่ขยายคุณธรรมทางจิตวิญญาณ และนำข้อกฎหมายของอัลลอฮฺมาประกาศใช้จะไม่มีวันบรรลุตามเจตนารมณ์ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เนื่องจากพฤติกรรมทางศีลธรรม แบบแผนในทางปฏิบัติของผู้นำ ผู้ปกครองและรวมถึงบทบาทของรัฐ มีผลกระทบโดยตรงต่อสังคม และมีอิทธิพลอย่างล้ำลึก ดังที่ท่านอมีรุลมุอฺมินีน (อ) ถือว่าบทบาทและอิทธิพลดังกล่าว (มีซาน ตะอ์ษีรฺ) เหนือกว่าอิทธิพลและบทบาทของบิดาผู้ให้การอบรมสมาชิกในครอบครัวเสียอีก ท่านยังได้กล่าวอีกว่า “ประชาชนมีความคล้ายคลึงกับผู้นำในด้านจรรยามารยาทยิ่งกว่าบิดาของตน”(บิหารุลอันวารฺ เล่ม 17 หน้า 129)

เมื่อสารัตถะการปกครองมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับคุณสมบัติของผู้นำนี้เอง เพื่อที่จะไปสู่เป้าหมายของรัฐอิสลามจึงขึ้นอยู่กับผู้นำซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์เพียบพร้อมในทุกมิติ
นอกจากสังคมมนุษย์จะต้องขับเคลื่อนไปสู่ความสมบูรณ์ของตำแหน่งของผู้นำและผู้ปกครอง ซึ่งเป็นความจำเป็นทางพื้นฐานทางธรรมชาติดังที่สารธรรมคำสอนอิสลามถูกประทานลงมาเพื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ทั้งทางด้านปัจเจกชนและสังคม ด้านวัตถุและจิตวิญญาณนี่เอง ดังนั้น สารธรรมคำสอนนั้นจะต้องสอดคล้องและสนองตอบความจำเป็นทางธรรมชาติของพวกเขาด้วย กล่าวคือตำแหน่งผู้นำที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์นั่นเอง

พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงประสงค์ให้สรรพสิ่งบนโลกนี้ได้ขับเคลื่อนไปสู่ความสมบูรณ์ ทรงประทานสติปัญญาให้เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือขั้นพื้นฐานให้อยู่ในการเลือกสรรเพื่อให้พวกเขาก้าวข้ามเขตแดนแห่งความอ่อนแอและความบกพร่อง ไปสู่บ้านแห่งความสมบูรณ์ จะเป็นไปได้อย่างไรที่พระองค์จะให้การฝึกอบรมมนุษย์ที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ โดยละเลยกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานทางธรรมชาติที่ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ และละเลยในสิ่งที่จะเทิดฐานะทางจิตวิญญาณของพวกเขาให้สูงส่ง ?

พระผู้อภิบาลผู้ทรงประทานความสมบูรณ์ทางสรีระแก่มนุษยชาติอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง จะเพิกเฉยต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่จะมีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างจิตวิญญาณของพวกเขาให้สูงส่ง โดยละเลยต่อการประทานความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่นี้แก่พวกเขากระนั้นหรือ ?
หลังจากท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ (ศ) แล้ว ประชาติอิสลามไม่อาจไปสู่ความสูงส่งทั้งในทางโลกทัศน์และวัฒนธรรมอิสลาม นอกจากจะต้องอยู่ภายใต้ร่มธงแห่งทายาทผู้เป็นตัวแทนของท่านเท่านั้น และโครงสร้างแห่งคำสอนที่อิสลามได้กำหนดไว้ เพื่อพัฒนามนุษย์ให้ไปสู่ความสูงส่งและสมบูรณ์ เพื่อมิให้สายสัมพันธ์แห่งหลักการของอิมามะฮฺต้องสิ้นสุดลง โครงสร้างแห่งคำสอนนั้น จะไร้จิตวิญญาณและไม่สมบูรณ์และไม่สามารถจะปลดปล่อยมนุษยชาติให้รอดพ้นจากความหายนะและเทิดฐานะพวกเขาให้สูงส่งได้

หลักคำสอนอิสลามได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า ตราบใดที่หลักการแห่งอิมามะฮฺต้องแยกออกจากอิสลามแล้ว จิตวิญญาณแห่งบทบัญญัติที่จะเสริมสร้างความมั่นคงและความสมบูรณ์ให้อิสลาม และสังคมแห่งการยอมจำนนต่อพระผู้เป็นเจ้าก็จะสูญสิ้นไปด้วย และเมื่อนั้น ภาพลักษณ์ที่คงเหลืออยู่ก็ไม่แตกต่างซากศพที่เคลื่อนที่ได้นั่นเอง

ท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ) ได้วจนะไว้ว่า :-
“ผู้ที่ตายโดยไม่รู้จักอิมาม (ในยุคสมัยของตน) เขาตายในสภาพญะฮิลียะฮฺ” (มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล หน้า 96)

ทั้งนี้เนื่องจากยุคสมัยญาฮิลียะฮฺนั้น ประชาชนต่างพากันกราบไหว้บูชาเจว็ด พวกเขาไม่มีทั้งหลักเตาฮีด (การยอมรับในเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า) และไม่มีทั้งนบูวะฮฺ (ศาสดา) ดังนั้น วจนะที่เต็มไปด้วยวิทยปัญญาดังกล่าวได้สำแดงให้ประจักษ์ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดำเนินชีวิตทางจิตวิญญาณของมนุษย์ว่าถ้ามิได้ดำเนินอยู่ภายใต้ผู้ปกครองที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมและสมบูรณ์แล้ว การดำเนินชีวิตของเขาก็มิได้แตกต่างจากชนในยุคญาฮิลียะฮฺแต่อย่างใด และความตายของเขาก็จะมีสภาพเช่นเดียวกับผู้คนในยุคสมัยนั้นนั่นเอง





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

2 ภารกิจ (บทบาท) ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ในการกำหนดชะตากรรมและอนาคตของอิสลาม ท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ) มีความตระหนักดีว่าภายหลังจากท่านแล้ว พื้นฐานและโครงสร้างแห่งเอกภาพในหมู่ประชาชาติอิสลามจะต้องพังทลายลง พวกเขาจะต้องตกอยู่ในวังวนแห่งความขัดแย้ง แตกแยก และประหัตประหารกัน และอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมทางสังคมที่เต็มไปด้วยวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายอย่างแน่นอน

ประชาคมอิสลามที่เพิ่งจะได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ในยุคสมัยนั้น ประกอบไปด้วยชาวมุฮาญิรีน จากบนีฮาชิม บนีอุมัยยะฮฺ และจากเผ่าอดีย์และตีมที่อพยพมาจากนครมักกะฮฺได้หล่อหลอมรวมกับชาวอันศอรฺแห่งนครมดีนะฮฺ ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มชนจากเผ่าเอาสฺ และค็อซร็อจญ์ ซึ่งเมื่อผู้นำที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมเฉกเช่นท่านศาสดาของอัลลอฮฺ (ศ) ได้อำลาจากไปแล้ว ความระส่ำระสายได้บังเกิดขึ้นกับพวกเขา ไม่มีกลุ่มชนใดในท่ามกลางพวกเขาที่จะมีโลกทัศน์และความคิดที่จะธำรงไว้เพื่ออิสลาม พวกเขาสาละวนและหมกมุ่นอยู่กับการแก่งแย่งผู้นำเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงผู้นำและระบบการปกครองที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานให้แก่พวกเขากลับไปสู่ผู้นำและผู้ปกครองในระบบเผ่าพันธุ์แห่งยุคสมัยญาฮิลียะฮฺอีกครั้งหนึ่ง อุดมการณ์และเป้าหมายหลัก สัมพันธภาพอันมั่นคงและถือเป็นพื้นฐานสำคัญระหว่างพวกเขาได้ขาดสะบั้นลง ดังที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้เตือนสำทับให้ผู้ดำเนินรอยตามแบบฉบับของท่านได้ตระหนักถึงวิกฤตการณ์ที่พวกเขาจะต้องเผชิญในอนาคต ว่า :-
“ประชาชาติของฉันจะแตกแยกเป็น 73 พวก เพียงพวกเดียวเท่านั้นที่จะได้รับความปลอดภัย ส่วนที่เหลือจะต้องเข้าสู่ไฟนรก” (เศาะหี๊หฺอิบนุมาญะฮฺ บาบฟิตนฺ )

วิกฤตการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ที่ได้สร้างความสั่นสะเทือนและสั่นคลอนเสถียรภาพและเอกภาพของประชาชาติอิสลามภายหลังการอสัญกรรมของผู้สถาปนาอิสลามแห่งโลก (ศ) และเมล็ดพันธุ์แห่งความแตกแยกได้ถูกไถหว่านในท่ามกลางพวกเขา ก็คือความขัดแย้งเกี่ยวกับผู้นำที่จะทำหน้าที่ปกครองและสืบสานภารกิจและเจตนารมณ์ต่อจากท่านศาสดา (ศ) ซึ่งได้กลายไปสู่กรณีพิพาทและวิกฤตที่เลวร้าย และสั่นคลอนเสถียรภาพและเอกภาพของประชาชาติมุสลิม และได้ทำลายความเป็นปึกแผ่นของพวกเขาลง

เป็นที่แน่นอนว่าถ้าหากท่านศาสดา (ศ) ละเลยหรือมิได้ใส่ใจต่อภัยพิบัติอันน่าสะพรึงกลัวนี้มาก่อน และมิได้ตระเตรียมการใด ๆ เพื่อรองรับสุญญากาศแห่งการขาดไร้ผู้นำและปัจจัยสำคัญที่จะสั่นคลอนเสถียรภาพของประชาคมอิสลาม และมิได้วางรากฐานหรือกำหนดโครงสร้างใด ๆ ไว้เพื่อพิทักษ์และคุ้มครองประชาชาติให้รอดพ้นจากการหลงทางแล้ว เท่ากับท่านมิได้ตระเตรียมป้องกันวิกฤตอันใหญ่หลวงที่จะประสบกับระบบการปกครองและการบริหารประชาคมมุสลิม ?

ในขณะที่การให้ความสำคัญต่อภยันตรายอันใหญ่หลวงที่สามารถทำนายล่วงหน้า ถึงแม้ว่า (โดยไม่ต้องอาศัย) จุดกำเนินแห่งวิวรณ์และองค์ประกอบของความเร้นลับใด ๆ

เป็นไปได้หรือที่ศาสดาผู้ทรงเกียรติ (ศ) ผู้ไม่เคยมีความบกพร่องในการประกาศสาสน์ของพระผู้เป็นเจ้าแม้ประเด็นเล็กน้อย แต่กลับละเลยที่จะกำหนดชะตากรรมและอนาคตของประชาคมอิสลาม และให้การคุ้มครองสัจธรรมและพิทักษ์ผู้นำศาสนา และโลกมุสลิม และมิได้มอบหมายภารกิจอันศักดิ์สิทธิให้อยู่ในอำนาจของผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมโดยมิได้แต่งตั้งกัปตันเพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนนาวาแห่งประชาชาติให้สามารถฝ่าคลื่นลมมรสุมแห่งวิกฤตที่จะถาโถมพวกเขา ?

กลุ่มชนที่อ้างว่าท่านศาสดา (ศ) มิได้แต่งตั้งตัวแทนเพื่อสืบสานเจตนารมณ์การปกครองประชาชาติสืบต่อจากท่านอย่างเป็นทางการ โดยท่านมิได้ดำเนินการใด ๆ ในเรื่องนี้และปล่อยให้พวกเขาเผชิญหน้ากับวิกฤตอันใหญ่หลวง ที่จะติดตามมาภายหลังจากอสัญกรรมของท่าน............?
และเมื่อพิจารณาถึงการอสัญกรรมของท่านศาสดา (ศ) ที่มิได้เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน มิหนำซ้ำท่านยังได้แจ้งพวกเขาล่วงหน้าด้วยว่า อีกไม่นานท่านจะต้องอำลาจากโลกนี้ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านยังได้ประกาศต่อหน้าพวกเขาในพิธีหัจญะตุลวิดาอฺ (หัจญ์แห่งการอำลา) ว่าในไม่ช้านี้ฉันจะต้องจากพวกท่านไป และในปีหน้าฉันจะไม่มีโอกาสได้มาพบกับพวกท่าน ณ สถานที่แห่งนี้อีกแล้ว

อิสลามที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ในการที่จะได้รับผลนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยเวลาและความต่อเนื่องและผู้ถือธงชัยเพื่อปฏิบัติภารกิจขุดรากถอนโคนที่เพื่อทำลายรากเหง้าญาฮิลียะฮฺในอดีต

อิสลามที่กำลังตกอยู่ในห้วงภยันตรายภายใต้การคุกคามถึงสองด้าน ทั้งภัยคุกคามภายในจากพวกมุนาฟิกีนที่อาศัยร่มธงอิสลามหลอมรวมเข้ากับมวลมุสลิมได้กระจัดกระจายทั่วรัฐอิสลาม และพวกเขาคอยจ้องหาโอกาสครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะกำจัดท่านศาสดา (ศ) และแม้กระทั่งในปีที่ 9 แห่งฮิจญ์เราะฮฺศักราชที่ท่านศาสดา (ศ) ได้นำทัพไปยังสมรภูมิตะบู๊กนั้น ท่านยังไม่ไว้วางใจต่อกลุ่มดังกล่าว ท่าน (ศ) ได้แต่งตั้งอลีย์ (อ) ให้คอยควบคุมสถานการณ์ที่อาจจะอุบัติขึ้นอย่างไม่คาดฝันในนครมะดีนะฮฺแทนท่าน อีกด้านหนึ่งคือภัยคุมคามจากภายนอกรัฐอิสลาม กล่าวคือสองมหาอำนาจผู้อหังการในยุคนั้น ทั้งโรมและอิหร่านที่พร้อมจะบุกประชิดและโจมตีศูนย์กลางอิสลามด้วยกองทัพอันมหาศาลของพวกเขาอยู่ตลอดเวลา

ด้วยปัจจัยและเงื่อนไขที่อันตรายเช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านศาสดา (ศ) จะต้องพิจารณาแต่งตั้งบุคคลที่สามารถสืบทอดเจตนารมณ์ในการพิทักษ์แนวทางของประชาชาตินี้ เพื่อให้การเรียกร้องเชิญชวนต่อสัจธรรมปลอดภัยต่อภยันตรายทั้งปวง

แม้แต่เคาะลีฟะฮฺคนแรกก็ยังตระหนักถึงผลร้ายที่จะติดตามมาในอนาคต ถ้าหากปราศจากผู้นำที่จะทำหน้าที่ปกครอง โดยเขาไม่ปล่อยให้ประชาชนต้องระหนจากการขาดผู้นำ เพราะในขณะที่กำลังล้มเจ็บหนักอยู่นั้น เขาได้ประกาศสั่งเสียต่อประชาชนว่า “ฉันได้มอบภารกิจให้อุมัรฺ อิบนุลค็อฎฎอบ ทำหน้าที่ผู้นำและปกครองพวกท่าน ดังนั้น พวกท่านจงเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำพูดของเขา” ( ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 126 - 127)

แม้แต่เคาะลีฟะฮฺก็ยังมีความตระหนักดีว่าภารกิจในการแต่งตั้งผู้นำนั้น เป็นภาระหน้าที่ของเขา และยังกำชับให้ประชาชนปฏิบัติตามคำสั่งของเขาอย่างเคร่งครัดอีกด้วย
ภายหลังจากที่เคาะลีฟะฮฺที่สองได้ถูกลอบทำร้าย สิ่งที่เขามีความตระหนักเช่นเดียวกับเคาะลีฟะฮฺคนแรกก็คือจำเป็นจะต้องกำหนดผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อจากเขาอย่างเร่งด่วน โดยได้บัญชาให้จัดตั้งเป็นคณะชูรอ จำนวน 6 คน เพราะในขณะนั้นเขารู้ดีว่าไม่อาจจะแต่งตั้งเคาะลีฟะฮฺสืบต่อจากเขาได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องกำหนดตัวบุคคลเป็นคณะชูรอขึ้นมาดังกล่าว

ส่วนกรณีที่ท่านอมีรุลมุอ์มินีน อลีย์ (อ) ได้ยอมรับตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ เนื่องจากท่านตระหนักถึงฟิตนะฮฺและวิกฤตที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน และการหันส้นเท้าของพวกเขากลับไปสู่ยุคญาฮิลิยะฮฺ ซึ่งจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายและกลับไปสู่ความไม่สงบอีกครั้งหนึ่งอย่างแน่นอน

ดังนั้น เป็นไปได้อย่างไรที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) จะไม่ตระหนักถึงภยันตรายที่จะติดตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงสภาพการณ์ที่เพิ่งจะผ่านพ้นยุคสมัยญาฮิลียะฮฺได้ไม่นาน ที่ท่านมิได้กำหนดโครงสร้างและแบบแผนใด ๆ ที่จะเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ประชาชาติภายหลังจากการอสัญกรรมของท่านแล้ว ?

ย่อมไม่มีข้ออ้างที่สมเหตุสมผลและกินกับสติปัญญาว่า ท่านศาสนทูตแห่งอิสลาม (ศ) ไม่ได้เล็งเห็นความสำคัญในปัญหาดังกล่าว ไม่อาจจะจินตนาการได้เลยว่าท่านมิได้ห่วงใยในอนาคตของประชาชาติอิสลามภายหลังการจากไปของท่าน เพราะตลอดระยะเวลาแห่งการปฏิบัติภารกิจในฐานะศาสนทูต จวบจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งอายุขัยของท่าน (ศ) ท่านมีแต่ความอนาทรและห่วงใยในอนาคตและชะตากรรมประชาติของท่านตลอดเวลา

ในวินาทีวิกฤตที่ทุกคนต่างตกอยู่ในความปริวิตกท่ามกลุ่มเหล่าเศาะหาบะฮฺที่ห้อมล้อมท่านอยู่ รวมทั้งอุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ ซึ่งอยู่ ณ สถานที่นั้นด้วย ท่านได้สั่งพวกเขาว่า “จงนำกระดาษและน้ำหมึกมาให้ฉัน ฉันจะบันทึกคำสั่งเสียเพื่อประกันมิให้พวกท่านต้องหลงทาง ภายหลังจากฉัน” (มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 1 หน้า 344 – เฏาะบะกอต อิบนุสะอฺดฺ เล่ม 2 หน้า 242 – เศาะหี๊หฺบุคอรีย์ เล่ม 1 หน้า 22 – ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 2 หน้า 426)

จากหะดีษที่มีสายรายงานถูกต้องและได้รับการยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์ในหมู่นักปราชญ์อิสลาม ย่อมถือเป็นประจักษ์พยานได้อย่างชัดเจนว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้ใช้ความเพียรพยายามที่จะแนะนำและย้ำเตือนประชาชาติของท่านถึงความสำคัญของตำแหน่งผู้นำและผู้ปกครองภายหลังจากท่าน เพราะแม้กระทั่งในบั้นปลายชีวิต ท่านยังมีความห่วงใยและคำนึงถึงอนาคตของประชาชาติและภยันตรายที่จะบังเกิดขึ้นกับพวกเขา และเพื่อที่จะพิทักษ์ประชาชาติมิให้หลงออกจากวิถีทางที่เที่ยงธรรม เพราะท่านย่อมมีความเข้าใจและตระหนักถึงอนาคตของประชาชาติของท่านดีกว่าเศาะหาบะฮฺทั้งหมดอย่างแน่นอน

ข้อสังเกตและประเด็นสำคัญที่สมควรจะหยิบยกมาพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือ ศาสดาที่ได้รับวิวรณ์จากฟากฟ้าทุกคนล้วนได้แต่งตั้งเอาศิยาอ์ (ตัวแทน) เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ก่อนที่ศาสดาคนต่อไปจะถูกสถาปนาจากพระองค์ทั้งสิ้น เช่นศาสดาอาดัม อิบรอฮีม ยะอฺกูบ มูสา อีสา (อลัยฮิมุสลาม – ขอความสันติจากพระองค์จงประสบแด่พวกเขา) ดังหะดีษที่ได้กล่าวถึงชื่อของตัวแทนเหล่านั้นอย่างชัดเจน (อิษบาตุลวะศียะฮฺ มัสอูดีย์ – ตารีคยะอฺกูบีย์)

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้วจนะว่า “ทุกศาสดามีวะศีย์ (ตัวแทน) หรือวาริษ (ทายาท) และอลีย์ (อ) คือวะศีย์และวาริษของฉัน”(ตารีคอิบนุอะสากิรฺ เล่ม 3 หน้า 5 – ริยาฎุนนัฎเราะฮฺ เล่ม 2 หน้า 178)
ตามบัญชาของคัมภีร์อัลกุรฺอาน ธรรมนูญของพระผู้เป็นเจ้าจะไม่มีวันถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขฉันใด ศาสนทูต (ศ) จะต้องปฏิบัติตามธรรมนูญที่ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างเคร่งครัดฉันนั้น ท่านจะต้องแนะนำและแต่งตั้งตัวแทนของท่านต่อประชาชาติอิสลาม และในทางปฏิบัติท่านก็ได้ดำเนินตามวิวรณ์ของพระผู้อภิบาลเพื่อให้สาสน์แห่งอิสลามได้ธำรงคงอยู่ชั่วนิจนิรันดร ด้วยการประกาศให้ประชาชาติตระหนักถึงหน้าที่ที่พวกเขาจะต้องดำเนินตาม ซึ่งหลักความเชื่อดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งคำสอนของคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง

ยิ่งไปกว่านั้น มุสลิมทั้งสองสำนักต่างก็มีความเชื่อตรงกันว่าท่านศาสนทูตแห่งอิสลาม (ศ) ไม่เคยประกาศแต่งตั้งทั้งอบูบักรฺ และเคาะลีฟะฮฺผู้สืบต่อจากเขาอีกสองคนให้เป็นเคาะลีฟะฮฺและตัวแทนของท่านมาก่อน และไม่ปรากฏหลักฐานจากคัมภีร์อัลกุรฺอานและสุนนะฮฺแต่อย่างใด และเมื่อพิจารณาถึงการได้มาซึ่งตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของอบูบักรฺก็ย่อมเป็นที่ประจักษ์ได้อย่างชัดเจนว่ามิได้เป็นบทบัญญัติหรือหลักคำสอนของศาสนาแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงอุบัติเหตุทางการเมืองและประวัติศาสตร์เท่านั้น ดังนั้น มุสลิมย่อมมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์หรือสำแดงทัศนะถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น ซึ่งถือเป็นหลักตรรกะวิทยาทั่วไป แต่เป็นที่น่าประหลาดใจที่โลกสุนนีย์กลับไม่เปิดโอกาสหรืออนุญาตให้มุสลิมวิพากษ์วิจารณ์การได้มาซึ่งตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของอบูบักรฺ และยังปิดกั้นความคิดอิสระที่จะแสวงหาข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับคัมภีร์และสุนนะฮฺในสิ่งดังกล่าวอีกด้วย ดังนั้น เราสามารถจะสรุปได้ว่าโลกสุนนีย์ย์มีความอ่อนไหวและจิตใจที่คับแคบเกี่ยวกับกรณีคิลาฟะฮฺเป็นอย่างมาก และแน่นอนว่าการปล่อยให้อารมณ์ความรู้สึกมีอิทธิพลหรืออำนาจเหนือเหตุผล โลกทัศน์และการแสวงหาความรู้ของมนุษย์นั้นจะเป็นการบั่นทอนและทำลายบรรทัดฐานแห่งสัจธรรมให้พังทลายลงไปอย่างไม่ต้องสงสัย





มีต่อ...
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

3 อิมามะฮฺ และวิลายะฮฺ ฐานภาพของผู้นำในทัศนะอิสลาม ท่านศาสดา (ศ) ได้ประกาศแต่งตั้งอลีย์ (อ) ให้เป็นผู้นำสืบต่อจากท่าน
การปล่อยให้ปัญหาผู้นำเป็นภาระหน้าที่ของประชาชาติที่เพิ่งจะผ่านพ้นยุคญาฮิลียะฮฺมาไม่นาน โดยที่รากเหง้าแห่งหลักความเชื่อที่โง่งมงายยังมิได้ถูกถอนรากถอนโคนไปจากจิตวิญญาณและพฤติกรรมของพวกเขานั้น ย่อมไม่อาจที่จะเสริมสร้างให้ทฤษฎีและอุดมการณ์อันสูงส่งแห่งสาสน์ของพระผู้เป็นเจ้าปรากฏเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ และไม่อาจที่จะพิทักษ์สำนักคิดอิสลามให้รอดพ้นจากภยันตรายได้

ด้วยเหตุนี้ วิถีทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้อุดมการณ์อันสูงส่งของพระผู้เป็นเจ้าดำเนินไปสู่เป้าหมายที่แท้จริง และเพื่อที่จะทำให้แบบแผนแห่งการเรียกร้องเชิญชวน การอบรมขัดเกลาจิตวิญญาณของมนุษยชาติเป็นไปตามเจตนารมณ์ และสามารถขจัดอุปสรรคปัญหาเกี่ยวกับการได้มาซึ่งตำแหน่งผู้นำของโลกอิสลาม ก็คือการกำหนดตัวบุคคลที่มีฐานภาพ เกียรติคุณ และคุณสมบัติที่เพียบพร้อมทั้งในด้านความรอบรู้ในสาสน์แห่งการเชิญชวน มีศรัทธามั่นคง และปราศจากมลทินความผิดบาปเฉกเช่นผู้สื่อสาสน์และผู้สถาปนาสำนักคิดอิสลาม (ศ) ที่จะต้องอยู่เคียงคู่กับประชาคมมุสลิมในยุคสมัยนั้น

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้บ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้รับวิวรณ์จากพระผู้เป็นเจ้าให้ประกาศแต่งตั้งตัวแทนผู้เป็นทายาทผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของท่านต่อหน้ามวลมุสลิม เพื่อให้เขาดำเนินภารกิจบนวิถีแห่งสัจธรรมและเพื่อความผาสุกของประชาชาติในหัจญะตุลวิดาอ์เมื่อวันที่ 18 ซุลหิจญะฮฺ ฮิจญ์เราะฮฺศักราชที่ 10
ในปีฮิจญ์เราะฮฺศักราชที่ 10 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายแห่งอายุขัยอันจำเริญของท่านศาสดาผู้ทรงเกียรติ (ศ) ท่านได้ออกเดินทางเพื่อประกอบพิธีหัจญ์ ซึ่งถือเป็นการชุมนุมที่ยิ่งใหญ่ของโลกอิสลาม ณ นครมักกะฮฺ เมื่อข่าวคราวดังกล่าวได้แพร่สะพัด ทำให้ประชาชนทั้งใกล้และไกลจากทั่วทุกสารทิศได้หลั่งไหลเดินทางเข้ามายังนครมะดีนะฮฺเพื่อร่วมคาราวานอันถือเป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจของพวกเขา และจะได้เรียนรู้การประกอบพิธีหัจญ์ที่แท้จริง และปฏิบัติสุนนะฮฺอันยิ่งใหญ่นี้เคียงข้างท่านศาสดาผู้ทรงเกียรติ (ศ)

ในที่สุดกองคาราวานอันยิ่งใหญ่ที่ประกอบไปด้วยชาวอันศอรฺ มุฮาญิรีน และมุสลิมจากทั่วทุกสารทิศก็ได้เคลื่อนขบวนออกจากนครมดีนะฮฺมุ่งสู่นครมักกะฮฺ แผ่นดินศักดิ์สิทธิ ชาวมักกะฮฺได้เป็นสักขีพยานถึงการชุมนุมเพื่อประกอบพิธีกรรมอันอลังการที่ประกอบไปด้วยหุจญาจนับแสนประดุจคลื่นในมหาสมุทรภายใต้ผู้นำของพวกเขา ถือเป็นความภาคภูมิใจครั้งสำคัญที่ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้มีโอกาสเป็นประจักษ์พยานในผลแห่งความเพียรพยายามในการฝ่าฟันอุปสรรคและวิกฤตการณ์อันแสนลำเค็ญของท่าน

ภายหลังจากพิธี “หัจญะตุลวิดาอฺ” ได้สิ้นสุดลงแล้ว ท่านศาสดา (ศ) จึงได้อำลากะอฺบะฮฺเพื่อออกเดินทางกลับสู่นครมะดีนะฮฺพร้อม ๆ กับบรรดาหุจญาจ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่ามีจำนวนระหว่าง 90,000 – 120,000 คน และเมื่อกองคาราวานได้เดินทางมาถึงกลางทะเลทรายที่ปราศจากน้ำซึ่งมีชื่อว่า “เฆาะดีรฺคุม” พระผู้อภิบาลได้ประทานวิวรณ์ให้ศาสนทูต (ศ) หยุด ณ สถานที่แห่งนั้น ท่าน (ศ) จึงได้สั่งให้คาราวานทั้งหมดหยุดการเดินทาง และหยุดรอผู้ที่ยังอยู่รั้งหลังให้เดินทางมาสมทบพร้อมกัน ( ตารีคอิบนุกะษีรฺ เล่ม 5 หน้า 209 – 213 – มัจญ์มะอุซซะวาอิด เล่ม 9 หน้า 163 – 165)

การยุติการเดินทางอย่างกะทันหันบนผืนแผ่นดินที่เต็มไปด้วยความร้อนระอุ ภายใต้แสงแดดที่แผดเผาเช่นนี้ได้สร้างความฉงนสนเท่ห์ให้กับเหล่าหุจญาจยิ่งนัก แต่ทว่าหลังจากเวลาได้ผ่านไปไม่นาน “ญิบรีลอะมีน” ได้นำวิวรณ์จากฟากฟ้าลงมามอบให้ท่านศาสดา (ศ) เพื่อให้ท่านประกาศสถาปนาตัวแทนผู้เป็นทายาทภายหลังจากท่าน ดังมีสารัตถะสำคัญต่อไปนี้ :-
“โอ้ ศาสนทูต ! จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า และมาตรว่าเจ้ามิได้ปฏิบัติ (ตามพระบัญชานี้ ก็เท่ากับ) เจ้ามิได้ประกาศสาสน์ของพระองค์ (มาก่อน) และอัลลอฮฺจะทรงพิทักษ์เจ้าให้พ้นจากมนุษย์ (ผู้อิจฉาและโฉดชั่ว)” (สูเราะฮฺมาอิดะฮฺ 5 : 67)

เมื่อพิจารณาสารัตถะแห่งโองการข้างต้นอย่างใคร่ครวญจะทำให้เราประจักษ์ถึงสัจธรรมความจริงว่าสาสน์แห่งพระผู้เป็นเจ้าครั้งนี้มีความยิ่งใหญ่และสำคัญถึงขนาดที่ทำให้ท่านศาสนทูตของพระองค์ต้องประหวั่นพรั่นพรึงต่อการประกาศต่อประชาชาติของท่าน และมาตรว่าท่านมิได้ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายในครั้งนี้แล้ว ก็เสมือนท่านมิได้ประกาศสาสน์ใด ๆ มาก่อนเลย ในทางตรงข้าม มาตรว่าท่านได้ประกาศตามพระบัญชาของพระองค์ต่อหน้าประชาชาติของท่านแล้ว ก็เท่ากับท่านได้ทำให้สาสน์ของพระองค์ครบถ้วนสมบูรณ์

ดังนั้น จึงถือว่าโองการดังกล่าวย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการปฏิบัติภารกิจของท่านศาสนทูตแห่งอิสลาม (ศ) และพระองค์ยังค้ำประกันความปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวงในการประกาศสาสน์นี้อีกด้วย
เมื่อพิจารณาถึงบั้นปลายชีวิตอันจำเริญของท่านที่ยังคงเหลืออีกไม่นาน เพราะภายหลังจากเหตุการณ์ในวันเฆาะดีรฺได้ผ่านพ้นเพียง 70 วันเท่านั้น ท่าน (ศ) ก็ได้ถึงแก่อสัญกรรม ดังนั้น ภารกิจที่ท่านได้ดำเนินมานับตั้งแต่วินาทีแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สื่อสาสน์ของพระองค์เพื่อชี้นำประชาชาติให้ไปสู่วิถีทางที่เที่ยงธรรมและประสบกับความผาสุกอันนิรันดรตลอดระยะเวลา 23 ปีเต็มนั้น ได้สำแดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจะต้องเป็นสารัตถะที่มีสำคัญเป็นกรณีพิเศษที่ถ้าหากท่านได้ประกาศมันแล้ว จะทำให้สาสน์ที่ผ่านมาครบถ้วนสมบูรณ์ และยังทำให้ภารกิจอันยิ่งใหญ่ของท่านสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

นอกจากนี้ สามารถอนุมานได้ว่าภารกิจอันยิ่งใหญ่ของท่านศาสดา (ศ) ในครั้งนี้อาจจะถูกต่อต้านจากกลุ่มผู้ไม่หวังดีจนท่าน (ศ) อาจได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้ พระผู้เป็นเจ้าจึงได้เสริมสร้างขวัญกำลังใจและพลังแห่งความเชื่อมั่นว่าพระองค์จะทรงปกป้องคุ้มครองท่านให้พ้นจากภยันตรายทั้งปวง

ย่อมแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าถ้าหากท่าน (ศ) ดำเนินภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายจากพระองค์แล้ว จะทำให้การประกาศสาสน์ที่ผ่านมาทั้งหมดครบถ้วนสมบูรณ์ ในทางกลับกัน การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์จะทำให้ภารกิจทั้งหมดประสบกับความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาถึงโลกทัศน์และขนบธรรมเนียมประเพณีที่

ชาวอรับในยุคสมัยนั้นยึดถือปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาโดยยึดหลักอาวุโสสูงสุดในเผ่าพันธุ์ของตนเท่านั้นที่มีความเหมาะสมและคู่ควรต่อตำแหน่งผู้นำของพวกเขา และจะไม่ยอมรับคนหนุ่มที่ผ่านโลกมาน้อยกว่าให้มีฐานะผู้นำแต่อย่างใด จึงไม่มีเงื่อนไขและปัจจัยที่จะให้ท่านศาสดา (ศ) ประกาศสาสน์ของพระผู้เป็นเจ้าได้เลย

เมื่อพิจารณาถึงประสบการณ์อันขมขื่นและสร้างความปวดร้าวแก่จิตใจของท่านผู้นำแห่งอิสลาม (ศ) เมื่อเศาะหาบะฮฺที่มีโลกทัศน์คับแคบกลุ่มหนึ่งได้ฝ่าฝืนคำบัญชาของท่านที่ให้พวกเขาปฏิบัติตามคำสั่งของแม่ทัพนามอุสามะฮฺ และอิตาบ อะสีด เป็นผู้ดูแลนครมักกะฮฺ ทำให้พวกเขาแสดงความไม่พอใจและคัดค้านท่าน

เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเงื่อนไขและปัจจัยที่ทำให้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ต้องประกาศแต่งตั้งอลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ซึ่งในขณะนั้นมีอายุไม่เกิน 33 ปี ให้เป็นทายาทผู้สืบทอดภารกิจต่อจากท่านภายใต้บรรยากาศที่เต็มไปด้วยความกดดัน
ในอีกด้านหนึ่ง บรรดาญาติสนิทผู้เคยเป็นคู่อริกันมาก่อน ซึ่งก็คือกลุ่มบุคคลที่ในขณะนี้ได้หันเข้ามาสู่แนวทางอิสลาม และเป็นสหายห้อมล้อมท่านศาสดา ซึ่งในอดีต สมาชิกในตระกูลของพวกเขาเคยถูกท่านอลีย์ (อ) สังหารในสมรภูมิต่าง ๆ อย่างมากมาย ซึ่งถือเป็นหอกข้างแคร่ที่สุ่มเสี่ยงและล่อแหลมเป็นอย่างมากอีกด้วย และการหวนรำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตจะสร้างความแค้นเคืองและความอาฆาตรพยาบาทขึ้นในหัวใจของพวกเขา

ถึงแม้ว่าปัจจัยหรือเงื่อนไขจะไม่เอื้ออำนวยก็ตาม แต่ด้วยพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าที่จะให้บุรุษผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมได้รับการสถาปนาเป็นตัวแทนของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) เพราะการสถาปนาบุรุษผู้นี้ให้เป็นผู้นำประชาชาติจะทำให้สาสน์ที่พระองค์ประทานให้ท่านศาสดามีความครบถ้วนสมบูรณ์
ตามทัศนะของมุหัดดิษีน (นักบันทึกหะดีษ) ของชีอะฮฺและมุหัดดิษีนของชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺบางส่วน 1 ถือว่าอายะฮฺดังกล่าวได้ถูกประทานลงมาในวันแห่งเฆาะดีรฺคุม โดยท่านศาสดา (ศ) ได้รับวิวรณ์จากพระผู้อภิบาลให้ปฏิบัติภารกิจที่เต็มไปด้วยวิทยปัญญาด้วยการประกาศสาสน์ที่ถือเป็นรากฐานสำคัญและเป็นสาสน์สุดท้ายของอิสลาม นั่นคือการประกาศแต่งตั้งอลีย์ (อ) ต่อหน้าประชาชนให้อยู่ในฐานะตัวแทนของท่านในวันนั้น ( ตัวอย่างเช่น วากิดีย์ ในอัสบาบุนนุซูล หน้า 150 – สุยูฏีย์ ในดุรฺรุลมันษูรฺ เล่ม 3 หน้า 298 – กันดูซีย์ หะนะฟีย์ ในยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ เล่ม 130 – ออลูสีย์ ในตัฟสีรฺออลูสีย์ เล่ม 6 หน้า 172 – กอฎีย์เชากานีย์ ในฟัตหุลเกาะดีรฺ เล่ม 3 หน้า 636 – บัดรุดดีน หะนะฟีย์ ในอุมดะตุลกอรีย์ เล่ม 8 หน้า 584 – ชัยค์มุหัมมัด อับดุฮฺ ในตัฟสีรฺอัลมะนารฺ ภายใต้อายะฮฺข้างต้น )

บุรุษผู้ที่ตลอดอายุขัยไม่เคยตั้งภาคีและประพฤติเสื่อมเสียหรือสร้างรอยด่างพร้อยให้แก่ตนเองและอิสลามมาก่อน บุรุษผู้อยู่ภายใต้บรรยากาศการอบรมขัดเกลาตามสารธรรมคำสอนของอิสลาม บุรุษผู้คือภาพลักษณ์ของศาสนทูตของอัลลอฮฺ (ศ) ย่อมมีคุณสมบัติที่คู่ควรต่อการเป็นผู้พิทักษ์บทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า และรักษาแบบฉบับของท่านศาสดา (ศ) ตลอดจนสามารถที่จะรับมอบภารกิจนำพามนุษยชาติให้ไปสู่ความสูงส่งความสมบูรณ์และความสำเร็จอย่างแท้จริง และโดยสารัตถะแล้ว เฉพาะบุรุษผู้นี้เท่านั้นที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมและคู่ควรที่จะสวมใส่อาภรณ์และเสื้อคลุมแห่งอิมามะฮฺและตำแหน่งผู้นำ ในที่สุดท่ามกลางฝูงชนที่หลั่งไหลเข้าสู่แผ่นดินเฆาะดีรฺคุม เมื่อได้เวลานมาซบ่าย พวกเขาจึงได้ร่วมนมาซซุฮฺริพร้อมกับศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ)(มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 4 หน้า 281 – ตารีคอิบนุกะษีรฺ เล่ม 5 หน้า 212)

เมื่อการนมาซได้สิ้นสุดลง ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จึงก้าวสู่มิมบัรที่ท่านได้บัญชาให้พวกเขานำอานอูฐมาเรียงซ้อนกันเพื่อให้ฝูงชนทั้งหลายได้มองเห็นท่านและได้ยินคำประกาศของท่าน ท่ามกลางฝูงชนที่รอคอยเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ท่านได้เริ่มปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายจากพระผู้เป็นเจ้าโดยการกล่าวสุนทรพจน์ด้วยสุ้มเสียงที่ก้องกังวานและปลุกเร้าจิตวิญญาณ ซึ่งประชาชนที่อยู่ ณ สถานที่นั้นสามารถได้ยินและเข้าใจถ้อยคำของท่านโดยตลอด

หลังจากท่านศาสดา (ศ) ได้กล่าวสรรเสริญและขอบคุณพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงวิทยปัญญา ผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงอำนาจปกครองและทรงรอบรู้อย่างไม่มีวันเสื่อมสลาย ท่านจึงได้วจนะว่า
“โอ้ ประชาชนทั้งหลาย ! อีกไม่นาน ฉันจะต้องกลับคืนไปสู่พระผู้อภิบาล และอำลาจากพวกท่านไป ฉันมีภาระหน้าที่ และพวกท่านก็มีภาระหน้าที่ด้วยเช่นกัน พวกท่านมิได้ปฏิญาณตนหรือว่า ไม่มีพระเจ้าที่คู่ควรต่อการเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงเอกะ ไม่มีภาคีสำหรับพระองค์ และมิได้ปฏิญาณหรือว่าพวกท่านศรัทธาในความเป็นบ่าวและการเป็นศาสนทูตของมุหัมมัด(ศ) ? สวรรค์-นรก และความตาย มิใช่สัจธรรมหรอกหรือ ? และวันแห่งการตัดสินตอบแทนหรือกิยามะฮฺจะต้องอุบัติขึ้นอย่างแน่นอน และอัลลอฮฺจะชุบชีวิตบรรพชนทุกยุคสมัยในอดีตให้ฟื้นคืนชีพจากสุสาน ?

ประชาชนต่างพากันขานรับเพื่อยืนยันถึงสิ่งดังกล่าวว่า ใช่แล้ว พวกเราขอปฏิญาณและขอยืนยัน”
ท่านศาสดาจึงกล่าวต่อไปว่า “วันแห่งการตัดสินพิพากษากำลังรอคอยอยู่เบื้องหน้า พวกท่านศรัทธาต่อการตอบแทนความดีความชั่วและจะยืนขึ้นต่อหน้าศาสดาของพวกท่านในวันกิยามะฮฺ พึงสังวรเถิดว่านี่เป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายของฉัน ดังนั้น จงพิจารณาเถิดว่า พวกท่านจะปฏิบัติต่อสิ่งหนักที่ทรงคุณค่าทั้งสองที่ฉันได้ละทิ้งไว้ท่ามกลางพวกท่านเช่นไร ?(มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 5 หน้า 181)

สิ่งหนึ่งล้ำค่ากว่าสิ่งหนึ่ง นั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ซึ่งมิติหนึ่งอยู่ภายใต้พระหัตถ์ของพระองค์ และอีกมิติหนึ่งอยู่ในมือของท่านทั้งหลาย ดังนั้น จงยึดมันไว้อย่างมั่นคง อย่าปล่อยให้หลุดมือไปจากพวกท่าน เพราะจะทำให้พวกท่านหลงทางอย่างไกลลิบ และอีกสิ่งหนึ่งที่ล้ำเลอค่าลดหลั่นลงมา นั่นคืออิตเราะฮฺ (ลูกหลาน) และอะฮฺลุลบัยต์ (ครอบครัว) ของฉัน พระผู้อภิบาลได้ทรงแจ้งกับฉันว่า ที่ระลึกทั้งสองของฉันจะไม่มีวันพรากจากกันตราบถึงวันกิยามะฮฺ

“โอ้ ประชาชนทั้งหลาย ! จงอย่าปล่อยของฝากอันทรงคุณค่าทั้งสองให้อยู่เบื้องหลัง ตราบเท่าที่พวกท่านยังคงยึดมั่นต่อทั้งสอง พวกท่านจะไม่มีวันหลงทาง นั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และอะฮฺลุลบัยต์ของฉัน”(เศาะหี๊หฺติรฺมิซีย์ เล่ม 5 หน้า 328 )

และแล้วท่านศาสดา (ศ) ได้เรียกอลีย์ (อ) เข้ามาและได้จับมือของเขาชูขึ้นสู่เบื้องสูง พร้อมกับประกาศเกียรติคุณและฐานันดรอันสูงศักดิ์ของเขาให้สาธารณะชนได้ประจักษ์ หลังจากนั้นท่านได้ถามพวกเขาว่า :-
“โอ้ ประชาชนทั้งหลาย ! ใครคือผู้ที่มีสิทธิคู่ควรเหนือมวลผู้ศรัทธา ? ประชาชนจึงตอบว่า อัลลอฮฺ และเราะสูลของพระองค์เท่านั้นที่ทราบดี ท่านจึงกล่าวว่า “ใครที่ฉันคือเมาลา (ผู้ปกครอง) ของเขา ดังนั้น อลีย์ก็คือเมาลาของเขาด้วย”(กันซุลอุมมาล เล่ม 15 หน้า 123)
“โอ้ อัลลอฮฺ ได้โปรดมอบความรักแก่ผู้ที่รักอลีย์เถิด และโปรดเป็นศัตรูกับศัตรูของอลีย์เถิด”(มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 1 หน้า 118 – 119 – มุสตัดร็อกหากิม เล่ม 3 หน้า 109 – ตารีคอิบนุกะษีรฺ เล่ม 5 หน้า 209 และ 213)
“โอ้ พระผู้อภิบาล ได้โปรดให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ช่วยเหลือเขา และโปรดสร้างความอัปยศแก่ผู้เป็นศัตรูเขาด้วยเถิด” (มัจญ์มะอุซซะวาอิด เล่ม 9 หน้า 104 – 105 – ชะวาฮิดุตตันซีล เล่ม 1 หน้า 193 – มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 1 หน้า 119 – ตารีคอิบนุกะษีรฺ เล่ม 5 หน้า 212)

“โอ้ อัลลอฮฺ ! ได้โปรดให้เขาเป็นบรรทัดฐานแห่งสัจธรรมด้วยเถิด”(หะดีษเฆาะดีรฺจากสายรายงานที่หลากหลายได้ถูกบันทึกในตำราของพี่น้องอะฮฺลิสสุนนะฮฺ โปรดดู “อัลเฆาะดีรฺ” เล่ม 1 หน้า 14 – 72 ซึ่งหะดีษดังกล่าวรายงานโดยเศาะหาบะฮฺชั้นนำของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เช่น อบูบักรฺ, อุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ, อุบัย อิบนุกะอฺบฺ, อุสามะฮฺ อิบนุซัยดฺ, อนัส อิบนุมาลิก, ญาบิรฺ อิบนุอับดิลลาฮฺ อันศอรีย์, ซัยดฺ อิบนุอัรฺก็อม, สะอัดฺ อิบนุอิบาดะฮฺ, ฏ็อลหะฮฺ, ซุบัยรฺ และอิบนุมัสอูด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังปรากฏในติรฺมิซีย์ เล่ม 2 หน้า 297 – หากิม ในมุสตัดร็อก เล่ม 3 หน้า 109 – ฟัครุรฺรอซีย์ ในมะฟาติหุลฆัยบฺ เล่ม 12 หน้า 50 – วาหิดีย์ ในอัสบาบุนนุซูล หน้า 150 – สุยูฏีย์ ในดุรฺรุลมันษูรฺ เล่ม 2 หน้า 298 – ยะอฺกูบีย์ ในตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 93 – อิบนุกะษีรฺ ในอัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ เล่ม 5 – เคาะฏีบบัฆดาดีย์ ในตารีคบัฆดาด เล่ม 7 หน้า 377 – ษะอฺละบีย์ ในตัฟสีรฺษะอฺละบีย์ หน้า 120 – อิบนุหะญัรฺ ในเศาะวาอิก ฟัศลฺ 5 บาบเอาวัล )

หลังจากจบถ้อยคำดังกล่าวแล้ว ท่านศาสดาได้กล่าวกำชับให้ประชาชนแจ้งข่าวให้แก่บรรดาผู้ที่ไม่ได้อยู่ ณ สถานที่นั้นทราบต่อไป
ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ได้รับบัญชาจากพระผู้อภิบาลโดยผ่านการประกาศจากท่านศาสดาให้แบกรับภารกิจในฐานะผู้นำและผู้ปกครองประชาชาติมุสลิมจึงได้แก่อลีย์ (อ) ดังนั้นผู้มีคุณสมบัติคู่ควรอย่างแท้จริงแห่งโลกอิสลาม ทั้งในด้านความรู้และเกียรติคุณในทุก ๆ มิติ จึงได้รับการสถาปนาให้เป็นผู้ปกครองมวลมุสลิม และด้วยการประกาศแต่งตั้งตำแหน่งอิมามะฮฺและคิลาฟะฮฺนี่เองที่ทำให้หลักฐานและข้อพิสูจน์ต่อประชาชาติได้ครบถ้วนสมบูรณ์

ในขณะที่คลื่นมหาชนยังคงเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่นอยู่นั้น วิวรณ์จากพระผู้อภิบาลได้ถูกประทานลงมายังท่านศาสดา (ศ) อีกว่า “วันนี้ ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกท่านสมบูรณ์แล้ว และทำให้ความโปรดปรานของฉันครบครันแก่พวกท่านแล้ว และฉันพึงพระทัยให้อิสลามเป็นศาสนาของพวกท่าน”(สูเราะอัลมาอิดะฮฺ 5 : 3 ะลาลุดดีน สุยูฏีย์ ในดุรฺรุลมันษูรฺ เล่ม 2 หน้า 256 – อิบนุกะษีรฺ ในตัฟสีรฺของเขา เล่ม 2 หน้า 14 – หัมวีนีย์ ในฟะรออิดุสสิมฏ็อยนฺ บาบ 12 – เคาะฏีบ ในตารีคบัฆดาด เล่ม 8 หน้า 290 – ศอหิบอิตกอน เล่ม 2 หน้า 31 – คอรัซมีย์ ในตารีคคอรัซมีย์ ได้บันทึกว่าอายะฮฺดังกล่าวถูกประทานลงมา ณ เฆาะดีรฺคุม)

ยะอฺกูบีย์กล่าวว่านี่คือโองการสุดท้ายที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ณ เฆาะดีรฺคุม (ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 36)
ในขณะที่ท่านศาสดา (ศ) ได้เดินลงมาจากแท่นเทศนานั้น เสียงตักบีรฺ “อัลลอฮุอักบัรฺ” ของประชาชนได้ดังกึกก้องกังวาน และพวกเขาได้กล่าวต้อนรับและทยอยแสดงความยินดีกับอลีย์ (อ) และได้เรียกขานเขาด้วยสมญานามว่า “อมีรุลมุอ์มินีน” โดยเทิดเกียรติเขาให้เป็นเมาลา (หัวหน้าหรือผู้นำ) ของตนและเป็นเมาลาของผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิง

หลังจากนั้น “หัสสาน อิบนุษาบิต” กวีผู้มีชื่อเสียงโด่งดังซึ่งอยู่ ณ สถานที่นั้นด้วย ได้ขออนุญาตท่านศาสดา (ศ) เพื่อขับลำนำบทกวีต่อหน้าฝูงชน
นัยของโองการข้างต้นสำแดงให้ประจักษ์ว่า ในวันนั้นศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าและความโปรดปรานของพระองค์ได้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ด้วยเหตุนี้ ในวันนี้จึงมีปรากฏการณ์สำคัญอุบัติขึ้น ซึ่งคัมภีร์อัลกุรฺอานถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทั้งนี้เนื่องจากอิสลามที่อัลลอฮฺทรงพอพระทัยและให้การยอมรับก็คืออิสลามแห่งวันนี้นั่งเอง กล่าวคือ วันที่ อลีย์ (อ) ได้รับการสถาปนาให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อจากท่านศาสดา (ศ) ทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์และความโปรดปรานของพระองค์ครบถ้วน

ทั้งหะดีษมุตะวาติรฺ ทั้งตำราประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ทั้งของชีอะฮฺและสุนนีย์ต่างตอกย้ำว่าอายะฮฺข้างต้นได้ถูกประทานลงมา ณ แผ่นดินเฆาะดีรฺคุม กล่าวคือวันที่ท่านศาสดา (ศ) ได้รับบัญชาจากพระผู้เป็นเจ้าให้ประกาศแต่งตั้งอลีย์ (อ) เป็นผู้ปกครองหรือผู้นำประชาชาติภายหลังจากท่าน และมุฟัสสิรีนต่างมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าสูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ ซึ่งอายะฮฺดังกล่าวอยู่ในลำดับแรกนั้นเป็นสูเราะฮฺสุดท้ายที่ถูกประทานแก่ศาสนทูตแห่งอิสลาม (ศ) กล่าวคือ อายะฮฺนี้ได้ถูกประทานลงมาในช่วงสุดท้ายแห่งอายุขัยของท่านศาสดาผู้ทรงเกียรติ เพราะภายหลังจากนั้นแล้วไม่มีบัญชาหรือวิวรณ์ใด ๆ จากพระผู้อภิบาลถูกประทานลงมาแก่ท่านอีกเลย





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

ส่วนในกรณีที่ชนบางกลุ่มมีทัศนะว่าอายะฮฺดังกล่าวได้ถูกประทานลงมาตั้งแต่ในสมัยแห่งบิอฺษะฮฺ (การสถาปนาศาสดา) แล้ว กล่าวคือในวันนั้น ศาสนาของอัลลอฮฺได้สมบูรณ์แล้ว และนิอฺมัตของพระองค์ก็ได้ครบถ้วนมาก่อนแล้ว ถือเป็นทัศนะและความเข้าใจที่ไม่มีหลักฐานและข้อพิสูจน์รองรับแต่อย่างใด และผลสรุปของพวกเขาก็มิได้สอดคล้องกับปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์และหลักตรรกะแต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องจากวันแห่งบิอฺษะฮฺ คือวันแห่งการเริ่มต้นการประทานนิอฺมัตของพระผู้เป็นเจ้า มิใช่วันที่ศาสนาถูกทำให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ยิ่งกว่านั้น วันทั้งสองยังมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง ในขณะที่ประเด็นที่สมควรจะพิจารณาก็คือ พระผู้อภิบาลได้ทรงตรัสว่า ในวันนี้ ฉันได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์แล้ว และทำให้นิอฺมัตครบถ้วน บัดนี้ เมื่อเจ้าได้ปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้นแล้ว ฉันจึงพึงพอพระทัยที่จะเลือกสรรอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับเจ้า ดังนั้น ทัศนะและความเข้าใจดังกล่าวจึงไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ และไม่มีหะดีษให้การรับรองแต่อย่างใด

เหตุการณ์แห่งวันเฆาะดีรฺ และภารกิจที่ท่านศาสดาได้รับมอบหมายในวันนั้นได้ถูกบันทึกในตำราประวัติศาสตร์อิสลาม จะมีก็เพียงกลุ่มบุคคลที่เป็นทาสโมหาคติและมีโลกทัศน์ที่คับแคบเท่านั้นที่เจตนาละเลยและปฏิเสธมัน ไม่มีนักประวัติศาสตร์คนใดที่จะทำเป็นไขสือเพื่อปกปิดความจริงทางประวัติศาสตร์นี้ได้ มุสลิมที่มีชีวิตในวันเฆาะดีรฺในศตวรรษที่ใกล้เคียงกับท่านศาสดา พวกเขาต่างถือว่าวันเฆาะดีรฺเป็นวันรื่นเริงและเป็นวันที่จะต้องเฉลิมฉลองเพื่อเป็นเกียรติ และได้รับการยอมรับในหมู่ประชาชาติอิสลามมาก่อน มีพยานหลักฐานมากมายที่บ่งบอกว่ามวลมุสลิมได้เข้าร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวันอันสำคัญนี้

อิบนุค็อลกาน นักประวัติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงได้บันทึกไว้ว่า :-
“18 ซุลฮิจญะฮฺ คือวันอีดเฆาะดีร” (วะฟียะตุลอะอฺยาน เล่ม 1 หน้า 60)
มัสอูดีย์ ได้เรียกค่ำคืนที่ 18 ซุลหิจญะฮฺ ว่า “ค่ำคืนอีดเฆาะดีรฺ”(อัตตัมบีฮฺ วัลอิชรอฟ หน้า 32)
อบูรัยหาน บีรูนีย์ นักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงชาวอิหร่านแห่งศตวรรษที่ 5 ถือว่า “วันเฆาะดีรฺ คือหนึ่งในวันอีดที่มุสลิมทั้งมวลจะจัดเฉลิมฉลองกันในวันนั้น”(ตัรฺญุมะฮฺอาษารุลบากียะฮฺ หน้า 334)

อิบนุฏ็อลหะฮฺ ชาฟิอีย์ ได้บันทึกในหนังสือ “มะฏอลิบุสสุอาล” ว่า :-
“วันเฆาะดีรฺคุม คือวันอีดและวันที่รำลึกทางประวัติศาสตร์ เป็นวันที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้ประกาศแต่งตั้งอลีย์ (อ) ให้เป็นอิมามและผู้นำมุสลิมภายหลังจากท่านอย่างชัดเจน”(อัลเฆาะดีรฺ เล่ม 1 หน้า 267)

ต่อไปนี้ขอให้เรามาพิจารณาคำ “เมาลา” ที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺได้วจนะเอาไว้ว่า “บุคคลที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้น อลีย์ ก็คือเมาลาของเขาด้วย” ว่ามีนัยอย่างไร ? จะหมายถึงผู้ปกครองผู้ทรงสิทธิเหนือชีวิตของผู้ศรัทธา ซึ่งก็คืออำนาจการปกครอง (วิลายะฮฺ) ที่บุคคลหนึ่งมีเหนือมนุษย์ทั้งมวลอย่างสิ้นเชิง หรือว่ามีความหมายแค่เพียงคำว่าเพื่อน หรือผู้ให้การช่วยเหลือเท่านั้น ?

เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาตัวบทคัมภีร์อัลกุรฺอาน เราจะประจักษ์ว่าเจตนารมณ์ของเมาลา ณ ที่นี้ หมายถึงความหมายแรก เมื่อพระองค์ทรงตรัสกับศาสนทูตแห่งอิสลามว่า “ศาสดาเป็นผู้ทรงสิทธิเหนือชีวิตผู้ศรัทธาทุกคน” (สูเราะฮฺอะหฺซาบ 33 : 6)

นอกจากอายะฮฺดังกล่าว โดยปกติ คำว่า “เมาลา” ในคัมภีร์อัลกุรฺอาน มักจะถูกใช้ในความหมายว่า “เอาลา” และ “วลีย์” ในต่างกรรมต่างวาระกัน (สูเราะฮฺหะดีด 57 : 15 – สูเราะฮฺหัจญ์ 22 : 13)

ดังนั้น ผู้ทรงสิทธิเหนือชีวิตมนุษย์ทุกคน ย่อมจะทรงสิทธิเหนือทรัพย์สินของพวกเขาด้วย และผู้ที่มีฐานภาพและคุณสมบัติเช่นนี้ย่อมคู่ควรต่ออำนาจการปกครอง “วิลายะฮฺ” ต่อมนุษย์อย่างสมบูรณ์แบบด้วย วิลายะฮฺ ที่ทุกคนไม่มีสิทธิที่จะฝ่าฝืนคำสั่งของเขาในทุกกรณี

ตำแหน่งที่ได้รับบัญชาจากพระผู้อภิบาลให้เราะสูลของพระองค์ทำการสถาปนา ดังนั้น โดยสารัตถะแล้ว พระองค์คือผู้ทรงประทานพลังอำนาจให้เขาเป็นผู้มีสิทธิเหนือชีวิตและทรัพย์สินของผู้ศรัทธา และให้เขาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทุกสิ่ง มีหลักฐานและข้อพิสูจน์มากมายที่สำแดงให้ประจักษ์ว่าหะดีษเฆาะดีรฺให้ความหมายคำว่า “เมาลา” ว่าหมายถึง “เอาลา” ตามอายะฮฺข้างต้น และดังที่ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงสิทธิอย่างแท้จริงในการสาธยายคัมภีร์อัลกุรฺอาน ในทำนองเดียวกันท่านอมีรุลมุมินีน อลีย์ (อ) ย่อมเป็นผู้ทรงสิทธิต่อฐานภาพนั้นด้วยเช่นกัน เพียงแต่ตำแหน่งศาสดาสุดท้ายได้สิ้นสุดที่ท่านศาสดามุหัมมัด (ศ) เท่านั้น แต่นอกเหนือจากฐานะภาพดังกล่าวแล้ว การสืบทอดภารกิจตำแห่งวิละยะฮฺ ก็คือการสืบทอดภารกิจต่อจากท่านศาสดาสุดท้ายนั่นเอง

ประการแรก สิ่งที่บ่งบอกว่านัยของหะดีษดังกล่าวให้ความหมายว่า “ผู้ทรงสิทธิ” (เอาลา ตะศ็อรฺรุฟ) ก็คือก่อนที่ท่านศาสดาจะประกาศถึงอำนาจวิลายะฮฺของอลีย์ (อ) ท่านได้ถามประชาชนที่อยู่ในที่นั้นว่า “ฉันมิใช่เป็นผู้ทรงสิทธิเหนือชีวิตของพวกท่านหรอกหรือ ?”

ณ ที่นี้ ท่านศาสดาได้ประกาศอำนาจวิลายะฮฺที่ท่านมีเหนือประชาชาติมุสลิม และเมื่อพวกเขาได้ขานรับอำนาจดังกล่าวแล้ว ในทันทีทันใดนั้นท่านศาสดา (ศ) จึงประกาศต่อพวกเขาว่า “ผู้ที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้น อลีย์ ก็คือเมาลาของเขาด้วย” ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าความเป็นเมาลาของอลีย์ (อ) ในหะดีษบทนี้ หมายถึง ผู้ทรงสิทธิในชีวิตของผู้ศรัทธา ประดุจดังที่ท่านศาสดามีต่อผู้ศรัทธานั่นเอง เพราะมาตรว่าเมาลามิได้มีนัยดังกล่าวแล้ว ย่อมไม่มีเหตุผลอันใดที่ท่านศาสดาจะหยิบยกความเป็นผู้ทรงสิทธิเหนือชีวิตผู้ศรัทธาขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนให้การยอมรับ แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรว่าประโยคดังกล่าวมีความสอดคล้องกับนัยยะของคำว่าเพื่อนหรือสหายโดยทั่ว ๆ ไป หรือสหายในอิสลาม ?

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้กล่าวกับประชาชนในอารัมภบทแห่งสุนทรพจน์ของท่านว่า “พวกท่านปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าที่คู่ควรต่อการเคารพภักดี นอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงเอกะ และไม่มีภาคีสำหรับพระองค์มิใช่หรือ ? และพวกท่านศรัทธาต่อความเป็นบ่าวและความเป็นศาสนทูตของมุหัมมัด (ศ) และศรัทธาแห่งสัจธรรมแห่งสวรรค์และนรกมิใช่หรือ ?

คำถามดังกล่าวมิได้มีเจตนารมณ์เพื่อให้ประชาชนได้ตระเตรียมความพร้อมที่จะยอมรับต่อหลักศรัทธาลำดับต่อไปเช่นเดียวกับหลักศรัทธาก่อนหน้านั้น ?
หรือว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) มีเจตนารมณ์อื่นนอกเหนือจากการเสริมสร้างความเข้าใจให้ประชาชนยอมรับตำแหน่งคิลาฟะฮฺและวิลายะฮฺของอลีย์ (อ) ให้อยู่ในระดับเดียวกับหลักศรัทธาขั้นพื้นฐานทั้งสาม ซึ่งท่านจะประกาศต่อหน้าพวกเขาในขณะนั้น ?

มาตรว่า เจตนารมณ์ของท่านศาสดา (ศ) ในประโยคดังกล่าวหมายถึงเพื่อนหรือผู้ให้การช่วยเหลือแล้วไซร้ ความเป็นเพื่อนกับอลีย์ (อ) ก็มิได้มีข้อแตกต่างกับความเป็นเพื่อนกับผู้ศรัทธาอื่น ๆ ซึ่งถือเป็นหลักคำสอนขั้นพื้นฐานของอิสลาม และความเป็นพี่น้องในอิสลาม ก็ได้ถูกสาธยายมาก่อนนับตั้งแต่รุ่งอรุณของอิสลามแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องนำประเด็นดังกล่าวมาประกาศต่อหน้าฝูงชนจำนวนมหาศาลเช่นนั้น พร้อมกับอารัมภบทเช่นนั้น และหลังจากประชาชนได้ตอบรับหลักศรัทธาลำดับที่สามแล้ว ท่านจึงได้เริ่มสาธยายถึงประเด็นดังกล่าวนี้

นอกจากนั้นก่อนที่ท่านศาสดาจะเอ่ยนามอลีย์ (อ) ต่อหน้าฝูงชนเรือนแสนนั้น ท่านได้กล่าวถึงวาระสุดท้ายแห่งอายุขัยของท่าน และแจ้งให้พวกเขาทราบล่วงหน้าว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ท่านจะต้องอำลาจากโลกอันไม่จีรังยั่งยืนนี้ไปอย่างแน่นอน ในความเป็นจริงแล้ว การแจ้งข่าวดังกล่าวก็เพื่อที่จะเสริมสร้างหลักประกันให้สังคมอิสลามพ้นจากสภาพกำพร้าผู้นำภายหลังจากท่าน โดยการแต่งตั้งอลีย์ให้สืบสานเจตนารมณ์ต่อจากท่าน หากมิเช่นนั้นแล้ว การมอบความรักและความเป็นเพื่อนต่ออลีย์ ภายหลังจากท่านศาสดา หาได้มีสาระสำคัญและอิทธิพลต่อประชาคมอิสลามแต่อย่างใดไม่ มีเหตุผลกลใดที่ท่านศาสดา (ศ) จะต้องกล่าวสุนทรพจน์อย่างยาวนานท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผา และอากาศที่ร้อนระอุต่อหน้าฝูงชนนับแสนเพียงเพื่อที่จะประกาศว่าอลีย์ (อ) คือสหายหรือเพื่อนของท่าน ? กุรฺอานยังไม่เคยตรัสมาก่อนหรือว่า แท้จริง ผู้ศรัทธาคือมิตรสนิทซึ่งกันและกัน ? (สูเราะฮฺเตาบะฮฺ 9 : 72)

พระองค์ไม่เคยตรัสหรือว่า แท้จริงผู้ศรัทธาคือพี่น้องกัน ?(สูเราะฮฺหุญุรอต 49 : 15)

ด้วยเหตุนี้ เมื่อพิจารณาจากสภาพแวดล้อมและความเป็นจริงดังกล่าว การประกาศแต่งตั้งอลีย์ (อ) ให้อยู่ในฐานะเพื่อนในสภาวการณ์และเงื่อนไขที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ซึ่งท่านศาสดาได้กล่าวอรัมภบทและสาธยายอย่างละเอียดต่อหน้าฝูงชนเช่นนั้น จึงเป็นสิ่งที่ไม่กินกับสติปัญญาอย่างไม่ต้องสงสัย

ข้อพิสูจน์ประการต่อมาก็คือ ภายหลังสุนทรพจน์ของท่านศาสดา (ศ) ได้จบลง บรรดาเศาะหาบะฮฺและสหายของท่านศาสดา (ศ) มากมายต่างทยอยกล่าวแสดงความยินดีกับอลีย์ (อ) จนกระทั่งเข้าเวลานมาซมัฆริบ ซึ่งมีทั้งอบูบักรฺ อุมัร อุษมาน ฏ็อลหะฮฺ และซุบัยรฺ ฯลฯ ที่ได้กล่าวแสดงความยินดีหลังจากที่ อลีย์ (อ) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺว่า :- “โอ้ บุตรของอบูฏอลิบ ! ขอแสดงความยินดีที่ท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้ บัดนี้ ท่านได้กลายเป็นเมาลาของผู้ศรัทธาทั้งหญิงและชายแล้ว” (มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 4 หน้า 281 – เศาะวาอิกอิบนุหะญัรฺ หน้า 26 – ตัฟสีรฺเฏาะบะรีย์ เล่ม 3 หน้า 428 – สิรฺรุลอาละมีน เฆาะซาลีย์ หน้า 9 – ตัฟสีรฺฟัครุรฺรอซีย์ เล่ม 3 หน้า 636 – ฟะรออิดุสสิมฎ็อยน์ หัมวีนีย์ บาบ 13 – อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ อิบนุกะษีรฺ ชาฟิอีย์ เล่ม 5 หน้า 209 – ฟุศูลุลมุฮิมมะฮฺ อิบนุเศาะบาฆ มาลิกีย์ หน้า 25 – ริยาฎุนนัฎเราะฮฺ เล่ม 2 หน้า 169)

ในวันนั้น อลีย์ (อ) คู่ควรจะได้รับการแสดงความยินดีในฐานะอะไร ถ้ามิใช่ในฐานะผู้นำหรือผู้ปกครอง ? อลีย์ (อ) มิได้ถูกรู้จักในฐานะมุสลิมคนหนึ่งที่ทุกคนจะต้องมอบความรักและความเป็นเพื่อนกับเขามาก่อนหรืออย่างไร ?

หลักฐานและข้อพิสูจน์อีกประการหนึ่งก็คือกรณีที่ “หัสสาน อิบนุษาบิต” นักกวีผู้มีชื่อเสียงของท่านศาสดาได้ใช้คำว่า “เมาลา” ในความหมายของอิมามะฮฺ หรือ ผู้นำเมื่อเขาได้กล่าวบทกวีต่อหน้าฝูงชนในวันนั้นว่า :- “ศาสดา (ศ) ได้กล่าวกับอลีย์ (อ) ท่ามกลางสาธารณชนว่า “จงลุกขึ้นมาเถิด เพื่อฉันจะสถาปนาเจ้าให้เป็นอิมาม และผู้ชี้นำประชาชาตินี้ภายหลังจากฉัน”

นักอักษรศาสตร์และนักกวีผู้ทรงคุณวุฒิในทางภาษาอรับในศตวรรษต่อ ๆ มาต่างให้ความเห็นว่าสุนทรพจน์ของท่านศาสดา (ศ) มิได้มีนัยอื่นใดนอกจาก “อิมาม” หรือผู้นำนั่นเอง

ณ ที่นี้ มาตรว่าบุคคลมีโลกทัศน์ที่เปิดกว้างและละวางจากโมหะคติ (ตะอัศศุบ) แล้วย้อนกลับมาพิจารณาสุนทรพจน์ของท่านศาสดา (ศ) ควบคู่กับสภาพแวดล้อมและหลักฐานต่าง ๆ อย่างใคร่ครวญถึง คำว่าเมาลาที่ใช้กับอลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) แล้ว เขาจะประจักษ์ว่าไม่อาจจะตีความคำว่าเมาลาให้เป็นอื่นไปได้ นอกจากผู้ทรงสิทธิในอำนาจการปกครองเท่านั้น

ส่วนกรณีที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) มิได้ใช้คำว่า “อมีรฺ” กับอลีย์ (อ) ณ แผ่นดินเฆาะดีรฺ โดยท่านมิได้กล่าวว่า :- “ภายหลังจากฉันอลีย์ (อ) คืออมีรฺ (ผู้บังคับบัญชา) ของพวกท่าน” นั้น เนื่องจากโดยทั่วไปท่าน (ศ) จะใช้คำ “อมีรฺ” ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับกองทัพและกิจการหัจญ์ ในขณะที่คำว่า “วิลายะฮฺ” หรือผู้ปกครอง จะใช้ในความหมายของการบริหารกิจการของประชาชาติหรือประชาชนโดยทั่วไป และท่านยังใช้คำดังกล่าวในความหมายวลีย์ของมวลมุสลิมกับตัวท่านเองอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ในคัมภีร์อัลกุรฺอาน อัลลอฮฺก็มิได้ตรัสว่าศาสนทูตของพระองค์ (ศ) อยู่ในฐานะ “อมีรฺ” ซึ่งท่านศาสดา (ศ) ก็มิได้ใช้คำดังกล่าวในหะดีษของท่านแต่อย่างใด แต่อัลกุรฺอานได้ตรัสอย่างชัดเจนว่า :- “แท้จริง วลีย์ (ผู้ปกครอง) ของสูเจ้า เฉพาะอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาและดำรงนมาซและบริจาคทานในขณะก้มรุกูอฺ “(สูเราะมาอิดะฮฺ 5 : 56 ซึ่งมุฟัสสิรีนทั้งสุนนีย์และชีอะฮฺต่างมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าอายะฮฺนี้ได้กล่าวถึงฐานภาพและเกียรติคุณของอลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ)”)

โดยสารัตถะแล้ว สัมพันธภาพระหว่างศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ผู้อยู่ในฐานะผู้ปกครองมวลมุสลิม กับประชาชาติมุสลิมนั้นอยู่ในฐานะบิดาที่มีต่อบุตร ซึ่งท่านจะเป็นผู้รับผิดชอบบริหารกิจการและพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประชาชาติอิสลาม หาใช่ความสัมพันธ์ในฐานะของผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาแต่อย่างใด

ในทำนองเดียวกัน ท่านศาสดา (ศ) ใช้คำว่า “เคาะลีฟะฮฺ” กับอลีย์ (อ) เนื่องจากการอิฏออะฮฺต่อเคาะลีฟะฮฺภายหลังจากผู้แต่งตั้งได้จากไปแล้ว ถือเป็นวาญิบ ส่วนการอิฏออะฮฺต่ออลีย์ (อ) ภายหลังจากท่านได้แต่งตั้งเขาให้เป็นเคาะลีฟะฮฺแล้ว ถือเป็นสิ่งวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคนทั้งในขณะที่ท่านศาสดา (ศ) ยังมีชีวิตและภายหลังจากการอสัญกรรมของท่าน ด้วยเหตุนี้ ท่าน (ศ) จึงเรียกเขาในฐานะผู้ปกครองของมวลมุสลิมที่จะเป็นผู้แบกรับภารกิจเป็นตัวแทนของท่าน (ศ) ทั้งในขณะที่ท่านมีชีวิตและหลังจากท่านจากไปด้วย และโดยสารัตถะของหะดีษเฆาะดีรฺ อลีย์ (อ) คือตัวแทนของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ที่อยู่ในฐานะผู้ปกครองและเป็นผู้ทรงสิทธิเหนือมุสลิมทั้งมวลเฉกเช่นเดียวกับท่านศาสดา (ศ) นับตั้งแต่วันที่ท่านได้รับการสถาปนาในวันนั้น โดยเจ้าของ “สุนันติรฺมิซีย์” ถือว่าหะดีษของท่านเราะสูลุลลฮฺ (ศ) บทนี้มีคุณค่าน่าเชื่อถือ เมื่อท่านได้วจนะว่า :- “อลีย์มาจากฉัน และฉันมาจากอลีย์ และไม่มีใครมีสิทธิปฏิบัติภารกิจแทนฉัน นอกจากอลีย์เท่านั้น”(สุนันติรฺมิซีย์ เล่ม 5 หน้า 300 – สุนันอิบนุมาญะฮฺ เล่ม 1 หน้า 44 – มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 4 หน้า 164 – 165)

”ฮากิม” ได้บันทึกใน “มุสตัดร็อก” เช่นกันว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้วจนะว่า :- “บุคคลใดอิฏออะฮฺต่อฉัน เขาได้อิฏออะฮฺต่ออัลลอฮฺ และใครก็ตามที่ฝ่าฝืนคำสั่งของฉัน เขาได้ฝ่าฝืนพระบัญชาของอัลลอฮฺ และบุคคลใดอิฏออะฮฺต่ออลีย์ แท้จริง เขาได้อิฏออะฮฺต่อฉัน และใครก็ตามที่ฝ่าฝืนคำสั่งของอลีย์ เขาได้ฝ่าฝืนคำสั่งของฉันด้วย”(มุสตัดร็อกหากิม เล่ม 3 หน้า 131)

ด้วยเหตุนี้ เมื่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ประกาศต่อหน้ามุสลิมว่าอลีย์มีฐานภาพเป็นผู้ปกครองมุสลิมเช่นเดียวกับท่าน และการอิฏออะฮฺต่อเขาก็คือการอิฏออะฮฺต่อท่าน (ศ) นั้น โดยสารัตถะแล้ว ก็คือการประกาศแต่งตั้งอลีย์ (อ) ให้เป็นผู้นำและผู้ปกครองประชาชาติมุสลิมแทนท่าน (ศ) และกำชับให้พวกเขาอิฏออะฮฺต่ออลีย์ (อ) นั่นเอง

นักปราชญ์ผู้ทรงคุณวุฒิของชีอะฮฺท่านหนึ่งกล่าวว่า :- “ข้าพเจ้าขอกล่าวด้วยความบริสุทธิ์ใจว่า มาตรว่าในวันเฆาะดีรฺ ท่านศาสดา (ศ) ได้ประกาศสุนทรพจน์ของท่านต่อหน้าฝูงชนว่า :- ใครก็ตามที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้น อบูบักรฺก็เป็นเมาลาของเขาด้วย โอ้ อัลลอฮฺ ! ได้โปรดเป็นมิตรกับผู้เป็นมิตรกับอบูบักรฺ และเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูกับอบูบักรฺด้วยเถิด ! โดยความสัตย์จริง ข้าพเจ้าคนหนึ่งละที่เชื่อและมีความมั่นใจว่า ท่านศาสดา (ศ) ได้ประกาศแต่งตั้งอบูบักรฺให้เป็นเคาะลีฟะฮฺของท่าน และไม่คิดว่าจะมีมุสลิมคนใดตั้งข้อสงสัยในการแต่งตั้งท่านอบูบักรฺให้เป็นตัวแทนของท่าน (ศ) อย่างแน่นอน และมาตรว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ประกาศต่อไปอีกว่า อบูบักรฺเป็นผู้ทรงสิทธิเหนือชีวิตผู้ศรัทธาทุกคน และการเชื่อฟังปฏิบัติตามคัมภีร์อัลกุรฺอานจะประกันความปลอดภัยให้มนุษย์รอดพ้นจากการหลงทาง ทั้งนี้เพื่อกำชับให้พวกเขาดำเนินรอยตามท่านอบูบักรฺแล้วไซร้ คงจะไม่ทิ้งข้อเคลือบแคลงสงสัยใด ๆ หลงเหลืออย่างแน่นอน

ณ ที่นี้ ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า สาเหตุที่มุสลิมบางส่วนยังคงเคลือบแคลงสงสัยในหะดีษเฆาะดีรฺที่ท่านศาสดา (ศ) ได้ประกาศแต่งตั้งอลีย์ (อ) ให้เป็นตัวแทนของท่านนั้น มิได้เกิดจากความรังเกียจเดียดฉันท์ โมหะคติ หรือความเป็นศัตรูกับเขาแต่อย่างใด แต่ทว่าความไม่มั่นใจดังกล่าวเนื่องจากพวกเขาได้เติบโตมาในสภาพแวดล้อมทางสังคมและบรรยากาศที่ถูกหล่อหลอมและถูกปลูกฝังให้มีความเชื่อว่าท่านศาสดา (ศ) มิได้เคยประกาศแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นตัวแทนของท่านอย่างเป็นทางการมาก่อน ด้วยเหตุนี้เองจึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับพวกเขาที่จะใช้ดุลยพินิจจำแนกในระหว่างความเชื่อดั้งเดิมกับตัวบทหะดีษที่บ่งบอกถึงการแต่งตั้งอลีย์ (อ) ให้เป็นตัวแทนของท่าน (ศ)”(กิตาบอมีรุลมุอ์มินีน (อ))

อย่างไรก็ตาม มีข้ออนุมานอีกประการหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ การที่เศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) บางคนได้ไปรวมตัวกันเพื่อทำการเลือกตั้งเคาะลีฟะฮฺภายหลังจากท่าน (ศ) ได้ถึงอสัญกรรมแล้วนั้น พวกเขาอาจจะไม่มีเจตนาที่จะฝ่าฝืนคำสั่งของท่านศาสดา (ศ) ก็ได้ แต่ทว่าเนื่องจากความเข้าใจที่ไขว้เขวและสับสนทำให้พวกเขาตั้งข้อสมมุติฐานขึ้นเองว่าตำแหน่งผู้ปกครองหรือผู้นำประชาชาติอิสลามนั้นเป็นกิจการในทางโลก ดังนั้น พวกเขาย่อมมีสิทธิที่จะไม่แยแสต่อบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากท่านศาสดา (ศ) และหันไปเลือกบุคคลอื่นที่พวกเขาคิดว่าน่าจะคู่ควรต่อการบริหารเพื่อผลประโยชน์ของประชาติโดยรวมได้

กลุ่มบุคคลดังกล่าวสร้างจินตนาการขึ้นมาว่าการที่ท่านศาสดา (ศ) ได้แต่งตั้งอลีย์ (อ) นั้นเป็นประเด็นทางสังคมการเมือง ซึ่งบ่อยครั้งที่ท่าน (ศ) จะปรึกษาหารือกับเศาะหาบะฮฺของท่าน และด้วยเหตุนี้เองที่พวกเขาไม่สามารถสัมผัสถึงเจตนารมณ์ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ในทุกมิติได้อย่างลึกซึ้ง และไม่สามารถที่จะเข้าใจและล่วงรู้ถึงผลลัพธ์บั้นปลายในการตัดสินใจใช้วิธีการเลือกตั้งของพวกเขา





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

4 อลีย์ (อ) กับการคัดค้านพฤติกรรมของเศาะหาบะฮฺ มีบางกลุ่มตั้งคำถามว่าเหตุใดอลีย์ (อ) จึงไม่หยิบยกประเด็นเฆาะดีรฺคุมที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้แต่งตั้งเขาให้เป็นตัวแทนภายหลังจากท่านถึงแก่อสัญกรรม และไม่ยอมกล่าวถึงเหตุการณ์ที่สะกีฟะฮฺ เพื่อเตือนชาวมุฮาญิรีนกับชาวอันศอร ว่าฉันคือตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากท่านศาสนทูต (ศ) และไม่มีใครที่จะกล้าปฏิเสธตำแหน่งตัวแทนของท่านศาสดา และอ้างความเป็นเคาะลีฟะฮฺ ? ประหนึ่งว่าประชาชนจำนวนนับแสนคนได้หลงลืมการเป็นสักขีพยานในเหตุการณ์เฆาะดีรฺคุมไปหมดสิ้นกระนั้น ?

เราขอตอบคำถามดังกล่าวนี้ว่า หาใช่เช่นนั้นไม่ อิมามอลีย์ (อ) ได้ใช้ความเพียรพยายามเท่าที่โอกาสจะอำนวยเพื่อที่จะพิสูจน์ถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตำแหน่งตัวแทนของท่าน และยังได้คัดค้านการละเมิดครั้งยิ่งใหญ่ในสะกีฟะฮฺ และยังได้เรียกร้องประชาชนให้หวนรำลึกอดีตที่เพิ่งผ่านไปสด ๆ ร้อน ๆโดยนักประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า :- เมื่อครั้งที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) บุตรีของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) พร้อมกับอลีย์ (อ) ได้ร้องขอความช่วยเหลือจากชาวอันศอรฺนั้น พวกเขาได้ตอบกับเธอว่า :- โอ้ ผู้เป็นบุตรีแห่งเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) พวกเราได้ให้สัตยาบันกับอบูบักรฺไปแล้ว มาตรว่าอลีย์ (อ) ได้แสดงความจำนงกับเราก่อนหน้านั้น เราจะไม่มีวันล้มเลิกสัตยาบันที่เคยให้กับเขาอย่างแน่นอน ซึ่งอลีย์ (อ) ได้กล่าวตอบพวกเขาว่า :- “พวกท่านคิดว่าเป็นการถูกต้องคู่ควรที่จะให้ฉันลุกขึ้นมาเพื่อทวงสิทธิและทะเลาะในปัญหาคิลาฟะฮฺ ในขณะที่พิธีฝังร่างของท่านศาสดา (ศ) ยังไม่ได้รับการปฏิบัติกระนั้นหรือ ?” (อัลอิมามะฮฺ วัสสิยาสะฮฺ อิบนุกุตัยบะฮฺ เล่ม 1 หน้า 12 – 13 – ชัรฺหอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 2 หน้า 5)

ในวันที่ชูรอจำนวน 6 คน ได้รวมตัวกันเพื่อที่จะลงคะแนนเสียงเลือกเคาะลีฟะฮิขึ้นมานั้น ในขณะที่อับดุรฺเราะหฺมาน บินอาวฟฺ แสดงเจตน์จำนงจะเสนอชื่ออุษมาน บินอัฟฟาน ขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺนั้น อิมามอลีย์ (อ) ได้กล่าวขึ้นว่า :- “ฉันจะกล่าวความจริงในสิ่งที่ไม่มีใครในหมู่พวกท่านกล้าปฏิเสธมันได้เลย ขอสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้า ! มีใครในหมู่พวกท่านที่ท่านศาสดา (ศ) เคยกล่าวประโยคต่อไปนี้กับเขาเสมือนที่ท่านได้กล่าวกับฉันบ้างว่า “ใครก็ตามที่ฉันคือเมาลาของเขา ดังนั้น อลีย์ก็คือเมาลาของเขาด้วย โอ้ ข้าแต่พระผู้อภิบาล ! ได้โปรดเป็นมิตรกับผู้ที่เป็นมิตรกับอลีย์ และโปรดให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ช่วยเหลืออลีย์ ขอให้ผู้ที่อยู่ ณ สถานที่แห่งนี้นำคำพูดนี้ไปบอกแก่ผู้ที่มิได้อยู่ที่นี้ด้วย”

หลังจากอลีย์ (อ) กล่าวจบ พวกเขาต่างจำนนต่อคำพูดของเขาและกล่าวว่า ไม่มีใครที่ได้รับเกียรติและฐานภาพดังกล่าวเท่ากับท่าน”( มะนากิบคอรัซมีย์ หะนะฟีย์ หน้า 217)
การเป็นสักขีพยานยืนยันของเศาะหาบะฮฺจำนวน 30 คนในมัสญิดญามิอฺ “เราะหฺบะฮฺ” เกี่ยวกับเหตุการณ์เฆาะดีรฺ ถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ไม่มีใครกล้าปฏิเสธ เมื่อนักประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า :- วันหนึ่ง อลีย์ (อ) ได้กล่าวสุนทรพจน์ ณ มัสญิดญามิอฺเราะหฺบะฮฺ ต่อหน้าฝูงชนที่เป็นมุสลิมจำนวนมากว่า :- “โอ้ มุสลิมทั้งหลาย ! ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ! บุคคลใดในหมู่พวกท่านที่อยู่ในวันแห่งเฆาะดีรฺคุม และได้ยินสุนทรพจน์ที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้แต่งตั้งฉันให้เป็นตัวแทนของท่าน และได้เป็นสักขีพยานที่ประชาชนได้พากันให้สัตยาบันกับฉัน ได้โปรดยืนขึ้นและให้การยืนยันว่า (สิ่งที่ฉันกล่าวมาทั้งหมด) เป็นความจริง”

ในท่ามกลางฝูงชนที่อยู่ ณ ที่นั้น ได้มีคนจำนวน 30 คน ลุกขึ้นกล่าวยืนยันถึงเหตุการณ์เฆาะดีรฺด้วยเสียงอันดัง (ริยาฎุนนัฎเราะฮฺ เล่ม 2 หน้า 162 - ตารีคอิบนุกะษีรฺ เล่ม 5 หน้า 212 - มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 1 หน้า 118 - 119 )

อีกรายงานหนึ่งได้กล่าวว่า :- ประชาชนที่อยู่ ณ ที่นั้นจำนวนมากที่ได้ลุกขึ้นให้การยืนยัน”(มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 4 หน้า 370 – ตารีคอิบนุกะษีรฺ เล่ม 5 หน้า 212)

เหตุการณ์การชุมนุมของประชาชนในมัสญิดเราะหฺบะฮฺ และการให้การเป็นพยานยืนยันของเศาะหาบะฮฺจำนวนหนึ่งต่อกรณีที่ท่านอลีย์ (อ) ได้รับการแต่งตั้ง ณ วันแห่งเฆาะดีรฺคุมเกิดขึ้นในปีฮิจญ์เราะฮฺศักราชที่ 35 ซึ่งขณะนั้นอยู่ในยุคสมัยที่อลีย์ (อ) ได้เป็นเคาะลีฟะฮฺ ในขณะที่เหตุการณ์เฆาะดีรฺคุมได้เกิดขึ้นในปีฮิจญ์เราะศักราชที่ 10 หลังจากพิธีหัจญะตุลวิดาอฺ ซึ่งระยะเวลาของเหตุการณ์วันแห่งเราะหฺบะฮฺ กับวันแห่งเฆาะดีรฺ ห่างกันถึง 25 ปี (อัลมุรอญะอาต หน้า 189)

เมื่อพิจารณาช่วงเวลา 1 ใน 4 ของศตวรรษ ที่เศาะหาบะฮฺส่วนมากได้ย่างเข้าสู่วัยชราและได้อำลาจากโลกนี้ไปบางส่วน ตลอดจนการศึกสงครามในสมัยเคาะลีฟะฮฺก่อนหน้านั้นที่ต้องสูญเสียเศาะหาบะฮฺไปอีกจำนวนหนึ่ง และผู้ที่มิได้อยู่ในเมืองกูฟะฮฺอีกมากมาย โดยพวกเขาได้แยกย้ายไปตามเมืองต่าง ๆ จึงย่อมถือว่านี่คือพยานยืนยันทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าและดีที่สุดสำหรับเหตุการณ์แห่งเฆาะดีรคุม
อะหฺมัด อิบนุหัมบัล บันทึกไว้ว่า :- “ในท่ามกลางผู้คนเหล่านั้น มีเพียง 3 คนเท่านั้นที่ไม่ยอมลุกให้การยืนยันทั้ง ๆ ที่พวกเขาเคยอยู่ในเหตุการณ์แห่งวันเฆาะดีรฺคุม ซึ่งอลีย์ (อ) ได้สาปแช่งพวกเขาทั้งสามคนและพวกเขาก็ประสบกับความพินาศในที่สุด”(มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 1 หน้า 119 – มะอาริฟ อิบนุกุตัยบะฮฺ หน้า 194)
อบูฏุฟัยลฺ กล่าวว่า :- “ในขณะที่ฉันเดินออกมาจากมัสญิดเราะหฺบะฮฺ นั้น หัวใจของฉันเฝ้าถามด้วยความฉงนว่าด้วยสาเหตุอันใดหรือที่ผู้คนจำนวนมากมายจากประชาชาตินี้จึงไม่ยอมปฏิบัติตามหะดีษดังกล่าว ? ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงไปพบกับซัยด์ อิบนุอัรฺก็อม และกล่าวกับเขาว่า :- “ฉันได้ยินอลีย์ (อ) กล่าวในทำนองนี้” ซัยด์จึงกล่าวกับฉันว่า :- “นี่คือความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ฉันคนหนึ่งที่ได้ยินท่านศาสดา (ศ) กล่าวในทำนองนั้นเช่นกัน” ( สุนันอิบนุมาญะฮฺ เล่ม 4 หน้า 370)

ไม่เพียงแต่อลีย์ (อ) จะหยิบยกหะดีษเฆาะดีรฺขึ้นมาเตือนสติผู้คนดังที่ได้กล่าวมาแล้วเท่านั้น แต่ท่านยังได้แสดงหลักฐานและข้อพิสูจน์ในตำแหน่งอิมามะฮฺของท่านทั้งในสงครามญะมัลและสงครามศิฟฟีนในเมืองกูฟะฮฺซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตลอดจนในมัสญิดนะบะวีย์ (ศ) ที่ประกอบไปด้วยเศาะหาบะฮฺคนสำคัญ ๆ จากชาวมุฮาญิรีนและอันศอรฺ ถึง 200 คน (ฟะรออิดุสสิมฎ็อยน์ หัมวีนีย์ ชาฟิอีย์ บาบ 58)
นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอื่นมากมายที่ทำให้ท่านอลีย์ (อ) ไม่แสดงการคัดค้านอย่างรุนแรงภายหลังจากเหตุการณ์สะกีฟะฮฺ โดยท่านเลือกที่จะอดกลั้นดังที่ท่านได้กล่าวเปรียบเปรยไว้ว่า “ประดุจดั่งหนามที่ทิ่มตำในดวงตา และก้างที่ขวางในลำคอ” (นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คุฎบะฮฺชักชะกียะฮฺ)

เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ยิ่งขึ้น เราลองมาพิจารณาจดหมายที่ท่านสัยยิดชัรฺฟุดฺดีนได้ตอบท่านชัยค์สะลีม บะชะรีย์ ในประเด็นดังกล่าวที่ว่า :- “ประชาชนทุกคนต่างทราบดีว่าอิมามและสหายรักของท่านทั้งจากบนีฮาชิมและคนอื่น ๆ มิได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ที่มีการให้สัตยาบันต่ออบูบักรฺที่สะกีฟะฮฺ พวกเขากำลังสาละวนอยู่กับภารกิจที่สำคัญและเป็นสิ่งวาญิบ นั่นคือการจัดพิธีศพของท่านศาสดา (ศ) โดยมิได้ใส่ใจและคำนึงต่อสิ่งอื่นใดทั้งหมด

ยังไม่ทันที่พิธีฝังศพของท่านศาสดา (ศ) จะสำเร็จลุล่วง ปรากฏว่าพวกสะกีฟะฮฺได้บรรลุเป้าหมายของพวกเขา โดยการให้สัตยาบันต่ออบูบักรฺ และมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าพวกเขาจะเผชิญหน้ากับใครก็ตามที่บังอาจเคลื่อนไหวเพื่อจะล้มล้างรัฐบาลของพวกเขา

จงพิจารณาเถิดว่าในขณะนั้น อลีย์ (อ) กำลังปฏิบัติภารกิจอะไรอยู่ ? และหลังจากประชาชนให้บัยอะฮฺต่ออบูบักรฺแล้ว พวกเขาได้เปิดโอกาสให้ท่านสามารถพิสูจน์ความเป็นเคาะลีฟะฮฺกับประชาชนในตอนไหนบ้าง ? ในขณะที่ด้านหนึ่ง แกนนำคนสำคัญต่างพยายามใช้กลอุบายและนโยบายทางการเมืองที่พลิกแพลงและแยบยล และอีกด้านหนึ่ง พฤติกรรมแห่งความเป็นอันธพาลและนิยมความรุนแรงโดยไม่ใส่ใจในตรรกะใด ๆ ของแกนนำบางคน ซึ่งไม่ว่าจะเกิดขึ้นในยุคสมัยใด ท่านคิดว่าผู้คนเพียงไม่กี่คนจะสามารถเผชิญหน้ากับระบบการปกครองแบบเผด็จการกระนั้นหรือ ? และสามารถล้มล้างระบบการปกครองที่ชั่วร้ายได้หรือ ? หรือว่า........?

ช่างห่างไกลกับความจริง ! ดังนั้น ขอให้ท่านเปรียบเทียบเหตุการณ์ในอดีตกับปัจจุบัน เพราะประชาชนในสมัยนั้นกับในสมัยนี้ก็มิได้แตกต่างกัน และยุคสมัยนั้นก็มิได้แตกต่างกับยุคสมัยนี้ (ประชาชนก็คือประชาชน) (ยุคสมัยก็คือยุคสมัย) นอกจากนั้น การพิสูจน์สิทธิอันชอบธรรมของอลีย์ (อ) ในช่วงเวลานั้น มิได้มีผลลัพธ์อันใด นอกจากฟิตนะฮฺ ความชั่วร้าย และการทำลายสิทธิของท่านเอง ทั้งนี้เนื่องจากการพิทักษ์คุณค่าและสารัตถะอิสลาม เอกภาพแห่งประชาชาติมุสลิม คือเจตนารมณ์และเป้าหมายที่สูงส่งของท่าน ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงถือเป็นความเจ็บปวดรวดร้าว ทุกข์ระทม และหวานอมขมกลืนสำหรับท่าน เพราะท่านจะต้องแบกรับภารกิจอันยิ่งหนักอึ้งไว้บนบ่าในเวลาเดียวกันถึง 2 อย่างด้วยกัน ประการที่หนึ่ง ตำแหน่งผู้นำอิสลามที่ท่านได้รับการแต่งตั้งโดยถูกทำนองคลองธรรมกำลังกู่ก้องอยู่ในโสตประสาทและคอยบีบคั้นหัวใจของท่านให้คุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา ประการที่สอง การฟิตนะฮฺ ความชุลมุนวุ่นวาย ความรุนแรง และการฝ่าฝืนของประชาชนได้คอยสำทับและย้ำเตือนท่านอยู่ตลอดเวลาว่าคาบสมุทรอาหรับจะถึงคราวพินาศ นอกจากนั้น ภายหลังจากท่านศาสดา (ศ) ได้จากไปแล้ว พวกมุนาฟิกีนในนครมะดีนะฮฺได้ข่มขู่คุกคามและคอยฉวยโอกาสที่จะล้มล้างรัฐอิสลาม เพราะพวกนี้เริ่มมีความหวังและขวัญกำลังใจขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง กล่าวโดยสรุป ประชาชาติมุสลิมในยุคสมัยนั้นเปรียบประดุจดั่งฝูงแกะที่เผชิญมรสุมร้ายในท่ามกลางค่ำคืนอันมืดมนอนธการในเหมันต์ฤดูภายใต้วงล้อมของฝูงหมาป่าที่ดุร้ายและกระหายเลือด

มุสัยละมะฮฺ กัซซาบ, ฏ็อลหะฮฺ อิบนุคุวัยลิด, สัจญาหฺ บินตุหาริษ และทหารเลวทั้งหลายคือกลุ่มคนที่จ้องโอกาสที่จะคอยขุดรากถอนโคนอิสลามและทำลายล้างมุสลิม

นอกจากนั้น มหาอำนาจอิหร่านและโรม และมหาอำนาจทั้งหลายที่มีความอาฆาตพยาบาทมุหัมมัด (ศ) และเศาะหาบะฮฺของท่าน และคอยโอกาสที่จะชำระแค้นรัฐอิสลามเท่าที่โอกาสจะอำนวย เพราะพวกเขาเล็งเห็นแล้วว่าการอสัญกรรมของผู้นำรัฐอิสลาม ถือเป็นวิกฤติแห่งโอกาสเหมาะที่สุดที่จะทำลายล้างอิสลามให้สิ้นซาก

ภายใต้เงื่อนไขและสภาวการณ์ดังกล่าว อลีย์ (อ) จึงต้องตกอยู่ในท่ามกลางทางสองแพร่ง แน่นอนว่าวีรบุรุษเฉกเช่นท่านพร้อมเสมอที่จะยอมเสียสละสิทธิแห่งคิลาฟะฮฺเพื่ออิสลาม และเพื่อรักษาชีวิตของมุสลิม ในขณะเดียวกัน (ผลลัพธ์) ในการเสียสละสิทธิของตนนั้น ท่านต้องการจะแสดงบทบาทและท่าทีที่เหมาะสมในการเผชิญหน้ากับกลุ่มชนที่ได้ล่วงละเมิดสิทธิแห่งอิสลามด้วยเช่นกัน แต่จะต้องไม่ก่อให้เกิดฟิตนะฮฺและทำลายเอกภาพในระหว่างมุสลิม และเปิดช่องทางให้ศัตรูเข้ามาย่ำยีอิสลาม ดังนั้น ท่านจึงกักตัวอยู่ในบ้านโดยไม่ยอมให้สัตยาบันต่อพวกเขา จนในที่สุด พวกนั้นได้ใช้กำลังบีบบังคับลากท่านออกจากบ้านไปยังมัสญิด เพราะถ้าหากท่านเป็นฝ่ายออกไปให้บัยอะฮฺด้วยตนเอง หุจญะฮฺและความชอบธรรมแห่งการเป็นเคาะลิฟะฮฺของท่านก็จะไม่หลงเหลืออีกต่อไป และจะไม่มีบุรฺฮาน (ข้อพิสูจน์) สำหรับชีอะฮฺของท่านด้วย ซึ่งท่านได้ยึดมั่นกับวิถีดังกล่าวจนสามารถพิทักษ์อิสลามเอาไว้ได้ และยังไม่ทำให้ความชอบธรรมแห่งตำแหน่งคิลาฟะฮฺ (ศูร็อตชัรฺอีย์คิลาฟะฮฺ) ซึ่งเป็นบทบัญญัติแห่งอิสลามต้องสูญสลายไปด้วย และเนื่องจากท่านทราบดีว่าภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว การพิทักษ์อิสลามให้คงอยู่ต่อไป จะต้องใช้ความอดกลั้นและหลีกเลี่ยงจากการเผชิญหน้าและทำสงครามกัน และใช้วิธีประนีประนอมกับผู้ปกครอง ท่านจึงเป็นฝ่ายยอมเสียสละเพื่อที่จะพิทักษ์ชะรีอะฮฺและดีนให้ธำรงความบริสุทธิ์ต่อไป และนอกจากตำแหน่งที่ท่านได้รับการแต่งตั้งแล้ว เพื่ออัลลอฮฺและเพื่อการยืนหยัดบนพื้นฐานของวาญิบชัรฺอีย์และอักลีย์ (สิ่งจำเป็นทางศาสนบัญญัติและสามัญสำนึก) กล่าวคือในกรณีที่ภารกิจสองอย่างสวนทางกัน จำเป็นจะต้องใช้วิจารณญาณเลือกสิ่งที่สำคัญกว่า (อะฮัม) ก่อนสิ่งที่มีความสำคัญน้อยกว่า (มุฮิม) (เพราะการยอมเสียสละตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺเพื่อประคับประคองมิให้ประชาชาติมุสลิมต้องห้ำหั่นและเป็นศัตรูต่อกัน และทำให้อิสลามต้องเผชิญกับวิกฤติที่ไม่อาจจะเยียวยารักษาได้นั้น ย่อมมีความสำคัญกว่าอย่างแน่นอน = ผู้แปล)

และนี่คือเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมในขณะนั้นซึ่งไม่เปิดโอกาสให้ท่านเผชิญหน้ากับผู้ปกครองด้วยคมดาบหรือยืนหยัดด้วยหลักฐานและข้อพิสูจน์ และทำลายความโมฆะของประชาคมอิสลามที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่ได้ และนี่คือแบบฉบับที่อลีย์ (อ) ทายาท ปวงปราชญ์ และชีอะฮฺของท่านได้ธำรงไว้นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พวกเขาจะคำนึงถึงวิทยปัญญา เงื่อนไขแห่งเวลาและสถานที่ ด้วยการยึดมั่นในคำสั่งเสียของท่านศาสดา (ศ) ต่อสิทธิแห่งคิลาฟะฮฺ และพยายามเผยแผ่หะดีษของท่านนบีย์ (ศ) ดังที่ปวงปราชญ์และผู้แสวงหาสัจธรรมต่างตระหนักในเรื่องนี้เป็นอย่างดี”( ตัรฺญุมะฮฺ อัลมุรอญะอาต หน้า 429)





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

5.พิจารณาวจนะท่านศาสดา (ศ) ที่กล่าวถึงฐานภาพของอลีย์ (อ) ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่าภายหลังจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้รับการสถาปนาให้เป็นศาสนทูตของพระองค์แล้ว ท่านยังมิได้รับอนุญาตให้ทำการเรียกร้องเชิญชวนประชาชนเข้ามาสู่วิถีแห่งสัจธรรมด้วยวิธีเปิดเผยในทันที แต่ภายหลังจากการบิอฺษะฮฺได้ผ่านพ้นไป 3 ปีแล้ว อัลลอฮฺได้ทรงบัญชาให้ท่าน (ศ) ทำการประกาศสาสน์ของพระองค์ต่อสาธารณชนอย่างเปิดเผย ดังนั้น นอกจากหะดีษเฆาะดีรฺคุมที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ประกาศแต่งตั้งอลีย์ (อ) ให้เป็นตัวแทนภายหลังจากท่านต่อหน้าฝูงชนจำนวนมากแล้ว ในปีที่ 3 แห่งบิอฺษะฮฺ ท่าน (ศ) จึงได้รับบัญชาจากพระองค์ให้เริ่มเชิญชวนเครือญาติผู้ใกล้ชิดของท่านให้เข้ามาสู่อิสลาม และท่านได้เลือกอลีย์ (อ) ให้เป็นตัวแทนของท่าน (สูเราะฮฺชุอะรออ์ 1 : 214)

ในช่วงเวลานั้นเองที่ท่าน (ศ) ได้บัญชาให้อลีย์ (อ) เชื้อเชิญญาติสนิทของท่านซึ่งเป็นชนชั้นนำของกุรัยช์จำนวน 40 คนให้เป็นอาคันตุกะของท่าน ซึ่งพวกเขาได้ตอบคำเชิญของท่านศาสดา (ศ) ในครั้งแรก ภายหลังจากเสร็จสิ้นจากสำรับอาหารแล้ว อบูละฮับ ผู้เป็นลุงของท่าน ซึ่งไม่สามารถจะระงับความยโสโอหังและความเคียดแค้นชิงชังที่มีอยู่ในหัวใจของเขา ได้พยายามพูดจาก่อกวนจนกระทั่งอาคันตุกะคนอื่น ๆ ต่างพากันแยกย้ายกันกลับ

ท่านนบีย์ (ศ) ได้ใช้ความพยายามครั้งใหม่บัญชาให้อลีย์ (อ) เชื้อเชิญพวกเขาอีกครั้งหนึ่ง และภายหลังจากท่านได้เลี้ยงอาหารและให้การต้อนรับพวกเขาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านจึงได้เริ่มป้อนอาหารสมองและจิตวิญญาณแก่พวกเขา โดยท่านได้ยืนกล่าวถ้อยคำสรรเสริญและขอบคุณต่อพระผู้อภิบาล หลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า :- “ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่คู่ควรต่อการเคารพภักดี นอกจากอัลลอฮฺ และฉันคือศาสนทูตที่พระองค์ทรงประทานมาเพื่อพวกท่านและมนุษยชาติทั้งมวล ฉันได้รับมอบหมายให้นำข่าวดีและความจำเริญแห่งโลกนี้และโลกหน้ามาแจ้งแก่ประชาชาติ พระผู้อภิบาลทรงบัญชาให้ฉันเชิญชวนพวกท่านสู่สัจธรรมอิสลาม และให้ฉันประกาศกับพวกท่านว่า ผู้ที่ตอบรับคำเรียกร้องและอาสาที่จะให้การสนับสนุนภารกิจแห่งการประกาศสาสน์ของฉัน เขาคือทายาทผู้รับมรดกและตัวแทนของฉัน”

ถ้อยคำดังกล่าวได้สร้างความโกรธแค้นแก่พวกเขาเป็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อให้สาสน์แห่งคำเรียกร้องเชิญชวนสู่สัจธรรมนั้นไร้เสียงขานรับและประสบกับความล้มเหลว พวกเขาได้ชวนกันออกจากบ้านของท่าน ในทันใดนั้นเอง อลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ได้กล่าวขึ้นว่า :- “โอ้ มุหัมมัด ! ฉันจะเป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ผู้ทรงเอกะ และความเป็นศาสนทูตของท่าน และขอปฏิเสธเจว็ดทั้งหลายอย่างสิ้นเชิง”

ท่านศาสดา (ศ) ได้บัญชาให้อลีย์ (อ) นั่งลง และได้ประกาศประโยคเดิมเป็นครั้งที่สองและสาม แต่ทว่า สาสน์แห่งสัจธรรมของท่านหาได้สัมผัสสู่หัวใจของผู้ที่อยู่ ณ ที่นั้น นอกจาก อลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) เพียงคนเดียวที่ให้การตอบรับคำเรียกร้องเชิญชวนของท่าน ซึ่งในขณะนั้นกำลังจะย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม เพราะในขณะที่อาคันตุกะคนอื่น ๆ ยังคงนิ่งเงียบ เขาได้ลุกขึ้นตอบรับสาสน์ของท่านศาสดา (ศ) อย่างองอาจกล้าหาญถึงสามครั้ง ในที่สุด ท่านศาสดา (ศ) จึงได้ประกาศกับพวกเขาว่า :-
“อลีย์ (อ) คือน้องชาย ทายาท และตัวแทนของฉันในท่ามกลางพวกท่าน ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงอิฏออะฮฺต่อเขา และจงฟังคำพูดของเขา” ( มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 1 หน้า 111 และ 159 – กามิลอิบนุอะษีรฺ เล่ม 2 หน้า 22 – ตัฟสีรฺเฏาะบะรีย์ เล่ม 2 หน้า 216 – ตารีคอบุลฟิดาอ์ เล่ม 1 หน้า 119 – กิฟายะตุฏฏอลิบ กันญีย์ ชาฟิอีย์ หน้า 89 – เคาะศออิศนะสาอีย์ หน้า 18 – สีเราะฮฺหะละบีย์ เล่ม 1 หน้า 304 – ชัรฺหฺอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 3 หน้า 255 – ญัมอุลญะวามิอฺ สุยูฏีย์ เล่ม 6 หน้า 408 – ชัรฺหุชชิฟา เคาะฟาญีย์ เล่ม 3 หน้า 37)

นี่คือเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าเครือญาติที่เป็นอาคันตุกะของท่านศาสดา (ศ) ได้เริ่มสำแดงความเป็นปรปักษ์ด้วยการใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะลดเครดิตและความน่าเชื่อถือในคำพูดของท่าน และในที่สุด พวกเขาได้พากันออกจากบ้านของท่านโดยไม่มีการกล่าวคำล่ำลาและกล่าวแสดงความขอบคุณต่อเจ้าภาพแต่อย่างใด

นี่คือเหตุการณ์หนึ่งที่ถือเป็นประจักษ์พยานที่ชัดเจนที่ได้เกิดขึ้นบนหน้าประวัติศาสตร์ซึ่งไม่มีนักประวัติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงคนใดจะกล้าปฏิเสธถึงความจริงนี้ได้ หรือแม้กระทั่งพวกที่มีอคติหรือมีทัศนคติที่คับแคบก็ไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือลบล้างร่องรอยทางประวัติศาสตร์นี้ได้

ในสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงและเต็มไปด้วยอันตรายเช่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านศาสดา (ศ) จะต้องมีสหายร่วมน้ำสาบานที่มีความองอาจกล้าหาญ มีความจงรักภักดีชนิดที่สามารถตายแทนกันได้ตลอดเวลา มีความรู้ วิทยปัญญา ตกผลึกทางความคิดและปรีชาสามารถ และหลีกห่างจากอารมณ์ใฝ่ต่ำ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวจะเป็นรองก็เพียงท่านศาสดา (ศ) เท่านั้น เพื่อคอยให้การสนับสนุนภารกิจของท่านให้สามารถดำเนินไปสู่เป้าหมายและเจตนารมณ์อันยิ่งใหญ่

ท่านศาสดา (ศ) ตระหนักดีว่าไม่มีใครในหมู่วงศาคณาญาติของท่านที่ถึงแม้ว่าพวกเขาจะตอบรับเสียงเรียกร้องเชิญชวนของท่านและยอมจำนนต่ออิสลามมากมายเพียงไรก็ตาม แต่จะไม่มีบุคคลใดที่พร้อมจะให้การสนับสนุนและร่วมเป็นร่วมตายกับท่านเพื่อเผชิญหน้าและต่อกรกับกลุ่มพลังต่าง ๆ ที่เป็นพวกบูชาเจว็ดชาวอรับและพวกอะฮฺลุลกิตาบ (ชาวคัมภีร์) อย่างแน่นอน เพราะการให้สัตยาบันและมอบพันธสัญญาเช่นนี้เท่ากับการประกาศท้าทายกับความตายที่ประชาคมอาหรับในยุคนั้นจะหยิบยื่นให้อย่างแน่นอน เพราะพวกนั้นไม่อาจจะอดกลั้นต่อเสียงเรียกร้องเชิญชวนให้เผ่าพันธุ์ของตนเปลี่ยนความเชื่อถือที่โง่งมงายด้วยการละทิ้งการเคารพบูชารูปเจว็ดไปสู่การสวามิภักดิ์ต่อพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวอย่างแน่นอน เพราะการเรียกร้องเชิญชวนผู้คนไปสู่แสงสว่างแห่งสัจธรรมย่อมจะสร้างศัตรูและความเคียดแค้นชิงชังแก่ผู้ที่สูญเสียผลประโยชน์ในทางที่ไม่ชอบ พวกเขาจะต้องเข้าขัดขวางและต่อต้านอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งจะสร้างความพินาศแก่ผู้ที่ร่วมพันธสัญญากับท่านศาสดา (ศ) ทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และญาติมิตรในที่สุด

ในสภาวการณ์ที่ล่อแหลมและสุ่มเสี่ยงต่อภยันตรายเช่นนั้น บุคคลที่พร้อมจะใช้ชีวิตเป็นเดิมพันเพื่อพิทักษ์ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) จะต้องมีคุณสมบัติและบุคลิกภาพพิเศษเหนือกว่าสามัญชนทั่วไป ซึ่งไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าในท่ามกลางวงศาคณาญาติของท่านศาสดา (ศ) นั้น ไม่มีใครที่จะมีคุณสมบัติพิเศษและเพียบพร้อมนอกจาก อลีย์ (อ) เท่านั้น ซึ่งภายหลังจากนั้น เขาก็ได้พิสูจน์ให้ประจักษ์แล้วว่าเป็นบุคคลที่เหมาะสมคู่ควรที่จะเป็นสหายผู้ร่วมน้ำสาบานกับท่านศาสดา (ศ) สามารถเผชิญหน้ากับเหตุการณ์อันท้าทายและขมขื่นด้วยความองอาจกล้าหาญและมีความบริสุทธิ์ใจที่ไม่อาจจะหามนุษย์คนใดมาเทียบเทียมได้

เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นหลักฐานและข้อพิสูจน์ถึงความสำคัญของสาสน์ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และยังถือเป็นคำตอบต่อคำถามที่ว่าด้วยเหตุผลกลใดท่าน (ศ) จึงต้องประกาศเป็นพันธสัญญาว่าผู้ที่ให้การสนับสนุนภารกิจของท่าน เขาคือทายาทและตัวแทน และผู้นำที่จะสืบสานภารกิจต่อจากท่านในอนาคต

เมื่อพิจารณาจากโองการแห่งคัมภีร์อัลกุรฺอานที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า “เขา (ศาสนทูต) มิได้พูดตามอารมณ์ สิ่ง (ที่เขากล่าว) มิใช่อื่นใด นอกจากเป็นวิวรณ์ที่ถูกประทานลงมา (จากพระผู้อภิบาล) (สูเราะฮฺนัจญ์มุ 53 : 3 - 4)

ในช่วงเวลาที่ท่านศาสดา (ศ) เพิ่งจะเริ่มเผยแผ่สาสน์ของพระผู้เป็นเจ้า ท่านได้ประกาศแต่งตั้งอะอลีย์ (อ) ให้เป็นตัวแทนและผู้นำประชาชาสืบต่อจากท่าน
หะดีษที่สาธยายถึงเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นเครื่องพิสูจน์อย่างชัดเจนว่าการแต่งตั้งตัวแทนหรือผู้นำนั้น เป็นพระบัญชาโดยตรงจากอัลลอฮฺ ผ่านศาสนทูตของพระองค์ (ศ) เพราะตำแหน่งผู้ชี้นำประชาชาติมีความสำคัญและล่อแหลมต่ออิสลามซึ่งไม่อาจจะปล่อยให้ประชาชนใช้ดุลยพินิจและสิทธิส่วนตนกำหนดตัวบุคคลตามที่พวกเขาปรารถนาได้ ประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญจนถึงขนาดที่การแต่งตั้งศาสดา (นบีย์) และผู้นำ (อิมาม) ได้ประกาศต่อที่ประชุมของผู้เป็นวงศาคณาญาติผู้ใกล้ชิดของท่านในวันนั้น

อิบนุฮิชาม นักประวัติศาสตร์นามกระเดื่องได้บันทึกว่า “อลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) คือบุรุษคนแรกในท่ามกลางบุรุษทั้งหลายที่ศรัทธาต่อท่านศาสดา (ศ) นมาซร่วมกับท่าน และมีความเชื่อมั่นในวิวรณ์ที่ถูกประทานลงมาจากพระผู้เป็นเจ้าในขณะที่อยู่ในวัย 10 ขวบเท่านั้น” (สีเราะฮฺอิบนุฮิชาม หน้า 245 เล่ม 1)

อนัส อิบนุมาลิก กล่าวว่า “ท่านศาสดา (ศ) ได้รับการสถาปนาให้เป็นศาสดาในวันจันทร์ และอลีย์ (อ) ได้เข้ารับอิสลามในวังอังคาร” (มุสตัดร็อกหากิม เล่ม 3 หน้า 112)
เจ้าของตำราสุนัน อิบนุมาญะฮฺ และมุสตัดร็อก หากิม ได้รายงานหะดีษว่า ท่านอลีย์ (อ) กล่าวว่า
“ฉันคือบ่าวของอัลลอฮฺ และเป็นน้องชายของศาสนทูตของพระองค์ (ศ) ฉันคือ “ศิดดีกอักบัรฺ” ผู้ที่กล้ากล่าวอ้างฉายานามนี้มิใช่อื่นใด นอกจากคนโกหก ฉันได้นมาซก่อนประชาชนทั้งหมดเป็นเวลา 7 ปี”(มุสตัดร็อกหากิม เล่ม 3 หน้า 112 - สุนันอิบนุมาญะฮฺ เล่ม 1 หน้า 44 หะดีษที่ 120)

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้เพียรพยายามในต่างกรรมต่างวาระเพื่อสาธยายให้ประชาชาติของท่านตระหนักว่าตำแหน่งผู้นำประชาชาติที่จะสืบสานเจตนารมณ์ต่อจากท่านนั้นเป็นพระบัญชาจากอัลลอฮฺ มิใช่เกิดจากการตัดสินโดยอำเภอใจของท่านแต่อย่างใดทั้งสิ้น

เฏาะบะรีย์ ได้บันทึกในตำราประวัติศาสตร์ของเขาว่า “อัคนัส” หัวหน้าเผ่าหนึ่งได้ยื่นข้อเสนอต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ว่าเขาพร้อมที่จะให้สัตยาบันและเชื่อฟังปฏิบัติตามท่าน โดยมีเงื่อนไขว่าท่าน (ศ) จะต้องแต่งตั้งเขาให้เป็นตัวแทนและผู้นำภายหลังจากท่าน (ศ) ซึ่งท่านศาสดา (ศ) ได้ตอบเขาไปว่า “อัลลอฮฺคือผู้ทรงสิทธิในการแต่งตั้งผู้นำ พระองค์จะทรงเลือกสรรบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเท่านั้น”

ทำให้หัวหน้าเผ่าผู้นี้สิ้นหวัง และได้ส่งสาสน์ไปยังท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) มีใจความว่า เผ่าพันธุ์ทั้งหลายไม่อาจจะทนเห็นฉันต้องประสบกับอุปสรรคและความยากลำบาก โดยที่ตำแหน่งหัวหน้าและผู้นำในอนาคตต้องตกเป็นของคนอื่น” (ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 2 หน้า 172)

ด้วยเหตุนี้ การจำนนว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนให้มีฐานันดรเหนือกว่าผู้นำที่อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงบัญชาให้ศาสดาของพระองค์เป็นผู้สถาปนาและแต่งตั้งเขาถือเป็นสิ่งถูกต้องและบังควรกระนั้นหรือ ? และเป็นสิ่งที่คู่ควรกระนั้นหรือที่ผู้มีฐานภาพและเกียรติคุณสูงส่งจะตกอยู่ภายใต้การชี้นำ การปกครอง และต้องจงรักภักดีและยอมปฏิบัติตามผู้ที่มีฐานภาพและเกียรติคุณที่ด้อยกว่า ? ในขณะที่คัมภีร์อัลกุรฺอานได้กล่าวว่า “ผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงไม่มีสิทธิที่จะเลือกกิจการของพวกเขา (ตามอำเภอใจ) เมื่ออัลลอฮฺ และเราะสูลของพระองค์ได้บัญชามาแล้ว และผู้ใดละเมิด (บัญญัติของ) อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ แน่นอน เขาได้หลงผิดอย่างชัดแจ้งที่สุด”(สูเราะฮฺอะหฺซาบ 33 : 34)

ดังนั้น เมื่ออัลลอฮฺได้ทรงเลือกสรรบุคคลหนึ่งเพื่อให้ทำหน้าที่ชี้นำประชาชาติแล้ว ถึงแม้ว่ามุสลิมส่วนใหญ่จะไม่เปิดโอกาสให้เขาได้ทำหน้าที่ปกครองก็ตาม เขาก็ยังคงเป็นเคาะลีฟะฮฺของพระองค์ เฉกเช่นที่เมื่ออัลลอฮฺทรงเลือกสรรผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ขึ้นเป็นศาสดาแล้ว ถึงแม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะไม่ ศรัทธาเชื่อฟังปฏิบัติตามเขาก็ตาม โดยสารัตถะแล้วเขาก็ยังคงเป็นศาสดาของพระองค์อยู่นั่นเอง

“หะดีษมันซิละฮฺ” ถือเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ประกาศให้ประชาชาติอิสลามตระหนักถึงฐานภาพและเกียรติคุณอันสูงส่งในฐานะผู้นำและผู้ปกครอง (วิลายะฮฺ) ของอลีย์ (อ) ดังลำดับเหตุการณ์ต่อไปนี้

วันหนึ่ง ได้มีผู้นำข่าวมาแจ้งกับท่านศาสดา (ศ) ว่า กองทัพอันมหึมาของมหาอำนาจโรมซึ่งพรั่งพร้อมไปด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ได้กรีฑาทัพเพื่อทำสงครามกับชาวนครมะดีนะฮฺด้วยความฮึกเหิมว่าจะสามารถพิชิตชัยชนะเหนือกองทัพมุสลิมอย่างราบคาบแน่นอน เมื่อท่านศาสดา (ศ) ได้ตรวจสอบข่าวอย่างแน่ชัดแล้ว ท่านได้ระดมพลและอาสาสมัครมุสลิมเพื่อออกไปเผชิญหน้ากับข้าศึก

ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้รับรายงานว่าพวกมุนาฟิกีนในนครมะดีนะฮได้เตรียมการเพื่อสร้างความระส่ำระสายขึ้นในนครมะดีนะฮฺด้วยการฉกฉวยโอกาสในขณะที่ท่านศาสดา (ศ) ไม่อยู่ในนครมะดีนะฮฺ ก่อจลาจล สร้างความวุ่นว่าย และลอบสังหารมุสลิม







แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จึงได้แต่งตั้งอลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ให้ทำหน้าที่ปกครองและบริหารกิจการภายในนครมะดีนะฮฺแทนท่าน และกำชับให้เขาใช้ความอดกลั้นจนกว่าท่านจะเดินทางกลับ เมื่อพวกมุนาฟิกีนรู้ว่าท่านศาสดา (ศ) ได้ล่วงรู้ถึงแผนการร้ายและการคิดก่อกบฏของพวกเขา จึงได้ใช้แผนสองเปิดฉากปล่อยข่าวลือที่ปราศจากมูลความจริงเพื่อที่จะทำลายฐานภาพของอลีย์ (อ) ว่าจากกรณีที่ท่านศาสดา (ศ) ไม่อนุญาตให้เขาได้มีโอกาสเข้าร่วมสงครามครั้งยิ่งใหญ่เคียงข้างท่านนั้น คือสัญญาณที่บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าท่าน (ศ) มิได้ให้ความสำคัญและมีความรักต่ออลีย์ (อ) อย่างแท้จริงแต่อย่างใด

ข่าวลือดังกล่าวได้บั่นทอนขวัญกำลังใจ และสร้างความเศร้าหมองให้อลีย์ (อ) ยิ่งนัก ท่านอมีรุลมุอ์มินีน (อ) จึงได้ตัดสินใจไปพบท่านศาสดา (ศ) ที่นอกนครมะดีนะฮฺ ด้วยความกระวนกระวาย และได้บอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ท่าน (ศ) ทราบ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) จึงได้กล่าวประโยคประวัติศาสตร์ที่เป็นการเชิดชูฐานภาพของอลีย์ (อ) ว่า “เจ้าไม่พึงใจหรือที่ฐานภาพของเจ้ากับฉัน เฉกเช่นฐานภาพของฮารูนกับมูสา เพียงแต่จะไม่มีศาสดาภายหลังจากฉันเท่านั้น” (เศาะหี๊หฺบุคอรีย์ เล่ม 3 หน้า 58 – เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 2 หน้า 323 – สุนันอิบนุมาญะฮฺ เล่ม 1 หน้า28 – มุสตัดร็อกหากิม เล่ม 3 หน้า 190 – มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล หน้า 331 – เศาะวาอิก หน้า 30 – กันซุลอุมมาล เล่ม 6 หน้า 152 – ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หน้า 240 – เคาะศออิศ นะสาอีย์ หน้า 7 – เฏาะบะกอต อิบนุสะอัด เล่ม 3 หน้า 24)

นอกจากนี้ นักปราชญ์อะฮฺลิสสุนนะฮฺมากมายที่ได้บันทึกในตำราของพวกเขาว่าท่านศาสดา (ศ) ยังได้กล่าวในตอนท้ายของหะดีษนี้ว่า “เป็นสิ่งไม่ถูกต้องที่ฉันจะจาก (ประชาชาติ) ไป นอกจากเจ้าจะต้องเป็นเคาะลีฟะฮฺและตัวแทนของฉัน” (มุสตัดร็อกหากิม เล่ม 3 หน้า 63 – เคาะศออิส นะสาอีย์ หน้า 63 – ฟะรออิดุสสมฏ็อยน์ เล่ม 1 หน้า 328 – ตัลคีศมุสตัดร็อก ซะฮะบีย์ เล่ม 3 หน้า 132 – มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 1 หน้า 331 – มะนากิบคอรัซมีย์ หน้า 72 – กิฟายะตุฏฏอลิบ ฆันญีย์ ชาฟิอีย์ หน้า 116 – ตารีคอิบนุอะสากิรฺ เล่ม 1 หน้า 203 – อินสาบุลอัชรอฟ บิลาซะรีย์ เล่ม 2 หน้า 106 – ตารีคอิบนุกะษีรฺ เล่ม 7 หน้า 338 – อัลอิศอบะฮฺ อัสกิลานีย์ เล่ม 2 หน้า 509)

สะอัด อิบนุอบีวักกอศ ซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของอลีย์ (อ) ยังได้กล่าวถึงฐานภาพและเกียรติคุณอันสูงส่งของเขาว่า “เมื่อครั้งที่มุอาวิยะฮฺต้องการให้ชาวมักกะฮฺมอบสัตยาบันต่อยะซีดนั้น เขาได้จัดชุมนุมบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านศาสดา (ศ) ที่ดารุลนัดวะฮฺ แต่ก่อนที่จะเข้าสู่ประเด็นสำคัญ เขาได้อารัมภบทด้วยการเริ่มด่าทอและประณามอลีย์ (อ) อย่างสาดเสียเทเสีย และคาดหวังว่าสะอัดคงจะร่วมผสมโรงกับเขาด้วย แต่การณ์กลับตาลปัตร เมื่อสะอัดได้เตือนเขาว่า “ฐานภาพอันรุ่งโรจน์ของอลีย์ (อ) 3 ประการ ซึ่งคราใดก็ตามที่ฉันได้รำลึกถึงมัน ความหวังอันเรืองรองจากก้นบึ้งแห่งหัวใจของฉันจะเปล่งประกายขึ้นมาทันทีว่าฐานภาพนั้นน่าจะเป็นของฉันบ้าง นั่นคือ
1. วันหนึ่ง ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้กล่าวกับอลีย์ (อ) ว่า “ฐานภาพของเจ้ากับฉัน ก็คือฐานภาพของฮารูนกับมูสา เพียงแต่จะไม่มีศาสดาภายหลังจากฉันเท่านั้น”

2. ในสมรภูมิคัยบัรฺ ท่าน (ศ) ได้กล่าวว่า “ในวันพรุ่งนี้ ฉันจะมอบธงชัยให้แก่บุคคลซึ่งมอบความรักต่ออัลลออฺและเราะสูลลอฮฺของพระองค์ และอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ก็รักเขาเช่นกัน และเขาจะเป็นผู้พิชิตชัยในสมรภูมิคัยบัรฺ โดยจะไม่หันหลังให้ศัตรู

3. ในพิธีมุบาฮะละฮฺกับผู้นำคริสเตียนชาว “นัจญ์รอน” ท่านศาสดา (ศ) ได้นำอลีย์ (อ) ฟาฏิมะฮฺ (ส) หะสัน (อ) และหุสัยน์ (อ) ออกไปเผชิญหน้ากับพวกเขา และได้กล่าววิงวอนจากอัลลอฮฺว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลของฉัน พวกเขาคืออะฮฺลุลบัยตฺของฉัน” ( เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 7 หน้า 120 และที่มีใจความคล้ายคลึงกันใน ตารีคอิบนุอะสากิรฺ เล่ม 1 หน้า 334 – ตารีคอิบนุกะษีรฺ เล่ม 7 หน้า 341 – กันซุลอุมมาล เล่ม 13 หน้า 163 – สุนันอิบนุมาญะฮฺ เล่ม 1 หน้า 58 – เคาะศออิศ นะสาอีย์ หน้า 50 – ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ กันดูซีย์ หะนะฟีย์ บาบ 6 หน้า 51)

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้กล่าวถึงเกียรติคุณและฐานภาพอันสูงส่งของอลีย์ (อ) และความสัมพันธ์ในระหว่างท่านกับอะลีย์ (อ) ในหะดีษดังกล่าวว่าประดุจเดียวกับฐานภาพของศาสดามูสา (อ) กับฮารูน (อ) ทั้งในฐานะแห่งความเป็นพี่น้อง ตัวแทน ผู้ให้การช่วยเหลือ และผู้นำประชาชาติ เว้นแต่จะไม่มีศาสดาภายหลังจากท่านเท่านั้น ซึ่งถือเป็นการเพียงพอที่จะประกาศเกียรติคุณและความสูงส่งของอะลีย์ (อ)

เมื่อพิจารณาโองการจากคัมภีร์อัลกุรฺอาน จะเห็นได้ว่าอัลลอฮฺทรงตอบรับคำวิงวอนของศาสดามูสา (อ) ทั้งหมด และได้สถาปนาศาสดาฮารูน (อ) ให้เป็นตัวแทน ผู้ช่วยเหลือ ผู้ให้การสนับสนุน และเป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านในหมู่ประชาชาตินั้น และยังได้สถาปนาให้เขาเป็นศาสนทูตของพระองค์อีกด้วย (สูเราะฮฺฏอฮา 20 : 29 – 32)

อลีย์ (อ) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แบกรับภารกิจของประชาชาติของท่านศาสดามุหัมมัด (ศ) เช่นเดียวกับที่ศาสดาฮารูน (อ) ได้รับมอบหมายจากท่านศาสดามูสา (อ) ให้ดำรงตำแหน่งผู้นำแห่งวงศ์วานบนีอิสรออีล ดังนั้น เขาจึงอยู่ในฐานะผู้นำและผู้ปกครองมุสลิมเฉกเช่นท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และการปฏิบัติภารกิจในช่วงเวลาที่ท่านมิได้อยู่กับประชาชนจึงถือเป็นปกติวิสัยว่าเขาจะต้องทำหน้าที่แทนท่าน (ศ) ทุกอย่างนอกจากการรับวิวรณ์ เฉกเช่นที่ท่านศาสดาฮารูนได้ปฏิบัติภารกิจแทนท่านศาสดามูสา (อ) เมื่อครั้งที่ท่านได้เดินทางไปพบกับพระผู้อภิบาลเพื่อรับบัญญัติจากพระองค์ ซึ่งมิใช่แค่การรับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตัวแทนแค่เพียงครั้งคราวเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ โดยสารัตถะแล้ว “หะดีษมันซิลัต” คือหะดีษที่ประกาศถึงฐานภาพ เกียรติคุณ และตำแหน่งที่อลีย์ (อ) ได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์อย่างสมบูรณ์ในทุกมิติ ยกเว้นมิติแห่งความเป็นศาสดาเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น
อาจจะมีผู้ทักท้วงว่า อลีย์ (อ) ได้รับมอบภารกิจให้ทำหน้าที่แทนศาสดาเฉพาะในช่วงเวลาที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้ออกไปจากนครมะดีนะฮฺเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่อาจจะเหมารวมได้ว่า “หะดีษมันซิลัต” ที่ท่านศาสดาได้แต่งตั้งเขาให้เป็นตัวแทนของท่านจึงไม่ถือว่าครอบคลุมทั้งหมด และไม่อาจจะตีความว่าเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านศาสดา (ศ) ด้วย

เราขอกล่าวว่า สารัตถะและสัจธรรมในเรื่องนี้เป็นสิ่งทีชัดเจน ซึ่งทุกครั้งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จะเดินทางออกจากศูนย์กลางอิสลาม ท่านจะต้องแต่งตั้งบุคคลหนึ่งขึ้นมาปฏิบัติภารกิจแทนท่านเสมอ และถ้าหากเจตนารมณ์ของท่าน (ศ) ในการอุปมาอลีย์ (อ) ให้มีฐานะเช่นฮารูน (อ) เป็นแค่ตัวแทนธรรมดาคนหนึ่ง และมีภารกิจแค่เพียงในนครมะดีนะฮฺหรือในช่วงเวลาที่ท่านมิได้อยู่ในนครมะดีนะฮฺแล้ว เหตุใดท่าน (ศ) จึงมิได้กล่าวประโยคดังกล่าวกับตัวแทนคนอื่น ๆ ด้วยเล่า ทั้ง ๆ ที่พวกเขาก็เป็นเศาะหาบะฮฺคนสำคัญของท่านด้วยเช่นกัน ?

และเหตุใดท่านจึงมิได้กล่าวถ้อยคำอุปมาอุปมัยถึงภารกิจที่พวกเขาจะรับใช้ท่านด้วยประโยคที่เหมือนหรือคล้ายคลึงเช่นนี้ด้วย ?
ไม่มีตำราประวัติศาสตร์เล่มใดที่บันทึกว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้เคยกล่าวถ้อยคำหรืออุปมัยดังกล่าวกับเศาะหะบะฮฺคนอื่น นอกจากกับอลีย์ (อ) เพียงคนเท่านั้น ดังนั้น โดยสารัตถะแล้ว ท่านศาสดา (ศ) ต้องการที่จะประกาศถึงเกียรติคุณและฐานภาพของอลีย์ (อ) ผู้จะดำรงตำแหน่งตัวแทนสืบต่อจากท่าน โดยผู้อื่นไม่มีคุณสมบัติที่จะดำรงตำแหน่งนี้ได้นอกจากเขาเพียงคนเดียวเท่านั้น ถ้าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) มีเจตนารมณ์แค่เพียงประกาศให้อลีย์ (อ) เป็นเคาะลีฟะฮฺหรือตัวแทนชั่วคราวของท่านแล้ว การกล่าวข้อยกเว้นถึงตำแหน่งนะบูวะฮฺ (ศาสดา) ย่อมเป็นประโยคที่ฟุ่มเฟือยและไร้สาระอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้เนื่องจากรูปประโยคจะมีความหมายดังนี้ “โอ้ อลีย์ ! ในช่วงเวลาที่ฉันไม่อยู่นี้ เจ้าจงทำหน้าที่ในฐานะตัวแทน (เคาะลีฟะฮฺ) ของฉัน จนกว่าฉันจะกลับมา แต่ภายหลังจากฉันแล้ว เจ้ามิใช่ศาสดา”

เพราะข้อยกเว้นดังกล่าวจะถูกต้องได้ก็ต่อเมื่ออุปมาฐานภาพที่อลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) มีต่อท่านศาสดา (ศ) อุปมัยดั่งที่ฮารูนมีต่อมูสานั้นจะต้องดำเนินต่อไปหลังจากท่านศาสดา (ศ) ได้จากไปแล้วด้วย

นอกจากนี้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ไม่เพียงแต่จะประกาศแต่งตั้งอะลี (อ) ให้เป็นผู้รับผิดชอบดูแลในนครมะดีนะฮฺเท่านั้น แต่ประวัติศาสตร์ได้เป็นสักขีพยานว่าท่านยังได้กล่าวย้ำให้ประชาชนได้ตระหนักถึงเกียรติคุณและฐานภาพอันสูงส่งของอะลี (อ) ในต่างกรรมต่างวาระอีกหลายครั้งหลายครา ตัวอย่างเช่น ในช่วงเวลาเริ่มแรกที่ท่านได้ฮิจญ์เราะฮฺไปยังนครมะดีนะฮฺนั้น ท่าน (ศ) ได้ประกาศความเป็นพี่น้องและภราดรภาพในระหว่างมุสลิมชาวอันศอรฺกับมุฮาญิรีนให้มีความเป็นพี่น้องและภราดรภาพกัน โดยมิได้จัดการเลือกบุคคลใดให้อยู่ในฐานะของความเป็นพี่น้องกับอะลี (อ) ทำให้เขาต้องตกอยู่ในอาการเศร้าหมองและกล่าวกับท่านศาสดา (ศ) ด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจว่า “ท่านได้เลือกสรรมุสลิมให้อยู่ในฐานะพี่น้องร่วมอุดมการณ์อิสลามทั้งหมด โดยทิ้งฉันให้เหลืออยู่เพียงลำพังกระนั้นหรือ ? ท่านศาสดา (ศ) จึงกล่าวกับอะลี (อ) ต่อหน้าเศาะหาบะฮฺเหล่านั้นว่า

“ขอสาบานต่อพระผู้อภิบาลผู้ทรงแต่งตั้งฉันด้วยสัจธรรม ฉันมิได้เลือกสรรเจ้าให้เป็นสหายกับผู้ใด นอกจากจะพึงใจเลือกเจ้าให้เป็นสหายของฉัน ฐานภาพของเจ้ากับฉันประดุจดั่งฐานภาพของฮารูนกับมูสา เพียงแต่จะไม่มีศาสดาภายหลังจากฉันเท่านั้น เจ้าคือทายาทและน้องชายของฉัน”(กันซุลอุมมาล จากหาชียะฮฺมุสนัด เล่ม 5 หน้า 31)

หะดีษข้างต้นบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าการมิได้รับตำแหน่งนะบูวะฮฺ (ศาสดา) ของอะลี (อ) นั้น มิได้หมายความว่าท่านขาดไร้คุณสมบัติที่เหมาะสมคู่ควรไม่ แต่ด้วยสาเหตุที่อัลลอฮฺทรงสถาปนาให้มุหัมมัด (ศ) เป็นศาสดาสุดท้าย (คอตะมุนนะบียีน) ต่างหาก เพราะมาตรว่าตำแหน่งศาสดามิได้สิ้นสุดที่ท่าน (ศ) แล้วไซร้ ไม่ว่าจะมองในมิติใดก็ตาม อะลี (อ) คือผู้ที่คู่ควรต่อตำแหน่งศาสดาสืบต่อจากท่าน (ศ) อย่างไม่ต้องสงสัย นอกจากนี้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ยังได้เรียกสมญาณามอะลี (อ) ให้อยู่ในฐานะน้องชายของท่านในต่างกรรมต่างวาระกัน ดังที่ใน “สีเราะฮฺหะละบีย์” ได้บันทึกไว้ว่า

“ภายหลังจากท่านศาสดา (ศ) ได้สร้างพันธะสัญญาแห่งความเป็นพี่น้องและภราดรภาพในระหว่างเศาะหาบะฮฺของท่าน เช่น ระหว่างอบูบักรฺ กับ อุมัรฺ, อุสัยด์ อิบนุหุฎัยรฺ กับ ซัยด์ อิบนุหาริษะฮฺ, อับดุรฺเราะหฺมาน บินอาวฟ์ กับ สะอัด อิบนุเราะบีอฺ และระหว่างอบูอุบัยดะฮฺ กับ สะอัด อิบนุมะอาซ แล้ว ท่าน (ศ) ได้จับมือของอะลี (อ) พร้อมกับกล่าวว่า “นี่คือน้องชายของฉัน” ดังนั้น อะลี (อ) กับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จึงมีฐานะของความเป็นพี่น้องกัน” (สีเราะฮฺหะละบีย์ เล่ม 2 หน้า 97 และยังมีบันทึกอยู่ใน “สีเราะฮฺอิบนุฮิชาม” เล่ม 1 หน้า 505 เช่นกัน)

วันหนึ่ง ในขณะที่ท่านศาสดา (ศ) กำลังสนทนากับอะลี (อ) , ญะอฺฟัรฺ ลูกพี่ลูกน้องของท่าน และซัยด์ อิบนุหาริษะฮฺ อยู่นั้น ท่านได้กล่าวถึงอะลี (อ) ว่า “สำหรับเจ้านั้น โอ้ อะลี ! เจ้าคือน้องชายและสหายของฉัน” (เฏาะบะกอต อิบนุสะอัด เล่ม 8 หน้า 114)

ในอีกหะดีษหนึ่ง ท่าน (ศ) ได้วจนะว่า “เจ้าคือน้องชายและสหายของฉันในสรวงสวรรค์” (อิสตีอาบ เล่ม 2 หน้า 460 – ตารีคบัฆดาดีย์ เล่ม 12 หน้า 268 – ฟะฎออิลุลค็อมสะฮฺ ฟีรูซออบอดีย์ เล่ม 1 หน้า 114)

ต่อไปนี้ เราลองมาพิจารณานัยยะของคำว่า “น้องชาย” ในที่นี้ว่าหมายถึงอะไร ?

ท่านศาสดา (ศ) เพียรพยายามที่จะทำลายธรรมเนียมประเพณีในการยึดถือศักดิ์ศรีเผ่าพันธุ์และวงศ์ตระกูลที่ไร้แก่นสารและขัดแย้งกับสุนนะฮฺแห่งความเที่ยงธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้น ภายหลังจากฮิจญ์เราะฮฺไปสู่นครมะดีนะฮฺแล้ว ท่าน (ศ) จึงได้วางรากฐานแห่งความเป็นภราดรภาพในระหว่างมุสลิมเพื่อทดแทนการเทิดทูนเผ่าพันธุ์อย่างหลับหูหลับตาของชนชาวอรับ

ท่าน (ศ) ไม่เพียงปรารถนาที่จะสถาปนาความเป็นภราดรภาพในระหว่างประชาชาติอิสลามแค่ในฐานะนามธรรมหรือในทางทฤษฎีเท่านั้น แต่ทว่าท่านยังได้วางรากฐานอันสำคัญนี้อย่างเป็นรูปธรรมหรือเป็นจริงในทางปฏิบัติสำหรับประชาคมมุสลิมอีกด้วย ดังนั้น ภราดรภาพและพี่น้องร่วมอุดมการณ์จึงอุบัติขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมตามคำสั่งของท่าน (ศ) นับตั้งแต่นั้นมา จนกระทั่งความสัมพันธ์และความใกล้ชิดในทางสายเลือดไม่อาจจะอยู่เหนือความเป็นภราดรภาพและความเป็นพี่น้องร่วมอุดมการณ์อิสลามที่เกิดจากความศรัทธา ความสำรวมตน และความใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวได้ ด้วยเหตุนี้ พี่น้องร่วมอุดมการณ์จึงถูกจัดให้อยู่ในฐานะเดียวกับพี่น้องร่วมวงศ์ตระกูลเดียวกัน นอกจากนี้ ภราดรภาพที่เกิดจากคนสองคนที่มาจากต่างเผ่าต่างตระกูลและต่างเมืองได้เริ่มแพร่หลายและขยายกว้างออกไปยังเผ่าพันธุ์ ตระกูล และเมืองอื่น ๆ เพิ่มมากยิ่งขึ้น และความสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณหรือการมีอุดมการณ์ร่วมกันนี้ได้ก่อให้เกิดความความรักความเอื้ออาทรในระหว่างพวกเขาอย่างล้ำลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย

แต่สำหรับภราดรภาพและความเป็นพี่น้องร่วมอุดมการณ์ในระหว่างท่านนะบีย์ (ศ) กับอะลีย์ (อ) นั้น ได้มีมาตั้งแต่ 10 ปีก่อนการฮิจญ์เราะฮฺของท่าน (ศ) แล้ว กล่าวคือ เมื่อครั้งที่ท่านได้เชื้อเชิญเครือญาติผู้ใกล้ชิดให้ไปร่วมประชุมที่บ้านของท่านเพื่อขอการช่วยเหลือและสนับสนุนจากพวกเขานับตั้งแต่เริ่มแรกที่ท่าน (ศ) ได้รับการบิอฺษะฮฺ (สถาปนา) ให้เป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ (ศ) แล้ว

จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าพันธสัญญาแห่งความเป็นภราดรภาพระหว่างท่านศาสดา (ศ) กับอะลี (อ) จึงมิใช่พันธสัญญาที่กระทำลงไปบนพื้นฐานของการสร้างความใกล้ชิดในระหว่างชนสองตระกูลหรือชนจากสองเมืองที่แตกต่างกันแต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าท่านทั้งสองอยู่ในตระกูลและเมืองเดียวกัน ทั้งสองเป็นลูกพี่ลูกน้องที่มีความสัมพันธ์และสนิทแนบแน่นอย่างยาวนาน จึงไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่จะต้องสร้างพันธสัญญาแห่งความเป็นภราดรภาพขึ้นมาอีก

ดังนั้น เป้าหมายของความเป็นภราดรภาพและพี่น้องในระหว่างท่านนบีย์ (ศ) กับอลีย์ (อ) จึงมิใช่อื่นใด นอกจากเจตนารมณ์ อุดมการณ์ และจิตวิญญาณเดียวกันของท่านทั้งสองนั่นเอง ทั้งนี้เนื่องจากลำพังอลีย์ (อ) เพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีคุณสมบัติ ฐานภาพ เกียรติคุณ ความรู้ จรรยามารยาท และโลกทัศน์ที่ละม้ายคล้ายคลึงกับศาสนทูตแห่งอิสลาม (ศ) มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ ภราดรภาพและความเป็นพี่น้องในระหว่างท่านนบีย์ (ศ) กับอลีย์ (อ) จึงมีนัยทางอุดมการณ์และจิตวิญญาณแฝงเร้นเป็นกรณีพิเศษ และพันธสัญญาดังกล่าวจะไม่สิ้นสุดยุติแค่เพียงในโลกนี้เท่านั้น แต่จะมีผลสืบเนื่องจนถึงโลกอันสถาพรอีกด้วย ดังที่หากิมได้บันทึกในมุสตัดร็อกว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้กล่าวกับอะลี (อ) ว่า
“เจ้าคือน้องชายของฉันทั้งในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ” (มุสตัดร็อกหากิม เล่ม 3 หน้า 14 )

วันหนึ่ง ในขณะที่อบูบักรฺ อุมัรฺ และอบูอุบัยดะฮฺ ได้อยู่กับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) นั้น ท่าน (ศ) ได้วางมือบนบ่าของอะลี (อ) พร้อมกับกล่าวว่า
“โอ้ อะลี ! เจ้าคือบุคคลแรกที่น้อมรับอิสลามและศรัทธาในความเป็นศาสดาของฉัน สายสัมพันธ์ของเจ้ากับฉัน ประดุจดั่งสายสัมพันธ์ระหว่างฮารูนกับมูสา”(กันซุลอุมมาล เล่ม 6 หน้า 395)

ครั้งหนึ่ง อุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ ได้ประสบเหตุการณ์ที่ชายคนหนึ่งกำลังพูดจาด่าทออะลี อิบนุอบีฏอลิบ (อ) อย่างสาดเสียเทเสีย อุมัรฺจึงกล่าวกับเขาว่า “เจ้าจะต้องเป็นพวกมุนาฟิกอย่างแน่นอน เพราะฉันเคยได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) กล่าวว่า
“เฉพาะอะลี (อ) เท่านั้นที่มีสายสัมพันธ์กับฉันประดุจดั่งที่ฮารูนมีสายสัมพันธ์กับมูสา เว้นแต่จะไม่มีนบีย์ภายหลังจากฉันเท่านั้น” (ตารีคอิบนุอะสากิรฺ เล่ม 1 หน้า 360 และ 361 – ตารีคบัฆดาด เคาะฏีบ บัฆดาดีย์ เล่ม 7 หน้า 453)

ประเด็นที่สมควรพิจารณาจากหะดีษมันซิลัตก็คือ คำว่า “อินนะมา”انما ซึ่งให้ความหมายจำเพาะเจาะจง ดังนั้น เจตนารมณ์ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ในที่นี้จึงมิใช่การแต่งตั้งตัวแทนหรือเคาะลีฟะฮฺให้ทำหน้าที่ชั่วคราว ทั้งนี้ก็เพราะว่านอกจากอะลี (อ) แล้ว ยังมีบุคคลอื่น ๆ ที่เคยได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ตัวแทนเช่นเดียวกัน และคำพูดของอุมัรฺก็ยังสำแดงให้ประจักษ์ว่าเขาได้ตระหนักเป็นอย่างดีว่าวจนะของท่านนบีย์ (ศ) ที่ได้กล่าวเป็นข้อยกเว้นว่าเฉพาะตำแหน่งนะบูวะฮฺเท่านั้นที่จะไม่ตกทอดถึงอะลี (อ) นั้น ได้ชี้ให้เห็นว่าเขามีฐานภาพทางด้านจิตวิญญาณเทียบเท่ากับท่านนบีย์ในทุกมิติ ด้วยเหตุนี้ อุมัรฺจึงกล้าที่จะกล่าวกับชายผู้นั้นว่า “เจ้าคือพวกมุนาฟิก” เพราะความสับปลับกลับกลอกมีความชั่วช้าน่าชิงชังกว่าการสำแดงการปฏิเสธ (กุฟรฺ) ออกมาอย่างชัดเจนเสียอีก





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

6 ความสัมพันธ์ระหว่างอัลกุรฺอานกับอะฮฺลุลบัยตฺ หะดีษ “ษะเกาะลัยน์” ถือเป็นหะดีษที่ปรากฏสายรายงานและทรงความน่าเชื่อถือมากที่สุดซึ่งบรรดานักปราชญ์และผู้ทรงคุณวุฒิมุสลิมต่างได้บันทึกมาจากท่านศาสนทูตแห่งอิสลาม (ศ) และถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงที่มีชื่อเสียงของชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺ ซึ่งสามารถกล่าวได้อย่างภาคภูมิใจว่าหะดีษดังกล่าวนี้อยู่ในฐานะและระดับขั้น “ตะวาตุรฺ” และได้รับความน่าเชื่อถือที่สุด โดยเนื้อหาของหะดีษมีดังต่อไปนี้คือ :-

“ฉันได้มอบอมานะฮฺ (ของฝากหรือที่ระลึก) ที่ทรงคุณค่าสองสิ่งไว้ในท่ามกลางพวกท่าน หนึ่งนั้นคือคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และอีกหนึ่งคือครอบครัวของฉัน และของฝากทั้งสองของฉันนี้จะไม่มีวันพรากจากกัน หากพวกท่านยึดมั่นในทั้งสองแล้ว พวกท่านจะไม่มีวันหลงทางอย่างแน่นอน” 1

1. เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 7 หน้า 122 – เศาะหี๊หฺติรฺมิซีย์ เล่ม 2 หน้า 308 – มุสตัดร็อกหากิม เล่ม 3 หน้า 109 – มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 3 หน้า 14 และ 17 – ฟุศูลุลมุฮิมมะฮฺ อิบนุเศาะบาฆ มาลิกีย์ หน้า 24 – กิฟายะตุฏฏอลิบ กันญีย์ ชาฟิอีย์ หน้า 130 – ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หะนะฟีย์ บัลคีย์ บาบ 4 หน้า 17 และ 18 – ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 92 - ตัฟสีรฺฟัครุรฺรอซีย์ เล่ม 3 หน้า 18 – ตัฟสีรฺนีชาบูรีย์ เล่ม 1 หน้า 349

ยิ่งไปกว่านั้น อุละมาอ์ชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺบางส่วนยังได้บันทึกว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้กล่าวในตอนท้ายของหะดีษนี้อีกด้วยว่า :-
“อลีย์จะยืนหยัดอยู่เคียงข้างอัลกุรฺอาน และอัลกุรฺอานก็จะอยู่เคียงข้างอลีย์เสมอ ทั้งสองจะไม่มีวันจำพรากจากกัน”( ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หน้า 32 และ 40 – เศาะวาอิกุลมุหัรฺริเกาะฮฺ บาบ 9 หน้า 57 – กัชฟุลฆุมมะฮฺ หน้า 43)

อุละมาอ์และนักบันทึกหะดีษแห่งโลกอิสลามต่างมีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่าเศาะหาบะฮฺชั้นแนวหน้าของท่านศาสดา (ศ) ประมาณ 30 ท่านที่ได้รายงานหะดีษษะเกาะลัยน์(สีเราะฮฺหะละบีย์ เล่ม 3 หน้า 308)

บันทึกของนักรายงานหะดีษและนักประวัติศาสตร์ทั้งสายชีอะฮฺและสุนนีย์มีความสอดคล้องต้องกันว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้กล่าวย้ำเตือนให้ประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคัญแห่งสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและล้ำลึกระหว่างสิ่งหนักที่ทรงคุณค่าทั้งสอง กล่าวคือคัมภีร์อัลกุรฺอานและอิตรัต อะฮฺลุลบัยตฺ (อลัยฮิมุสลาม) ในต่างกรรมต่างวาระกัน แม้กระทั่งในบั้นปลายชีวิตอันจำเริญของท่าน โดยท่าน (ศ) ได้ตักเตือนด้วยความห่วงใยในชะตากรรมและอนาคตของพวกเขาด้วยประโยคอันอมตะ เต็มไปด้วยความหมายและทรงพลัง ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าหะดีษบทนี้จะมีสำนวน เนื้อหาและรายละเอียดที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยสารัตถะแล้วล้วนบ่งบอกถึงนัยและความหมายเดียวกัน กล่าวคือสายสัมพันธ์ที่ล้ำลึกและแน่นแฟ้นระหว่างอัลกุรฺอานกับครอบครัวแห่งท่านศาสดา (ศ) ที่ไม่อาจจะจำพรากจากกันได้

อิบนุหะญัรฺ นักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงของชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺได้บันทึกไว้ว่า :-
“มีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับสถานที่ที่ท่านศาสดา (ศ) ได้กล่าวหะดีษนี้ดังที่ได้ผ่านมาแล้วในข้อสงสัยที่ 11 โดยบางรายงานกล่าวว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ประกาศต่อหน้าหุจญาจใน “หัจญะตุลวิดาอฺ” ณ ท้องทุ่งอะเราะฟะฮฺ ในขณะที่บางส่วนได้กล่าวว่าท่าน (ศ) ได้กล่าวต่อหน้าบรรดาเศาะหาบะฮฺที่มาเยี่ยมอาการป่วยในขณะที่ท่านกำลังล้มเจ็บที่บ้านของท่าน ณ นครมะดีนะฮฺ บางส่วนก็กล่าวว่าท่าน (ศ) ได้กล่าว ณ เฆาะดีรฺคุม และยังมีบางส่วนที่รายงานว่าท่าน (ศ) ได้กล่าวในขณะที่เดินทางกลับจากเมืองฏออิฟ”

แล้วอิบนุหะญัรฺได้สรุปในตอนท้ายว่า :-
“ทั้งหลายทั้งปวงหาได้มีความขัดแย้งกันแต่อย่างใดไม่ เพราะอาจจะเป็นไปได้ว่าท่านศาสดา (ศ) ได้กล่าวหะดีษนี้ในต่างกรรมต่างวาระในทุก ๆ สถานที่ข้างต้นหรือสถานที่อื่น ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการตอกย้ำให้ประชาชาติได้เล็งเห็นถึงความสำคัญอันสูงส่งของคัมภีร์อัลกุรฺอานและอิตรัตผู้บริสุทธิ์ของท่านนั่นเอง”( เศาะวาอิกุลมุหัรฺริเกาะฮฺ ฟัศลุลเอาวัล บาบ 11 หน้า 89)

ในอีกรายงานหนึ่งได้กล่าวว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้วจนะไว้ว่า :-
“อลีย์ (อ) จะยืนหยัดเคียงคู่สัจธรรม และสัจธรรมจะเคียงคู่อลีย์ (อ) ไม่ว่าสัจธรรมจะอยู่ทิศใด อลีย์ (อ) ก็จะติดตามมันไปทุกหนแห่ง”( อัลอิมามะฮฺ วัสสิยาสะฮฺ อิบนุกุตัยบะฮฺ เล่ม 1 หน้า 68 – ฟะรออิดุสสิมฏ็อยนฺ หัมวีนีย์ บาบ 37 – เคาะฏีบบัฆดาดีย์ เล่ม 4 หน้า 21 – ตัฟสีรฺฟัครุรฺรอซีย์ เล่ม 1 หน้า 111 – นอกจากนี้ยังมีบันทึกอยู่ในมุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล และฟุศูลลุลมุฮิมมะฮฺ โดยอิบนุเศาะบาฆ มาลิกีย์ ด้วยเช่นกัน)

เราทุกคนต่างตระหนักดีว่าคัมภีร์อัลกุรฺอานคือพระบัญชาแห่งฟากฟ้าและจุดกำเนิดของบทบัญญัติอิสลาม และสารธรรมคำสอนดังกล่าวคือเครื่องค้ำประกันที่จะปลดปล่อยมนุษยชาติให้รอดพ้นจากความหลงผิด เพียงแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยผู้ที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมและเป็นผู้ที่ทรงความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและถ่องแท้ในภาษาแห่งวิวรณ์ อีกทั้งจะต้องมีวัตรปฏิบัติที่สอดคล้องกับสารธรรมคำสอนดังกล่าวเพื่อให้การอรรถาธิบายและตีความโองการทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เอง ตามหลักความเชื่อของชีอะฮฺจึงถือว่าผู้ที่จะมีคุณสมบัติสมบูรณ์ทุกประการนั้นจะต้องได้รับการแนะนำและรับรองจากท่านศาสนทูตผู้ทรงเกียรติ (ศ) เท่านั้น และเพื่อให้เรียกร้องเชิญชวนและชี้นำมนุษยชาติให้พ้นจากทางหลงผิด พวกเขาจะต้องได้รับการยืนยันจากผู้เป็นเจ้าของสำนักคิดแห่งอิสลามเท่านั้น และเฉพาะพวกเขาเท่านั้นที่มีความรอบรู้และเข้าใจต่อภาษาแห่งวิวรณ์อย่างถ่องแท้และลึกซึ้ง และสามารถที่จะอรรถาธิบายโองการแห่งพระผู้เป็นเจ้าอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระองค์ด้วย ดังนั้น การกำหนดให้อิตรัตแห่งอะฮฺลุลบัยต์ (อลัยฮิมุสลาม) ควบคู่และเคียงข้างกับคัมภีร์ของอัลลอฮฺนั้นก็เนื่องจากคัมภีร์แห่งฟากฟ้าเล่มนี้จำเป็นต้องอาศัยการอรรถาธิบายและสร้างความกระจ่างชัดถึงเจตนารมณ์ อุดมการณ์ และบทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง

ความหมายหรือนัยของหะดีษดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าบุคคลใดก็ตามที่ไม่ยอมเชื่อฟังและปฏิบัติตามคัมภีร์อัลกุรฺอานของอัลลอฮฺกับอะฮฺลุลบัยต์ของศาสนทูตแห่งพระองค์ (ศ) และยอมตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลที่ไม่สามารถจะสัมผัสถึงรหัสและสารธรรมคำสอนของอัลกุรฺอานอย่างแท้จริงแล้ว พวกเขาจะไม่มีวันได้รับมรรคผลใด ๆ นอกจากความงุนงงและหลงทางเท่านั้น โดยสารัตถะแล้ว นัยแห่งประโยคอันอมตะที่ท่าน (ศ) ได้วจนะไว้ว่า :-
“มาตรแม้นว่าท่านทั้งหลายได้ยึดมั่นในคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺและอะฮฺลุลบัยตฺของฉันแล้วไซร้ พวกท่านจะไม่มีวันหลงทางอย่างแน่นอน” นั้น มีนัยแฝงเร้นเช่นไร ?

และผู้มีคุณสมบัติเช่นไรที่จะสามารถอรรถาธิบายและให้ความกระจ่างในโองการแห่งคัมภีร์อัลกุรฺอานที่เป็นข้อคลุมเครือ (มุตะชาบิฮาต) ซึ่งก็คือบทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าให้แปรเปลี่ยนไปสู่โองการที่ชัดเจน (มุหฺกะมาต) ได้ ?

จากกรณีที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้กำชับให้ประชาชาติของท่านยึดมั่นในคัมภีร์อัลกุรฺอานและอิตรัตซึ่งเป็นของฝากที่ทรงคุณค่าทั้งสองนั้น ย่อมเป็นข้อบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่ทรงคุณค่าทั้งสองจะต้องก้าวไปสู่วิถีและเป้าหมายเดียวกัน หนึ่งนั้นคือบทบัญญัติแห่งฟากฟ้าซึ่งก็คือพจนารถของพระผู้เป็นเจ้า และอีกหนึ่งนั้นก็คือผู้ที่จะมาสาธยายให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของพระองค์ และให้การพิทักษ์รักษาให้รอดพ้นจากการบิดเบือนและทำลายจากหมู่มารผู้ชั่วร้าย และผลลัพธ์ของการหันห่างออกจากผู้เป็นอิตรัตของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ก็คือการหลงออกจากทางที่เที่ยงตรงไปสู่ความพินาศนั่นเอง

ปฐมบทของการหลงทางและความพินาศของประชาชาติมุสลิมเริ่มตั้งเค้าขึ้นมาเมื่อพวกเขาหันห่างและแยกสิ่งที่ทรงคุณค่าทั้งสองออกจากกัน และคำขวัญหรือสโลแกน :- “คัมภีร์ของอัลลอฮฺก็เพียงพอแล้วสำหรับเรา” ได้ฝังเข้าสู่โสตสมองและกลายเป็นทัศนะในทางศาสนาของประชาชนไปในที่สุด และสำนักคิดต่าง ๆ เช่น อัชอะรีย์ และอิอฺติซาล (มุอฺตะซิละฮฺ) ได้หลงกลคล้อยตามคำโฆษณาชวนเชื่ออันเหลวไหลนี้ไปด้วย ประหนึ่งว่าพวกเขามีความเชี่ยวชาญและช่ำชองในคัมภีร์ของอัลลอฮฺยิ่งกว่าศาสนทูตของพระองค์ (ศ) กระนั้น ! และพวกเขาสามารถสัมผัสถึงความหมายและนัยของอัลกุรฺอานมากกว่าท่าน (ศ) กระนั้น !

บุคคลที่จะสามารถเข้าใจจนสามารถสาธยายหรืออรรถาธิบายอัลกุรฺอานอย่างกระจ่างแจ้งได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความรู้แห่งการดลใจ (อิลมุลอิฟาฎีย์) (หน้า 72) หรืออย่างน้อยที่สุด เขาจะต้องได้รับการถ่ายทอดจากต้นธารแห่งแหล่งความรู้อันบริสุทธิ์เท่านั้น กล่าวโดยสรุปก็คือเฉพาะบรรดาอะอิมมะฮฺมะอฺศูมีน (อลัยฮิมุสลาม) นั่นเอง

อิบนุหะญัรฺ นักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงของชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺได้บันทึกวจนะของท่านศาสดา (ศ) ในตำราของเขาไว้ว่า :-
“ท่านทั้งหลายจงอย่าได้ล้ำหน้าอมานะฮฺทั้งสอง (คัมภีร์ของอัลลอฮฺ และอิตรัต) เพราะจะทำให้พวกท่านถลำไปสู่ความพินาศ และท่านทั้งหลายจงอย่าเพิกเฉยต่อการปฏิบัติตามสิ่งทั้งสอง เพราะจะทำให้พวกท่านถลำไปสู่ความพินาศเช่นเดียวกัน

ท่านทั้งหลายจงอย่าคาดเดาว่าอะฮฺลุลบัยต์แห่งท่านศาสดา (ศ) เป็นผู้โง่เขลา เพราะพวกเขามีความรอบรู้เหนือกว่าพวกท่าน และยังเข้าใจในภาษาแห่งวิวรณ์ได้อย่างลึกซึ้งถ่องแท้ด้วย”( เศาะวาอิกุลมุหฺริเกาะฮฺ อิบนุหะญัรฺ บาบวะศียะตุนนบีย์ย์ หน้า 153)

ท่านอมีรุลมุอ์มินีน อลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อลัยฮิสลาม) กล่าวว่า
“พวกท่านจะไม่มีวันปฏิบัติตามพันธะสัญญาแห่งคัมภีร์อัลกุรฺอาน จนกว่าพวกท่านจะได้รู้จักผู้ที่ทำลายพันธะสัญญานั้นเสียก่อน
และท่านทั้งหลายจะไม่มีวันยึดมั่นในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ จนกว่าพวกท่านจะได้รู้จักผู้ที่เพิกเฉยและละทิ้งมันเสียก่อน
ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงแสวงหาวิถีทางที่เที่ยงตรง และจงปฏิบัติตามพันธะสัญญาอย่างเคร่งครัดเถิด และจงแสวงหาวิถีทางที่จะยึดมั่นในอัลกุรฺอานจากผู้ที่เข้าใจมันอย่างถ่องแท้เถิด เพราะพวกเขาคือผู้พิทักษ์รักษาและธำรงความรู้ให้มีชีวิตชีวา และเป็นผู้ขุดรากถอนโคนความอวิชาและความโง่เขลาเบาปัญญา พวกท่านจะได้รับความรู้และความกระจ่างแจ้งจากข้อชี้ขาดของพวกเขา (หน้า 73) และพวกท่านสามารถเข้าใจความเงียบของพวกเขาจากวจนะของพวกเขา และภาพลักษณ์จากสิ่งที่ซ่อนเร้นภายในของพวกเขา พวกเขาจะไม่มีวันฝ่าฝืนบทบัญญัติอิสลาม และจะไม่มีวันขัดแย้งกับมัน ดังนั้น อิสลาม คือสักขีพยาน สารัตถะ และความสัตย์จริงในท่ามกลางพวกเขา”( นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คุฏบะฮฺที่ 145)

หะดีษทั้งสองได้สำแดงให้ประจักษ์ว่าโดยสารัตถะแล้ว อะฮฺลุลบัยต์แห่งท่านศาสดา (ศ) มีความสะอาดบริสุทธิ์จากความผิดบาป หรือแม้กระทั่งความบกพร่องเพียงเล็กน้อยก็ตาม เพราะย่อมเป็นที่กระจ่างแจ้งว่าอมานะฮฺอันยิ่งใหญ่และทรงคุณค่าซึ่งเป็นสายสัมพันธ์ที่ไม่อาจจะพลัดพรากจากกันกับคัมภีร์อัลกุรฺอานจนกว่าทั้งสองจะไปพบกับท่านศาสดา (ศ) ในวันตัดสินตอบแทน และประชาชาติจะต้องยึดมั่น เชื่อฟังและปฏิบัติตามทั้งสองดุจประทีปส่องนำทางสู่วิถีแห่งอิสลามที่เที่ยงธรรมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นจะต้องสะอาดบริสุทธิ์และปลอดพ้นจากความบกพร่อง ผิดบาป และการหลงทาง ดุจดั่งที่คัมภีร์อัลกุรฺอานได้รับการค้ำประกันจากพระผู้ทรงประทานเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากอัลลอฮฺมิได้ทรงบัญชาให้มนุษยชาติเชื่อฟังและปฏิบัติตามบุคคลที่ถลำไปสู่ความผิดบาป และพระองค์ก็มิได้ทรงบัญชาให้พวกเขาเชื่อมสายสัมพันธ์ระหว่างอัลกุรฺอานกับผู้ที่ประพฤติผิดครรลองครองธรรมแห่งคำสอนนั้น แต่ทว่าพระองค์ทรงกำหนดให้กลุ่มบุคคลที่สะอาดบริสุทธิ์จากความผิดบาปทั้งปวงให้ยืนหยัดอยู่เคียงข้างอัลกุรฺอาน ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่พระองค์ทรงบัญญัติให้มุสลิมเชื่อฟังปฏิบัติตามพวกเขานั้นจะต้องปราศจากข้อบกพร่องและสิ่งที่น่าตำหนิทั้งหลายอย่างสิ้นเชิงด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ถือว่าวจนะข้างต้นยังไม่เพียงพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชาตินี้ ท่านจึงได้สาธยายจำนวนตัวแทนที่จะแบกรับภารกิจสืบต่อจากท่านเอาไว้ดังนี้ :-
“ตราบเท่าที่ 12 ท่านแห่งกุรัยช์ยังคงแบกรับภารกิจเป็นตัวแทนของฉัน อิสลามจะธำรงคงอยู่ตราบจนกระทั่งถึงวันตัดสินพิพากษา”(เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 13 หน้า 202 กิตาบุลอิมาเราะฮฺ)
“จำนวนตัวแทนของฉันจะเท่ากับนุเกาะบาอ์ (หัวหน้าหรือตัวแทน) แห่งบนีอิสรออีล นั่นคือ 12 คน พวกเขาล้วนมาจากเผ่าพันธุ์แห่งกุรัยช์ (หรือในริวายะฮฺอื่นกล่าวว่า) จากบนีฮาชิม”( เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 6 หน้า 2 - เศาะหี๊หฺบุคอรีย์ กิตาบอะหฺกาม บาบ 15 – มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 1 หน้า 397 และเล่ม 5 หน้า 86 – อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ เล่ม 6 หน้า 245 – ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หน้า 373)

“อับดุลลอฮฺ” ได้บันทึกจากวจนะของท่านศาสดา (ศ) ว่า :-
“ถึงแม้ว่ามนุษย์จะคงเหลืออยู่เพียงสองคน ตำแหน่งผู้นำก็จะยังคงเป็นหนึ่งจากกุรัยช์เสมอ”(เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 13 หน้า 202 กิตาบุลอิมาเราะฮฺ)

ดังนั้น ตัวแทนของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) จำนวน 12 ท่าน จะเป็นใครอื่นไปไม่ได้ นอกจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์จากอะฮฺลุลบัยต์และอิตรัตของท่าน (ศ) เท่านั้น เพราะเมื่อเรานับจำนวนเคาะลีฟะฮฺรอชิดีนแล้ว ปรากฏว่ามีเพียง 4 คนเท่านั้น ในขณะที่ผู้ปกครองแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮฺและราชวงศ์อับบาสก็มีปริมาณเกินกว่า 12 คน ซึ่งไม่สอดคล้องกับวจนะของท่าน (ศ) ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาอาชญากรรม ความฉ้อฉล ความอธรรมของผู้ปกครองแห่งราชวงศ์ทั้งสองในสมัยที่พวกเขาครองอำนาจอยู่นั้นย่อมขัดแย้งกับบรรทัดฐานแห่งผู้นำในทัศนะของคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์อย่างสิ้นเชิง และยังเป็นสาเหตุสำคัญในการสร้างความเสื่อมเสียและทำลายอิสลามอันบริสุทธิ์ แล้วยังจะนับรวมพวกเขาให้อยู่ในฐานะตัวแทนของท่านศาสดา (ศ) ได้อย่างไร ?

ส่วนกลุ่มชนที่ไม่มีหนทางอื่นใดที่จะหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธวจนะของท่านศาสดา (ศ) ได้พ้น และเพียรพยายามที่จะยัดเยียดจำนวนของผู้นำสิบสองให้สอดคล้องกับผู้นำแห่งอะฮฺลุลบัยต์ (อลัยฮิมุสลาม) นั้น พวกเขาไม่มีหนทางอื่นใด นอกจากการตีความให้เป็นไปตามอารมณ์ฝ่ายต่ำของตน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมจะขัดแย้งกับวจนะและเจตนารมณ์ที่แท้จริงของท่าน (ศ) อย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้เนื่องจาก เมื่อนับจำนวนผู้นำภายหลังจากท่านศาสดา (ศ) 4 คน รวมกับผู้ปกครองจากบนีอุมัยยะฮฺและบนีอับบาสแล้ว พวกเขามีปริมาณถึง 30 คน และจากโฉมหน้าประวัติศาสตร์ ผู้ที่แอบอ้างตนว่าเป็นเคาะลีฟะฮฺว่าสืบเชื้อสายมากจากเผ่ากุรัยช์นั้นมีจำนวนเกินกว่าที่ท่านศาสดา (ศ) ได้วจนะไว้ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เอง นอกจากอิมามสิบสองซึ่งสอดคล้องกับสำนักคิดชีอะฮฺอิมามียะฮฺแล้ว ไม่มีกลุ่มผู้นำอื่นใดที่จะสอดคล้องกับวจนะของท่านศาสดา (ศ) ทั้งในแง่ของจำนวนและฐานภาพอีกแล้ว

ชัยค์สุลัยมาน กันดูซีย์ หะนะฟีย์ อุละมาอ์ชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺ ได้ให้ทัศนะที่ปราศจากความตะอัศศุบ (มิจฉาทิฐิ) ในตำราของเขาว่า :-
“เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในหมู่ปวงปราชญ์ว่าเคาะลีฟะฮฺภายหลังจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) มีจำนวนทั้งสิ้น 12 ท่าน และจากสายรายงานที่หลากหลายยังได้ระบุไว้ตรงกันอีกด้วย เจตนารมณ์ของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ในหะดีษนี้ก็คือตัวแทนหรือผู้นำจำนวน 12 คนผู้สืบเชื้อสายแห่งอะฮฺลุลบัยต์และอิตรัตของท่านนั่นเอง เพราะไม่อาจจะหมายถึงคุละฟาอุรฺรอชิดีนในทุก ๆ กรณี ทั้งนี้เนื่องจากพวกเขามีไม่เกิน 4 คน และไม่อาจจะสอดคล้องกับจำนวนผู้ปกครองแห่งบนีอุมัยยะฮฺ เพราะนอกจากจะมีจำนวนเกินกว่า 12 คนแล้ว ผู้ปกครองเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นผู้ประกอบอาชญากรรมและสร้างความอธรรมต่อประชาชาติอิสลามทั้งสิ้น ยกเว้น อุมัรฺ อิบนุอับดิลอะซีซ เพียงคนเดียวเท่านั้น นอกจากนั้น พวกเขาทั้งหมดมิได้มาจากตระกูลบนีฮาชิมแต่อย่างใด ในขณะที่ท่านศาสดา (ศ) ได้วจนะไว้ว่า ทั้งหมดล้วนมาจากบนีฮาชิม ดังที่ “ญาบิรฺ อิบนุสะมะเราะฮฺ” ได้รายงานว่า ท่านศาสดา (ศ) ได้ตอบคำถามของเขาที่ได้ถามว่าผู้นำที่จะสืบทอดเจตนารมณ์และภารกิจต่อจากท่าน (ศ) นั้น มาจากตระกูลใดเล่า ? และนี่คือพยานหลักฐานยืนยัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากเคาะลีฟะฮฺบางคนที่มาจากบนีฮาชิมหาได้มีคุณสมบัติดังที่ท่านได้วจนะไว้แต่อย่างใดไม่ (หน้า 76)

นอกจากนี้ หะดีษดังกล่าวก็ไม่สอดคล้องกับความเป็นเคาะลีฟะฮฺของพวกบนีอับบาสเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ประการที่หนึ่ง พวกเขามีจำนวนเกินกว่า 12 คน ประการที่สอง บนีอับบาสมิได้เชื่อฟังและปฏิบัติตาม “อายะฮฺมะวัดดะฮฺ”(โองการที่บัญชาให้ประชาชาตินี้มอบความรักต่อลูกหลานท่านศาสดา) และพวกเขายังละเมิดต่อหะดีษกิสาอ์อีกด้วย ( สูเราะฮฺอัชชูรอ 42 : 23)

ด้วยเหตุนี้เอง หะดีษดังกล่าวจึงมีนัยจำกัดเฉพาะสิบสองอิมามจากอะฮฺลุลบัยต์และอิตรัตของท่านศาสดา (ศ) เท่านั้น เพราะไม่ว่าจะพิจารณาถึงความรอบรู้ ฐานภาพ เกียรติคุณ ความสำรวมตน เกียรติประวัติในด้านครอบครัวและสายตระกูล พวกเขาล้วนมีความเป็นเลิศเหนือกว่าใครทั้งสิ้น พวกเขาทั้งหมดล้วนได้รับมรดกทั้งในด้านความรู้และจริยธรรมมาจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ผู้เป็นตาของพวกเขาเอง สิ่งที่เป็นเครื่องตอกย้ำและยืนยันก็คือวจนะของท่านศาสดา (ศ) ใน “หะดีษษะเกาะลัยน์” ตลอดจนหะดีษอื่น ๆ อีกมากมายที่ได้รับการรายงานจนกระทั่งมาถึงรุ่นเราในยุคปัจจุบันนั่นเอง”( ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หน้า 446)





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

7.พฤติกรรมที่ปราศจากความรับผิดชอบของเศาะหาบะฮฺบางคน ณ ที่นี้ มีคำถามพรั่งพรูเข้ามาทันทีว่า ทั้ง ๆ ที่ท่านศาสดา (ศ) มีความห่วงใยต่อประชาชาติของท่านด้วยการประกาศตอกย้ำซ้ำแล้วซ้ำเล่าในต่างกรรมต่างวาระโดยการแต่งตั้งให้อลีย์ (อลัยฮิสลาม) เป็นผู้นำหรือตัวแทนที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ต่อจากท่าน ทั้งที่เฆาะดีรฺคุม และสถานที่อื่น ๆ ตามแต่โอกาสจะเอื้ออำนวย แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรกันที่ภายหลังจากท่าน (ศ) ได้ล่วงลับไปเพียงไม่กี่ชั่วโมง เศาะหาบะฮฺผู้เคยเป็นสหายรักของท่านจึงต่างพากันละเมิดและไม่แยแสต่อพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าด้วยการไม่ใยดีต่ออลีย์ (อ) ผู้เป็นตัวแทนอันชอบธรรมของศาสดาของพระองค์ (ศ) โดยพวกเขาไม่ยอมเชื่อฟังปฏิบัติตามท่าน และหันไปซ่องสุมกำลังเพื่อเลือกตั้งผู้นำประชาชาติมุสลิมขึ้นมาใหม่โดยไม่ใส่ใจต่อคำสั่งเสียของผู้เป็นศาสดา ?

วจนะหรือคำสั่งเสียของท่านศาสดา (ศ) เต็มไปด้วยความคลุมเครือหรืออย่างไร ?
คำสั่งเสียและคำประกาศของท่าน (ศ) ในต่างกรรมต่างวาระเกี่ยวกับเกียรติคุณและความสูงส่งของอลีย์ (อ) ยังไม่เพียงพอที่จะสร้างความมั่นใจในฐานะแห่งผู้นำพวกเขาหรืออย่างไร ?

เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาและทำความเข้าใจในประวัติศาสตร์อิสลามและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยของท่านศาสดา (ศ) เราสามารถที่จะค้นหาคำตอบต่อคำถามดังกล่าวได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เราทุกคนต่างประจักษ์ดีว่าในท่ามกลางเศาะหาบะฮฺของท่านศาสดา (ศ) นั้น มีระดับขั้นของความศรัทธาที่แตกต่างกัน เศาะหาบะฮฺจำนวนมากมายที่เมื่อไรก็ตามที่คำบัญชาของท่านศาสดา (ศ) ไม่สอดคล้องกับอารมณ์ของพวกเขา พวกเขาจะใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะสร้างความกดดันเพื่อมิให้ท่าน (ศ) สามารถดำเนินภารกิจบรรลุสู่เป้าหมายนั้น และคราใดก็ตามที่พวกเขาไม่สมหวังดังที่ตั้งตาคอย ก็จะใช้วิธีการคัดค้านท่านเสมอ

คัมภีร์อัลกุรฺอานได้เตือนสำทับบุคคลที่มีพฤติกรรมขัดแย้งและฝ่าฝืนต่อผู้นำประชาชาติอิสลามเอาไว้ว่า :-
“ดังนั้น บรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของเขา (ศาสดามุหัมมัด) พึงสังวรณ์เถิดว่าวิกฤติการจะต้องประสบกับพวกเขา หรือมิฉะนั้น การลงโทษอันสุดแสนทรมานจะต้องประสบกับพวกเขาอย่างแน่นอน”(สูเราะฮฺอันนูรฺ 24 : 63)

ในวาระสุดท้ายแห่งชีวิตอันเต็มไปด้วยความจำเริญของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) นั้น ท่าน (ศ) ได้บัญชาให้ระดมกองทัพเพื่อเตรียมรับมือกับศัตรูชาวโรม โดยในการศึกครั้งนี้ ท่านได้แต่งตั้ง “อุสามะฮฺ บินซัยด” ให้ทำหน้าที่เป็นผู้นำทัพ การแต่งตั้งชายหนุ่มให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาเหล่าทหารซึ่งประกอบไปด้วยผู้อาวุโสและพวกที่มากไปด้วยประสบการณ์จึงถือเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้สำหรับชนบางกลุ่ม จนกระทั่งในที่สุดได้เกิดกรณีพิพาทและถกเถียงกันในระหว่างเศาะหาบะฮฺของท่าน (ศ) กลุ่มที่คัดค้านท่าน (ศ) อย่างรุนแรงได้พยายามกดดันให้ท่านศาสดา (ศ) เปลี่ยนตัวแม่ทัพคนใหม่ แต่ท่าน (ศ) มิได้ให้ความสนใจต่อท่าทีของพวกเขาแต่อย่างใด มิหนำซ้ำ ท่าน (ศ) ยังได้ตอกย้ำให้ทุกคนร่วมทัพไปกับอุสามะฮฺ และเดินทางออกจากนครมะดีนะฮฺโดยทันทีโดยไม่เว้นแม้กระทั่งอบูบักรฺ อุมัรฺ และอุษมาน โดยท่านได้บัญชาให้คนทั้งสามอยู่ในแถวทหารเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ แต่การณ์กลับกลายเป็นว่านอกจากคนทั้งสามจะละเมิดต่อกฎเกณฑ์ของกองทัพแล้ว พวกเขายังกล้าที่จะฝ่าฝืนคำบัญชาอันชัดเจนของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) อีกด้วย กล่าวคือ พวกเขามิได้เข้าร่วมกองทัพเพื่อมุ่งสู่สมรภูมิ แต่ได้หนีทัพกลับเข้าสู่นครมะดีนะฮฺอย่างไม่แยแสต่อสิ่งใด (สีเราะฮฺอิบนุฮิชาม เล่ม 4 หน้า 338 – ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 92 – กามิลอิบนุอะษีรฺ เล่ม 2 หน้า 120 – 121)

การโอดครวญอย่างไร้เหตุผลและคำพูดวิจารณ์อย่างสาดเสียเทเสียของเศาะหาบะฮฺบางคนได้สร้างความขมขื่นและปวดร้าวต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ยิ่งนัก ในที่สุด ท่าน (ศ) ได้ตัดสินใจพยุงกายเดินออกจากบ้านในสภาพที่กำลังล้มเจ็บและด้วยสีหน้าที่เต็มไปด้วยความทุกข์ระทมเพราะห่วงกังวลต่อประชาชาติและด้วยหัวใจที่สุดแสนจะปวดร้าว พร้อมกับกล่าวสุนทรพจน์กับประชาชนว่า :-

“โอ้ ประชาชนทั้งหลาย ! ได้เกิดอะไรขึ้นกระนั้นหรือจนกระทั่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับตำแหน่งแม่ทัพของอุสามะฮฺได้ดังมาถึงฉัน มาตรว่าในครั้งนี้พวกท่านคัดค้านต่อตำแหน่งแม่ทัพของเขาแล้วไซร้ ก่อนหน้านั้น พวกท่านก็เคยคัดค้านต่อตำแหน่งแม่ทัพของบิดาของเขา “ซัยด อิบนุหาริษะฮฺ” มาก่อนเช่นกัน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ! บิดาของเขาเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติคู่ควรต่อตำแหน่งแม่ทัพมาก่อน และในทำนองเดียวกัน คุณสมบัติที่ความเหมาะสมคู่ควรสำหรับบุตรชายของเขาก็ไม่มีข้อคลางแคลงสงสัยด้วยเช่นกัน” (เฏาะบะกอตอิบนุสะอัด เล่ม 2 หน้า 249 – สีเราะฮฺหะละบีย์ บทที่กล่าวถึงเรื่องราวของอุสามะฮฺ บินซัยด)

แม้กระทั่งภายหลังจากท่านศาสด (ศ) ได้ล่วงลับไปแล้ว อุมัรฺ ก็ยังไม่ลดละความพยายาม โดยเขาได้ไปพบกับอบูบักรฺเพื่อรุกเร้าให้ถอดถอนตำแหน่งแม่ทัพของอุสามะฮฺ บินซัยด ซึ่งเคาะลีฟะฮฺอบูบักรฺได้กล่าวตอบไปว่า :-
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เป็นผู้แต่งตั้งเขา แล้วท่านจะให้ฉันปลดเขากระนั้นหรือ ?” (สีเราะฮฺหะละบีย์ เล่ม 3 หน้า 336)

ความพยายามของท่านศาสดา (ศ) ในช่วงบั้นปลายแห่งอายุขัยของท่านก็เพื่อที่จะทำให้นครมะดีนะฮฺปลอดพ้นจากแกนนำคนสำคัญทั้งจากชาวมุฮาญิรีนและอันศอรฺนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้บัญชาให้ตระเตรียมกองทัพภายใต้การนำของอุสามะฮฺ และได้สั่งให้กองทหารเดินทางไปประชิดพรมแดนประเทศชาม โดยท่านศาสดา (ศ) ยังคงยืนกรานที่จะให้เศาะหาบะฮฺชั้นนำของท่านเดินทางออกจากศูนย์กลางอิสลามภายใต้ธงชัยของแม่ทัพนาม “อุสามะฮฺ” และในสภาพที่ล่อแหลมเช่นนี้ เฉพาะอลีย์ (อ) เพียงคนเดียวเท่านั้นที่ท่านอนุญาตให้เฝ้าปรนนิบัติอยู่เคียงข้างกาย ปฏิบัติการในช่วงบั้นปลายแห่งชีวิตของท่านศาสดา (ศ) ครั้งนี้เต็มไปด้วยนัยและน่าทึ่งยิ่งนัก แต่ทว่าพวกเขาหาได้สนองตอบคำบัญชาของท่านแต่อย่างใดไม่ โดยได้หนีทัพภายใต้การนำของอุสามะฮฺเดินทางกลับสู่นครมะดีนะฮฺในที่สุด

นักประวัติศาสตร์ต่างมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าตลอดอายุขัยของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ท่านไม่เคยแต่งตั้งบุคคลใดให้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพหรือเป็นผู้นำอลีย์ (อ) แม้แต่คนเดียว 1 แต่ในทางกลับกัน ในทุก ๆ สมรภูมิสงคราม อลีย์ (อ) คือแม่ทัพและผู้ถือธงชัย ในขณะที่ทั้งอบูบักรฺ และอุมัรฺ เป็นเพียงทหารและผู้ใต้บังคับบัญชาของอุสามะฮฺเท่านั้น และในสมรภูมิ “มูตะฮฺ” ท่านศาสดา (ศ) ได้มอบหมายให้อุสามะฮฺเป็นแม่ทัพ และสั่งให้บุคคลทั้งสองอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเขา และในทำนองเดียวกัน ในสงคราม “ซาตุสสะลาสิล” ท่าน (ศ) ได้แต่งตั้งให้ “อัมรฺ อิบนุอาศ” เป็นแม่ทัพ และอบูบักรฺกับอุมัรฺเป็นทหารอยู่ใต้บังคับบัญชาของเขา ในขณะที่นับตั้งแต่ปฐมแห่งการบิอฺษะฮฺ ตราบจนกระทั่งวันที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้ล่วงลับ อลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ไม่เคยตกอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของแม่ทัพคนใด นอกจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เพียงคนเดียวเท่านั้น และนี่คือประเด็นที่เต็มไปด้วยนัย(เฏาะบะกอตอิบนุสะอัด เล่ม 3 หน้า 25 – มุสตัดร็อกหากิม เล่ม 3 หน้า 1)

ไม่มีใครจะลืมเลือนประวัติศาสตร์เมื่อครั้งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ล้มป่วยใกล้จะอำลาจากโลกนี้ซึ่งท่านตระหนักดีถึงวาระสุดท้ายแห่งอายุขัยของท่านว่าได้ใกล้เข้ามาทุกขณะแล้ว เพื่อที่จะให้ภารกิจสุดท้ายได้บรรลุสู่เจตนารมณ์ และมิให้ช่วงเวลาอันมีค่าต้องอันตรธานหายไป ท่านจึงบัญชาว่า :-
“จงนำกระดาษมาเพื่อที่ฉันจะบันทึกคำสั่งเสียสำหรับพวกท่าน ซึ่ง (ด้วยคำสั่งเสียนี้) พวกท่านจะไม่หลงทางภายหลังจากฉัน” (มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 1 หน้า 346 – เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 5 หน้า 76 – ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 2 หน้า 436 – เฏาะบะกอตอิบนุสะอัด เล่ม 2 หน้า 242)

ถึงแม้ว่าท่านจะได้กล่าวสุนทรพจน์และประกาศย้ำเตือนให้ประชาชาตินี้ได้ตระหนักถึงตำแหน่งผู้ปกครองภายหลังจากท่านครั้งแล้วครั้งเล่าก็ตาม แต่ในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านปรารถนาที่จะสั่งเสียและบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อตอกย้ำเป็นครั้งสุดท้ายในตำแหน่งผู้นำหรือผู้ปกครองภายหลังจากท่านดังที่ได้ถูกสาธยายไว้ในคัมภีร์อัลกุรฺอาน........ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสกัดกั้นมิให้ประชาชาตินี้ต้องถลำไปสู่ความหลงผิดและความหายนะ แต่ในที่สุด กลุ่มชนที่ฝ่าฝืนและละเมิดต่อคำบัญชาของท่านจากการเข้าร่วมกองทัพของอุสามะฮฺได้เฝ้าติดตามดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะฉกฉวยโอกาสและวินาทีทองดำเนินตามแผนการที่วางไว้ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงไม่ยอมเปิดโอกาสให้ท่านศาสดา (ศ) สามารถบันทึกคำสั่งเสียได้ (เศาะหี๊หฺบุคอรีย์ เล่ม 1 หน้า 22 – ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 2 หน้า 436 – เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 5 หน้า 76 – มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 3 หน้า 346)

ท่านญาบิรฺ อิบนุอับดิลลาฮฺ อันศอรีย์ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า :-
“เมื่ออาการป่วยของท่านศาสดา (ศ) ทรุดหนักจนใกล้จะถึงวาระสุดท้าย ท่านได้สั่งให้นำกระดาษเพื่อที่จะบันทึกบางสิ่งแก่ประชาชาติของท่านซึ่งจะเป็นหลักค้ำประกันมิให้พวกเขาหลงทาง และเพื่อป้องกันมิให้พวกเขากล่าวหาต่อกันว่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องหลงทาง ในท่ามกลางผู้ที่มาเยี่ยมอาการป่วย พวกเขาได้มีการโต้เถียงด้วยเสียงอึกทึกครึกโครม ณ บ้านของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) นั้นเอง และในที่สุด อุมัรฺได้พูดประโยคที่ทำให้ท่าน (ศ) ต้องขับไล่เขาออกจากบ้านไป” (เฏาะบะกอตอิบนุสะอัด เล่ม 2 หน้า 243)

มีรายงานจากอุบัยดิลลาฮฺ อิบนุอับดิลลาฮฺ อิบนุอุตบะฮฺ ว่าอิบนุอับบาส ได้กล่าวว่า :-
“ในวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) อุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ คือบุคคลหนึ่งที่อยู่ในบ้านของท่านด้วย ท่าน (ศ) ได้กล่าวว่า :-
“ฉันจะบันทึกคำสั่งเสียสำหรับพวกท่านเพื่อที่พวกท่านจะได้ไม่หลงทาง”

อุมัรฺ จึงสวนขึ้นว่า :- อาการป่วยได้ปกคลุมท่านศาสดาแล้ว พวกท่านมีอัลกุรฺอาน สำหรับพวกเรา เฉพาะคัมภีร์ของอัลลอฮฺก็เพียงพอแล้ว

และแล้วได้เกิดการโต้เถียงกันถึงขั้นรุนแรงในท่ามกลางพวกเขา โดยบางส่วนกล่าวว่า :- จงรีบปฏิบัติตามเถิดเพื่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จะได้เขียนคำสั่งเสียสำหรับพวกท่าน ซึ่งพวกท่านจะไม่มีวันหลงทางภายหลังจากท่าน (ศ) ในขณะที่บางส่วนได้ยืนยันคำพูดของอุมัรฺ

ในขณะที่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นต่อหน้าท่านศาสดา (ศ) กำลังจะบานปลายและลุกลามนั่นเอง ท่าน (ศ) จึงได้กล่าวขึ้นว่า :- พวกท่านจงออกไป
จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองที่อิบนุอับบาสได้ให้ข้อสรุปว่า :- แท้จริง ภัยพิบัติครั้งยิ่งใหญ่ได้อุบัติขึ้นเมื่อกรณีพิพาทและเสียงโต้เถียงของพวกเขาได้กลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นมิให้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) สามารถบันทึกคำสั่งเสียนั้นได้” (เฏาะบะกอตอิบนุสะอัด เล่ม 2 หน้า 242 – เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 11 หน้า 95 – มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 1 หน้า 336)

เขายังได้กล่าวด้วยความสลดหดหู่ใจว่า :- “เคราะห์กรรมของมุสลิมได้อุบัติขึ้นนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา” (ตารีคอิบนุกะษีรฺ เล่ม 5 หน้า 227 – 228 – ตารีคซะฮะบีย์ เล่ม 1 หน้า 311 – ตารีคเคาะมีส เล่ม 1 หน้า 182 – อัลบะดะอ์ วัตตารีค เล่ม 5 หน้า 95 – ตีสีรุลวุศูล เล่ม 4 หน้า 194)

ในยุคสมัยเคาะลีฟะฮฺที่สอง เขาได้สนทนากับอิบนุอับบาสเกี่ยวกับตำแหน่งผู้นำของอลีย์ (อ) โดยเขาได้กล่าวในตอนหนึ่งว่า :-
“ในขณะที่ท่านศาสดา (ศ) กำลังล้มป่วยนั้น ท่านปรารถนาที่จะประกาศชื่อของอลีย์ (อ) ให้เป็นที่กระจ่างชัด แต่ทว่าฉันไม่เปิดโอกาสให้ท่านทำเช่นนั้น” (ชัรฺหอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 3 หน้า 97)

นักบันทึกหะดีษและนักประวัติศาสตร์ของชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺบางส่วนได้กล่าวว่า ภายหลังจากท่านศาสดา (ศ) ตัดสินใจที่จะบันทึกคำสั่งเสียเพื่อป้องกันประชาชาติของท่านจากการหลงทาง อุมัรฺ ได้กล่าวขึ้นว่า :-
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺได้เพ้อไปเสียแล้ว”

ในขณะที่บางส่วนพยายามที่จะลดกระแสและปกป้องคำพูดอันก้าวร้าวของอุมัรฺ ด้วยการบันทึกแค่เพียงว่าอุมัรฺ ได้กล่าวว่า :-
“อาการป่วยของท่านศาสดา (ศ) ได้หนักหน่วงรุนแรง คัมภีร์ของอัลลอฮฺอยู่กับพวกท่าน เฉพาะคัมภีร์ของพระองค์ย่อมเป็นการเพียงพอสำหรับเรา”(เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 3 กิตาบุลวะศียะฮฺ หน้า 1259 – เศาะหี๊หฺบุคอรีย์ เล่ม 4 หน้า 5 และประโยคที่คล้ายคลึงกันนี้มีปรากฏในมุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล ตะหฺกีก ชากีรฺ หะดีษที่ 2992)

ประหนึ่งว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ไม่ประสีประสาในคัมภีร์ของพระองค์ และพวกเขามีความเชี่ยวชาญในสารธรรมคำสอนมากกว่าท่าน (ศ) กระนั้น ! มาตรว่าท่านศาสดา (ศ) ประสงค์จะบันทึกคำสั่งเสียเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อยืนยันถึงตำแหน่งผู้นำและตัวแทนผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อจากท่าน ถือเป็นการบังควรแล้วหรือที่พวกเขาจะกล่าวหาและใส่ร้ายว่าท่านไม่สามารถที่จะควบคุมสติได้อีกแล้ว !? และถ้ากรณีที่เขากล่าวหาว่าท่านศาสดา (ศ) พูดในขณะที่ท่านกำลังอยู่ในอาการทรุดหนัก แล้วเหตุไฉนเคาะลีฟะฮฺที่สองจึงไม่ยอมยับยั้งอบูบักรฺมิให้เขียนคำสั่งเสียในขณะที่เขากำลังใกล้จะสิ้นใจ และเหตุใดเขาจึงไม่กล้าที่จะกล่าวหาอบูบักรฺว่าไม่สามารถจะควบคุมสติสัมปชัญญะได้ และเหตุใดเขาจึงไม่ใช้คำพูดกับอบูบักรฺเฉกเช่นที่ได้ใช้กับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ? ! ในขณะที่ตัวเขาก็อยู่ในเหตุการณ์ที่อบูบักรฺกำลังใกล้จะสิ้นใจ และเขาก็รู้ดีว่าเคาะลีฟะฮฺต้องการที่จะบันทึกคำสั่งเสียเกี่ยวกับผู้นำคนต่อไป ซึ่งจะเป็นใครอื่นไปไม่ได้ นอกจากเขาเพียงคนเดียวเท่านั้น ? ! !





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
๑๐
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

ถ้าหากอุมัรฺมีเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์ในการกล่าวประโยค “คัมภีร์ของอัลลอฮฺก็เพียงพอแล้ว” เหตุใดทันที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ล่วงลับ เขาจึงต้องลุกลี้ลุกลนชักชวนอบูบักรฺให้รีบเร่งเดินทางไปยัง “สะกีฟะฮฺ” เพื่อที่จะจัดการแก้ปัญหาในตำแหน่งคิลาฟะฮฺด้วยมาตรการของเขา ? แล้วเหตุใดพวกเขาจึงไม่ยึดบทบัญญัติจากคัมภีร์ของพระองค์ในการแก้ปัญหาครั้งนั้น ? ในขณะที่ที่กรณีดังกล่าว อัลกุรฺอานได้บัญญัติให้มุสลิมถือปฏิบัติอย่างชัดเจน (อายะฮฺตับลีฆ – อายะฮฺวิลายะฮฺ และอายะฮฺอื่น ๆ)

เฏาะบะรีย์ได้บันทึกในตำราประวัติศาสตร์ของเขาไว้ว่า :-
“ทันทีที่ “ชะดีด” ทาสผู้ได้รับการปลดปล่อยของอบูบักรฺได้รับบันทึกคำสั่งเสียเกี่ยวกับตำแหน่งผู้นำจากมือของเขา อุมัรฺจึงได้ป่าวประกาศกับประชาชนว่า :- โอ้ ประชาชน จงฟังคำพูดของฉัน ท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งของเคาะลีฟะฮฺ ซึ่งมีใจความดังต่อไปนี้ :-
“ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในด้านความปรารถนาดีที่มีต่อพวกท่าน” (ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 4 หน้า 51)

พวกเขายังได้สำแดงความเป็นปรปักษ์ต่อคำสั่งของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) แม้กระทั่งภายหลังจากท่านได้วายชนม์ไปแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยเคาะลีฟะฮฺที่สอง ซึ่งได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราชั้นแนวหน้าของชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺ (สีเราะฮฺอิบนุฮิชาม เล่ม 4 หน้า 273 – เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 4 หน้า 37 และ 38 และ 46 – ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 2 หน้า 401 – มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 3 หน้า 304 และ 380)

ดังเช่นในกรณีที่เคาะลีฟะฮฺที่สองได้ออกบทบัญญัติใหม่ขึ้นมาว่า :-
“ข้าพเจ้าจะใช้มาตรการลงโทษบุรุษที่นิกาหฺกับสตรีโดยมีเงื่อนไขเวลา (การแต่งงานชั่วคราว) ด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน (รัจญ์มุ)” (เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 8 หน้า 169)

เหตุผลที่ทำให้เคาะลีฟะฮฺอุมัรฺสั่งห้ามมิให้มีการแต่งงานชั่วคราวก็เนื่องจากในสมัยของเขาได้มีการแต่งงานชั่วคราวเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในหมู่เศาะหาบะฮฺและมุสลิมโดยทั่วไป มิฉะนั้นแล้ว เขาคงจะไม่ออกคำสั่งห้ามอย่างแน่นอน และมาตรว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้เคยออกคำสั่งห้ามเช่นนี้มาก่อน คงไม่มีเศาะหาบะฮฺกล้าฝ่าฝืนคำสั่งของท่านอย่างแน่นอน และไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่อุมัรฺจะต้องมาออกคำสั่งห้ามในสมัยของตนอีก และยังข่มขู่ว่าจะใช้มาตรการลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน (รัจญ์มุ) อีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้นตัวเขาเองเป็นผู้กล่าวออกมาอย่างเปิดเผยว่า :-
“ 3 ประการที่ในสมัยของท่านศาสดา (ศ) เคยเป็นสิ่งหะลาล (อนุมัติ) และฉันได้ออกคำสั่งห้ามให้เป็นสิ่งหะรอม (ต้องห้าม) และจะจัดการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน ได้แก่ “มุตอะฮฺนิสาอ์” (การแต่งงานชั่วคราว), “มุตอะฮฺหัจญ์” และการกล่าว “หัยยะอะลาคัยริลอะมัล” (จงรีบเร่งมาสู่การประกอบคุณธรรมที่ประเสริฐสุดกันเถิด) ในอะซาน” (อัลเฆาะดีรฺ เล่ม 6 หน้า 23)

นอกจากนี้ เขายังได้ออกคำสั่งให้กล่าว “อัศเศาะลาตุคัยรุมมินัลเนาว์มฺ” (การนมาซดีกว่าการนอน) ในอะซานศุบห์อีกด้วย (มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 3 หน้า 408 – เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 3 หน้า 183 – สีเราะฮฺหะละบีย์ เล่ม 2 หน้า 105 – อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ เล่ม 3 หน้า 23)

มีบันทึกในเศาะหี๊หฺติรฺมิซีย์ ว่า :- มีชายชาวชามคนหนึ่งได้ถามอับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัรฺ เกี่ยวกับ “มุตอะฮฺหัจญ์” ซึ่งเขาได้ตอบว่า :- หะลาล (อนุมัติ)

ชายผู้นั้นจึงกล่าวว่า :- แต่บิดาของท่าน (อุมัรฺ) ได้ออกคำสั่งห้าม
อับดุลลอฮฺ จึงตอบว่า :- ถ้าหากพ่อของฉันได้ห้ามในสิ่งที่ท่านนบีย์ (ศ) อนุมัติ แล้วเราจะเป็นผู้ละทิ้งสุนนะฮฺของท่านนบีย์ (ศ) แล้วหันไปดำเนินตามคำพูด (สุนนะฮฺ) พ่อของฉันกระนั้นหรือ ? (เศาะหี๊หฺติรฺมิซีย์ เล่ม 4 หน้า 38 กิตาบหัจญ์)ในทำนองเดียวกันที่อิบนุกะษีรฺได้บันทึกในตำราประวัติศาสตร์ของเขาว่า :-
“ประชาชนได้พากันกล่าวกับอับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัรฺ ว่าบิดาของท่านได้ออกคำสั่งห้ามมุตอะฮฺนิสาอ์ ซึ่งเขาได้ตอบไปว่า :- ฉันหวั่นเกรงเหลือเกินว่าก้อนหินจากฟากฟ้าจะฟาดลงมาบนพวกท่าน พวกเราจะปฏิบัติตามสุนนะฮฺของท่านนบีย์ หรือจะปฏิบัติตามสุนนะฮฺของอุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ กันแน่ ?” (ตารีคอิบนุกะษีรฺ เล่ม 5 หน้า 141

เป็นที่ทราบกันดีว่าในสมัยท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และสมัยเคาะลีฟะฮฺอบูบักรฺ จนกระทั่งย่างเข้าปีที่สี่แห่งยุคสมัยเคาะลีฟะฮฺอุมัรฺนั้น ถ้าหากสามีคนใดได้ประกาศเฏาะล๊าก (หย่าร้าง) ภรรยาของตน 3 ครั้งในวาระเดียวกัน ถือว่าจะมีผลบังคับเพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น (1 เฏาะล๊าก) แต่ทว่าอุมัรฺกลับสวนกระแสโดยประกาศว่า :- ถ้าหากมีการหย่าร้างเช่นนั้นเกิดขึ้นอีก ฉันจะถือว่าเป็นการหย่าร้าง 3 เฏาะล๊าก” (เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 4 หน้า 183 – 184)

ในขณะที่ชาวชีอะฮฺมีความเชื่อว่าการหย่าร้างในลักษณะเช่นนี้จะมีผลเพียงหนึ่งเฏาะล๊ากเท่านั้น ซึ่งท่านอัลลามะฮฺ ชัยคฺมุหัมมัด ชัลตูต อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรฺ ประเทศอียิปต์ ได้กล่าวยอมรับว่าหลักนิติศาสตร์ของชีอะฮฺเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ตลอดจนประเด็นอื่น ๆ อีกมากมายมีความถูกต้องชัดเจนเป็นอย่างยิ่ง ( นิตยสาร “ริสาละตุลอิสลาม” พิมพ์ในอียิปต์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1)

บนพื้นฐานของบทบัญญัติแห่งพระผู้เป็นเจ้าที่ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้นั้น จึงไม่มีมนุษย์คนใดที่จะมีสิทธิก้าวก่ายหรือแตะต้องบทบัญญัติของพระองค์ แม้กระทั่งท่านศาสนทูตของพระองค์ก็ตาม ดังที่อัลกุรฺอานได้ตรัสว่า :-
“และมาตรว่ามุหัมมัดเสกสรรปั้นแต่งคำพูดพาดพิงถึงเรา เราจะจัดการลงโทษเขาด้วยพลานุภาพของเรา แล้วเราจะตัดเส้นชีวิตของเขาให้ขาดสะบั้น” (อัลหากเกาะฮฺ 69 : 44 – 46)

แต่ดังที่เราได้ประจักษ์เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเศร้าสลดใจที่เศาะหาบะฮฺบางคนได้ใช้ทัศนะส่วนตัววินิจฉัยบทบัญญัติของอัลลอฮฺ และบังอาจเปลี่ยนแปลงพระบัญชาของพระองค์เพื่อให้สอดคล้องกับอารมณ์ของพวกเขา

เมื่อเคาะลิฟะฮฺที่สองขึ้นครองอำนาจ เขาได้จัดการแบ่งชนชั้นในประชาคมอิสลามให้กลายเป็นระบบศักดินา แบ่งแยกระบบเจ้าขุนมูลนาย และสร้างความแตกต่างในระหว่างอรับและอญัม (ชนที่มิใช่อรับ) อย่างชัดเจน (ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 107)

ในการจัดสรรปันส่วนจากกองคลังบัยตุลมาล อุมัรฺได้แบ่งแยกชนชั้นในท่ามกลางมุสลิมด้วยการจำแนกว่าผู้ที่เข้ารับอิสลามก่อนจะต้องมีความเหนือกว่าผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และชาวมุฮาญิรีนแห่งตระกูลกุรัยช์จะต้องได้รับส่วนแบ่งมากกว่ามุฮาญิรีนที่มิใช่กุรัยช์ และในทำนองเดียวกัน มุฮาญิรีนจะต้องมีศักดิ์ศรีเหนือกว่าชาวอันศอรฺ และนายทาสจะต้องดีกว่าทาส เป็นต้น (ชัรฺหฺอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 8 หน้า 11 – เฏาะบะกอตอิบนุสะอัด เล่ม 3 หน้า 296 – 297)

ในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต อุมัรฺเริ่มจะสำนึกในความผิดพลาดของตน จึงได้กล่าวออกมาว่า :-
“ถ้าในปีนี้ฉันยังมีชีวิตรอดอยู่ต่อไป ฉันจะสร้างความเท่าเทียมในระหว่างประชาคมมุสลิม และจะกำจัดความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้หมดสิ้นไปจากพวกเขา และจะปฏิบัติตามแบบฉบับของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และอบูบักรฺ” (ตารีคยะอฺกูบีย์ และที่มีบันทึกคล้ายคลึงกันนี้ใน อัลฟิตนะตุลกุบรอ ฏอฮา หุสัยน์ เล่ม 1 หน้า 108)

ทั้งหลายทั้งปวงล้วนสำแดงให้ประจักษ์ถึงท่าที พฤติกรรม และการไม่แยแสต่อวจนะของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ของเศาะหาบะฮฺบางคนได้เป็นอย่างดี คำบัญชาใช้อันใดของท่าน (ศ) ที่ไม่สอดคล้องกับทัศนะและอารมณ์ของพวกเขา ก็จะถูกละเมิดหรือเหยียบย่ำทำลายหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามอำเภอใจของพวกเขา

ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมจากตัวอย่างของเศาะหาบะฮฺที่ได้สำแดงออกมาในขณะที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ยังมีชีวิตอยู่ จึงมิใช่เป็นเรื่องที่เกินความคาดหมายและเป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจแต่อย่างใดที่พวกเขาจะพากันกระด้างกระเดื่อง ดูแคลน และละเมิดต่อคำสั่งเสียของท่านศาสดา (ศ) ในวันเฆาะดีรฺคุม และในกรณีอื่น ๆ อีกมากมายภายหลังจากที่ท่าน (ศ) ได้ล่วงลับไปแล้ว !

ในอีกด้านหนึ่ง ผู้คนส่วนใหญ่ในทุก ๆ สังคมมักจะคล้อยตามชนชั้นผู้นำทางการเมืองและทางสังคมเสมอ และนี่คือปรากฏการณ์และความเป็นจริงที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้
อย่างไรก็ตาม ยังมีบุคคลที่เต็มไปด้วยเกียรติประวัติอันสูงส่ง มีความเป็นอิสรชน และยังคงสวามิภักดิ์ต่อท่านศาสดา (ศ) อย่างเสมอต้นเสมอปลาย พวกเขาไม่เคยสำแดงความสับปลับกลับกลอกทั้งในขณะที่ท่านยังมีชีวิตหรือภายหลังจากท่านได้ล่วงลับไปแล้วก็ตาม พวกเขาไม่เคยยอมสยบหรือตกอยู่ภายใต้อำนาจอธรรมของคณะรัฐประหารแห่ง “สะกีฟะฮฺ” และได้ปลีกตัวออกห่างจาก และพยายามหลีกห่างจากชนส่วนใหญ่ที่พากันแห่แหนให้การสนับสนุนพวกนั้นเพื่อเป็นการคว่ำบาตรกลุ่มผู้แสวงหาอำนาจด้วยวิถีที่ผิดครรลองคลองธรรม ถึงแม้ว่าการพูดความจริงของพวกเขาจะต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและอำนาจมืดของผู้ปกครองก็ตาม แต่ทว่าพวกเขาก็ยังคงยึดมั่นอยู่บนพันธสัญญาแห่งอิมามะฮฺหรือความเป็นผู้นำของอลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) อย่างไม่เสื่อมคลาย ผู้ที่ยืนหยัดอยู่บนสัจธรรมเหล่านี้ ได้แก่ สัลมาน อัลฟารฺสีย์, อบูซัรฺ อัลฆิฟารีย์, อบูอัยยูบ อันศอรีย์, คุซัยมะฮฺ อิบนุษาบิต, มิกด๊าด อิบนุอัสวัด, อัมมารฺ บินยาสิรฺ, อุบัย อิบนุกะอฺบ, คอลิด อิบนุสะอีด, บิลาล หะบะชีย์, กัยส อิบนุอิบาดะฮฺ, อะบาน อิบนุตัฆลับ, บุรีดะฮฺ อัสละมีย์, อบูฮัยษัม บินอิตตีฮาน และเศาะหาบะฮฺอีกมากมายที่นามของพวกเขาได้ถูกจารึกอยู่ในตำราประวัติศาสตร์อิสลาม ซึ่งนักวิชาการอิสลามบางส่วนได้บันทึกเกียรติประวัติและคุณธรรมความดีของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นเศาะหาบะฮฺผู้สัตย์จริงของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ว่ามีจำนวนถึง 250 คนด้วยกัน (ฟุศุลุลมุฮิมมะฮฺ ชัรฺฟุดดีน หน้า 177 – 192)

ยะอฺกูบีย์ ได้บันทึกรายนามเศาะหาบะฮฺผู้สัตย์จริงในตำราประวัติศาสตร์ของเขาว่าได้แก่ :- อบูซัรฺ อัลฆิฟารีย์, สัลมาน อัลฟารฺสีย์, มิกด๊าด อิบนุอัสวัด, คอลิด อิบนุสะอีด, ซุบัยรฺ, อับบาส, บุรออ์ อิบนุฆอลิบ, อุบัย อิบนุกะอับ และฟัฎลฺ อิบนุอับบาส (ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 103)

เกี่ยวกับตำแหน่งคิลาฟะฮฺนี้เองที่ทำให้ “กัยส อิบนุสะอัด อิบนุอิบาดะฮฺ” ได้สำแดงความเกรี้ยวกราดกับบิดาของเขา และสาบานว่าจะไม่มีวันพูดจาพาทีกับบิดาของเขาอีกต่อไป (ชัรฺหอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 2 หน้า 18)

พวกเขาคือชีอะฮฺในยุคทองของอิสลามที่พร้อมอุทิศชีวิตเพื่อพิทักษ์ตำแหน่งอิมามะฮฺและวิลายะฮฺของอลีย์ (อ) บนพื้นฐานแห่งคำสั่งเสียของคัมภีร์และสุนนะฮฺ และได้ยืนหยัดบนหลักศรัทธาดังกล่าวตราบจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต และตลอดช่วงสมัยของเคาะลีฟะฮฺทั้งสาม ชีอะฮฺผู้รักความสัตย์จริงได้เพิ่มทวีมากยิ่งขึ้น ดังที่เกียรติคุณและความสูงส่งของพวกเขาได้ถูกจารึกอยู่ในตำราประวัติศาสตร์และชีวประวัติบุคคลสำคัญ ตัวอย่างเช่น มุหัมมัด บุตรอบูบักรฺ, เศาะอฺเศาะอะฮฺ อิบนุศูหาน, ซัยด อิบนุศูหาน, ฮิชาม อิบนุอะเกาะบะฮฺ, อับดุลลอฮฺ, อับดุลลอฮฺ อิบนุบะดีล เคาะซาอีย์, มัยษัม ตัมมารฺ, อะดีย์ อิบนุหาติม, หะญัรฺ อิบนุอะดีย์, อัศบัฆ อิบนุนะบาตะฮฺ, หาริษ อะอฺวัรฺ, อัมรฺ อิบนุลหัมกฺ, มาลิก อัชตัรฺ และอับดุลลอฮฺ อิบนุฮาชิม เป็นต้น





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
๑๑
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม



8 อัลกุรฺอานได้ให้การรับรองเศาะหาบะฮฺของท่านศาสดา (ศ) ไว้จริงหรือ ? การที่คัมภีร์อัลกุรฺอานได้กล่าวยกย่องสดุดีเกียรติคุณของเศาะหาบะฮฺของท่านศาสดา (ศ) มิอาจจะถือเป็นเหตุผลที่บ่งชี้ถึงความบริสุทธิ์จากการประพฤติเสื่อมเสียและการหลงทางตราบวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของพวกเขาแต่อย่างใดไม่ และมิใช่หลักค้ำประกันว่าพวกเขาจะยึดมั่นกับสัจธรรมความจริงไม่ว่าจะตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขและการทดสอบใด ๆ ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลที่จะได้รับความพึงพอพระทัยจากพระผู้อภิบาลและความจำเริญอันสถาพรนั้นขึ้นอยู่กับความศรัทธาที่มั่นคงควบคู่กับการประกอบคุณธรรมความดีตลอดชั่วชีวิตของเขาต่างหาก และถ้าหากคุณสมบัติทั้งสองต้องประสบกับความมัวหมอง กล่าวคือทั้งหลักความเชื่อศรัทธาและพฤติกรรมได้โน้มนำไปสู่ทางที่หลงผิดและความเสื่อมทรามแล้ว เกียรติประวัติที่เคยรุ่งเรืองย่อมไม่สามารถจะนำมาเป็นเกราะป้องกันจากความหลงผิดในวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของพวกเขาได้

แม้กระทั่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ผู้ที่คอยให้การอบรมผู้คนให้มีความสำรวมตนเพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านคือผู้นำแห่งศรัทธาชนผู้ยึดมั่นในเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และยังเป็นแบบฉบับแห่งจริยธรรมความดีงาม ซึ่งไม่มีวันจะถลำไปสู่การตั้งภาคีและประพฤติเสื่อมเสีย ก็ยังถูกเตือนสำทับจากคัมภีร์อัลกุรฺอานว่า :-
“มาตรว่าเจ้าตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ คุณธรรมความดีของเจ้าจะไร้ผลอย่างสิ้นเชิง และเจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุนอย่างแน่นอน” (สูเราะฮฺอัซซุมัรฺ 39 : 65)

เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าท่านศาสดา (ศ) เป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์จากความผิดบาป และไม่เคยเผลอไผลจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺแม้เพียงเศษเสี้ยววินาที แต่เจตนารมณ์ที่แท้จริงของอัลกุรฺอาน ณ ที่นี้ ก็เพื่อที่จะเตือนสำทับผู้ศรัทธามิให้หยิ่งผยองลำพองตนและโอ้อวด......(หน้า 90) แต่เพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากพระองค์ ศรัทธาชนจะต้องยึดมั่นบนสัจธรรมตราบวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

อัลกุรฺอานได้ตรัสเกี่ยวกับท่านศาสดาอิบรอฮีม (อลัยฮิสลาม) และทายาทผู้บริสุทธิ์ของท่านว่า :-
“มาตรว่าพวกเขาตั้งภาคีกับอัลลอฮฺแล้วไซร้ คุณธรรมความดีที่พวกเขาเคยประกอบไว้จะต้องสูญสลายไปจากพวกเขาอย่างแน่นอน” (สูเราะฮฺอันอาม 6 : 88)

พระองค์ยังตรัสอีกว่า :-
“อัลลอฮฺไม่ทรงรักบรรดาผู้อธรรม” (สูเราะฮฺอาลิอิมรอน 3 : 57)
“อัลลอฮฺไม่ทรงพึงพอพระทัยกลุ่มชนผู้ละเมิด” (สูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ 9 : 96)

จากหน้าประวัติศาสตร์ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าผู้ที่ถูกขนานนามว่าเป็นเศาะหาบะฮฺของท่านศาสดาหาได้เป็นกัลยาณชนและมีความสำรวมตนจากความชั่วทุกคนไม่ ซึ่งหะดีษของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ย่อมเป็นสักขีพยานยืนยันได้เป็นอย่างดี ดังที่บุคอรีย์ได้บันทึกวจนะของท่านว่า :-

“ในวันกิยามะฮฺ ฉันจะยืนอยู่ที่ริมสระน้ำเกาษัรฺเพื่อรอคอยผู้ที่จะมาพบกับฉัน ในขณะนั้นเองที่ชนกลุ่มหนึ่งเริ่มหนีห่างไปจากฉัน ฉันจึงถามขึ้นว่า พวกเขาเหล่านั้นคือเศาะหาบะฮฺของฉันมิใช่หรือ ? มีเสียงตอบขึ้นว่า : ใช่แล้ว แต่ทว่า เจ้าไม่รู้หรอกว่า (ภายหลังจากเจ้าแล้ว) พวกเขาได้หันไปสู่ญาฮิลียะฮฺ” (เศาะหี๊หฺบุคอรีย์ กิตาบฟิตัน)

นอกจากนี้ “มุสลิม” ยังได้บันทึกในเศาะหี๊หฺของเขาว่า ท่านศาสดา (ศ) ได้วจนะไว้ว่า :-
“ฉันได้มองเห็นบุรุษชนผู้เคยเป็นเศาะหาบะฮฺของฉันได้พากันมาหาฉัน ณ สระน้ำ แต่เมื่อเข้ามาใกล้ฉัน พวกเขากลับมีความละอาย ฉันจึงกล่าวว่า โอ้ อัลลอฮฺ พวกเขาคือเศาะหาบะฮฺของฉัน ได้มีเสียงตอบขึ้นว่า : เจ้าไม่รู้หรอกว่าภายหลังจากเจ้าแล้วพวกเขาได้ประกอบกรรมใดไว้บ้าง” (เศาะหี๊หฺมุสลิม เล่ม 15 หน้า 64)

“ตัฟตาซานีย์ ชาฟิอีย์” นักวิชาการนามกระเดื่องชาวสุนนีได้บันทึกไว้ว่า :-
“สงคราม ความขัดแย้ง และความเป็นศัตรูได้เกิดขึ้นในระหว่างเศาะหาบะฮฺดังที่ได้ถูกบันทึกในตำราประวัติศาสตร์และจากคำพูดของบุคคลที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างที่สามารถหยิบยกมากล่าว ณ ที่นี้ก็คือเศาะหาบะฮฺกลุ่มหนึ่งที่หันเหออกจากสัจธรรมและถลำไปสู่ความอธรรมและการละเมิด เหตุผลประการสำคัญที่ทำให้พวกเขาต้องหลงทาง สร้างความเสื่อมเสียและความอธรรมก็เนื่องจากความอิจฉาริษยา อาฆาตพยาบาท ความเป็นศัตรู การหลงมัวเมาในอำนาจ ตำแหน่ง ลาภยศสรรเสริญ และตกเป็นทาสแห่งอารมณ์ฝ่ายต่ำ เพราะมิได้มีเครื่องค้ำประกันว่าเหล่าเศาะหาบะฮฺจะเป็นผู้ปลอดพ้นจากความชั่วและความผิดบาป” (ชัรฺหุลมะกอศิด หน้า 46)

ดังนั้น มาตรว่าผู้ดำเนินรอยตามมัซฮับบางมัซฮับไม่ยอมให้เกียรติเศาะหาบะฮฺหรือตาบิอีนบางคนด้วยการตำหนิและวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมบางอย่างของพวกเขา จึงไม่ควรถือเป็นสาเหตุให้มีการประณามสาปแช่งในระหว่างมุสลิมด้วยกัน และไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะสร้างความอาฆาตพยาบาทและความเป็นศัตรูต่อกันเพียงแค่มุมมองและทัศนคติที่แตกต่างกันในเรื่องนี้ และไม่มีข้ออนุมัติใด ๆ ที่จะให้ประณามผู้ที่ดำเนินรอยตามท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ว่าเป็นผู้ละเมิดหรือผู้ปฏิเสธเพียงเพราะสาเหตุดังกล่าว เพราะแม้แต่ในหมู่เศาะหาบะฮฺด้วยกันก็ยังเกิดกรณีพิพาท ประณามสาปแช่ง และสร้างความเป็นศัตรูต่อกัน ดังตัวอย่างในเหตุการณ์สะกีฟะฮฺที่ฝ่ายหนึ่งได้ตะคอกใส่หน้าและเกือบจะลงมือสังหารสะอัด อิบนุอิบาดะฮฺ, การทะเลาะอย่างรุนแรงระหว่างกัยส อิบนุอิบาดะฮฺ กับอุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ หรือกรณีที่ซุบัยรฺได้ประกาศด้วยเสียงอันดังต่อหน้าที่ชุมนุมที่สะกีฟะฮฺว่า “ฉันจะไม่มีวันเก็บดาบจนกว่าพวกเจ้าจะให้สัตยาบันต่ออลีย์ (อ) เท่านั้น” จนในที่สุด อุมัรฺได้เยาะเย้ยถากถางพร้อมกับออกคำสั่งให้จับเขาและรุมสะกรัมทำร้ายเขา !

พฤติกรรมของอุมัรฺที่มีต่อมิกด๊าด, และกรณีที่เคาะลีฟะฮฺอุษมานสร้างความอธรรมต่ออิบนุมัสอู๊ด, อัมมารฺ บินยาสิรฺ และอบูซัรฺ ฆิฟารีย์ และในกรณีอื่น ๆ อีกมากมายล้วนแล้วแต่สำแดงถึงความเป็นปรปักษ์และความไม่ลงรอยในระหว่างเศาะหาบะฮฺทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ทัศนะหรือมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับเศาะหาบะฮฺบางคนจึงมิใช่เหตุผลที่จะนำมาประณามสาปแช่งหรือกล่าวหาอีกฝ่ายว่าเป็นผู้ปฏิเสธ และสร้างรอยด่างพร้อยหรือทำลายเอกภาพในระหว่างประชาชาติอิสลาม

ในความเป็นจริงแล้ว แม้กระทั่งผู้ที่ดำเนินรอยตามมัซฮับของชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺเองก็หาได้ยกย่องและให้เกียรติเศาะหาบะฮฺและตาบิอีนทั้งหมดไม่ กลุ่มชนที่มีส่วนร่วมสังหารเคาะลีฟะฮฺอุษมานยังถูกลดระดับและคุณค่าแห่งความเป็นเศาะหาบะฮฺและตาบิอีน หรือกรณีคอลิด อิบนุวะลีด ที่ได้สังหารมาลิก อิบนุนุวัยเราะฮฺ ผู้เป็นเศาะหาบะฮฺของท่านศาสดา (ศ) ! เช่นนี้เป็นต้น

ในทางกลับกัน ในท่ามกลางเศาะหาบะฮฺก็ยังมีบุคคลที่มีเกียรติประวัติสูงส่งทั้งในด้านความศรัทธา การสำรวมตนจากความชั่ว การเสียสละ และการขัดเกลาจิตวิญญาณไปสู่ความสมบูรณ์ ตลอดชั่วชีวิตของพวกเขาได้ยอมพลีถวายอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งเดชานุภาพของอัลลอฮฺ ในขณะที่เศาะหาบะฮฺมากมายที่ยังคงอนุรักษ์อุดมการณ์ มารยาทและพฤติกรรมแห่งยุคญาฮิลียะฮฺเอาไว้อย่างเหนียวแน่น พวกเขาแอบซ่องสุมรังแห่งความเป็นศัตรูต่ออิสลาม ณ ซอกมุมในสี่ห้องหัวใจของพวกเขา และยังคงอาลัยอาวรณ์ต่อประเพณีแห่งอนารยชนอย่างไม่เสื่อมคลาย การยอมจำนนต่ออิสลามภายหลังฟัตหุลมักกะฮฺ (การพิชิตชัยชนะเหนือมักกะฮฺ) ก็เพียงเพื่อที่จะรักษาผลประโยชน์แห่งวงศ์ตระกูลของตนให้ดำรงอยู่ต่อไปเท่านั้นเอง แต่ด้วยความเป็นสุภาพบุรุษและบุคลิกภาพที่น่าเลื่อมใสศรัทธาของท่านศาสดา (ศ) ที่โฉมหน้าและธาตุแท้ของพวกเขาเอายังไม่ถูกกระชากออกมาให้สาธารณชนได้ประจักษ์ และยังไม่ได้ฤกษ์ที่จะสำแดงความสับปลับกลับกลอกออกมา แต่หลังจากท่าน (ศ) ได้ล่วงลับไปแล้ว พวกเขาจึงได้เริ่มเปิดเผยโฉมหน้าที่แท้จริงแห่งยุคญาฮิลียะฮฺขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง !

ดังนั้น การยอมรับเศาะหาบะฮฺแบบเหมารวมโดยไม่จำแนกพฤติกรรมความเสื่อมเสียและการละเมิดของพวกเขา และเชื่อว่าทุกคนล้วนเป็นกัลยาณชน จึงเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) อย่างแน่นอน

ด้วยเหตุนี้ จึงมิอาจจำเพาะเจาะจงว่าผู้ที่เป็นกัลยาณชนผู้ทรงคุณธรรมจะมีแค่เพียงชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอรฺเท่านั้น และไม่มีมนุษย์คนใดที่จะกล้าฟันธงลงไปได้ว่าความผาสุขอันสถาพรของเขาขึ้นอยู่กับการมอบกายถวายชีวิตให้กับพวกเขา แต่ยังมีปัจจัยและเงื่อนไขที่บุคคลผู้นั้นจะต้องยืนหยัดอย่างมั่นคงตราบวาระสุดท้ายแห่งชีวิตจนกว่าเขาจะกลายเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง

ในขณะที่อุละมาอ์ชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺถือว่าเศาะหาบะฮฺทุกคนล้วนเป็นนักปราชญ์ผู้สามารถวินิจฉัยโดยปลอดพ้นจากความผิดพลาด หรือเป็นผู้ที่จะได้รับรางวัลตอบแทนจากการวินัจฉัยถึงแม้ว่ามันจะผิดพลาดก็ตาม ด้วยทัศนะดังกล่าว ถึงแม้ว่าเศาะหาบะฮฺจะเป็นผู้ที่ประพฤตินอกลู่นอกทางเพียงไรก็ตาม พวกเขาก็ยังถือว่าชนเหล่านั้นเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่นั่นเอง ! ภายใต้พื้นฐานแห่งทัศนะดังกล่าว พวกเขาจึงสามารถควบคุมประชาชนมิให้มีปากเสียงวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมที่ชั่วร้ายของเศาะหาบะฮฺบางคน และมีผลทำให้บางกลุ่มชนที่แสวงหาผลประโยชน์แห่งโลกดุนยาใช้เป็นเครื่องมือก่ออาชญากรรมโดยไม่แคร์ต่อสิ่งใด บุคคลเฉกเช่น มุอาวิยะฮฺ, อัมรฺ อิบนุอาศ, คอลิด อิบนุวะลีด, มุฆีเราะฮฺ, สะอีด อิบนุอาศ และบัสรฺ อิบนุอิรฺฏอต คือตัวอย่างของอาชญากรที่ได้ก่อกรรมทำเข็ญและสร้างความอธรรมต่อประชาคมอิสลาม โดยไม่มีผู้ใดกล้าคัดค้านการกระทำของพวกเขา จนถึงขนาดที่มุอาวิยะฮฺกล้าประกาศอย่างอหังการต่อหน้าฝูงชนจำนวนมากว่า :-

“ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของอัลลอฮฺ และฉันคือตัวแทนของพระองค์ ดังนั้น ฉันย่อมมีสิทธิ์ที่จะใช้จ่ายมัน”

ไม่มีใครที่กล้าหาญชาญชัยคัดค้านคำพูดของเขา นอกจาก “เศาะอฺเศาะอะฮฺ อิบนุศูหาน” ผู้เป็นชีอะฮฺเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ลุกขึ้นมาคัดค้านและปฏิเสธคำประกาศของเขา (มุรูญุซซะฮับ มัสอูดีย์)

ถ้าหากการได้มีโอกาสใช้ชีวิตร่วมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) จะถือเป็นสาเหตุให้พวกเขาเป็นผู้บริสุทธิ์จากความผิดบาปและจะได้รับความผาสุกอันสถาพรแล้ว จะตอบคำถามกรณีที่เศาะหาบะฮฺจำนวนหนึ่งได้ละทิ้งศรัทธาและหันกลับไปสู่การปฏิเสธในสมัยที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ยังมีชีวิตอยู่ จนกระทั่งท่าน (ศ) ได้ประณามและใช้มาตรการลงโทษพวกเขาว่าอย่างไร ? !

“หัรฺกูศ อิบนุซุฮัยรฺ” ผู้นำกลุ่มเคาะวาริจญ์แห่งนะฮฺระวาน คือหนึ่งในจำนวนของผู้ที่ได้ชื่อว่ามีชีวิตร่วมสมัยกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และในยุคนั้นไม่มีใครเคยคาดคิดมาก่อนว่าในบั้นปลายของชีวิตเขาจะสร้างความฉงนสนเท่ห์ด้วยการหันหลังให้กับอิสลามอย่างสิ้นเชิง แต่ปรากฏการณ์ก็ได้อุบัติขึ้นแล้ว ซึ่งท่าน (ศ) ได้เคยกล่าวถึงชะตากรรมอันน่าชิงชังรังเกียจของเขาเอาไว้ว่า :-
“เขาจะหนีออกจากศาสนาแห่งสัจธรรมประดุจดั่งลูกธนูที่พุ่งออกจากคันธนู”

และแล้ว ในบั้นปลายชีวิต เขาได้หันเข้าไปร่วมกับกลุ่มเคาะวาริจญ์ และเป็นผู้จุดชนวนสงครามนะฮฺระวาน และเป็นผู้ถือธงสัญลักษณ์แห่งความเป็นขบถต่ออลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (ศ) และได้ถูกสังหารด้วยน้ำมือของท่าน (อ) ในที่สุด

“อับดุลลอฮฺ อิบนุญะหฺช” คือเศาะหาบะฮฺอีกคนหนึ่งที่จำต้องอพยพออกจากศูนย์กลางที่เต็มไปด้วยรัศมีและบรรยากาศแห่งอิสลามไปสู่หะบะชะฮฺหรืออบิสสิเนีย และทุกคนต่างคาดหวังว่าเขาคงจะพิสูจน์ศรัทธาด้วยความอดกลั้นจากอุปสรรคและความทุกข์ยากในแผ่นดินแห่งนั้นร่วมกับมุสลิมคนอื่น ๆ และจะเป็นผู้หนึ่งที่สามารถปกป้องศาสนาของอัลลอฮฺ แต่หลังจากกาลเวลาได้ผ่านไปไม่นาน ความมืดมนอนธการได้ปกคลุมหัวใจจนทำให้เขาหันหลังให้อิสลามเข้ารีตสู่แนวทางของคริสต์ในที่สุด

ดังนั้น ความพึงพอพระทัยของพระผู้อภิบาลที่มีต่อเศาะหาบะฮฺของศาสนทูตแห่งพระองค์ (ศ) จึงขึ้นอยู่บนเงื่อนไขที่ว่าพวกเขาจะต้องรักษาศรัทธาและความสำรวมตนให้ดำรงคงอยู่ตราบวาระสุดท้ายแห่งชีวิต และจะต้องยึดมั่นต่อสัจธรรมอย่างไม่เสื่อมคลาย แต่ตราบใดที่พวกเขาเปลี่ยนทิศทางและหันเหออกจากสัจธรรม คุณงามความดีที่เคยสั่งสมไว้ก็จะต้องอันตรธานหายสิ้นไปด้วย และผลลัพท์ก็คือพวกเขาเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตด้วยการแปรเปลี่ยนความพึงพอพระทัยของพระองค์ไปสู่ความโกรธกริ้วด้วยน้ำมือและการตัดสินใจของพวกเขาเอง

เพราะฉะนั้น ไม่เพียงแต่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านศาสดา (ศ) ศรัทธาชน และเหล่าผู้นำไปสู่วิถีแห่งสัจธรรมเท่านั้น เพราะแม้แต่บรรดาศาสดา (อัมบิยาอ์) และผู้เป็นที่รักของพระองค์ (เอาลิยาอ์) หรือแม้กระทั่งตัวท่านศาสนทูตสุดท้าย (ศ) ผู้ถูกขนานนามว่าเป็นความเมตตาและความจำเริญสำหรับมนุษยชาติก็ยังหาได้มีเครื่องค้ำประกันแต่อย่างใดไม่





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
๑๒
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

9 กระบวนการสรรหาตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ ณ สะกีฟะฮฺ
(สะกีฟะฮฺ คือที่มาของระบบเคาะลีฟะฮฺ) หลังจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ผู้สถาปนาอิสลาม และได้ฟื้นฟูชุบชีวิตและจิตวิญญาณของชาวโลกให้ตื่นจากภวังค์แห่งการหลับไหลได้อำลาจากโลกอันไม่จีรังไปสู่โลกอันนิจนิรันดรแล้ว วิวรณ์จากฟากฟ้าก็ได้สิ้นสุดไปพร้อมกับการล่วงลับของท่านด้วย ขอความสันติจากพระองค์ทรงมีแด่ท่าน

ในขณะที่เรือนร่างอันบริสุทธิ์ของท่านศาสดา (ศ) ยังไม่ทันได้รับการจัดพิธีฝัง อลีย์ (อ) พร้อมกับตระกูลฮาชิมและเศาะหาบะฮฺชั้นนำเพียงไม่กี่คนที่สาละวนอยู่กับการอาบน้ำศพและห่อผ้ากะฝั่นเพื่อเตรียมนมาซและฝังเรือนร่างของท่าน พวกเขาปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโศกาอาดูร และนอกจากพวกเขาแล้ว ไม่มีเศาะหาบะฮฺอื่นใดที่ให้ความสำคัญต่อโศกนาฏกรรมในครั้งนี้ ( ตารีคอิบนุกะษีรฺ เล่ม 5 หน้า 260 – ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 94 – มุสนัดอะหฺมัด อิบนุหัมบัล เล่ม 4 หน้า 104 – ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 2 หน้า 451 – อะสะดุลฆอบะฮฺ เล่ม 1 หน้า 34 และอักดุลฟะรีด เล่ม 3 หน้า 61)

ปรากฏว่าชาวอันศอรฺกลุ่มหนึ่งได้พากันไปชุมนุมกันที่ “สะกีฟะฮฺ บนีสาอิดะฮฺ” ซึ่งมีเพิงหรือกระท่อมร้างอยู่ห่างจากบ้านของท่านศาสดา (ศ) ไม่มากนัก ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะปรึกษาหารือถึงตำแหน่งผู้นำสืบต่อจากท่านศาสดา (ศ) ด้วยวิถีและมาตรการของพวกเขา โดยไม่รอช้า อุมัรฺได้รีบแจ้งข่าวให้อบูบักรฺซึ่งกำลังอยู่ที่บ้านของท่านศาสดา (ศ) ให้รีบรุดเดินทางไปสมทบกับเขาโดยด่วน อบูบักรฺเริ่มตระหนักโดยสัญชาตญาณว่าจะต้องมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เขาจึงรีบเดินทางไปสมทบกับอุมัรฺเพื่อไปพบกับชาวอันศอรฺทันที ในระหว่างทาง พวกเขาได้พบกับอบูอุบัยดะฮฺ ญัรฺรอหฺ โดยบังเอิญ และแล้วคนทั้งสามได้ร่วมเดินทางไปยังสะกีฟะฮฺ บนีสะอีดะฮฺทันที ( ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 2 หน้า 456)

“อะหฺมัด อะมีน มิศรีย์” นักเขียนนามอุโฆษชาวสุนนี ผู้มีความอคติอย่างรุนแรงกับชีอะฮฺได้กล่าวว่า :-
“เศาะหาบะฮฺของท่านนบีย์ (ศ) ต่างมีความขัดแย้งในตำแหน่งตัวแทนและเคาะลีฟะฮฺผู้สืบต่อจากท่าน พวกเขากระทำสิ่งที่ไม่บังควรอย่างยิ่งเมื่อละทิ้งภารกิจสำคัญในการฝังท่านศาสดา (ศ) โดยหันไปทุ่มเทและให้ความสำคัญต่อตำแหน่งผู้นำจนกระทั่งได้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันขึ้น ลำพังอลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) เพียงคนเดียวเท่านั้นที่มิได้สำแดงความไร้เดียงสาออกมา โดยเขาได้ให้ความสำคัญอยู่กับการอาบน้ำศพ ห่อผ้ากะฝั่น และฝังท่านศาสดา (ศ) ในขณะที่เหล่าเศาะหาบะฮฺชั้นแนวหน้าได้ละทิ้งญะนาซะฮฺของท่านและพากันถกเถียงถึงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺและตัวแทนของท่านศาสดา นอกจากอลีย์ (อ) และครอบครัวของเขาแล้ว ไม่มีบุคคลอื่นใดที่อยู่ร่วมญะนาซะฮฺท่านศาสดา (ศ) อีกเลย พวกเขามิได้มีความเคารพและให้เกียรติต่อบุรุษผู้ซึ่งได้ฉุดพวกเขาให้หลุดพ้นจากความมืดมนอนธการและความโง่เขลาเบาปัญญาและชี้นำพวกเขาไปสู่แสงสว่างแห่งสัจธรรม พวกเขามิได้ใส่ใจที่จะอยู่ร่วมในพิธีฝังญะนาซะฮฺของท่าน และยังไม่ทันที่ญะนาซะฮฺของท่านจะถูกฝัง แต่พวกเขากลับถกเถียงกันว่าใครคือผู้ที่คู่ควรจะสืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อจากท่าน” (ตัรฺญุมะฮฺอะอฺยานุชชีอะฮฺ เล่ม 1 หน้า 262 คัดจาก “เยามุลอิสลาม”)

มีการถกเถียงกันอย่างรุนแรงในที่ประชุมแห่งนั้น โดยชาวอันศอรฺได้พยายามหยิบยกจุดเด่นของตนขึ้นมาเป็นเหตุผลและข้ออ้างถึงความเหมาะสมและคู่ควรต่อตำแหน่งผู้นำ โดยกล่าวว่าพวกเขาได้รับเกียรติอย่างมากมายจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และยังเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุน เสียสละ และต่อสู้เพื่ออิสลาม แล้วพวกเขาได้ประสานเสียงพร้อม ๆ กันว่า :- “พวกเราพร้อมใจกันเลือก “สะอัด อิบนุอิบาดะฮฺ” ขึ้นเป็นผู้นำ” และเพื่อเป็นการตอกย้ำประโยคดังกล่าว พวกเขาได้ช่วยกันหามสะอัดซึ่งกำลังป่วยหนักไปยังสะกีฟะฮฺทันที

ในขณะที่ฝ่ายมุฮาญิรีนได้หยิบยกเหตุผลที่พวกเขาสมควรจะเป็นผู้นำโดยถือว่าพวกเขาเป็นชาวเมืองเดียวกับท่านศาสดา (ศ) และเพราะการน้อมรับอิสลามและมีความเชื่อมั่นในสัจธรรมทำให้พวกเขายอมเสียสละทุกอย่างเพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ)

ท้องถิ่นนิยมและเผ่าพันธ์นิยมคือตรรกะและเหตุผลสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายใช้ห้ำหั่นกัน พร้อมกับแนวคิดผูกขาดอำนาจเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้มีส่วนร่วมคือสิ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียง ดังที่ฝ่ายหนึ่งถือว่าพวกตนควรจะมีสิทธิในตำแหน่งผู้นำเหนือกว่าอีกฝ่ายนั่นเอง (ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 5 หน้า 31 – กามิลอิบนุอะษีรฺ เล่ม 3 หน้า 3)

การถกเถียงได้ดำเนินไปอย่างยาวนานจนไม่สามารถจะหาข้อยุติได้ ในที่สุด อุมัรฺได้กระตุ้นให้ฝ่ายที่สนับสนุนอบูบักรฺให้มอบสัตยาบันแก่เขา และได้พูดจาข่มขู่ฝ่ายที่คัดค้าน

หลังจากนั้น อบูบักรฺได้เริ่มกล่าวถึงความภาคภูมิใจที่ชาวมุฮาญิรีนได้รับใช้อิสลามว่า :-
“มุฮาญิรีนคือชนกลุ่มแรกที่เข้ารับอิสลาม พวกเขาอดทนและยืนหยัดอยู่ภายใต้สภาพการและเงื่อนไขที่เลวร้ายนานัปการโดยไม่ยอมสยบต่อพวกมุชริกีนและเปลี่ยนความศรัทธาจากหลักเอกภาพแห่งพระผู้เป็นเจ้า แต่จะต้องไม่ลืมว่าพวกท่านชาวอันศอรฺก็มีส่วนร่วมในการรับใช้อิสลามด้วยเช่นกัน และนอกจากชาวมุฮาญิรีนแล้ว พวกท่านคือกลุ่มชนแรกที่มีเกียรติเหนือกว่ากลุ่มอื่นใด” แล้วเขาได้กล่าวต่อไปว่า :- “ดังนั้น ตำแหน่งผู้นำควรจะเป็นของเรา ส่วนตำแหน่งรัฐมนตรีหรือที่ปรึกษาก็เป็นของพวกท่าน”

“หับบาบ อิบนุมุนซิรฺ” ได้ลุกขึ้นพร้อมกับกล่าวว่า :- “ โอ้ ชาวอันศอรฺ ! จงยืนหยัดในตำแหน่งผู้นำให้เหนียวแน่นเถิด อย่าปล่อยให้มีใครมาบงการและมีอำนาจเหนือพวกท่าน มิฉะนั้นความขัดแย้งจะต้องอุบัติกับพวกท่าน และพวกท่านจะต้องประสบกับความพ่ายแพ้อย่างแน่นอน เราจะเลือกผู้นำของพวกเราเอง ส่วนพวกเขาก็เลือกผู้นำในหมู่พวกเขา”

อุมัรฺจึงกล่าวขึ้นว่า :- “เป็นไปไม่ได้ที่กษัตริย์สององค์จะปกครองราชอาณาจักรเดียวกัน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ พวกอรับจะไม่มีวันยอมตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกท่านอย่างแน่นอน ในขณะที่ศาสดาของพวกเขามิได้มาจากพวกท่าน เรามีเหตุผลที่มั่นคงและชัดเจน เราคือเศาะหาบะฮฺของเราะสูลุลลอฮฺ แล้วจะมีใครที่จะกล้ามาต่อกรกับเรา ? นอกจากผู้ที่ก้าวไปสู่หนทางแห่งโมฆะ หรือไม่ก็กำลังตกอยู่ในวังวนแห่งความพินาศ”

หับบาบได้ลุกขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับกล่าวขึ้นว่า :-
“โอ้ กลุ่มชนชาวอันศอรฺ ! จงอย่าสนใจคำพูดของคนผู้นี้ เพราะเขาจะยื้อแย่งสิทธิไปจากพวกท่าน และจะช่วงชิงผลประโยชน์ไปจากมือของพวกท่าน จงยึดตำแหน่งผู้นำมาเป็นของพวกท่าน และจัดการเนรเทศพวกที่คัดค้านไปให้พ้น พวกท่านมีความเหมาะสมที่สุดต่อตำแหน่งผู้นำ ใครก็ตามที่คัดค้านข้อเสนอของฉัน ฉันจะทำให้ใบหน้าของเขาลงไปคลุกฝุ่นด้วยดาบของฉัน”

อุมัรฺจึงลุกขึ้นตะลุมบอนกับหับบาบและได้จับเขาพร้อมกับเตะไปที่ท้องของเขา (ชัรฺหอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 6 หน้า 391)

ในขณะนั้นเอง “บะชีรฺ อิบนุสะอัด” บุตรของพี่ชายสะอัด อิบนุอิบาดะฮฺ ซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านเขา ได้กล่าวกับชาวอันศอรฺเพื่อสนับสนุนคำพูดของอุมัรฺว่า :-
“ถึงแม้ว่าพวกเราจะเป็นชนกลุ่มแรก ๆ ที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺและเรียกร้องเชิญชวนผู้คนสู่อิสลามและมีเกียรติเหนือกว่าชนกลุ่มอื่นก็ตาม แต่ทว่าเรามิได้มีเป้าหมายอื่นใดนอกจากการแสวงความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺและความปิติยินดีจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นการบังควรอย่างยิ่งที่เราจะหยิบยกความดีงามและความภาคภูมิใจมาข่มผู้อื่น เรามิได้มีเป้าหมายเพื่อโลกนี้ ท่านศาสดา (ศ) มาจากตระกูลกุรัยช์ ย่อมเหมาะสมกว่าที่สมาชิกแห่งตระกูลของท่านจะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากท่าน จงเกรงกลัวอัลลอฮฺ และอย่าพยายามสร้างความขัดแย้งกับพวกเขา”

หลังจากการโต้เถียงได้ดำเนินไประยะหนึ่ง อบูบักรฺจึงได้กล่าวกับพวกเขาว่า :-
“พวกท่านจงหลีกเลี่ยงจากความขัดแย้งเถิด ฉันไม่ประสงค์สิ่งใดจากพวกท่านนอกจากสันติและความดีงาม เป็นการเหมาะสมที่ท่านทั้งหลายจะให้สัตยาบันต่ออุมัรฺหรืออบูอุบัยดะฮฺ”

อุมัรฺจึงกล่าวขึ้นว่า :- “ท่านคือผู้ที่คู่ควรต่อตำแหน่งผู้ปกครองเหนือกว่าพวกเรา เพราะท่านเป็นทั้งสหายผู้ใกล้ชิดของท่านศาสดา (ศ) ก่อนพวกเรา มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าพวกเรา อยู่เคียงข้างท่าน (ศ) ในถ้ำษูรฺ และได้ทำหน้าที่นำนมาซแทนท่าน (ศ) แล้วจะมีใครที่จะมีความเหมาะสมต่อตำแหน่งผู้ปกครองเหนือกว่าท่านอีกเล่า ?

“อับดุรฺเราะหฺมาน บินอาวฟฺ” จึงลุกขึ้นกล่าวว่า :- “โอ้ ชาวอันศอรฺ ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าพวกท่านมีเกียรติคุณและความดีงามอย่างมากมาย เราต้องยอมรับว่าในสภาวะเช่นนี้ไม่มีใครที่จะมีความเหมาะสมเทียบเท่าอบูบักรฺ อุมัรฺ และอลีย์ (อ)”

“มุนซิรฺ อิบนุอัรฺก็อม” จึงกล่าวขึ้นว่า :- “ไม่มีใครที่จะปฏิเสธถึงเกียรติคุณและคุณงามความของบุคคลที่ท่านได้เอ่ยนามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหนึ่งในสามคนได้ขึ้นเป็นผู้นำประชาชาติอิสลาม จะไม่มีใครที่จะกล้าคัดค้านเขาแม้แต่คนเดียว” (นัยของเขาในที่นี้คืออลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ) (ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 103)

ทำให้ชาวอันศอรฺกลุ่มหนึ่งตะโกนขึ้นพร้อมกันว่า :- “พวกเราจะมอบสัตยาบันกับอลีย์เท่านั้น” (ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 3 หน้า 208)

อุมัรฺกล่าวว่า :- “เสียงโต้เถียงดังอึกทึกครึกโครมจนฟังไม่ได้ศัพท์จนฉันหวั่นเกรงว่าความขัดแย้งจะบานปลายกลายเป็นความรุนแรง ฉันจึงรีบกล่าวกับอบูบักรฺว่า :- “จงยื่นมือมาเถิด เพื่อฉันจะให้สัตยาบันแก่ท่าน” (สีเราะฮฺอิบนุฮิชาม เล่ม 4 หน้า 336 – ตารีคอิบนุกะษีรฺ เล่ม 5 หน้า 246)

อบูบักรฺได้รีบยื่นมือออกไปโดยไม่รีรอ และ “บะชีรฺ อิบนุสะอัด” คือบุคคลแรกที่รีบออกไปจับมือของเขาบีบไว้แน่นเพื่อบ่งบอกว่าเขาได้ให้สัตยาบันต่ออบูบักรฺ หลังจากนั้นก็เป็นทีของอุมัรฺบ้าง จนกระทั่งคนอื่น ๆ ก็ได้รีบแทรกเข้าไปให้สัตยาบันกับเขาในที่สุด (ลอิมามะฮฺ วัสสิยาสะฮฺ เล่ม 2 หน้า 9)

ในขณะที่การโต้เถียงกำลังถึงขีดรุนแรงนั้น อุมัรฺได้ทะเลาะกับสะอัด อิบนุอิบาดะฮฺจนเกือบจะถึงขั้นลงไม้ลงมือกัน แต่อบูบักรฺได้ปรามอุมัรฺให้พยายามสงบสติอารมณ์โดยกล่าวว่า :-
“ในสภาวะการณ์ตึงเครียดเช่นนี้ ขอให้ท่านพยายามสงบสติอารมณ์เถิด” แล้วสะอัดได้กล่าวกับพรรคพวกของเขาว่า :- “รีบนำฉันออกไปจากสถานที่แห่งนี้เถิด” แล้วพรรคพวกได้ช่วยกันหามเขากลับไปยังบ้านของเขา” (ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 2 หน้า 455 – 459)

หลังจากนั้น กลุ่มคนที่ได้ให้สัตยาบันต่ออบูบักรฺได้นำเขาไปยังมัสญิดเพื่อที่จะประกาศให้คนอื่น ๆ ได้เข้ามาให้สัตยาบันแก่เขาด้วย ในขณะที่อลีย์ (อ) กับอับบาสยังไม่ทันที่จะเสร็จจากการอาบน้ำมัยยิตของท่านศาสดา (ศ) นั้น เสียงตักบีรฺได้ดังมาจากทางด้านมัสญิดนะบะวีย์ (ศ) จนทำให้คนทั้งสองต่างพากันฉงนสนเท่ห์ อลีย์ (อ) จึงได้เอ่ยถามด้วยความแปลกใจว่า :- “เกิดอะไรขึ้นหรือ ?”

อับบาสจึงกล่าวว่า :- ไม่เคยมีปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อน

เขาได้มองใบหน้าอลีย์ (อ) และกล่าวเพิ่มเติมว่า :-
“ข้าพเจ้าไม่เคยบอกท่านมาก่อนหรอกหรือ ?” (ชัรฺหอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 1 หน้า 133 – อักดุลฟะรีด เล่ม 3 หน้า 63)

ณ มัสญิดของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) นั้น อบูบักรฺได้ขึ้นนั่งบนมิมบัรฺของท่าน (ศ) เพื่อรอคอยประชาชนที่พากันทยอยไปให้บัยอัตกับเขาจนกระทั่งตะวันพลบค่ำโดยไม่อีนังขังขอบและแยแสต่อการฝังญะนาซะฮฺของท่าน (ศ) แต่อย่างใด

วันต่อมา พวกเขาก็ยังคงจัดให้มีการบัยอัตในมัสญิดต่อไป
ในวันอังคาร กล่าวคือภายหลังจากการวะฝาตของท่านศาสดา (ศ) ได้ผ่านพ้นไปแล้วหนึ่งวัน และหลังจากพวกเขาได้เสร็จสิ้นจากภารกิจในการให้สัตยาบันต่ออบูบักรฺแล้วนั่นเอง ประชาชนจึงได้เริ่มทยอยไปยังบ้านท่านศาสดา (ศ) และได้นมาซมัยยิตท่าน” (สีเราะฮฺอิบนุฮิชาม เล่ม 4 หน้า 343 – ริยาฎุนนัฎเราะฮฺ เล่ม 1 หน้า 164)

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทั้งอบูบักรฺและอุมัรฺมิได้เข้าร่วมในพิธีฝังศพของท่านศาสดา (ศ) แต่อย่างใด (กันซุลอุมมาล เล่ม 3 หน้า 140)

ซุบัยรฺ อิบนุบุการฺ (บะการฺ) ได้บันทึกไว้ว่า :-
“ภายหลังจากการให้สัตยาบันต่ออบูบักรฺได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ชาวอันศอรฺจำนวนมากมายที่ต่างพากันสำนึกถึงความผิดพลาดและต่างตำหนิติเตียนซึ่งกันและกัน และได้กล่าวรำลึกถึงอลีย์ (อ)” (อัลมุวัฟฟะกียาต อิบนุบุการฺ หน้า 583)

“มัสอูดีย์” นักประวัติศาสตร์นามอุโฆษได้บันทึกไว้ว่า :-
ภายหลังจากเหตุการณ์แห่งสะกีฟะฮฺได้ผ่านพ้นไปแล้ว อลีย์ (อ) ได้กล่าวกับอบูบักรฺว่า :- “ท่านได้ทำลายพันธสัญญาที่มีต่อเราโดยไม่ปรึกษาหารือกับเรา และยังละเมิดต่อสิทธิของเรา”

อบูบักรฺได้ตอบเขาว่า “ถูกต้อง แต่ทว่าฉันหวั่นเกรงว่าวิกฤติการณ์และความเสียหายจะบังเกิดขึ้นมาในวันนั้น” (ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 124 – ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 4 หน้า 843)





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
๑๓
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

อุบัติการณ์ที่สะกีฟะฮฺครั้งนั้นปราศจากเศาะหาบะฮฺชั้นนำ เช่น อลีย์ (อ), อบีซัรฺ, มิกด๊าด, สัลมาน, ฏ็อลหะฮฺ, ซุบัยรฺ, อุบัย อิบนุกะอับ และหุซัยฟะฮฺ โดยมีชาวมุฮาญิรีนเข้าร่วมเพียง 3 คนเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะอ้างว่าวิถีแห่งชูรอจะนำไปสู่ข้อยุติของปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัญหาและวิกฤติการณ์สำคัญ ๆ ที่เป็นการชี้ชะตาต่อโลกอิสลามแล้ว เหตุใดพวกเขาจึงต้องลุกลี้ลุกลนจัดชูรอขึ้นมาโดยไม่มีการประกาศเชิญชวนเศาะหาบะฮฺชั้นแนวหน้าเพื่อขอทัศนะและความคิดเห็นจากพวกเขาด้วยเล่า ?

การปรึกษาหารืออย่างรีบร้อนและรวบรัดที่เต็มไปด้วยเสียงอึกทึกครึกโครมจากการโต้เถียงกันอย่างรุนแรง โดยมีชาวมุฮาญิรีนเพียง 3 คน เพื่อกำหนดชะตากรรมของประชาคมมุสลิมนั้น ถือเป็นการเพียงพอและถูกต้องชอบธรรมกระนั้นหรือ ?

ปัญหาที่สำคัญและถือเป็นชะตากรรมของโลกอิสลามเช่นนี้ ถ้าหากบุคคลชั้นนำแห่งโลกอิสลามได้เข้าร่วมให้คำปรึกษาเพื่อนำทัศนะของพวกเขามาเป็นวิถีทางเพื่อหาข้อยุติ ผลลัพธ์และบทสรุปจะเป็นไปในทางที่ดีกว่าไหม ?

บุคคลที่ถือว่าตนมีสิทธิที่จะเป็นผู้ตัดสินและกำหนดชะตากรรมในครั้งนี้ พวกเขามีเหตุผลอันใดที่ได้ละเมิดสิทธิดังกล่าวของผู้อื่นโดยไม่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมแต่อย่างใด ?

ถ้าหากคนกลุ่มหนึ่งถือว่าเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมคือมติในการเลือกผู้นำของพวกเขา ในขณะที่บุคคลชั้นนำที่สังคมให้การยอมรับอีกส่วนหนึ่งมิได้มีส่วนร่วมในที่ประชุมและไม่มีโอกาสที่จะแสดงทัศนะด้วย แล้วจะถือว่าการลงมตินั้นเป็นสิ่งถูกต้องชอบธรรมได้อย่างไร ?

เมื่อ “สะอัด อิบนุอิบาดะฮฺ” ไม่ยอมให้สัตยาบัน เหตุใดจะต้องออกคำสั่งให้ฆ่าเขาด้วยเล่า ?(ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 124 – ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 4 หน้า 843)

นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า :- “คนกลุ่มหนึ่งจากตระกูลฮาชิม, มุฮาญิรีน และอันศอรฺไม่ยอมให้สัตยาบันต่ออบูบักรฺ และได้คัดค้านด้วยการไปรวมตัวกันที่บ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) เพื่อที่จะให้สัตยาบันต่ออลีย์ (อ)” (ตารีคอบุลฟิดาอ์ เล่ม 1 หน้า 156 – ตารีคุลเคาะมีส เล่ม 1 หน้า 188 – อักดุลฟะรีด เล่ม 3 หน้า 63 – ริยาฎุนนัฎเราะฮฺ เล่ม 1 หน้า 167 – ชัรฺหอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 1 หน้า 130 – 134)

ในขณะที่ฝ่ายเคาะลีฟะฮฺพยายามสลายการชุมนุมของพวกเขา และบังคับขู่เข็ญพวกเขาให้ยอมบัยอัตต่ออบูบักรฺ พวกเขาจึงบุกรุกเข้าไปในบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ส) ( ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 105 - “ชัรฺหุลหาดิษษะฮฺ ฟีตารีคเฏาะบะรีย์” เล่ม 2 หน้า 443, 444 และ 446 - ตารีคุลเคาะมีส เล่ม 1 หน้า 188 – ริยาฎุนนัฎเราะฮฺ เล่ม 1 หน้า 167 - อักดุลฟะรีด เล่ม 3 หน้า 63 – กันซุลอุมมาล เล่ม 3 หน้า 128 และชัรฺหอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 1 หน้า 122, 132 และ 134)

การเลือกอบูบักรฺเป็นผู้นำได้อุบัติขึ้นอย่างรีบร้อนและลุกลี้ลุกลนโดยมิได้ผ่านการพิจารณาอย่างรอบด้านและไม่มีใครคาดฝันมาก่อน ซึ่งอุมัรฺได้กล่าวยอมรับในเวลาต่อมาว่า :-
“การเลือกอบูบักรฺขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺเป็นเรื่องที่อุบัติขึ้นอย่างกะทันหันโดยมิได้ผ่านการประชุมและแลกเปลี่ยนทัศนะกันแต่อย่างใด และถ้ามีบุคคลใดเรียกร้องให้พวกท่านทำเช่นนั้นอีก ก็จงจัดการสังหารเขาเสีย” (สีเราะฮฺอิบนุฮิชาม เล่ม 4 หน้า 308 - ตารีคอิบนุกะษีรฺ และกามิลอิบนุอะษีรฺ ก็ได้บันทึกเหตุการณ์ที่สะกีฟะฮฺในทำนองนี้เช่นกัน)

นอกจากนี้ กระบวนการเลือกตั้งเคาะลีฟะฮฺที่หนึ่งยังได้ฟ้องตัวมันเองว่าการใช้ระบบชูรอเพื่อสรรหาผู้ปกครองภายหลังจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ล่วงลับ ปราศจากรากฐานและที่มาโดยสิ้นเชิง เพราะสิ่งที่พวกเขาได้ถือปฏิบัตินั้นมิได้มีคำสั่งจากท่าน (ศ) แต่อย่างใด เพราะมิฉะนั้นแล้ว กลุ่มชนหลากหลายคงจะไม่เสนอแนะเคาะลีฟะฮฺให้รีบกำหนดผู้ที่จะสืบทอดตำแหน่งต่อจากเขาในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่อย่างแน่นอน ทั้งนี้เนื่องจากพวกเขาหวั่นเกรงว่าจะเกิดวิกฤติการณ์และความเสียหายต่อประชาคมอิสลามจากการขาดไร้ผู้นำนั่นเอง (อัลอิมามะฮฺ วัสสิยาสะฮฺ อิบนุกุตัยบะฮฺ หน้า 19)

โดยเคาะลีฟะฮฺได้ตอบคำเสนอแนะของพวกเขาว่า :- “ถ้าหากอบูอุบัยดะฮฺยังมีชีวิตอยู่ ฉันจะเลือกเขาให้เป็นผู้นำคนต่อไป เพราะท่านศาสดา (ศ) เคยวจนะเกี่ยวกับเขาว่า :- “เขาคือผู้สัตย์จริงในหมู่ประชาชาติ” และถ้าหากสาลิม เมาลาอบูหุซัยฟะฮฺยังมีชีวิตอยู่ เขาก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีคุณสมบัติคู่ควรต่อตำแหน่งผู้นำ เพราะฉันเคยได้ยินท่านศาสดา (ศ) กล่าวถึงเขาว่า :- “เขาคือสหายของอัลลอฮฺ” (ตารีคเฏาะบะรีย์ และกามิลอิบนุอะษีรฺ)

แล้วจะสอดคล้องได้อย่างไรกับคำพูดของพวกเขาที่พากันกล่าวว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ไม่เคยแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นผู้นำสืบต่อจากท่านจนกระทั่งท่านได้อำลาจากโลกนี้ไป ?

ในขณะเดียวกัน กระบวนการสรรหาผู้นำของเคาะลีฟะฮฺที่สอง โดยการกำหนดชูรอขึ้นมาจำนวน 6 คน ก็มิได้คำนึงถึงหลักฐานหรือแบบฉบับใด ๆ และมิได้ใส่ใจต่อมติหรือเสียงส่วนใหญ่ เพราะถ้าหากยึดถือว่าเคาะลีฟะฮฺคนก่อนจะต้องเป็นผู้กำหนดเคาะลีฟะฮฺคนต่อไป แล้ว เหตุใดจึงต้องตั้งชูรอ 6 คนขึ้นมาด้วย ?

และถ้าหากตำแหน่งผู้นำเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ประชาชนมีสิทธิเลือกสรรเพื่อกำหนดชะตากรรมของตนแล้ว ด้วยเหตุผลกลใดที่เคาะลีฟะฮฺแห่งยุคสมัยจึงละเมิดสิทธิของพวกเขา และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของชูรอซึ่งมาจากการตัดสินใจของเขาเพียงคนเดียว ? หรือแม้กระทั่งตัวของเขาเองก็ยังกล่าวว่าบางส่วนจากชูรอนั้นมิได้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมและคู่ควรต่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺแต่อย่างใด

เจตนารมณ์ที่อัลลอฮฺทรงประทานโองการที่เกี่ยวกับชูรอแก่เราะสูลของพระองค์นั้นก็เพื่อที่จะให้ท่านได้หยิบยกประเด็นปัญหาของประชาชนขึ้นมาปรึกษาหารือกัน (สูเราะฮฺอาลิอิมรอน 3 : 159)

ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า :-
“และกิจการของพวกเขา (ผู้ศรัทธา) คือการปรึกษากันระหว่างพวกเขา” (สูเราะฮฺอัชชูรอ 42 : 38)

ประเด็นที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้ประชาชนปรึกษาหารือกันนั้นคือปัญหาทางด้านสังคม ภารกิจการงาน มิใช่ปัญหาเรื่องผู้นำซึ่งถือเป็นพันธสัญญาและเป็นภาระหน้าที่ของพระองค์เท่านั้น และสิ่งที่เป็นภาระหน้าที่ของพระองค์และเกี่ยวข้องกับการชี้นำประชาชนให้ไปสู่ทางที่เที่ยงธรรม จึงมิอาจที่จะใช้กระบวนการชูรอเข้ามาเกี่ยวข้องได้

ด้วยประการฉะนี้ที่แนวคิดแห่งตำแหน่งคิลาฟะฮฺจึงได้อุบัติและสอดแทรกเข้ามาแทนที่อุดมการณ์แห่งอิมามะฮฺ และมีผลทำให้อุดมการณ์ดังกล่าวถูกลบเลือนไปจากความทรงจำของประชาชนในที่สุด



10 การยึดบรรทัดฐานที่ปราศจากแก่นสารใด ๆ บรรยากาศที่สะกีฟะฮฺในวันนั้นมิได้เลวร้ายถึงขนาดที่ถ้าหากบุคคลที่มีศรัทธามั่นและมีความบริสุทธิ์ใจได้อยู่ ณ สถานที่นั้นด้วยจะสามารถเสนอหลักฐานและข้อเท็จจริงเพื่อสยบความโมฆะทั้งหลาย เพราะข้ออ้างที่เป็นจุดเด่นที่ผู้เข้าร่วมชุมนุมได้หยิบยกขึ้นมาตอบโต้เพื่ออ้างถึงสิทธิในตำแหน่งคิลาฟะฮฺว่าเป็นของฝ่ายตนในวันนั้นล้วนแล้วแต่ปราศจากหลักฐานทั้งในคัมภีร์และสุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ) ทั้งสิ้น และไม่มีบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้สำรวมตนจากความชั่ว (มุตตะกีย์) มีความรู้ (อาลิม) อย่างลึกซึ้งในหลักคำสอนอิสลาม และมีคุณสมบัติแห่งความเป็นผู้นำมุสลิมได้รับการเสนอชื่อแม้แต่คนเดียว กล่าวโดยสรุป บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและคู่ควรอย่างแท้จริง มีจิตวิญญาณอิสลามและมีความรู้ในอัลกุรฺอานและสุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ) กลับไม่ได้รับการเหลียวแล

ที่น่าเศร้าสลดใจไปกว่านั้นก็คือบรรทัดฐานและความสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณและเกียรติประวัติอันโดดเด่นกลับถูกหมางเมินจากกลุ่มชนที่อ้างตนเป็นผู้ปกครองซึ่งพวกเขาคาดหวังในชัยชนะ

ในขณะที่ชาวอันศอรฺได้ห้อมล้อมสะอัด อิบนุอิบาดะฮฺ นั้น เขาได้กล่าวกับฝ่ายของตนว่า
“โอ้ ชาวอันศอรฺ พวกท่านเข้าน้อมรับอิสลามก่อนกลุ่มชนอื่นใด และมีเกียรติประวัติดีเด่นเหนือกว่าใคร เพราะท่านศาสดา (ศ) ได้เรียกร้องเชิญชวนกลุ่มชนต่าง ๆ ให้เข้าสู่วิถีอิสลามเป็นเวลาหลายปี แต่ไม่มีเสียงขานรับคำเรียกร้องของท่านนอกจากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนกลุ่มชนที่ตอบรับคำเชิญชวนของท่านก็ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะให้การปกป้องแนวทางของท่าน จนกระทั่งอัลลอฮฺได้ทรงเทอดฐานภาพให้พวกท่านได้มีโอกาสพิทักษ์ความบริสุทธิ์และความศักดิ์สิทธิ์แห่งอิสลาม จนในที่สุด ด้วยพลังอำนาจที่เหนือกว่าทำให้พวกท่านสามารถพิชิตชัยชนะเหนือพวกต่อต้านและทำให้พวกเขาเข้ารับอิสลาม ด้วยความเสียสละของพวกท่านที่มีส่วนเสริมสร้างพลังความเข้มแข็งแก่ท่านศาสดา (ศ) และทำให้เหล่าศัตรูของท่านประสบความพ่ายแพ้ ท่านได้จากโลกนี้ไปในขณะที่มีความพึงพอใจต่อพวกท่านและมีความหวังในพวกท่าน ดังนั้น จงยึดความภาคภูมิใจนี้ไว้ให้เหนียวแน่นเถิด เพราะพวกท่านมีฐานภาพสูงส่งเหนือกลุ่มชนทั้งหมด” (อัลอิมามะฮฺ วัสสิยาสะฮฺ เล่ม 1 หน้า 5)

ถ้าหากพวกเขาได้ยึดผลประโยชน์อิสลามและประชาคมมุสลิมเป็นบรรทัดฐาน และดำเนินรอยตามร่องรอยของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) แล้ว ข้ออ้างอันไร้สาระแก่นสารย่อมจะไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาข่มสารัตถะและบทบัญญัติ ความจำเป็นของประชาคมอิสลาม และความบริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทินความผิดบาปอย่างแน่นอน และพวกเขาจะต้องให้ความสำคัญต่อบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนดังกล่าวขึ้นมาเป็นผู้นำอย่างแน่นอน และจะเชื่อฟังปฏิบัติตามการชี้นำของเขาอย่างแน่นอน แต่ทว่าประเด็นและหลักฐานที่พวกเขาหยิบยกขึ้นมาโต้เถียงเพื่อแย่งชิงตำแหน่งตัวแทนของท่านศาสดา

(ศ) กลับปราศจากสาระสำคัญต่อมิติทางด้านจิตวิญญาณและคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างสิ้นเชิง ดังที่ผู้นำชาวอันศอรฺได้หยิบยกฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจและปริมาณของเผ่าพันธ์พวกตนขึ้นมาข่มกลุ่มชนอื่น
ในทัศนะของพวกเขา ฐานะและความสามารถทางเศรษฐกิจและพลังอำนาจของเผ่าพันธ์คือบรรทัดฐานและจุดเด่น เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพวกเขามิได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้เนื่องจากพวกเขาเอาแต่หมกมุ่นอยู่กับผลประโยชน์ที่ไร้แก่นสารจนหลงลืมสะสมเสบียงแห่งจิตวิญญาณอิสลาม อีกทั้งการไม่ใส่ใจต่อความบริสุทธิ์จากความผิดบาปของตน คือเหตุผลที่พวกเขาไม่สามารถปกครองและชี้นำประชาชนให้ไปสู่คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างแท้จริงได้

แม้กระทั่งอบูบักรฺเองยังสารภาพว่าเขาไม่ได้มีทั้งความรู้และการขัดเกลาตนเองที่ดีไปกว่าประชาชนโดยทั่วไป และมิได้เป็นผู้ที่ปลอดพ้นจากการประกอบความผิดบาป ดังที่เขาได้กล่าวสารภาพว่า :-
“โอ้ ประชาชนทั้งหลาย ความผิดพลาดย่อมจะเกิดขึ้นได้กับตัวฉัน เมื่อใดก็ตามที่พวกท่านเห็นฉันหันเหออกจากสัจธรรม จงช่วยฉุดฉันให้ไปสู่ทางที่เที่ยงธรรมด้วย เพราะท่านศาสดา (ศ) คือมะอฺศูม (ผู้ที่สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากความผิดบาป) แต่ฉันมิใช่มะอฺศูม ในตัวของฉันมีชัยฏอนสิงสถิตย์อยู่” (สีเราะฮฺอิบนุฮิชาม เล่ม 4 หน้า 34 – นิฮายะฮฺ เล่ม 6 หน้า 303 – กามิลอิบนุอะษีรฺ เล่ม 2 หน้า 129 – ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 2 หน้า 460)

ในขณะที่อุมัรฺเองก็ได้กล่าวยอมรับว่าอลีย์ (อ) มีคุณสมบัติต่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺเหนือกว่าเขา เมื่อเขาได้กล่าวสารภาพกับอิบนุอับบาสว่า :-
“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ มาตรว่าอลีย์ (อ) ผู้เป็นสหายของท่านได้ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺแล้วไซร้ เขาจะชี้นำประชาชนไปสู่คัมภีร์ของอัลลอฮฺและสุนนะฮฺของท่านเราะสูลของพระองค์ (ศ) และจะนำพวกเขาไปสู่วิถีทางที่เที่ยงธรรมและเต็มไปด้วยแสงสว่าง” (ชัรฺหอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 3 หน้า 107)

และเมื่ออบูอุบัยดะฮฺ ญัรฺรอหฺ ทราบข่าวว่าอลีย์ (อ) ไม่ยอมให้สัตยาบันต่ออบูบักรฺ เขาได้กล่าวกับอลีย์ (อ) ว่า
“จงมอบตำแหน่งผู้ปกครองและผู้นำประชาคมอิสลามให้แก่อบูบักรฺเถิด ถ้าหากท่านยังมีชีวิตยืนยาวต่อไป ท่านคือผู้ที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมและคู่ควรเหนือใครอื่นทั้งหมด เพราะเป็นที่ประจักษ์ชัดในเกียรติแห่งความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ศรัทธาที่มั่นคง ความรู้ที่รอบด้าน และโลกทัศน์ที่ถูกต้องของท่าน” (อัลอิมามะฮฺ วัสสิยาสะฮฺ เล่ม 1 หน้า 12)

ท่านอมีรุลมุอ์มินีน อลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าชาวมุฮาญิรีนถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมและคู่ควรต่อการบริหารกิจการของประชาชาติอิสลามว่า
“โอ้ ชาวมุฮาญิรีน พวกท่านจงอย่าปล่อยให้อำนาจการปกครองที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้มอบหมายให้แก่ลูกหลานของท่านต้องหลุดลอยไป และจงอย่าหลบหลีกจากปัญหาเข้าไปอยู่ในบ้านของพวกท่าน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ เราผู้เป็นอะฮฺลุลบัยต์แห่งท่านศาสดา (ศ) คู่ควรต่อตำแหน่งผู้นำเหนือกว่าใคร ในท่ามกลางพวกเรามีบุคคลที่มีความรอบรู้อย่างถ่องแท้ในคัมภีร์อัลกุรฺอาน และมีความเชี่ยวชาญทั้งหลักการขั้นพื้นฐาน (อุศูลุดดีน) และฟุรูอุดดีน และรู้จักสุนนะฮฺ (แบบอย่าง) ของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และมีความเหมาะสมคู่ควรต่อการบริหารกิจการในประชาคมอิสลาม พวกเขาสามารถที่จะยับยั้งและห้ามปรามจากความเสื่อมทรามทั้งหลาย และจะเป็นผู้จัดสรรปันส่วนทรัพย์สินจากกองคลังให้แก่มุสลิมอย่างยุติธรรม และตราบเท่าที่พวกเขายังอยู่ในท่ามกลางประชาคมอิสลาม ไม่เป็นสิ่งบังควรที่จะล้ำหน้าพวกเขา คุณสมบัติดังกล่าวสามารถค้นหาได้จากครอบครัวแห่งท่านศาสดา (ศ) เท่านั้น จงอย่าคล้อยตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ เพราะจะทำให้พวกท่านกลายเป็นผู้หลงทาง แต่จงกลับมาสู่สัจธรรมความจริงเถิด” (อิหฺติญาจญ์เฏาะบัรฺสีย์ เล่ม 1 หน้า 96)

ในการสนทนาครั้งหนึ่ง ท่านอมีรุลมุอ์มินีน อลีย์ (อ) ได้ถามอบูบักรฺว่า :-
“ท่านคิดว่าผู้ที่จะรับตำแหน่งผู้นำและผู้ปกครองของประชาชนควรจะมีคุณสมบัติอย่างไร ?”

ซึ่งเขาได้ตอบว่า :- “บุคคลที่จะเป็นผู้นำจะต้องมีความปรารถนาดีต่อประชาชน, มีความรับผิดชอบและเป็นผู้ที่รักษาพันธสัญญา, มีความยุติธรรมและมีจริยธรรม, มีความรู้ในคัมภีร์อัลกุรฺอาน สุนนะฮฺ และความรู้รอบตัว นอกจากนี้ เขาจะต้องหลีกห่างจากการใช้เล่ห์เพทุบาย เป็นผู้สันโดษไม่ลุ่มหลงโลก มีจิตใจเอื้ออาทรต่อผู้ยากไร้และต้องทุ่มเทให้ความช่วยเหลือพวกเขาอย่างเร่งด่วน และจะต้องรักษาสิทธิของพวกเขา” แล้วเขาได้นิ่งเงียบไป จนกระทั่งอลีย์ (อ) ได้กล่าวขึ้นว่า :-
“ยังมีคุณสมบัติที่สำคัญอีกสองประการคือ เขาจะต้องเป็นบุคคลแรกที่น้อมรับอิสลาม และเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ด้วย”

อบูบักรฺจึงกล่าวว่า :- “ใช่แล้ว การมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และเป็นบุคคลแรกที่ยอมจำนนต่ออิสลามคือคุณสมบัติและเงื่อนไขสำคัญ”
อลีย์ (อ) จึงเอ่ยถามขึ้นว่า :- “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ท่านคิดว่าคุณสมบัติดังกล่าวมีอยู่ในตัวท่านหรือในตัวของฉัน ?”
เขาจึงตอบว่า :- “สิ่งที่ฉันกล่าวมาทั้งหมดถูกหลอมรวมอยู่ในตัวของท่าน” (ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 1 หน้า 159)
ในช่วงที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้อำลาจากโลกนี้ไป อบูซัรฺ ฆิฟารีย์ มิได้พำนักอยู่ในนครมะดีนะฮฺ วันที่เขาเดินทางกลับมา เป็นเวลาที่อบูบักรฺได้ขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺแล้ว เขาจึงได้กล่าวกับอบูบักรฺว่า :- “ท่านได้สมหวังแล้ว และมีความพอใจต่อมัน โดยปล่อยครอบครัวท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ให้เป็นไปตามยถากรรม ถ้าหากท่านได้มอบหมายภารกิจให้เป็นกรรมสิทธิ์ของอะฮฺลุลบัยต์แห่งนบีย์ (ศ) ก็จะไม่มีผู้ใดที่ลุกขึ้นมาต่อต้านท่านแม้เพียงสองคน” (ชัรฺหอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 6 หน้า 5)

ผู้รายงานหะดีษได้กล่าวถึงมิกด๊าด อิบนุอุมัรฺ ว่า “วันหนึ่งฉันได้ไปยังมัสญิดนะบะวีย์ (ศ) ฉันได้เห็นชายคนหนึ่งนั่งคุกเข่าบนพื้นและร้องคร่ำครวญขึ้นมาประหนึ่งว่าโลกดุนยาได้หลุดลอยไปจากเขา ในตอนหนึ่งเขาได้กล่าวขึ้นว่า :-
“ช่างน่าอัศจรรย์ใจที่ชาวกุรัยช์ได้ปล้นสิทธิไปจากอะฮฺลุลบัยต์ของท่านนบีย์ (ศ)” (ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 114)





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
๑๔
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

สัลมาน ฟารสีย์ ได้กล่าวเกี่ยวกับกรณีการขึ้นสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของอบูบักรฺเช่นกันว่า :-
“พวกท่านพากันเลือกชายชรา และละทิ้งครอบครัวของท่านศาสดา (ศ) มาตรว่าตำแหน่งคิลาฟะฮฺดำรงมั่นอยู่กับครอบครัวของท่าน (ศ) แล้วไซร้ จะไม่มีความขัดแย้งในหมู่พวกท่านแม้คนเพียงสองคน และจะทำให้พวกท่านได้รับประโยชน์จากผลแห่งพฤกษาทวีคูณ” (ชัรฺหอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 2 หน้า 131 และเล่ม 6 หน้า 17)

มีรายงานว่าวันหนึ่ง “อิบนุมุสัฏเฏาะฮฺ” ได้เดินออกจากบ้านไปยังสุสานของท่านนบีย์ (ศ) แล้วเขาได้กล่าวบทกวีที่มีนัยดังนี้ :-
“โอ้ นบีย์ หลังจากท่านแล้ว การโต้เถียงและอุบัติการณ์สำคัญได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาตรว่าท่านยังคงอยู่ในหมู่พวกเรา อุปสรรคปัญหาคงไม่อุบัติขึ้นมา อุปมาการสูญเสียท่านไป อุปมัยดั่งพื้นดินที่แตกระแหงเพราขาดสายฝนโปรยปราย ภารกิจหลักต้องสับสนอลหม่าน โอ้ นบีย์ ได้โปรดดูพวกเขาซิ และได้โปรดเป็นพยานด้วยเถิด” (ชัรฺหอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 2 หน้า 131 และเล่ม 6 หน้า 17)

ใช่แล้ว เมื่อกล่าวถึงอลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) นั่นหมายถึงบุคคลผู้มีบุคลิกภาพและคุณสมบัติที่มีความสำรวมตนอย่างแท้จริง มีวิถีอิสลามในการดำเนินชีวิต มีแบบฉบับที่สมบูรณ์ มีโลกทัศน์และบทบาทที่เหมาะสมคู่ควรอย่างแท้จริงต่อการดำรงตำแหน่งผู้ปกครองและผู้นำแห่งโลกอิสลาม ซึ่งเขาเคยกล่าวรำพึงรำพันกับตัวเองว่า :-
“โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ พระองค์คือผู้ทรงเป็นพยานว่าข้าฯ มิได้มีจิตใจใคร่อยากต่อตำแหน่งคิลาฟะฮฺเพราะเกียรติ ชื่อเสียง ทรัพย์สินและความร่ำรวย แต่ทว่า เจตนารมณ์ของข้าฯ เพียงเพื่อธำรงไว้ซึ่ง “ชะอาอิรุดดีน” (สัญลักษณ์แห่งอิสลาม) และการสถาปนาสันติสุขในมวลหมู่มุสลิม เพื่อให้ผู้ยากไร้และผู้ถูกกดขี่ได้รับความปลอดภัย และเพื่อให้บทบัญญัติที่ทรงความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ซึ่งถูกทอดทิ้งให้ได้รับการยึดถือปฏิบัติ” (อิหฺติญาจญ์เฏาะบัรฺสีย์ เล่ม 1 หน้า 253)

โดยหลักขั้นพื้นฐาน เมื่อประชาคมอิสลามมีผู้ที่มีคุณสมบัติสูงส่งครบถ้วนสมบูรณ์และบริสุทธิ์ปราศจากความผิดบาป เป็นผู้ขัดเกลาและรู้จักตัวตน และยังได้รับการแต่งตั้งจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ให้เป็นตัวแทนและผู้นำสืบต่อจากท่านแล้ว ย่อมไม่มีช่องทางหรือโอกาสให้ประชาชนตัดสินใจเลือกผู้นำอื่นใดไม่ว่าจะด้วยวิถีแห่งชูรอหรือวิถีใด ๆ ก็ตาม ดังที่ในยุคสมัยของท่าน (ศ) ไม่มีใครเคยคาดคิดว่าท่านมีภารกิจเฉพาะการประกาศสาสน์แห่งพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น ส่วนภารกิจในการบริหารและการปกครองประชาคมนั้น จะต้องพิจารณากันใหม่ว่าสมควรจะใช้กระบวนการสรรหาผู้นำด้วยวิธีชูรอและขอเสียงสนับสนุนจากประชาชนว่าพวกเขาประสงค์จะเลือกท่านศาสดา (ศ) ขึ้นมาเป็นผู้นำหรือว่าพอใจจะเลือกบุคคลอื่น แต่ทว่าเมื่อมีมนุษย์ผู้สมบูรณ์และเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กับปฐมแห่งการสรรสร้างและโลกแห่งวิวรณ์แล้ว ย่อมจะไม่มีประเด็นที่จะหยิบยกมาถกเถียงกันอีกว่าใครคือผู้ที่เหมาะสมจะเป็นผู้นำ

เมื่อผ่านยุคของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ไปแล้ว ฐานภาพและคุณสมบัติของผู้นำของโลกอิสลามก็จะต้องดำรงอยู่ต่อไปเช่นกัน กล่าวคือเมื่อตัวแทนของท่านผู้มีความรอบรู้ในบทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าชนิดที่ไม่มีใครเทียบเท่าเขาได้ และความบกพร่องและความผิดบาปไม่สามารถจะแผ้วพานเขาได้ แล้วพวกเขายังจะถลำไปสู่ผู้ที่สามารถสาธยายและให้คำตอบจากสารัตถะแห่งอัลกุรฺอานคนใดอีกเล่า ? เพราะอิมามัต (ตำแหน่งผู้นำ) คือรากฐานและหัวใจของการปกครอง ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าตราบเท่าที่อิมามมะอฺศูมยังมีชีวิตอยู่ในท่ามกลางพวกเขา ย่อมไม่มีผู้ใดที่จะมีคุณสมบัติคู่ควรต่อการดำรงตำแหน่งผู้นำอย่างสิ้นเชิง ในทำนองเดียวกัน ตราบเท่าที่ท่านนบีย์ (ศ) ยังมีชีวิตอยู่ ตำแหน่งผู้ปกครองและบริหารในกิจการของประชาชาติจะไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นใด และไม่มีผู้ที่มีคุณสมบัติที่คู่ควรจะดำรงตำแหน่งและแบกรับภารกิจแห่งการเป็นผู้นำและผู้ปกครองไปได้เลย

“อิบนุอบิลหะดีด” อุละมาอ์นามอุโฆษชาวสุนนีได้กล่าวว่า :-
“เราไม่เคยถือว่าระหว่างท่านอลีย์ (อ) กับท่านนบีย์ (ศ) มีความแตกต่างแต่อย่างใด นอกจากฐานภาพแห่งความเป็นศาสดาและเป็นผู้ได้รับวิวรณ์ (วะหฺยุ) ซึ่งเฉพาะเจาะจงกับตำแหน่งนบีย์เท่านั้น ในขณะที่ท่านนบีย์ (ศ) กับท่านอลีย์ (อ) มีคุณสมบัติและเกียรติคุณอื่น ๆ ร่วมกัน” (ชัรฺหอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 4 หน้า 520)

เชคสุลัยมาน หะนะฟีย์ อุละมาอ์ ได้บันทึกจากอับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัรฺ ว่า :-
“คราใดที่พวกเรากล่าวรำลึกถึงเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) บุคคลชั้นแนวหน้าที่เราจะกล่าวถึงก็คือ อบูบักรฺ หลังจากนั้นก็คืออุมัรฺ และอุษมาน”

จึงมีผู้ถามขึ้นว่า :- “แล้วชื่อของอลีย์ (อ) ไปอยู่ที่ไหน ?”
เขาจึงตอบว่า :- “ไม่อาจจะนำอลีย์ (อ) มาเทียบเทียมกับเศาะหาบะฮฺท่านอื่นได้ ฐานภาพของเขาสูงส่งกว่าใครทั้งหมด เขามาจากครอบครัวแห่งนบีย์ (ศ) และถูกรู้จักในฐานะผู้เป็นน้องชายและอยู่ในระดับเดียวกับท่านนบีย์ (ศ)” (ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หน้า 253)

มาตรว่าตรรกะและเหตุผลของชาวมุฮาญิรีนเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วไซร้ ฉะนั้น อลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) คือบุคคลแรกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเขาเป็นผู้ศรัทธาและเข้ารับอิสลามก่อนใครทั้งหมด ทั้ง ๆ ที่สภาพแวดล้อมในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยและเต็มไปด้วยอุปสรรคนานัปการซึ่งไม่มีวงศาคณาญาติคนใดพร้อมที่จะน้อมรับสาสน์ของท่านศาสดา (ศ) แม้แต่คนเดียว ดังนั้น จึงไม่มีบุคคลใดที่จะมีฐานภาพเทียบเท่าอลีย์ (อ) ได้ ในขณะที่ความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่อลีย์ (อ) มีต่อท่านนบีย์ (ศ) ก็มีความสนิทแนบแน่นเหนือกว่าใครทั้งหมด เพราะมุญาฮิด (นักต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ) ผู้นี้ถือกำเนิดมาสู่โลกดุนยาในบ้านของท่านศาสดา (ศ) และอยู่ภายใต้การอบรมเลี้ยงดูของท่านจนเติบใหญ่ และจิตวิญญาณของเขาได้คลุกเคล้ากับสารธรรมคำสอนอิสลามอย่างแนบแน่น เขาเป็นทั้งลูกพี่ลูกน้องและเป็นทั้งบุตรเขยของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) และเป็นผู้ที่ยืนอยู่เคียงข้างท่านในการเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายและเหล่าศัตรูอิสลามเสมอมา ฉะนั้น ยังจะมีใครที่คู่ควรต่อตำแหน่งผู้นำประชาชาติอิสลามเหนือกว่าเขาอีกเล่า ? ใช่แล้ว ด้วยเหตุผลกลใดที่พวกเขาละทิ้งอัญมณีอันเลอค่าหันไปเลือกพลอยที่ไร้ค่าขึ้นมาเป็นผู้นำประชาชาติมุสลิม ? !

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราศึกษาพฤติกรรมของเหล่าเศาะหาบะฮฺจากหน้าประวัติศาสตร์อย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว เราจะประจักษ์ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพวกกุรัยช์กับบนีฮาชิม มิได้เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดจากความรักอย่างแนบแน่นแต่อย่างใด เพราะแม้กระทั่งในขณะที่ท่านเราะสูล (ศ) ยังมีชีวิตอยู่ ความไม่ลงรอยดังกล่าวก็ยังสำแดงให้เห็นอยู่เสมอ บ่อยครั้งที่สมาชิกจากกุรัยช์กล่าวหาและใส่ร้ายตระกูลฮาชิมจนทำให้ท่านนบีย์ (ศ) ต้องรู้สึกร้าวรานใจ (ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หน้า 156 – 157 – 222)

และด้วยสาเหตุที่พวกกุรัยช์ไม่อาจจะอดทนให้ตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺตกเป็นของบนีฮาชิมได้ต่อไป พวกเขาจึงต้องพยายามหาวิธีการที่จะช่วงชิงมันมาจากตระกูลฮาชิมในที่สุด (ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หน้า 373 – ชัรฺหอิบนุอบีลหะดีด เล่ม 3 หน้า 283)

“ยะอฺกูบีย์” ได้บันทึกในตำราประวัติศาสตร์ของเขาว่า :-
“อุมัรฺได้กล่าวกับอิบนุอับบาสว่า :- ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าอลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ผู้เป็นบุตรแห่งลุงของท่าน คือผู้ที่คู่ควรต่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺมากกว่าใครทั้งหมด แต่พวกกุรัยช์ไม่อาจจะทนเห็นอลีย์ขึ้นสู่ตำแหน่งนี้ และไม่สามารถจะอดทนต่อเขาได้” (ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 137)

“อิบนุอะษีรฺ” ก็ได้บันทึกในตำราประวัติศาสตร์ของเขาในทำนองนี้เช่นเดียวกันว่า :-
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้กล่าวถึงชะตากรรมครอบครัวของท่านว่าจะตกอยู่ภายใต้พฤติกรรมที่เลวร้ายของพวกกุรัยช์เอาไว้ว่า :- “ภายหลังจากฉัน พวกท่านจะได้เห็นสมาชิกแห่งอะฮฺลุลบัยต์ของฉันถูกสังหารโดยน้ำมือของอุมมัตของฉันเอง และพวกเขาจะกดขี่บีฑาลูกหลานของฉันไม่มีวันสิ้นสุด” (ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หน้า 111)

วันหนึ่ง ท่านนบีย์ (ศ) ได้กล่าวกับอลีย์ (อ) ด้วยสีหน้าที่เต็มไปด้วยความทุกข์ระทมว่า :- “ความอาฆาตพยาบาทที่คนกลุ่มหนึ่งมีต่อเจ้าจะซุกซ่อนอยู่ภายในหัวใจของพวกเขา จนกว่ามันจะสำแดงออกมาภายหลังจากฉัน” (กันซุลอุมมาล เล่ม 6 หน้า 408 กิตาบุลฟะฎออิล)

ณ ที่นี้ เราสามารถที่จะเชื่อมโยงเหตุการณ์ภายหลังจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ล่วงลับ กับการเผชิญหน้าของเศาะหาบะฮฺจำนวนมากมายที่มีต่อตำแหน่งคิลาฟะฮฺของอลีย์ (อ) ว่ามีสาเหตุมาจากความอาฆาตพยาบาทที่พวกกุรัยช์ “มุฮาญิรีน” มีต่ออะฮฺลุลบัยต์ของท่าน (ศ)

ขอให้เราย้อนกลับไปทบทวนท่าทีที่ไม่เป็นมิตรของกุรัยช์นับตั้งแต่ท่านนบีย์ (ศ) เริ่มต้นประกาศศาสนา เพราะถึงแม้ว่าพวกเขาจะประจักษ์ถึงความซื่อสัตย์ เป็นผู้ที่เชื่อถือได้ และการไม่เคยพูดเท็จของท่านนบีย์ (ศ) ก่อนการได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสดาของท่าน แต่พวกเขาก็มิได้ตอบรับการประกาศเชิญชวนของท่าน พวกเขาหวั่นเกรงว่าถ้ายอมรับการเป็นศาสนทูตของมุหัมมัด (ศ) ก็จะเท่ากับเป็นการยอมจำนนโดยปริยายว่าตระกูลฮาชิมมีฐานภาพและเกียรติคุณเหนือกว่าตระกูลจากกุรัยช์ทั้งหมด และนี่คือความรู้สึกอิจฉาริษยาต่อบนีฮาชิมที่ฝังอยู่ในกมลสันดานของพวกกุรัยช์ จนถึงขั้นเผชิญหน้าอย่างรุนแรงกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) พวกเขาได้ร่วมกันคว่ำบาตรครอบครัวของท่าน และพยายามทุกวิถีทางที่จะข่มขู่คุกคามท่านอย่างไม่ลดราวาศอก ในที่สุด พวกเขาได้ร่วมวางแผนการณ์ที่จะลอบสังหารท่าน จนกระทั่งท่านจำต้องตัดสินใจละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนและครอบครัวเพราะไม่สามารถอดทนต่อสภาพกดขี่และความอธรรมของพวกเขานั่นเอง

พวกเขาหาได้ยุติการรังควาญอยู่เพียงแค่นั้น แต่กลับยิ่งเพิ่มความเคียดแค้นชิงชังยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งกองทัพเพื่อจะตามบดขยี้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) และผู้ที่ดำเนินรอยตามท่านให้แหลกลาญ

ทุกฉากการต่อสู้ อลีย์ (อ) คือผู้ที่คอยให้การช่วยเหลือและสนับสนุนท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) อย่างเข้มแข็งอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมรภูมิเลือดที่อลีย์ (อ) ได้จัดการสังหารบุคคลชั้นแนวหน้าของกุรัยช์ผู้ที่เคยมีความเคียดแค้นชิงชังและอาฆาตพยาบาทต่อบนีฮาชิมไปเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เอง อลีย์ (อ) จึงอยู่ในบัญชีลำดับต้น ๆ ที่พวกกุรัยช์จะต้องสะสางและชำระหนี้เลือดจากกรณีที่เขาได้สังหารบุคคลชั้นแนวหน้า ผู้อาวุโส ลูก ๆ และพี่น้องของพวกเขา และถึงแม้ว่าความหวังที่จะประสบชัยชนะต่อท่านนบีย์ (ศ) จะพังครืนไปเพราะสาเหตุที่ท่าน (ศ) สามารถพิชิตในปฏิบัติการ “ฟัตหุลมักกะฮฺ” (การพิชิตชัยชนะเหนือมักกะฮฺ) และการเผชิญหน้าทางทหารกับท่านนบีย์ (ศ) จะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม แต่ทว่าความอาฆาตพยาบาทและรอคอยโอกาสที่จะล้างแค้นกับคนในตระกูลฮาชิมโดยรวม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอลีย์ (อ) เป็นการส่วนตัวนั้น ยังคงฝังอยู่ในจิตสำนึกของพวกเขาอย่างไม่มีวันลบเลือน

ท่านอมีรุล์มุอ์มินีน อลีย์ (อ) เคยกล่าวว่า :-
“ความเคียดแค้นชิงชังและความอาฆาตพยาบาทที่พวกกุรัยช์มีต่อฉันได้ถูกซุกซ่อนและฝังลึกอยู่ภายในหัวใจของพวกเขา และความอาฆาตพยาบาทนั้นยังจะส่งผลไปถึงครอบครัวและทายาทของฉันอีกด้วย ฉันไม่เคยมีเรื่องบาดหมางเป็นการส่วนตัวกับพวกกุรัยช์มาก่อน ที่ฉันทำสงครามกับพวกเขาก็เนื่องจากภารกิจแห่งพระผู้เป็นเจ้าและเป็นไปตามคำบัญชาของท่านศาสดา (ศ) เท่านั้น” (ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หน้า 226 – 253)

มิกด๊าด อิบนุอัสวัด ซึ่งมีความเชื่อว่าเฉพาะท่านศาสดา (ศ) เท่านั้นที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกสรรตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ ดังที่ท่านได้เลือกอลีย์ (อ) นั่นเอง ดังนั้น เมื่อเขาพบว่าพวกกุรัยช์ได้หยิบยกข้ออ้างในตำแหน่งดังกล่าวทั้ง ๆ ที่พวกเขาไม่มีสิทธิใด ๆ เขาจึงกล่าวขึ้นมาอย่างเดือดดาลถึงอุบัติการณ์สะกีฟะฮฺว่า :-
“ช่างน่าอัศจรรย์ที่พวกกุรัยช์พากันปฏิเสธตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺจากครอบครัวท่านศาสดา (ศ) ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ พวกเขามิได้กระทำลงไปเพื่อหวังความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ นอกจากความลุ่มหลงในโลกดุนยาและหลงลืมอาคิเราะฮ์เท่านั้น” (ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 137)

มิกด๊าด ยังได้กล่าวกับ “อับดุรฺเราะหฺมาน บินอาวฟ์” ผู้วางแผนการณ์ให้มีการบัยอะฮฺต่ออุษมาน อิบนุอัฟฟาน ด้วยว่า :-
“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ท่านได้ละเมิดสิทธิของผู้ที่เชิญชวนมนุษย์สู่ความดี และเป็นผู้ที่ยึดมั่นในคุณธรรมและความสัตย์จริง และฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าถ้าหากฉันมีผู้ให้การช่วยเหลือ ฉันจะเผชิญหน้ากับพวกกุรัยช์ประดุจดั่งที่ฉันได้เผชิญหน้ากับพวกเขาในสมรภูมิบะดัรฺและอุหุดอย่างแน่นอน”

อับดุรฺเราะหฺมาน จึงกล่าวขึ้นว่า :- “นี่เป็นคำพูดที่สร้างรอยร้าวและความแตกแยก”
มิกด๊าด :- “ผู้ที่เรียกร้องเชิญชวนสู่สัจธรรมและเจ้าของสัจธรรมและผู้นำแห่งสัจธรรมมิใช่ผู้สร้างความแตกแยกอย่างแน่นอน แต่ทว่า ผู้ที่สร้างความแตกแยกที่แท้จริง คือบุคคลที่ฉุดผู้คนไปสู่ความโมฆะ และยึดอารมณ์ฝ่ายต่ำให้อยู่เหนือสัจธรรมความจริงต่างหาก” (ชัรฺหอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 2 หน้า 411 – 412)

มิกด๊าดคนนี้แหละคือผู้ศรัทธาผู้สัตย์จริงและมีคุณธรรม เพราะความสันโดษ ความสำรวมตนจากความชั่ว และจิตใจที่ยึดมั่นในอิสลามนั่นเองที่ทำให้ชื่อเสียงของเขาขจรขจายไปทั่ว

“ติรฺมิซีย์” ได้บันทึกในตำราสุนันของเขาว่าท่านศาสดา (ศ) เคยกล่าวว่า :-
“ทุก ๆ ศาสดา จะได้รับสหายรักเป็นของขวัญอันล้ำค่าเจ็ดคน และฉันเองมีสหายรักจำนวนสี่คน ซึ่งอัมมารฺกับมิกด๊าดคือสองในสี่คนนั้น” (สุนันติรฺมิซีย์ เล่ม 5 หน้า 329)

สภาพการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ระบอบการปกครองแห่งอิสลามต้องตกไปอยู่ในกำมือของกลุ่มชนที่มิได้มีคุณสมบัติที่ไดรับการปกป้องจากความผิดบาปจากอัลลอฮฺ และอำนาจของเคาะลีฟะฮฺค่อย ๆ พัฒนาและเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อมและบรรยากาศอิสลามไปสู่บรรยากาศที่ผู้คนไร้ความสำรวมตน ไร้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งความเป็นภราดรภาพ ความยุติธรรม และเต็มไปด้วยความเสื่อมทรามในที่สุด จนกระทั่งโลกอิสลามต้องสูญเสียคุณค่าในทางศาสนาและจิตวิญญาณในยุคสมัยของบนีอุมัยยะฮฺและบนีอับบาสนั่นเอง

ภายหลังจากพิธีกรรมแห่งการให้สัตยาบันต่ออุษมานได้สิ้นสุดลง พวกบนีอุมัยยะฮฺได้พากันไปรวมตัวกันที่บ้านของอุษมาน แล้วอบูสุฟยานได้กล่าวกับพวกเขาทั้งหมดว่า :-
“ผู้ที่มิใช่บนีอุมัยยะฮฺปะปนอยู่ในหมู่พวกท่านบ้างไหม ?

พวกเขาตอบว่า “ไม่มี” เขาจึงเริ่มกล่าวว่า :-
“โอ้ วงศ์วานแห่งอุมัยยะฮฺ จงยึดตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺจากบนีฮาชิมมาเป็นของพวกท่านเถิด เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีทั้งบัญชีความดีความชั่วและการลงโทษ ไม่มีทั้งสวรรค์และนรก และไม่มีทั้งวันตัดสินพิพากษาและวันกิยามะฮฺ” (ชัรฺหุอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 2 หน้า 411)

อุษมานจึงขอร้องมิให้เขากล่าวอะไรอีกต่อไป อบูสุฟยานซึ่งในขณะนั้นดวงตาของเขาบอดทั้งสองข้าง จึงได้ชวนสมาชิกคนหนึ่งจากวงศ์วานของเขาไปยังสุสานของท่านหัมซะฮฺ “สัยยิดุชชุฮะดาอ์” เพื่อที่จะระบายความอาฆาตพยาบาทที่ฝังอยู่ในส่วนลึกแห่งหัวใจของเขา เมื่อไปถึงหลุมฝังศพของหัมซะฮฺ เขาได้กล่าวขึ้นว่า :-
“โอ้ อบูอิมาเราะฮฺ (จงรับรู้ไว้ด้วยว่า) อำนาจการปกครองที่พวกเราได้มาด้วยคมดาบ บัดนี้ มันได้ตกถึงมือของลูกหลานของเราแล้ว”

หลังจากนั้นเขาได้ใช้เท้าเตะไปที่หลุมศพของท่านหัมซะฮฺ (อิมามอลีย์ (อ) โดยอับดุลฟัตตาหฺ อับดุลมักศูด เล่ม 1 หน้า 287)





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
๑๕
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

เมื่ออลีย์ (อ) ได้รับฟังเรื่องราวการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างชาวมุฮาญิรีนกับชาวอันศอรฺจากชายคนหนึ่งที่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ที่สะกีฟะฮฺแล้ว ท่านได้ถามเขาว่า
“พวกกุรัยช์ได้หยิบยกคุณสมบัติพิเศษอันใดขึ้นมาแอบอ้างถึงความเหมาะสมคู่ควรต่อตำแหน่งคิลาฟะฮฺของพวกเขา ? “
ชายผู้นั้นจึงตอบว่า “พวกเขาได้อ้างความเป็นเครือญาติกับท่านนบีย์ (ศ) โดยกล่าวว่า “เราคือพฤกษาของท่านศาสดาแห่งอัลลอฮฺ (ศ)”
อลีย์ (อ) จึงกล่าวว่า “พวกเขาพากันพอใจและเลือกสรรความเป็นพฤกษา แต่กลับละเมิดและเมินเฉยผลแห่งพฤกษานั้น มาตรว่าพวกเขามีค่าคู่ควรต่อตำแหน่งคิลาฟะฮฺเพียงเพราะความเป็นกิ่งก้านแห่งพฤกษาต้นนั้น แล้วเหตุใดพวกเขาจึงไม่กล้าหยิบยกความเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกดังกล่าวมาแอบอ้างกับฉันผู้ซึ่งอยู่ในฐานะผลแห่งพฤกษาและเป็นบุตรแห่งลุงของท่านศาสดา (ศ) ด้วยเล่า ?เหตุใดพวกเขาจึงไม่ยอมมอบตำแหน่งคิลาฟะฮฺแก่ฉัน (ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเหนือกว่าพวกเขาเล่า) ?” (นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คุฏบะฮฺที่ 64)

อมีรุลมุอ์มินีน อลีย์ (อ) ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างตัวท่านกับท่านนบีย์ (ศ) และความรักความเมตตาที่ท่านได้อบรมบ่มเพาะตัวท่านมาว่า
“พวกท่านย่อมตระหนักดีว่าความเป็นเครือญาติ สายสัมพันธ์ และฐานภาพของฉันกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) นั้นแนบแน่นเพียงใด ในขณะที่ฉันยังอยู่ในเยาว์วัย ท่านได้นำฉันไปชุบเลี้ยงและให้การอบรมที่บ้านของท่าน ท่านได้ขัดเกลาฉันภายใต้อ้อกอกของท่าน ฉันได้สัมผัสเนื้อหนังมังสาของท่านศาสดา (ศ) และได้มีโอกาสสูดดมกลิ่นอายอันหอมหวลจากเรือนร่างของท่าน ท่านเป็นผู้ป้อนอาหารให้ฉัน ท่านไม่เคยได้ยินคำมดเท็จจากฉัน และไม่เคยเห็นพฤติกรรมสับปลับกลับกลอกและเล่ห์เหลี่ยมจากตัวฉัน ฉันเป็นผู้ดำเนินรอยตามแบบฉบับทุกย่างก้าวและในทุก ๆ มิติแห่งจริยธรรมความดีงามของท่าน ทุก ๆ วันท่านจะสำแดงภาพลักษณ์แห่งจรรยามารยาทและคุณธรรมความดีเพื่อเป็นเยี่ยงอย่างแก่ฉัน และค่อย ๆ พัฒนาไปสู่จริยธรรมและคุณธรรมขั้นสูงส่ง ทุก ๆ ปีท่านจะนำฉันไปยังถ้ำหิรออ์เพื่อให้ฉันได้สัมผัสสัจธรรมที่นั่น ในช่วงเวลาที่ไม่มีครอบครัวอื่นใดน้อมรับอิสลามนอกจากครอบครัวของท่าน ซึ่งมีท่าน (ศ) ท่านหญิงเคาะดีญะฮฺ และฉันคือบุคคลที่สาม ฉันได้มีโอกาสมองเห็นรัศมีแห่งวิวรณ์ของพระผู้เป็นเจ้า และได้มีโอกาสสูดดมกลิ่นอายแห่งความเป็นศาสดา” (ชัรฺหอิบนุอบิลหะดีด เล่ม 3 หน้า 224)

ทั้ง ๆ ที่ท่านนบีย์ (ศ) มีความเชื่อว่าตำแหน่งอิมามะฮฺและผู้ปกครองประชาชาตินั้นเป็นพระบัญชาโดยตรงจากอัลลอฮฺ แม้แต่ตัวท่านเองก็ไม่มีสิทธิที่จะตัดสินและเลือกสรรให้ใครขึ้นเป็นผู้นำ แต่การณ์กลับกลายเป็นว่าชนกลุ่มหนึ่งกล้าหาญชาญชัยที่จะตัดสินชะตากรรมของประชาชาติแห่งท่านศาสดาด้วยทัศนะและความคิดเห็นของพวกเขาเอง พวกเขาได้หยิบยกเผ่าพันธ์ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ไร้แก่นสารและคุณค่าในทัศนะอิสลามขึ้นมาห้ำหั่นกันเพื่อแย่งชิงตำแหน่งคิลาฟะฮฺและตัวแทนของท่านนบีย์ (ศ)

มุหัมมัด อิบนุมุสลิม ซะฮฺรีย์ ได้รายงานว่าเมื่อครั้งที่ท่านนบีย์ (ศ) ได้ออกไปเชิญชวน “บนีอามิรฺ” เข้ามาสู่วิถีอิสลามนั้น “บัยหะเราะฮฺ” สมาชิกจากเผ่าดังกล่าวได้พูดกับตนเองขึ้นว่า :-
“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ มาตรว่าชายหนุ่มผู้นี้ได้อยู่เคียงข้างฉัน ภายใต้บารมีของเขาฉันจะถีบตัวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำเผ่าพันธ์อรับอย่างแน่นอน”

แล้วเขาได้ยื่นข้อเสนอต่อศาสดามุหัมมัด (ศ) ว่า :-
“มาตรว่าพวกเรายอมปฏิบัติตามคำบัญชาของท่านจนกระทั่งท่านสามารถพิชิตชัยเหนือศัตรูด้วยการสนับสนุนของเรา และเมื่ออำนาจปกครองได้ตกอยู่ในกำมือของท่านแล้ว ท่านจะให้คำมั่นสัญญาได้ไหมว่าภายหลังจากท่านแล้วอำนาจนั้นจะต้องตกเป็นของเรา ?”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) จึงตอบเขาไปว่า :-
“สิทธิเลือกสรรตำแหน่งผู้นำอยู่ในอำนาจของอัลลอฮฺเท่านั้น พระองค์จะทรงแต่งตั้งผู้ที่ทรงประสงค์ให้เป็นผู้นำ”

เขาจึงกล่าวว่า “จะให้พวกเราเอาอกปกป้องท่านจากศัตรู แต่เมื่อท่านประสบชัยชนะแล้ว อำนาจการปกครองกลับตกไปอยู่ในกำมือของคนอื่นกระนั้นหรือ ?” (ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 2 หน้า 84)



ขจัดข้อกังขา ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจและเชื่อว่าถ้าหากปล่อยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินชะตากรรมด้วยการเลือกผู้นำ ระบบการปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง และเปิดโอกาสให้พวกเขาได้สัมผัสถึงข้อดีข้อด้อย จุดอ่อนจุดแข็ง รวมทั้งความเหมาะสมคู่ควรของผู้ที่พวกเขาได้เลือกเข้าไปทำหน้าที่แทนพวกเขาแล้ว ในที่สุด พวกเขาจะสามารถจำแนกและรู้จักผู้ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมและเลือกขึ้นมาเป็นผู้นำของตนเองได้อย่างสมบูรณ์และถูกต้อง และยังสอดคล้องกับหลักการขั้นพื้นฐานแห่งประชาธิปไตยและเสรีภาพอีกด้วย และนี่คือวิถีทางเดียวเท่านั้นที่สามารถสนองความต้องการและนำพามนุษยชาติไปสู่เป้าหมายที่สมบูรณ์ซึ่งถือเป็นอุดมการณ์ขั้นสูงสุดของพวกเขา พวกเขามีอิสระที่จะตัดสินชะตากรรมและสามารถบริหารกิจการในประชาคมให้เป็นไปตามวัฒนธรรมความเชื่อ จริยธรรม และอุดมคติของตน เพราะมิฉะนั้นแล้ว ประชาชนจะไม่มีสิทธิที่จะชี้ชะตากรรมด้วยการกำหนดและเลือกสรรผู้นำที่จะทำหน้าที่ปกครองพวกตนได้ ดังนั้น ตำแหน่งอิมามะฮฺ (ผู้นำ) และตัวแทนของท่านศาสดา (ศ) ที่จะเป็นผู้ชี้ชะตากรรมพวกเขาจะต้องได้มาด้วยกระบวนการเลือกตั้งเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อพวกเขาจะได้เป็นผู้มีส่วนอย่างสมบูรณ์ในการกำหนดตัวผู้นำของตน

ความคิดที่ผิดพลาดดังกล่าวเกิดจากพวกเขาเข้าใจไขว้เขวว่าการกำหนดตัวผู้นำ (อิมามะฮฺ) ด้วยวิธีแต่งตั้งก็มีค่าเสมอเหมือนกับระบบเผด็จการนั่นเอง ในขณะที่การปกครองด้วยระบบเผด็จการที่มีอยู่ทั่วโลกนั้นล้วนได้มาด้วยวิธีการปล้นจี้หรือปฏิวัติรัฐประหารทั้งสิ้น จะแตกต่างกันแค่เพียงรูปแบบของมันเท่านั้นเองว่าเป็นการรัฐประหารจากภายในประเทศ หรืออาศัยอำนาจทางทหารจากต่างประเทศ ในขณะที่เนื้อหาของมันก็คือการอาศัยทัศนะและการตัดสินชะตากรรมของคนทั้งประเทศด้วยปัจเจกชนเพียงคนเดียวเท่านั้น

แต่สำหรับหลักความเชื่อของชีอะฮฺแล้วถือว่าตำแหน่งผู้นำประชาชาติอิสลามนั้นตั้งอยู่บนบรรทัดฐานที่ไม่มีใครสามารถคัดค้านหรือโต้แย้งได้ เพราะผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติเหมาะสมคู่ควรอย่างแท้จริงจะไม่มีสิทธิที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำประชาคมอิสลามอย่างสิ้นเชิง เจตนารมณ์ของการแต่งตั้งผู้นำ ณ ที่นี้มาจากพระผู้อภิบาลผู้ทรงรอบรู้อย่างสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์ วิถีการดำเนินชีวิต และผลลัพธ์บั้นปลายของพวกเขา ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ยังทรงรอบรู้ถึงผลประโยชน์สูงสุดของพวกเขาเหนือกว่าตัวของพวกเขาอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงเลือกสรรบุคคลที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อม มีความประเสริฐสุด คู่ควรที่สุดในท่ามกลางพวกเขา เป็นผู้ที่ผ่านการขัดเกลาตนเองและพ้นจากความผิดบาป มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญสามารถทำหน้าที่ปกครองและชี้นำ ไม่เคยมีเกียรติประวัติด่างพร้อย ตกเป็นทาสอารมณ์ใฝ่ต่ำ และไม่เป็นคนหลงโลกขึ้นมาเป็นผู้นำประชาชาติอิสลาม ในขณะที่เขาไมมีสิทธิที่จะร่างบทบัญญัติหรือกฎหมายใด ๆ ขึ้นมาด้วยตัวเอง เพราะตามทัศนะอิสลาม เฉพาะพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่มีสิทธิออกบทบัญญัติโดยการวิวรณ์ผ่านดวงใจอันบริสุทธิ์ของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ) และแบบแผนในการดำเนินชีวิตของเขามิได้นอกเหนือไปจากสารธรรมคำสอนอิสลาม ดังนั้น ผู้นำในทัศนะอิสลามจึงมีหน้าที่ทำให้บทบัญญัติของพระองค์มีผลในทางปฏิบัติในสังคมนั่นเอง

เมื่อปฐมแห่งบทบัญญัติคืออัลลอฮฺแล้ว เป็นที่แน่นอนว่ากฎหมายและข้อบังคับทั้งหมดล้วนเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ที่แท้จริงของมนุษย์ทั้งสิ้น กล่าวคือนอกจากจะสอดคล้องกับฟิฏรัตหรือธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์แล้ว ยังจะสร้างความยุติธรรมให้เกิดกับสังคมมนุษย์โดยรวม และยังจะเอื้ออำนวยต่อการขัดเกลาตัวตนของพวกเขาให้เคลื่อนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อีกด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่สอดคล้องกับอารมณ์ใฝ่ต่ำและการแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบโดยส่วนตัวของมนุษย์บางจำพวก เนื่องจากบทบัญญัติและกฎหมายของพระองค์อาจจะเป็นสิ่งที่หนักอึ้งและไม่สอดคล้องกับอารมณ์ใฝ่ต่ำของผู้คนอีกมากมายก็ตาม

เมื่อผู้นำเป็นผู้ถูกเลือกสรรจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสิทธิ์อย่างแท้จริงในภารกิจดังกล่าวแล้ว ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องบริสุทธิ์จากพฤติกรรมที่เสื่อมทรามทั้งปวง ผู้นำภายใต้โลกทัศน์ข้างต้นจะไม่ดำเนินภารกิจใด ๆ นอกจากเพื่อผลประโยชน์และความดีงามทางสังคม การชี้นำประชาชาติ และสรรสร้างสังคมให้บริสุทธิ์และสูงส่งบนพื้นฐานของความยุติธรรมและความถูกต้องเท่านั้น และระบบการปกครองที่ถูกประทานจากฟากฟ้าเช่นนี้ย่อมจะไม่มีวันสอดคล้องกับระบบเผด็จการ การกดขี่รีดนาทาเร้น และละเมิดสิทธิของผู้อื่นอย่างแน่นอน

โดยหลักการแล้ว เงื่อนไขและบทบัญญัติทางศาสนาที่ดูประหนึ่งว่าได้เข้ามาจำกัดสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการเลือกผู้นำของพวกเขานั้น มิได้ขัดแย้งกับการมีส่วนร่วมในการปกครองของพวกเขาแต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องจากในลำดับแรกประชาชนจะต้องยินยอมพร้อมใจอย่างอิสรเสรีต่อระบบและหลักธรรมคำสอนเสียก่อน และเชื่อว่าอำนาจการปกครองของประชาชนนั้นมีเงื่อนไขและขอบเขตของมัน แต่เมื่อประชาชาติได้ยอมรับหลักคำสอนแล้ว อำนาจการปกครองของพวกเขาก็จะอยู่ภายใต้หลักธรรมคำสอนนั้นเอง (หน้า 124)

นอกจากนี้ ในระบอบประชาธิปไตยซึ่งผลของการเลือกตั้งจะวางอยู่บนพื้นฐานหรืออิงเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน และสิ่งที่ผู้ปกครองยึดถือเป็นนโยบายก็คือการสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชน และปฏิบัติตามเสียงส่วนใหญ่ของพวกเขา ถึงแม้ว่าเสียงส่วนใหญ่จะไม่สอดคล้องกับหลักศีลธรรมอันดีและความสงบร่มเย็นของสังคมก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะความต้องการของมนุษย์นั้นได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่พวกเขาเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ และยังมีอิทธิพลอย่างยิ่งยวดต่อจิตสำนึกและโลกทัศน์ของปัจเจกชน สังคม ประวัติศาสตร์ ตลอดจนกฎหมายและระเบียบข้อบังคับทางสังคมที่พวกเขาปรารถนาที่จะเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อประชาคมของตน นอกจากนั้น มันยังมีอิทธิพลโดยตรงต่อการกำหนดทิศทางและวิถีชีวิตของมนุษย์ที่จะให้พวกเขาบรรลุสู่เป้าหมายตามโลกทัศน์ดังกล่าว

สิ่งที่มีความสำคัญประการหนึ่งสำหรับผู้ปกครองหรือนักการเมืองในระบบดังกล่าวได้แก่ความพยายามที่จะปรับตนให้สอดคล้องกับความคิดส่วนใหญ่ของผู้ที่ได้เลือกเขามา ซึ่งกรณีเช่นนี้จึงไม่มีข้อแตกต่างใด ๆ ในด้านพฤติกรรม ดังนั้น การบริหารและภารกิจด้านสังคมของพวกเขาจึงไม่จำเป็นว่าจะต้องสอดคล้องกับหลักความยุติธรรมหรือไม่ วิสัยทัศน์ทั้งหมดของพวกเขาก็เพียงเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ในทางการเมืองและทางสังคมที่ตนได้รับมาเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น บางครั้งพวกเขาอาจจะแกล้งปิดบังความจริงหรือทัศนะที่ถูกต้องเที่ยงธรรมของตน ทั้งนี้เพียงเพื่อรักษาสถานภาพของตนมิให้สุ่มเสี่ยงต่ออันตรายและสามารถยืนหยัดอยู่ในแวดวงการเมืองนั้นได้ต่อไป แต่ถึงกระนั้นก็ตาม อาจจะมีส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่ยอมขายอุดมการณ์เพียงเพื่อเอาใจคนส่วนใหญ่และไม่ยอมตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกเขา โดยพยายามทุกวิถีทางที่จะให้เกิดผลประโยชน์อย่างแท้จริงกับประชาชน

“ฟรังก์ เคนต์” นักวิเคราะห์เจาะลึกทางการเมืองผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งได้เขียนไว้ว่า
“ความจำเป็นที่จะให้ได้รับมาซึ่งเสียงข้างมากถือเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่ง และเพื่อที่จะให้ถึงซึ่งเจตนารมณ์ดังกล่าว “จรรยามารยาท” และ “ความถูกต้องชอบธรรม” จึงไม่อาจจะเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างสิ้นเชิง” (สีมอเยชุญอออน หน้า 35)

นี่คือกระบวนการเลือกตั้งของฝ่ายที่ตะโกนเรียกร้องหาประชาธิปไตยในโลกปัจจุบัน ซึ่งระบอบการปกครองเหล่านี้ได้ทำให้สัจธรรมความจริงและจิตใต้สำนึกกลายเป็นเครื่องเล่นไป เมื่อธาตุแท้ของผู้ปกครองเป็นเช่นนี้แล้ว เป็นสิ่งที่เหมาะสมคู่ควรกระนั้นหรือที่ตัวแทนของท่านศาสดา (ศ) จะได้มาด้วยวิธีการดังกล่าว ? และด้วยกระบวนการเช่นนี้หรือที่พวกเขาจะนำมาใช้ปกครองประชาชาติอิสลาม ?

ดังเช่นที่มุสลิมเพียงหยิบมือเดียวได้แอบไปชุมนุมเพื่อเลือกเคาะลีฟะฮฺโดยอาศัยวิสัยทัศน์ส่วนตัวเป็นบรรทัดฐาน แล้วปล่อยให้ชะตากรรมของประชาชาติอิสลามตกอยู่ภายใต้การปกครองของเขากระนั้นหรือ ?

ผู้ที่ไม่มีความสันทัดจัดเจนและเชี่ยวชาญในสารธรรมคำสอนของศาสนาและหลักปฏิบัติต่อพระผู้เป็นเจ้าอย่างลึกซึ้งถ่องแท้จะขึ้นมาชี้นำมวลผู้ศรัทธาได้อย่างไร ? เขาจะสามารถสร้างสรรค์สังคมตามอุดมการณ์อิสลามได้อย่างไร ? เขาจะมีศักยภาพที่จะบริหารประชาคมด้วยความรับผิดชอบอย่างแท้จริงได้อย่างไร ? ถ้าหากปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้น เขาจะสามารถนำหลักการและความรู้จากพระผู้เป็นเจ้ามาปรับใช้กับปรากฏการณ์ซึ่งไม่มีบทบัญญัติและกฎเกณฑ์เฉพาะเข้ามาจัดการแก้ปัญหาให้กับสังคมได้อย่างไร ? นอกจากนั้น ในระบอบการปกครองที่ยึดบรรทัดฐานเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน เสียงส่วนน้อยย่อมจะไม่ได้รับการเหลียวแล ทั้ง ๆ ที่พวกเขาอาจจะมีจำนวนถึง 49 เปอร์เซ็นต์ แต่เนื่องจากคนเหล่านั้นไม่เห็นด้วยกับเสียงส่วนใหญ่ แต่ไม่มีทางเลือกอย่างอื่นนอกจากจะต้องยอมจำนนต่อทัศนะและความต้องการของ 51 เปอร์เซ็นต์ที่มีทัศนะและความต้องการตรงข้ามอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง

การยอมจำนนและคล้อยตามเสียงส่วนใหญ่ในระบอบการปกครองดังกล่าวย่อมไม่สอดคล้องกับหลักความยุติธรรมอย่างแน่นอน อะไรคือหลักฐานและข้อพิสูจน์ว่าเสียงส่วนใหญ่ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ปกครองจะมีความรับผิดชอบต่อเสียงส่วนน้อย และจะให้อิสรเสรีแก่เสียงส่วนน้อยโดยไม่ละเมิดหรือทำลายความหวังและความต้องการของพวกเขา ? ถึงแม้จะมีคำเอ่ยอ้างว่าเสียงส่วนใหญ่จะเข้าไปปกป้องผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวม และเจตนารมณ์ของพวกเขาก็เพื่อเข้าไปปรับปรุงและพัฒนา ถึงกระนั้นก็ไม่อาจจะถือเป็นหลักค้ำประกันและทำให้กระบวนการดังกล่าวกลายเป็นความชอบธรรมตามทัศนะอิสลามได้

อะไรคือบรรทัดฐานที่เสียงส่วนน้อยซึ่งมีจำนวนมากมายจะต้องคล้อยตามเสียงส่วนใหญ่ ? พวกเขาจะต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามทัศนะของเสียงส่วนใหญ่ด้วยเหตุผลอันใด ?
แม้กระทั่งกฎหมายที่ผ่านการอนุมัติจากเสียงส่วนใหญ่จะมีผลบังคับใช้กับคนทั้งหมด ทั้ง ๆ ที่ตัวแทนของพวกเขาจะลงมติให้เป็นผลร้ายต่อสังคมและได้ทำลายคุณค่าทางศีลธรรมของพวกเขาก็ตาม





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
๑๖
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

กล่าวโดยสรุป สัจธรรมก็คือสัจธรรม ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ให้การสนับสนุนจะน้อยกว่าก็ไม่สามารถจะทำลายให้มันเป็นโมฆะได้ และโมฆะก็คือโมฆะ ถึงแม้จะมีผู้ให้การสนับสนุนมากกว่าก็ไม่สามารถจะบันดาลให้เป็นสัจธรรมได้ แน่นอนว่าเสียงส่วนใหญ่มักจะได้รับการเอาใจใส่และนำไปสู่ภาคปฏิบัติเสมอ ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาและความผิดพลาดที่น้อยกว่า แต่ก็มิได้บ่งบอกถึงความถูกต้องและเป็นสัจธรรมเสมอไป เพราะไม่มีหลักฐานและข้อพิสูจน์ใด ๆ ว่ามติและความต้องการของคนส่วนใหญ่จะถูกต้องชอบธรรมและดีกว่าเสมอไป และจะกลายเป็นความชอบธรรมในทางศาสนาที่พวกเขาจะถือว่าเป็นที่มาของบทบัญญัติและให้มนุษย์อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ดังกล่าว

ประเทศที่ปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ก็แอบอ้างเช่นเดียวกันว่าพวกเขามีประชาธิปไตยภายใต้หลักคำสอนของมาร์กซิสต์ แต่เมื่อพิจารณาถึงแก่นแท้แล้วก็คือระบบการปกครองแบบเผด็จการนั่นเอง เพราะพรรคคอมมิวนิสต์คือผู้กุมอำนาจปกครองแบบเบ็ดเสร็จโดยประชาชนไม่มีสิทธิที่จะคัดค้านหรือโต้แย้งแต่อย่างใด

แต่ในกรณีที่การเลือกสรรนั้นมาจากพระผู้เป็นเจ้า โดยสารัตถะก็คือการยอมมอบหมายและจำนนทั้งกายและใจต่ออำนาจการปกครองของพระองค์นั่นเอง และสติปัญญาเชื่อว่าการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระผู้อภิบาลจะทำให้มนุษย์ประสบความจำเริญและความโชคดีทั้งโลกนี้และโลกหน้า ฉะนั้น จำนวนมากหรือน้อยจึงมิใช่ประเด็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจากเป็นระบอบการปกครองของอัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงวิทยปัญญาและทรงเดชานุภาพอย่างแท้จริง เพราะพระองค์ทรงเป็นปฐมและผู้ทรงสรรสร้างสรรพสิ่งและความสมบูรณ์ของมวลมนุษย์ และทรงประทานความโปรดปรานโดยไม่มีขอบเขตจำกัด ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงเป็นผู้ทรงสิทธิที่จะได้รับการเคารพภักดี และบนพื้นฐานของสิทธิดังกล่าวที่คำสั่งและบทบัญญัติของพระองค์คือจุดกำเนิดของความรับผิดชอบ บทบัญญัติที่ถูกประทานมาอย่างยุติธรรม สมดุลและสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ สังคม ความสัมพันธ์ และระเบียบแบบแผนของสังคม ทั้งหมดมิได้มีเจตนารมณ์อื่นใดนอกจากเพื่อผลประโยชน์และความผาสุกอย่างแท้จริงของมนุษย์และเพื่อสร้างความยุติธรรมและความจำเริญแก่พวกเขา และไม่มีข้อเคลือบแคลงสงสัยใด ๆ ว่าพระองค์ทรงมีเจตนารมณ์เพื่อตัวของพระองค์เอง หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์ของปัจเจกชนและความรู้สึกเห็นแก่ตัว

ประชาคมที่มีศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องแสวงหาการสนับสนุนจากคนข้างมากซึ่งเป็นไปได้ว่าพวกเขาจะยึดติดอยู่กับสิ่งที่ไม่ถูกต้องต่อศีลธรรมและมีทัศนคติและการตัดสินที่ผิดพลาด ดังมีตัวอย่างมากมายที่ผู้คนในสังคมเคยฝากความหวังว่าตัวแทนที่ชนส่วนใหญ่รวมพลังเลือกขึ้นเป็นผู้นำและผู้ปกครองจะสามารถชี้นำและบริหารกิจการสังคมให้ไปสู่ความสุขสถาพรที่แท้จริงได้ แต่แล้วในที่สุดความหวังของพวกเขาต้องพังทลายลง ความรักความผูกพันกลับกลายเป็นความเคียดแค้นชิงชังและความเป็นศัตรูกันในเวลาอันรวดเร็ว !!

ด้วยเหตุนี้จึงสามารถสรุปได้ว่าทัศนะและเสียงส่วนใหญ่ที่เกิดจากประสบการณ์ทางสังคมล้วนก่อให้เกิดความผิดพลาด และไร้ความสามารถในทุก ๆ ด้านในการแก้ไขอุปสรรคปัญหาของมนุษย์ การสร้างความยุติธรรมทั้งต่อปัจเจกชนและสังคม และพวกเขาไม่สามารถที่จะให้หลักค้ำประกันแก่มนุษย์ทั้งในด้านความผาสุก สันติภาพและความยุติธรรมได้



12 ตะชัยยุอ์ในหน้าประวัติศาสตร์ ทัศนะของอุละมาอ์และนักวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการถือกำเนิดของสำนักคิดชีอะฮฺนั้นมีหลากหลาย ทั้งนี้พวกเขาจะนำเสนอทัศนะของตนไปตามหลักฐาน แหล่งที่มา แนวคิด เจตนารมณ์และเป้าหมายที่พวกเขาต้องการ

บางส่วนเชื่อว่าชีอะฮฺเกิดขึ้นมาภายหลังจากการอสัญกรรมของท่านศาสนทูตแห่งอิสลาม (ศ) และสาเหตุประการสำคัญที่ทำให้เกิดมัซฮับนี้ขึ้นมาก็เนื่องจากบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน (ศ) ได้ไปชุมนุมกันเพื่อที่จะเลือกผู้นำและตัวแทนสืบต่อจากท่านนบีย์ (ศ) นั่นเอง โดย “ยะอฺกูบีย์” นักประวัติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงได้บันทักไว้ว่า

“เศาะหาบะฮฺกลุ่มหนึ่งจากชาวมุฮาญิรีนและอันศอรฺต่างพากันคว่ำบาตรไม่ยอมให้สัตยาบันต่ออบูบักรฺ ทั้งนี้เนื่องจากพวกเขาฝักใฝ่อยู่กับอลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) บุคคลเหล่านั้นได้แก่อับบาส อิบนุอับดุลมุฏเฏาะลิบ, ฟัฎลฺ อิบนุอับบาส, ซุบัยรฺ, คอลิด อิบนุสะอีด, มิกด๊าด อิบนุอัสวัด, สัลมาน ฟารฺสีย์, อบูซัรฺ ฆิฟารีย์, อัมมารฺ บินยาสิรฺ, บัรฺรออ์ และอุบัย อิบนุกะอับ เป็นต้น” (ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 114)

“มัสอูดีย์” นักประวัติศาสตร์นามกระเดื่องอีกคนหนึ่งได้กล่าวว่า
“สัลมาน ฟารฺสีย์ เป็นชีอะฮฺนับตั้งแต่แรกเริ่ม (เข้ารับอิสลาม) และอัมมารฺ บินยาสิรฺ ถูกรู้จักในฐานะชีอะฮฺตลอดชั่วชีวิตของเขาถึงขนาดที่เขาได้กล่าวภายหลังที่อุษมานได้รับการเลือกตั้งขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺว่า นับเป็นครั้งที่เท่าไรแล้วที่พวกท่านได้ปล้นตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺไปจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ และอบูซัรฺ ฆิฟารีย์ คือตัวอย่างของผู้ที่เป็นชีอะฮฺที่ชัดเจน” (มุรูญุซซะฮับ มัสอูดีย์)

นักประวัติศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า ชีอะฮฺได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการในยุคสมัยการดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของอลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ในขณะที่นักประวัติศาตร์บางส่วนมีทัศนะว่าตะชัยยุอ์เกิดขึ้นมาในตอนปลายสมัยคิลาฟะฮฺของอุษมาน และนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าท่านอิมามญะอฺฟัรฺ อัศศอดิก (อ) คือผู้สถาปนาสำนักคิดชีอะฮฺขึ้นมา และที่เตลิดไกลไปกว่านั้นก็คือยังมีนักประวัติศาสตร์อีกจำนวนหนึ่งเชื่อว่ามัซฮับชีอะฮฺอุบัติขึ้นมาจากเหตุผลทางการเมืองจากกรณีที่ชาวอิหร่านต้องการจะล้างแค้นเลือดให้กับผู้นำของตน และโดยทั่วไปแล้วพวกเขาเข้ารับชีอะฮฺเพราะนิยมชมชอบและฝักใฝ่ในทางการเมืองเป็นประการสำคัญ

นอกจากนี้ ยังมีบางกลุ่มที่เชื่อว่าชีอะฮฺเป็นเพียงกลุ่มปรากฏการณ์ที่อุบัติขึ้นมาในประชาคมอิสลามโดยไม่มีแหล่งกำเนิดที่แน่ชัดและจุดเด่นใด ๆ แต่บนพื้นฐานของวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม บรรยากาศและความผันผวนทางการเมืองในยุคต่อมาบนหน้าประวัติศาสตร์ เมื่อวันเวลาได้ผันผ่านทำให้ชีอะฮฺแพร่หลายในประชาคมอิสลาม และพวกเขาคือกาฝากที่ถือกำเนิดจากเรือนร่างของประชาชาติอิสลาม หรือบางกลุ่มมีอคติถึงขั้นพากันโฆษณาชวนเชื่อว่าชีอะฮฺคือผลผลิตในทางความคิดของมนุษย์ในมโนภาพและจินตนาการนาม “อับดุลลอฮฺ อิบนุสะบาอ์” และถือว่าความเชื่อของชีอะฮฺถือกำเนิดมาจากชายชราในนิทานผู้นี้ และอาศัยทัศนคติและความรู้สึกส่วนตัวตัดสินความเป็นมาของชีอะฮฺ และคาดคะเนไปบนพื้นฐานของความอคติดังกล่าว (สำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อในนิทานปรัมปราเพิ่มเติม โปรดดูหนังสือ “อับดุลลอฮฺ อิบนุสะบาอ์” โดยอัลลามะฮฺ สัยยิดมุรฺตะฎอ อัสกะรีย์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อิสลาม)

เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการละเลงสีแห่งความเป็นศัตรูเพื่อใส่ไคล้ทั้งสิ้น และความพยายามในทำนองนี้ก็เพียงเพื่อที่จะปิดบังสารัตถะแห่งสัจธรรม หรือไม่ก็เกิดจากความโง่เขลาเบาปัญญาในหลักศรัทธาและสารธรรมคำสอนของชีอะฮฺ เพราะจุดกำเนิดที่แท้จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

ดร.ฏอฮา หุสัยน์ นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงชาวสุนนีย์จากประเทศอียิปต์ได้เขียนไว้ว่า
“การที่นักประวัติศาสตร์ไม่หยิบยกชื่อของอิบนุสเสาดาอ์ หรือ “อับดุลลอฮฺ อิบนุสะบาอ์” และบรรดาผู้ที่เจริญรอยตามเขาในสงครามศิฟฟีนนั้น อย่างน้อยที่สุดก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าตัวละครดังกล่าวล้วนถูกสร้างขึ้นมาโดยปราศจากหลักฐานและความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง และผลกระทบจากสิ่งที่ถูกปลอมแปลงดังกล่าวได้สร้างความเสียหายและความเป็นศัตรูต่อกันระหว่างชีอะฮฺกับมัซฮับต่าง ๆ ในอิสลาม ศัตรูของชีอะฮฺได้ใช้ความพยายามที่จะใส่ร้ายป้ายสีและทำลายความชอบธรรมนี้ด้วยการนำตัวละครยะฮูดีย์บรรจุเข้ามาอยู่ในสารบบของชีอะฮฺ เพราะถ้าหากเรื่องราวของอับดุลลอฮฺ อิบนุสะบาอ์ มีความถูกต้องและเป็นจริงในทางประวัติศาสตร์แล้ว ย่อมไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าร่องรอยแห่งแผนการร้ายและความฉลาดแกมโกงของเขาจะต้องถูกจารึกและสำแดงออกมาในสงครามศิฟฟีนอย่างแน่นอน

เหตุผลเพียงประการเดียวที่ข้าพเจ้าทราบมาก็คือ ศัตรูของชีอะฮฺได้สร้างอิบนุสะบาอ์ขึ้นมาเพื่อที่จะทำลายชีอะฮฺนั่นเอง” (อัลฟิตนะตุลกุบรอ (อลีย์ วะบนูฮุ) เล่ม 2 หน้า 90)

“ในความเป็นจริง อิบนุสะบาอ์มีตัวตนอยู่จริงหรือ ? หรือเป็นเพียงมนุษย์ในจินตนาการเท่านั้น ? คำถามดังกล่าวมีคุณค่าและความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาเพื่อหาบทสรุปจากประวัติศาสตร์อิสลาม คำกล่าวที่ว่าอิบนุสะบาอ์คือผู้ที่เคลื่อนไหวเพื่อสร้างความปั่นป่วนนั้นเป็นเพียงภาพหลอนที่ผู้มีเจตนาร้ายได้เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมา ประดุจดั่งที่พวกกุรัยช์ได้ใช้ความพยายามใส่ร้ายป้ายสีท่านศาสดามุหัมมัด (ศ) ว่าได้นำหลักธรรมคำสอนของคริสเตียนนาม “ญับรฺ” มาเผยแพร่ในหมู่ประชาชนในยุคแรกแห่งการเชิญชวนของท่านนั่นเอง” (หะยาตมุหัมมัด (ศ) ดร.ฮัยกัล หน้า 136)

“มุหัมมัด โค้รด์ อลีย์” นักวิชาการสุนนีย์อีกท่านหนึ่งได้เขียนไว้ว่า
“เศาะหาบะฮฺชั้นแนวหน้าจำนวนหนึ่งที่เจริญรอยตามท่านอลีย์ (อ) นันตั้งแต่ยุคแรกแห่งอิสลามได้ถูกขนานนามว่า “ชีอะฮฺ” ส่วนข้อเขียนจากนักเขียนปัญญาอ่อนบางคนที่ใส่ร้ายมัซฮับชีอะฮฺว่าเป็นปฏิมากรรมหรือผลผลิตของผู้มีนามว่าอับดุลลอฮฺ อิบนุสะบาอ์ หรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในนาม “อิบนุสเสาดาอ์” นั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าข้อครหาดังกล่าวเป็นเพียงแค่ภาพมายาและนิทานปรัมปราเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากยะฮูดีย์ในนามอับดุลลอฮฺ อิบนุสะบาอ์ หาได้มีตัวตนอยู่บนโลกนี้นอกจากตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาเท่านั้น และความพยายามโยงใยเรื่องราวดังกล่าวให้ไปพัวพันกับชีอะฮฺ เกิดจากความไม่ประสีประสาต่อที่มาและหลักศรัทธาของชีอะฮฺนั่นเอง” (คัฏฏ็อฏชาม - คิฏ็อฏ - คุฎ็อฏ (เล่ม 6 หน้า 246 ฉบับพิมพ์เบรุต)

ตรงข้ามกับทัศนะข้างต้น ยังมีนักวิชาการผู้รักษ์สัจจะจำนวนหนึ่งที่กล่าวว่าด้วยการพิจารณาหะดีษหรือวจนะของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ก็จะทำให้ภาพของชีอะฮฺมีความสว่างไสวขึ้นมาทันที

“หะสัน อิบนุมูสา นูบัคตีย์” และ “สะอัด อิบนุอับดุลลอฮฺ” ได้บันทึกไว้ว่า
“กลุ่มของอลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) คือกลุ่มแรกที่ได้ฉายแสงในสมัยของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และถูกขนานนามว่า “ชีอะฮฺอลีย์” ด้วยสาเหตุที่พวกเขาเชื่อว่าตำแหน่งอิมาม (ผู้นำ) นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) เท่านั้น โดยมี มิกด๊าด, สัลมาน, อบูซัรฺ, อัมมารฺ ฯลฯ ที่เจริญรอยตามและเป็นสหายผู้สัตย์จริงของท่าน พวกเขาคือชนกลุ่มแรกที่ถูกรู้จักในนาม “ชีอะฮฺ” ชื่อของชีอะฮฺมิใช่เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่แต่อย่างใด เพราะผู้ที่เจริญรอยตามศาสดาในอดีตก็เคยได้รับสมญานามนี้มาแล้วเช่นกัน ในนามชื่อ “ชีอะฮฺนุหฺ”, “ชีอะฮฺอิบรอฮีม”, “ชีอะฮฺมูสา” และ “ชีอะฮฺอีสา” เป็นต้น” (อัลมุกอลาต วัลฟิร็อก หน้า 15)

นักวิชาการชีอะฮฺได้ยืนยันทัศนะข้างต้นเช่นกัน โดยมีริวายะฮฺมากมายที่บ่งชี้ว่าผู้สถาปนาอิสลามบนหน้าแผ่นดินได้ใช้คำ “ชีอะฮฺ” ในความหมายของผู้ที่เจริญรอยตามอลีย์ (อ) ดังที่นักอรรถาธิบายอัลกุรฺอานและนักรายงานหะดีษชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺได้กล่าวถึงอัสบาบุนนุซูลในอายะฮฺ

“แท้จริง บรรดาผู้ศรัทธาและประกอบคุณธรรมความดี พวกเขาเป็นผู้ที่ประเสริญสุดในหมู่มนุษยชาติ” (สูเราะฮฺอัลบัยยินะฮฺ 98 : 7)

ว่าท่านญาบิรฺ อิบนุอับดิลลาฮฺ ได้รายงานว่า “วันหนึ่ง ในขณะที่ฉันนั่งอยู่กับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) นั้น อลีย์ (อ) ได้เดินเข้ามา ท่าน (ศ) จึงกล่าวว่า
“น้องชายของฉันมาแล้ว” แล้วท่านได้กล่าวต่อไปว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ โดยแน่นอนยิ่ง บุรุษผู้นี้และผู้ที่เจริญรอยตามเขาจะเป็นผู้ที่ประสบชัยชนะในวันกิยามะฮฺ” (เศาะวาอิก อิบนุหะญัรฺ ฟัศลุ์ 1 บาบ 11 – มะนากิบคอรัซมีย์ หะนะฟีย์ หน้า 66 – ฟะรออิดุสสิมฏ็อยน์ หัมวีนีย์ ชาฟิอีย์ เล่ม 1 บาบ 13 – ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ สุลัยมาน หะนะฟีย์ บาบ 56 – ฟุศูลุลมุฮิมมะฮฺ อิบนุศอบบาฆ มาลิกีย์ หน้า 105 – กิฟายะตุฏฏอลิบ กันญีย์ ชาฟิอีย์ หน้า 118)

“เฏาะบะรีย์” มุฟัสสิรฺและมุวัรฺริคชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺได้กล่าวว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เป็นผู้กล่าวคำว่า “ชีอะฮฺ” ในอายะฮฺดังกล่าว (ตัฟสีรฺเฏาะบะรีย์ เล่ม 3 หน้า 146)
ด้วยเหตุนี้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) เป็นผู้ที่แนะนำประชาชาติของท่านให้รู้ว่าบรรดาผู้ที่เชื่อว่าอลีย์ (อ) คือผู้นำของพวกเขาคือ “ชีอะฮฺ” ด้วยตัวของท่าน (ศ)เอง
ด้วยเหตุนี้ เราจะเห็นว่าชีอะฮฺได้ถือกำเนิดมาพร้อม ๆ กับการถือกำเนิดของอิสลามนั่นเอง โดยท่านนบีย์ (ศ) เป็นผู้เปล่งวาจาและเรียกขานชื่อนี้ ส่วนที่มีการเรียกขานกันว่า “ชีอะฮฺญะอฺฟะรีย์” นั้นก็ด้วยสาเหตุที่ท่านอิมามศอดิก (ศ) ได้ใช้ความเพียรพยายามฟื้นฟูอิสลามตามแนวทางของสำนักคิดตะชัยยุอฺขึ้นมาในยุคสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งอิมามซึ่งอยู่ภายใต้บรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้ท่านได้นำคำสอนดั้งเดิมของท่านนบีย์ (ศ) ขึ้นมาเรียกร้องประชาชนภายหลังจากที่พวกเขาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ปกครองที่ฉ้อฉลอธรรม เมื่อท่านอิมาม (อ) ประจักษ์ว่าอิทธิพลทางการเมืองมีผลทำให้บิดอะฮฺและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ได้สอดแทรกเข้ามาในหลักคำสอนดั้งเดิมของอิสลาม เช่น การกิยาสและการอิสติหฺสาน ท่านจึงได้เริ่มฟื้นฟูด้วยการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนที่แท้จริงให้บรรดาสานุศิษย์

“มุหัมมัด ฟิกรีย์ อบุนนัศรีย์” นักเขียนสุนนีย์ชาวอียิปต์ได้กล่าวถึงจุดกำเนิดที่แท้จริงของตะชัยยุอฺไว้ว่า :-
“ชีอะฮฺ มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวคิดของอบุลหะสัน อัชอะรีย์ และมิได้มีหลักปฏิบัติเดียวกับมัซฮับทั้งสี่แต่อย่างใด เพราะมัซฮับชีอะฮฺที่ยึดมั่นในอิมามสิบสองนี้ได้ถือกำเนิดมาก่อน ซึ่งผลลัพท์ก็คือชีอะฮฺเป็นมัซฮับที่มีความน่าเชื่อถือและสร้างความมั่นใจได้มากกว่า และคู่ควรต่อการเจริญรอยตามมากกว่ามัซฮับทั้งหลาย เพราะมุสลิมได้ยึดถือมัซฮับนี้มาตั้งแต่สามศตวรรษแรกแห่งศักราชอิสลาม และด้วยสาเหตุที่เป็นเพียงมัซฮับเดียวที่ “ประตู อิจญ์ติฮาด” (การวินิจฉัยปัญหาศาสนา) จะเปิดอยู่ตลอดเวลาตราบถึงวันกิยามะฮฺ จึงถือว่าเป็นมัซฮับที่คู่ควรต่อการเจริญรอยตามมากกว่า และนอกจากนั้น เป็นเพียงมัซฮับเดียวที่ไม่เคยยอมก้มหัวอยู่ภายใต้อิทธิพลของมหาอำนาจและความอธรรมใด ๆ “ (อัลมุรอญะอาต ฉบับพิมพ์กรุงไคโร มุก็อดดิมะฮฺที่ 10)

อุสตาซอบุลวะฟา เฆาะนีมีย์ ตัฟตาซานีย์ นักวิชาการสุนนีย์อีกท่านหนึ่งได้กล่าวว่า :-






แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
๑๗
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

“นักวิชาการทั้งตะวันออกและตะวันตกมากมายทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและที่ยังมีชีวิตอยู่ต่างได้ให้ทัศนะที่ผิดเพี้ยนเกี่ยวกับชีอะฮฺอย่างมากมายโดยปราศจากหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่น่าเชื่อถือใด ๆ ทำให้ผู้คนจำนวนหนึ่งพากันโจษจานจนเป็นที่แพร่หลายโดยปราศจากการสอบถามถึงความถูกต้องหรือไม่ชอบมาพากลของทัศนะเหล่านั้น เหตุผลประการแรกที่ทำให้ชีอะฮฺต้องถูกนักวิชาการที่ไร้จรรยาบรรณเหล่านั้นสามารถบิดเบือนก็เนื่องจากความไม่ประสีประสาในทางวิชาการและไม่ยอมศึกษาจากตำรับตำราของชีะอะฮฺ พวกเขาพอใจที่จะอ้างหลักฐานจากร่องรอยและข้อเขียนของผู้ที่เป็นศัตรูของชีอะฮฺ ส่วนสาเหตุสำคัญประการต่อมาที่ทำให้สิทธิของชีอะฮฺต้องถูกละเมิดก็คือนักล่าอาณานิคมตะวันตกที่พยายามทุกวิถีทางที่จะสร้างรอยร้าวและความแตกแยกในระหว่างสุนนีย์กับชีอะฮฺ พวกเขาพยายามที่จะเผยแพร่ทัศนะที่แตกต่างและห่างไกลจากความจริงและปราศจากหลักฐานในนามของการถกเถียงที่เป็นอิสระทางวิชาการและมหาวิทยาลัย” (มะอะริญาลิลฟิกรฺ ฟิลกอฮิเราะฮฺ หน้า 40 – 41)

สาเหตุที่ผู้คนเหล่านั้นต้องตกอยู่ในวังวนแห่งความมืดมนอนธกาลและหลงออกจากวิถีทางที่เที่ยงธรรมจนกระทั่งวิญญาณของสัตว์ป่าได้สิงสถิตอยู่ในก้นบึ้งแห่งหัวใจของพวกเขาก็เนื่องจากวิสัยทรรศน์ที่คับแคบและจิตใจที่สกปรกโสมม หรือพวกเขาต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่เต็มไปด้วยการกดขี่บีฑา แทนที่ผู้คนเหล่านั้นจะยึดคัมภีร์อัลกุรฺอาน อิสลาม และกิบละฮฺเป็นบรรทัดฐานและผลประโยชน์ของมุสลิมเหนือสิ่งอื่นใด พวกเขากลับแข่งขันกันเพื่อสร้างรอยร้าวและความแตกแยกในหมู่ประชาชาติมุสลิม และแทนที่คนเหล่านั้นจะอุทิศผลงานทางวิชาการเพื่อคุณประโยชน์ต่อโลกอิสลาม พวกเขากลับหยิบยื่นวิชาการที่เต็มไปด้วยยาพิษให้ศัตรูใช้เป็นอาวุธทิ่มแทงพี่น้องมุสลิม

สิ่งที่สมควรจะกล่าวเสริมในที่นี้ก็คือไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะถือว่าชีอะฮฺเป็นกลุ่มที่แยกตัวออกมาจากมุสลิมอื่น ๆ ในสมัยของท่านนบีย์ (ศ) แต่เนื่องจากในยุคสมัยของท่าน (ศ) มีเศาะหาบะฮฺจำนวนหนึ่งที่มีความเชื่อมั่นว่าท่านอลีย์ (อ) มีฐานภาพและเกียรติคุณ มีความรู้ความเชี่ยวชาญและเข้าถึงอุดมการณ์และเป้าหมายแห่งสาสน์อิสลามอย่างถ่องแท้เหนือกว่าเศาะหาบะฮฺทั้งหมด ด้วยโลกทัศน์ที่กว้างไกล ความรอบรู้ที่เหนือกว่าผู้ใด ความสัมพันธ์ที่ล้ำลึกกับผู้เป็นปฐมแห่งความสมบูรณ์ และความเป็นผู้มีจริยธรรมที่สูงส่ง ทำให้พวกเขายอมทุ่มเทและมอบความรักให้กับอลีย์ (อ) และพวกเขายังได้รับการดลใจให้ประจักษ์ถึงศรัทธาที่มั่นคงและจิตวิญญาณที่สูงส่งในฐานะแบบฉบับของมนุษย์ที่สมบูรณ์และเป็นผู้มีคุณสมบัติโดดเด่นเป็นที่ประทับใจของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม สามารถกล่าวได้เช่นเดียวกันว่าภายหลังจากการอสัญกรรมของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) แล้ว สำนักคิดชีอะฮฺได้ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้เนื่องจากเศาะหาบะฮฺผู้ใกล้ชิดกับท่านอลีย์ (อ) ไม่ยอมตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกสะกีฟะฮฺและไม่ยอมให้สัตยาบันต่ออบูบักรฺ 1 ในทางกลับกัน พวกเขาได้สำแดงท่าทีออกมาอย่างชัดเจนที่จะปกป้องวจนะซึ่งถือเป็นหลักฐานที่ชัดเจนที่ท่านศาสดา (ศ) ได้ประกาศแต่งตั้งอลีย์ (อ) ให้เป็นผู้นำและผู้ปกครองประชาชาติอิสลามภายหลังจากท่านด้วยการคัดค้านกระบวนการเลือกตั้งที่สะกีฟะฮฺว่าคนเหล่านั้นมีเจตนาละเมิดคำสั่งเสียของท่านนบีย์ (ศ) ที่ได้ประกาศแต่งตั้งอลีย์ (อ) ให้เป็นผู้นำด้วยข้ออ้าง “เพื่อความสันติในหมู่มุสลิม” โดยพวกเขาได้คว่ำบาตรด้วยการแยกตัวออกมาจากชนกลุ่มใหญ่ เพราะพวกเขาต้องการให้อลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) เป็นผู้นำทั้งทางความคิดและทางการเมืองของประชาชาติตามคำสั่งเสียของท่านนบีย์ (ศ) ด้วยเหตุนี้ ชีอะฮฺหรือผู้ที่เจริญรอยตามอลีย์ (อ) จึงถูกรู้จักอย่างเป็นทางการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 2 หน้า 446)

ในท่ามกลางเศาะหาบะฮฺผู้ทรงเกียรติผู้ได้ชื่อว่าเป็นชีอะฮฺของอลีย์ (อ) นั้น ท่านนบีย์ (ศ) ได้กล่าวยกย่องสรรเสริญถึงความซื่อสัตย์ ความบริสุทธิ์ใจ และการรักษาพันธสัญญาของพวกเขา ทั้งอัมมารฺ, อบูซัรฺ, มิกด๊าด, สัลมาน, อิบนุอับบาส ฯลฯ ในส่วนของอัมมารฺและบิดามารดาของเขานั้น ท่านศาสดา (ศ) ได้วจนะไว้ว่า :-
“จงยึดมั่น (อิสลาม) ด้วยความอดทนเถิด โอ้ ตระกูลยาสิรฺ เพราะสรวงสวรรค์คือสถานที่พำนักของพวกท่าน” (มุสตัดร็อกหากิม เล่ม 3 หน้า 383)

“โอ้ อัมมารฺ จงรับรู้เถิดว่าพวกอธรรมจะสังหารเจ้าอย่างแน่นอน” (สุนันติรฺมิซีย์ เล่ม 5 หน้า 233)
ท่านนบีย์ (ศ) ยังได้แจ้งข่าวดีถึงความรักและความกรุณาที่พระผู้อภิบาลได้ทรงมอบแก่บุคคลทั้งสี่เป็นกรณีพิเศษว่า :-
“โดยแน่นอนยิ่ง อัลลอฮฺได้บัญชาให้ฉันมอบความรักต่อคนทั้งสี่ และพระองค์ยังทรงแจ้งแก่ฉันว่าพระองค์ก็ทรงรักพวกเขาเช่นกัน”

ได้มีผู้ถามว่า “โอ้ เราะสูลุลลอฮฺ พวกเขาคือใครหรือ ?
ท่านจึงตอบว่า :- “พวกเขาคืออลีย์ (โดยท่านได้กล่าวซ้ำถึงสามครั้ง) อบูซัรฺ, สัลมาน และมิกด๊าด” (สุนันอิบนุมาญะฮฺ เล่ม 1 หน้า 53)

ท่านนบีย์ (ศ) ยังได้กล่าวถึงความเป็นผู้มีสัจจะและความสำรวมตนของอบูซัรฺว่า :-
“ความเป็นผู้มีสัจจะของอบูซัรฺเข้มข้นกว่าสีน้ำเงินของท้องฟ้า และความสันโดษของเขาเทียบเท่ากับอีสา อิบนุมัรฺยัม (อลัยฮิมัสลาม)” (เศาะหี๊หฺติรฺมิซีย์ เล่ม 5 หน้า 334)

ท่าน (ศ) ยังได้กล่าวถึงฐานภาพแห่งโลกหน้าของผู้มีเกียรติสามท่านว่า :-
“สรวงสวรรค์มีความคลั่งใคล้ต่อบุคคลทั้งสามคือ อลีย์, อัมมารฺ และสัลมาน” (สุนันติรฺมิซีย์ เล่ม 5 หน้า 332)

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ยังได้วิงวอนขอดุอาอ์ให้อิบนุอับบาสว่า
“โอ้ อัลลอฮฺ โปรดประทานความรู้ในการตีความ (ตะอ์วีล) กุรฺอานแก่เขาด้วยเถิด และให้เขามีความเป็นปราชญ์ในด้านศาสนบัญญัติ และให้เขาเป็นหนึ่งจากผู้มีศรัทธาด้วยเถิด” (มุสตัดร็อกหากิม เล่ม 3 หน้า 536)

พวกเขาเหล่านี้แหละที่เชื่อว่าอลีย์ (อ) คือตัวแทนของท่านศาสดา (ศ) และเชื่อว่าตำแหน่งคิลาฟะฮฺเป็นกรรมสิทธิอันชอบธรรมของอลีย์ (อ) ดังนั้น พวกเขาจึงดำเนินรอยตามเขาด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข้อถกเถียงและความขัดแย้งที่อุบัติขึ้นมาภายหลังจากการอสัญกรรมของท่านศาสดา (ศ) เป็นเพียงปัญหาคิลาฟะฮฺ ตัวแทน หรือผู้ปกครองทั่ว ๆ ไปเท่านั้น มิใช่ตำแหน่งอิมามะฮฺซึ่งถือเป็นทายาทผู้สืบทอดมรดกทางด้านจิตวิญญาณของท่านศาสดา (ศ) แต่อย่างใดไม่ ไม่มีการกล่าวถึงและถกเถียงถึงตำแหน่งอิมาม ไม่มีผู้ใดเสนอตัวเพื่อให้ที่ประชุมตัดสินใจเลือกเขาขึ้นเป็นอิมาม และไม่มีใครที่สละสิทธิ์ตำแหน่งอิมามแต่อย่างใด

กรณีที่ไม่มีการกล่าวถึงตำแหน่งอิมามะฮฺ หรือด้วยสาเหตุที่ไม่มีบุคคลใดเคลือบแคลงสงสัยในตำแหน่งผู้นำทางจิตวิญญาณของอลีย์ (อ) ? หรือเนื่องจากผู้ที่ประกาศตัวขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺหรือตัวแทนของท่านศาสดา (ศ) ต่างขาดคุณสมบัติสำคัญของตำแหน่งอิมาม พวกเขาจึงไม่กล้าที่จะแอบอ้างถึงตำแหน่งดังกล่าว ? ไม่เป็นที่ประจักษ์แต่อย่างใด

มิได้มีการหยิบยกปัญหาอิมามะฮฺขึ้นมากล่าวถึงเป็นเวลานานจวบจนกระทั่งภายหลังจากเคาะลีฟะฮฺหลายคนได้จากโลกนี้ไป จึงได้เริ่มกล่าวถึงประเด็นนี้ ดังในกรณีตัวอย่างที่มุอาวิยะฮฺได้อ้างตนว่าเป็นอิมามทั้ง ๆ ที่มิได้มีคุณสมบัติใด ๆ ที่คู่ควรต่อตำแหน่งดังกล่าว

ประเด็นที่วิชาหลักศรัทธาหรือวิภาษวิธี (อิลมุลกะลาม) หยิบยกมากล่าวถึงก็คืออิมามและอิมามะฮฺ ในขณะที่ตำราประวัติศาสตร์ ข้อเขียนหรือการสนทนาระหว่างนักวิชาการชาวสุนนีย์จะกล่าวถึงเฉพาะคุละฟาอ์และเคาะลีฟะฮฺเท่านั้น แต่สำหรับอลีย์ (อ) และทายาทของเขาผู้ซึ่งอยู่ในฐานะผู้นำของชีอะฮฺจะได้รับการกล่าวถึงในฐานะอิมาม และหลักศรัทธาของชีอะฮฺถือว่าการให้ความสำคัญอย่างแท้จริงต่อสารธรรมคำสอน การสำรวมตนจากความชั่วอย่างแท้จริง ตลอดจนคุณสมบัติพิเศษอื่น ๆ เป็นเงื่อนไขและคุณสมบัติที่สำคัญของตำแหน่งอิมามและตัวแทนของท่านศาสดา (ศ)

“หิชาม อิบนุหะกัม” สานุศิษย์คนสำคัญของท่านอิมามญะอฺฟัรฺ อัศศอดิก (อ) ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับอิมามะฮฺขึ้นมาเล่มหนึ่ง และได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวมาพิจารณาด้วยเช่นกัน (ฟิฮฺริสอิบนุนะดีม หน้า 263)

นอกจากท่านศาสดา (ศ) จะมีตำแหน่งศาสดา (นะบูวะฮฺ) ผู้ได้รับมอบหมายให้นำวิวรณ์ไปประกาศเชิญชวนประชาชนแล้ว ท่านยังมีภารกิจทำหน้าที่ปกครองพวกเขาอีกด้วย และนับตั้งแต่มุสลิมได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรขึ้นมานั้น พวกเขาได้มอบหมายให้ท่านศาสดา (ศ) เป็นผู้นำในการบริหารกิจการของพวกเขาทั้งในด้านสังคม การแต่งตั้งผู้ปกครอง ผู้พิพากษา แม่ทัพและผู้บัญชาการรบ การจัดสรรปันส่วนทรัพย์สงคราม และท่านยังได้นำบทบัญญัติและกฎหมายของพระผู้เป็นเจ้ามาบริหารสังคม ซึ่งถือภารกิจหลักอีกประการหนึ่งของผู้นำในอิสลาม และประชาชนก็เชื่อฟังปฏิบัติตามบทบัญญัติและคำสั่งเหล่านั้นด้วย

ดังนั้น ตำแหน่งผู้นำ ผู้ปกครอง การบริหาร จัดระเบียบ และสร้างความสงบในสังคมจึงถือเป็นภารกิจหลักอีกประการหนึ่งของผู้เป็นศาสดา (ศ) ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าในทางปฏิบัติ ท่านได้ทำหน้าที่นี้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ กล่าวโดยสรุป มุหัมมัด (ศ) ได้ปฏิบัติภารกิจทั้งในฐานะศาสดาและผู้นำทางจิตวิญญาณ และในฐานะของผู้ปกครองและผู้บัญชาการทหารควบคู่ในเวลาเดียวกัน

และประเด็นที่เกิดความขัดแย้งกันภายหลังจากท่านศาสดา (ศ) ได้ล่วงลับไปแล้วก็คือตำแหน่งผู้ปกครองที่ท่าน (ศ) ได้ทำหน้าที่บริหารสังคมนั่นเอง ด้วยเหตุนี้เอง กลุ่มบุคคลที่พยายามจะยื้อแย่งตำแหน่งผู้ปกครองภายหลังจากท่านศาสดา (ศ) จึงไม่กล้าแอบอ้างว่าตนเป็นผู้ที่สามารถติดต่อสัมพันธ์กับอัลลอฮฺและรับวิวรณ์จากพระองค์ และไม่มีผู้ใดที่กล้าแอบอ้างตำแหน่งอิมามและผู้นำทางจิตวิญญาณของประชาชน นอกจากความพยายามที่จะให้ฝ่ายของตนได้ทำหน้าที่ผู้ปกครองและบริหารสังคมของมุสลิมเท่านั้น และผู้ที่จะรับตำแหน่งดังกล่าวจะต้องมีความรอบรู้และเชี่ยวชาญทั้งด้านบริหารและการเมือง เพื่อที่จะไม่ทำให้สังคมเกิดความปั่นป่วนระส่ำระสายและสร้างความเสียหายแก่เอกภาพของโลกอิสลาม

ภายหลังการอสัญกรรมของท่านศาสดา (ศ) และประชาชนได้พากันให้บัยอะฮฺต่ออบูบักรฺแล้ว อบูอุบัยดะฮฺได้เสนอแนะอลีย์ (อ) ว่า
“จงปล่อยให้ตำแหน่งนี้เป็นของอบูบักรฺเถิด ถ้าท่านยังมีชีวิตภายหลังจากเขา ท่านคือผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเหนือกว่าใครทั้งหมด เพราะไม่เป็นที่สงสัยในความศรัทธา ฐานภาพ เกียรติคุณ และความรู้ของท่าน นอกจากนี้ ท่านยังน้อมรับอิสลามก่อนใครทั้งหมด และยังเป็นญาติผู้ใกล้ชิดกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) อีกด้วย”

อลีย์ (อ) จึงกล่าวกับเขาว่า
“โอ้ ชาวมุฮาญิรีน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ จงอย่านำตำแหน่งผู้ปกครองออกไปจากบ้านของท่านนบีย์ (ศ) เพื่อไปประดับประดาในบ้านของพวกท่าน และจงอย่าได้ละเมิดตำแหน่งของพวกเขาด้วยการแย่งชิงไปจากอะฮฺลุลบัยต์ของมุหัมมัด (ศ)” (อัลอิมามะฮฺ วัสสิยาสะฮฺ เล่ม 1 หน้า 12)



13 ภาพลักษณ์ที่แท้จริงของอุลุลอัมรฺ (ผู้ปกครอง) ภายหลังการอสัญกรรมของผู้สถาปนาอิสลามแล้ว ความขัดแย้งไม่ลงรอยในตำแหน่งคิลาฟะฮฺและตัวแทนของท่านนบีย์ (ศ) ก็คือปัญหา “อุลุลอัมรฺ” ซึ่งก่อนหน้านั้น ไม่ถือว่าอุลุลอัมรฺเป็นคำที่แปลกหรือไม่คุ้นเคยสำหรับสังคมโดยทั่วไปตลอดจนสังคมมุสลิมแล้วแต่อย่างใด

แต่ทว่าพวกเขารู้จักมักคุ้นคำ ๆ นี้ และมีการสนทนาในชีวิตประจำวันนับตั้งแต่ช่วงแรกของอิสลามแล้ว

แม้กระทั่งในช่วงแรกของการประกาศสาสน์ของท่านนบีย์ (ศ) ก็ได้มีสาสน์โต้ตอบโดยอาศัยคำ “อัมรฺ” ในระหว่างพวกบูชาเจว็ดกับท่านนบีย์ (ศ) อยู่ด้วย การเชิญชวนไปสู่เอกภาพของอัลลอฮฺได้ทำสร้างความโกรธแค้นชิงชังและต่างพากันปฏิเสธท่าน (ศ) ในที่สุดพวกเขาได้ฝากสาสน์ไปถึงท่านศานทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ว่า
“โอ้ มุหัมมัด มาตรว่าท่านจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับบรรดาเจว็ดอันเป็นสิ่งสักการะของพวกเราแล้ว เราพร้อมที่จะปฏิบัติตามความประสงค์ของท่านทุกอย่าง”

เมื่ออบูฏอลิบได้แจ้งข่าวนี้ให้ท่านนบีย์ (ศ) ทราบ ท่าน (ศ) จึงได้ฝากสาสน์ไปยังพวกเขาดังนี้
“มาตรว่าพวกเขานำดวงตะวันมาวางบนมือขวา และดวงจันทร์บนมือซ้ายของฉัน เพื่อให้ฉันล้มเลิก “อัมรฺ” (การเรียกร้องเชิญชวนไปสู่เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า) แล้วไซร้ ฉันจะไม่มีวันตอบรับข้อเสนอของพวกเขาอย่างแน่นอน จนกว่าอัลลอฮฺจะทรงทำให้ศาสนาของพระองค์พิชิตชัยชนะ หรือจนกว่าฉันจะจบชีวิตลงในวิถีทางนี้” (ตารีคเฏาะบะรีย์ เล่ม 2 หน้า 67)

ภายหลังจากการให้บัยอะฮฺต่ออบูบักรฺได้สิ้นสุดลง อบูอุบัยดะฮฺได้ขอร้องอลีย์ (อ) ว่า
“โปรดปล่อยให้ “อัมรฺ” นี้เป็นของอบูบักรฺเถิด” (อัลอิมามะฮฺ วัสสิยาสะฮฺ เล่ม 1 หน้า 12)

คำว่า “อัมรฺ” ณ ที่นี้มิได้มีนัยและความหมายเป็นอย่างอื่น นอกจากตำแหน่งผู้ปกครองเท่านั้น

คัมภีร์อัลกุรฺอานได้กำชับให้มุสลิมอิฏออะฮฺ (เชื่อฟังปฏิบัติตาม) บัญชาของอัลลอฮฺ ศาสนทูตของพระองค์ และ “อุลุลอัมรฺ” โดยทรงตรัสว่า
“โอ้ ศรัทธาชน จงเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ และจงเชื่อฟังปฏิบัติตามเราะสูล และ “อุลุลอัมรฺ” ในหมู่สูเจ้า ถ้าสูเจ้าขัดแย้งในสิ่งหนึ่ง ดังนั้น จงย้อนกลับยังอัลลอฮฺและเราะสูล หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธาในอัลลอฮฺและวันสุดท้าย นั่นเป็นสิ่งที่ดีกว่า และเป็นการย้อนกลับที่งดงามยิ่ง” (เราะฮฺอันนิสาอ์ 4 : 59)

โองการนี้ได้กำชับให้มุสลิมหาข้อยุติด้วยการย้อนกลับไปสู่ต้นกำเนิดแห่งหลักคำสอนที่แท้จริงของอิสลามในกรณีที่พวกเขาขัดแย้งกันทั้งปัญหาศาสนา สังคม การเมือง และอื่น ๆ

ลำดับแรก อัลลอฮฺทรงกำชับให้ศรัทธาชนเชื่อฟังและปฏิบัติตามพระบัญชาของผู้ทรงสรรสร้างจักรวาลและผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สรรพสิ่งทั้งหลายอย่างไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะผู้นำทั้งหลายจะต้องอาศัยพระองค์ และการอิฏออะฮฺทั้งหลายจะต้องสิ้นสุดยุติที่พระองค์

การอิฏออะฮฺดังกล่าวอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองและความเป็นผู้ทรงสร้างของพระองค์ และเนื่องจากอัลลอฮฺคือปฐมแห่งบทบัญญัติ กฎหมาย และเป็นผู้ทรงประทานคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามทั้งหลาย ในขณะที่ท่านศาสดา (ศ) คือผู้รับวิวรณ์และบัญชาจากพระองค์ให้ทำหน้าที่เผยแผ่บทบัญญัติของพระองค์

ลำดับที่สอง คือการเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งของศาสดาผู้เป็นตัวแทนของพระองค์ในท่ามกลางประชาชน ศาสดาผู้ได้รับการปกป้องให้พ้นจากความผิดบาป และเขาจะไม่พูดหรือกระทำสิ่งใดไปตามอารมณ์ของตนเอง

นอกจากการเผยแผ่สาสน์และบทบัญญัติของอัลลอฮฺแล้ว ท่านนบีย์ (ศ) ยังมีแบบแผนและกระบวนการเฉพาะเพื่อให้บทบัญญัติของพระองค์ดำเนินไปบนทิศทางที่ถูกต้องเที่ยงธรรม และยังเป็นผู้นำ ผู้ปกครองอีกด้วย โดยท่านจะจำแนกบทบัญญัติทางศาสนาซึ่งล้วนถูกประทานลงมาเพื่อผลประโยชน์ของประชาชาติและเพื่อความสมดุลทางสังคมมนุษย์ทั้งสิ้น

จากกรณีดังกล่าว ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่าการอิฏออะฮฺต่อท่านนบีย์ (ศ) ผู้ซึ่งคือผลพวงแห่งบทบัญญัติของพระผู้อภิบาลนั้น ก็คือการอิฏออะฮฺต่ออัลลอฮฺนั่นเอง ในทางตรงข้าม การขัดแย้งกับท่าน (ศ) โดยสารัตถะแล้วก็คือการขัดแย้งและเป็นศัตรูกับพระผู้อภิบาลนั่นเอง ดังที่พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรฺอานว่า
“บุคคลใดอิฏออะฮฺต่อเราะสูล โดยแน่นอนยิ่ง เขาได้อิฏออะฮฺต่ออัลลอฮฺ (นั่นเอง)” (สูเราะฮฺอันนิสาอ์ 4 : 80)

ดังนั้น ทุก ๆ การตัดสินใจและการประกาศของท่านนบีย์ (ศ) ก็คือการประกาศบทบัญญัติของอัลลอฮฺนั่นเอง

ลำดับที่สามที่คัมภีร์อัลกุรฺอานได้บัญชาให้ประชาชาตินี้อิฏออะฮฺก็คือ บรรดาผู้ปกครองผู้เป็นเจ้าของ “อัมรฺ” (อุลุลอัมรฺ) ซึ่งอัลลอฮฺทรงตรัสว่าการอิฏออะฮฺต่อพวกเขาก็คือการอิฏออะฮฺต่อพระองค์และเราะสูลของพระองค์นั่นเอง กล่าวคือบุคคลใดที่ท่านเราะสูลประกาศแต่งตั้งให้เป็นทายาทผู้สืบทอดมรดกอำนาจการปกครองและเป็นผู้นำประชาคมอิสลามและให้เขาปฏิบัติภารกิจแทนอัลลออฺและเราะสูลของพระองค์ในทุก ๆ มิติแห่งการดำเนินชีวิตและเป็นผู้พิทักษ์ศาสนาและผลประโยชน์ของประชาชนเพื่อให้การบริหารกิจการของประชาคมมุสลิมเป็นไปอย่างราบรื่นและเกิดความสงบสุข





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
๑๘
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

ในทำนองเดียวกัน ในกรณีที่บทบัญญัติ (หุกมฺ) เปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมทั้งเวลาและสถานที่ ทำให้บทบัญญัตินั้นเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย อุลุลอัมรฺผู้ซึ่งได้รับมอบหมายภายใต้เงื่อนไขและวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องให้นำบทเฉพาะกาล (อะหฺกามษานะวียะฮฺ) คือผู้ที่จะต้องรักษาความถูกต้อง ส่วนกรณีที่บทบัญญัติเหล่านั้นมิได้รับการสาธยายให้ชัดเจน หาใช่เป็นเหตุผลถึงความบกพร่องของบทบัญญัติหรือการเพิกเฉยในการสาธยายบทบัญญัติแต่อย่างใดไม่ ในทางกลับกัน เป็นการสำแดงให้เห็นถึงการสามารถประยุกต์อำนาจในการออกบทบัญญัติและหลักตรรกะแห่งการค้นคว้าและแสวงหาในทางศาสนา

ณ ที่นี้ ถ้าจะยึดถือ “อายะฮฺอิกมาลุดดีน” เป็นหลักฐาน ก็ไม่สามารถที่จะขจัดปัญหาไปได้ เพราะเมื่อพิจารณาจากริวายาตที่มุหัดดิษีนผู้มีชื่อเสียงทั้งหลายซึ่งได้รายงานตรงกันว่าอายะฮฺนี้ถูกประทานลงมาภายหลังจากการแต่งตั้งท่านอมีรุลมุอ์มินีน อลีย์ (อ) ให้เป็นเคาะลีฟะฮฺในวันแห่งเฆาะดีรฺแล้ว ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมในขณะนั้นก็จะพบว่าภยันตรายที่จะอุบัติขึ้นกับสำนักคิดอิสลามและฝ่ายสัจธรรมซึ่งเพิ่งจะเริ่มก่อตั้งขึ้นมาใหม่ ๆ จะต้องถูกรุกรานจากบรรดาศัตรูผู้อธรรมภายหลังจากการอสัญกรรมของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) และอันตรายอย่างใหญ่หลวงจะต้องประสบกับฝ่ายสัจธรรมอย่างแน่นอน

ด้วยเหตุนี้เอง อิสลามจะไม่มีวันพัฒนาให้ก้าวไปสู่ความรุ่งเรืองและเจริญก้าวหน้าและสามารถยืนหยัดให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของท่านศาสดา (ศ) โดยปราศจากผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งจากท่าน (ศ) ได้เลย และจุดบกพร่องและช่องโหว่ดังกล่าวจะได้รับการค้ำประกันก็ด้วยการแต่งตั้งอลีย์ (อ) ขึ้นเป็นผู้ปกครองของมวลมุสลิมเท่านั้น

นอกจากนี้ เจตนารมณ์ของอายะฮฺดังกล่าวมิได้มีความหมายว่า ณ บัดนี้ หลักปฏิบัติทางศาสนาและกฎเกณฑ์ของพระผู้เป็นเจ้าได้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว เพราะในด้านหนึ่งนั้น ถึงแม้ว่าวิวรณ์จะสิ้นสุดยุติลงด้วยการอำลาจากของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) และท่านได้สาธยายสิ่งที่มนุษยชาติทั้งหลายต้องเผชิญหน้าในการดำเนินชีวิตนับตั้งแต่เกิดมา และกฎเกณฑ์ทุกอย่างได้จบสิ้นลงแล้ว ในขณะที่อีกด้านหนึ่งเราจะพบว่าหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ของประเด็นต่าง ๆ มิได้มีกล่าวไว้ทั้งในคัมภีร์อัลกุรฺอานและสุนนะฮฺของท่านนบีย์ (ศ) หลักฐานทางศาสนบัญญัติที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะให้คำตอบกับประเด็นปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัยได้ และนี่เกิดจากสาเหตุที่ช่วงเวลาของการประกาศสาสน์มีอย่างจำกัด นอกจากนั้น อุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามาอย่างต่อเนื่องจนไม่อาจทำให้ท่านศาสดา (ศ) สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างสะดวก และไม่อาจจะสืบสานสิ่งที่ได้เรียกร้องเชิญชวนให้ดำเนินต่อไปได้ แม้กระทั่งเศาะหาบะฮฺจำนวนมากตลอดจนผู้คนในยุคสมัยของท่านศาสดา (ศ) ที่ต่างก็ต้องพึ่งพิง(ตะกียะฮฺ)ท่าน และตราบเท่าที่พวกเขายังคงอยู่ภายใต้ร่มเงาของท่าน พวกเขามิได้มีความรู้สึกว่ามีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องศึกษาบทบัญญัติและคำสอนในทางศาสนา และแม้กระทั่งพวกเขาจะประจักษ์ว่าสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เริ่มระส่ำระสายภายหลังจากการอสัญกรรมของท่านนบีย์ (ศ) แล้วก็ตาม ถึงกระนั้น พวกเขาก็ยังไม่ประสีประสาในบทบัญญัติศาสนาทั้งในด้านอิบาดะฮฺ มุอามะละฮฺ และการตัดสินพิพากษา และไม่มีความสันทัดเกี่ยวกับความเป็นไปในด้านการเมืองและปัญหาคิลาฟะฮฺและการเข้าใจกาลเวลา

มีหะดีษมากมายที่อุละมาอ์สุนนีย์ได้กล่าวว่าเศาะหาบะฮฺของท่านศาสดา (ศ) ไม่ประสีประสาในปัญหามรดก บทลงโทษ การตัดสินพิพากษา เป็นต้น

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ)ได้ถ่ายทอดกฎเกณฑ์ที่เป็นบทบัญญัติและหลักปฏิบัติซึ่งท่านได้รับวิวรณ์ให้กับทายาทผู้เป็นตัวแทนของท่านผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและรอบรู้เกี่ยวกับอิสลามอย่างล้ำลึก

นักประวัติศาสตร์อิสลามได้บันทึกเอาไว้ว่า :- วันหนึ่ง ชาย 5 คนได้ถูกจับในข้อหาประพฤติเสื่อมเสียทางเพศเพื่อให้เคาะลีฟะฮฺตัดสินลงโทษพวกเขา ซึ่งเขาได้พิพากษาให้เฆี่ยนพวกเขาคนละ 100 ครั้ง อิมามมะอฺศูม (อลัยฮิสลาม) ซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นด้วยได้คัดค้านคำตัดสินดังกล่าวโดยท่านได้กล่าวว่า
“ในกรณีนี้ บทลงโทษอาชญากรมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ

- นักโทษที่เป็นกาฟิรฺซิมมีย์ (ผู้ปฏิเสธที่ยอมอยู่ภายใต้กฎหมายอิสลาม) นั้น เมื่อเขาฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามเงื่อนไข บทลงโทษก็คือการประหารชีวิต
- สำหรับนักโทษคนที่สองซึ่งมีภรรยาอยู่แล้วนั้น บทลงโทษก็คือจะต้องใช้หินขว้างจนตาย
- ส่วนผู้กระทำความผิดคนที่สามซึ่งเป็นคนโสดนั้น จะต้องพิพากษาให้เฆี่ยน
- ส่วนนักโทษคนที่สี่ซึ่งเป็นทาสและยังเป็นโสดอยู่นั้น บทลงโทษของเขาคือครึ่งหนึ่งของอิสระชน
- และนักโทษคนที่ห้าซึ่งเป็นคนบ้านั้น ไม่มีบทลงโทษสำหรับเขาแต่อย่างใด”

ในเหตุการณ์ที่หญิงมีสามีคนหนึ่งได้มีชู้จนกระทั่งนางตั้งครรภ์และได้ถูกจับส่งให้อุมัรฺ ซึ่งเขาได้ตัดสินให้ขว้างด้วยก้อนหินจนตาย ท่านอมีรุลมุอ์มินีน (อ) ได้กล่าวเตือนเขาว่า :- “ในกรณีหญิงที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติอิสลามตั้งครรภ์ ทารกที่อยู่ในครรภ์มิได้มีส่วนร่วมประกอบอาชญากรรมนั้นแต่อย่างใด ดังนั้น จึงไม่มีสิทธิที่จะลงโทษมารดาในขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ของนาง” ด้วยการชี้นำของอิมามมะอฺศูมนี้เองที่บทลงโทษที่ขัดต่อกฎหมายอิสลามถูกยับยั้งในที่สุด (ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ บาบ 56 หน้า 211)

อีกกรณีหนึ่งที่เคาะลีฟะฮฺได้ตัดสินให้ลงโทษหญิงเสียสติคนหนึ่งที่ได้ประพฤติผิดประเวณี แต่อิมามมะอฺศูม (อลัยฮิสลาม) ถือว่าคำตัดสินดังกล่าวขัดแย้งกับบทบัญญัติอิสลาม และได้สั่งให้ปล่อยตัวนางไป โดยท่าน (อ) ได้ยุติวิกฤตการณ์ในครั้งนั้นด้วยการเตือนให้รำลึกถึงหะดีษของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ที่ได้วจนะว่าบุคคล 3 จำพวกที่ความผิดของพวกเขาถูกยกฟ้อง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือคนเสียสติ (อ้างอิงจาก “อัลเฆาะดีรฺ” เล่ม 6 หน้า 110 – 111)

อุละมาอ์ชาวอะฮฺลิสสุนนะฮฺมากมายที่ได้บันทึกว่าเกือบทุกครั้งที่ท่านอมีรุลมุอ์มินีน (อ) ได้ช่วยแก้ไขวิกฤตการณ์ที่อุมัรฺไม่สามารถจะขจัดปัดเป่าด้วยตัวเองได้ ด้วยการกล่าวประโยคนี้เสมอ ๆ ว่า :- “มาตรว่าไม่มีอลีย์ (อ) อุมัรฺต้องประสบกับความพินาศอย่างแน่นอน”

หรือคำกล่าวที่ว่า :- “ฉันขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺจากวิกฤตการณ์ที่อุบัติขึ้นโดยไม่มีอลีย์ (อ) คอยให้ความช่วยเหลืออยู่ด้วย” (เฏาะบะกอต อิบนุสะอัด เล่ม 2 ภาค 2 หน้า 103)

นี่คือเศษเสี้ยวหนึ่งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่มีส่วนสัมพันธ์กับวิวรณ์ของพระผู้เป็นเจ้าแต่อย่างใด (ผู้ที่สนใจจะศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีการตัดสินพิพากษาและวิกฤตการณ์ต่าง ๆ โปรดดูจาก “อัลเฆาะดีรฺ” เล่ม 6, 7 และ 8)

เป็นไปได้หรือที่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงวิทยปัญญาจะปล่อยให้บทบัญญัติทางศาสนาของพระองค์ขาดตกบกพร่องและไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่จะอุบัติขึ้นมาอีกมากมายภายหลังการจากไปของศาสนทูตของพระองค์ (ศ) และปล่อยให้คำตัดสินที่โมฆะเข้าไปแทนที่บทบัญญัติของพระองค์ ? หรือเพื่อการพิทักษ์คำสอนอิสลาม พระองค์จะทรงมอบหมายให้ผู้ปกครองที่มีความสันทัดและเชี่ยวชาญในหลักคำสอนและเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบอย่างแท้จริงให้ทำหน้าที่ชี้นำประชาชาตินี้ ? มาตรว่าการวาญิบที่จะต้องอิฏออะฮฺต่อผู้ปกครองจะต้องจำกัดเฉพาะต่อผู้นำที่มีคุณสมบัติพิเศษและเป็นผู้ที่ตกผลึกทางความคิดเท่านั้น ดังนั้น เจตนารมณ์ของเขาจะไม่มีวันขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับพระบัญชาของอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากอายะฮฺ “อุลุลอัมรฺ” ได้รับการตัฟสีรฺและอรรถาธิบายเช่นนี้ จะสามารถขจัดปัญหาทั้งหลายได้อย่างชะงัดและมีประสิทธิภาพที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยตัฟสีรฺที่หลากหลายซึ่งมิได้สร้างความมั่นใจให้แก่เราแต่อย่างใด

โดยสารัตถะแล้ว อัลกุรฺอานไม่อนุมัติให้อิฏออะฮฺต่อบุคคลที่ยึดถือความคิดและอารมณ์ใฝ่ต่ำของตนให้อยู่เหนือบทบัญญัติของอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า
“และจงอย่าภักดีต่อผู้ที่เราได้ทำให้หัวใจของเขาเพิกเฉยจากการรำลึกถึงเรา และปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของเขา” (สูเราะฮฺอัลกะฮฺฟ 18 : 28)

เป็นที่ชัดเจนว่าคำสั่งหรือกฎหมายที่ขัดแย้งต่อเจตนารมณ์ของอัลลอฮฺย่อมเป็นสิ่งที่ไร้ค่าและปราศจากความน่าเชื่อถืออย่างสิ้นเชิง และตามทัศนะของอัลลอฮฺแล้ว มนุษย์ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะก้าวก่ายหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายและบทบัญญัติของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ ทั้งสติปัญญา จิตใต้สำนึก ตลอดจนอายาต และริวายาตมากมายที่ได้กล่าวย้ำเตือนว่าวาญิบที่มนุษย์ทุกคนจะต้องยอมจำนนต่อพระบัญชาของอัลลอฮฺและอิฏออะฮฺต่อพระองค์อย่างไม่มีเงื่อนไขและข้อแม้ใด ๆ ทั้งสิ้น

ท่านอมีรุลมุอ์มินีน อลีย์ (อ) ได้กล่าวว่า “วาญิบที่ประชาชนจะต้องอิฏออะฮฺต่อคำบัญชาของอัลลอฮฺ ศาสนทูตของพระองค์ และ ”อุลุลอัมรฺ” สำหรับวาญิบที่ประชาชนจะต้องอิฏออะฮฺต่ออุลุลอัมรฺนั้น เพราะพวกเขาคือมะอฺศูมผู้สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากความผิดบาป และจะไม่มีวันออกคำสั่งที่ขัดแย้งหรือฝ่าฝืนต่อพระบัญชาของพระองค์อย่างแน่นอน” (บิหารุลอันวารฺ เล่ม 25 หน้า 200)

ท่านอิมามมุหัมมัด บากิรฺ (อลัยฮิสลาม) ได้กล่าวว่า “อุลุลอัมรฺ” คือผู้ปกครองประชาชาติผู้สืบเชื้อสายมาจากอลีย์ (อ) และฟาฏิมะฮฺ (ส) พวกเขาจะยืนหยัดอยู่เคียงคู่โลกตราบจนถึงวันกิยามะฮฺ” (อิษบาตุลฮุดา เล่ม 3 หน้า 131)

เศาะหาบะฮฺคนหนึ่งของท่านอิมามญะอฺฟัรฺ อัศศอดิก (อ) กล่าวว่า ฉันได้ถามท่านอิมาม (อ) ว่า “อุลุลอัมรฺ” ที่อัลลอฮฺได้ทรงบัญชาให้เป็นวาญิบที่ประชาชนจะต้องอิฎออะฮฺต่อพวกเขามีใครบ้างหรือ ? ท่านอิมาม (อ) ได้ตอบว่า “พวกเขาประกอบไปด้วย อลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ, หะสัน, หุสัยน์, อลีย์ อิบนุลหุสัยน์, มุหัมมัด อิบนุอลีย์, และญะอฺฟัรฺ ซึ่งหมายถึงฉัน ดังนั้น จงสรรเสริญและขอบคุณอัลลอฮฺเถิดที่พระองค์ได้ทรงแนะนำอิมามผู้เป็นอุลุลอัมรฺแก่พวกท่าน ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ต่างพากันปฏิเสธพวกเขากัน” (ตัฟสีรฺอิยาชีย์ เล่ม 1 หน้า 252)

ครั้งหนึ่ง ญาบิรฺ อิบนุอับดุลลอฮฺ อันศอรีย์ ได้ถามท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ถึงตัฟสีรฺหรือนัยของประโยคที่ว่า “อุลุลอัมรฺซึ่งวาญิบที่เราจะต้องอิฏออะฮฺต่อพวกเขามีใครบ้าง ?”
ท่าน (ศ) ได้ตอบว่า “ผู้นำคนแรกภายหลังจากฉันได้แก่ อลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) และหลังจากเขาก็ได้แก่หะสัน และหุสัยน์ หลังจากนั้น อลีย์ อิบนุลหุสัยน์ และมุหัมมัด อิบนุอลีย์ อัลบากิรฺ ซึ่งท่านจะได้มีโอกาสพบกับเขา และเมื่อท่านพบเขา โปรดนำสลามของฉันไปมอบให้กับเขาด้วย หลังจากเขาก็ได้แก่ญะอฺฟัรฺ อัศศอดิก หลังจากนั้น มูสา อัลกาซิม, อลีย์ อัรฺริฎอ, มุหัมมัด อัลญะวาด, อลีย์ อัลฮาดีย์, หะสัน อัสกะรีย์ และหลังจากนั้นก็คือ “กออิม มุนตะซ็อรฺ อัลมะฮฺดีย์ เมาอูด” เหล่านี้แหละคือผู้นำหลังจากฉัน” (อิษบาตุลฮุดา เล่ม 3 หน้า 123)

เศาะหาบะฮฺคนหนึ่งของท่านอิมามศอดิก (ศ) ได้ถามท่านว่า ได้โปรดสาธยายถึงรากฐานของอิสลามซึ่งถ้าฉันได้ถือปฏิบัติตามแล้ว อะมัลอิบาดะฮฺทุกอย่างของฉันจะได้รับการตอบรับ และฉันจะไม่ประสบกับความพินาศและขาดทุนถ้าหากฉันไม่มีความรู้ในบทบัญญัติ ท่านอิมาม (อ) จึงกล่าวว่า
“การปฏิญาณตนในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า และความเป็นศาสดาและศาสนทูตของมุหัมมัด (ศ) และการศรัทธาทุกสิ่งที่มาจากอัลลอฮฺ และการให้ความสำคัญในกรรมสิทธิ์ทางทรัพย์สิน เช่นซะกาต เป็นต้น และการจำนนต่อวิลายะฮฺ (อำนาจการปกครอง) ดังที่พระผู้อภิบาลได้ทรงบัญชา นั่นคือวิลายะฮฺของวงศ์วานแห่งท่านเราะสูล (ศ) ดังที่ท่านได้วจนะไว้ว่า “ผู้ที่จากโลกดุนยาโดยไม่รู้จักอิมามของตน เขาได้จากไปในสภาพญาฮิลียะฮฺ” และอัลลอฮฺยังได้ทรงบัญชาไว้ด้วยว่า “พวกท่านจงอิฏออะฮฺต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์และต่อ “อุลุลอัมรฺ” เถิด” (สูเราะฮฺอันนิสาอ์ 4 : 59)

อิมามผู้เป็นอุลุลอัมรฺคนแรกคืออลีย์ (อ) และหลังจากนั้นก็เรียงตามลำดับจากหะสัน, หุสัยน์, อลีย์ อิบนุลหุสัยน์, มุหัมมัด อิบนุอลีย์ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้วิถีแห่งผู้นำจะดำเนินต่อไปจนกระทั่งคนสุดท้าย

“สันติภาพจะไม่มีวันเกิดขึ้น ตราบเท่าที่โลกปราศจากอิมาม

ความตายที่ไร้การรู้จักอิมาม คือความตายเยี่ยงญาฮิลียะฮฺ
การรู้จักอิมามในช่วงบั้นปลายชีวิต จะมีความสำคัญยิ่งกว่าช่วงเวลาใดทั้งหมด และด้วยการสำแดงการรู้จักในวินาทีวิกฤติเช่นนั้น สถานภาพของเขาจะสูงส่งและเต็มไปด้วยเกียรติ” (ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หน้า 137)
อาชญากรรมที่เหล่าเคาะลีฟะฮฺแห่งบนีอุมัยยะฮฺและบนีอับบาสได้ร่วมกันก่อขึ้นมาในนามของ “อุลุลอัมรฺ” ต่อบรรดามุสลิมและแม้กระทั่งเอาลิยาอ์ (ผู้ปกครองที่ชอบธรรมของอัลลอฮฺ) นั้น มีจำนวนนับไม่ถ้วน พวกเขาได้เปลี่ยนสถาบันคิลาฟะฮฺให้กลับกลายเป็นศูนย์กลางแห่งความชั่วร้าย ความเสเพล และไร้ศีลธรรม พวกเขาได้เข่นฆ่าสังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ทั้งลูกเล็กเด็กแดงคนชราไปเป็นจำนวนนับไม่ถ้วนเพียงเพื่อพิทักษ์อำนาจการปกครองที่ได้มาด้วยความไม่ชอบธรรมนั้นมั่นคงและยั่งยืนต่อไป ทั้ง ๆ ที่มือของพวกเขาแปดเปื้อนไปด้วยโลหิตของผู้บริสุทธิ์และสำแดงความเป็นเผด็จการทรราชอย่างสมบูรณ์แบบเช่นนั้น พวกเขายังกล้าที่จะเรียกตนเองว่าเป็น “อมีรุลมุอ์มินีน” (ผู้ปกครองบรรดาผู้ศรัทธา) !

มาตรว่าอัลลอฮฺทรงบัญชาให้เป็นวาญิบที่มุสลิมทุกคนจะต้องอิฏออะฮฺต่อเคาะลีฟะฮฺหรือผู้ปกครองทรราชและเต็มไปด้วยอาชญากรรมเช่นนี้แล้วไซร้ หลักการขั้นพื้นฐานของความยุติธรรม ความเป็นธรรม และสิทธิของปัจเจกชนและสังคมจะมีความหมายอันใดหลงเหลืออยู่อีกเล่า ? และในสภาพเช่นนี้ บทบัญญัติของอัลลอฮฺซึ่งถูกประทานลงมาเพื่อเป็นความเมตตาและความจำเริญแก่มนุษยชาติทั้งโลกนี้และโลกหน้า และจะชี้นำมนุษย์ไปสู่ความสูงส่งและความสมบูรณ์อย่างแท้จริง จะไม่แปรเปลี่ยนไปสู่ความอัปยศ ความตกต่ำ และหลงทางดอกหรือ ?

หะดีษมากมายที่บรรดาอุละมาอ์บางส่วนจาชาวสุนนีย์ได้กล่าวว่าตัฟสีรฺหรือนัยของคำว่า “อุลุลอัมรฺ” ในที่นี้หมายถึงบรรดาอิมามผู้เป็นอะฮฺลุลบัยต์ของท่านนบีย์ (ศ) นั่นเอง ( อบูบักรฺ มุอ์มิน ได้บันทึกใน “ริสาละฮฺอิอฺติกอด” จาก “อิหฺกอกุลหัก” เล่ม 3 หน้า 425 – อบูหัยยาน อันดะลุสีย์ นักอรรถาธิบายกุรฺอานผู้มีชื่อเสียง ได้บันทึกไว้ใน “บะหฺรุลมุหีฏ” เล่ม 3 หน้า 276 – ชัยค์สุลัยมาน หะนะฟีย์ ใน “ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ” หน้า 114 – 116)





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
๑๙
หลักศรัทธาเกี่ยวกับอิมามะฮ์ในอิสลาม

อัลกุรฺอานได้กล่าวถึงตำแหน่งวิลายะฮฺและผู้ปกครองของมุสลิมว่าหมายถึงอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์และบรรดาผู้ที่บริจาคทานอาสาในขณะที่โค้งรุกูอฺในนมาซว่า
“โดยแน่นอนยิ่ง ผู้ปกครองของสูเจ้า คืออัลลอฮฺ และเราะสูลของพระองค์ และศรัทธาชนที่ดำรงนมาซ และบริจาคซะกาตในขณะที่โค้งรุกูอฺ” (สูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ 5 : 55)

อายะฮฺนี้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์แค่เพียงครั้งเดียว เพราะอิสลามมิได้มีหุกุมกุลลีย์ (บทบัญญัติ) ให้ผู้ศรัทธาต้องจ่ายซะกาตในขณะโค้งรุกูอฺ ทั้งซะกาตวาญิบหรือซะกาตมุสตะหับแต่อย่างใด ที่จะมีผู้อ้างได้ว่าเศาะหาบะฮฺท่านอื่นก็เคยปฏิบัติเช่นนี้ด้วยเช่นกัน

อัสบาบุนนุซูลของอายะฮฺนี้ก็คือ ได้มีชายผู้ยากไร้คนหนึ่งเดินเข้าไปในมัสญิดนบะวีย์ (ศ) ในขณะที่ท่านอลีย์กำลังนมาซอยู่ในท่ารุกูอฺ และได้ขอความช่วยเหลือจากท่าน อลีย์ (อ) จึงได้ส่งสัญญาณให้เขาถอดแหวนที่นิ้วของท่าน แล้วชายผู้นั้นได้เข้าไปถอดแหวนจากมือของท่านและได้เดินออกไปจากมัสญิด

และแล้ววิวรณ์จากอายะฮฺข้างต้นจึงได้ถูกประทานลงมายังท่านศาสดา (ศ) ในเวลานั้นเอง

ในที่นี้ ทั้งสุนนีย์และชีอะฮฺมีความเห็นสอดคล้องตรงกันว่าอายะฮฺนี้ได้ถูกประทานลงมาเพื่อกล่าวถึงฐานภาพและเกียรติคุณของอลีย์ (อ) และเจตนารมณ์แห่งวิวรณ์ของอัลลอฮฺในที่นี้ก็คืออลีย์ (อ) นั่นเอง (ตัฟสีรฺดุรฺรุลมันศูรฺ เล่ม 2 หน้า 293 – อัลกาฟีย์ อัชชากีย์ อิบนุหะญัรฺ หน้า 53 – ตัฟสีรฺอัลมะนารฺ เล่ม 6 หน้า 442 – ตัฟสีรฺกัชชาฟ ซะมัคชะรีย์ ใต้อายะฮฺ “ญามิอุลอุศูล” เล่ม 9 หน้า 478 – ตัฟสีรฺเฏาะบะรีย์ หน้า 165 – กันซุลอุมมาล เล่ม 6 หน้า 391 – มะฟาตีหุลฆัยบ์ รอซีย์ เล่ม 3 หน้า 431 – อัสบาบุนนุซูล วาหิดีย์ หน้า 148)

ส่วนที่อายะฮฺได้ถูกประทานลงมาในรูปพหุพจน์ (ญัมอฺ) นั้น เป็นการอุปมานถึงคน ๆ เดียวที่ได้บริจาคทานในขณะโค้งรุกูอฺ ซึ่งมิได้มีข้อขัดแย้งแต่อย่างใดที่อลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ได้ปฏิบัติสิ่งดังกล่าว

เพราะตามหลักไวยากรณ์ภาษาอรับแล้ว การใช้คำเอกพจน์ (มุฟร็อด) โดยมีเจตนาเพื่อสื่อความหมายพหุพจน์ (ญัมอฺ) ต่างหากที่ไม่เป็นที่อนุญาต แต่ในทางกลับกัน การนำเสนอคำพหุพจน์เพื่อสื่อความหมายเอกพจน์นั้น ถือเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันของพวกเขา และมิได้จำกัดอยู่แค่เฉพาะในกรณีนี้เท่านั้น ดังนั้น จากกรณีข้างต้น จึงไม่ถือว่าเป็นการผิดหลักไวยากรณ์อรับแต่อย่างใดทั้งสิ้น

ดังที่เมื่อคัมภีร์อัลกุรฺอานกล่าวถึง “นะอีม อิบนุมัสอูด อัชญะอีย์” ก็กล่าวในรูปของพหุพจน์เช่นเดียวกัน (สูเราะฮฺอาลิอิมรอน 3 : 172) และในสูเราะฮฺมุนาฟิกูนที่กล่าวถึง “อับดุลลอฮฺ อิบนุอุบัย” ก็ปรากฏในรูปพหุพจน์เช่นกัน (ตัฟสีรฺเฏาะบะรีย์ เล่ม 28 หน้า 280 – ตัฟสีรฺสุยูฏีย์ เล่ม 6 หน้า 223)

นอกจากนี้ ยังมีในอายะฮฺอื่น ๆ อีกมากมาย(สูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ 9 : 61 – สูเราะฮฺอาลิอิมรอน 3 : 154)

ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงทัศนะของบรรดาอุละมาอ์คนสำคัญ ๆ ของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺที่ได้ยอมรับอย่างชัดเจนถึงอัสบาบุนนุซูลของอายะฮฺดังกล่าว จึงไม่มีข้อกังขาหลงเหลืออยู่อีกต่อไปว่าอิมามหรือผู้ปกครองภายหลังจากท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ) ก็คืออลีย์ อิบนุอบีฏอลิบ (อ) ผู้ซึ่งวิลายะฮฺหรืออำนาจการปกครองของเขา ก็คือวิลายะฮฺของอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์นั่นเอง



14 ผู้พิทักษ์ทั้งหลักธรรมและรัฐ (ผู้ปกครอง(ผู้พิทักษ์)ทั้งอาณาจักรและศาสนจักร) อิสลามเป็นระบอบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกับคริสเตียนในยุคปัจจุบัน เพราะอิสลามมีโลกทัศน์และหลักศรัทธาที่วางอยู่บนพื้นฐานของการเรียกร้องเชิญชวนและชี้นำมนุษยชาติให้ไปสู่การพัฒนาทางจิตวิญญาณ เป็นระบบที่มิได้เน้นความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาที่ไร้จิตวิญญาณและไม่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์แต่อย่างใด

การเชิญชวนให้พยายามโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน จำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลักเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า และการกำหนดบทบัญญัติ กฎหมาย ระเบียบแบบแผนที่ควบคุมทุกมิติ ทั้งทางด้านวัตถุและจิตวิญญาณ ตลอดจนการเข้าร่วมในสงครามต่าง ๆ ของท่านศาสนทูตแห่งอิสลาม (ศ) เหล่านี้ล้วนสำแดงให้ประจักษ์ว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงมีเจตนารมณ์ที่จะสถาปนาอิสลามให้เป็นทั้งทฤษฎีและระบบการปกครองของมนุษย์ ระบบการปกครองที่ประกอบไปด้วยสารธรรมคำสอนที่สูงส่ง สามารถชี้นำมนุษยชาติให้สำรวจตัวตนและค้นหาคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ และปลดปล่อยพวกเขาให้รอดพ้นจากพันธนาการแห่งความเป็นทาสของพระเจ้าจอมปลอมทั้งหลาย ให้พวกเขาสามารถเลือกสรรแนวทางการดำเนินชีวิตของตนเอง และภายใต้หลักเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่จะสร้างความมั่นใจว่าพวกเขาจะได้รับความปลอดภัยอย่างแท้จริง และช่วยกันปกป้องพิทักษ์รักษาอาณาจักรอิสลามให้รอดพ้นจากการรุกรานในทุกรูปแบบ และสร้างความเชื่อมั่นแก่พวกเขาว่าเฉพาะกฎหมายของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่จะสามารถบริหารกิจการของมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างแท้จริง

เนื่องจากอิสลามเป็นระบอบการปกครองที่มีภารกิจเพื่อพิทักษ์บทบัญญัติและกฎหมายของพระผู้เป็นเจ้าที่จะต้องเผชิญหน้ากับเหล่าศัตรูผู้จ้องจะทำลายอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ระบอบการปกครองนั้นจะไม่มีวันปล่อยให้บทบัญญัติหรือกฎหมายของพระองค์ต้องถูกทำลายแม้จะเป็นเพียงประเด็นเล็กน้อยก็ตาม และไม่ปล่อยให้พระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าไม่ถูกนำสู่การปฏิบัติ

ปัจจัยสำคัญ ตราบใดที่ผู้นำทางจิตวิญญาณต้องแยกออกจากผู้นำทางการเมืองการปกครอง และศูนย์กลางทางศาสนาต้องอยู่คนละขั้วกับระบบทางการเมืองและผู้นำรัฐ และถือว่าการสอนศีลธรรมแก่ประชาชนก็เป็นการเพียงพอแล้ว ตราบนั้นศาสนาจะไม่มีวันเป็นหลักค้ำประกันและขจัดปัญหาสังคมได้อย่างเด็ดขาด และถึงแม้ว่าอุละมาอ์ นักปราชญ์และปัญญาชนจะใช้ความพยายามนำสัจธรรมซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตมาสอนสั่งประชาชน แต่บรรดามหาอำนาจผู้สวาปามโลกและแสวงหาผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของผู้อื่นจะไม่มีวันยินยอมให้คำสอนและบทบัญญัติที่จะสร้างสันติและความผาสุกอย่างแท้จริงต่อสังคมได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนที่ขัดผลประโยชน์และเป็นภยันตรายต่อศูนย์อำนาจอันชั่วร้ายนั้น และพวกเขาจะต้องพยายามใช้เล่ห์เพทุบายและแผนการร้ายทุกอย่างเพื่อสกัดกั้นมิให้ฝ่ายธรรมสามารถปฏิบัติภารกิจเพื่อปลดปล่อยมนุษยชาติให้หลุดพ้นจากกรงเล็บแห่งการกดขี่บีฑาของจอมเผด็จการผู้หวังเขมือบโลกได้ ในขณะที่พวกเขาเองจะตระเตรียมแผนการทุกขั้นตอนอย่างแยบยลเพื่อควบคุมประชาชนมิให้ลุกฮือ และเพื่อรักษาเสถียรภาพ อำนาจอธรรม และผลประโยชน์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวของพวกเขาให้ยืนยงต่อไป

ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากสารธรรมคำสอนของศาสนาได้ให้หลักค้ำประกันว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมดังกล่าว จะสามารถปลดปล่อยประชาคมให้หลุดพ้นจากพันธนาการแห่งการกดขี่ไปสู่ความจำเริญอย่างแท้จริงแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับปัญหาผู้นำและการตระเตรียมด้านกองทัพ

ทั้งอิสลามและศาสนาที่ยึดมั่นในหลักเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้าก่อนหน้าอิสลามต่างได้ให้ความสำคัญเป็นกรณีพิเศษต่อการจัดตั้งกองทัพธรรมด้วยกันทั้งสิ้น และนี่คือหลักตรรกะที่สอดคล้องกับสติปัญญาอย่างไม่ต้องสงสัย และบรรดาศาสดาผู้ทำหน้าที่ชี้นำประชาชาติต่างก็ได้ใช้ความเพียรพยายามมิให้ความบากบั่นในการเรียกร้องเชิญชวนของตนไร้ผลและถูกลบเลือนไปจากหน้าประวัติศาสตร์

จุดเริ่มต้นของระบอบการปกครองอิสลามก็คือการบริหารกิจการของประชาชาติภายใต้กฎหมายและบทบัญญัติอิสลามนั่นเอง นับตั้งแต่วินาทีแรกที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้ย่างก้าวเข้าสู่นครมะดีนะฮฺภายหลังจากการฮิจญ์เราะฮฺในครั้งนั้น รูปแบบและระบบการปกครองอิสลามก็ได้เริ่มปรากฏขึ้นมานับตั้งแต่วันนั้นเอง

ยิ่งไปกว่านั้น นับตั้งแต่วันแรกที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ได้เริ่มสถาปนาสำนักคิดเพื่อชี้นำมนุษยชาติไปสู่เอกภาพของอัลลอฮฺ นอกจากท่านจะต้องเผชิญหน้ากับพวกบูชาเจว็ดผู้ก้าวร้าวและกลุ่มผู้หลงผิดทั้งหลาย และพยายามขจัดเสี้ยนหนามที่ขวางกั้นไปสู่วิถีทางเที่ยงธรรม และพัฒนาอิสลามทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และภูมิศาสตร์

ดังที่คัมภีร์อัลกุรฺอานได้กล่าวถึงท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) ในฐานะผู้ตัดสินหรือผู้พิพากษาว่า
“ดังนั้น จงตัดสินระหว่างพวกเขาด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประทานเถิด และจงอย่าปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของพวกเขา” (สูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ 5 : 48)

โดยพื้นฐานแล้ว บรรดาศาสดาคือผู้ที่สถาปนาระบอบการปกครองของอัลลอฮฺบนหน้าแผ่นดิน และเพื่อชี้นำชาวโลกให้ร่วมกันจัดตั้งสถาบันการปกครองที่มั่นคงบนพื้นฐานของศีลธรรมและสันติธรรมอย่างแท้จริง

นอกจากศาสนทูตแห่งอิสลาม (ศ) แล้ว กุรฺอานยังได้กล่าวถึงศาสดายูสุฟ (อ) ด้วยว่า
“และเมื่อเขาได้บรรลุสู่วัยหนุ่ม เราได้ประทานวิทยปัญญาและวิชาการแก่เขา และในทำนองนี้ที่เราตอบแทนแก่ผู้ประกอบกรรมดี” (สูเราะฮฺยูสุฟ 12 : 22)

และพระองค์ยังทรงตรัสถึงศาสดาดาวูด (อ) อีกด้วยว่า
“โอ้ ดาวูด ! เราได้สถาปนาเจ้าให้เป็นผู้ปกครองบนหน้าแผ่นดิน ดังนั้น จงตัดสินในระหว่างมนุษย์ด้วยความยุติธรรมเถิด และจงอย่าปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ เพราะจะทำให้เจ้าหลงจากทางของอัลลอฮฺ” (สูเราะฮฺศอด 38 : 28)

กฎหมายอิสลามที่เกี่ยวกับบทลงโทษ (หุดู๊ด), การจ่ายค่าปรับหรือสินไหมทดแทน (ดิยาต) และบทบัญญัติอื่น ๆ คือหลักการขั้นพื้นฐานในการปกครองรัฐอิสลามซึ่งท่านศาสดา (ศ) ได้วางรากฐานเอาไว้

นอกจากนี้ ท่านศาสดาแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ยังมีภาพลักษณ์และคุณสมบัติอื่น ๆ ของนักปกครองด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมให้เอื้ออำนวยต่อการเรียกร้องเชิญชวนสู่อิสลาม
ทั้งนี้ อัลกุรฺอานได้กล่าวถึงคุณสมบัติพิเศษดังกล่าวของท่านศาสดา (ศ) ว่า
“พระองค์ทรงแต่งตั้งศาสนทูตในหมู่ผู้ไม่รู้หนังสือจากพวกเขาเองเพื่อสาธยายโองการของพระองค์แก่พวกเขา และทรงขัดเกลาพวกเขาให้ผ่องแผ้ว และทรงสอนคัมภีร์และวิทยปัญญาแก่พวกเขา ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเคยอยู่ในความหลงผิดอย่างชัดแจ้งมาก่อนก็ตาม” (สูเราะฮฺอัลญุมุอะฮฺ 62 : 2)

ดังนั้น ศาสนทูตแห่งอิสลาม (ศ) จึงดำรงตำแหน่งทั้งในฐานะผู้นำประชาคมอิสลาม และเป็นทั้งผู้นำจิตวิญญาณที่มีหน้าที่เรียกร้องเชิญชวนประชาชาติให้ปฏิบัติตามกฎหมายของอัลลอฮฺ ด้วยเหตุนี้เอง บุคคลที่จะเป็นทายาทผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อจากท่าน (ศ) จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งสองประการดังกล่าวด้วย กล่าวคือ เขาจะต้องสามารถเป็นผู้นำประชาคมและมีคุณสมบัติที่เหมาะสมคู่ควรที่จะชี้นำประชาชาติอิสลามได้ด้วย จะต้องเป็นผู้ให้การพิทักษ์บทบัญญัติและหลักคำสอนอันบริสุทธิ์มิให้ถูกละเมิดหรือถูกดัดแปลงแก้ไข และจะต้องยืนหยัดอย่างมั่นคงท่ามกลางคลื่นลมและมรสุมร้ายของฝ่ายศัตรูผู้ปฏิเสธและพวกตั้งข้อสงสัยที่แอบแฝงไปด้วยเจตนาร้ายและเหล่าผู้หลงทางทั้งหลายที่จ้องจะจู่โจมทำลายอยู่ตลอดเวลา และต้องคอยขจัดอุปสรรคที่เกิดจากความหลงผิดทั้งหลาย และยังจะต้องพิทักษ์รัฐอิสลามให้รอดพ้นจากการรุกรานในทุกรูปแบบจากฝ่ายปรปักษ์อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักค้ำประกันว่าอิสลามอันบริสุทธิ์จะธำรงคงอยู่สืบไปถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญกับมรสุมร้ายนานาชนิดมากเพียงใดก็ตาม

หนทางเดียวเท่านั้นที่จะสามารถพิทักษ์สิทธิปัจเจกชนและสังคมให้รอดพ้นจากการถูกละเมิด และทำให้ความยุติธรรมและศีลธรรมอันดีงามได้ขจรขจายออกไป นั่นก็คือการมีผู้ปกครองที่ทรงธรรม และระบอบการปกครองที่เที่ยงธรรมที่สุดก็คือ ระบอบการปกครองที่อยู่ภายใต้มะอฺศูม (ผู้สะอาดบริสุทธิ์) นั่นเอง ซึ่งภายใต้ร่มเงาแห่งการปกครองดังกล่าวนี้เองที่จะทำให้ความหวังเพื่อพิทักษ์รักษาสิทธิของประชาชนได้กลายเป็นความจริงขึ้นมา เพราะโดยสารัตถะแล้ว ผู้ปกครองที่ถูกเลือกสรรจากอัลลอฮฺ ก็คือระบอบการปกครองของอัลลอฮฺนั่นเอง และลำพังเพียงแสงสว่างจากผู้นำที่มีเกียรติคุณ ฐานภาพ และคุณสมบัติอันสมบูรณ์และได้รับการเลือกสรรเท่านั้นที่จะสามารถสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง

ทั้งนี้เนื่องจากอุดมการณ์หรือหลักการขั้นพื้นฐานของระบอบการปกครองดังกล่าวก็คือการสถาปนาความยุติธรรมและรักษาสิทธิมนุษยชนนั่นเอง ซึ่งนอกจากภายใต้ผู้นำที่ถูกเลือกสรรจากพระผู้เป็นเจ้าแล้ว อุดมการณ์ดังกล่าวจะไม่มีวันปรากฏเป็นจริงขึ้นมาได้เลย มิฉะนั้นแล้ว ผู้แสวงหาอำนาจการปกครองโดยมิชอบธรรมและผู้นำทรราชเผด็จการจะต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาย่ำยีบีฑาประชาชนอย่างไม่รู้จบสิ้น ในขณะที่ตะโกนคำขวัญเพื่อพิทักษ์สิทธิมนุษยชนและผลประโยชน์ของประชาชนนั้น แต่ในทางปฏิบัติผู้คนเหล่านี้แหละที่เหยียบย่ำทำลายศักดิ์ศรีและเกียรติยศของความเป็นคนให้จมอยู่ใต้พื้นธรณี กล่าวโดยสรุป ข้ออ้างเพื่อประชาชนของผู้ปกครองเหล่านั้นมิได้มีสาระอื่นใด นอกจากเพียงเพื่อปกปิดโฉมหน้าที่ชั่วร้ายจากการทำลายสิทธิและถ่างช่องว่างทางชนชั้นระหว่างผู้ปกครองกับประชาชนให้ห่างขึ้นและเพื่อค้ำบัลลังก์อันชั่วร้ายให้คงอยู่ต่อไปเท่านั้น





แปลและเรียบเรียงโดย เชค อบูนัสรีน
๒๐