เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ความเชื่อเรื่องมะอาด(การกลับคืนสู่ปรโลก)ในอิสลาม ตอนที่ 1

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ความเชื่อเรื่องมะอาด(การกลับคืนสู่ปรโลก)ในอิสลาม ตอนที่ 1

 

คำว่า “มะอาด” ในภาษาอาหรับ มี 3 ความหมาย คือ “การกลับคืน” (ความหมายตามรากศัพท์)  “สถานที่กลับ” และ “เวลากลับ” 

 

ในเนื้อหาที่เรากำลังจะกล่าวถึงนี้ คือความหมายแรก และจุดประสงค์ของคำว่า “มะอาด” (การกลับ) ในที่นี้คือ การกลับคืนสู่ชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่งของมนุษย์หลังจากความตาย เพื่อที่จะรับผลตอบแทนรางวัลหรือโทษทัณฑ์ของการกระทำต่างๆ ที่เขาได้กระทำไว้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ (ดุนยา)

 

ความเชื่อในเรื่องของ “มะอาด” และการกลับคืนสู่ชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่งของมนุษย์ทุกคนในปรโลก ถือเป็นหลักศรัทธาที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของศาสนาทั้งมวลที่มีแหล่งที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า บรรดาศาสดาของพระผู้เป็นเจ้าต่างได้เน้นย้ำอย่างมากถึงหลักการศรัทธาข้อนี้ และถือว่าการปฏิเสธมันเท่ากับเป็นการปฏิเสธศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าเลยทีเดีย

 

คัมภีร์อัลกุรอานไม่เพียงแต่จะถือว่า “มะอาด” (การกลับคืนสู่ชีวิตใหม่) เป็นเรื่องที่เป็นไปได้เพียงเท่านั้น ทว่ายังได้แจ้งข่าวถึงการจะบังเกิดขึ้นของมันไว้ด้วยความหนักแน่นและชัดเจน และถือว่ามันคือพันธสัญญาแห่งพระผู้เป็นเจ้าที่ไม่อาจละเมิดเป็นอย่างอื่นได้ และในคัมภีร์อัลกุรอานก็ได้กล่าวถึงความเชื่อในเรื่องของ “มะอาด” (การกลับคืนสู่ชีวิตใหม่ในโลกหน้า) และ “อัดล์” (ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า) ไว้ ซึ่งถูกนับว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น (ฎ้อรูเราะฮ์) ในระดับเดียวกับความเชื่อมั่นต่อการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเอกะ โองการต่างๆ ของคัมภีร์อัลกุรอานจำนวนมากกว่า 20 โองการ ได้กล่าวถึงคำว่า “อัลลอฮ์” พร้อมกับคำว่า “วัลเยามุลอาคิร” (วันแห่งปรโลก) นอกเหนือจากนั้นเนื้อหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับโลกหน้า (อาคิเราะฮ์) โดยตรง ยังมีมากกว่าสองพันโองการ

 

ความเชื่อมั่นในเรื่องของ “มะอาด” วางอยู่บนพื้นฐานของการยอมรับและการมีความเชื่อในเรื่องของวิญญาณ (รูห์) ซึ่งถือเป็นแก่นแท้ (มาฮียะฮ์) ของมนุษย์ทุกคน และเป็นสิ่งที่จะยังคงดำรงอยู่ภายหลังจากความตาย (รายละเอียดและการพิสูจน์ในเรื่องของวิญญาณนั้นจำเป็นต้องกล่าวถึงในเนื้อหาอันเฉพาะ) อย่างไรก็ตาม การพิสูจน์ถึงความจำเป็นของการมี “มะอาด” (การกลับคืนสู่ชีวิตใหม่ในโลกหน้า) สามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักฐานและข้อพิสูจน์ต่างๆ หลายประการ ทั้งที่เป็นข้อพิสูจน์ในเชิงสติปัญญา และที่เป็นหลักฐานในเชิงตัวบท

อ้างอิง

 

บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม