พื้นฐานอิสลาม (ตอนที่ ๓ ) ตัวอย่างหนึ่งจากระบบของโลก ในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า
มร. ซิซิล บอยซ์ ฮาแมน อาจารย์คณะชีววิทยา มหาวิทยาลัยออสบูรี เขียนไว้ว่า “เมื่อเราได้มองเห็นหยดน้ำหยดหนึ่งในกล้องจุลทรรศน์ เช่นเดียวกับที่เมื่อเราได้ส่องดูดวงดาวที่อยู่ไกลที่สุดด้วยกล้องดูดาว มันทำให้ข้าพเจ้าตกอยู่ในภวังค์อันใหญ่หลวง”
ตัวอย่างหนึ่งจากระบบของโลก
ในโลกนี้ในทุกสิ่งที่เราได้พิจารณาไม่ว่าจะเป็นอณูที่เล็กที่สุดหรือระบบสุริยะจักรวาลอันยิ่งใหญ่ก็ตาม เป็นตัวแสดงให้เห็นถึงความเป็นระบบที่สมบูรณ์ และละเอียดถี่ถ้วน มันยิ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง
มร. ซิซิล บอยซ์ ฮาแมน อาจารย์คณะชีววิทยา มหาวิทยาลัยออสบูรี เขียนไว้ว่า
“เมื่อเราได้มองเห็นหยดน้ำหยดหนึ่งในกล้องจุลทรรศน์ เช่นเดียวกับที่เมื่อเราได้ส่องดูดวงดาวที่อยู่ไกลที่สุดด้วยกล้องดูดาว มันทำให้ข้าพเจ้าตกอยู่ในภวังค์อันใหญ่หลวง”
มีหลายระบบที่อยู่ในธรรมชาติซึ่งสามารถอธิบายถึงการเกิดขึ้นของมันก่อนที่มันจะเกิดขึ้นเสียอีกด้วยกับกฎเกณฑ์ที่ได้ตั้งสมมุติฐานไว้แล้ว
ด้วยเหตุนี้เอง กฎเกณฑ์ทางธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่แน่นอนและตายตัวนักวิทยาศาสตร์ได้พากเพียรพยายามแสวงหากฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ (ที่ยังไม่ถูกกค้นพบ) อย่างไรก็ตาม ความพากเพียรของพวกเขาก็ดูจะไร้ผล
ผืนแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่นั้น เมื่อพิจารณาจากความใหญ่ ความเล็ก ความใกล้ – ไกลจากดวงอาทิตย์และความเร็วที่โคจรรอบตัวเอง มันยังมีความเป็นระบบระเบียบ ซึ่งสามารถที่จะเป็นศูนย์กลางการดำรงชีวิต และการมีชีวิตอยู่ หากว่าภายใต้กฎเกณฑ์ที่มีอยู่เกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็จะพบกับความสูญเสียที่ไม่อาจหาอะไรมาทดแทนได้เลย
“อากาศ” ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบขึ้นด้วยก๊าซที่ใช้ในการดำรงชีวิตทั้งที่มีขนาดที่เล็กมากไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าสามารถที่จะทำหน้าที่ปกป้องโลกนี้จากการจู่โจมของลูกอุกกาบาตจำนวนนับ ๒๐ ล้าน ชิ้นเล็กๆ ในแต่ละวันซึ่งมีความเร็วโดยเฉลี่ยประมาณ ๕๐ กม. / นาที
ระบบแห่งการแผ่รังสีความร้อนบนพื้นโลกซึ่งเหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตก็เป็นหน้าที่อันหนึ่งของ”อากาศ” นั่นเอง
การถ่ายเทความร้อนและการระเหยของน้ำในมหาสมุทรก็เป็นหน้าที่ของ “อากาศ” ที่ว่า หากไม่มีอากาศ
แล้วแน่นอนเหลือเกินว่าทุกที่ในผืนโลกนี้จะต้องเหือดแห้งไป และไม่เหมาะกับการมีชีวิตอยู่เลย
แล้วทำไมเราต้องไปไกลกันด้วย ? ที่ใกล้ที่สุด ก็คือตัวของเราเอง!
ความลึกลับแห่งการสร้างมนุษย์นั้นไม่อาจคำนวณนับได้เลย ถึงแม้นว่าบรรดานักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ของโลกได้ทำการศึกษา และค้นคว้าเป็นเวลาหลายปี แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่อาจทำความเข้าใจกับความมหัศจรรย์ดังกล่าวได้เลย
ดร.อเล็กซิส คาร์ล ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมา หลังจากที่ได้ทำการค้นคว้าเป็นเวลาหลายปีเขาได้แสดงความคิดว่า
“จนถึงเดี๋ยวนี้ ชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ ก็ยังไม่สามารถเข้าใจถึงสัจธรรมแห่งร่างกายของมนุษย์ได้เลย ยังมีอีกหลายร้อยคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้”
ต่อไปนี้ขอให้เราพิจารณาตัวอย่างแห่งความน่าอัศจรรย์ของการมีอยู่ของตัวเอง ดังนี้
เซลล์ของร่างกาย :
ร่างกายของมนุษย์ก็เหมือนกับโครงสร้างหนึ่งที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนเล็ก คือ “เซลล์” ซึ่งแต่ละส่วนของมันก็มีชีวิตมันต้องกินอาหาร ผลักไส ปกป้อง และขยายเซลล์ต่อไป เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
ในโครงสร้างของ “เซลล์” ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นธาตุ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซี่ยม ทองแดง ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ ฯลฯ จำนวนของ “เซลล์” ในร่างกายของมนุษย์ธรรมดามีประมาณ ๑๐๑๖ หรือ ๑๐,๐๐๐ ล้านล้านเซลล์นั่นเอง
“เซลล์” ที่มีชีวิตเหล่านี้ร่วมมือกันอย่างดีเยี่ยม และทำหน้าที่สู่เป้าหมายอันเดียวกัน พวกมันจะไม่รู้สึกอิ่มเลย ต้องการอาหารอยู่ตลอดเวลา “เลือด” ทำหน้าที่นี้พร้อมกับการช่วยเหลือของหัวใจได้เป็นอย่างดี (สูบฉีดไปทั่วร่าง) โครงสร้างของหัวใจก็เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์สามารถสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยผ่านหลอดเลือด
หลังจากที่เลือดได้ทำหน้าที่ส่งอาหารไปยังเซลล์ต่างๆ แล้ว มันก็จะทำหน้าที่ดูดเอาสิ่งที่เป็นพิษที่รวมอยู่ในเซลล์ต่างๆ ออกมาที่กลายเป็นเลือดเสียกำลังจะกลับไปสู่หัวใจ หัวใจจะทำหน้าที่ฟอกมันให้กลับเป็นเลือดดีดังเดิมส่งไปยังทั่วร่างกาย
ไม่เพียงเท่านั้น มันยังทำหน้าที่ทำลายสารมีพิษอื่น ๆ เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย การรวมตัวและขนาดที่พอดีของวัตถุธาตุต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นเซลล์ และโครงสร้างของหัวใจซึ่งบรรดานักคิดในปัจจุบันให้ความสนใจนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะแสดงถึงระบบที่สมบูรณ์และสูงส่งอีกหรือ ?
หากเราเรียกร่างกายของมนุษย์ว่าเป็นคลังแห่งความอัศจรรย์และในขณะเดียวกันก็มีระบบอย่างน่าอัศจรรย์ละก็ เรายังกล้าเปล่งคำพูดอันไร้สาระ (ว่าไม่มีผู้สร้างเรา) ออกมาอีกหรือ ? ไม่มีทางหรอก
ด้วยเหตุนี้จะต้องกล่าวว่า โลกมั่นคงอยู่บนระเบียบแบบแผนที่สมบูรณ์และแน่นอนที่สุดว่าในทุกระเบียบกฎเกณฑ์จะต้องมีผู้ให้กำเนิดที่รอบรู้ และปรีชาญาณ
เขียนโดย อัลลามะฮ์ซัยยิด มุฮัมมัดฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์