กระบวนทัศน์ในการแก้ไขวิกฤตทางการเมืองของท่านหญิงซัยนับ (ซ.)
กระบวนทัศน์ในการแก้ไขวิกฤตทางการเมืองของท่านหญิงซัยนับ (ซ.)
โดย ซัยยิดะฮ์ซัยหนับ ศักดิ์กิตติชา
หลายครั้งที่หน้าที่การปกป้องศาสนา และการแก้ไขวิกฤตทางการเมือง จะถูกมอบแก่สตรี ผู้ที่มีความเหมาะสมเช่น ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และท่านหญิงซัยหนับ (ซ.) บทบาทซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถทำได้ นั้นหมายถึงในบางครั้ง ผู้หญิงสามารถเป็นผู้ที่แก้ไขปัญหาทางสังคมและการเมือง ตามแบบฉบับของท่านหญิงซัยหนับ(ซ.) ในเหตุการณ์กัรบะลา อันเป็นการแก้วิกฤตทางการเมืองด้วยแนวทางของศาสนา
เมื่อมองไปยังคุณลักษณะของท่านหญิง จึงสามารถรู้ได้ว่า ผู้หญิงที่มีความสามารถในการแก้ไขวิกฤตทางการเมืองได้ควรมีคุณลักษณะอย่างไร
คุณลักษณะของท่านหญิงซัยหนับ(ซ.)ในการแก้ไขวิกฤตทางสังคมและการเมือง
1.มีความอดทน อดทนต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและไม่ตัดสินใจ หรือ พูดสิ่งใดที่มาจากความรู้สึก หรือ ความเจ็บปวดของตนเองแต่จำต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่า ตนอยู่ในฐานะที่ต้องการแก้ไขวิกฤติ
2.มีความกล้าหาญ ความกล้าหาญไม่เกรงกลัวต่อการพูดสัจธรรมออกมา แม้ว่าอาจจะตกอยู่ในอันตรายก็ตาม
3.เป็นผู้ที่มีสติปัญญาและมีความสามารถในการใช้สติปัญญาของตนในการบริหารจัดการ และ การแก้ไข เพราะบางครั้งมีความรู้มีสติปัญญา แต่กลับไร้ความสามารถในการนำความรู้ และสติปัญญามาใช้ในหนทางที่ถูกต้อง
4.มีบะศีรัตอย่างแท้จริง ไม่มองสิ่งใดแบบผิวเผิน
5.มีวาทศิลป์ หมายถึง นอกจากตนมี บะศีรัต แล้วยังมีความสามารถในการถ่ายทอด บะศีรัตของตนอย่างถูกต้อง เพราะหลายครั้งที่เราพบว่าผู้คนอยากแก้ไขวิกฤติ แต่ไม่มีความสามารถจึงกลายเป็นผู้เพิ่มวิกฤติ หรือทำให้สถานการณ์แย่ลง
วิกฤติทางการเมืองที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์กัรบะลาแบ่งออกเป็นสองประเด็นด้วยกัน
1.ประเด็นหลัก การถูกบิดเบือนของศาสนา, การถูกบิดเบือนของนิกายชีอะฮ์ , การดูถูกลูกหลานของศาสดา(ศ็อลฯ) และการถูกเชิดชูของศัตรู
2.ประเด็นรอง การเป็นเชลยศึกของท่านหญิง เป็นประเด็นที่สำคัญแต่เหตุการณ์กัรบะลาเกิดขึ้นเพื่อปกป้องศาสนาของพระองค์ ฉะนั้น ประเด็นที่สำคัญกว่า คือการถูกบิดเบือนของศาสนา
กระบวนทัศน์การแก้ไข้วิกฤติของท่านหญิง เกิดขึ้นในสามช่วงด้วยกัน
หนึ่ง ช่วงก่อนเกิดวิกฤติ
สามสิ่งที่ท่านหญิงซัยนับ(ซ.)ทำก่อนการเกิดวิกฤต
1.การพยากรณ์ การเล่าขานเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นโดยขั้นตอนนี้เกิดมาจากบรรดามะอ์ศูม(อ.) ซึ่งในยุคปัจจุบันบางครั้งการกล่าวทัศนะที่คาดว่าจะทำให้เกิดวิกฤติอาจจะเป็นแนวทางในการแก้ไข้แต่การนำเสนอทัศนะจะต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล
2.ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น การทำทุกวิธีทางเพื่อป้องกันมิให้วิกฤติเกิดขึ้น
3.เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับมัน ภายหลังการป้องกันในส่วนที่ไม่สามารถป้องกันได้แล้วจะต้องเตรียมตัวที่จะรับมือ
สอง ช่วงระหว่างการเกิดวิกฤติ
1.รวบรวมประชาชนเพื่อปกป้องวิลายัตและท่านได้ปลุกจิตสำนึกของประชาชนให้ตื่นขึ้นมา
2.ต่อสู้กับสิ่งบิดเบือนต่างๆ อย่างเปิดเผย
3.แสดงจุดยืนซึ่งมีอยู่สองคุณลักษณะด้วยกัน
1.1อยู่บนพื้นฐานของวิลายัต
1.2. รู้จักศัตรูของตนเอง
สาม ภายหลังการเกิดวิกฤต
1.ท่านหญิงช่วยเหลือบรรดาอัศฮาบและบรรดาเด็กๆ
2.ท่านหญิงคอยปลอบใจครอบครัวของบรรดาชุฮาดา
3.ท่านหญิงพูดถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในกัรบะลา
เนื้อหาจากคำปราศรัยของซัยยิดะฮ์ซัยหนับ ศักดิ์กิตติชา เนื่องในค่ำวิลาดัตท่านหญิงซัยหนับ(ซ.) ที่ผ่านมา
ขอขอบคุณ เพจ สถาบันศึกษาศาสนา อัล-มะฮ์ดียะฮ์