เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

บทกวีไว้อาลัยของมุห์ตะชัม

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

บทกวีไว้อาลัยของมุห์ตะชัม

 

[ปฐมโศลก]

باز این چه شورش است که در خلق عالم است
باز این چه نوحه و چه عزا و چه ماتم است
นี่คือความโกลาหลใดในสรรพสิ่ง
นี่คือเสียงร่ำไห้, อาดูร, และโศกาใด

باز این چه رستخیز عظیم است کز زمین
بی نفخ صور خاسته تا عرش اعظم است
นี่คือวันสิ้นโลกที่เกิดขึ้นบนผืนพสุธา
แม้นไร้เสียงแตรแต่ทะยานฟ้าสู่บัลลังก์

این صبح تیره باز دمید از کجا کزو
کار جهان وخلق جهان جمله درهم است
รุ่งอรุณมืดมนนี้คืบคลานมาจากหนใด
สรรพสิ่งในโลกจึงร่ำไห้โศกศัลย์

گویا طلوع می‌کند از مغرب آفتاب
کآشوب در تمامی ذرات عالم است
ดวงตะวันปรากฏขึ้นทางทิศตะวันตก
ความวุ่นวายจึงปกคลุมโลกทั้งใบ

گر خوانمش قیامت دنیا، بعید نیست
این رستخیز عام، که نامش محرم است
หากข้าจะเรียกมันว่าวันโลกาวินาศก็ไม่ผิด
วันสิ้นโลกที่ปกคลุมไปทั่วหล้านี้มีนามว่า "มุหัรรอม"

در بارگاه قدس که جای ملال نیست
سرهای قدسیان همه بر زانوی غم است
ณ ทิพยสถานศักดิ์สิทธิ์ที่ไร้ความทุกข์โศก
ศีรษะอันศักดิ์สิทธิ์น้อมลงบนหัวเข่าอย่างระทม

جن و ملک بر آدمیان نوحه می‌کنند
گویا عزای اشرف اولاد آدم است
ญินและมะลักต่างร่ำไห้แก่มวลมนุษย์
อาลัยแก่ผู้มีเกียรติที่สุดในกุลบุตรแห่งอาดัม

خورشید آسمان و زمین، نور مشرقین
پروردهٔ کنار رسول خدا، حسین
ดวงตะวันแห่งดินฟ้า, แสงสว่างแห่งสองทิศ
ผู้เติบโตมาในอ้อมอกพระศาสดา...หุเซน

 

[กลอนแปด]

ความโกลาหลใดอุบัติในแหล่งหล้า
โศกนาฏกรรมใดอุบัติขึ้นอีกหน
ฤาโลกาวิบัติใดในบัดดล
สู่บัลลังก์เบื้องบนจากแดนดิน

รุ่งอรุณมืดมนจากหนใด
ปกคลุมโลกทั้งใบให้โศกสิ้น
ดวงอาทิตย์ผิดเพี้ยนเปลี่ยนกบิล
ทุกชีวินระส่ำระสายในกมล

เสมือนโลกพินาศไม่มีผิด
วิปริตปรวนแปรทุกแห่งหน
นามมุหัรรอมนี้ที่สากล-
โลกชุลมุนท่วมท้นพสุนธรา

ณ แดนทิพย์สถานพิมานสวรรค์
เหล่าทวยเทพโศกศัลย์ก้มเกศา
มะลักญินรินหลั่งชลนา
ร่วมอาลัยผู้เลอค่าในหมู่คน

แสงสุรีย์ผ่องอำไพในแหล่งหล้า
ดวงประทีปแห่งบูรพาประจิมทิศ
คือผู้เป็นหลานรักปักดวงจิต
ศาสนทูตแห่งองค์ธรณิศ...หุเซน


มุห์ตะชัม กาชานี (1500-1588) กวีชาวเปอร์เซียผู้มีชีวิตอยู่ในสมัยศอฟาวี บทกวีไว้อาลัยของเขา (marthiya) หรือที่รู้จักกันในนามโศลกสิบสองบท (davazdah band) เป็นบทกวีที่มีชื่อเสียงที่สุดบทหนึ่งที่ประพันธ์ขึ้นเกี่ยวกับเรื่องราวของโศกนาฏกรรมกัรบะลา และเป็นบทกวีที่ชาวอิหร่านนิยมนำมาสลักบนผ้าประดับการไว้อาลัยในบ้านและศาสนสถานในเดือนมุฮัรรอม

ในบทสุดท้ายนี้ผู้แปลตั้งใจจะเปลี่ยนสัมผัสท้ายวรรคตามบทกวีต้นฉบับในภาษาฟาร์ซี มิได้มีเป้าประสงค์ในการละเมิดฉันทลักษณ์แต่อย่างใด

ขอขอบคุณ อะบูซัยหนับ

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม