เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อุลุลอัมร์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อุลุลอัมร์

 

อุลุลอัมร์ หมายถึง บรรดาเจ้าของคำสั่ง กล่าวคือ พวกเขา คือ บุคคลผู้ซึ่งจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตาม ด้วยการยืนยันจากโองการอุลิลอัมร์ คำศัพท์นี้ ได้รับมาจากโองการที่ 59 ซูเราะฮ์อันนิซา ที่เกี่ยวกับความบริสุทธิ์ปราศจากบาปของอุลุลอัมร์ และพวกเขาคือใครกันหรือ? ได้มีการนำเสนอความคิดเห็นมากมายในหนังสือเทววิทยาและตัฟซีรทั้งสายชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์

ชีอะฮ์ มีความเชื่อว่า ความหมายของอุลุลอัมร์ คือ บรรดาอิมามของชีอะฮ์ แต่ทว่า ในทัศนะของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ หมายถึง เหล่าคอลีฟะฮ์อัรรอชิดูน และบรรดาผู้ปกครองที่ชอบธรรมและได้รับฉันทามติ

บรรดาชีอะฮ์ มีความเชื่อว่า เนื่องจากการเน้นย้ำของโองการอุลิลอัมร์ บนหลักการที่ว่า จะต้องปฏิบัติตามพวกเขาอย่างที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น โองการนี้จึงบ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ปราศจากบาปของบรรดาเจ้าของคำสั่ง แต่ทว่า นักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ความบริสุทธิ์ปราศจากบาปของอุลิลอัมร์นั้น ไม่สามารถได้รับมาจากโองการนี้ โองการอุลิลอัมร์

คำว่า อุลุลอัมร์ หมายถึง เจ้าของคำสั่ง ซึ่งได้รับมาจากโองการที่ 59 ซูเราะฮ์อันนิซา โดยอัลลอฮ์ (ซ.บ.)ทรงตรัสว่า

يَاأَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا أَطِيعُوا اللهَ وَأَطِيعُوا الرَّسُولَ وَأُوْلِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ

โอ้บรรดาผู้ศรัทธา พวกเจ้าจงปฏิบัติตามอัลลอฮ์และศาสนทูตและผู้ปกครองในหมู่สูเจ้า

บรรดานักตัฟซีรชีอะฮ์ เช่น ฟัฎล์ บิน ฮะซัน ฏอบะซี และอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี (1) และบรรดานักเทววิทยาอิมามียะฮ์ (2) ถือว่า โองการนี้กล่าวถึงความบริสุทธิ์ปราศจากบาปของอุลุลอัมร์ หลังจากนั้น พวกเขาก็ได้ยกหลักฐานจากริวายะฮ์ที่กล่าวถึงตัวอย่างของอุลุลอัมร์ นั่นคือ ความบริสุทธิ์ปราศจากบาปของบรรดาอิมามทั้งสอง(3)
ความบริสุทธิ์ปราศจากบาปของอุลุลอัมร์

บรรดาชีอะฮ์ได้ใช้เหตุผลด้วยการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ปราศจากบาปของอุลุลอัมร์ ด้วยหลักฐานจากโองการอุลิลอัมร์ บนพื้นฐานที่ว่า โองการนี้ได้มีคำสั่งให้ปฏิบัติตามอย่างที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น (4) เหตุผลของพวกเขา ก็คือ โองการนี้เป็นมุฏลัก กล่าวคือ โองการหลังจากที่มีคำสั่งให้ปฏิบัติตามอุลุลอัมร์แล้วไม่มีข้อยกเว้น และในโองการยังมีคำสั่งให้ปฏิบัติตามศาสนทูตของอัลลอฮ์ พร้อมทั้งการปฏิบัติตามอุลุลอัมร์ ฉะนั้น ประเด็นนี้จึงแสดงให้เห็นว่า เช่นเดียวกับที่การปฏิบัติตามศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นข้อบังคับอย่างที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆ ด้วยเหตุนี้เอง การปฏิบัติตามอุลุลอัมร์ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน( 5)

บนพื้นฐานนี้ การใช้เหตุผลด้วยการพิสูจน์การปฏิบัติตามอุลุลอัมร์ เป็นข้อบังคับอย่างที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆ หากว่าอุลุลอัมร์ ไม่ได้เป็นผู้ที่บริสุทธิ์ปราศจากบาปทั้งปวง พวกเขาก็จะมีคำสั่งให้กระทำในบัญญัติที่ต้องห้าม และก็จะเกิดความขัดแย้งกันระหว่างพระบัญญัติทั้งสองของพระเจ้า เพราะว่า อีกด้านหนึ่งการปฏิบัติตามอุลุลอัมร์เป็นข้อบังคับและเรากำลังกระทำการงานที่ต้องห้าม และในทางกลับกัน หากมีการงานที่ต้องห้าม ไม่ควรที่จะกระทำ ด้วยเหตุนี้เอง อุลุลอัมร์ จึงจะต้องมีบริสุทธิ์ปราศจากบาปทั้งปวง (6)

ฟัคร์ รอซี หนึ่งในนักวิชาการของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ก็มีมุมมองแบบนี้ด้วยเช่นกัน (7) แต่ทว่า นักวิชาการชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์อื่นๆต่างมีมุมมองที่แตกต่างออกไปในประเด็นนี้ ตามความเชื่อของพวกเขา ในโองการอุลุลอัมร์ หลังจากคำสั่งให้ปฏิบัติตามอุลุลอัมร์ ระบุไว้ว่า หากว่าพวกเจ้ามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันก็จงย้อนกลับไปหายังอัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์ (ศ็อลฯ) ซึ่งการเปรียบเทียบนี้ แสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติตามอุลุลอัมร์ที่เป็นข้อบังคับ ไม่ใช่การปฏิบัติตามที่ไร้เงื่อนไขแต่อย่างใด และเมื่อใดก็ตามที่พวกเขามีคำสั่งให้กระทำสิ่งที่ต้องห้าม ก็อย่าได้ปฏิบัติตามพวกเขา ด้วยเหตุนี้เอง ตามความเชื่อของเขา จะเห็นได้ว่า โองการนี้ไม่ได้บ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ปราศจากบาปทั้งปวงเลย (8)

ในทางตรงกันข้าม ตามความเชื่อของชีอะฮ์ อัมร์ที่กล่าวถึงในโองการ เป็นลักษณะที่ไม่สามารถมีข้อยกเว้นได้ กล่าวคือ เป็นที่เข้าใจกันว่า จะต้องมีการปฏิบัติตามอุลุลอัมร์อย่างที่ไม่มีเงื่อนไขและความจำเป็นที่พวกเขาจะต้องมีความบริสุทธิ์ปราศจากบาปทั้งปวง (9)
ตัวอย่างของอุลุลอัมร์

ในประเด็นตัวอย่างของอุลุลอัมร์ มีการถกเถียงอย่างมากในหนังสือตัฟซีรของชีอะฮ์และซุนนี (10) และระหว่างชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์มีทัศนะที่แตกต่างกัน ตามรายงานฮะดีษจากญาบิร ในแหล่งข้อมูลทางสายริวายะฮ์ เช่น กิฟายะตุลอะษัร และกะมาลุดดีน กล่าวว่า บรรดาอิมามทั้งสอง คือ ตัวอย่างของอุลลอัมร์ บรรดาชีอะฮ์ ได้พิสูจน์ประเด็นนี้ด้วยการยกหลักฐานจากริวายะฮ์ทั้งหลาย เช่น ฮะดีษซะฟีนะฮ์ และฮะดีษษะกอลัยน์ อัลลามะฮ์ ฮิลลี กล่าวว่า ได้มีริวายะฮ์ มุตะวาติร ที่รายงานถึงประเด็นนี้ ทั้งมาจากผู้รายงานชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ (14)

นักวิชาการทั้งหลายของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ไม่ยอมรับทัศนะนี้ และพวกเขามีทัศนะที่แตกต่างกัน บางคนเชื่อว่า ความหมายของอุลุลอัมร์ คือ เหล่าคอลีฟะฮ์รอชิดูน และบางคนถือว่า บรรดานักวิชาการทางศาสนา และตามทัศนะอื่นๆ บรรดาผู้บัญชาการของกองทัพ ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างของพวกเขา (15)

ซะมัคชะรี เขียนว่า หมายถึง ผู้ปกครองที่มีความชอบธรรม ซึ่งเขาได้ปกครองโดยยึดหลักการศาสนา เช่นเดียวกับเหล่าคอลีฟะฮ์รอชิดูนและบรรดาผู้ปกครองที่ปฏิบัติเหมือนกับพวกเขา (16)

ฟัครุดดัร รอซี เนื่องจากเขามีความคิดเห็นที่แตกต่างกับนักวิชาการอื่นๆของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ และมีความเชื่อเหมือนกับชีอะฮ์ ที่ว่า อุลุลอัมร์ จะเป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากบาป โดยเขากล่าวว่า ความหมายของอุลุลอัมร์ คือ ผู้ที่ได้รับฉันทามติ การให้เหตุผลของเขา ก็คือ ผู้บริสุทธิ์ปราศจากบาป หรือประชาชาติอิสลามทั้งหมด หรือบางบุคคลจากพวกเขา และเนื่องจากปัจจุบันนี้ ถือว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้จักผู้บริสุทธิ์ (มะอ์ศูม) และบางคนในประชาชาติก็ไม่เป็นมะอ์ศูม ด้วยเหตุนี้เอง มะอ์ศูม ก็คือ ผู้ที่ได้รับฉันทามติจากประชาชาติอิสลาม (17) ความหมายของเขาจากคำว่า ฉันทามติ(อิจมาอ์) คือ อะฮ์ลุลฮัลวัลอักด์ กล่าวคือ บรรดานักวิชาการมุสลิม(18)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม