อรัมภบทของคำว่า ตัศดี๊ก(تصدیق)
อรัมภบทของคำว่า ตัศดี๊ก(تصدیق)
ทบทวนเนื้อหา
ตะเซาวุรมุตลัก หมายถึง สภาพปรากฎที่ครอบคลุม สภาพปรากฎแบบมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีการยืน/ปฏิเสธ(تصور بشرط شیء)และครอบคลุม สภาพปรากฎแบบมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีการยืนยัน/ปฏิเสธ(تصور بشرط لا) โดยตัวของมันถูกเรียกอีกชื่อว่า ตะเซาวุรลาเบชัรฏ(تصور لابشرط) ส่วน สถานะไม่อิงข้างใดข้างหนึ่ง จะเจาะจงเฉพาะ สภาพปรากฎแบบมีเงื่อนไขว่า จะต้องไม่มีการยืนยัน/ปฏิเสธ ตรงข้ามกับ ตัสดีก ที่สื่อถึง การยืนยัน/ปฏิเสธ ซึ่งมันคือคำอธิบายที่ซับซ้อนของ สภาพปรากฎธรรมดาที่เราเข้าใจนั่นเอง
หัวข้อใหม่ อรัมภบทของคำว่า ตัศดี๊ก(تصدیق)
ตัสดี๊ก เป็นคำหนึ่งที่มีปัญหาในการแปลเป็นภาษาไทยเป็นอย่างยิ่ง พอๆกับคำว่า ตะเซาวุร เพราะคำๆนี้แสดงนัยถึง สี่สิ่ง ได้แก่ การตัดสินและสภาพปรากฎ ,ประพจน์หรือข้อความที่ประกอบกันแล้วระหว่างภาพประธานกับภาคแสดง,และความเชื่อของผู้ยืนยันและปฏิเสธ กล่าวในอีกบริบทหนึ่ง
ถ้าไม่รู้ว่า การตัดสินในตรรกวิทยากับปรัชญากับการใช้คำว่า ตัดสินแบบทั่วๆไปต่างกันอย่างไร ก็จะอาจจะเข้าใจไม่ตรงกับความหมาย
ต่อมาคำว่า สภาพปรากฎ ถ้าไม่ผ่านคำว่า ตะเซาวุรก่อน ก็จะไม่รู้ว่า สภาพปรากฎที่ถูกตัดสินไปแล้วคืออะไร
และประพจน์/ข้อความ ถ้าหากไม่เข้าใจคำว่า ประพจน์/ข้อความ,ภาคประธาน,ภาคแสดง ที่ใช้กันในตรรกวิทยาก่อน ก็อาจจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่า ตัสดีก
และสุดท้าย เมื่อมีการยืนยันหรือปฏิเสธ ในแง่หนึ่ง ทั้งสองกริยา คือ สิ่งที่แสดงนัยถึงความเชื่อของผู้ยืนยัน/ปฏิเสธ
ดังนั้น อรัมภบทชุดแรกคือ การทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ก่อน ในที่นี้ จะขอกล่าวพอสังเขปว่า นักตรรกศาสตร์อิสลาม,นักปรัชญา จะใช้คำว่า ตัสดี๊ก เมื่อ ข้อความที่ถูกยกมา ถูกยกมาพร้อมกับการตัดสินบางอย่างอยู่เสมอ เช่น
ไทย เป็น ประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเซีย
ไทย ไม่ได้เป็น ประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป
ในภาษาไทย คำกริยาจะแสดงนัยถึงการยืนยันในตัวและจะใช้คำวิเศษณ์ปฏิเสธ เช่น คำว่า ไม่,มิ ในการแสดงการปฏิเสธเหมือนภาษาอาหรับที่ใช้คำว่า ลา(لا) ลัน(لن) ลัม(لم) และลัยซา(لیس)และมานาฟิยะฮ์(ما) แต่จะแสดงนัยถึงการยืนยันจากการสังเกตรูปประโยคทั้งประโยคแบบคำนาม(جملة الاسمیة)และกริยา(جملة الفعلیة)
ลองสังเกตประโยค ไทย คือ ประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเซีย จะเห็นว่า ตัวประโยคประกอบด้วย
ไทย+เป็น+ประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเซีย
(ภาคประธาน+การยืนยัน+ภาคแสดง)
จะเห็นว่า ประโยคทั่วไปในลักษณะนี้ ประกอบไปด้วย มโนทัศน์ของคำว่า “ไทย” ,คำว่า ประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเซีย เมื่อเชื่อมโยงกันด้วยการยืนยัน เท่ากับการตัดสินว่า มีสองคำที่สัมพันธ์กัน นี่คือตัวอย่างพื้นฐานของการตัสดี๊ก อีกตัวอย่างคือ
ไทย+ไม่ได้เป็น+ประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป
(ภาคประทาน + การปฏิเสธ + ภาคแสดง)
ประโยคนี้เป็นการปฏิเสธ ความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันระหว่าง ไทย กับ ประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป
ทั้งสองตัวอย่างกำลังอธิบายว่า เมื่อพูดว่า ตัดสิน ความหมายของการตัดสิน ก็คือ การยืนยัน หรือ ปฏิเสธความเชื่อมโยงระหว่างสองสิ่ง โดยสองสิ่งนี้หาก ไม่เชื่อมกัน จะเป็นเพียงกลุ่มความเข้าใจในความคิดของเรา หรือ ก็คือ ข้อมูลที่จิตของเราได้บันทึกไว้ ยังไม่มีการตัดสินใดๆ อาจเรียกว่า สภาพปรากฎหรือมโนทัศน์ก็ได้ และเมื่อผู้ตัดสินให้น้ำหนักไปทางข้างยืนยัน หรือ ปฏิเสธ คำตัดสินนั้น ก็จะมีสถานะเป็นความเชื่อ และสิ่งที่ถูกผลิตจากการตัดสินดังกล่าว ก็จะกลายเป็นประพจน์ นี่คือคำอธิบายคร่าวๆของการ “ตัสดี๊ก”
สรุปเนื้อหา
เพื่อทำความเข้าใจการ ตัสดี๊ก มีความเข้าใจพื้นฐานสี่เรื่องที่รู้ก่อนเป็นอันดับแรก ได้แก่ ภาวะการตัดสินในปรัชญา/ตรรกวิทยา,สภาพปรากฎ,ประพจน์ และความเชื่อของผู้ตัดสิน และการตัสดีก แปลจะถูกแปลอย่างคร่าวๆว่าหมายถึงการตัดสิน แต่การยืนยัน/ปฏิเสธในที่นี้สื่อความหมายถึงความเชื่อว่ามี/ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างมโนทัศน์หรือสภาพปรากฎนั่นเอง
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก เพจปรัชญาการเมืองและศาสนา