เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

บทเรียน นบูวัต ตอนที่ 13 (ความเป็นศาสดา)

1 ทัศนะต่างๆ 05.0 / 5

บทเรียน นบูวัต ตอนที่ 13 (ความเป็นศาสดา)

 

ข้อสงสัยในความบริสุทธิ์ “อิศมัต” ของบรรดาศาสดา

 8 ซูเราะฮฺ อัลฟัตฮฺ โองการที่ 1- 2

  لِّيَغْفِرَ لَكَ اللَّهُ مَا تَقَدَّمَ مِن ذَنبِكَ وَ مَا تَأَخَّرَ  إِنَّا فَتَحْنَا لَكَ فَتْحًا مُّبِينًا

“แท้จริงเราได้พิชิตแก่เจ้าซึ่งชัยชนะอันชัดแจ้ง เพื่ออัลลอฮฺ(ซบ)จะทรงได้อภัยให้แก่เจ้าบาปก่อนหน้านี้และหลังจากนี้” 

  โองการนี้พวกเขาพยายามที่จะบอกว่าท่านศาสดามีบาปที่พระองค์ได้อภัยให้ เท่ากับท่านศาสดาทำบาปมาแล้ว และอภัยบาปที่จะเกิดขึ้น บาปนี้คืออะไร ฉันจะพิชิตให้กับเจ้าชัยชนะที่ชัดแจ้ง ชัยชนะอันนี้แหละที่จะได้ทำให้ได้รับอภัยบาป ความผิดอันนี้คืออะไร  เรื่องราวนี้เหมือนกับเรื่องราวของท่านศาสดามูซา(อ) คือสำหรับชาวมักกะฮฺถือว่าการเผยแพร่ของท่านศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล)คือความผิด เหตุผลหนึ่งที่ท่านศาสดาได้อพยพไปมะดีนะฮฺเพราะชาวมักกะฮฺจะลอบสังหารท่าน การที่ท่านศาสดาได้ทำลายเจว็ดของพวกชาวมักกะฮฺชาวมักกะฮฺถือว่าเป็นความผิด และท่านศาสดาไม่สามารถกลับมายังมักกะฮฺได้เพราะถือว่ามีความผิด และการพิชิตมักกะฮฺครั้งนี้สิ่งที่ถือว่าเป็นความผิดก็จะหมดไปและการเผยแพร่ในวันข้างหน้าก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดอีกต่อไป ความผิดในมุมมองของพวกมุชริกีนชาวมักกะฮฺ และไม่ได้หมายถึงการฝ่าฟื้นคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซบ) คำว่า “ซัมบุน” ที่ไม่ได้หมายถึงการละเมิดชารีอัต

9 ข้อสงสัยต่อไป เป็นข้อสงสัยจากซูเราะฮฺอัลอะฮฺซาบ โองการ 37

وَ تخَْشىَ النَّاسَ وَ اللَّهُ أَحَقُّ أَن تخَْشَئه‏

“เจ้าเกรงกลัวมนุษย์หรือในขณะที่อัลลอฮฺ(ซบ)นั้นทรงสิทธิ์กว่าในการที่จะเกรงกลัว”

  โองการดังกล่าวพูดกับท่านศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล) เนื้อหาจากโองการให้ความหมายดูเหมือนว่าท่านศาสดา(ศ็อล)กลัวมนุษย์ ดูเหมือนว่ามันขัดกับความบริสุทธิ์ของศาสดา ซึ่งแน่นอนว่าศาสดามีความยิ่งใหญ่ไม่สมควรที่จะกลัวมนุษย์แต่จากโองการนี้ศาสดากลับกลัวมนุษย์เสียเองทั้งๆที่พระองค์ทรงสิทธิ์กว่าในการมอบความเกรงกลัว 

   ที่ไปที่มาของเรื่องราวคือท่านศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล)มีบุตรบุญธรรมคนหนึ่งชื่อเซด เซดมีภรรยาชื่อซัยนับด้วยเหตุผลบางประการเซดได้หย่าร้างกับซัยนับ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับท่านศาสดา(ศ็อล)คือ ก่อนหน้านี้มีธรรมเนียมยุคก่อนการมาของอิสลาม(ซุนนะฮฺญาฮีลียะฮฺ)หนึ่งคือลูกบุญธรรมอยู่ในสถานะเดียวกับลูกจริงเป็นความเชื่อของญาฮีลียะฮฺ ดังนั้นภรรยาของบุญธรรมก็เหมือนกับเป็นลูกสะใภ้จริงซึ่งไม่สามารที่จะแต่งกับลูกสะใภ้ได้ ธรรมเนียมนี้อาหรับได้ยึดถือกันอย่างจริงจัง แต่หลังจากอิสลามปรากฏขึ้นในคราบสมุทรอาหรับแล้วพวกเขาก็ยังไม่ละทิ้งธรรมเนียมนี้ อัลลอฮฺ(ซบ)มีความประสงค์ที่จะทำลายธรรมเนียมนี้ ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้องและขัดกับอิสลาม อัลลอฮฺ(ซบ)มีบัญชาเสนอให้ท่านศาสดาแต่งงานกับซัยนับหลังจากที่ได้หญ่ากับเซดแล้ว เมื่อครบอิดดะฮฺแล้ว เพราะอัลลอฮฺ(ซบ)ต้องการที่จะทำลายธรรมเนียมญาฮีลียะฮฺนี้ ศาสดาเมื่อได้รับคำแนะนำท่านศาสดารั้งรอยังไม่ทำเพราะท่านศาสดามีความกลัวแต่ไม่ใช่กลัวมนุษย์  และบังเอิญว่าซัยนับก็เป็นหญิงที่สวยด้วย แต่ทว่าสิ่งที่ท่านคือกลัวฟิตนะฮฺกลัวว่าอาจจะทำให้บรรดาสาวกที่ยังมีความศรัทธาที่อ่อนแอคิดว่าศาสดาอ้างอัลลอฮฺ(ซบ)เพียงเพื่ออยากจะได้คนสวย การที่บรรดาสาวกคิดแบบนี้คนที่เชื่อแบบนี้ว่าสิ่งที่ศาสดาพูดไม่ได้มาจากอัลลอฮฺ(ซบ) เท่ากับเขามุรตัดตกศาสนา และอีกเหตุผลหนึ่งคืออย่างน้อยๆจะทำให้เกิดความกระด้างกระเดื่องเกิดการต่อต้านพวกเขาจะพูดกันว่าการที่ท่านศาสดาจะแต่งงานกับซัยนับนั้นมันเป็นการทำลายธรรมเนียมของบรรพบุรุษของพวกเขาเป็นการทำลายเกียรติของความเป็นอาหรับ ท่านศาสดากลัวสิ่งนี้กลัวว่ามนุษย์จะเป็นตกศาสนา(มุรตัด)นี้คือความกลัวของศาสดา แต่อัลลอฮฺ(ซบ)ไม่ยินยอมเพราะการทำลายธรรมเนียมอันนี้มีความสำคัญกว่า เพราะถ้าไม่ทำลายตั้งแต่วันนี้ธรรมเนียมนี้ก็จะถูกยึดถือต่อไปอีก การแต่งงานกับภรรยาของบุตรบุญธรรมที่ได้หย่าร้างกันแล้วเป็นสิ่งที่อนุญาตแต่สมมุติศาสดาไม่ทำตามคำเสนอของอัลลอฮฺ(ซบ) หลังจากนี้ก็ไม่มีใครกล้าทำเพราะท่านศาสดาก็ยังไม่ทำเลย อัลลอฮฺ(ซบ)ตรัสว่าเจ้าอย่ากลัวว่าใครจะตกมุรตัด อัลลอฮฺ(ซบ)เท่านั้นที่ควรจะกลัว ซึ่งการกลัวในลักษณะนี้กลับชี้ให้เห็นถึงความเข็มแข้งของความศรัทธา และไม่ได้หมายถึงการเกรงกลัวต่อมนุษย์ 

 10 ซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ โองการที่ 43

عَفَا اللَّهُ عَنكَ لِمَ أَذِنتَ لَهُمْ ‏

“อัลลอฮฺได้อภัยให้กับเจ้าในสิ่งที่เจ้าได้อนุมัติให้กับพวกเขา”

    โองการนี้คือเมื่อท่านศาสดาได้ประกาศสงครามฮุนัยนฺ มุสลิมจำนวนหนึ่งที่มีความอ่อนแอทางศรัทธาและพวกมุนาฟิกไม่ต้องการที่จะออกสงคราม ซึ่งสงครามนี้ต้องเดินทาไกล มีสาวกกลุ่มหนึ่งได้ออกมายังบ้านท่านศาสดา(ศ็อล)ได้พูดว่า โอ้รอซูลุลลอฮฺ อินทผาลัมของเราองุ่นของเรากำลังสุกถ้าเราออกสงครามไม่มีใครอยู่ดูแลสวนของเรา ท่านศาสดาก็อนุญาตให้ไปเก็บอินทผาลัมไปเก็บองุ่นก่อนไม่ต้องออกสงครามในครั้งนั้น ศาสดาอนุญาตให้อยู่ในเมือง เพราะท่านศาสดากลัวว่าพวกเขาจะตกมุรตัด ท่านศาสดา(ศ็อล)รักษาศาสนาเอาไว้ก่อนถ้าศาสดาไม่เปิดช่องให้ก่อนก็จะทำให้พวกเขาตกมุรตัด และเป็นเหตุผลที่ดีเพื่อที่จะรักษาอีหม่านความศรัทธาของพวกเขา แต่ในขณะที่ศาสดาอนุญาตแต่อัลลอฮฺ(ซบ)ไม่เห็นด้วย อัลลอฮฺ(ซบ)ประทานโองการลงมาดูเหมือนกับเป็นการตำหนิท่านศาสดา(ศ็อล)

และอีกโองการหนึ่ง ซูเราะฮฺอัตตะรีม โองการ 1

 يَأَيهَُّا النَّبىِ‏ُّ لِمَ تحَُرِّمُ مَا أَحَلَّ اللَّهُ لَكَ  تَبْتَغِى مَرْضَاتَ أَزْوَاجِكَ  وَ اللَّهُ غَفُورٌ رَّحِيم‏

“โอ้ศาสดาทำไมทำให้มันเป็นสิ่งต้องห้ามในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงอนุมัติให้แก่เจ้าเพื่อแสวงหาความพึงพอใจบรรดาภริยาของเจ้าหรือ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยผู้ทรงเมตตา”

  เรื่องราวคือท่านศาสดาได้ไปรับประทานน้ำผึ้งที่บ้านซัยนับภริยาคนหนึ่งของท่าน การกินน้ำผึ้งของท่านศาสดาครั้งนี้รู้ไปถึงหูท่านหญิงอาอิชะฮฺและท่านหญิงฮับเซาะฮฺ สองคนนี้ก็ได้ก่อกวนท่าศาสดา(ศ็อล) สร้างความไม่พึงพอใจและอิจฉาที่ท่านศาสดาไปกินน้ำผึ้งที่บ้านซัยนับ และได้สร้างความลำบากใจและรำคาญใจแก่ท่านศาสดา ท่านศาสดาจึงตัดสินใจว่าต่อไปนี้จะไม่กินน้ำผึ้งอีก  อัลลอฮฺ(ซบ)ทรงประทานโองการมาว่าพระองค์ไม่เห็นด้วยไม่ต้องแคร์ไม่ต้องเอาใจพวกนาง ทำไมทำให้น้ำผึ้งเป็นสิ่งต้อห้ามทั้งที่มันเป็นอนุญาตแก่เจ้า โองการนี้ประทานลงมาเพื่อตำหนิท่านศาสดา ดังนั้นเมื่ออิศมัตของท่านศาสดานั้นสูงกว่าการทำผิด อิศมัตของท่านศาสดาทั้งในเรื่องของความรู้ก็มีความบริสุทธิ์ อะไรคือปรัชญาของโองการดังกล่าว ท่านศาสดา(ศ็อล)ไม่ต้องการให้เกิดการเยาะเย้ยเพราะการเยาะเย้ยท่านศาสดาก็จะทำให้เป็นมุรตัด ท่านศาสดาบอกกับสองคนดังกล่าวให้หยุดเยาะเย้ยถ้าพวกเจ้าสัญญาว่าจะหยุดฉันก็จะไม่กินน้ำผึ้งอีกต่อไป

    คำตอบคือ จากโองการทั้งสองคือเพราะท่านศาสดารักประชาชาติของท่านเป็นอย่างมาก โองการในลักษณะนี้อัลลอฮฺ(ซบ)ต้องการที่จะบอกว่าศาสดาองค์นี้รักประชาติของท่านมากที่สุดแม้แต่บางสิ่งบางอย่างที่อัลลอฮฺ(ซบ)มีความเข็มงวดเด็ดขาดในบางเรื่อง ท่านศาสดาก็ยังรั้งไว้ยังดึงไว้เพื่อต้องการให้เกิดผลดีกับประชาชาติของท่าน (ยกเว้นในกรณีที่อัลลอฮฺ(ซบ)ไม่อนุมัติไม่อนุญาต) โองการในลักษณะนี้ไม่ได้เป็นการตำหนิแต่เป็นการชมทางอ้อม ซึ่งเรียกว่าตามสำนวนไทยคือ “ติเพื่อชม” ชมโดยผ่านการติแต่เป็นการชม บางครั้งเพื่อที่จะรักษาความศรัทธาของมนุษย์เอาไว้จึงยอมไม่ให้ออกสงคราม บางครั้งเพื่อที่จะรักษาความศรัทธาของภรรยาเอาไว้จึงยอมไม่กินน้ำผึ้ง อัลลอฮฺ(ซบ)ต้องการที่จะบอกว่าพวกเจ้าโชคดีสักขนาดไหนที่มีศาสดาแบบนี้ ซึ่งบางสิ่งบางอย่างพระองค์จะลงโทษแต่ศาสดาได้ยับยั้งไว้ มีศาสดาองค์นี้ค่อยช่วยไว้ ทว่าหลังจากที่อัลลอฮฺ(ซบ)ประทานโองการดังกล่าวมา ท่านศาสดา(ศ็อล)ก็ไม่อนุญาตให้ใครหยุดสงครามอีก นอกจากบุคคลที่ได้รับการยกเว้น ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าโองการในลักษณะดังกล่าวลงมาเพื่อชมท่านศาสดาเพียงแต่บางโวหารนั้นเหมือนเป็นการติ

  ซูเราะฮฺอัชชุอารออฺ โองการ 3

لَعَلَّكَ بَاخِعٌ نَّفْسَكَ أَلَّا يَكُونُواْ مُؤْمِنِين‏

“บางทีเจ้า(มูฮัมหมัด)เป็นผู้ทำลายชีวิตของเจ้า จากการที่พวกเขาไม่เป็นผู้ศรัทธา”

   โองการนี้เมื่อท่านศาสดาออกไปเผยแพร่อิสลามแต่ชาวมักกะฮฺส่วนมากก็ยังคงปฏิเสธ ท่านศาสดากลับเสียใจและมีความโศกเศร้าที่ผู้คนปฏิเสธสัจธรรมอันยิ่งใหญ่ ทั้งๆที่สัจธรรมนั้นมีความชัดเจน แต่พวกเขาเลือกที่จะลงนรก ท่านศาสดาเป็นห่วงบางครั้งท่านศาสดากลับมากินไม่ได้นอนไม่หลับเพราะความเป็นห่วงประชาชาติของท่าน จนกระทั้งอัลลอฮฺ(ซบ)ได้ลงมาห้ามว่าไม่ต้องไปทุกข์ระทมถึงขนาดนี้ ซึ่งโองการนี้ก็เช่นกันลงมาห้ามท่านศาสดา แต่เห็นได้ชัดว่าเป้าหมายเพื่อที่จะชมเชย ชี้ให้เห็นถึงความเมตตาของท่านศาสดา

ซูเราะฮฺฏอฮา โองการ 1 

مَا أَنزَلْنَا عَلَيْكَ الْقُرْءَانَ لِتَشْقَى‏

“ฉันไม่ได้ประทานอัลกุรอานเล่มนี้มาเพื่อที่จะให้เจ้านั้นทุกข์ระทมโอ้มูฮัมหมัด”

   เนื่องจากว่าโองการที่ประทานลงมาเป็นสิ่งที่ยากสำหรับบางคนในการปฏิบัติ อัลกุรอานยิ่งลงมาท่านศาสดาก็ยิ่งโศกเศร้า อัลกุรอานยิ่งถูกประทานลงมาท่านศาสดาก็ยิ่งเศร้า เพราะท่านรู้ว่าคนจำนวนหนึ่งไปสามารถที่จะปฏิบัติได้ เนื่องจากโองการอัลกุรอานมีความสูงสงเป็นอย่างมากเป็นการยากที่จะอธิบายให้มนุษย์ได้รับรู้ได้เข้าใจถึงเป้าหมายและยอมรับได้ ยิ่งลงมามากเท่าไรท่านศาสดาก็ยิ่งเศร้ามาก จนอัลลอฮฺ(ซบ)บอกว่าไม่ต้องเศร้า เอาเท่าที่คนปฏิบัติตาม “เพราะเราไม่ได้ประทานอัลกุรอานมาเพื่อให้เจ้าทุกข์ระทม” ซึ่งเมื่อใคร่ครวญแล้วมันคือการติเพื่อชมเพื่อชี้ให้เห็นว่าศาสดาองค์นี้มีความรักความเมตตาต่อมนุษยชาติมากเพียงใด 

 

ขอขอบคุณ สถาบันศึกษาศาสนา อัลมะฮ์ดี (อ.)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม