เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

สองแนวความคิด สองคำจำกัดความ สองขั่วที่แตกต่าง

4 ทัศนะต่างๆ 04.3 / 5

สองแนวความคิด สองคำจำกัดความ สองขั่วที่แตกต่าง

 

ทัศนะแห่งคุณค่าแบบอิสลามที่เกี่ยวกับอารยธรรมและเกี่ยวกับโลกได้เป็นที่ชัดแจ้งขึ้นตามข้อเท็จจริงดังที่จะกล่าวต่อไป ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจไม่มากก็น้อยถึงการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน จะทำให้เข้าใจถึงลักษณะต่างๆ ของการปฏิวัติและลักษณะพิเศษตลอดจนถึงความขัดแย้งทั้งภายในและภายนอกประเทศที่กำลังก่อตัวผุดขึ้นมา

    สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อได้ทำการศึกษาถึงลักษณะต่างๆ ที่เด่นชัด ตลอดทั้งท่วงทำนองที่ปรากฏอยู่ในการปฏิวัติอันสูงส่งนี้ โดยผ่านการรู้จักอย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับพื้นฐานของแนวความคิดอิสลามตามแนวทางดังกล่าวนี้ อีกทั้งแนวความคิดในเรื่องเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งจะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจถึงเอกลักษณ์ทางด้านการเมืองและจิตวิทยาของการปฏิวัติอิสลามได้ชัดแจ้งขึ้น เพราะเหตุว่า ลักษณะดังกล่าวนี้ได้แฝงเร้นแทรกซึมอยู่ในหน่วยงานต่างๆ และฐานภาพต่างๆ ของการปฏิวัติการ รวมทั้งการ ญิฮาด ซึ่งเป็นการต่อสู้ดิ้นรน

    ทางด้านจิตวิญญาณและศาสนาตามแนวทางของพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวในการต่อต้านกลุ่มยะโสโอหังของโลก ซึ่งนำโดยจักรวรรดินิยมสหรัฐอเมริกา สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นที่เข้าใจได้และมองเห็นได้ก็ด้วยการพิจารณาอย่างถ้วนถี่เท่านั้น ยิ่งกว่านั้น พร้อมด้วยการเข้าใจอย่างลึกซื้งเกี่ยวกับโลก เกี่ยวกับอารยธรรมและคุณค่าต่างๆ แบบอิสลาม ในทั้งค่ายตะวันตกและค่ายตะวันออก ตลอดทั้งเหตุผลต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังรากเง่าของความขัดแย้งและการเผชิญหน้าอย่างถาวรที่ไม่อาจจะประนีประนอมกันได้ของมหาอำนาจทั้งสองค่ายที่แตกต่างกันนี้ นั่นก็คือ โลกวัตถุนิยมของค่ายตะวันตกและค่ายตะวันออกกับโลกวิญญาณแห่งอิสลาม สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นที่เข้าใจได้หากศึกษาพิจาณาโดยรอบด้าน

    ในด้านวรรณกรรมของการปฏิวัติอิสลาม ก็นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจอย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่ใช้ความพยายามในอันที่จะสรุปย่อและสร้างความแจ่มชัดให้เกิดขึ้นระหว่างความแตกต่างของโลกอิสลามกับค่ายอื่นๆ ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมแบบอิสลามก็สามารถที่จะสรุปย่อให้อยู่ในเพียงสองคำเท่านั้น นั่นก็คือ “ลัทธิวัตถุนิยม” และ “จิตวิญญาณ” ซึ่งนับเป็นความสำคัญที่จะต้องชี้แจงในสองประเด็นนี้

    อิสลามในที่นี้ หมายถึง ความสมบูรณ์แบบ และจุดสูงสุดของโลกแห่งความเชื่อพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ซึ่งเป็นศาสนาอันสูงส่งจากพระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้น ในหนังสือเล่มนี้อิสลามจึงไม่ถือว่ามีมาก่อนเหนือศาสนาอื่น ๆ แต่อิสลามเป็นจุดสุดยอดและความสมบูรณ์สูงสุดของศาสนาทั้งหมดเหล่านี้

    แม้ว่าความคิดที่เกี่ยวกับคำว่าอิสลามและความไม่ศรัทธาหรือคำว่าความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวกับลัทธิบูชาพระเจ้าหลายองค์ ทั้งสองคำนี้ก็ไม่เหมือนลักษณะของโลก ในด้านที่สรุปให้สั้นที่สุด ฉะนั้นแล้วคำเหล่านี้จึงยังไม่เป็นที่เข้าใจได้อย่างดีแก่ท่านผู้อ่านบางคนโดยที่ยังไม่ได้ให้คำจำกัดความเบื้องต้นและการอรรถาธิบายเพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้เกิดความเข้าใจโดยเฉพาะแก่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม

    ความหมายกว้างๆ ทั่วไปของคำว่าจิตวิญญาณและลัทธิวัตถุนิยม ซึ่งทุกคนย่อมเข้าใจได้

คำจำกัดความของคำว่าอารยธรรมจากทัศนะของอิสลาม

    ความพยายามทั้งมวลของมนุษย์ ตลอดทั้งการเคลื่อนไหวต่างๆ ตามทัศนะของคัมภีร์ อัล-กุรอาน และการดำรงอยู่ของมนุษย์แต่ละคน ตลอดทั้งการดำรงอยู่ของมนุษย์โดยส่วนรวมนั้น จะได้รับการพิจารณามีคุณค่าและถูกต้องก็ต่อเมื่อมนุษย์เหล่านั้นมุ่งหวังไปสู่ความสูงส่งและกระทำให้ถึง คุณค่าทางด้านศีลธรรม (1) อันสมบูรณ์ อันนี้นับเป็นมิติทางด้านจิตวิญญาณของมวลมนุษย์ซึ่งติดตามาด้วยการรู้จักควบคุมตนเอง (2) ร่างกายและวิญญาณ การเคลื่อนไหวเช่นนั้น นำไปสู่การกระทำที่ถูกต้องเที่ยงธรรม (3) และในที่สุดแล้วก็จะนำไปสู่ความใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ผลที่เกิดขึ้นซึ่งนับเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่งของระบบแห่งความคิดตามแนวทางอิสลามนั่นก็คือ การยกระดับจิตวิญญาณและด้านศีลธรรมให้สูงส่งขึ้นอันเป็นบ่อเกิดแห่งมาตรการทั้งปวง และเป็นที่มาของระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ในด้านการเมือง สังคม และกิจการทางด้านเศรษฐกิจ และเป็นที่มาของการเคลื่อนไหวทั้งในส่วนบุคคลและสังคม

    ในระบบดังกล่าวนี้ คุณค่าเป็นสิ่งที่ต้องมีมาก่อนที่จะก่อให้เกิดสภาพทางจิตวิญญาณอันสูงส่งและคุณค่าที่เลอเลิศแม้ว่าความเจริญมั่นคงและความก้าวหน้าทางด้านวัตถุจะได้รับการจัดสรรไว้แล้วโดยความเป็นปึกแผ่นและความจำเริญแห่งคุณค่าของความเป็นมนุษย์อันสูงส่งแล้วก็ตาม แต่มนุษย์ก็ยังคงมิได้เข้าถึงคุณค่าแห่งอุดมการณ์หรือยังมิได้ครอบครองสภาพของความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง ตามทัศนะนี้ มาตรการทั้งหมดในการที่จะนำมาเป็นเครื่องวัดอารยธรรมนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับระดับแห่งความสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณและอยู่ที่การครอบครองคุณสมบัติแห่งความเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุด การภักดีต่ออัลลอฮ ในความหมายที่แท้จริงแล้ว ก็คือ การขจัดแง่มุม

    ด้านจิตวิญญาณ เพราะเหตุที่ว่า วัตถุนิยมถือเอาความเจริญมั่นคั่งและความรํ่ารวยในทรัพย์สินเป็นมาตรการสุดท้ายของปัจเจกชนทั้งมวลและของการเคลื่อนไหว ตลอดทั้งความพยายามของสังคม การดำเนินการใดก็ตามที่มิได้มุ่งไปสู่การได้มาซึ่งวัตถุแล้ว การดำเนินการนั้นก็ถูกถือว่าล้มเหลวและเพ้อฝัน เพราะฉะนั้นตามทัศนะนี้ สหรัฐอเมริกาในปัจจุบันจึงได้รับการถือว่าเป็นประเทศที่เจริญที่สุดในโลกนี้ ในขณะที่อินเดีย, บังกลาเทศ, โซมาเลีย และประเทศอื่น ๆ ในอัฟริกาและในอาเซียยังอยู่ในสภาพที่ยังไม่เจริญ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเจริญน้อยมาก หรือเกือบจะป่าเถื่อน

    หากยึดถือตามมาตรการนี้แล้ว คนอเมริกันผิวดำและคนผิวดำชาวอัฟริกันก็ย่อมจะตํ่าต้อยด้วยอารยธรรมกว่าคนผิวขาว แต่ในขณะเดียวกัน คนผิวขาวที่ยากจนก็ได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้มีความเจริญน้อยกว่าคนผิวขาวที่รํ่ารวยและมีเกียรติ หากเรายึดถือการคิดเช่นนี้แล้ว เราก็จะต้องเชื่อว่าพวกยิวไซออนิสต์ที่คลั่งไคล้เชื้อชาติและเป็นอาชญากรนั้นก็ต้องเจริญกว่าชาวปาเลสไตน์และชาวเลบานอน แม้ว่าประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งอารยธรรมของบุคคลทั้งสองนั้น จะเต็มไปด้วยความเจริญและมั่งคั่งไปด้วยวัฒนธรรมที่ดีงามต่างๆ ก็ตาม

เปรียบเทียบระหว่างแนวความคิดตะวันตกและตะวันออก

    ในทัศนะของอิสลามนั้น เรื่องของการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุในทุกๆ ด้านนั้น ถือเป็นรอง สิ่งเหล่านั้นจะให้คุณค่าและความน่าเชื่อถือได้ก็ต่อเมื่อมันควบคู่กันไปกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านคุณค่าของความเป็นมนุษย์และคุณลักษณะอันลึกซึ้งแห่งมนุษยธรรมเท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิ่งเหล่านั้นจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าก็ต่อเมื่อได้ถูกนำไปร่วมกับการปฏิบัติที่เที่ยงธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดชีวิตที่บริสุทธิ์และความสงบสุขสำหรับมนุษยชนและมนุษยชาติเท่านั้น (4)

    สิ่งดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับระบบทางด้านวัตถุที่กําลังแผ่คลุมทั้งค่ายตะวันตกและค่ายตะวันออกอยู่ขณะนี้ นั่นเป็นเพียงการเพิ่มพูนขึ้นของผลิตผลซึ่งในตัวมันเองก็ถือว่าเป็นวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งของความพยายาม, ความอุตสาหะและการดิ้นรนขวนขวายของมนุษย์ ในทัศนะของอิสลามก็ให้การยอมรับความสมบูรณ์มั่งคั่งและความผาสุกอันเกิดจากวัตถุเหล่านี้ด้วยเช่นเดียวกัน มิได้ต่อต้านความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุไปโดยสิ้นเชิงแต่เป็นการต่อต้านทัศนะความคิดแบบวัตถุนิยมโดยสิ้นเชิงเท่านั้นเอง

    การเพิ่มพูนความเจริญมั่งคั่งโดยปราศจากพื้นฐานทางจิตวิญญาณนั้น ตามทัศนะอิสลามถือว่าเป็นการชะงักงันความก้าวหน้า, ความสมบูรณ์พูนสุขของมนุษย์

       อิสลามไม่แต่เพียงไม่พิจารณาว่าคนรํ่ารวยและคนที่สมบูรณ์มั่งคั่งกว่านั้นเจริญกว่าเท่านั้น, แต่ตรงกันข้าม ถ้าความมั่งคั่งนี้เป็นที่มาของการจำแนกแยกมนุษย์และก่อให้เกิดการกดขี่แก่คนยากจน แล้วอิสลามก็ถือว่าความมั่งคั่งนั้นเป็นการกดขี่ และไม่ให้การยอมรับมันความเจริญมั่นคั่งนั้นเป็นการกดขี่ และไม่ให้การยอมรับมันความเจริญมั่นคั่งนี้ ไม่เป็นผลก่อให้เกิดการจำแนกแยกมนุษย์แล้วความมั่งคั่งอันนั้นก็ไม่ก่อให้เกิดโทษ

    อย่างไรก็ตามแม้ว่าความมั่งคั่งนี้จะได้รับการยอมรับว่าถูกต้องตามกฎหมาย คนรํ่ารวยหรือสังคมที่รํ่ารวยแบบนั้นก็จะได้รับการตรวจสอบสภาพแห่งความเป็นอยู่ของความรํ่ารวยนั้นในท่ามกลางโลกของความยากจน, ความอดอยาก, ความกระวนกระวายและความน่ากลัว บุคคลเช่นนั้นหรือกลุ่มบุคคลเช่นนั้นก็มิได้รับความปิติชื่นชมใดๆ ในด้านการกุศลและคุณสมบัติที่ดีงามใดๆ (ซึ่งเราถือว่าเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรม) ยิ่งกว่านั้น ความต่อเนื่องแห่งสภาพเช่นนั้นคือ สภาพที่มีชีวิตอยู่อย่างมั่งคั่งรํ่ารวยในโลกที่หิวโหยนั้นจะเป็นเหตุที่จะนำมนุษย์ไปสู่สภาพที่ไร้ความรู้สึกอันจะนำไปสู่การได้รับการลงโทษ

    เราจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับคำว่าอารยธรรมในด้านความคิดเชิงปรัชญาในที่นี้ แต่นับว่าเพียงพอที่จะกล่าวว่า ในวรรณกรรมแบบอิสลามนั้น คำนี้โดยพื้นฐานแล้วมิค่อยใช้กันนัก เพราะคำว่าอารยธรรมนั้นมีรากที่มาของคำจากความหมาย การอยู่อาศัยในเมือง ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวความคิดแบบวัตถุนิยม อิสลามมิได้ให้คุณค่าแก่มันมากนักในด้านนี้หากจะพูดกันถึงความแตกต่างระหว่างแนวความคิดทั้งสอง

    เกี่ยวกับคำว่าอารยธรรมแล้วก็ต้องใช้หน้ากระดาษมากมายเหลือเกิน แต่ในที่นี้เราเพียงแต่จะชี้ให้เห็นว่าคำเหล่านี้เป็นกุญแจที่จะไขความหมายไปสู่การอธิบายลักษณะพิเศษของการปฏิวัติอิสลาม และรากเหง้าของความขัดแย้งของมันกับซาตานตัวใหญ่ซึ่งการเผชิญหน้ากับผู้ยโสโอหังนี้ที่นำโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาผู้กำลังสวาปามโลกนั้นมีรากเหง้าและสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    การเผชิญหน้าระหว่างสองแนวความคิดเกี่ยวกับอารยธรรมและระบบแห่งคุณค่าต่างๆ ซึ่งเป็นการแตกต่างกันในโลกทั้งสองนี้ กล่าวคือการ ญิฮาด เพื่อการเผยแพร่สาส์นอิสลามและการกระจายออกไปซึ่งระบบแห่งวุฒิปัญญาที่มุ่งไปสู่การปฏิวัติให้เป็นจริงซึ่งคุณค่าต่างๆ เหล่านั้น เพราะฉะนั้น ในเวทีที่แท้จริงของสมรภูมินี้ก็คือ ด้านวัฒนธรรม, ด้านวุฒิปัญญา และด้านอุดมการณ์ ทัศนะที่ประนีประนอมกันไม่ได้และรุกรบในสมรภูมินี้ก็เกิดมาจากธรรมชาติของอิสลามที่แอนตี้พวกที่ไม่นับถือพระเจ้า

    การเผชิญหน้ากับซาตานตัวใหญ่และผู้สวาปามโลกแห่งศตวรรษนี้ ซึ่งถือเป็นภารกิจหน้าที่ทางด้านสังคมแบบอิสลาม การขัดแย้งในด้านการเมืองนี้เป็นไปอย่างจริงจังและเป็นแบบปฏิวัติอย่างมาก ในขณะที่ในด้านการทหารนั้นหากจำเป็นแล้วเราอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายป้องกันตัวเสียมากกว่า การป้องกันแบบนี้หมายรวมไปถึงการสนับสนุนผู้ถูกกดขี่และผู้ยากไร้ทั่วโลก พร้อมกับส่งเสริมช่วยเหลือขบวนการปลดปล่อยทั้งหลายอีกด้วย

    เผชิญหน้าเพื่อป้องกันการดำรงอยู่, เกียรติภูมิและเอกราช ตลอดทั้งมนุษยสมบัติและทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งสิทธิต่างๆ ตามกฎหมายและสิทธิมนุษยชนของประเทศนี้เป็นธรรมดาอยู่เองว่า การเผชิญหน้านี้แตกต่างจากที่ได้กล่าวมาแล้วแต่เบื้องต้น นั่นก็คือ มันเป็นการป้องกันตนเอง และในเวลาเดียวกันก็ดำเนินการอย่างเต็มกำลังเมื่อต้องสูญเสียซึ่งสิทธิต่างๆ อันจะพึงได้รับ

    ธรรมชาติของการปฏิบัติการอย่างเต็มกำลังของการเผชิญหน้าเช่นนี้มิใช่เป็นความปรารถนาของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน แต่มันเป็นสิ่งที่ผู้รุกรานได้หยิบยื่นให้ซึ่งเป็นฝ่ายก่อการรุกรานก่อน เป็นต้นว่า การป้องกันทางด้านการทหารของอิหร่านเมื่อเผชิญหน้ากับการถูกรุกราน โดยกองกำลังของรัฐบาลอิรักในสมัยสงคราม 8 ปี ซึ่งสิ่งนี้ก็เกิดจากธรรมชาติที่แท้จริงของการป้องกันตัว

    ฉะนั้น เรามาถึงบทสรุปนี้ว่า การปฏิบัติการทางด้านการทหารและการใช้กำลังของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านนั้น การดำเนินการนั้นในกรณีที่จะทำการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสิทธิต่างๆ อันชอบธรรมและการปกป้องความปลอดภัย ตลอดทั้งบูรณภาพเหนือพรมแดน เท่าๆ กันกับพิทักษ์ประชาชนของประเทศ

เชิงอรรถ

(1) “ฉันถูกสั่งให้กระทำให้สมบูรณ์ซึ่งคุณค่าแห่งศีลธรรมและความประพฤติ” วจนะจากท่านศาสดา มุฮัมมัด (ซ็อล)

(2)  “แท้จริง ผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่สูเจ้า ณ ที่อัลลอฮนั้น คือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ของเขาให้ถึงพร้อมด้วยความระมัดระวังที่สุด” (อัล-กุรอานบทที่49 โองการที่ 13)

(3)  “ผู้ใดก็ตามที่กระทำความดี ไม่ว่าชายหรือหญิง และเขาเป็นผู้ที่มีความศรัทธาแล้ว, เราจะทำให้เขามีชีวิตอย่างมีความสุขโดยแน่นอนยิ่ง, และเราจะให้รางวัลแก่พวกเขาสำหรับสิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเขาได้กระทำ” (อัล-กุรอานบท 16 โองการที่ 97)

(4)  อัล-กุรอานบทที่ 16 โองการที่ 97

ที่มา : หนังสือธาตุแท้ ของ ชัยฏอน (มาร)

(บทความนี้สรุปจากหนังสือ “ธาตุแท้ของชัยฏอน (มาร)” ซึ่งเปิดเผยความเป็นมาประเทศสหรัฐอเมริกา และพัฒนาจากการเป็นประเทศหนึ่งในประชาคมมนุษยชาติ จนกลายเป็นมารร้ายที่คุกคามความสงบสุขของมนุษยชาติและสร้างความอยุติธรรม การกดขี่ และก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติอย่างมากมาย ซึ่งอิมามโคมัยนีได้กล่าวถึงธาตุแท้ของประเทศที่กลายเป็นมารตัวใหญ่นี้ไว้ ตั้งแต่กว่าสามทศวรรษที่แล้ว และปรากฏเป็นจริงในปัจจุบัน ซึ่งจะทยอยสรุปนำเสนอเป็นตอนสั้นๆ เพื่อสะดวกแก่การติดตามและเก็บข้อมูล)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม