โองการวิลายะฮ์
โองการวิลายะฮ์ [آية الولاية]
พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ตรัสไว้ซูเราะห์อัลมาอิดะฮ์ ว่า :
إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ ٱللَّهُ وَرَسُولُهُۥ وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱلَّذِينَ يُقِيمُونَ ٱلصَّلَوٰةَ وَيُؤْتُونَ ٱلزَّكَوٰةَ وَهُمْ رَٰكِعُونَ وَمَن يَتَوَلَّ اللَّهَ وَرَسُولَهُ وَالَّذِينَ ءَامَنُواْ فَإِنَّ حِزْبَ اللَّهِ هُمُ الْغَالِبُونَ
[5:55-56]ความจริงแล้ว ผู้มีอำนาจเหนือพวกพวกเจ้ามีเพียงอัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์และบรรดาผู้ศรัทธา ซึ่งดำรงการนมาซและบริจาคซะกาตในขณะโค้งรุกูฮ์ และผู้ใดที่ยอมรับอำนาจของ อัลลอฮ์ และศาสนทูตของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธานั้น แน่นอน พรรคของอัลลอฮฺ พวกเขาย่อมเป็นผู้ชนะเสมอ”
อิหม่ามอบี อิซฮาก อัษษะอ์ละบี(เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. 337) รายงานไว้ใน ตัฟซีร “อัล-กะบีร” โดยสายสืบผ่านไปถึง อะบูซัร อัล-ฆอฟฟารี ว่า :
ข้าพเจ้าได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)พูดสองเรื่อง ไม่เช่นนั้น ฉันก็จะงมงายทั้งสองเรื่อง ไม่เช่นนั้นฉันก็จะมืดบอดทั้งสองเรื่อง คือท่านกล่าวว่า
هذا اَمِیرُ البَرَرَهِ وَ قاتِلُ الکَفَرَهِ، مَخذُولٌ مَن خَذَلَهُ، مَنصُورٌ مَن نَصَرَهُ»؛
“อะลีนั้นเป็นหัวหน้าของคนดี และเป็นผู้สังหารผู้เนรคุณ ผู้ที่ช่วยเหลือเขาจะได้รับการช่วยเหลือ และผู้ที่บั่นทอนเขาก็จะได้รับการบั่นทอน”สำหรับข้าพเจ้านั้น วันหนึ่งได้ร่วมนมาซกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ได้มีคนขอบริจาคคนหนึ่งเข้ามาขอในมัสญิด แต่ไม่มีใครให้อะไรแก่เขาสักคนเดียว ส่วนอะลี อ. ขณะนั้นกำลังรุกูอ์อยู่ เขาได้ยื่นนิ้วก้อยของเขาซึ่งมีแหวนสวมอยู่ส่งไปให้ คนขอบริจาคก็ได้เข้ามา จนกระทั่งได้ถอดเอาแหวนจากนิ้วก้อยของท่านไป ดังนั้น ท่านนบี ศ. จึงวิงวอนขอต่ออัลลอฮ์ ซ.บ. ว่า
ข้าแต่อัลลอฮ์ แท้จริงมูซาพี่ชายข้า ได้เคยขอต่อพระองค์ว่า โอ้พระผู้อภิบาลของข้า ได้โปรดเผยจิตใจของข้าให้เข้าใจ และโปรดบันดาลให้ภารกิจของข้าสะดวกสำหรับข้า และโปรดคลี่คลายปมที่ปลายลิ้นของข้า ให้เขาทั้งหลายได้เข้าใจคำสอนของข้า และโปรดบันดาลให้ข้าได้มีผู้รับภารกิจจากคนในครอบครัวของข้า ฮารูน พี่ชายข้า ได้โปรดให้ความหนักแน่นแก่ภารกิจของข้าด้วยเพระเขา และโปรดให้เขามีส่วนร่วมในภารกิจของข้า เพื่อเราจะได้สดุดีสรรเสริญพระองค์ให้มากมาย และเราได้รำลึกถึงพระองค์ให้มากมาย แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ดูแลเราอยู่เสมอ
แล้วพระองค์ก็ทรงมีวะฮฺยูแก่เขา ศ. ว่า “แน่นอนยิ่ง ข้าได้มอบให้แก่เจ้าตามที่เจ้าขอแล้วโอ้มูซาเอ๋ย
ข้าแต่อัลลอฮ์ แท้จริงข้าเป็นบ่าวและเป็นนบีของพระองค์ ดังนั้น ได้โปรดเผยจิตใจของข้าให้กว้างขวาง และโปรดให้ภารกิจของข้าสะดวกสำหรับข้า และโปรดบันดาลให้ข้ามีผู้ร่วมภารกิจจากคนในครอบครัวของข้า นั่นคือ อะลี โปรดให้ภารกิจของข้ามั่นคงด้วยเพราะเขา”
อะบูซัรเล่าต่อไปว่า : ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ พอท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ จบคำพูดเท่านั้นเอง มะลาอิกะฮฺญิบรออีลก็ได้เสด็จลงมา พร้อมกับโองการนี้ ซึ่งมีใจความว่า
[5:55-56]ความจริงแล้วผู้มีอำนาจเหนือสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาซึ่งได้ดำรงการนมาซและบริจาคซะกาต ในขณะที่พวกเขาโค้ง(รุกูอ์) และผู้ใดที่ยอมรับอำนาจของอัลลออฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาเหล่านั้น แน่นอนพรรคของอัลลอฮฺ และพวกเขาย่อมเป็นผู้ชนะเสมอ
สำหรับชีอะฮฺ ไม่มีอะไรเป็นข้อขัดแย้งกันที่ว่า โองการนี้ถูกประทานลงมาในเรื่องของ อะลี บินอะบีฏอลิบ อ. โดยริวะยะฮฺที่มาจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)นั้น เป็นคำสอนที่ถูกยอมรับจากพวกเขาอยู่แล้ว ดังที่มีรายงานปรากฎอยู่ในหนังสือต่างๆหลายเล่มของชีอะฮ์ ยกตัวอย่างเช่น
1. บิฮารุล อันวาร ของท่านมัจญลิซี
2. อุษบาตุล-ฮุดา ของท่านฮุรรุล-อามิลี
3. ตัฟซีร อัล-มีซาน ของ อัลลามะฮฺ เฏาะบา เฏาะบาอี
4. ตัฟซีร อัล-กาชิฟ ของท่านมุฮัมมัด ญะวาด อัล-มุฆนียะฮฺ
5. อัล- เฆาะดีร ของอัลลามะฮฺ อัล-อามินี (และท่านอื่นๆอีกมาก)
ขณะเดียวกันนักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺกลุ่มหนึ่ง ก็ได้รายงานว่าโองการนี้ถูกประทานลงมาในเรื่องของท่าน อะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) ซึ่งข้าพเจ้าจะกล่าวถึงเฉพาะกับนักปราชญ์สายตัฟซีรเท่านั้น
1. ตัฟซีร อัล-กิชาฟ ของท่านซะมัคซะรี เล่ม 1 หน้า 649
2. ตัฟซีร อัฏ-ฏ็อบรี เล่ม 6 หน้า 288
3. ซาดุล-มะซีร ฟีอิ้ลมิ้ลตัฟซีร ของอิบนุเญาซี แล้ว 2 หน้า 383
4. ตัฟซีร อัล-กุรฏฺบี เล่ม 6 หน้า 219
5. ตัฟซีร ฟัครุรรอซี เล่ม 12 หน้า 26
6. ตัฟซรี อิบนุกะซีร เล่ม 2 หน้า 71
7. ตัฟซีร อัน-นุซฟี เล่ม 1 หน้า 289
8. ชะวาฮิดุต-ตันซีล ของฮัซกานี อัน-ฮะนาฟี เล่ม 1 หน้า 161
9. อัด-ดุรรุล-มันซูร ของท่านซะยูฏี เล่ม 2 หน้า 293
10. อัซบาบุล-นุซุล ของอิมามอัล-วาฮิดี หน้า 148
11. อะฮฺกามุล-กุรอาน ของท่านญัศศอศ เล่ม 4 หน้า 102
12. อัต-ตัซฮีล ลิอุลูมิต-ตันซีล ของท่านกัลบีเล่ม 1 หน้า 181
ที่ข้าพเจ้ายังมิได้กล่าวถึงในที่นี้ ยังมีอีกมากมายจากนักปราชญ์ อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ที่มีความเชื่อตรงกันกับนักปราชญ์ชีอะฮฺว่าโองการนี้ถูกประทานมาในเรื่องอัล-วิลายะฮฺของท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ อ. เช่น
อิบนิ กะซีร ดะมิชกี ซะลาฟีย์
عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ: خَرَجَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِلَى الْمَسْجِدِ وَالنَّاسُ يُصَلُّونَ بَيْنَ رَاكِعٍ وَسَاجِدٍ وَقَائِمٍ وَقَاعِدٍ، وَإِذَا مِسْكِينٌ يَسْأَلُ، فَدَخَلَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَقَالَ: «أَعْطَاكَ أَحَدٌ شَيْئًا؟» قَالَ: نَعَمْ. قَالَ «مَنْ؟» قَالَ: ذَلِكَ الرَّجُلُ الْقَائِمُ. قَالَ «عَلَى أَيِّ حَالٍ أَعْطَاكَهُ؟» قَالَ: وَهُوَ رَاكِعٌ، قَالَ «وَذَلِكَ عَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ» . قَالَ: فَكَبَّرَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عِنْدَ ذَلِكَ وَهُوَ يَقُولُ وَمَنْ يَتَوَلَّ اللَّهَ وَرَسُولَهُ وَالَّذِينَ آمَنُوا فَإِنَّ حِزْبَ اللَّهِ هُمُ الْغالِبُونَ وَهَذَا إِسْنَادٌ لَا يُفْرَحُ بِهِ.
القرشى الدمشقی، إسماعیل بن عمر بن کثیر ابوالفداء (متوفای774هـ)، تفسیر القرآن العظیم، ج 2 ص 72 ، ناشر: دار الفکر – بیروت – 1401هـ
อันซอรี กัรฎูบีย์
وَقَالَ فِي رِوَايَةٍ أُخْرَى: نَزَلَتْ فِي عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ، وَقَالَهُ مُجَاهِدٌ وَالسُّدِّيُّ، وَحَمَلَهُمْ عَلَى ذَلِكَ قَوْلُهُ تَعَالَى: (الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكاةَ وَهُمْ راكِعُونَ) وَهِيَ: الْمَسْأَلَةُ الثَّانِيَةُ- وَذَلِكَ أَنَّ سَائِلًا سَأَلَ فِي مَسْجِدِ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَلَمْ يُعْطِهِ أَحَدٌ شَيْئًا، وَكَانَ عَلِيٌّ فِي الصَّلَاةِ فِي الرُّكُوعِ وَفِي يَمِينِهِ خَاتَمٌ، فَأَشَارَ إِلَى السَّائِلِ بِيَدِهِ حَتَّى أَخَذَهُ. قَالَ إِلْكِيَا الطَّبَرِيُّ: وَهَذَا يَدُلُّ عَلَى أَنَّ الْعَمَلَ الْقَلِيلَ لَا يُبْطِلُ الصَّلَاةَ، فَإِنَّ التَّصَدُّقَ بِالْخَاتَمِ فِي الرُّكُوعِ عَمَلٌ جَاءَ بِهِ فِي الصَّلَاةِ وَلَمْ تَبْطُلْ بِهِ الصَّلَاةُ. وَقَوْلُهُ:” وَيُؤْتُونَ الزَّكاةَ وَهُمْ راكِعُونَ” يَدُلُّ عَلَى أَنَّ صَدَقَةَ التَّطَوُّعِ تُسَمَّى زَكَاةً.، فَإِنَّ عَلِيًّا تَصَدَّقَ بِخَاتَمِهِ فِي الرُّكُوعِ، وَهُوَ نَظِيرُ قَوْلِهِ تَعَالَى:” وَما آتَيْتُمْ مِنْ زَكاةٍ تُرِيدُونَ وَجْهَ اللَّهِ فَأُولئِكَ هُمُ الْمُضْعِفُونَ”
الأنصارى القرطبی، ابوعبد الله محمد بن أحمد (متوفای671هـ)، الجامع لأحکام القرآن، ج6 ص221 ، ناشر: دار الشعب – القاهرة
ซิยูตี่ย์ นักตัฟซีรผู้ลือนาม บันทึกไว้ว่า
قوله تعالى إنما وليكم الله الآية أخرج الطبراني في الأوسط بسند فيه مجاهيل عن عمار بن ياسر قال وقف على علي بن أبي طالب سائل وهو راكع في تطوع فنزع خاتمه فأعطاه السائل فنزلت إنما وليكم الله وسوله الآية وله شاهد قال عبد الرازق حدثنا عبد الوهاب بن مجاهد عن أبيه عن ابن عباس إنما وليكم الله ورسوله الآية قال نزلت في علي بن أبي طالب وروى ابن مردويه عن وجه آخر عن ابن عباس مثله وأخرج أيضا عن علي مثله وأخرج ابن جرير عن مجاهد وابن أبي حاتم عن سلمة بن كهيل مثله فهذه شواهد يقوي بعضها بعضا
السیوطی، عبد الرحمن بن أبی بکر جلال الدین (متوفای911هـ)، لباب النقول ، ج1 ص93 ، دار النشر : دار إحیاء العلوم – بیروت