รุก่นนมาซ
รุก่นนมาซ
รุก่นนมาซ หมายถึง จำนวนของสิ่งที่เป็นวาญิบในนมาซ หากกระทำน้อยลงหรือเพิ่มมากขึ้นอย่างตั้งใจหรือหลงลืม จะทำให้นมาซเป็นโมฆะ ตามทัศนะที่เป็นที่รู้จักของบรรดานักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ ถือว่า รุก่นนมาซ มีดังนี้ เนียต กิยาม การกล่าวตักบีเราะตุลอิฮ์รอม รุกูอ์ และซัจญ์ดะฮ์ทั้งสอง
นิยามของรุก่น
รุก่น หมายถึง รากฐานและเสาหลักของสิ่งใดสิ่งหนึ่งและในการทำอิบาดัตตามหลักชัรอีย์ เรียก ส่วนหนึ่งที่กระทำน้อยหรือมากเกินอย่างตั้งใจหรือหลงลืมก็ตาม เป็นเหตุให้นมาซเป็นโมฆะ.(1) บางส่วนของนมาซ ฮัจญ์และอุมเราะฮ์ ถือว่า เป็นรุก่นของมันด้วยเช่นกัน(2)
รุก่นนมาซ
รุก่นนมาซ ตามทัศนะที่เป็นที่รู้จัก กล่าวคือ เนียต กิยาม ตักบีเราะตุลอิฮ์รอม รุกูอ์ และซัจญ์ดะฮ์ทั้งสอง. (3) ความหมายของเนียต คือ การทำนมาซด้วยเจตนากระทำเพื่ออัลลอฮ์และแสวงหาความใกล้ชิดต่อพระองค์ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า แรงจูงใจ(การตัดสินใจ) การนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปในสมองหรือการกล่าวด้วยคำพูดทางภาษา ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นของการเนียต (4) วัตถุประสงค์ของกิยาม หมายถึง การลุกขึ้นยืนในขณะที่กล่าวตักบีเราะตุลอิฮ์รอม และเช่นเดียวกัน กิยามที่เชื่อมไปยังรุกูอ์ กล่าวคือ ในสภาพที่ยืนตรงแล้วทำการรุกูอ์.(5) นักวิชาการด้านนิติศาสตร์บางคนในอดีต ถือว่า การหันหน้าไปทางทิศกิบละฮ์อย่างเป็นอิสระ เป็นหนึ่งในรุก่นของนมาซเช่นกัน (6) และบางคน ถือว่า การกิรออัตในนมาซ เป็นรุก่นด้วยเช่นเดียวกัน.(7)
การเพิ่มขึ้นและน้อยลงของรุก่น
ทัศนะที่เป็นที่รู้จักของบรรดานักวิชาการด้านนิติศาสตร์ ถือว่า การเพิ่มขึ้นและการน้อยลงอย่างตั้งใจหรือหลงลืมในรุก่นนมาซ ทำให้นมาซเป็นโมฆะ (8) แต่ทว่า บางคนเชื่อว่า การเพิ่มขึ้นอย่างหลงลืม ไม่ทำให้นมาซเป็นโมฆะ (9) ผู้ประพันธ์หนังสืออุรวะตุลวุษกอ ไม่ถือว่า การเพิ่มขึ้นของเนียต หมายถึง การตั้งเจตนาหลายครั้งในนมาซ ทำให้นมาซเป็นโมฆะ (10) ตามคำกล่าวของนักวิชาการด้านนิติศาสตร์ หากว่าผู้นมาซลืมรุก่นหนึ่งรุก่นใด ตราบที่เขายังไม่เข้าไปยังรุก่นอื่น จำเป็นที่เขาจะต้องกระทำมันอีกครั้ง.(11)