เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิมามัต (ความเป็นผู้นำ) ตอนที่ 1

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิมามัต (ความเป็นผู้นำ) ตอนที่ 1


    พื้นฐานเบื้องต้นที่จะนำไปสู่ความเข้าในเรื่องอิมามัตคือการทำความรู้จักอิสลามในแง่มุมหนึ่งก่อนจึงจะเห็นถึงความจำเป็นในการมีอิมามัต หลังจากที่ท่านศาสดาอพยพสู่เมืองมะดีนะฮฺ อิสลามมีอยู่สองยุค
คืออิสลามในมักกะฮฺและอิสลามในมะดีนะฮฺ
ทั้งสองยุคมีความแตกต่างทางด้านโครงสร้าง อิสลามในมักกะฮฺเป็นเวลาสิบสามปีเป็นอิสลามเบื้องต้นที่พูดถึงการู้จักพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง อิสลามที่ปฏิเสธการทำชีริก การบูชาเจว็ด พัฒนาจิตวิญญาณ ในยุคนั้นไม่มีบทบัญญัติ
 โองการเกี่ยวกับการนมาซไม่ได้ลงมาในมักกะฮฺ โองการเกี่ยวกับการถือศีลอดไม่ได้ถูกประทานลงมาในมักกะฮฺ โองการเกี่ยวกับการทำญิฮาดไม่ได้ถูกประทานลงมาในมักกะฮฺ บทบัญญัติเกือบทั้งหมดไม่ได้ถูกประทานลงมาในมักกะฮฺ อิสลามในมักกะฮฺคือการเชิญชวนเข้าสู่การการศรัทธาและปฏิเสธพระเจ้าหลายองค์
แต่หลังจากการสู่มะดีนะฮฺอิสลามก็เข้าสู้อีกโครงสร้างหนึ่ง บทบัญญัติต่างๆได้ถูกประทานลงมาในยุคนี้ โองการต่างๆเกี่ยวกับการนมาซถือศีลอด ทำสงคราม การแต่งกายการสวมฮิญาบได้เริ่มถูกประทานลงมา ซึ่งเรียกซูเราะฮฺเหล่านี้ว่าซูเราะฮฺมาดานี
อิสลามภาคสมบูรณ์ถูกทำให้สมบูรณ์ที่มะดีนะฮฺ และด้วยความเสียสละของชาวมูฮาญิรีน(ชาวมักกะฮฺ)และชาวอันศอร (ชาวมะดีนะฮฺ) ทั้งสองเป็นผู้มีเกียรติ ความมีเกียรติของชาวมูฮาญิรีนคือการเสียสละทิ้งบ้านเรือนโดยไม่กลับไปอีกในหนทางอัลลอฮฺ(ซบ) เพื่อไปสู่การภักดีอัลลอฮฺ(ซบ) เพื่อไปสู่บทบัญญัติของพระองค์ ทิ้งสวนไรนาบ้านเรือน เกียรติของชาวอันศอรคือ ช่วยเหลือในหนทางของอัลลอฮฺ(ซบ) ตอนรับแขกของออัลลอฮฺ(ซบ) ซึ่งเป็นแขกที่ไม่มีอะไรเหลือ ช่วยเหลือถึงขนาดที่ว่าผู้ที่บ้านสองหลังก็จะมอบให้กับชาวมูฮาญิรีน บางครั้งผู้ที่มีภรรยามากกว่าหนึ่งคนก็ทำการหย่าร้างให้ไปเป็นภรรยาแก่ชาวมูฮาญิรีน
เพราะชาวมูฮสญิณีนบางคนภรรยาไม่ได้ตามมาด้วย บางคนภรรยายังเป็นการเฟรอยู่ บางคนยังมาไม่ได้ หลังจากช่วงเวลาหนึ่งที่ศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล)และบรรดาสาวกจำนวนหนึ่งไปถึงมะดีนะฮฺท่านศาสดาก็ได้สถาปนาชุมชนมุสลิมในเบื้องต้นขึ้นมาและนำสู่สังคมอิสลามหลังจากนั้นบทบัญญัติต่างๆก็ค่อยๆถูกประทานลงมา บทบัญญัติเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล เกี่ยวกับเศรษฐกิจ กฎระเบียบสังคมก็ได้ถูกประทานลงมา การกำชับความดีความชั่ว เรื่องของฮิญาบเมื่อเป็นสังคมมุสลิมหญิงมุสลิมะฮฺถ้าจะปรากฏตัวในสังคมต้องแต่งกายให้เรียบร้อยต้องใส่ฮิญาบ และสุดท้ายบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องสงครามก็ถูกประทานลงมา เมื่อถูกรุกรานบทบัญญัติเกี่ยวกับการญิฮาดและรายละเอียดเกี่ยวกับการญิฮาด
และสุดท้ายเมื่อเป็นสังคมที่เข็มแข้งแล้วบทบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองก็ถูกประทานลงมา กฎหมาย การเมือง การสงครามมีทุกสิ่งทุกอย่างอย่างสมบูรณ์ได้ถูกประทานลง และท่านศาสดาก็ได้ตั้งรัฐอิสลามขึ้น ภายใต้บทบัญญัติที่ถูกประทานลงมา ท่านศาสดาก็ใช้มัสยิดนาบาวีเป็นศูนย์กลางในการปกครอง ทั้งเรื่องอิบาดัต การปกครอง ตัดสินความ วางแผนสงคราม ท่านศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล)ใช้มัสยิดในการบัญชาการ อิสลามในมดีนะฮฺก็เริ่มเป็นอิสลามแห่งรัฐการปกครองแบบอิสลาม เป็นอิสลามที่มีระบบระเบียบ
 ซึ่งแตกต่างกับศาสดาอื่นๆที่อาจไม่ได้มีรัฐการปกครอง ท่านศาสดามูฮัมหมัดไม่มีราชวัง ไมมีธรรมเนียม แต่ท่านใช้มัสยิดเพื่อประโยชน์ทั้งดุนยาและอาคิเราะฮฺ การเผยแพร่สาส์น การอิบาดัต ทั้งหมดใช้ศูนย์กลางคือมัสยิด เมื่อมะดีนะฮฺเป็นศูนย์กลางการปกครองของอิสลาม มุสลิมทั้งหมดก็มีหน้าที่ฏออัตปฏิบัติตามท่านศาสดา และรัฐที่สมบูรณ์จะเกิดได้ก็ต้องเมื่อมีอำนาจอย่างสมบูรณ์ อำนาจอย่างสมบูรณ์ก็คือทุกคำสั่งจะต้องได้รับการปฏิบัติตาม และในช่วงเวลานั้นโองการต่างๆที่มาสนับสนุนการปกครองก็ถูกประทานลงมา โองการเกี่ยวกับหน้าที่ของมุสลิมที่มีต่อศาสดา โองการเกี่ยวกับการฏออัตต่อศาสดา การฏออัตทุกเรื่องทุกรูปแบบทุกหัวข้อถูกประทานลงมา เช่นในซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน โองงการที่ 32
قُلْ أَطِيعُواْ اللَّهَ وَ الرَّسُولَ  فَإِن تَوَلَّوْاْ فَإِنَّ اللَّهَ لَا يحُِبُّ الْكَافِرِين‏
   “จงกล่าว(มูฮัมหมัด)จงฏออัต(ปฏิบัติตาม)ต่ออัลลอฮฺและรอซูลและถ้าพวกเจ้าปฏิเสธผินหลังให้ แท้จริงอัลลอฮฺไม่รักบรรดาผู้ปฏิเสธ ”
   โองการดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่ากาเฟรไม่ใช่แค่บุคคลที่ไม่เชื่ออัลลอฮฺ วันกิยามัต การไหว้เจว็ด แต่ในโองการนี้กาเฟรยังหมายถึงคือบุคคลที่ไม่ฏออัตต่อท่านศาสดา ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการฏออัต
 ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน โองการที่ 132
وَ أَطِيعُواْ اللَّهَ وَ الرَّسُولَ لَعَلَّكُمْ تُرْحَمُون‏
“และพวกเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ เผื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความเมตตา”
ซูเราะฮฺอันนิซาอฺ โองการที่ 12 13
 تِلْكَ حُدُودُ اللَّهِ  وَ مَن يُطِعِ اللَّهَ وَ رَسُولَهُ يُدْخِلْهُ جَنَّتٍ تَجْرِى مِن تَحْتِهَا الْأَنْهَرُ خَلِدِينَ فِيهَا  وَ ذَالِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيم‏
“เหล่านั้นและคือขอบเขตกฎหมายของอัลลอฮฺและผู้ใดที่เชื่อฟังอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์แล้วพระองค์จะทรงให้เขาเข้าสรวงสวรรค์ซึ่งมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล้างของมัน โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาลและนั้นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่”
    โองการก่อนหน้านี้พูดถึงเรื่องมรดกเรื่องกฎหมายมรดก นั้นคือกฏหมายของออัลลอฮฺและผู้ใดที่ปฏิบัติตามกฎหมายนี้ เขาจะได้เข้าสู่สรรค์ที่มีตาน้ำไหลผ่าน และนี้คือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ความสำเร็จที่ยิ่งไม่ใช่แค่ได้ขึ้นสรรค์แต่คือการได้ปฏิบัติตามรอซูล สังคมที่เข็มแข้งอย่างสมบูรณ์ได้เมื่อสังคมนั้นได้ปฏิบัติตามอัลลอฮฺ(ซบ)และรอซูลอย่างแท้จริง
ซูเราะฮฺอันนิซาอฺ โองการที่ 14
وَ مَن يَعْصِ اللَّهَ وَ رَسُولَهُ وَ يَتَعَدَّ حُدُودَهُ يُدْخِلْهُ نَارًا خَلِدًا فِيهَا وَ لَهُ عَذَابٌ مُّهِين‏
“และผู้ใดฝ่าฟืนอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์และละเมิดขอลบเขตของพระองค์แล้วไซร้พระองค์ก็จะทรงให้เขาเข้านรกโดยที่เขาจะอยู่นั้นตลอดกาลและเขาจะได้รับการลงโทษอันอัปยศ”
    ผลของผู้ที่ละเมิดกฎหมายของพระองค์ ผู้ที่ใดที่ละเมิดกฎหมายของอัลลอฮฺ วันนั้นอิสลามมีรัฐแล้วในมาดีนะฮฺ มีกฎหมายมีระเบียบสังคมมีชารีอัตอย่างสมบูรณ์ ต้องปฏิบัติตามท่านศาสดาทุกอย่างแม้แต่เรื่องมรดก
ซูเราะฮฺอัลนิซาอฺ โองการที่ 69
وَ مَن يُطِعِ اللَّهَ وَ الرَّسُولَ فَأُوْلَئكَ مَعَ الَّذِينَ أَنْعَمَ اللَّهُ عَلَيهِْم مِّنَ النَّبِيِّنَ وَ الصِّدِّيقِينَ وَ الشهَُّدَاءِ وَ الصَّالِحِينَ  وَ حَسُنَ أُوْلَئكَ رَفِيقًا
“และผู้ใดที่เชื่อฟังฏออัตต่ออัลลอฮฺและรอซูล เขาจะได้อยู่กับบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺได้ทรงเมตตากับพวกเขามาแล้ว อันได้แก่บรรดาศาสดา บรรดาศิดดีกีน(ผู้ที่เชื่อโดยดัษฎี) บรรดาชุฮาดา(ผู้พลีชีวิตในสงคราม) และศอลีฮีน(ผู้ประพฤดี) และชนเหล่านี้แหละคือเพื่อนที่ดี”
   โองการที่เกี่ยวข้องกับการฏออัตถูกประทานในมะดีนะฮฺเป็นอย่างมาก
ซูเราะฮฺอันนิซาอฺ โองการที่ 80
مَّن يُطِعِ الرَّسُولَ فَقَدْ أَطَاعَ اللَّهَ  وَ مَن تَوَلىَ‏ فَمَا أَرْسَلْنَاكَ عَلَيْهِمْ حَفِيظًا
“ผู้ใดที่เชื่อฟังอัลลอฮฺและรฮซูลแน่นอนเขาได้เชื่อฟังอัลลอฮฺแล้ว และผู้ใดที่ผินหลังให้เราก็หาได้ส่งเจ้าไปในฐานะนเป็นผู้คุ้มครองพวกเขาไม่”
   บทบัญญัติแห่งการฏออัตถูกประทานลวงมาหลายรูปแบบ โองการนี้ให้ความหมายว่าการเชื่อฟังฏออัตอัตต่อรอซูลก็เท่ากับเขาฏออัตต่อออัลลอฮฺ(ซบ)
 ซูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 92
وَ أَطِيعُواْ اللَّهَ وَ أَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَ احْذَرُواْ  فَإِن تَوَلَّيْتُمْ فَاعْلَمُواْ أَنَّمَا عَلىَ‏ رَسُولِنَا الْبَلَاغُ الْمُبِين‏
“และพวกเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและจงเชื่อฟังรอซูลและพึงระมัดระวังไว้ด้วย แต่ถ้าพวกเจ้าผินหลังให้ก็พึงรู้ไว้เถิดว่าแท้จริงหน้าที่ของรอซูลของเรานั้นคือการประกาศอันชัดแจ้งเท่านั้น”
ซูเราะฮฺอัลอันฟาล โองการคที่ 46
وَ أَطِيعُواْ اللَّهَ وَ رَسُولَهُ وَ لَا تَنَزَعُواْ فَتَفْشَلُواْ وَ تَذْهَبَ رِيحُكمُ‏ْ  وَ اصْبرُِواْ  إِنَّ اللَّهَ مَعَ الصَّابرِِين‏
“และจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ และจงอย่าขัดแย้งกัน จำทำให้พวกเจ้าย่อท้อและทำให้ความเข้มแข็งของพวกเจ้าหมดไป และจงอดทนเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่กับบรรดาผู้ที่อดทน”
   จากโองการดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าสังคมที่ไมฏออัตต่อผู้นำจะเป็นสังคมที่พิการ อ่อนแอ มีแต่ความขัดแย้ง ไม่มีความมั่นคงใดๆ
ซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ โองการที่ 71
وَ الْمُؤْمِنُونَ وَ الْمُؤْمِنَاتُ بَعْضُهُمْ أَوْلِيَاءُ بَعْضٍ  يَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَ يَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنكَرِ وَ يُقِيمُونَ الصَّلَوةَ وَ يُؤْتُونَ الزَّكَوةَ وَ يُطِيعُونَ اللَّهَ وَ رَسُولَهُ  أُوْلَئكَ سَيرَْحَمُهُمُ اللَّهُ  إِنَّ اللَّهَ عَزِيزٌ حَكِيم‏
“และบรรดาผู้ศรัทธาชายและบรรดาผู้ศรัทธาหญิงนั้นบางส่วนของพวกเขาเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบางส่วน ซึ่งพวกเขาจะใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามและห้ามปรามในสิ่งที่ไม่ชอบ และพวกเขาจะดำรงไว้ซึ่งการนมาซและการจ่ายทาน และภักดี(ฏออัต)ต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ ชนเหล่านี้แหลอัลลอฮฺจะทรงเมตตาแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพผู้ทรงปรีชาญาณ”

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม