อิมามัต (ความเป็นผู้นำ) ตอนที่ 6
อิมามัต (ความเป็นผู้นำ) ตอนที่ 6
เงื่อนไขของความเป็นผู้ในทัศนะของชีอะหฺ
เกิดความชัดแย้งอย่างมากมายภายหลังการจากไปของท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล) ทั้งเรื่องการเมืองการปกครองแม้กระทั้งเรื่องศาสนาโดยตรงเรื่องการอรรถาธิบายอัลกุรอานก็เกิดความขัดแย้งกัน การรายงานฮาดิษ การออกฮูกุ่ม เรื่องอากีดะฮฺความศรัทธาเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ส่วนทางด้านการเมืองนั้นมีความชัดแจ้งเกือบจะมีการฆ่าฟันกัน เมื่อคอลีฟะฮฺคนที่หนึ่งขึ้นปกครองก็มีศอฮาบะฮฺก(สาวก)กลุ่มหนึ่งไม่ยอมรับ ตัวอย่างหนึ่งคือมาลิก อิบนิ มุนีเราะฮฺ ซึ่งอาศัยอยู่ที่เยเมน ไม่ยอมรับคอลีฟะฮฺคนที่หนึ่งมีขัดแย้งกันถึงขั้นที่ท่านอบูบักรฺส่งกองทัพไปรบและได้ฆ่าท่านมาลิก อิบนิ มุนีเราะฮฺ บรรดาศอฮาบะฮฺเริ่มฆ่ากันตั้งแต่ยุคแรก ส่วนเรื่องฟิกฮฺเกิดมัสฮับฟิกฮฺขึ้นมาถึง 120 มัสฮับซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้มีแค่ 4 มัสฮับเหมือนที่รู้กันโดยทั่วไป มาเหลือ 4 มัสฮับในสมัยยุคของคอลีฟะฮฺอับบาสียะฮฺได้สั่งห้ามเผยแพร่มัสฮับอื่น เมื่อเราเข้าไปศึกษามัสฮับทั้ง 4 แล้วก็พบความขัดแย้งกัน มีกวีหนึ่งกล่าว่าว่า ถ้าถามฉันว่าฉันนับถือมัสฮับใดฉันจะไม่บอกว่าฉันนับถือมัสฮับใด เพราะถ้าฉันบอกว่าฉันนับถือมัสฮับชาฟีอี พวกท่านก็จะบอกกับฉันว่า พวกเจ้าแต่งงานกับลูกสาวตัวเองได้ อิมามชาฟีอีมีคำฟัตวาว่าถ้าผู้ชายคนหนึ่งไปทำซินาได้ลูกมาเป็นผู้หญิง ผู้ชายคนนั้นสามารถที่จะแต่งงานกับผู้หญิงคนนั้นได้ ทั้งที่เป็นเรื่องที่ผิดหลักศาสนา ถ้าฉันบอกว่าฉันนับถือมัสฮับมาลีกี ท่านก็กล่าวกับฉันว่า พวกท่านกินสุนัขได้เพราะอิมามมาลีกีฟัตวาว่ากินสุนัขได้ ถ้าฉันบอกว่าฉันนับถือมัสฮับฮัมบาลี ท่านก็จะบอกฉันว่าท่านเชื่อว่าอัลลอฮฺ(ซบ)นั้นรูปร่าง ถ้าฉันบอกกับท่านว่านับถือมัสฮับฮานาฟี ท่านก็จะกล่าวกับฉันว่า ท่านได้เป็นพวกที่ทำให้สุรานั้นเป็นฮาลาล ความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในเรื่องบทบัญญัติ และในเรื่องของอะกีดะฮฺความศรัทธาก็เช่นเดียวกัน หลังการจากไปของท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)มีความขัดแย้งกันอย่างมากมายเป็นความขัดแย้งที่ไม่สามารถหาบทสรุปได้ สิ่งเหล่านี้เป็นที่ยืนยันว่าประชาชาติอิสลามต้องมีผู้ชี้นำที่จะต้องมาหยุดปัญหาต่างเหล่านี้ ถ้าไม่สามารถหยุดได้ ก็ชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของระบบศาสดาด้วยเช่นกัน เพราะการส่งศาสดาลงมาไม่ได้นำมนุษย์ไปสู่เป้าหมายได้ ไปไม่ถึงความสูงสุดในความเป็นมนุษย์ ความขัดแย้งเกิดขึ้นตั้งแต่วันแรก ท่านอิมามอาลี(อ)ไม่ยอมรับ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ไม่ยอม ศอฮาบะฮฺผู้ใกล้ชิด และศอฮาบะฮฺจำนวนหนึ่งในหัวเมืองต่าง ก็ไม่ยอมรับคอลีฟะฮฺคนที่หนึ่ง ดังนั้นถ้าสภาพเหล่านี้ยังคงดำรงอยู่โดยที่อัลลอฮฺ(ซบ)ไม่ได้แก้ไขใดๆ เป้าหมายในการส่งศาสดามาก็ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นต้องมีผู้นำที่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ และต้องแก้ไขปัญหานี้เสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ และผู้นำที่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์ ต้องเป็นผู้นำที่มีสามเงื่อนไขที่ชีอะฮฺยอมรับคือ เงื่อนไขแรกคือผู้นำคนนั้นต้องได้รับการแต่งตั้งจากพระองค์ เงื่อนไขที่สองผู้นำต้องได้รับการชี้นำและได้รับความรู้จากพระองค์ เงื่อนไขที่สามผู้นำต้องเป็นผู้บริสุทธิ์จากความผิดพลาดทั้งมวลทั่งทางด้านความรู้และการปฏิบัติ เพราะถ้าหากไม่มีความบริสุทธิ์การตามที่สมบูรณ์ก็ไม่เกิดขึ้น ผลที่จะตามมาคือการแก้ปัญหาก็ไม่เกิดขึ้น จำเป็นต้องมีเงื่อนไขทั้งสาม การฏออัตเคารพภักดีก็จะเป็นการเคารพภักดีโดยดุษฎี คนที่อัลลอฮฺ(ซบ)ทรงแต่งตั้ง คนที่อัลลอฮฺ(ซบ)สั่งให้ฏออัต เมื่อมนุษย์ปฏิบัติตามผู้ใดอย่างดุษฎีแล้วก็หมายความว่าเขาผู้นั้นมีอำนาจอย่าสมบูรณ์(มุฏลัก) มีอำนาจในการปกครองอย่างสมบูรณ์ เมื่อชีอะหฺเสนอเงื่อนไขทั้งสามนั้น ในขณะเดียวกันฝ่ายซุนนีก็ยอมรับว่าผู้นำของเขานั้นไม่มีสามเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีชาวซุนนีคนใดที่กล่าวอ้างว่าท่านอบูบักรฺได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ(ซบ) ก็เท่ากับเป็นการยอมรับว่าการเป็นคอลีฟะฮฺของคอลีฟะฮฺเหล่านั้นยังไม่ได้รับความชอบธรรมจากอัลลอฮฺ(ซบ) และที่หนักไปกว่านั้นเขาเองก็ยอมรับถึงความผิดพลาดในการแต่งตั้งผู้นำของพวกเขา ตัวอย่างเช่นในบุคคอรีได้บันทึกว่า คำกล่าวของอุมัร อุมัรได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการเลือกตั้งท่านอบูบักรไว้ว่า ศอฮีฮฺบุคคอรี เล่ม 8 หน้า 26
كانت بيعت ابي بكر فلتة و قي الله شرّها
“การให้บัยอัตต่ออบูบักนั้นเป็นการบัยอัตที่รีบดเร่งไม่ได้คิดไม่มีความละเอียดอ่อนไม่มีการปรึกษาหารือใดๆ ไม่มีความชอบธรรม” อีกส่วนหนึ่งจากคำพูดของคอลีฟะฮฺที่สอง
وَخَالَفَ عَنَّا عَلِيٌّ وَالزُّبَيْرُ وَمَنْ مَعَهُمَا وَاجْتَمَعَ الْمُهَاجِرُونَ إِلَى أَبِي بَكْر
“อาลี(อ)และซุเบรได้คัดค้านเรา และบรรดาผู้ที่อยู่กับเขาก็คัดค้านด้วย บรรดาชาวมูฮาญีรีนได้ร่วมตัวกันเพื่อเพื่อจะต่อต้านอบูบักร”
เงื่อนไขที่หนึ่งไม่มีในระบบผู้นำของชาวซุนนี เงื่อนที่สองคือได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ(ซบ) คำต่างๆซึ่งท่านจะพูดอยู่บนมิมบัรเสมอๆ ซึงบันทึกอยู๋ในหนังสือ อธิบายนะฮฺญุลบาลาเฆาะฮฺของอิบนิอาบีฮาดีดชาวซุนนี เล่ม 1 ที่ หน้า 169
فلست بخیرکم و علی فیکم
“ฉันไม่ได้ดีที่สุดในหมู่พวกท่านในขณะที่อาลีอยู่ในหมู่พวกเจ้า”
และอีกคำพูดหนึ่งของท่าอบูบักร บันทึกอยู่ในหนังสือ อธิบายนะฮฺญุลบาลาเฆาะฮฺของอิบนิอาบีฮาดีดชาวซุนนี เล่ม 2 หน้าที่ 20
إن لي شيطانا يعتريني ! فإن إستقمت فأعينوني، وإن زغت فقوموني، وإن غضبت فجنبوني
“แท้จริงมีชัยตอนที่ได้หลอกล่อฉันอยู่ ถ้าฉันชี้นำตรงตามอัลกุรอานและซุนนะฮฺก็จงปฏิบัติตามฉัน แต่ถ้าฉันชี้นำขัดกับอัลกุรอานและซุนนะฮฺก็อย่าปฏิบัติตามฉัน จงแก้ไข ตักเตือนฉันด้วย”
คำพูดดังกล่าวของท่านอบูบักรฺเป็นการยอมรับว่าตัวเองไม่ได้มีความรู้อย่างสมบูรณ์ท่านอุมัรก็เช่นเดียวกันมีความผิดพลาดหลายครั้งหลายคราวในการปกครอง ครั้งหนึ่งมีหญิงคนหนึ่งมาสารภาพว่าได้ทำซินา อุมัรไดตัดสินทันทีว่าให้นำนางไปประหารชีวิต อิมาอาลี(อ)ก็อยู่ในเหตุการณ์ก็ได้ทักทวงว่า โอ้อุมัร การประหารทันทีนั้นไม่ถูกต้อง แบบอย่างของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ็อล)นั้นต้องให้นางนั้นไปคลอดบุตรก่อนแล้วค่อยมารับโทษ อุมัรก็กล่าวยอมรับ และคำพูดหนึ่งที่อุมัรพูดอย่างเสมอๆ อยู่ในศอฮีฮฺบุคคอรี เล่ม 4 หน้า 429
لولا علي لهلك عمر
“ถ้าหากไม่มีอาลีอุมัรคงพินาศไปแล้ว”
และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอย่างมากมาย และในอีกเหตุการณ์หนึ่ง ชายคนหนึ่งออกไปทำสงครามหรือค้าขายแล้วมีญุนุบ ได้ถามท่านอุมัรว่าฉันจะทำอย่างไรในขณะที่ฉันหาน้ำไม่ได้ อุมัรก็บอกว่าไม่ต้องนมาซ บุคคลที่อยู่ใกล้ก็ได้บอกว่าไม่ใช่อย่างนี้ เมื่อไม่มีน้ำก็ยังมีเรื่องตะยัมมุมอยู่และอุมัรก็ยอมรับ นี้คือผู้นำที่ไม่รู้แม้แต่เรื่องตะยัมมุม ความผิดพลาดเหล่านี้มีอย่างมากมาย และความผิดพราดที่สำคัญที่ยิ่งใหญ่ท่านอีมามอาลี(อ)ก็ได้เข้ามาแก้ไขให้ จึงเป็นที่มาของคำพูดที่ว่า “เลาลาอาลีละฮะละกะอุมัร” “”หากไม่มีอาลีแล้วอุมัรต้องพินาศอย่างแน่นอน ดังนั้นคอลีฟะฮฺคนที่หนึ่งและที่คนที่สองเป็นแบบนี้และคอลีฟะฮฺคนต่อๆไปจนจบบานิอุมัยยะฮฺและบานีอับบาสจะเป็นอย่างไรก็คงไม่ต้องพูดอะไรมาก เมื่อถึงคอลีฟะฮฺคนที่สามชาวเมืองมาดีนะฮฺลุกฮือมาล้อมบ้านและได้ฆ่า คนที่สี่คือมามุอาวียะฮฺ ต่อมาก็ยาซีด ก็ไม่ต้องพูดถึงแม่แต่ความเป็นมุสลิมก็ไม่หลงเหลือ นี้คือสิ่งที่นักประวัตศาสตร์ยอมรับ อุลามาอฺจำนวนมากยอมรับ ถ้าจะพูดถึงความชอบธรรมของคอลีฟะฮฺคนหนึ่งคนใดไม่มีคนใดเลยที่จะมีความชอบธรรมตามหลักศาสนาอย่างแท้จริง คอลีฟะฮฺที่ของชาวชีอะหฺยอมรับเท่านั้นที่มีคุณลักษณะทั้งสาม ได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ(ซบ) ได้รับการชี้นำความรู้จากอัลลอฮฺ(ซบ) และเป็นผู้บริสุทธิ์จากทุกมลทินทั้งหมดทั้งทางด้านความรู้และทั้งทางด้านความคิด
ดังนั้นถึงเรื่องของการพิสูจน์ทางด้านข้อกล่าวอ้างของชาวชีอะหฺ เงื่อนไขที่หนึ่งที่คอลีฟะฮฺของชีอะฮฺ เรื่องการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ(ซบ) หลักฐานคือเหตุการณ์ฆอดีรคุมซึ่งเหตุการณ์นี้มีหลักฐานยืนยันทั้งจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ็อล)การแต่งตั้งของท่านรอซูล หลังจากการลงมาของซูเราะฮฺมาอิดะฮฺ โองการที่ 67
يَأَيهَُّا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ وَ إِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَ اللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللَّهَ لَا يهَْدِى الْقَوْمَ الْكَافِرِين
“โอ้ศาสดาจงประกาศสิ่งที่ถูกประทานแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า และถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติเท่ากับเจ้าไม่ได้ประกาศสาสน์ของพระองค์เลยและอัลลอฮฺจะทรงคุ้มครองเจ้าจากมนุษย์แท้จริงพระองค์ไม่ทรงนำทางบรรดาผู้ปฏิเสธ”
สาเหตุการลงมาของโองการนี้เป็นที่ยอมรับทั้งอุลามาอฺชาวซุนนีละชีอะหฺว่าโองการนี้ลงมาสถานที่แห่งหนึ่งชื่อฆอดีรคุม ฆอดีรคุมเป็นสถานที่เป็นบ่อน้ำท่านรอซูลได้กลับมาจากพิธีฮัจฮฺในฮัฮจฺอำลาครั้งสุดท้ายของท่าน เนื้อหาหลักของโองการนี้คือในศาสดาประกาศสิ่งหนึ่งที่ยังไม่เคยประกาศมาก่อน เมื่อโองการลงมาท่านได้สั่งให้หยุดการเดินทางและให้เรียกฝูงชนที่ผ่านไปแล้วให้กลับมาที่ฆอดีรคุม บางรายงานบอกว่ามีสามหมื่นคน บางรายงานแปดหมื่นคน บางรายหนึ่งแสนคน มุสลิมจำนวนมากได้รวมตัวที่นั้น และท่านศาสดาได้ขึ้นมิมบัรพูดคุฏบะฮฺเริ่มด้วยการหวนรำลึกถึงบุญคุณต่างๆ เมื่อก่อนพวกเจ้าอยู่ในยุคญาฮีลียะฮฺ กินเลือดกันเอง ฝังลูกสาวทั้งเป็น ทำสงครามกันแค่เพียงเพราะไข่ใบเดียว และฉันก็นำมาซึ่งศาสนา นำพวกเจ้าเข้าสู่ความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ ทำให้พวกเจ้าเป็นพี่น้องกันพวกเขาตอบว่าใช่แล้วโอ้รอซูลุลลอฮฺ ดังนั้นเมื่อมาถึงคำถามสุดท้ายท่านได้ถามว่า
ألست أَوْلى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ
“ไม่ใช่ฉันดอกหรือที่มีอำนาจเหนือบรรดาผู้ศรัทธายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง”
แม้แต่ตัวของเราเองท่านศาสดาก็มีสิทธิ์เหนือกว่า บางรายงานบอกว่าท่านศาสดากล่าวประโยคนี้ถึงสามครั้ง พวกเขากล่าวว่าใช่แล้วโอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ ดังนั้นท่านศาสดาก็ประกาศศาสน์สุดท้าย ซึ่งถูกบันทึกตำรับตำราทั้งชาวซุนนีและชาวชีอะหฺอย่างเป็นเอกฉันท์ ยกเป็นตัวอย่างในหนังสือซุนันติรมีซี เล่ม 5 หน้า 633 ฉบับพิมพ์ที่บัยรูต และศอฮีฮฺอิบนิมาญะฮฺ เล่ม 1 หน้าที่ 26
مَنْ كُنْتُ مَوْلاهُ، فَهذا عَلِىٌّ مَوْلاهُ. أَللّهُمَّ والِ مَنْ والاهُ، وَ عادِ مَنْ عاداهُ
ผู้ใดที่ฉันเป็นนายเหนือเขาดังนั้นอาลีก็เป็นนายเหนือเขาด้วยเช่นกัน โอ้อัลลอฮฺโปรดรักผู้ที่มีความรักต่ออาลี และโปรดเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นศัตรูต่ออาลี”
พร้อมกับท่านศาสดาได้ชูมือของท่านอิมามอาลี(อ)ขึ้นในขณะที่ยืนอยู่บนมิมบัร ในรายงานกล่าวว่าท่านศาสดายกมือของท่านอิมามอาลีสูงจนเห็นรักแร้ หมายถึงยกมือสูง
มาก อุลามาอฺชาวซุนนีจำนวนมากได้บันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ในหนังสือของเขา นี้คือเงื่อนไขที่หนึ่งของผู้นำในทัศนะของชีอะหฺซึ่งเกิดขึ้นที่ฆอดีรคุม ทุกคนยอมรับว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริง ท่านอิมามอะหฺมัด อิบนิ ฮัมบัลได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านว่าฮาดีษนี้เป็นฮาดิษที่ศอฮีฮฺด้วย ได้รายงานไว้อย่างละเอียด เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ สิงที่พวกเขาทำได้คือการบิดเบือนความหมาย พวกเขากลับบิดเบือนคำว่า “เมาลา” ให้ความหมายแปลว่าเพื่อน ความโง่เข่าเบาปัญหาอคติจึงทำให้พวกเขาโง่อย่างบริสุทธิ์ เพราะก่อนเหตุการณ์อัลกุรอานลงมาสำทับให้ประกาศ ถ้าไม่ประกาศสิ่งนี้ก็เท่ากับไม่ได้ประกาศศาสนา และก่อนหน้ามีอัลกุรอานมากมายที่พูดถึงความดีความสูงส่งของท่านอิมามอาลี(อ) ซึ่งการที่ท่านศาสดาไม่ได้ประกาศว่าอาลีเป็นเพื่อนก็ไม่ได้ทำให้ศาสนานี้เสียหาย และทุคนก็รู้ว่าท่านอาลีคือลูกเขยของท่านศาสดาเป็นยิ่งกว่าการเป็นเพื่อน โองการลงมาท่านศาสดาต้องหยุดการเดินทางและสั่งให้เรียกคนที่รั้งหน้าให้กลับมา มีการพูดคุฏบะฮฺเป็นชั่วโมง มีการพูดทวงบุญคุณ เพื่อที่จะประกาศสว่าอาลีป็นเพื่อนกับท่านนบีใช่หรือไม่ และยิ่งไปกว่านั้นทุกคนรู้ดีว่าอาลี(อ)คืแม่ทัพของท่านศาสดา คือลูกเขย คือผู้นำแห่งการอพยพนำบานีฮาชิมเดินทางจากมักกะฮฺสู่เมื่องมาดีนะฮฺ ท่านศาสดาได้เดินไปก่อนแต่ท่านอิมามอาลีตามไปทีหลังพาท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(ซ)พาลูกหลานบานีฮาชิมไป ประวัติศาสตร์มากมายที่อธิบายว่าอาลี(อ)นั้นยิ่งกว่าเป็นเพื่อน แล้วอยู่ๆท่านศาสดามาประกาศว่าอาลีคือเพื่อน ซึ่งเป็นการให้ความหมายที่โง่เขล่าเบาปัญญา เรายอมรับว่าคาว่า “เมาลา” แปลว่าเพื่อนก็ได้ แปลว่านายก็ได้เราไม่ได้ปฏิเสธ แต่ภาษาอาหรับมีกฎอันหนึ่งว่าการจะให้ความหมายคำๆหนึ่งนั้นต้องดูกอรีนะฮฺ(ความสอดคล้องของประโยคและความหมาย) สภาพแวดสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ เช่นคำว่า “อีน” มีอยู่สองความหมาย คือตาน้ำ กับตาของมนุษนย์ จะแปลได้ดู้ต้องต้องดูกอรีนะฮฺด้วย ดังนั้นโดยกอรีนะฮทั้งหมดในวันฆอดีรคุมที่ท่านศาสดาสั่งการนั้น โดยสติปัญญาเป็นไม่ได้ที่จะแปลเมาลาตรงนี้แปลว่าเพื่อน มันจะต้องเป็นการประกาศที่สำคัญในสิ่งที่คนจำนวนมาไม่รู้มาก่อน