อิมามัต (ความเป็นผู้นำ) ตอนที่ 8
อิมามัต (ความเป็นผู้นำ) ตอนที่ 8
เรายังอยู่ในเนื้อหาการพิสูจน์เงือนไขที่หนึ่งคือตัวแทนของท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)นั้นต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ(ซบ)และศาสดาเท่านั้น ซึ่งมีหลักฐานมากมายต่างกรรมต่างวาระซึ่งเนื้อหาเหล่านนั้นคือการแต่งตั้งท่านอิมามอาลี(อ) ไม่ได้มีแค่เหตุการณ์ที่ฆอดีรคุม เรื่องฆอดีรคุมเป็นเรื่องวาระสุดท้าย การแต่งตั้งหรือคำพูดที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นการแต่งตั้งท่านอิมามอาลี(อ)มีอย่างมากมายตลอดระยะเวลาของการเผยแพร่อิสลามตั้งแต่เริ่มแรกของการเผยแพร่ตั้งแต่มักกะฮฺจนถึงมาดีนะฮฺไม่ใช่แค่เพียงแค่เหตุการณ์ฆอดีรคุมเท่านั้นที่ยืนยันความเป็นผู้นำของท่านอาลี(อ) มีเหตุการณ์อื่นอีกมากมายเช่นเหตุการณ์ ฮาดิษ “เยามุดดาร” หรือ “เยามุนอันซาร” เหตุผลในการบันทึกฮาดิษนี้มีอย่างมากมายหนึ่งในนั้นก็เพื่อที่จะอธิบายโองการหนึ่งในอัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัชชุอะรออฺ โองการที่ 214 ซึ่งอัลลอฮฺ(ซบ)ทรงบัญชาให้ท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)เผยแพร่ในครอบครัวผู้ใกล้ชิดของท่าน
وَ أَنذِرْ عَشِثَتَكَ الْأَقْرَبِپ
“โอ้มูฮัมมัดจงตักเตือนในหมู่ญาติผู้ใกล้ชิดของเจ้า”
ท่านศาสดาได้เชิญชวนผู้ทรงคุณวุฒิสี่สิบคนจากเผ่ากุเรช ซึ่งบันทึกไว้ว่าชาวกุเรชมีทั้งอาบูญาฮัล ท่านอาบูฏอลิบ ท่านอับบาส และวงศาคณาญาติมารวมตัวกัน บันทึกไว้ว่าท่านศาสดา(ศ็อล)ได้นำแพะมาหนึ่งขา นูน(ขนมปัง) และนมอีกสามกิโล เมื่อพวกเขาเห็นท่านศาสดา(ศ็อล)เตรียมอาหารมาน้อยก็ได้หัวเราะเยาะเย้ยซึ่งกันและกัน มีอาหารแค่นี้แต่เชิญชวนมาสี่สิบคนซึ่งดูว่าอาหารน้อย พวกอาหรับแพะหนึ่งขาเขากินกันคนเดียว ยิ่งเป็นแขกวีไอพียิ่งกินมาก พวกเขาพูดกันว่ามูฮัมมัดจะเยาะเย้ยเราหรือป่าว และเหตุการณ์นี้เป็นที่มาของมุอฺญิซาต(สิ่งที่เหนือธรรมชาติ)แรกของท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล) เมื่อถึงเวลากินพวกเขากินกันอย่างรวดเร็วเพื่อต้องการให้อาหารหมดตั้งแต่นาทีแรก กินกันสี่สิบคนกินกันจนท้องเกือบจะแตกแต่อาหารก็ยังไม่หมด เป็นมุอฺญิซาตเล็กๆของท่านที่แสดงให้เห็นในครั้งนั้น จนพวกเขากล่าวกันว่าเรากำลังรับประทานอาหารที่เป็นเวทมนต์ หลังจากที่ท่านให้กินกันจนอิ่มหนำสำราญท่านศาสดาก็ได้ยืนขึ้นและพูดว่า โอ้ลูกหลานของอัลดุลมุฏฏอลิบ อัลลอฮฺ(ซบ) ได้เลือกฉันให้เป็นศาสดาเหนือประชาชาติทั้งหมดโดยเฉพาะพวกท่าน ฉันขอเชิญชวนพวกท่านเข้าสู่สองกาลีมะฮฺที่สำคัญซึ่งง่ายเป็นอย่างมากที่จะกล่าวมัน “ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮู มูฮัมมัดรฮซูลลุลลอฮฺ” แต่ความหนักของมันในตราชั่งนั้นหนักเป็นอย่างมาก ซึ่งใครที่ได้กล่าวสองกาลีมะฮฺนี้เขาก็จะได้เป็นชาวสวรรค์เขาจะปลอดภัยจากการถูกลงโทษในไฟนรก ฉันได้รับบัญชาให้เชิญชวนพวกท่านเป็นกลุ่มแรกดังนั้นฉันขอเชิญพวกท่านให้ร่วมมือกับฉัน บุคคลที่แรกที่ตอบรับการเชิญชวนของฉันเขาจะเป็นตัวแทนของฉันจะเป็นวะศีของฉัน เขาคือคอลีฟะฮฺของฉัน ท่านอิมาอาลีจะลุกขึ้นตอบรับแต่ท่านศาสดาได้กดไหลห้ามเอาไว้ เพื่อให้โอกาสแกผู้อาวุโสดูว่ามีใครบ้างที่จะตอบรับ ทุกคนเงียบ ท่านศาสดาก็ได้ประกาศอีกเป็นครั้งที่สองท่านกล่าวเหมือนเดิมในริวายัตท่านอาลี(อ)จะลุกขึ้นอีกแต่ท่านท่านศาสดาก็ได้ห้ามไว้อีก จนกระทั่งท่านศาสดาได้ประกาศเป็นครั้งที่สาม ท่านอาลี(อ)ก็ได้ลุกขึ้นตอบรับอีกซึ่งครั้งนี้ท่านศาสดาไม่ได้ห้าม ท่านอาลี(อ)กล่าวว่าฉันจะเป็นผู้ตอบรับท่านเป็นผู้ช่วยเหลือท่าน ท่านศาสดาได้ประกาศในที่ประชุมว่า ซึ่งอยู่ในหนังสืออัลฆอดีรของอัลลามะอฺอับดุลฮูเซน อัลอามีนี สำนักพิมพ์ อิสลามียะฮฺ เล่มที่ 2 หน้า 282
فَأَنْتَ أَخِی وَ وَصِیی وَ وَزِیرِی وَ وَارِثِی وَ خَلِیفَتِی مِنْ بَعْدِی
“อาลีเจ้าคือพี่น้องของฉัน คือตัวแทนของฉัน คือผู้ดูแลกิจการของฉัน คือผู้สืบทอดของฉันและคือผู้นำในต่ำเหน่งของฉันภายหลังจากฉัน”
อาบูญาฮัลเห็นดังนั้นก็ได้หัวเราะแล้วหันมาพูดกับท่านอบูฏอลิบว่า ต่อไปหลังจากมูฮัมมัด(ศ็ฮล)ท่านต้องปฏิบัติตามอาลีซึ่งเป็นลูกของท่าน วัฒนธรรมอาหรับในยุคนั้นการที่พ่อปฏิบัติตามลูกถือว่าเป็นสิ่งที่อัปยศอดสู่ เพราะเป็นธรรมเนียมของยุคญาลีฮียะฮฺเป็นการปกครองของผู้อาวุโสซึ่งตอนนี้ท่านอาลีมีอายุเพียง 8-9 ขวบ อาบูญาฮัลได้พูดเยาะเย้ยต่อท่านอบูฏอลิบ นี้คือเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นการแต่งตั้งท่านอาลีเป็นผู้นำต่อจากท่านศาสดาประกาศมาตั้งแต่ยุคแรกๆของอิสลามใช้คำว่า “คอลีฟะฮฺ” หรือคำว่า “วะศี” เพียงแต่เป็นการประกาศในวงศาคณาญาติซึ่งมีผลกับมวลมุสลิมทั้งหมด เรื่องราวนี้เป็นที่ชัดแจ้ง ถูกบันทึกใน ยุนาบีอุลมะวัดดะฮฺของท่านอัลลามะอฺอัลฮีนดี ชาวอินเดีย ชัดแจ้งถึงขนาดว่าเมื่อประมาณสิบห้าที่แล้วมีฮินดูคนหนึ่งเขียนจดหมายไปหาอุลามาฮฺซุนนีคนหนึ่งในอินเดีย บอกว่าวันนี้ฉันจะจับโกหกมูฮัมมัด(ศ็อล)ที่ท่านบอกว่ามูฮัมมัดเป็นอัลอามีน ไม่เคยพูดโกหก ฉันจับผิดได้แล้วว่ามูฮัมมัด(ศ็อล)เป็นคนโกหกเป็นคนหลอกล่วงหลักฐานนั้นคือฉันได้ค้นคว้าในหนังสือประวัติศาสตร์ของพวกท่าน พบว่าวันหนึ่งมูฮัมมัด(ศ็อล)ได้อยู่ในบ้านกับวงศาคณาญาติเป็นวันที่มูฮัมมัด(ศ็อล)ได้ประกาศศาสนาและได้แต่งตั้งอาลี(อ)เป็นตัวแทนหลังจากท่าน แต่พบว่าหลังจากที่มูฮัมมัด(ศ็อล)จากโลกนี้ไปนั้น ท่านไม่ได้แต่งตั้งอาลีเป็นผู้นำ เพราะพวกท่าน(ซุนนี)บอกว่าศาสดาของพวกท่านได้ไม่ได้แต่งตั้งอะไรเลยพวกท่านยังได้บอกอีกว่ามูฮัมมัดไม่ได้แต่งตั้งใครเป็นผู้นำปล่อยให้มุสลิมเลือกกันเองเมื่อเลือกกันแล้วก็ไม่ได้ท่านอาลีแต่ไปได้เท่านอบูบักร ดังนั้นการที่มูฮัมมัด(ศ็อล)ได้สัญญาไว้ในเรื่องราวแห่งฮาดิษมันซิลหรือ “เยามุดดาร” และเขาไม่ได้ทำตามสัญญาจากคำกล่าวของพวกท่าน เป็นการเพียงพอที่จะยืนยันว่าท่านมูฮัมมัดเป็นผู้หลอกลวงต่อท่านอาลี ทำให้เกิดความวุ่นวายกันทั้งอินเดีย เพราะเป็นเรื่องราวที่อยู่ในหนังสือของชาวซุนนีเอง ชาวฮินดูได้กล่าวว่าถ้าพวกท่านไม่ตอบเราจะทำการป่าวประกาศเรื่องนี้ ดังนั้นหลังจากเวลาผ่านไปช่วงหนึ่ง อุลามาอฺชาวซุนนีก็ได้ออกมาตอบว่า จริงๆแล้วท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)ได้แต่งตั้งท่านอาลีไว้แล้วในเหตุการณ์ฆอดีรคุมตามสัญญาที่ท่านได้ประกาศในเหตุการณ์เยามุดดาร แต่มุสลิมไม่นำพาและมีมติเห็นเป็นอื่น ดังนั้นท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)ไม่ได้เป็นผู้หลอกลวงและโกหก แต่มุสลิมจำนวนหนึ่งมีมติกันเป็นอื่นให้ท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะฮฺคนที่หนึ่ง ในขณะที่ท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)ได้แต่งตั้งท่านอาลีไว้แล้วที่ฆอดีรคุม
หรือในหนังสือยุนาบีอุลมะวัดดะฮฺ ของอันฮินดี เล่ม 2 หน้าที่ 280
یا علی انت تبرئ ذمّتی و انت خلیفتی علی امّتی
“โอ้อาลีท่านคือผู้ที่ปลดเปลืองภารกิจที่ยังค้างอยู่(ซิมมะ)ของฉัน หมายถึงภารกิจของท่านศาสดาที่ยังค้างๆอยู่ท่านอาลีคือผู้ที่จะมาปลดเปลื้อง และเป็นคอลีฟะฮฺในประชาชาติของฉัน”
เบื้องต้นสองหลักฐานที่ชัดเจนในการแต่งตั้งท่านอิมามอาลี(อ)คือเหตุการณ์เยามุดดาร และเหตุการณที่ฆอดีรคุม เพราะสองเหตุการณนี้อุลามาอฺชาวซุนนีได้บันทึกไว้อย่างมากมาย ไม่มีอุลามาอฺซุนนีคนไดฏิเสธ เพราะคำที่ใช้มันเป็นการพิสูจน์ถึงความเป็นตัวแทนพิสูจน์ถึงการแต่งตั้งตั้ง เช่นคำว่า “วะศี” หรือคือผู้สืบทอดภารกิจ ทุกๆศาสดามีวะศี ดังนั้นผู้ใดที่มีความเชื่อว่าท่านศาสดาคนใดคนหนึ่งไม่มีวะศีนั้นถือว่าเป็นความเชื่อที่มีปัญหา พวกเบาปัญญา ซึ่งกวีบทหนึ่งได้กล่าวเกี่ยวเรื่องวะศีว่า
“เป็นไปได้หรือที่ศาสดาไม่มีวะศี มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮฺ(ซบ)จากคำพูดของผู้โง่เขล่าเบาปัญญา”
ซึ่งเหตุการณ์เยามุดดารซึ่งเป็นที่มาของฮาดิษมันซิลก็ได้พิสูจน์สิ่งนี้ ท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าอาลี(อ)วะศีของท่าน วะศีคือผู้ที่หน้าที่แทน เป็นฮาดิษหนึ่งที่ยืนยันว่าการแต่งตั้งได้เกิดขึ้นแล้ว เงื่อนไขที่หนึ่งได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังจากท่านศาสดาได้เกิดขึ้นแล้ว
ท่านศาสดาได้บอกมาตลอดเส้นทางของการเผยแพร่ตั้งแต่การเกิดขึ้นของอิสลามฮาดิษจำนวนหนึ่งที่พูดถึงความประเสริฐของท่านอาลีเช่นความรู้ความกล้าหาญ แต่ชี้ไปถึงความเป็นผู้นำเป็นตัวแทนด้วย ซึ่งฮาดิษที่สำคัญที่สุดคือฮาดิษมันซิลัต ที่ไปที่มาของฮาดิษนี้คือท่านศาสดา(ศ็อล)ต้องออกไปทำสงครามตะบูกเป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ซึ่งท่านศาสดาต้องออกไปเป็นระยะที่ไกลเพื่อทำสงครามกับโรม เมื่อท่านต้องนำทัพเองท่านศาสดาก็ต้องทิ้งเมืองมาดีนะฮฺไว้เป็นเวลายาวนานท่านก็เป็นห่วง จำเป็นที่ต้องเลือกใครคนหนึ่งมาทำหน้าที่แทน ท่านได้เลือกอิมามอาลี(อ)ให้อยู่มาดีนะฮฺ ท่านอาลีอยากที่จะร่วมสงครรามกับท่านศาสดาด้วย ท่านอิมามอาลีเกิดอาการเหมือนจะไม่พอใจที่นำไปสู่ที่มาของฮาดิษนี้ซึ่งบันทึกอยู่ในหนังสือ ศอฮีฮฺมุสลิมหวดหมู่ความประเสริฐของศอฮาบะฮฺ หน้าที่ 1041 ฮาดีษที่ 2404
أنتَ مِنّی بِمَنزلةِ هارونَ مِنْ مُوسی، اِلّاأنـّه لانَبیّ بَعدی
“โอ้อาลีเจ้าไม่พอใจดอกหรือที่เจ้ากับฉันซึ่งอยู่ในตำแหน่งของฮารูนกับมูซา เว้นแต่ว่าไม่มีศาสดาอีกภายหลังจากฉัน”
หมายความว่าอาลี(อ)ต้องอยู่ในเมืองมดีนะฮฺทำหน้าที่แทนศาสดาเหมือนที่มูซา(อ)ต้องขึ้นไปบนภูเขาซีนายสี่สิบวันและได้ตั้งตัวแทนไว้ข้างหลังก็คือท่านศาสดาฮารูน(อ) เว้นแต่ว่าความแตกต่างระหว่างศาสดามูซากับศาสดาฮารูนคือไม่มีศาสดาใดอีกหลักจากศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล) ฮาดิษนี่พูดถึงอาลีในตำแหน่งที่ฮารูน(อ)ทำหน้าที่แทนมูซา(อ) เป็นฮาดิษที่พูดถึงความประเสริฐแต่เป็นความประเสริฐที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นผู้นำเมื่อท่านศษสดามูฮัมมัด(ศ็อล)ไม่อยู่ ก็เป็นหลักฐานเสริมว่าบุคคลที่ได้รับการยอมรับให้ทำหน้าที่แทนท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)คือท่านอิมามอาลี(อ)
และเช่นเดียวกันฮาดีษ อัษษะกอลัยนฺ ซึ่งได้ถูกกล่าวไว้ในหลายกรรมหลายวาระ ถูกบันทึกอยู่ใน มุสนัด เล่มที่ 5 หน้าที่ 181 ฉบับพิมพ์ที่อิยิปต์
إِنِّی تَارِكٌ فِیكُمُ الثَّقَلَیْنِ مَا إِنْ تَمَسَّكْتُمْ بِهِمَا لَنْ تَضِلُّوا- كِتَابَ اللَّهِ وَ عِتْرَتِی أَهْلَ بَیْتِی وَ إِنَّهُمَا لَنْ یَفْتَرِقَا حَتَّى یَرِدَا عَلَیَّ الْحَوْضَ
“แท้จริงฉันได้ทิ้งสองสิ่งที่มีค่ายิ่งไว้ในหมู่พวกเจ้า สิ่งที่ถ้าหากพวกเจ้ายึดมั่นกับทั้งสองแล้วพวกเจ้าจะไม่หลงทาง คือคัมภีร์อัลกุรอาน และวงค์วานของฉันอะฮฺลุลเบตของฉัน และทั้งสองจะไม่แยกออกจากกัน จนกว่าจะกับมาพบฉัน ณ.สระน้ำอัลเกาษัร”
ฮาดิษษะกอลัยนฺ เป็นอีกฮาดิษหนึ่งที่พูดในเหตการณ์ฆอดีรคุม เป็นฮาดิษที่เพียงพอและมาสนับสนุนว่าการแต่งตั้งได้เกิดขึ้นแล้วแต่อาจจะไม่มีชัดแจ้งเหมือนกับฆอดีรคุมและฮาดิษดาร แต่ก็มีความเข้มข้นเพียงพอ สิ่งที่ท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็ฮล)ได้ทิ้งไว้ภายหลังจากที่ท่านจากไปเพื่อไม่ให้ประชาชาติของท่านหลงทาง หลังจากที่ท่านศาสดาจากไปเกิดความขัดแย้งกันอย่างมากมาย ทั้งทางด้าน ฟิกฮฺ อะฮกาม อากออิด แน่นอนเมื่อเกิดความขัดแย้งต่างๆก็ย่อมเกิดความหลงทาง ผู้ที่ไม่หลงทางนั้นคือผู้ที่ยึดมั่นต่ออัลกุรอานและอิตรอตีอะฮฺลุลเบตของท่านศาสดา และสองสิ่งนี้จะไม่แยกออกจากันจนกว่าจะกลับมาสู่ฉันณ.สระน้ำอัลเกาษัร ให้ยึดมั่นให้ปฏิบัติตาม ส่วนฮาดิษ “อัลกุรานและซุนนะตี” ที่ชาวซุนนีนำเสนอนั้นเป็นฮาดิษปลอมทั้งหมดโดยการพิสูจน์ทางวิชาการ จากตำราชั้นสูงของชีซุนนีหลายท่านที่บอกว่าฮาดิษนี้อ่อนแอสายรายงานหลายท่านเป็นคนโกหก ไม่ใช่ฮาดิษที่จะมาต่อกรกับฮาดิษ “อิตรอตีอะฮฺลิลบัยตี” ในทัษนะของชาวชีอะหฺ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งซุนนีและชีอะฮฺว่าเป็นฮาดีษที่ศอฮีฮฺ ส่วนฮาด๊ษอัลกุรอานและซุนนะตีนั้นเป็นฮาดิษที่ถูกกุขึ้นมาส่วนอุลามาอฺซุนนีอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าฏออีฟสายรายงานอ่อนแอ เมื่อฮาดิษนี้ฏออีฟจะเอามาค้านกับฮาดิษที่ศอฮีฮฺอย่างชัดแจ้งไม่ได้
และอีกฮาดิษบทหนึ่ง คือฮาดีษษะฟีนะตุลนูฮฺ ตามตำราในบันทึกของชาวซุนนีเช่นใน หนังสือ มุอฺญะมุลกะบีร ของท่าน อัฏฏอบะรอนี เล่ม 3 หน้าที่ 46
إنّما مَثَلُ أهلِ بَيتي فيكُم كمَثَلِ سَفينَةِ نُوحٍ؛ مَن رَكِبَها نَجا ، و مَن تَخَلّفَ عَنها هَلَكَ
“อุปมาอุปไมยอะฮฺลุลบเบตของฉันก็เหมือนกับนาวาของศาสดานูฮฺผู้ใดที่เข้าไปยังมันเขาจะรอดพ้นปลอดภัย และผู้ใดที่หันหลังออกจากมันเขาจะพินาศ”
ทำไมฮาดิษนี้จึงอยู่ในหมวดหมู่การเกี่ยวกับผู้นำ เรือของศาสดานูฮฺ(อ)ถูกสร้างมาเพื่ออะไร เพื่อนำมนุษย์สู่ความรอดพ้น รอดพ้นจากการถูกลงโทษ เพราะนอกเรือนั้นคือการลงโทษของอัลลอฮฺ(ซบ) รอดพ้นจากวิกฤตศรัทธา และความปลอดภัยทางจิตวิญญาณ
เป็นฮาดิษที่ท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)พูดหลายครั้งซึ่งชี้ให้เห็นว่าหลังจากนี้ประชาชาติอิสลามจะเจอกับคลื่นลมแห่งฟิตนะฮฺ มรสุมแห่งความหลงทางความพินาศเหมือนกับยุคศาสดานูฮฺ(อ)แต่นี้อาจเป็นคลื่นลมทางจิตวิญญาณและทางศรัทธา การที่ศาสนาและศรัทธาดำรงอยู่ได้ และที่ที่ปลอดภัยในยุคศาสดานูฮฺ(อ)ก็คือบนเรือของท่านเท่านั้น ซึ่งชี้จะให้เห็นว่าว่าอะฮฺลุลลเบต(อ)คือนาวาแห่งความรอดพ้น ไม่มีใครสามารถรอดพ้นได้เว้นแต่ต้องขึ้นเรือนี้เท่านั้น คำว่าขึ้นเรือหมายถึงการตามปฏิบัติตามเป็นการอุปมาอุปมัย ต้องยึดมั่น และฮาดิษบทนี้ชาวซุนนีก็ยอมรับแต่เขาก็เข้าใจไปอีกแบบหนึ่งเหมือนกับที่เข้าใจคำว่าเมาลาแปลว่า “เพื่อน” ดังนั้นฮาดิษนี้ก็เป็นหลักฐานที่เพียงพออีกว่าท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)ได้เตรียมการเอาไว้แล้วเพื่อให้รัฐนาวาอันนี้ดำเนินต่อไปให้รัฐอิสลามดำเนินต่อไป เพราะท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)รู้ดีว่าอิสลามตกอยู่ในคลื่นลมแห่งการจ้องทำลายอยู่ตลอดเวลา