อิมามัต (ความเป็นผู้นำ) ตอนที่ 9
อิมามัต (ความเป็นผู้นำ) ตอนที่ 9
เข้าสู่เงื่อนไขที่สอง ซึ่งคือบุคคลที่เป็นผู้นำนั้นต้องได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ(ซบ)ในรูปแบบหนึ่ง อาจจะเป็นการอิลฮาม(ดลใจ)หรือรูปแบบอื่นๆ ซึ่งที่จริงแล้วตามความเชื่อของชีอะหฺนั้นบรรดาอิมามก็ได้รับวะฮฺยู(วิวรณ์)จากอัลลอฮฺ(ซบ) แต่เนื้อหารายละเอียดนั้นจะพูดกันในหัวข้อคุณลักษณะของอิมาม(อ) ส่วนในฮูศูลลุดดีนนั้นจะพูดแค่หัวข้อเพียงเท่านั้น วะฮฺยูหรืออิลฮามนั้นคือการชี้นำของออัลลอฮฺ(ซบ)โดยตรง เมื่อได้ทำความเข้าใจมาแล้วว่าบรรดาอิมาม(อม)ได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ(ซบ) ภารกิจต่อไปของมวลมุสลิมหลังจากที่ยอมรับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ(ซบ)แล้วคืออะไร
โองการอัลกุรอานแต่ละโองการใช้พิสูจน์ในหลายๆวาระได้ โองการหนึ่งที่พิสูจน์หน้าที่ของมวลมุสลิมที่มีต่อบรรดาอิมามผู้นำและโองการดังกล่าวก็สามารถพิสูจน์สิ่งอื่นด้วยเช่นกัน ซูเราะฮฺอัลนิซาอฺ โองการที่ 59
يَأَيهَُّا الَّذِينَ ءَامَنُواْ أَطِيعُواْ اللَّهَ وَ أَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَ أُوْلىِ الْأَمْرِ مِنكم
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาและจงฏออัตต่ออัลลอฮฺ และจงฏออัตต่อรอซูลและผู้นำในหมู่พวกเจ้า”
คำว่าผู้นำในโองการดังกล่าวก็ไม่ได้บอกว่าคือใครเพียงแต่กล่าวว่าคือ “อูลิลอัมร” หมายถึงผู้ที่มีอำนาจ ในลักษณะของภาษานักวิชาการก็ยอมรับถ้าไม่มีเจตนาบิดเบือน สิ่งแรกที่ได้มาจากโองการนี้คือคำสั่งแห่งการฏออัตมุฏลัก(ปกิบัติตามโดยดุษฎี) ซึ่งแปลว่าการฏออัตโดยดุษฏี ไม่มีข้อโต้แย้งคลางแคลงสงสัยใดๆทั้งสิ้น ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ซึ่งแตกต่างกับการฏออัตต่อพ่อแม่ซึ่งอัลกุรอานได้สั่งไว้เช่นกันแต่เป็นการฏออัตที่ไม่มุฏลัก เพราะมีข้อยกเว้น เช่นถ้าหากพ่อแม่เชิญชวนให้ให้ตั้งภาคีก็อย่าตามพวกเขา การฏออัตต่อพ่อแม่นั้นเป็นการฏออัตมุกัยยัต(ปฏิบัติตามโดยมีเงื่อนไข) แบบมีเงื่อนไข ถ้าไม่ขัดต่อคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซบ)ก็ต้องปฏิบัติตาม ถ้าขัดกับคำสั่งของออัลลอฮฺก็ไม่ต้องปฏิบัติตาม แต่ทว่าในโองการดังกล่าวเป็นคำสั่งให้ปฏิบัติตามผู้นำโดยไม่มีขอยกเว้นใดๆ
ประเด็นที่สองจากโองการนี้คือ การฏออัตต่อ “อูลิลอัมร” ต้องฏออัตเหมือนกับที่ฏออัตท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ็อล) ซึ่งรู้ได้จากโองการ ตัว “วาว อัฏพฺ” ในโองการนี้เชื่อมไปยังคำสั่งใช้ให้ฏออัตต่อรอซูล “อฏีอุรรอซูล” ซึ่งหมายความว่าคำสั่งใช้ให้ฏออัตต่อ อูลิลอัมร ใช้คำฏออัตเดียวกันกับคำสั่งให้ฏออัตต่อรอซูล เป็นฏออัตประเภทเดียวกัน ดังนั้นเป็นการฏออัตที่เหมือนกับการฏออัตต่อท่านรอซูล
เนื้อหาต่อไปของโองการนี้คือ “อูลิลอัมร” คือใคร ที่ต้องเราต้องฏออัตพวกเขาเหมือนกับฏออัตต่อท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ็อล) สิ่งเดียวที่รู้ได้จากโองการนี้คือ “มินกุม” อยู่ในหมู่พวกเจ้า แต่ยังรู้ไม่ได้ว่าคือใคร ที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ(ซบ)และรอซูลุลลอฮฺ(ศ็อล)ที่เราจะต้องฏออัตพวกเขาเหมือนกับการฏออัตต่อท่านศาสดา เมื่ออัลกุรอานยังไม่ได้บอกรายละเอียดไว้ก็เป็นหน้าที่ของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ็อล)ที่จะต้องทำการอธิบาย ชี้แจงแถลงไข และบางครั้งท่านศาสดาก็ไม่บอกถ้าไม่มีใครถาม เพื่อที่ดูว่ามุสลิมให้ความสำคัญฉุกคิดหรือป่าว แต่สุดท้ายก็มีคนถาม คือท่านญาบิร อิบนิ อัลดุลลอฮฺ อันศอรี หนึ่งในอัครสาวกที่แท้จริง สาวกผู้ยิ่งใหญ่ของท่านอิม่ามอาลี(อ) ของท่านอิมามฮาซัน(อ) จนถึงท่านอิมามบากิร(อ) คือสาวกที่ยิงใหญ่เป็นอย่างมากเพราะมีชีวิตอยู่กับฮุจญตุลลอฮฺถึงห้าท่าน ญาบิรได้ถามท่านรอซูลลุลลอฮฺ(ศ็อล)หลังจากที่โองการนี้ถูกประทานลงมาว่า “ อูลิลอัมร” ที่มีคำสั่งให้ฏออัตต่อพวกเขาซึ่งคือแบบเดียวกับการฏออัตท่าน พวกเขาเหล่านั้นคือใคร (ยุอาบีอุลมะวัดดะฮฺ)
همْ خُلَفَائِی یَا جَابِرُ وَ أَئِمَّةُ الْمُسْلِمِینَ بَعْدِی أَوَّلُهُمْ عَلِیُّ بْنُ أَبِی طَالِبٍ ع ثُمَّ الْحَسَنُ ثُمَّ الْحُسَیْنُ ثُمَّ عَلِیُّ بْنُ الْحُسَیْنِ ثُمَّ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِیٍّ الْمَعْرُوفُ فِی التَّوْرَاةِ بِالْبَاقِرِ وَ سَتُدْرِکُهُ یَا جَابِرُ فَإِذَا لَقِیتَهُ فَأَقْرِئْهُ مِنِّی السَّلَامَ ثُمَّ الصَّادِقُ جَعْفَرُ بْنُ مُحَمَّدٍ ثُمَّ مُوسَى بْنُ جَعْفَرٍ ثُمَّ عَلِیُّ بْنُ مُوسَى ثُمَّ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِیٍّ ثُمَّ عَلِیُّ بْنُ مُحَمَّدٍ ثُمَّ الْحَسَنُ بْنُ عَلِیٍّ ثُمَّ سَمِیِّی وَ کَنِیِّی حُجَّةُ اللَّهِ فِی أَرْضِهِ وَ بَقِیَّتُهُ فِی عِبَادِهِ ابْنُ الْحَسَنِ بْنِ عَلِیٍّ الَّذِی یَفْتَحُ اللَّهُ عَلَى یَدِهِ مَشَارِقَ الْأَرْضِ وَ مَغَارِبَهَا ذَاکَ الَّذِی یَغِیبُ عَنْ شِیعَتِهِ غَیْبَةً لَا یَثْبُتُ عَلَى الْقَوْلِ فِی إِمَامَتِهِ إِلَّا مَنِ امْتَحَنَ اللَّهُ قَلْبَهُ بِالْإِیمَانِ
“ท่านศาสดาได้กล่าวตอบว่า พวกเขาคือตัวแทนของฉัน โอ้ญาบิรเอ๋ย และคือผู้นำของบรรดามุสลิมหลังจากฉัน บุคคลแรกคือ อาลี บิน อาบีฏอลิบ หลังจากเขาคือ ฮาซัน บินอาลี หลังจากเขาคือ ฮูเซน บิน อาลี หลังจากเขา คือ อาลี บิน ฮูเซน หลังจากเขาคือ มูฮัมมัด บิน อาลี ซึ่งถูกรู้จักในคัมภีร์เตารอตว่า อัลบากิร (ผู้แตกแขนงวิชาความรู้) และเจ้าจะได้พบกับเขา และเมื่อเจ้าพบกับเขาจงนำสลามของฉันให้แก่เขาด้วย หลังจากเขาคือ อัศศอดิกญะฮฺฟัร บิน มูฮัมมัด หลังจากเขาคือ มูซา บิน ญะอฺฟัร หลังจากเขาคือ อาลี บิน มูซา หลังจากเขาคือ มูฮัมมัด บิน อาลี หลังจากเขาคือ อาลี บิน มูฮัมมัด หลังจากเขาคือ ฮาซัน บิน อาลี และหลังจากเขาคือ บุคคลที่ชื่อและฉายาของเขาเหมือนกับฉายาของฉันผู้ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน ผู้ที่พระองค์ทรงรักษาเขาไว้ในหมู่ปวงบ่าวของพระองค์ เขาคือบุตรของฮาซันบุตรของอาลี ซึ่งด้วยน้ำมือของเขาอัลลอฮฺ(ซบ)จะทรงพิชิตตะวันตกและตะวันออก เขาจะเร้นกายจากหมู่ชีอะหฺของเขา ซึ่งเป็นการเร้นกายที่คำพูดเพียงอย่าเดียวไม่เพียงพอในการยอมรับความเป็นผู้นำของเขา นอกจากบุคคลที่อัลลอฮฺ(ซบ)ได้ทรงสอบความศรัทธาในหัวใจของเขาแล้วเท่านั้น”
ดังนั้นชาวชีอะหฺไม่ได้ยึดอะไรแบบลอยๆ มีหลักฐานยืนยันและฮาดิษนี้แม้แต่ชาวซุนนีก็ยอมรัยและมีบันทึกอยู่ในตำรับตำราของพวกเขา ซึ่งฮาดิษดังกล่าวได้กล่าวชื่อของบรรดาอิมามไว้ทั้งสิบสองท่าน
เรื่องราวหนึ่งซึ่งอาบูบาศีรได้ถามได้อิมามศอดิก(อ) เกี่ยวกับ “อูลิลอัมร” ในซูเราะฮฺอัลนิซาอฺ บันทึกใน อัลกาฟี เล่ม 1 หน้าที่ 286
قَالَ: سَأَلْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ ع عَنْ قَوْلِ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ- أَطِیعُوا اللَّهَ وَ أَطِیعُوا الرَّسُولَ وَ أُولِی الْأَمْرِ مِنْکُمْ « النساء: ۵۹٫» فَقَالَ نَزَلَتْ فِی عَلِیِّ بْنِ أَبِی طَالِبٍ وَ الْحَسَنِ وَ الْحُسَیْنِ ع فَقُلْتُ لَهُ إِنَّ النَّاسَ یَقُولُونَ فَمَا لَهُ لَمْ یُسَمِّ عَلِیّاً وَ أَهْلَ بَیْتِهِ ع فِی کِتَابِ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ قَالَ فَقَالَ قُولُوا لَهُمْ إِنَّ رَسُولَ اللَّهِ ص نَزَلَتْ عَلَیْهِ الصَّلَاهُ وَ لَمْ یُسَمِّ اللَّهُ لَهُمْ ثَلَاثاً وَ لَا أَرْبَعاً حَتَّى کَانَ رَسُولُ اللَّهِ ص هُوَ الَّذِی فَسَّرَ ذَلِکَ لَهُمْ وَ نَزَلَتْ عَلَیْهِ الزَّکَاهُ وَ لَمْ یُسَمِّ لَهُمْ مِنْ کُلِّ أَرْبَعِینَ دِرْهَماً دِرْهَمٌ حَتَّى کَانَ رَسُولُ اللَّهِ ص هُوَ الَّذِی فَسَّرَ ذَلِکَ لَهُمْ وَ نَزَلَ الْحَجُّ فَلَمْ یَقُلْ لَهُمْ طُوفُوا أُسْبُوعاً حَتَّى کَانَ رَسُولُ اللَّهِ ص هُوَ الَّذِی فَسَّرَ ذَلِکَ لَهُمْ وَ نَزَلَتْ أَطِیعُوا اللَّهَ وَ أَطِیعُوا الرَّسُولَ وَ أُولِی الْأَمْرِ مِنْکُمْ وَ نَزَلَتْ فِی عَلِیٍّ وَ الْحَسَنِ وَ الْحُسَیْنِ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ ص فِی عَلِیٍّ مَنْ کُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِیٌّ مَوْلَاهُ
อีกฮาดิษนี้รายงานมาจากท่านอิมามศอดิก(อ) อาบูบาศีร ซึ่งเป็นสาวกของท่านอิมามศอดิก(อ)ได้ถามว่า ฉันเคยได้ยินมาว่า “อูลิลอัมร” นั้นถูกประทานมาให้แก่อาลี บินอาบีฏออลิบ(อ) ถูกประทานให้แก่ท่านฮาซันและฮูเซน(อ) ถูกประทานให้ อาลี บิน ฮูเซน ถูกประทานให้ท่านอิมามบากิร(อม) แต่ทำไมอัลลอฮฺ(ซบ)ไม่กล่าวชื่อของพวกเขาไว้ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ทำไมไม่กล่าวชื่อ ท่านอาลี ท่านฮาซัน ท่านฮูเซน ไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ท่านอิมามศอดิก(อ)ได้ตอบด้วยคำถามโดยได้ถามเขาว่า เรื่องของนมาซมีในอัลกุนอานไหม แน่นอนว่ามี แต่วิธีปฏิบัติการรายละเอียดต่างๆของนมาซไม่ถูกอธิบายในอัลกุรอาน ซึ่งนมาซเป็นเรื่องที่สำคัญสำคัญมวลมุสลิม หรือคำสั่งเรื่องให้ทำฮัจญ์ มีในอัลกุรอาน แต่วิธีกาปฏิบัติรรายละเอียดต่างๆ อัลกุรอานไม่ได้อธิบายไว้ เรื่องการถือศีลอดก็เช่นกัน มีอยู่ในอัลกุรอานแต่รายละเอียดวิธีปฏิบัติไม่ได้ถูกกล่าวไว้เช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องต่างๆเหล่านี้คือเรื่องสำคัญในศาสนา เรื่องจ่ายซะกาตแต่ก็ไม่ได้กล่าวว่าจ่ายแบบไหน เรื่องสำคัญต่างๆเหล่านนี้ไม่ได้มีในอัลกุรอานอย่างละเอียด เพราะอัลลอฮฺ(ซบ)ทรงส่งศาสดามาทำหน้าที่อันนี้ ทำหน้าที่ในการอธิบาย สั่งสอน ท่านศาสดามาเพื่อทำการอธิบายโองการต่างๆของพระองค์ เช่นคำสั่งเรื่องจ่ายซะกาต เมื่อมีแพะสี่สิบตัวต้องจ่ายซะกาตหนึ่งตัว เมื่อมีวัวสามสิบตัวต้องจ่ายเป็นวัวหนึ่งตัว เมื่อมีคำสั่งให้นมาซท่านศาสดา(ศ็อบ)ก็สอนวิธีการนมาซ มีเนียต ตักบีรอตุลเอียะรอม รูกูฮิ ซุญูด สลาม ฯลฯ ท่านศาสดา(ศ็อล)ถูกส่งมาเพื่ออธิบายรายละเอียดของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน และเรื่อง “ อูลิลอัมร” ก็เช่นกันท่านศษสดา(ศ็อล)ต้องเป็นผู้ทำการอธิบาย และนี้ก็คือความจำเป็นหนึ่งที่อัลลอฮ์สังให้ฏออัตท่านนบี สิ่งใดที่ท่านศาสดากล่าวไว้ต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องกล่าวชื่อ “อูลิลอัมรฺ” ไว้ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน บางกรณีท่านศาสดาค่อยๆอธิบาย บางครั้งท่านอธิบาย “อูลิลอัมรฺ” ในนามอะลุลเบต(อ) เช่นเนื้อหาของฮาดิษษะกอลัยนฺ และบางครั้งอธิบายไว้โดยตรงเช่นฮาดิษฆอดีรคุมที่ได้ทำการอธิบายไปแล้ว หน้าที่ของบรรดามุสลิมคือต้องทำความรู้จักบรรดาอิมามและปฏิตามฏออัตบรรดาอิมามเหล่านั้น และอีกประเด็นหนึ่งในโองการนี้นั้นคือ “อูลิลอัมรฺ” หรือ อะฮฺลุลเบตนั้น มีความปลอดภัยจากความผิดพลาดในการชี้นำ เป็นบุคคลที่ปราศจากความผิดพลาดในการชี้นำมนุษย์ ข้อพิสูจน์นี้ได้มาอย่างไร คำตอบคือ คำสั่งให้ฏออัตต่อพวกเขาเหมือนกับการฏออัตต่อท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ็อล)ชี้ให้เห็นถึงความไม่ผิดพลาดใดๆ เมื่อออัลลอฮฺ(ซบ)สั่งให้ฏออัตแล้วรู้ได้อย่างไรว่าพวกเขาไม่มีความผิดพลาดใดๆ คำตอบคือ อิสลามไม่อณุญาติให้ฏออัตต่อคนที่ผิดหลักฐานคือ เช่นดังที่ได้กล่าวไปแล้ว อัลกุรอานสั่งให้ฏออัตต่อพ่อแม่แต่ถ้าพ่อแม่ชี้นำไปในทางที่ผิดห้ามในการที่จะปฏิบัติตามพวกเขา คำสั่งของอัลลอฮฺ(ซบ)ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามคนผิด อีกหลักฐานหนึ่ง โองการในซูเราะฮฺ อัลอินซาน โองการที่ 24
“فَاصْبِرْ لِحُکْمِ رَبِّکَ وَ لا تُطِعْ مِنْهُمْ آثِماً أَوْ کَفُوراً”
“ดังนั้นจงอดทนต่อข้อตัดสินต่างๆของพระองค์และอย่าได้ปฏิบัติคนบาปและผู้ปฏิเสธในคนใดในหมู่พวกเขา”
อัลกุรอานไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามคนที่ทำบาปคนที่ประพฤติชั่ว โองการนี้ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามคนบาปส่วนโองการ “อูลิลอัมร” พระองค์สั่งให้ปฏิบัติตาม “อูลิลอัมร” เมื่อสั่งให้ปฏิบัติตามอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีเงื่อนไขก็หมายความว่า “อูลิลอัมร” นั้นคือบุคคลที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่มีความผิดพลาดใดๆในการชี้นำ ไม่มีบาปใด เพราะซูเราะฮฺอัลอินซานสั่งไม่ให้ปฏิบัติตามคนบาป โองการหนึ่งสั่งห้ามไม่ให้ปฏิบัติตามคนบาป โองการหนึ่งสั่งให้ปฏิบัติตาม “อูลิลอัมร” ดังนั้นผู้ที่พระองค์สั่งให้ปฏิบัติตามนั้นจึงไม่ใช่คนบาป แต่ทว่าคือบุคคลที่สะอาดบริสุทธิ์