เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิมามัต (ความเป็นผู้นำ) ตอนที่ 10

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิมามัต (ความเป็นผู้นำ) ตอนที่ 10

 

 

ความบริสุทธิ์ของบรรดาอะลุลเบต)
หลังจากที่ได้ทำการพิสูจน์ถึงเงื่อนไขที่สองและสามไปพร้อมกันแล้ว คือผู้นำได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ(ซบ)โดยตรงและเป็นผู้ที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่มีความผิดพลาดใดๆ มะฮฺศูมทั้งด้านความรู้และการกระทำ ซึ่งมีเพียงชีอะหฺเท่านั้นที่กล่าวอ้างว่าอิมามผู้นำของพวกเขานั้นเป็นมะฮฺศูม ดังนั้นตำแหน่งนี้ไม่ใช่ใครก็ได้จะเป็นได้ ในขณะที่ซุนนีไม่ได้กล่าวอ้างอิมามหรือคอลีฟะฮฺของเขาเป็นมะฮฺศูม เช่นคำพูดของอุมัรเองบันอยู่ใน หนังสือ ตอรีค อัฏฏอบารี เล่ม 3 หน้า 244  ฉบับพิมพ์ที่บัยรูต
أَلا وَإِنَّ لِی شَیْطَانًا یَعْتَرِینِی، فَإِذَا أَتَانِی فَاجْتَنِبُونِی،
 “จงรู้ไว้เถิดว่าบางเวลามีชัยตอนที่ค่อยหลอกล่อฉันอยู่ เมื่อใดที่ชัยตอนเใกล้ฉันและได้ครอบคลุมฉันพวกเจ้าจงออกห่างจากฉัน”
และในอีกฮาดีษหนึ่ง บันทึกในหนังสือชัรฮฺนะญุลบาลาเฆาะฮฺเล่ม 1 หน้า 169 ของท่านอิบนิอาบีฮาดีดซึ่งเป็นเป็นซุนนี
وَ لَسْتُ بِخَیرِکمْ وَ عَلِی فِیکم
“ฉันไม่ได้เป็นคนดีที่สุดในขณะที่อาลีอยู่ในหมู่พวกเจ้า”
    ดังนั้นเมื่อชีอะหฺเชื่อว่าผู้นำหลังจากท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)นั้นต้องเป็นมะฮฺศูม มีหลักฐานอะไรที่พิสูจน์ว่าหลังจากท่านศาสดามีคนที่เป็นมะฮฺศูอยู่ซึ่งห่างไกลจากความผิดพลาดทุกรูปแบบ หลายๆโองการที่ผ่านมาซึ่งนอกเหนือจากที่โองการเหล่านั้นพิสูจน์การแต่งตั้งผู้นำจากอัลลอฮฺ(ซบ)แล้วยังพิสูจน์ถึงความเป็นมะฮฺศูมด้วยโดยทางอ้อม เช่นโองการที่สั่งให้ฏออัตต่ออูลิลอัมร การสั่งให้ฏออัตโดยดุษฏีนั้นโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ แน่นอนว่าบุคคลที่ถูกฏออัตต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ไม่มีความผิดพลาดใดๆ เพราะพระองค์ไม่สั่งให้ฏออัตในสิ่งที่ผิดหรือคนที่ผิด แต่ทว่าเห็นได้ว่าการฏออัตต่อพ่อแม่หรือภรรยาต่อสามีมีข้อยกเว้นอยู่ถ้าพวกเขาสั่งให้ทำผิดนั้นไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม แต่การสั่งให้ฏออัตต่อรอซูลและอูลิลอัมรฺนั้นไม่มีข้อแม้ใดๆ เนื่องจากพวกเขาเป็นมะฮฺศูมไม่มีความผิดพลาดใดๆ ซูเราะฮฺอินซาน โองการที่ ยี่สิบสี่ ตามที่กล่าวไปแล้วที่ศาสนานี้ไม่อนุญาตให้ฏออัตคนทำบาปและผู้ปฏิเสธ นี้เป็นการพิสูจน์ทางอ้อมว่าผู้นำที่สามารถฏออัตได้อย่างดุษฏีได้นั้นต้องปราศจากความผิดพลาด
   โองการโดยตรงที่จะพิสูจน์ความเป็นมะฮฺศูมของบรรดาอิมาม(อม)
ซูเราะฮฺอัลบากอเราะฮฺ โองการที่ 124
وَ إِذِ ابْتَلىَ إِبْرَاهِمَ رَبُّهُ بِكلَِمَاتٍ فَأَتَمَّهُنَّ  قَالَ إِنىّ‏ِ جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامًا  قَالَ وَ مِن ذُرِّيَّتىِ  قَالَ لَا يَنَالُ عَهْدِى الظَّالِمِين‏
 “เมื่อเราได้ทำการทดสอบอิบรอฮีมด้วยพจนาถหนึ่ง แล้วเขาก็ประสบความสำเร็จจากการทดสอบนั้น พระองค์ได้กล่าวว่าเราจะทำให้เจ้าเป็นอิมามผู้นำของมนุษยชาติ และเขาก็กล่าวว่าพันธะสัญญานี้จะไปถึงลูกหลานของฉันไหม พระองค์ทรงตรัสว่าพันธะสัญญาของฉันจะไปไม่ถึงบรรดาผู้อธรรม”
    จากโองการเห็นได้ว่าตำแหน่งอิมามอัลลอฮฺ(ซบ)เป็นผู้ทำให้ไม่ใช่มนุษย์จะเลือกกันเอง พระองค์เท่านั้น “อินนี” เป็นคำที่เป็นการเน้นด้วยเป็นหน้าที่ของพระองค์ คำว่าอิมามในความหมายบวกอัลลอฮฺ(ซบ)เท่านั้นเป็นผู้กำหนดเป็นผู้กระทำ ในโองการนี้พูดเกี่ยวกับท่านศาสดาอิบรอฮีม(อ) แต่เนื้อหาหลักที่เราจะทำความเข้าใจจากโองการนี้คือตำแหน่งของอิมาม ในโองการนี้ท่านศาสดาอิบรอฮีม(อ)กำลังได้รับการแต่งตั้งด้วยตำแหน่งอันยิ่งใหญ่ ด้วยความดีใจและห่วงแหงน ท่านได้ขอต่อพระองค์แต่เป็นการขอในลักษณะของคำถาม ว่าตำแหน่งอิมามจะไปถึงลูกหลานของฉันด้วยหรือป่าว พระองค์ตอบว่าสนธิสัญญานี้จะไปไม่ถึงผู้ที่อธรรม หมายถึงบุคคลที่อธรรมนั้นจะไม่ได้รับตำแหน่งอันนี้ เมื่อมนุษย์ไม่ใช่ผู้อธรรม(ซอลิม) เนื้อหาในโองการนี้เป็นแบบมุฏลัก ซอลิมในอิสลามแบ่งออกเป็นสองประเภท คืออธรรมต่อตัวเอง และอธรรมต่อผู้อื่น คนที่อธรรมต่อตัวเองคือที่ทำบาป ฝ่าฝืน คนที่อธรรมต่อผู้อื่นคือผู้ที่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นในรูปแบบใดก็ตาม บางครั้งมาในรูปแบบผู้ปกครอง บางครั้งมาในรูปแบบสามีภรรยา ฯลฯ ดังนั้นจากโองการนี้คนที่ทำบาปคนที่ละเมิดผู้อื่นก็ไม่สมารถเป็นอิมามผู้นำได้ ตำแหน่งอิมามเป็นตำแหน่งของผู้บริสุทธิ์ คนที่ซอลิมจะไม่ได้รับสนธิสัญญาอันนี้ ต้องเป็นผู้ที่บริสุทธิ์เท่านั้น อย่างก็ตามโองงการดังกล่าวยังไม่พิสูจน์ความเป็นอิมามของผู้นำหลังจากท่านนบีมูฮัมมัด (ศ็อล)อย่างสมบูรณ์เป็นการพิสูจน์ทางอ้อม ส่วนการเป็นอิมามของผู้นำภายหลังจากท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อล)ท่านนบีเป็นผู้แต่งตั้งโดยตรงอย่างชัดแจ้ง
   ซูเราะฮฺอัลอะฮฺซาบ โองการที่ สามสิบสาม 33
إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَ يُطَهِّرَكمُ‏ْ تَطْهِيرًا
“แท้จริงอัลลอฮฺ(ซบ)ทรงประสงค์ที่ขจัดมลทินออกไปจากพวกเจ้าโอ้อะฮฺลุลเบต และทำให้พวกเจ้านั้นสะอาดบริสุทธิ์ยิ่ง”
    โองการนี้ถูกประทานมารับรองความสะอาดบริสุทธิ์ของอะฮฺลุลเบต(อม) อะฮฺลุลเบตคือใคร เบื้องต้นไม่มีความขัดแย้งเป็นเรื่องที่มีความชัดเจน ทั้งสาเหตุของการประทาน ทั้งทางด้านภาษา บรรดาผู้คัดค้านกล่าวว่าโองการนี้ถูกประทานมาให้แก่บรรดาภรรยาท่านนบี(ศ็อล) เนื่องจากเนื้อหาก่อนโองการนี้พูดเกี่ยวกับภรรยาของท่านบีดังนั้นคำว่าอะฮฺลุลเบตตรงนี้หมายถึงภรรายาท่านนบี ดังนั้นคำตอบคือ แต่ทว่าโองการนี้ไม่ได้พูดกับภรรยาของท่านนบีแล้ว รู้ได้จากโองการก่อนหน้านี้คำสรรพนามที่ใช้ในโองการก่อนหน้าเป็นของเพศหญิง เช่น “ตุนนะ” “กุนนะ” แต่ในโองการนี้คำสรรพนามถูกเปลี่ยนแล้ว ใช้สรรนามของเพศชาย “ตุม “กุม” “ยุซฮิบะ”  ยุเฏาะฮิเราะฮ”
ซึ่งอุลามาอฺซุนนีก็รู้ดี ในหนังสือที่ชื่อ “ในที่สุดข้าพเจ้าก็ได้รับทางนำ” ของท่านฏิยานี ท่านได้ถามอุลามาฮฺในมาดีนะฮฺว่า ถ้าโองการพูดถึงภรรยาท่านนบี(ศ็อล) ทำไม่โองการนี้ใช้สรรพนามเพศชายถึงสองครั้ง คำตอบคืออุลามาอฺซูนนีได้เรียกให้ตำรวจมาจับท่านฏิยานี ออกไปจากมัสยิด ดังนั้นจึงเข้าใจได้ว่าต้องมีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ใช่ภรรยาท่านนบีต้องมีผู้ชาย ต้องเป็นผู้ชาย จึงเปลี่ยนสรรพนามมาเป็นสรรพนามของผู้ชาย “กุม” คำถามคืออะฮฺลุลเบตเหล่านั้นคือใคร สาเหตุการประทานโองการนี้ มีรายงานมากกว่าเจ็ดสิบรายงานของชาวซุนนีกล่าวว่าอะฮฺลุลเบตในโองการนี้ หมายถึง “คอมซะตุลฏัยยิบะ” หมายถึงผู้ประเสริฐทั้งห้า หนึ่งในเจ็ดสิบรายงานที่สำคัญคือรายงานที่มีอยู่ในสุนันติรมีซีเล่ม 5 หน้า 699 ฉบับพิมพ์ที่บัยรูต ซึ่งเป็นตำราที่อยู่ในลำดับที่สามของชาวซุนนี และเป็นฮาดีษที่ศอฮีฮฺ ทั้งรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ และท่านอุมมุลซะลามะฮฺว่า โองการนี้ถูกประทานลงมาในขณะที่ท่านนบี(ศ็อล)อยูใต้ผ้าคลุมกิซาอฺพร้อมกับคนทั้งสี่ คือ ท่านอาลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านฮาซัน และท่านฮูเซน(อม) มีถึงเจ็ดสิบรายงาน และรายงานของชีอะฮฺนั้นรายงานโดยท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(ซ) และท่านญาบิร อิบนิ อับดิลลาอฺ อันศอรี ซึ่งฮาดีษดังกล่าวรู้จักกันนามฮาดิษกิซาอฺ ที่มาสนับสนุนโองการนี้ กิซาอฺ แปลว่า ผ้าคลุม โองการนี้กล่าวว่าอะฮฺลุลเบตคือที่ถูกขจัดมลทินและถูกทำให้บริสุทธิ์ยิ่ง ได้รับการยืนยันว่าอาลีคือบุคคลหนึ่งในนั้น โองการนี้เป็นที่เพียงพอที่จะเป็นเครื่องยืนยันว่าบุคคลที่อยู่ใต้ผ้าคลุมนั้นเป็นผู้บริสุทธ์   นอกจานี้ โองการนี้ไม่ได้เป็นแค่สิ่งยืนยันถึงความบริสุทธิ์เท่านั้น  รายงานจากเชคศอดูก(ร)ในหนังอูญูนอัคบารุริฏอเล่ม 1 หน้า 64 ฉบับพิมพ์ที่เมืองกุม หลังจากที่โองการนี้ถูกประทานลงมาท่านนบี(ศ็ฮล)ได้กล่าวกับท่านอาลีว่า โอ้อาลี แท้จริงโองการนี้ถูกประทานลงมาให้แก่เจ้าและฮาซัน ฮูเซน และอิมามที่จะมาจาเชื้อสายของเจ้า อิมามอาลีได้ถามต่อว่าอิมามหลังจากท่านมีกี่คน ท่านนบีตอบว่า อิมามหลังจากฉันนั้นคือเจ้า หลังจากเจ้านั้นคือ ฮาซัน หลังจากนั้นคือ ฮูเซน หลังนั้นคือ อาลี หลังจากนั้นคือมูฮัมมัด หลังจานั้นคือ ญะฟัร หลังจากนั้นมูซา หลังจากนั้นคือ อาลี หลังนั้นคือมูฮัมมัด หลักจากนั้นคือ อาลี หลังนั้น คือ ฮาซัน หลังจากนั้นคือ อัลฮุจญัต ซึ่งชื่อของพวกเขาถูกบันทึกไว้ณ อรัชของอัลลอฮฺ ฉันเห็นชื่อพวกเขาก่อนเมื่อฉันได้เห็นชื่อเหล่านี้ฉันได้ถามกับพระองค์ว่านามเหล่านี้คือใครกันพระองค์ได้ตรัสว่า เหล่านี้คือนามของบรรดาอิมามหลังจากเจ้าซึ่งพวกเขาถูกทำให้สะอาดบริสุทธิ์ และศัตรูของพวกเขาคือบุคคลที่ได้รับการสาปแช่งจากฉัน      
    โองการตัฏฮีรโดยทางตรงพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของอะฮฺลุลเบต(อม) และโดยทางอ้อมพิสูจน์การแต่งตั้ง โองการบางโองการโดยทางตรงพิสูจน์การแต่งตั้ง และโดยทางอ้อมพิสูจน์ความบริสุทธิ์ บุคคลเหล่านี้ได้รับการแต่งตั้ง ตั้งแต่อยู่ณ อรัชของอัลลอฮฺ(ซบ) คือพระนามของพวกเขาได้ถูกบันทึกไว้ณ.อรัชของพระองค์ รายงานโดยเชคศอดูก
    อีกฮาดีษหนึ่งที่มีความสำคัญซึ่งพิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ของอะฮฺลุลเบต(อม)เช่นกัน  เป็นฮาดีษที่ชาวซุนนีเองก็ยอมรับว่า อะฮฺลุลเบตเบื้องต้นคือ “คอมซะตุลฏอยยิบะฮฺ” เรื่องราวเกี่ยวกับฮาดีษกิซาอฺเป็นเรื่องที่ชัดแจ้งในหมู่ประชาชาติอิสลาม อะฮฺลุลเบตหมายถึงใครนั้นเป็นที่รู้กันอย่างชัดแจ้ง ฮาดีษนั้นคือฮาดิษซะกอลัยน์ ก็เป็นฮาดิษที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายทั้งในหมู่ชาวซุนนี  หนึ่งในตำราที่สำคัญของชาวซุนนีที่ได้บันทึกไว้ ซุนันติรมีซีเล่ม 5 หน้า 663  ฉบับพิมพ์ที่อิยิปต์
إِنِّي تَارِكٌ فِيكُمْ مَا إِنْ تَمَسَّكْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا بَعْدِي أَحَدُهُمَا أَعْظَمُ مِنَ الآخَرِ: كِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مِنَ السَّمَاءِ إِلَى الأَرْضِ. وَعِتْرَتِي أَهْلُ بَيْتِي، وَلَنْ يَتَفَرَّقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الحَوْضَ فَانْظُرُوا كَيْفَ تَخْلُفُونِي فِيهِمَا
“แท้จริงฉันได้ทิ้งไว้ในหมู่พวกเจ้าสิ่งที่ซึ่งถ้าพวกเจ้ายึดมั่นไปยังมัน พวกเจ้าจะไม่หลงทางหลังจากฉัน ซึ่งสิ่งแรกนั้นมีความยิ่งใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งคือคัมภีร์ของอัลลอฮฺซึ่งเป็นสายเชือกของพระองค์จากฝากฟ้าสู่โลกนี้ และอีกสิ่งหนึ่งคือสายเลือดของฉัน อะฮฺลุลเบตของฉัน และสองสิ่งนี้จะไม่แยกออกจากกันจนกว่าจะกลับมาพบฉันณ.สระน้ำอัลเกาษัร พวกเจ้าจงใคร่ครวญให้ดีเถิดภายหลังจากฉัน ว่าพวกเจ้าจะปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างไร”
    คำอธิบายเพิ่มเติมคือสองสิ่งนี้จะไม่แยกออกจากกันหมายความว่าอะฮฺลุลเบตคือผู้ปฏิบัติตามอัลกุรอาน อัลกุรอานคือสิ่งที่รับรองการกระทำของอะฮฺลุลเบต(อม) สิ่งที่อะฮฺลุลเบต(อม)ทำคือสิ่งที่มีอยู่ในอัลกุรอาน และอัลกุรอานก็รับรองการกระทำของอะฮฺลุลเบต อะฮฺลุลเบตจะไม่ทำสิ่งใดนอกจากสิ่งนั้นมีอยู่ในอัลกุรอาน และจะไม่ทำในสิ่งที่อัลกุรอานห้าม สองสิ่งนี้ไม่มีวันแยกออกจากกันหมายความว่าไม่มีวันที่อะฮฺลุลเบตทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ไม่ตรงกัลอัลกุรอาน การทำไม่ตรงไม่สอดคล้องกันนั้นคือการแยกออกจากัน และสภาวะนี้อยู่คูกันจนถึงสระน้ำอัลเกาษัรก็คืวันกียามัต ไม่มีวันที่สองสิ่งนี้จะแยกออกจากกัน วิถีชีวิตของอะฮฺลุลเบตคือวิถีชีวิตที่มีอยู่ในอัลกุรอานตามพระประสงค์ของอัลกุรอาน ร้อยทั้งร้อยชีวิตของพวกเขาตรงกับอัลกุรอาน พวกเขาอยู่กับอัลกุรอาน อัลกุรอานอยู่กับเขา นี้คือความหมายของการเป็นหนึ่งเดียวกัน และการเป็นหนึ่งเดียวก็เป็นการพิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ของอะฮฺลุลเบต และสมมุติถ้าหากวิถีชีวิตแยกออกจากอัลกุรอานก็กลายเป็นวิถีชีวิตที่ไม่สะอาดบริสุทธิ์อีกต่อไป แต่ท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อล)ยืนยันว่าอะฮฺลุลเบตจะไม่แยกจากอัลกุรอานจนถึงวันกียามัต เป็นวิถีชีวิตที่เคียงคู่กับอัลกุรอาน วิถีชีวิตที่เคียงคู่กับอัลกุรอานคือวิถีชีวิตที่บริสุทธิ์ และโดยทางอ้อมก็พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(ซ)เช่นเดียวกันเพราะหนึ่งในอะฮฺลุลเบตก็คือท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ซ) ”

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม