เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิมามโคมัยนีกับเอกภาพประชาชาติอิสลาม

4 ทัศนะต่างๆ 04.3 / 5

อิมามโคมัยนีกับเอกภาพประชาชาติอิสลาม

 

หนึ่งในภารกิจอันเป็นที่ยอมรับของบรรดานักคิดและนักวิชาการทั้งหมดบนโลกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาศาสดาทั้งหลายคือ ความเป็นเอกภาพ

 

และบางที่อาจกล่าวได้ว่าพื้นฐานหลักอันเป็นรากหรือแก่นในคำสอนอิสลามคือ การเชิญชวนไปสู่ความเป็นเอกภาพ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายบนโลกนี้ ดังจะเห็นว่าแก่นของเตาฮีดหรือการเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียวคือ รากที่มาของศาสนาของเรา อันที่เป็นยอมรับและเห็นพร้องต้องกันของทุกนิกายในศาสนาอิสลาม อีกนัยหนึ่งกล่าวคือ หนึ่งในหลักการสำคัญของอิสลามคือ การกล่าวปฏิญาณยอมรับความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า

 

และการกล่าวปฏิญาณยืนยันสภาวะการเป็นศาสดาของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ซึ่งทั้ง 2 คำปฏิญาณยืนยันนี้ ถือว่าเป็นองค์ประกอบหลักและเป็นกุญแจดอกสำคัญในการเป็นมุสลิม ของบรรดาผู้ทียอมรับนับถือศาสนาอิสลาม การพิจารณาไปที่คำสอนของอิสลาม และคำสั่งทางนิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกฮฺ) บ่งบอกให้เราเห็นว่า คำสั่งสอนทั้งหมดของศาสนานั้นต้องการสร้างสรรค์สังคมให้มีความเป็นเอกภาพ และสร้างหัวใจทุกดวงให้เป็นหนึ่งเดียวกัน อิสลามมีคัมภีร์ฉบับเดียวกัน มีภาษาเดียวกัน มีคำขวัญอันเดียวกัน และอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทั้งความคิด การกระทำ และคำพูด นอกจากนั้นแล้วจะเห็นว่านมาซ การถือศีลอด การประกอบพิธีฮัจญฺ อีดและวันตรุษต่างๆ ในศาสนา นมาซญุมุอะฮฺ นมาซญะมาอะฮฺ ดุอาอฺ ซิยาเราะฮฺ พิธีกรรมรำลึกถึงอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ทั้งหมดเหล่านี้ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อ สร้างความเป็นเอกภาในหมู่มุสลิมทั้งหลาย แม้ว่าปัจจุบันนี้จะเห็นว่าพิธีกรรมเหล่านี้อาจเป็นเหตุสร้างความแตกแยก มากกว่าความเป็นเอกภาพ แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้สร้างความเสียหาย ให้เกิดแก่แก่นแท้ของศาสนาแต่อย่างใด เนื่องจากคำสอนอิสลามกับการปฏิบัติตัวของเรานั้นยังห่างไกลกันอีกมาก อิสลามคือสิ่งหนึ่ง ส่วนมุสลิมก็คืออีกสิ่งหนึ่ง

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) คือผู้ฟื้นฟูอิสลามปัจจุบันให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาท่านอิมามโคมัยนีคือ วิรบุรุษแห่งโลกอิสลามที่ยากจะผู้ใดเปรียบเปรยได้ ท่านมิได้คำนึงถึงสิ่งใดนอกจากสร้างและเชิดชูคำสอนอันเป็นแก่นแท้ของอิสลามให้ยิ่งใหญ่ นั่นคือความเป็นเอกภาพภายในสังคมอิสลาม ท่านได้เน้นถึงประเด็นนี้แต่ไม่ได้ถือว่านี่คือยุทธศาสตร์สำคัญยิ่งสำหรับโลกอิสลาม และเป็นเทคนิคในการเอาชนะศัตรูอิสลามเพื่อจัดตั้งรัฐอิสลามเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้คือแหล่งแห่งความเข้าใจของท่านในการได้มาซึ่งเกียรติยศ และอำนาจสำหรับมุสลิมทั้งหลาย สิ่งนี้คือตัวตนที่แท้จริงของสังคม และการเมืองในระบอบอิสลาม เป็นอิบาดะฮฺและเป็นการรู้จักพระเจ้าที่แท้จริง ซึ่งท่านได้เน้นว่าเหล่านี้คือคำสอนของอิสลามอันเป็นแก่นแท้ ที่ได้รับมากจากอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่สำคัญท่านเชื่อว่าแนวทางนี้ไม่ได้มีความขัดแย้งกับความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ตามแนวทางของชีอะฮฺแม้แต่น้อย ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) แม้ว่าสายเลือดของท่านคือชีอะฮฺและเป็นนักอนุรักษ์นิยมที่สุดคนหนึ่ง ท่านไม่พร้อมแม้เศษเสี้ยวเพียงเล็กน้อยที่จะเพิกเฉยหรือปล่อยวางหลักการอิสลามนิกายชีอะฮฺ 12 อิมาม แต่ท่านก็ไม่เคยลืมเลือนจุดร่วมของความเป็นมุสลิม

 

องค์ประกอบหลักในการรักษาความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิมสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประการ ได้ดังนี้

 

1) เป้าหมายเพื่อการค้นหารากที่มาของความชั่วร้าย

 

2) สร้างสรรค์แนวร่วมให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

 

3) แสวงหาจุดร่วมให้มากที่สุด

 

4) หลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งโดยสิ้นเชิง

 

5) ดำเนินกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพอย่างต่อเนื่อง

 

เป้าหมายเพื่อการค้นหารากที่มาของความชั่วร้าย

 

ท่านอิมามโคมัยนี้ (รฎ.) นับตั้งแต่วันแรกที่ท่านได้ย่างก้าวเข้ามาเพื่อปรับปรุงและฟื้นฟูสังคม ท่านได้อาศัยประสบการณ์ของบรรพชนในอดีต และประสบการณ์ของสังคมที่ผ่านมาว่า อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขบวนการอิสลามต้องพบกับความพ่ายแพ้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษล่าสุด ทำให้ท่านได้รับบทสรุปว่าการก่อนความชั่วร้ายบนหน้าแผ่นดินไม่ว่าจะเป็นแก่นแห่งความชั่วร้าย หรือเป็นเพียงเปลือกภายนอกของความชั่วก็ตาม สิ่งเหล่านี้นอกจากจะไม่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของพวกอธรรมและรัฐบาลกดขี่แล้ว ทว่าพวกเขายังได้เร่งเร้าให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นอีก และพวกเขาจะดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ความคิดของส่วนรวมได้เบี่ยงเบนออกไปจากแก่นอันเป็นหลัก ไปสู่รายละเอียดปลีกย่อยชนิดไร้สาระ ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามโคมัยนี้ นับตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาปรับปรุงสังคมสิ่งแรกที่ท่านทำคือ การโค่นล้มรัฐบาลการปกครองแบบจักรวรรดินิยม และตำหนิบรรดานักปราชญ์และนักการศาสนาที่ไม่ปรับปรุงแก้ไขปัญหาสังคม ท่านอิมามได้เริ่มการต่อสู้แห่งประวิติศาสตร์ของท่าน หลังจากรัฐบาลเรซาคอน ได้สิ้นสุดอำนาจลง ท่านได้เขียนสาส์นฉบับหนึ่งว่า

 

“โอ้ บรรดานักการศาสนาทั้งหลาย โอ้ ผู้รู้และนักปราชญ์ โอ้ นักวิชาการที่เคร่งครัดศาสนา โอ้ นักพูดเรื่องราวของศาสนา โอ้ ผู้มีศาสนาและรักในพระเจ้า โอ้ ผู้เรียกร้องการเคารพภักดีต่อพรเจ้า โอ้ ผู้เสียงร้องสัจธรรมและเกียรติยศ โอ้ ผู้มีเกียรติและรักในประเทศชาติ โอ้ ผู้รักในเชื้อชาติทั้งหลาย และท่านทั้งหลายจงยึดมั่นต่อคำเตือนของพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก จงยอมรับแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขอันเป็นหนึ่งเดียว ที่ได้ถูกนำเสนอเอาไว้แล้ว จงหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งส่วนตัว เพื่อว่าความจำเริญรุ่งเรืองทั้งสองโลกจะได้ถูกประทานลงมาแก่พวกท่าน และพวกท่านจะได้อยู่ในอ้อมกอดแห่งความสุขอันจำเริญยิ่งทั้งสองโลก”

 

«ان لله فى ايام دهركم نفحات الا فتعرضوا لها»

 

“วันนี้คือวันที่ประชาชาติทั้งหลายต่างพึ่งพิงบรรดานักการศาสนา เป็นวันที่เหมาะสมและคู่ควรต่อการยืนหยัดต่อสู้กับความอธรรม ถ้าพวกท่านทั้งหลายปล่อยเวลาให้หลุดลอยมือไป ไม่ยืนหยัดต่อสู้เพื่อพระเจ้า ไม่เชิญผู้คนเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา พรุ่งนี้พวกท่านทั้งหลายจะพบกับความสูญเสีย บรรดาผู้กระหายตัณหาจะขึ้นมีเหยียบย่ำท่าน ศาสนาและเกียรติยศของพวกท่านจะไม่หลงเหลืออีกต่อไป เป้าหมายและอุดมการณ์ของท่านจะเป็นโมฆะทั้งหมด”[1]

 

หลังจากการปฏิวัติอิสลามได้รับชัยชนะแล้ว สังคมไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องในช่วงช่องว่างหลังจาก เรซาชาฮฺ ได้ลงจากอำนาจและจากไป ท่านอิมามได้กล่าวแสดงความเสียใจโดยกล่าวว่า ..

 

“น่าเสียดายว่าในวันนั้นไม่มีใครสักคนที่จะคอยชี้นำและรวบรวมประชาชนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ตรงนี้พวกเขาเป็นผู้ตั้งลูกชายของเรซาคอน ถ้หากว่าในวันนั้นมีประชาชนสักสองสามจังหวัดเดินขบวนต้าน แน่นอน ลูกชายของเรซาคอนจะไม่มีวันได้ขึ้นบัลลังก์ แต่ทว่าไม่มีใครสักคนพูดอะไรออกมา บางที่ถ้าวันนั้นมัรฮูมมุดัรริซ มีชีวิตอยู่ท่านต้องทำสิ่งนี้แน่นอน”[2]

 

ด้วยสภาพสังคมที่เป็นอยู่นั้นเป็นสิ่งระบุได้อย่างชัดเจนว่าเป้าหมายของท่านอิมามคือ ความเสื่อมทรามของสังคม ดังนั้น ถ้าเห็นว่าท่านอิมามได้เผชิญหน้ากับเหตุการณ์หรือแนวคิด ที่มีเจตนาทำลายรากฐานศาสนา แนวคิด และความเชื่อทางศาสนา โดยสิ่งเหล่านี้ได้ถูกตั้งคำถามขึ้น หรือเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความสงสัยเคลือบแคลงใจในสังคมแล้วละก็ ท่านจะต่อต้านทันทีบางครั้งท่านจะหยุดสอนหนังสือชั่วคราว เพื่อเขียนบทความหรือหนังสือที่สร้างความเชื่อมั่นแก่สังคมให้ประชาชนได้อ่าน ตามทัศนะดังกล่าวนี้ท่านอิมามได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาถึงบุคลิกของเรซาคอนว่า เขาคือบ่อกำเนิดความชั่วร้ายทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า

 

“เขาไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขและความชั่วร้าย แรงกดดันที่เขาได้สร้างขึ้นแก่บรรดานักการศาสนาเพื่อให้พวกเขาได้ปรับปรุง จริงๆ แล้ว เขาต้องการขุดรากถอนคอนมากกว่า[3]”

 

ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่า การที่ท่านอิมามไม่ได้เข้าร่วมต่อสู้เพื่อให้ น้ำมันเป็นของประชาชน ตามที่ท่านอายะตุลลอฮฺกาชานียฺได้ลุกขึ้นต่อสู้ เนื่องจากเป้าหมายของการต่อสู้ในครั้งนั้นคือ ระบบการปกครอง เพียงแต่ว่าอาจเปลี่ยนแปลงนิยามบางบท ขณะเดียวกันท่านก็ไม่ได้ต่อต้านหรือแสดงท่าที่ไม่พอใจแต่อย่างใด หรือบางครั้งจะเห็นว่าท่านอิมามไม่เข้าร่วมกับกลุ่มบางกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับความอธรรมนั้น เป็นเพราะแนวคิดในการต่อสู้ของท่านอิมามนั้น ท่านจะไม่ต่อสู้กับปลายเหตุ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ลืมต้นต่อของเหตุอันเป็นแหล่งของความชั่ว

 

อิมามโคมัยนี้ (รฎ.) นั้นถ้าหากมีเหตุผลเพียงพอในการต่อสู้ ท่านจะต่อต้านรัฐบาลกดขี่ทันทีโดยไม่รั้งรอ และจะประกาศให้ผู้คนได้รับรู้ทีนี่ว่า เป้าหมายการต่อสู้ของท่านคือ ชาฮฺและรัฐบาลกดขี่ของเขา

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่ง หลังจากความเลวร้ายได้เกิดขึ้นในสถาบันสนอศาสนาฟัยฎียะฮฺ

 

“ชาฮฺ คือโจรที่ปล้นสะดม ทำลายอิสลาม ละเมิดคำสิทธิของมุสลิม ล่วงล้ำอธิปไตนของศูนย์กลางวิชาการและความรู้ ชาฮฺ คือ โจรปล้นสะดม หมายถึงเขาได้ทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของอัล-กุรอานและอิสลาม เขาเผาเครื่องหมายต่างๆ ของอิสลาม เขาทำลายร่องรอยของอิสลาม ชาฮฺคือโจรปล้นสะดม หมายถึงเขาได้ละเมิดคำสอนและกฎเกณฑ์ของอิสลาม เขาได้เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ของอัล-กุรอาน ชาฮฺ คือโจรที่ร้ายนักการศาสนาและยกเลิกสิ่งอนุมัติในริซาละฮฺ”[4]

 

อิมามโคมัยนี (รฎ.) ตลอดอายุขัยแห่งการต่อสู้ของท่าน ถ้าหากมีการเคลื่อนไหวอันเป็นสาเหตุทำให้ความคิดของประชาชนเปลี่ยนแปลง หรือหันเหออกจากต้นเหตุของการก่ออาชญากรรม ท่านจะเผชิญหน้ากับเขาทันที และจะพยายามดึงมวลชนให้กลับมายังจุดเดิมตามกำลังความสมารถที่มีอยู่ เช่น ครั้งที่โครงร่างหนังสือ ชะฮีดญาวีด ได้ตีแผ่ในสังคมของนักวิชาการ มีชนฝ่ายที่เห็นด้วยกับ ดร. ชะรีอะตียฺ และไม่เห็นด้วยกับท่านต่อต้านกันเอง ท่านอิมามกล่าวว่า

 

“เรื่องราวของมัรฮูม ชัมซ์ ออบอดีย พวกท่านคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา เรื่องนี้ก็เช่นเดียวกันเพราะพวกเขาได้เข้ามาทางมัรญิอฺตักลีด และสร้างเรื่องเหล่านี้ให้เกิดในสังคม ครั้นเมื่อเรื่องราวของ ชะฮีดญาวีด ได้ถูกตีแผ่ในสังคม อีกด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเดือนมุฮัรรอมและเซาะฟัรนักบรรยายทั้งหลายต่างได้อธิบายถึงประเด็นนี้ว่า ชะฮีดญาวีด เป็นใคร ส่วนอีกด้านหนึ่งก็มีชนกลุ่มหนึ่งเห็นด้วย และอีกกลุ่มไม่เห็นด้วย ซึ่งการตอบโต้กันเช่นนี้ได้นำมาซึ่งความอ่อนแอ และสร้างกระแสให้เป็นอย่างอื่น มัรฮุมชัมซ์ ออบอด ก็เป็นเช่นนี้ บางทีเขาอาจทำเช่นนี้ก็ได้ (แต่ฉันไม่รู้) ซึ่งคนหนึ่งได้สังหารอีกคนหนึ่ง จนมีเสียงร่ำลือไปทั่ว ส่วนอีกด้านหนึ่งก็ได้ส่งคนมาสู่สนามซึ่งหนังสือเหล่านี้คืออะไร เขาบอกว่าเป็นกาฟิร สวนอีกฝ่ายบอกว่าเป็นมุสลิม อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่าเป็นกาฟิรที่เลวร้ายกว่าอบูญะฮัลเสียอีก แต่ทั้งหมดลืมไปว่ามันมีแผนซ่อนอยู่ในอยู่นั้น บรรดาผู้คนที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา เขาไม่เชื่อศรัทธาในอิสลาม เขาไม่เชื่อบรรดานักการศาสนา และพวกเขาไม่เชื่อสิ่งใดเลย”[5]

 

ความบริสุทธิ์ใจของท่านอิมามแม้หลังการปฏิวัติแล้ว ก็ยังได้ดำเนินแนวคิดของท่านต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด ท่านยังขัดขวางทุกขบวนการที่จะเข้ามาเบี่ยงเบนความคิดของประชาชนให้หันเหออกนอกแนวทาง ท่านยังปกป้องประชาชนจากการคุกคามของศัตรู โดยเฉพาะประเทศที่เป็นแหล่งเพราะพันธ์ความชั่วร้ายบนหน้าแผ่นดิน เฉกเช่นอเมริกา ท่านได้ตั้งฉายานามรัฐบาลอเมริกาว่า ซาตานผู้ยิ่งใหญ่ ท่านได้สั่งให้ทำลายรังสายลับของอเมริกาทีแอบแฝงตัวอยู่ในสถานกงสุล ท่านได้ฉีกหน้ากากอันแท้จริงของรัฐบาลอเมริกาออก ให้ประชาชนได้เห็นความร้ายกาจและคราบของนักบุญใจบาป ที่เป็นผู้สนับสนุนโจรก่อการร้ายกลุ่มต่างๆ บนหน้าแผ่นดิน ท่านได้ประกาศให้ผู้คนทั้งโลกได้รับรู้ถึงความเลวทรามของรัฐบาลอเมริกา โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิมนุษย์ชน ทั้งที่ตนเองกล่าวอ้างว่าเป็นผู้รักษาสิทธิ ท่านอิมามโดมัยนี (รฎ.) กล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ว่า ...

 

“บรรดาผู้ที่หวังในความอิสระและเสรีภาพทั้งหลาย พวกท่านต้องตี่นตัวตื่นใจเตรียมพร้อม กับความตลบตะแลงของกลุ่มประเทศอภิมหาอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลอเมริกา พวกท่านไม่เห็นดอกหรือว่าเขาได้เงื้อมือตบลงบนใบหน้าของประเทศอิสลามและมุสลิมอย่างแรง ฉันขอบอกด้วยความมั่นใจว่า อิสลามคือผู้ที่จะกระชากหน้ากากของประเทศมหาอภิมหาอำนาจให้คว่ำลงกับพื้นดินอย่างไม่มีท่า อิสลามจะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า และพร้อมที่จะทำลายฐานกำลังที่คอยเขมือบโลกให้หมดไป”[6]

 

จากสิ่งที่กล่าวมาสามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ว่า ยุทธศาสตร์ของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ในการต่อสู้กับอภิมหาอำนาจที่ก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน โดยอาศัยวิธีทำลายเป้าหมายของผู้ที่เป็นแหล่งเพราะพันธ์ความชั่วร้าย

 

สร้างสรรค์แนวร่วมให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

 

อีกหนึ่งวิธีการในการต่อสู้ของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของการเคลื่อนไหวคือ การสร้างสรรค์แนวร่วมให้เป็นหนี่งเดียวกันต่อหน้าศัตรู ท่านอิมามเป็นผู้หนึ่งที่หลีกเลี่ยงการจัดกลุ่มออกเป็นหลายกลุ่ม หลายพรรคและหลายพวก ท่านได้พยายามรวมกลุ่มเหล่านั้นให้เป็นหนึ่งเดียวกัน รวมอุละมาอให้มีเป้าหมายและเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ท่านอิมามได้กล่าวถึงนักต่อสู้ทั้งหลายว่า ..

 

“โอ้ ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายพวกท่านได้ช่วยกันรวบรวมประวัติศาสตร์หน้านี้เข้าด้วยกัน เป็นการดียิ่งสำหรับบรรดาอุละมาอฺ และนักข่าวทั้งหลายที่จะวางกฎเกณฑ์ขึ้นมา เพื่อรวบรวมความแตกแยกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยมีเป้าหมายเพื่ออิสลาม พวกท่านจะต้องลงนามร่วมกันว่าถ้าหากที่ในมุมหนึ่งมุมใดของประเทศชาติ ได้ประสบชะตากรรมไม่ดี พวกท่านจงร่วมมือร่วมใจกันต่อสู้และจงยืนหยัดขึ้นทั้งประเทศ”[7]

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะขอร้องให้ท่านอายะตุลลอฮฺ บุรูญิดดียฺมาอยู่ที่เมืองกุ่ม เพื่อทำหน้าที่มัรญิอฺตักลีดของท่าน และแสดงบทบาทของการเป็นผู้นำสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ภายหลังจากการอสัญกรรมของท่านอายะตุลลอฮฺ ฮาอิรยฺ ซึ่งบรรดาอุละมาอฺทั้งหมดต่างเห็นพร้องต้องกันในข้อนี้ และเห็นว่าท่านมีความเหมาะสมที่สุด[8]

 

แม้ว่าสิ่งที่เป็นเป้าหมายของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) จะยังไม่สัมฤทธิ์ผลก็ตาม แต่ว่าความยิ่งใหญ่ของมัรญิอฺตักลีดในสมัยนั้นได้สร้างความเกรงขามแก่กษัตริย์ชาฮฺ ไม่ให้กระทำการใดๆ โดยพละการ  ซึ่งจะเห็นว่าขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นชาฮฺไม่กล้าแสดงตนว่าเป็นปรปักษ์กับสถาบันอุละมาอฺ เขารู้ดีว่าหากเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้น กระแสต่อต้านจากประชาชนจะดังกึกก้องทันที แต่ทันใดนั้นเมื่อท่านอายะตุลลอฮฺบุรูญิดดียฺ ถึงอสัญกรรม ชาฮฺได้ส่งโทรเลขไปยังนะญัฟทันที่ โดยเขียนว่า ขณะนี้มัรญิอฺในอิหร่านได้อสัญกรรมไปแล้ว และไม่มีผู้ใดมีความเหมาะสมที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้อีก เพื่อเขาจะได้สบายใจว่าต่อไปเขาไม่ต้องมาคอยระวังอุละมาอฺอีก หลังจากเหตุการณ์นั้นผ่านพ้นไปไม่นานนัก ชาฮฺได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นตามเมืองต่างๆ มากมาย เพื่อทำลายฐานอำนาจของอุละมาอฺ แต่ท่านอิมามโคมัยนี อ่านแผนการของชาฮฺได้อย่างทะลุปรุโปร่ง และก่อนที่จะมีประกาศออกไป ท่านได้เรียกอุละมาอฺประชุมกันที่บ้านของท่านอายะตุลลอฮ ฮาอิรียฺ เพื่อร่วมกันตัดสินใจกับปัญหาดังกล่าวว่าจะเอาอย่างไรดี แม้ว่าการประชุมจะไม่สำเร็จลุล่วงลงไป เนื่องจากมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย และบางปัจจัยก็เป็นตัวขัดขวางไม่ให้การประชุมนั้นบรรลุเป้าหมาย ทำให้การรักษาแนวร่วมในการต่อต้านกษัตริย์ชาฮฺยังไม่บรรลุเป้าหมาย แต่ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ยังไม่ลดละความพยายาม ท่านยังได้ส่งจดหมายไปตามจังหวัดและเมืองต่างๆ เพื่อให้บรรดาอุละมาอฺประจำเมืองนั้นจัดประชุมสัปดาห์ละครั้ง เพื่อต่อต้านเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งเป็นการแสดงให้เห็นความเป็นหนึ่งเดียวกันของอุละมาอฺด้วย[9]

 

หลังจากได้รับอิสรภาพจากการคุมขังในปี 1343 ระหว่างนักเรียนศาสนามีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทางที่ไม่ดี ถึงมัรญิอฺบางท่าน ที่ไม่ได้ร่วมทางต่อสู้กับท่านอิมาม ท่านอิมาม กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า

 

“ท่านทั้งหลายโปรดพิจารณาให้ดี ถ้าพวกท่านใช้คำพูดไม่ดีกับมัรญิอฺอิสลามคนใดคนหนึ่ง หรือพูดจาดูถูกเหยียดหยามมัรญิอฺ ถ้าคิดว่าวิลายะฮฺระหว่างเขากับอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้สิ้นสุดลงแล้ว เป็นการกระทำที่แย่ที่สุด การประณามหรือด่าประจารมัรญิอฺตักลีด ถือว่าเป็นความต่ำทรามที่สุด ดังนั้น ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นโดยกลุ่มชนที่โง่เขลาเบาปัญญา ก็เท่ากับว่าเขาได้สร้างความเสียหายแก่ขบวนการอย่างใหญ่หลวงทีสุด การลงโทษของเขาถูกเตรียมพร้อมไว้ ณ อัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งการลุแก่โทษของท่านเป็นเรื่องยากลำบากที่จะได้รับการยอมรับจากพระองค์ เนื่องจากท่านได้ทำลายเกียรติยศของอิสลาม ถ้าหากบุคคลใดได้ดูถูกเหยียดหยามฉัน เท่ากับเขาได้ตบหน้าฉัน เขาได้ตบหน้าบุตรหลานของฉัน ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ฉันไม่พอใจ และไม่ยอมที่จะให้ผู้ใดผู้หนึ่งยืนต่อต้านเขา ฉันไม่ยอม”[10]

 

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าอุปสรรคที่เกิดจากการสร้างความแตกแยกในขบวนการต่อสู้ หรือสร้างความรอยร้าวในหมู่มัรญิอฺ เป็นแผนการหนึ่ง อันเป็นปัจจัยที่ลายความเป็นเอกภาพในหมู่นักเรียนศาสนา ที่ทุกคนมีความหวังในการต่อสู้แต่ต้องถูกทำลายทิ้งอย่างสิ้นเชิง

 

หลังจากท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ได้ถูกเนรเทศไปยังนะญัฟอัชรอฟ นอกจากไออุ่นแห่งเมืองนะญัฟจะสร้างความอบอุ่นแก่ท่านแล้ว ท่านอิมามยังได้พยายามทุ่มเทเพื่อปกป้องชีวิตของท่าน และสิ่งที่ท่านอายะตุลลอฮฺฮะกีม ได้พยายามช่วยเหลือท่านเอาไว้ ดังนั้น ท่านจึงพยายามหลีกเลี่ยงทุกวิถีทางที่จะไม่กระทำการใดๆ อันมีผลกระทบต่อการเป็นผู้นำโดยรวมของท่านอายะตุลลอฮฺ ฮะกีม ตัวอย่าง ครั้นเมื่อหนังสือตะรีรุลวะซีละฮฺของท่าน ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากบรรดาพรรคพวกเพื่อนพร้องในการจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกที่นะญัฟ ท่านอิมามได้เห็นประโยคหนึ่งบทปกที่เขียนว่า (زعيم الحوزات العلميه) ท่านสั่งให้ลบประโยคนี้ทันที มิเช่นนั้นท่านจะเอาหนังสือทั้งหมดไปเผาไฟทิ้ง แม้ว่าบรรดาพรรคพวกเพื่อนพร้องของท่านจะขอร้องอย่างไรก็ตาม แต่ไม่เป็นผล จนในที่สุดประโยคดังกล่าวต้องถูกลบออกไปด้วยความลำบากยิ่ง[11]

 

หลังจากการปฏิวัติอิสลามได้รับชัยชนะ ได้มีประชาชนกลุ่มหนึ่งจัดตั้งพรรคหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า ญุมฮูรี คัลก์ มุซัลมาน พวกเขาได้เดินขบวนเพื่อสนับสนุนมัรญิอฺท่านหนึ่งในสมัยนั้น ซึ่งในเวลาต่อมามัรญิอฺท่านนั้นได้ถูกปลดจากการเป็นมัรญิอฺ และอิมามเคยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับมัรญิอฺท่านนี้มาแล้ว กระนั้นท่านก็ยังไม่อนุญาตให้ผู้ใดทำลายเกียรติของมัรญิอฺท่านนั้น ท่านได้กล่าวว่า ..

 

“ถ้าสมมุติว่าเขาได้ด่าประจารฉัน เอารูปของฉันไปฉีกเผาไฟ หรือเข้ามาทำร้ายฉัน กระนั้นก็ไม่มีผู้มีสิทธิ์แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเด็ดขาด เนื่องจากศัตรูแฝงตัวอยู่ในเงามืด พวกเขาได้เตรียมแผนการเอาไว้แล้วว่าจะทำการลวงล่อ ให้พวกท่านหลงทางไปจากความจริงได้อย่างไร แน่นอ พวกเขาต้องใช้กลวิธีที่มีอยู่ในมือโดยใช้ข้ออ้างว่าเพื่อช่วยเหลืออิสลามให้รอดพันภัยพิบัติหันเหพวกท่านออกไป”[12]

 

แสวงหาจุดร่วมให้มากที่สุด

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ได้ใช้จุดร่วมเรียกร้องทุกคนไปสู่ความสมานฉันท์ทั้งที่เป็นมุสลิม และไม่ใช่มุสลิม ท่านได้ส่งสาส์นแสดงความยินดีกับพี่น้องชาวคริสต์บนโลกนี้ทุกคน เนื่องในวันประสูติท่านศาสดาอีซา (อ.) หรือพระเยซู โดยอ้างอิงถึงโองการที่มีอยู่ในอัล-กุรอานและคัมภีร์อินญีล ว่า

 

"بسم الله الرحمن الرحيم"

 

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ كُونُواْ قَوَّامِينَ لِلّهِ شُهَدَاء بِالْقِسْطِ وَلاَ يَجْرِمَنَّكُمْ شَنَآنُ قَوْمٍ عَلَى أَلاَّ تَعْدِلُواْ اعْدِلُواْ هُوَ أَقْرَبُ لِلتَّقْوَى وَاتَّقُواْ اللّهَ إِنَّ اللّهَ خَبِيرٌ بِمَا تَعْمَلُونَ

 

โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย  จงเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีเพื่ออัลลอฮฺ เป็นพยานด้วยความเที่ยงธรรมและจงอย่าให้การเกลียดชังพวกหนึ่งพวกใด อันทำให้พวกเจ้าไม่ยุติธรรม จงยุติธรรมเถิด เนื่องจากนั่นเป็นสิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงยิ่งกว่า จงสำรวมตนต่ออัลลอฮ์ แท้จริง อัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน (อัล-กุรอานบท มาอิดะฮฺ / 8)

 

อิลญีล มะตา กล่าวว่า ขอแสดงความดีใจกับบุคคลที่หิวและกระหายความยุติธรรม ซึ่งพวกเขาจะไม่อิ่มหนำเลย

 

อิลญีล มะตา กล่าวอีกว่า ขอแสดงความยินดีกับบุคคลที่ได้อดทนลำบากจนได้รับอนิจสงจากความยุติธรรม และเนื่องจากสวรรค์นั้นเป็นสิทธิ์ของพวกเขา

 

วันตรุษ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติท่านศาสดาอีซา (อ.) ซึ่งท่านได้รับการแต่งตั้งมาเพื่อสร้างความยุติธรรม และแพร่เมตตาธรรมแก่ประชาโลกทั้งหลาย คำสอนแห่งฟากฟ้าที่ทรงสอนให้ต่อสู้กับบรรดาผู้อธรรมทั้งหลาย และทรงให้ประณามการกระทำของพวกเขา ขณะเดียวกันทรงสนับสนุนส่งเสริมบรรดาผู้อ่อนแอกว่าบนโลกนี้ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติของพระเยซู ขออำนวยพรความสุขแก่ประชาชาติที่อ่อนแอบนโลกนี้ และแก่บรรดาคริสเตียนเพื่อนร่วมชาติทั้งหลาย

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ได้กล่าวแก่บรรดาบาทหลวงทั้งหลาย และหลวงพ่อที่ปฏิบัติตามแนวทางของศาสดาอีซา ซึ่งท่านทั้งหลายได้ให้การสนับสนุนบรรดาผู้ที่อ่อนแอบนโลกนี้ ดังนั้น เพื่อความพึงพอใจของพระเจ้าพวกท่านพึงปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสดาเยซูเถิด และจงร่วมกันประณามผู้อธรรมทั้งหลายบนหน้าแผ่นดิน

 

ขอแสดงความยินดีกับบุคคลที่หิวกระหายความยุติธรรม และได้ทนลำบากจนกระทั่งได้รับประโยชน์จากความยุติธรรมนั้น และขอแสดงความเสียใจต่อบุคคลที่ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านศาสดาอีซา (อ.) อีกทั้งยังฝ่าฝืนคำสั่งสอนของบรรดาศาสดาทั้งหมดที่ถูกประทานลงมา จนผลประโยชน์ไปตกกับพวกอธรรม พวกริดรอนสิทธิของคนอื่น พวกที่ไม่ใส่ใจต่อสิทธิมนุษย์ชน โอ้ พี่น้องชาวคริสต์และผู้ปฏิบัติตามศาสดาอีซารูฮลลอฮฺทั้งหลาย พวกท่านจงลุกขึ้นต่อต้านและปกป้องเกียรติยศของอีซาเถิด พวกท่านจงอย่าปล่อยให้เหล่าศัตรูที่ฝ่าฝืนคำสั่งสอนของพระเยซู และคำสอนแห่งฟากฟ้าสร้างความบิดเบือน และแนะนำประชาชาติคริสเตียน และบรรดาบาทหลวงว่าเป็นผู้ยากไร้ ไม่มีสกุลรุนชาติ

 

พวกท่านต้องไม่อนุญาตให้พวกอภิมหาอำนาจมาปรากฏตัวตามโบสถ์ต่างๆ เพื่อแสดงตนเป็นผู้เคร่งครัด และยกมือขอพรต่อพระเจ้าให้แผ่เมตตาแก่ผู้ยากไร้ ซึ่งพวกเขาไม่ต้องการสิ่งใดนอกจากอำนาจและบารมี และต้องการฝ่าฝืนคำสอนแห่งฟากฟ้าเพื่อเป็นการเยอะเย้ยบรรดาผู้เคร่งครัดศาสนาทั้งหลาย

 

ประชาของเราหลายปีที่ผ่านมาได้รับการทารุณกรรมจากบรรดาผู้อธรรมทั้งหลาย กว่าจะมีวันนี้ได้พวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานมาอย่างแสนสาหัส

 

โอ้ พี่น้องชาวติคริสเตียนทั้งหลายอะไรเกิดขึ้นหรือ จิมมี คาร์เตอร์ จึงได้สังหารประชาชนที่ไม่มีทางต่อสู้ในประเทศอิหร่าน เวียดนาม ฟิลิปิน เลบานอน และในที่อื่นอีก ปัจจุบันเขาต้องการขึ้นสู่ตำแหนงประธานาธิบดี และต้องการดำเนินการกดขี่ต่อไป ประชาชาติที่อ่อนไม่อาจทำอะไรได้นอกจาก ยกมือขอพรต่อพระเจ้า เสียงโอดครวญจากโบสถ์ต่างได้ดังกึกก้องขึ้น

 

โอ้ บรรดาหลวงพ่อ และบาทหลวงทั้งหลายโปรดลุกขึ้นยืนเถิด และโปรดช่วยเหลืออีซาให้รอดพ้นจากเคี้ยวเล็บของผู้กดขี่เถิด ปัจจุบันนี้พวกเขาได้กลายเป็นผู้เคร่งศาสนาวิงวอนขอพรจากอีซา ให้สนับสนุกการกดขี่ของพวกเขา พวกเขาได้ใช้ บทขอพรบังหน้า เพื่อสร้างความกดขี่ข่มเหงต่อประชาชาติ ทั้งที่คำสั่งจากฟากฟ้าถูกประทานลงมาเพื่อช่วยเหลือบรรดาผู้ที่ได้รับการกดขี่ข่มเหงบนหน้าแผ่นดิน โอ้ บรรดาผู้ได้รับการกดขี่ข่มเหงทั้งหลายพวกท่านจงลุกขึ้นยืนเถิด และช่วยกันขับไล่บรรดาผู้อธรรมออกไปจากบ้านเมืองของท่าน และจงรู้ไว้เถิดว่าอัลลอฮฺทรงมีพันธสัญญาให้ผู้ได้รับการกดขี่บนหน้าแผ่นดิน เป็นผู้สืบทอดมรดกการปกครองของพระองค์

 

โอ้ ประชาชนชาวอเมริกา พวกท่านอย่าไห้หลงเชื่อคารมผู้นำของท่าน ที่เขาประกาศว่าจะขยายอำนาจและสร้างความสุขให้คนอเมริกา เหล่านั้นเป็นเพียงคำพูดเพ้อฝัน พวกท่านอย่าได้หลงฟังเด็ดขาด และจงรู้ไว้เถิดว่าเยาวชนของเรานั้นจะปฏิบัติการโต้ตอบกับพวกระรานอย่างสาสม คำสั่งของอิสลามสอน คือความเมตตาแก่บรรดาเชลยทั้งหลาย แม้ว่าเขาจะเป็นผู้อธรรมก็ตาม

 

โอ้ ประชาชนขาวอเมริกา พวกท่านพึงขอร้องให้จิมมี คาร์เตอร์ส่งชาฮฺผู้อธรรม ผู้ก่ออาชญากรรมคืนอิหร่านเถิด เนื่องจากกุญแจของสายลับอยู่ในมือเขา พวกท่านไม่ใช่หรือที่เป็นผู้ลั่นกรองตีฆ้อง และวิงวอนขอต่อพระเจ้าว่าขอให้พระองค์ แสดงความยุติธรรมกับเขา ทั้งที่เขาไม่เคยแสดงความยุติธรรมกับผู้ใดเลย หน้ายินดีสำหรับบุคคลที่ได้ต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และพวกเขาได้รับอนิจสงเหล่านั้น [13]

 

รูฮุลลอฮฺ อัลมูซาวีย อัลโคมัยนี ยังได้พิสูจน์ให้พวกโซโรแอสเตอร์ พวกกะรีมียาน และคริสเตียนได้เห็นว่าสาส์แห่งฟากฟ้าของบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้า ได้ถูกประทานลงมาเพื่อขจัดชนชั้นวรรณะ และปฏิเสธการกดขี่ข่มเหงโดยสิ้นเชิง ท่านได้กล่าวกับประชาชาติเหล่านั้นว่า ..

 

“บรรดาศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายนับตั้งแต่อาดัม (อ.) จนถึงศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ได้นำสารมาสั่งสอนมวลมนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสดาที่เป็นเจ้าของบทบัญญัติ ซึ่งทั้งหมดได้ถือธงชัยแห่งเตาฮีดและเรียกร้องความยุติธรรม ให้บังเกิดขึ้นในหมู่ประชาชาติทั้งหลาย บรรดาศาสดาที่ถูกประทานลงมาไม่ได้ทำหน้าที่ปรับปรุงสังคมเพียงอย่างเดียว ทว่าท่านได้ถูกส่งมาเพื่ออบรมจริยธรรมแก่มวลมนุษย์ ขัดเกลาและยกระดับจิตใจมนุษย์ให้สูงส่ง สิ่งใดที่ท่านได้สอนสิ่งนั้นท่านได้ปฏิบัติด้วย พระเจ้าทรงปรารถนาที่จะสร้างและพัฒนามนุษย์ และต้องการให้ความเป็นมนุษย์ของเขาเติบโตไปในแนวทางที่ดี พระจึงประทานศาสดาลงมา และทั้งหมดได้พยายามปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างดีเยี่ยม”[14]

 

ท่านอิมามโคมัยนี้ (รฎ.) ได้ย่างก้าวไปข้างหน้าอย่างองอาจอีกก้าวหนึ่ง ท่านได้พยายามเชิญชวนผู้ได้รับการกดขี่ทุกคนบนโลกนี้ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในนิกายใดหรือศาสนาใดก็ตาม ขอให้พวกเขามีความเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อปกป้องสิทธิของตนจากน้ำมือของผู้อธรรมบนหน้าแผ่นดิน หรือทวงสิทธิของตนจากพวกเขา ท่านอิมามกล่าวว่า ..

 

“ฉันหวังว่าสักวันหนึ่งบนโลกนี้อาจเกิดพรรคนามว่า พรรคของผู้ได้รับการกดขี่ ขึ้น และบรรดาผู้ได้รับการกดขี่ทั่วทั้งโลกต่างเข้าเป็นสมาชิกของพรรคนี้ พวกเขาต่างช่วยกันขจัดอุปสรรคปัญหาที่กีดขวางเส้นทาง ร่วมมือกันต่อสู้กับบรรดาผู้อธรรมบนหน้าแผ่นดิน ตลอดจนบรรดาผู้ประจบสอพลอทั้งตะวันออกและตะวันตก และพวกเขาจะไม่อนุญาตให้ผู้กดขี่มาข่มเหงบรรดาผู้อ่อนแออีกต่อไป เสียงเรียกร้องของอิสลาม และพันธสัญญาของอิสลามคือ การจัดตั้งรัฐบาลเพื่อปกครองบรรดาผู้อธรรม เนื่องจากพระเจ้าทรงสัญญาว่าผู้สืบทอดมรดกของพระองค์บนหน้าแผ่นดินคือ บรรดาผู้อ่อนแอ จนถึงปัจจุบันนี้บรรดาผู้อ่อนแอกระจัดกระจายและแตกแยกกัน ซึ่งพวกเขาแยกกันทำงาน ขณะเดียวกันตัวอย่างของการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่อนแอบนโลก ท่านสามารถมองดูได้จากประเทศมุสลิมบางประเทศที่กระทำ ซึ่งแนวทางนี้จะต้องแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางทั่วทั้งโลก และจะต้องเกิดขึ้นในทุกเผ่าพันธุ์ของมนุษยชาติ ภายใต้ชื่อพรรคว่า พรรคของผู้อ่อนแอ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วพรรคนี้ก็คือ พลพรรคของอัลลอฮฺนั่นเอง เป็นพรรคที่เกิดขึ้นบนเจตนารมณ์และความประสงค์ของพระองค์ดังที่ตรัสว่า ผู้อ่อนแอคือผู้สืบทอดมรดกของฉัน ดังนั้น ฉันจึงขอเชิญชวนผู้อ่อนแอทุกคนบนโลกนี้ให้เข้าเป็นสมาชิกพรรคผู้อ่อนแอ และร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเกิดในประเทศใดหรือว่าประชาชาติใดก็ตาม”[15]

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฏ.) ได้สนับสนุนบรรดาผู้ที่ถูกกดขี่บนโลกนี้โดยไม่แบ่งเชื้อชาติหรือภาษา ในทัศนะของท่านถ้าเป็นผู้ถูกกดขี่แล้วไม่ว่าจะเป็นชาวอิหร่าน อัฟกานิสถาน เลบานอน แอฟริกา หรือแม้แต่อเมริกาทั้งหมดเท่าเทียมกัน  บนพื้นฐานดังกล่าวจะเห็นว่าเมื่อครั้นที่สายลับอเมริกันถูกจับเป็นเชลยในอิหร่าน ท่านอิมามได้สั่งให้ปล่อยชนผิวดำ สตรี และเด็ก ด้วยเหตุผลที่ว่าคนเหล่านี้ขณะอยู่ในอเมริกาพวกเขาก็ได้รับการกดขี่ อีกด้านหนึ่งมัสญิดในรัสเซียเก่าไม่สามารถเปิดอะซานได้ แต่หลังจากการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านประสบชัยชนะ ได้สร้างความดีใจแก่มุสลิมรัสเซียเป็นอย่างยิ่ง ท่านอิมามได้ส่งสาส์นถึงคาร์บาชอพ ประธานาธิบดีคนสุดท้ายของรัสเซีย เพื่อย้ำเตือนเขา

 

เมื่อมัสญิดได้ถูกเปิดอีกครั้งหลังจากถูกสั่งปิดมานานถึง 70 ปี เสียงอะซาน อัลลอฮุอักบัร และคำปฏิญาณยืนยันสภาวะการเป็นนบีของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ได้ดังขึ้นอีกครั้ง คราบน้ำตาได้ไหลรินอย่างท้วมท้นจากผู้ยึดมั่นในแนวทางของท่านศาสดา[16]

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวในอีกที่หนึ่งว่า “จำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษามหาวิทยาลัยกับบรรดานักการศาสนาต้องร่วมมือกัน ให้เกียรติกันและกัน นักศึกษามหาวิทยาลัยต้องให้เกียรตินักศึกษาศาสนา และนักศึกษาศาสนาก็ต้องให้เกียรตินักศึกษา อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงให้เกียรติทั้งสองฝ่าย บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) และวะฮฺยูได้กำชับประเด็นนี้แก่ประชาชาติของตน บรรดานักการศาสนานั้นมีอำนาจ การสูญเสียพวกเขาไป อัลลอฮฺ ไม่ทรงทำให้ศาสนาของพระองค์ตกต่ำ”

 

สิ่งที่ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ได้พยายามทำคือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างสถาบันศาสนาและมหาวิทยาลัย ท่านทราบดีว่าตราบที่องค์กรทั้งสองไม่สามารถร่วมกันได้ สังคมย่อมแตกแยกและความหายนะย่อมบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน อิมามพยายามเรียกร้องทุกฝ่ายบนหลักการร่วม ระหวางนักคิดและนักวิชาการให้ดำเนินไปบนเป้าหมายเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามโคมัยนี้ ได้ตอบจดหมายของ มุฮัมมัด อันซอรียฺ ที่ถามท่านเกี่ยวกับการตั้งพรรคที่เกิดขึ้นหลายพรรค ท่านตอบว่า เรื่องนี้มีความชัดเจนอย่างยิ่ง ระหว่างกลุ่มชนกับพรรคการเมืองที่มีอยู่ ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับการปฏิวัติ ถ้าแม้ว่าพวกเขาอาจมีความเห็นไม่ตรงกันบ้าง นั่นก็เป็นเพียงความแตกต่างทางการเมือง แม้ว่าจะมีความศรัทธาปะปนเข้าไปบ้างก็ตาม เพราะอะไร ก็เพราะว่าทุกคนมีหลักศรัทธาร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ ส่วนตัวฉันจึงไม่เห็นว่าจะมีความขัดแย้งกัน เพราะพวกเขาซื่อสัตย์ต่ออิสลาม อัล-กุรอาน และการปฏิวัติ หัวใจของพวกเขาต้องการรับใช้ประเทศชาติและประชาชน ซึ่งทั้งหมดได้เสียสละเพื่อความก้าวหน้า ความสำเร็จของอิสลาม และเพื่อรับใช้มุสลิม ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการให้ประเทศชาติของเขาเป็นอิสระ มีอำนาจเป็นตัวของตัวเองไม่ต้องพึงอำนาจของประเทศอื่นใด ทั้งสองพรรคมีเป้าหมายเดี่ยวกันคือ ต้องการพัฒนาอิหร่านให้มีความก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม ทั้งสองพรรคต้องการพัฒนาวัฒนธรรมอิหร่านให้มีความสูงส่ง พัฒนาความรู้ให้มีความก้าวหน้าทันสมัย ต้องการผลิตนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ในประเทศ ต้องการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางของความรู้ เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วพวกเขาขัดแย้งอะไรกันหรือ พวกเขาต่างมีความเชื่อว่าแนวทางของตนเท่านั้นที่สามารถนำพาประเทศชาติไปสู่เปาหมายได้ แต่ทั้งสองฝ่ายต้องสำนึกตลอดเวลา ถ้าหากต้องการใช้สถานการณ์ก็ต้องใช้ไปบนพื้นฐานของการปกปักรักษาอิสลาม ต้องปกป้องการปฏิวัติ ต้องไม่มีอคติต่อการปฏิวัติ ต้องสอนให้ประชาชนโกรธเกลียดระบบทุนนิยมตะวันตก ซึ่งเจ้านายของพวกเขาคือ รัฐบาลอเมริกา หรือจอมเขมือบโลกเช่นคอมมิวนิสต์ หรือสังคมนิยม ซึ่งหัวหน้าของพวกเขาคือ รัสเซีย ดังนั้น ทั้งสองต้องพยายามทำการเมืองในลักษณะที่ว่าไม่มีตะวันออก ไม่มีตะวันตก มีแต่รัฐอิสลาม และต้องไม่เลยขอบเขตความเป็นอิสลาม เพราถ้าหากละเมิดขอบเขตของอิสลามแม้เพียงเล็กน้อย พวกเขาจะต้องถูกดัดให้ตรงด้วยคมดาบของอิสลาม ทั้งสองพรรคต้องรู้ตัวอยู่เสมอว่าเขามีศัตรูร่วมกัน ซึ่งศัตรูจะไม่มีวันเมตตาทั้งสองพรรคอย่างแน่นอน ทั้งสองต้องคอยระวังรัฐบาลอเมริกาจอมเขมือบโลก และรัสเซียจอมทยศหักหลัง ทั้งสองพรรคต้องปลุกเร้าให้ประชาชนตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ทั้งสองพรรคต้องไม่หลงกลอเมริกา ซึ่งเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของอิสลาม ทั้งสองพรรคต้องไม่ลืมเลือนหรือหลงกลเท่ห์เพทุบาย นักล่าอาณานิคม  และต้องรู้เสมอว่าอเมริกาและรัสเซีย ไม่เคยหวังดีต่ออิสลามเลยแม้แต่นิดเดียว[17]

 

หลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งโดยสิ้นเชิง

 

ความขัดแย้ง เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ตลอดอายุขัย ท่านอิมาม (อ.) ได้พยายามหลีกเลี่ยงมาโดยตลอด บุคลิกภาพของท่านอิมาม แม้ว่าท่านจะยอมอ่อนข้อให้กับผู้ใดในเรื่องหลักความศรัทธาและการต่อสู้  แต่ท่านไม่เคยสร้างความแตกแยก หรือกระทำการใดที่นำไปสู่ความแตกแยกแม้แต่นิดเดียว เช่น ในหนังสือ กัชฟุลอัสรอร ท่านอิมามได้ตอบข้อครหาและคำใส่ร้ายของศัตรูที่มีต่อบรรดาอะอิมมะฮฺ (อ.) ผู้บริสุทธิ์ ท่านอิมามได้ประณามผู้ที่ปลิ้นสะดมสิทธิ์อันชอบธรรมของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) หรือในหนังสือพินัยกรรมประวัติศาสตร์ของท่าน จะเห็นว่าท่านอิมามได้เริ่มต้นเขียนพินัยกรรมด้วยฮะดีซซะเกาะลัยนฺ ซึ่งถือว่าเป็นการปกป้องสิทธิของอะฮฺบัยตฺ (อ.) อย่างเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ถึงกระนั้นท่านอิมาม (รฎ.) ไม่เคยเข้าร่วมพิธีที่จัดขึ้นแล้วอ้างว่า เป็นอีดซะฮฺรอ เด็ดขาด บรรดาสาวกที่ใกล้ชิดกับท่านอิมาม กล่าวเหมือนกันว่าท่านอิมามไม่เคยเข้าร่วมพิธีกรรมใดที่เป็นสาเหตุนำไปสู่ความแตกแยก หรือสร้างความแตกแยกในสังคม หรือสร้างความแตกแยกในเรื่องอะฮฺกามอิลาฮี เช่นเดียวกันแม้ว่าท่านอิมามจะไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมของบรรดาคุละฟาฮฺภายหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)  แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า อิมามปฏิเสธประเด็นที่จุดร่วมกัน เช่น อิมามกล่าวว่า เมื่ออุมัรต้องการจะเดินทางไปอียิปต์ หลังจากได้ตีแตกแล้วแต่ว่ามีอูฐอยู่แค่ตัวเดียว ซึ่งขณะนั้นมีท่านอุมัรและบ่าวร่วมทางอีกคนหนึ่ง ทั้งสองคนจึงสลับกันจูงและขี่อูฐจนถึงอียิปต์ ครั้นเมื่องใกล้จะเข้าอียปต์ถึงคิวที่บ่าวจะต้องขี่อูฐและท่านเคาะลิฟะฮฺต้องเป็นฝ่ายจูงอูฐ เมื่อเข้าอียิปต์ประชาชนได้แห่แหนมาต้อนรับเคาะลิฟะฮฺมากมาย สิ่งที่ต้องการกล่าวคือ แม้ว่าเราจะไม่ยอมรับในตัวเคาะลิฟะฮฺ แต่สิ่งที่เขาทำนั้นเป็นคำสอนของอิสลาม ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)  ก็เช่นเดียวกันครั้งหนึ่งท่านขี่ลาและมีบ่าวคนหนึ่งขี่ข้างหลังท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ถือโอกาสสอนศาสนาแก่เขา นี่คือคำสอนของอิสลาม ท่านทั้งหลายลองพิจารณาดูซิว่ามีผู้ปกครองทีอ้างตนว่าเป็นประชาธิปไตยคนใดบ้างที่กระทำเช่นนี้ พวกเขาเวลาจะเดินทางไปมาไหนมีทั้งบอดีการ์ดคอยคุมรักษาความปลอดภัย ทีทหารรักษาการและผู้ติดตามอีกจำนวนมาก พวกเขาจะไม่มีวันได้สัมผัสภาพความสวยงาม ฉะนั้น ผู้นำประชาธิปไตยจอมปลอมบนโลกนี้ เมื่อต้องการเดินทางไปประเทศใดประเทศหนึ่ง ท่านทั้งหลายจะเห็นว่าเขาเข้าประเทศนั้นอย่างไร แต่ผู้นำอิสลามเดินทางเข้าประเทศที่ยึดครองได้ กลับทำตัวสมถะเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น มิหนำซ้ำท่านยังขี่อูฐขี่ลาเข้าประเทศนั้นอีกต่างหาก และขณะที่เดินทางไปถึงประเทศอียิปต์ท่านยังเป็นฝ่ายจูงอูฐอีกด้วย ซึ่งการกระทำของท่านได้สอนให้ทุกคนได้ประจักษ์ถึงความสมถะไม่แบ่งชั้นวรรณะ และสิ่งนี้คือคำสอนของอิสลาม[18]

 

เช่นเดียวกันในหนังสือ อันวารุลฮิดายะฮฺ ตอนกล่าวถึง เหตุผลของอัล-กุรอาน หลังจากได้พิสูจน์แล้วว่า อัล-กุรอานไม่ถูก สังคายนา ไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ท่านได้เขียนจดหมายตอบ ผู้เขียนหนังสือฟัซลุลคิฏ็อบ ฟี ตะฮฺรีฟ อัลกิตาบ ซึ่งเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง แต่ท่านได้อ้างอิงถึงริวายะฮฺที่อ่อนแอว่า ในอัล-กุรอานนั้นมีโองการและบทที่กล่าวสรรเสริญท่านอิมามอะลี (อ.) แต่นักวิชาการฝ่ายซุนนียฺได้ตัดออกไป ซึ่งอาจกล่าวได้ว่านับเป็นครั้งแรกทีท่านอิมาม โคมัยนี ได้กล่าววิภาษค่อนข้างรุนแรง ท่านอิมามหลังจากอ้างคำพูดของเขาแล้ว ท่านกล่าวว่า

 

“สำหรับบุคคลที่หนังสือของเขาไม่มีคุณค่าทางวิชาการ และการปฏิบัติ ซึ่งได้รวบรวมเฉพาะฮะดีซที่อ่อนแอ และบรรดาสาวกส่วนใหญ่ปฏิเสธหนังสือของเขา ผู้เป็นเจ้าของความคิดและทัศนะทางวิชาการเฉกเช่น มุฮัมมัดทั้งสาม (มุฮัมมัด ยะอฺกูลกุลัยนียฺ มุฮัมมัด อะลี บาวัยยะฮฺ และมุฮมัมัด ฮะซัน ฏูซียฺ) ซึ่งฉันเชื่อว่าทั้งสามท่านก็ต้องโยนหนังสือของเขาทิ้งอย่างแน่นอน หนังสือดังกล่าวได้รวบรวมเฉพาะริวายะฮฺ ที่อ่อนแอเท่านั้น เหมือนหนังสือ มุสตัดร็อกวะซาอิล ขออย่าได้ถามถึงหนังสือของเขาอีกเป็นอันขาด เพราะหนังสือของเขาได้รวบรวมเรื่องเล่าที่ตลกขาขันมากที่สุด ส่วนใหญ่น่าจะเป็นเรื่องตลกโปกฮาเสียมากกว่าเรืองจริง เขาแม้ว่าจะเป็นนักวิชาการมีความรู้ แต่ชอบที่จะรวบรวมฮะดีซอ่อนแอ ประหลาด และน่าหัวเราะ ซี่งมมนุษย์ผู้มีสติปัญญาสมบูรณ์ส่วนใหญ่ไม่อาจยอมรับได้”[19]

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) นั้นจะพยายามหลีกเลี่ยงทั้งคำพูดและการการะทำที่นำไปสู่ความแตกแยก ทั้งด้านความคิดและการกระทำ อีกทั้งส่วนตัวท่านยังต่อต้านแนวคิดเหล่านั้น ท่านกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า

 

“ทุกวันนี้มุสลิมแตกแยกกันในเรื่องตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺของท่านอะลีอะมีรุลมุอฺมินีน ซึ่งถือว่าเป็นการทรยศอิสลามสิ้นดี”[20]

 

ดังนั้น จะเห็นว่าท่านอิมามคือผู้ต่อต้านความแตกแยก และให้ความสำคัญเรื่องความเป็นเอกภาพ และการร่วมมือกันของพี่น้องมุสลิม บางครั้งท่านอิมามให้ความสำคัญต่อประเด็นดังกล่าว ถึงขนาดที่ยอมพักอะฮฺกามบางอย่างของชีอะฮฺด้วยซ้ำไป เช่น ครั้งที่ท่านอิมามตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องฮัจญฺ ในการประกาศสาส์นถึงบรรดานักแสวงบุญทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า

 

“เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักแสวงบุญชาวอิหร่าน และชีอะฮฺในประเทศต่างๆ ที่ต้องหลีกเลี่ยงการกระทำอันโง่เขลาบางอย่าง อันเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่พี่น้องมุสลิม และเป็นความจำเป็นสำหรับพวกท่านที่จะต้องเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺกับพี่น้องซุนนีย์ หลีกเลี่ยงการนมาซที่บ้านพักและการวางดินนมาซโดยเด็ดขาด”[21]

 

ในอีกที่ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า “การวุกูฟทั้งสองในพิธีฮัจญฺ (อะเราะฟะฮฺและมัชอะริลฮะรอม) ให้ถือปฏิบัติตามกฎของอะฮฺลิซุนนะฮฺ แม้ว่าจะขัดแย้งกับข้อเท็จจริงก็ตาม”[22]

 

ท่านอิมามกล่าวว่า “ขณะที่อยู่ในมัสญิดนะบี และมัสญิดอัลฮะรอม เมื่อได้เวลานมาซ ผู้ศรัทธาต้องไม่เดินออกจากที่นั้น และต้องไม่หลีกเลี่ยงนมาซญะมาอะฮฺ ให้นมาซญะมาอะฮฺพร้อมกับพี่น้องมุสลิมคนอื่นๆ”[23]

 

ท่านอิมาม ไม่ได้เพียงออกฟัตวาในเรื่องนี้เท่านั้น ทว่าท่านคือตัวการในการขับเคลื่อนให้คำสั่งนี้ถูกดำเนินต่อไป เช่น ครั้นที่อิมามเดินทางออกจากนะญัฟไปยังประเทศคูเวต ท่านได้หยุดพักที่มัสญิดหลังหนึ่งใกล้เมืองบัศเราะฮฺ เวลานั้นตรงกับเวลาซุฮฺริชพอดี ท่านอิมามได้กล่าวแก่สหายร่วมทางว่า ในมัสญิดหลังนี้มีอิมามนำนมาซหรือไม่ เมื่อมีเสียงตอบว่า มี ท่านอิมามได้กล่าวว่า “ถ้าหากมีอิมามนำนมาซให้หยุดก่อนแล้วนมาซตามหลังอิมาม หรือไม่ก็ให้เดินทางผ่านตรงนี้ไปก่อนได้เวลานมาซ เมื่อถึงเวลานมาซแล้วต้องการนมาซคนเดียวถือว่าไม่ถูกต้อง”[24]

 

เช่นเดียวกันจะเห็นว่าท่านอิมามไม่เคยคิดตั้งพรรคการเมือง หรือกลุ่มเพื่อตนเอง และท่านก็ไม่ปล่อยให้ผู้ใดใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าวจากท่านด้วย หรือจัดตั้งกลุ่มแล้วพาดพิงมาถึงท่าน เช่น  ขณะทีท่านอิมามมาถึงสนามบินในเตหะรานหลังจากลี้ภัยการเมืองไปนานถึง 15 ปี  ท่านได้ขึ้นระที่จัดเตรียมไว้แล้ว และในเวลานั้นมีชายคนหนึ่งนั่งอยู่ในรถด้วย เขาเป็นหัวหน้ากลุ่มๆ หนึ่งที่มีชื่อเสียงในขณะนั้น ท่านอิมามได้ขอร้องให้เขาลงโดยไม่อนุญาตให้คนอื่นขึ้นรถ นอกจาก ซัยยิดอะฮฺมัด บุตรชายเพียงคนเดียวเท่านั้น”[25]

 

ดำเนินกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพอย่างต่อเนื่อง

 

อิมามโคมัยนี (รฎ.) ในฐานะของผู้เรียกร้องความเป็นเอกภาพมาสู่โลกอิสลามในทุกวันนี้ ซึ่งนอกเหนือไปจากการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านแล้ว ท่านยังปรารถนาให้มุสลิมทั้งโลกมีความรัก และสามัคคีกันโดยไม่มีการแบ่งแยกทางนิกาย ท่านยังได้เรียกร้องความเป็นเอกภาพระหว่างประชาชนอิหร่านด้วยกัน และมุสลิมโลก ท่านได้ถือปฏิบัติไปตามขั้นตอนเหล่านี้

 

1) ท่านได้เสนอทัศนะเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) คือผู้ที่รับรู้ปัญหาของโลกอิสลามได้อย่างท่องแท้ และปัญหาของกลุ่มประชาชาติที่อ่อนแอ กับคำถามที่ว่าเพราะเหตุใดคนบนโลกนี้จึงคิดที่จะปฏิวัติและปฏิรูประบบการปกครอง คำตอบคือตะวันและตะวันตกไม่สามารถทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีงาม หรือตั้งตนเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามทำนองครองธรรมได้นั่นเอง ดังนั้น ท่านอิมามจึงได้นำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาโลกในระบบโครงสร้างใหม่ เพื่อจัดการดูแลสังคมให้เจริญเติบโตไปในทางที่ดี ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามจึงได้นำเสนอ แนวทางของวิลายะตุลฟะกีฮฺ ระบบการปกครองที่วางอยู่บนพื้นฐานของอิสลามและศาสนา ซึ่งจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับขบวนการต่อสู้ทั้งหลาย ในยุคสมัยปัจจุบัน และโดยความช่วยเหลือของประชาชน ท่านจึงได้จัดตั้งรัฐอิสลามาขึ้น โดยเปิดให้มีการเลือกตั้งอิสระในรูปแบบใหม่ในประทศอิหร่าน ท่านอิมามได้เขียนถึงการวางรากฐานรัฐอิสลามไว้ในหนังสือ วิลายะตุลฟะกีฮฺ ของท่านว่า

 

“ถ้าหากเราการสนับสนุนและส่งเสริมความเป็นเอกภาพของมวลมุสลิมทั้งหลาย เพื่อว่าประเทศอิสลามจะไม่ถูกนักล่าอาณานิดคมรุกรานหรือเข้ายึดครอง หรือตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐที่ไม่ให้อิสรภาพแก่ประชาชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีหนทางเป็นไปได้เลย นอกจากเราต้องจัดตั้งรัฐด้วยตัวเอง ดังนั้น ถ้าต้องการให้ความสมานฉันท์เกิดขึ้นในสังคมอสิลาม และต้องการให้ประชาชาติมีความเสรี จำเป็นต้องขจัดการกดขี่และสมุนผู้ให้ความช่วยเหลือผู้กดขี่ให้หมดไปเสียก่อน หลังจากนั้นค่อยจัดตั้งรัฐที่ดำรงความยุติธรรมขึ้นปกครอง การจัดตั้งรัฐขึ้นมาก็เพื่อรักษาระบบและความสามัคคีในหมู่ประชาชาติ ดังที่ ท่านหญิงซะฮฺรอ (อ.) ได้กล่าวไว้ในคุฎบะฮฺว่า อิมามะฮฺ คือผู้รักษาระบบและเปลี่ยนความแตกแยกให้เป็นเอกภาพ”[26]

 

ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) จึงกล่าวเสมอว่า รัฐบาลคือตัวประสานที่ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่มุสลิมทั้งหลาย

 

2) ท่านอิมามประกาศวันกุดส์แห่งโลก

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) คือผู้ประกาศให้วันศุกร์สุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนเป็นวัน อัลกุดส์ และให้วันนี้เป็นวันร่วมมือกันของมุสลิมทั้งโลก ไม่มีการแบ่งสีผิว หรือชาติภาษา ไม่มีการแบ่งเชื้อชาติแต่อย่างใด ซึ่งเป็นที่ยอมรับของมุสลิมทั้งโลก และถือว่าเป็นจุดแห่งการร่วมแรงร่วมใจแสดงพลังความสามัคคีของมุสลิมทั้งโลก กลายเป็นวันแห่งการสร้างความเป็นเอกภาพ ท่านอิมามกล่าวถึงวันนี้ว่า “วันอัลกุดส์ คือวันแห่งอิสลาม วันอัลกุดส์ คือวันซึ่งอิสลามต้องได้รับการฟื้นฟู และเราคือผู้ฟื้นฟูอิสลาม เราคือผู้นำกฎหมายอิสลามมาปฏิบัติในประเทศอิสลาม วันอัลกุดส์ คือวันแห่งการประกาศต่อหน้าบรรดาอภิมหาอำนาจทั้งหลายว่า อิสลามจะไม่อยู่ภายใต้อำนาจของพวกเขาอีกต่อไป อิสลามจะไม่ให้ความร่วมมือกับผู้อธรรมบนหน้าแผ่นดินอีกต่อไป”[27]

 

3) การดำรงนมาซญุมุอะฮฺ

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ได้ประกาศให้มีการนมาซญุมุอะฮฺขึ้นในสังคมอิสลามแห่งอิหร่าน นับได้ว่าเป็นการสร้างความสามัคคีอันยิ่งให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชาติอิหร่าน ถ้าหากว่าอิหร่านไม่มีนมาซญุมุอะฮฺ แล้วละก็ ไม่แน่ว่าการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านจะสามารถยืนเผชิญหน้ากับศัตรูได้จวบจนถึงปัจจุบัน ท่านอิมามกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ..

 

“นมาซญุมุอะฮฺมีความจำเริญอยู่ในตัว และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กาปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านเกิดความมั่นคง และจะมั่นคงยิ่งขึ้นต่อไป”[28]

 

ท่านอิมามกล่าวว่า “นมาซญุมุอะฮฺ ถือว่าเป็นหนึ่งในความจำเริญอันใหญ่หลวงยิ่งของอิสลาม”[29]

 

4) การฟื้นฟูฮัจญฺอิบรอฮีม

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ถือว่าเทศกาลฮัจญฺคือ สูนย์รวมแสดงพลังของประชาชาติอิสลาม อันเป็นปัจจัยอันดีงามที่จะโน้มนำไปสู่ความเป็นเอกภาพของอิลามและมุสลิม แต่น่าเสียดายว่าความรู้เท่าไม่ถึงการของบรรดาอุละมาอฺนักปราชญ์ และผู้ปกครองที่โง่เขลาบางคนฮัจญฺอิบรอฮีมจึงหันเหออกไปจากแนวทางอันเป็นแก่นของอิสลาม กลายเป็นเพียงพิธีกรรมที่ถูกจัดทำขึ้นตามเทศกาลเท่านั้นเอง เป็นพิธีกรรมที่มีแต่ความแห้งแล้งไร้จิตวิญญาณ ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ได้ฟื้นฟูฮัจญฺอิบรอฮีมโดยการกล่าวประณามบรรดามุชริกีนขึ้นในพิธีฮัจญฺอันยิ่งใหญ่นั่นเอง ท่านได้ประกาศเชิญชวนให้มุสลิมทั้งโลกออกมาแสดงพลังความสามัคคี เพื่อเรียกร้องและยืนหยัดต่อหน้าผู้อธรรม และอภิมหาอำนาจทั้งหลาย อันเป็นสาเหตุนำไปสู่ความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิมต่อไป พิธีกรรมอันยิ่งใหญ่ในศาสนานี้ตามความเป็นจริงแล้ว มันคืออิบาดะฮฺทางการเมือง แม้ว่าจะมีอุปสรรคนานัปการแต่ก็ยังผลประโยชน์อันมหาศาลแก่สังคมมุสลิมและโลกอิสลาม แม้ว่าทุกวันนี้รัฐบาลซาอุดิอาระเบียจะสั่งห้ามไม่ให้มีการประณามบรรดามุชริกีน โดยนักแสวงบุญชาวอิหร่านก็ตาม แต่ทุกปีบรรดามุสลิมจากทั่วทุกมุมโลกได้ร่วมมือกัน จัดการประณามบรรดามุชริกีนผู้อธรรมขึ้นในช่วงเทศกาลฮัจญฺนั่นเอง

 

5) การออกคำสั่งฆ่าซัลมาลรุชดี

 

เมื่อโลกแห่งความอธรรมของตะวันตกได้ใช้กำลังความสามารถทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อทำลายรากฐานการปฏิวัติอิสลาม และตรงกับช่วงที่การปฏิวัติอิสลามก็ยังไม่กล้าแกร่งพอ ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ผู้เข้าใจถึงแผนการอันลึกซึ้งและแยบยลของศัตรูเป็นอย่างดี พวกเขาได้รวมตัวกันทั้งหมดเพื่อต่อต้านอิสลาม แต่ท่านอิมามโคมัยนีก็ได้เรียกร้องให้มุสลิมทั้งหมดสามัคคีกันเพื่อผนึกกำลังต่อต้านตะวันตก ในช่วงเวลานั้นท่านอิมามได้ออกคำสั่งสังหาร ซัลมาลรุชดี ซึ่งบรรดาอุละมาอฺอิสลามและนักปราชญ์ทั้งหมดต่างเห็นพร้องต้องกัน คำประกาศดังกล่าวเท่ากับเป็นการฟื้นฟูอิสลามให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อต่อต้านศัตรู

 

6) การเชิญชวนประธานาธิบดีรัสเซียให้เข้ารับอิสลาม

 

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ได้ส่งสาส์นเชิญชวนให้ประธานาธิบดี กาบาร์ชอพ แห่งรัสเซียเข้ารับอิสลาม ขณะที่ลัทธิคอมินิสต์กำลังจะสิ้นสลาย  ทำให้เสียงอะซานดังกึกก้องรัสเซียอีกครั้งหนึ่ง สร้างความตะลึงงันแก่ชาวโลกเป็นอย่างยิ่ง อิมามในฐานะผู้นำโลกอิสลามได้ทำให้เกียรติยศของอิสลามและมุสลิมเจิดจรัสขึ้นมาทันทีทันใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำทำนายของท่านอิมามที่ว่า ลัทธิคอมิวนิสต์กำลังจะสิ้นสลาย ลัทธิทุนนิยม และสังคมนิยมกำลังจะสิ้นสลาย ท่านจงกลับคืนสู่ศาสนาแห่งพระเจ้าเถิด อันเป็นศาสนาแห่งความเที่ยงธรรมและจริงแท้[30]

 

ด้วยเหตุนี้ จากสิ่งที่กล่าวมาสรุปได้ว่าการปฏิวัติ การต่อสู้ และการเคลื่อนของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) เป็นไปเพื่อการสร้างสรรค์ความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคม การประกาศเรียกร้องให้บรรดาผู้ถูกกดขี่ในสังคมหันมาร่วมมือกันยืนหยัดต่อสู้กับผู้อธรรม และยึดมั่นอยู่บนจุดร่วมอันเดียวกัน บนแนวทางดังกล่าวแม้ว่าท่านจะเรียกร้องความสามัคคี แต่ท่านก็ยังปกป้องหลักความเชื่อศรัทธาตามแนวทางของท่านไว้อย่างมั่นคง ท่านอิมามได้ตอบโต้บุคคลที่ดูถูกเหยียดหยามท่านหญิงฟาฎิมะฮฺ (อ.) ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งรัฐอิสลามอิหร่าน ในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน เช่นเดียวกันในบทนำหนังสือพินัยกรรมแห่งประวัติศาสตร์ ท่านอิมามได้อ้างอิงถึงฮะดีซซะเกาะลัยนฺ เพื่อเป็นสิ่งยืนยันให้เห็นถึงความเชื่อศรัทธาอันมั่นคงของท่าน

 

ดังนั้น จะเห็นว่าการนรงค์เรื่องความสมานฉันท์ของท่านอิมามนั้น วางอยู่บนพื้นฐานหลักสำคัญ 5 ประการตามที่กล่าวมา ซึ่งยังมีมากกว่านี้แต่ไม่อาจนำเสนอได้ทั้งหมดในบทความนี้ ท่านผู้อ่านที่ติดตามแนวคิดของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักพิมพ์ผลงานของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.)

 

แหล่งอ้างอิง วารสารฮุฎูร ฉบับที่ 35

 

[1]  เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 1 หน้า 21  วันที่ 11 ญะมาดิอุลอูลา 1363

 

[2]  เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 13 หน้า 381-382  วันที่ 15-9- 1359

 

[3] กัชฟุลอัสรอร หน้า 210

 

[4]  เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 1 หน้า 178  วันที่ 16 -1- 1341

 

[5]  เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 8 หน้า 460  วันที่ 14 -4- 1358

 

[6]  เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 20 หน้า 325  วันที่ 6 -5- 1366

 

[7]  เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 1 หน้า 21  วันที่ 23 -3-1363

 

[8] การวิเคราะห์และวิจัยขบวนการต่อสู้ของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) เล่ม 1 หน้า 99

 

[9] การวิเคราะห์และวิจัยขบวนการต่อสู้ของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) เล่ม 1 หน้า 149

 

[10] เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 1 หน้า 306  วันที่ 25 -2- 1343

 

[11] พอเบะพอ ออฟตอบ เล่ม 4 หน้า 43

 

[12]เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 9 หน้า 66  วันที่ 22 -4- 1358

 

[13]เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 11 หน้า 375-377  วันที่ 2/10/1358

 

[14]เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 17 หน้า 98  วันที่ 27/8/1361

 

[15]เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 9 หน้า 280  วันที่ 27/5/1358

 

[16]เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 21 หน้า 222  วันที่ 11/10/1367

 

[17]เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 21 หน้า 176-178  วันที่ 10/8/1367

 

[18]เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 4 หน้า 325-326  วันที่ 14/ 8/1357

 

[19]อันวาร อัลฮุดา เล่ม 1 หน้า 243

 

[20]เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 8 หน้า 481  วันที่ 15/4/1358

 

[21]เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 10 หน้า 61  วันที่ 29/6/1358

 

[22] เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 10 หน้า 62  วันที่ 29/6/1358

 

[23]มะนาซิกฮัจญฺ หน้า 257

 

[24]พอเบะพอ ออฟตอบ เล่ม 4 หน้า 270

 

[25]อ้างแล้ว เล่ม 3 หน้า 135

 

[26]วิลายะตุลฟะกีฮฺ หน้า 27

 

[27]เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 9 หน้า 277  วันที่ 21/6/1358

 

[28] อ้างแล้วเล่มเดิม

 

[29] เซาะฮีฟะฮฺ อิมาม เล่ม 17 หน้า 104  วันที่ 3/9/1361

 

[30] อ้างแล้วเล่มเดิม

ที่มา เว็บไซต์บะลาเฆาะฮ์

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม