ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ตอนที่ 4
ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ตอนที่ 4
โดย อดุลย์ มานะจิตต์
ในเตาไฟ มีการปลูกพืชและใช้แผ่นดินในการเพาะปลูกด้วยวิธีดั้งเดิม มีการนำสัตว์บางชนิดมาเลี้ยงไว้ในครัวเรือน มนุษย์เรียนรู้ว่าเมล็ดพืชชนิดใดจะใช้หว่านเป็นอาหารและชนิดใดใช้เป็นต้นไม้ให้ผล และชนิดใดใช้เป็นไม้เพื่อก่อสร้าง มนุษย์รู้จักประดิษฐ์คันธนูและลูกศรเพื่อทำให้พวกเขาปลอดภัยจากสัตว์ร้ายบางชนิดและผลิตหอก แหลนหรือฉมวกไว้สำหรับล่าสัตว์และแทงปลา หัวธนู หัวหอกและขวานยังคงทำด้วยหินที่ลับจนคมมีการพัฒนาฝีมือในการผลิตเครื่องมือเหล่านี้ตลอดศตวรรษต่างๆ ที่ผ่านมา ซึ่งพวกเขได้ทิ้งไว้เป็นโบราณวัตถุให้กับพวกเราได้ค้นคว้าและศึกษาถึงชีวิตของพวกเขาในอดีต
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า จากการที่นักประวัติศาสตร์และโบราณคดีเรียกมนุษย์ในยุคนี้ว่าเป็นยุคหินใหม่ก็เพราะเครื่องมื่อต่างๆ ที่พวกเขาใช้ยังคงทำด้วยหิน ฉะนั้นหากเครื่องมือเหล่านี้พัฒนาขึ้นไปใช้โลหะก็จะเรียกยุคนั้นๆ ไปตามชื่อของโลหะที่ใช้ เช่น ยุคทองแดง (Chalcolithic Age) และยุคบรอนซ์ (Bronze Age) ยุคเหล็ก (Iron Age) และมนุษย์ในยุคปัจจุบันหรือ Modern Races of Man
นักโบราณคดีได้จัดให้ยุดหินกลางเริ่มต้นขึ้นเมื่ออย่างน้อยประมาณ8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปตอนเหนือ และยุคหินใหม่เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณไม่เกิน 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และยุคนี้ได้ดำเนินต่อมาจนถึงยุคทองแดงซึ่งเริ่มต้นขึ้นเป็นวัฒนธรรม และด้นพบว่ามีการถลุงทองแดงใช้กันในดินแดนตะวันออกใกล้ (เมโสโปเตเมียและอียิปต์ อยู่ในช่วงระหว่าง 4,500 ปี ถึง 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ส่วนในยุโรปไม่ปรากฏว่าได้มีการใช้ทองแดงจนถึง 2,500 ปีก่อนดริสต์ศักราช
ยุคบรอนซ์ ถือเป็นการเริ่มต้นของอารยธรรม ทั้งนี้เพราะการนำโลหะต่างๆ มาใช้ การก่อร้างสร้างเมือง (ศิวิไลซ์) ทั้งนี้เพราะการนำโลหะต่างๆมาใช้ การก่อสร้างเมือง (ชิตี้ เพื่อการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม และการกระจาย
ตัวออกไปตามภูมิภาคต่างๆ มีการวางกฎเกณฑ์ (Policy) และรักษากฎเกณฑ์ (Police) ต่าง ๆ ในนครรัฐ ซึ่งชาวกรีกเรียกว่า เออแบ้น ส่วนในตะวันออกกลางเรียกว่า มะดีนะฮ์ ซึ่งหมายถึงเมืองและชีวิตในชุมชนเป็นต้น ด้วยการก่อร้างสร้างเมืองเหล่านี้ ชีวิตมนุษย์ได้รับแนวความคิดอันสูงส่งประการหนึ่ง และจึงก้าวเข้ามาสูโฉมหน้าใหม่ มนุษย์จึงมิได้มีชีวิตอยู่เพื่อแสวงหาอาหารใส่กระเพาะเพื่อดับความหิวกระหายเพียงอย่างเดียวแต่เขาเริ่มมีการใฝ่ฝันและจินตนาการเมื่อมองดูโลกรอบๆ ตัวเขา จึงก่อให้เกิดสำนึกที่มีเป้าหมาย ยิ่งเขาได้รับความสำเร็จจากการดิ้นรนต่อสู้กับธรรมชาติได้มากเท่าใด ความอยากใคร่และความต้องการให้ได้มาก็ยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น มนุษย์ในฐานะผู้มีสติปัญญาและจินตนาการ จึงเข้าใจได้ว่าการจะกระทำให้ความใฝ่ฝันของเขาสัมฤทธิ์ผลเขาจำเป็นจะต้องแสวงหาความรู้และวิชาการต่างๆ
ความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์แยกให้เห็นได้อย่างเด่นชัดจากสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่อยู่อย่างนิ่งเฉยไม่รู้จักพัฒนา ก็ตรงปัจจัยทางจิตวิญญาณซึ่งเป็นสมบัติภายในประการหนึ่งที่เราเรียกว่า สติปัญญาหรือเหตุผล อันเป็นปรากฏการณ์ทั้งมวลที่น่าทึ่งที่สุด ที่ทำให้มนุษย์มองย้อนไปข้างหลังและมองไปข้างหน้าได้ เพื่อการปรับแต่งอดีตและพัฒนามันให้ดีขึ้น ทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอเพื่อวิธีการใหม่ๆ และเพื่อประดิษฐ์กรรมและนวัตกรรมใหม่ๆทุกๆ ก้าวที่มนุษย์เดินออกไปข้างหน้า ได้ฝังรอยจารึกของเขาไว้ในที่เก็บรักษาความทรงจำต่างๆ ของเผ่าพันธุ์ของตน หากเกิดความสำนึกของความไม่พอใจในสิ่งใดที่ไม่สมบูรณ์ขึ้นมา มันก็จะกระตุ้นเขาให้เข้าไปแก้ไขสิ่งเหล่านั้น จึงเป็นการเปิดเผยให้เห็นถึงผลกระทบของปรากฎการณ์ที่ลี้ลับที่อธิบายไม่ได้อันเยี่ยมยอดนี้ ที่เรียกว่า “จิตใจ” แสงสว่างของมันทำให้เขามองเห็นวัตถุประสงค์และเหตุการณ์ต่างๆ ที่สะท้อนไปบนสิ่งเหล่านั้นก่อให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ และเก็บข้อมูลนี้เพื่อการใช้มันใน
อนาคต เอาไว้ในคอมพิวเตอร์ที่น่าฉงนฉงาย ซึ่งเรียก “มันสมอง” นี้ว่า”หน่วยความจำ” ที่มีไว้ให้พร้อมสำหรับการสร้างสมมุติฐาน ทัศนะ การทดสอบ ทดลองและความก้าวหน้าใหม่ ๆ
ผลิตผลที่ถือเป็นการปฏิวัติอีกสองชนิดของความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ ที่ถือกำเนิดขึ้นมาท่ามกลางความโบร่ำโบราณของยุคก่อนประวัติศาสตร์ตามทัศนะของตะวันตกดังกล่าว ก็คือการประดิษฐ์ ล้อเลื่อน เพื่อการขนส่งและภาษา ที่ใช้เสียงที่มีความหมายสื่อต่อกัน ทั้งที่เกี่ยวกับวัตถุที่สัมผัสทั้งห้ารับรู้ได้ และสื่อกันในสิ่งที่เป็นความหมายแฝงเว้น เช่นตัวเลขหรือการนับ แนวคิดความเห็นต่างๆ โครงการต่างๆ เคารพในอำนาจที่ควบคุมธรรมชาติอันไม่แน่นอน ด้วยกับภาษานี้เองที่ก่อกำเนิดชีวิตในสังคม และอารยธรรมที่แท้จริงจึงถือกำเนิดขึ้นมา การปฏิวัติของมนุษย์ในด้านนี้เองที่นักประวัติศาสตร์ใช้เป็นช่วงตอนของการเปลี่ยนแปลงจากยุคก่อนประวัติศาสตร์มาสู่ยุคประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกด้วยการขีดเขียนแทนการขุดค้นเพื่อมองหาโบราณวัตถุแต่เพียงอย่างเดียว
ดังนั้นตลอดระยะเวลาหกพันปีที่ผ่านมา มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์อักษรทั้งที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ เช่น รูปคน รูปสัตว์ ต้นไม้ ขีด ทั้งเส้นตรงและเส้นโค้งเพื่อการนับ และการใช้สีต่างๆ เพื่อกำหนดให้เห็นความแตกต่างของสิ่งของชนิดเดียวกันทั้งในขนาดและจำนวน เป็นต้น และการใช้อักษรหรือพยัญชนะแทนการออกเสียง เมื่อนำแต่ละอักษรมาเขียนรวมกัน จึงได้คำจำนวนมากมายของแต่ละภาษาที่มนุษย์ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ในทั้งสองแบบเช่นภาษาจีนที่เหมือนกันกับตัวหนังสือของอียิปต์โบราณและอักขระของภาษาต่างๆ ของโลกดังกล่าว
ในขณะเดียวกัน การก่อสร้างตึกที่ทำด้วยอิฐ หิน ปูน ทราย ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมากเช่นกัน การชั่ง ตวง วัด สามารถกระทำได้อย่างแม่นนำ มนุษย์เรียนรู้การถลุงโลหะจากการนำไปหลอมในไฟและหล่อเป็นรูปพรรณโดยทำให้มันมีเนื้อโลทะที่อ่อนลง เพื่อการตัดและเข้ารูปได้ง่ายตามต้องการ โลหะที่ถลุงมาใช้เป็นชนิดแรกก็คือทองแดง ดีบุก และโลหะผสมเช่นบรอนซ์ โลทะทั้งสามชนิดนี้จึงปรากฎว่ามีใช้กันตามภูมิภาคต่างๆ เมื่อ4,000-3,000 และ2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชตามลำดับ
เมื่อได้มีการประยุกต์ใช้ศิลปะเช่นเดียวกันนี้กับเหล็กที่มีความแข็งแกร่งกว่า จึงทำให้ยุคบรอนซ์ต้องเปิดทางให้กับ “ยุคเหล็ก” อันเป็นการเริ่มต้นของยุคสมัยใหม่ เมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ณ เมโสโปเตเมียแห่งลุ่มน้ำไทกรีสและยูเฟรติส
เมื่อสี่พันปีที่ผ่านมา ศาสนาที่แท้จริงฉายแสงขึ้นโดยศาสดาอับรายัมผู้ซื่อสัตย์ ที่ตอบรับคำเรียกร้องของพระเจ้าผู้ทรงเกรียงไกร ณ แผ่นดินแห่งบาบิโลน พระเจ้าผู้สร้างโลกทรงมอบภารกิจให้กับอับราฮัมด้วยกับการนำสังคมของชาวบาบิโลนให้ออกมาจากการนับถือมนุษย์และเจว็ดเป็นพระเจ้า เพราะความหลงใหลในความเจริญทางวัตถุที่อาศัยวิชาไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ของกษัตริย์นัมรูดหรือนิมรอด
อับราฮัมจึงเป็นศาสดาของพระเจ้าที่เจริญรอยตามบรรดาศาสดาแต่เก่าก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านเป็นพรรค (ชีอะฮ์) ของนุฮ์หรือโนอา ในสมัยก่อนและหลังมหาอุทกภัยซึ่งบังเกิดขึ้นกับโลกเมื่อประมาณ 7,500ปีก่อนคริสต์ศักราช รายละเอียดของเรื่องนี้จะได้นำไปกล่าวในบทต่อไป ซึ่งจะครอบคลุมเผ่าพันธุ์ต่างๆ ของโลก ที่สืบเชื้อสายมาจากบุตรทั้งสามของโนอา คือท่านซัม (เซมิติก) ฮัม(เฮเมติก) และยาเฟร (มองโกลอย) เป็นต้น
เพื่อสรุปบทนี้ให้สั้นเข้าจึงจะขอกล่าวถึงอาณาจักร (ราชวงศ์และจักรวรรดิ ใหญ่ๆ ของโลก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมโบราณของโลกสองสามอาณาจักร จากนั้นจึงจะก้าวมาสู่การกำเนิดของจักรวรรดิโรมันราชวงศ์ยุคต้นๆ ของเอเชียและแอฟริกาเริ่มต้นขึ้นด้วยกับอารยธรรมของเมโสโปเตเมีย (แผ่นดินที่ทอดอยู่ระหว่างแม่น้ำทั้งสอง) ซึ่งราชวงศ์ตอนล่างนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 3,200-1.025 ปีก่อนคริสต์ศักราช ส่วนราชวงศ์ตอนบนเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 1,700-609 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นจึงเข้าสู่ยุคของจักรวรรดิบาบิโลนยุคใหม่ เริ่มต้นเมื่อ 626-333 ปีก่อนคริสต์ศักราช
อารยธรรมของ อียิปต์ เริ่มต้นขึ้นด้วยกับราชวงศ์เก่าในปี 2615-1991ก่อนคริสต์ศักราช บางกระแสกล่าวว่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์กลางเริ่มต้นขึ้นในปี 1991-1570 ก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นราชวงศ์ใหม่จึงเข้าสืบแทนนับจากปี 1570-323 ก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นจึงเป็นยุคสมัยการปกครองของจักรวรรดิเปอร์เชียและจักรวรรดิกรีกสืบต่อมา
ดินแดนซีเรียและปาเลสไตน์ เริ่มต้นขึ้นด้วยกับชาว คันอาน ยุคเก่านับจากยุคบรอนซ์ตอนต้นเมื่อ 3,300 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึง 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของยุคบรอนซ์ I ตอนท้าย
ชาวอิสราเอล เริ่มตั้งรกรากขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์เมื่อราว 2,000ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึง 722 ปีก่อนคริสต์ศักราช
การสถาปนาราชอาณาจักรยูดา เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 922-587 ปีก่อนคริสต์ศักราช ส่วนชาวอารเบียปรากฎตัวอยู่ในดินแดนซีเรียและปาเลสไตน์เมื่อปี 1.300-732 ก่อนคริสต์ศักราช และชาวโฟนีเชีย เริ่มเข้ามาตั้งรกรากอยู่บนดินแดนนี้นับจากปี 1,100-332 ก่อนคริสต์ศักราช
ดินแดนอนาโตเลียเป็นที่อยู่ของชาวฮิทไทส์ ซึ่งสร้างราชวงศ์ขึ้นมานับจากปี 1,800-1,200 ก่อนคริสต์ศักราชจากนั้นราชวงศ์พรายเจียนจึงถูกสถาปนาขึ้นในปี 1,000 และล่มสลายไปในปี 547 ก่อนคริสต์ศักราช
อารมาเนีย เป็นอีกดินแดนหนึ่งที่ชาวแวนได้สร้างราชวงศ์ของตนขึ้นมาหรือที่เรียกกันว่า อุรารตุหรืออรารัต มีภาษาที่ใช้เขียนเป็นแบบอักษรรูปสามเหลี่ยมหรือคิวนิฟอร์มของชาวอัสสีเรียโบราณและเปอร์เชีย เริ่มต้นราชวงศ์เมื่อ 1,270-850 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นชาวพรายเจียนได้เข้ายึดครองพรมแดนของอุรารๆ และตั้งราชวงศ์อัรมาเนียขึ้นปกครอง มีกษัตริย์หลายองค์ปกครอง และสิ้นสุดราชวงศ์เมื่อ 56 ปีก่อนดริสต์ศักราช
เปอร์เชียหรืออิหร่านปัจจุบัน เป็นดินแดนที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ย้อนหลังกลับไปได้ถึง 2,850 ปีก่อนคริสต์ศักราช ที่ชาวอิแลมได้ตั้งราชอาณาจักรของตนขึ้น ซึ่งมีอารยธรรมของชาวสุเมเรียเป็นรากฐาน จริงๆแล้วผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ สามารถสืบย้อนหลังกลับไปได้ถึง5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ณ ดินแดนสูสา พวกเขารู้จักการผลิตทองแดงมาใช้และทำเครื่องปั้นดินเผาที่ประดับประดาด้วยรูปสัตว์ ทั้งที่เป็นแบบจริงและเป็นแบบโบราณ ชาวอารยันผู้เป็นบรรพบุรุษของชาวอินโด-ยุโรเปียน แห่งชนชาติอินโด-อิราเนียน เข้ายึดครองอิหร่านจากทางด้านเหนือในราวปี 1,800 ก่อนคริสต์ศักราช และได้กลายเป็นพลเมืองโดยทั่วไปของอิหร่านในเวลาต่อมา
ชาวมิเดส ถูกกษัตริย์อัสซีเรียโจมตีและจึงอยู่ใต้การปกครองนับจากปี 835-625 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาจึงสามารถตั้งราชอาณาจักรมีเดียของตนขึ้นได้โดยเข้าปกครองดินแดนของชาวอัสสีเรียนทางด้านตะวันออกของแม่น้ำไทกรีสรวมทั้งอุรารตุ (อารมาเนีย) และดินแดนอิหร่านตะวันออก
ต่อมากษัตริย์ไซรัสมหาราช ได้ทรงถอดถอนกษัตริย์แห่งมีเดียออกจากราชบัลลังก์ และผนวกดินแดนมีเดียเข้าไว้ในจักรวรรดิเปอร์เซียในปี550 ก่อนคริสต์ศักราช และได้เข้ายึดครองไลเดียและบาบิโลเนีย และจึงสถาปนาจักรวรรดิเปอร์เชีย ซึ่งมีราชอาณาจักรขยายออกไปจนถึงแม่น้ำสินธุทางตะวันออกจรดทะเลเมดิเตอเรเนียนทางตะวันตก ทางเหนือจรดเทือกเขาคอเคชัส ทางใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย กษัตริย์ปกครองอยู่หลายพระองค์จนถึงวาระที่ถูกกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราชเข้ายึดดรองจักรวรรดิเปอร์เชียในปี 331 ก่อนคริสต์ศักราช
ดินแดนแห่งหุบเขาอินดัส มีปรากฎให้เห็นถึงอารยธรรมเมือง ณ ฮารับปาและโมเฮนโจดาโร ประวัติศาสตร์อินเดียเริ่มต้นด้วยกับการบุกรุกของชาว อารยัน จากที่ราบสูงของอิหร่าน โดยค่อยๆ ผลักดันหรือดูดกลืนเอาชาว ดาร์วิเดียนผิวดำ และชาว มุนดา ซึ่งเป็นพวกออสโตร-เอเชียติก เป็นชนที่ดั้งเดิม การเข้ายึดครองนี้กำหนดให้อยู่ในระหว่าง 2,000-1,200ปีก่อนคริสต์ศักราช
ชาวอารยันอินเดีย นับถือศาสนาแห่งเทพเจ้าโดยมีพระอินทร์เป็นหัวหน้า ตั้งแต่ปี 1,200-800 ก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นศาสนาพราหมณ์จึงเริ่มมีการเผยแพร่และขยายตัวออกไปเช่นกัน เริ่มมีการจัดตั้งวรรณะ โดยสามวรรณะแรกคือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ จะเป็นชาวอารยัน แต่วรรณะที่สี่คือพวกศูทรหรือจัณฑาล จะเป็นชาวพื้นเมืองที่ไม่ใช่อารยัน จึงอยู่ในฐานะทาส ศาสนาพราหมณ์เผยแพร่คู่กันมากับศาสนาของชาวอารยันจนถึงปี 500 ก่อนคริสต์ศักราช จวบจนถึงการประสูติของพระพุทธองค์อันเป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธในอินเดีย และแผ่ขยายไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบันจุดเด่นของคำสอนของพระพุทธองค์ก็คือ มนุษย์ทุกคนโดยไม่คำนึงถึงชาติกำเนิด สามารถพัฒนาตัวตนของเขา ให้บรรลุสู่นิพพานได้ด้วยการประกอบกรรมดีละเว้นความชั่ว โดยไม่ต้องเคารพกราบไหว้เทพเจ้าทั้งหลายของชาวอารยันและของศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ครองราชย์จากปี 274-236 ก่อนคริสต์ศักราช พุทธศาสนาจึงแพร่ขยายออกไปทั่วทวีปเอเชีย แอฟริกาเหนือและยุโรปตะวันออก คำสอนในเรื่อง “อหิงสา” ถือเป็นจุดเด่นของพระองค์
การสร้างพระพุทธรูปปรากฎขึ้นเป็นครั้งแรกภายหลังจากที่อเล็กซานเดอร์มหาราชเข้ารุกรานปัญจาบ ข้ามแม่น้ำสินธุไปในเดือนกุมภาพันธ์ 326ก่อนคริสต์ศักราช นำทัพเข้าสู่เมืองตรรกศิลาจากนั้นจึงถอยทัพกลับและสวรรคตที่นครบาบิโลน
ศาสนาฮินดู ถือกำเนิดขึ้นซึ่งแตกแขนงมาจากความเชื่อในอำนาจของเทพเจ้าต่างๆ ของศาสนาพราหมณ์ เพิ่มเติมความเชื่อในเรื่องของอวตารเข้ามาในศาสนาฮินดู เช่น พระรามเป็นองค์อวตารองค์หนึ่งของพระวิษณุเป็นต้น
โคลงมหาภารตะของฮินดู ว่าด้วยเรื่องการแย่งบัลลังก์ระหว่างสองราชวงศ์ และโคลงเรื่องรามเกียรติ์ หรือเรื่องพระลักษณ์ พระราม และนางสีดา แต่งขึ้นในช่วง 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช
แผ่นดินจีนเป็นดินแดนที่มีอารยธรรมเก่าแก่โบราณเช่นกัน ราชวงศ์แรกต้นเป็นราชวงศ์ ตะวันตก เริ่มขึ้นในปี 1,000 ก่อนคริสต์ศักราชจากนั้นจึงเป็นการปกครองของราชวงศ์ต่างๆ สืบราชวงศ์ต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนานจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 แห่งคริสต์ศักราช ดังนั้นการปกครองในระบบราชวงศ์ของจีนจึงมีอายุยืนยาวนานถึง 3,000 ปี
ดินแดนโบราณที่ถือเป็นต้นกำเนิดอันสำคัญของอีกอารยธรรมหนึ่งของมนุษยชาติ และมีอิทธิพลแผ่ขยายไปทั่วภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะในหมู่ชนชาติอารยันก็คือดินแดนกรีก เมื่อพูดถึงกรีกนักวิชาการโดยทั่วไปมักจะพูดถึงประวัติศาสตร์ของเอเธนส์ในช่วง 600 ปีก่อนคริสต์ศักราชลงมาเพราะในช่วงนี้นครเอเธนส์มีนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกปรากฏตัวอยู่หลายท่าน เช่น โสกราตีส พลาโต และอริสโตเติล เป็นต้น
แต่จริงๆ แล้วอารยธรรมของกรีกเริ่มต้นขึ้นด้วยกับอารยธรรมไมน่อนเมื่อ 3,000-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช ดังนั้นในช่วง 2,000 ปีนี้นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งยุคใหญ่ๆ ออกเป็น 3 ยุค และยุคย่อยๆ 3 ยุคคือ ไมน่อนยุคต้น 2,700-1,900 ปีก่อนคริสต์ศักราช ไมน่อนยุคกลาง 1,900-1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ไมน่อนยุคปลาย 1,600-1,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งแบ่งย่อยออกไปเป็นไมน่อนยุคปลาย I 1,600-1,450 ไมน่อนยุคปลาย I 1,450-1,400 และไมน่อนยุคปลาย I (ยุคไมซีเนียน) 1,400-1,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช อารยธรรมของชาวกรีกที่เรียกว่า “ไมน่อน”นั้น ได้ชื่อมาจากกษัตริย์ไมนอสแห่งคนอสอส ตามเรื่องที่เล่าขานกัน
อารยธรรมกรีกจึงผ่านยุคเครื่องปั้นดินเผา ยุคทองแดงและยุคบรอนซ์มาด้วยประการฉะนี้ ภายหลังจากสงครามโทรจันแห่งเมืองทรอยยุคไมซีเนียนจึงมาถึงจุดจบ เมื่อถูกผู้คนบุกรุกเข้าสู่เอเชียน้อยและขยายตัวเรื่อยลงไปถึงอียิปต์ กรีกเข้าสู่ยุคมืด พระราชวังและตึกรามบ้านช่องถูกทำลายลงอย่างราบคาบโดยเฉพาะที่คนอสอส และตกอยู่ในสภาพเช่นนี้เป็นเวลาถึง 300 ปี ในช่วงนี้ชาว โดเรียนส์ ผู้บุกรุกกลุ่มใหม่ได้นำเหล็กเข้ามาใช้ จึงถือเป็นการเริ่มต้นยุคเหล็กในดินแดนนี้ราวปี 800 ก่อนคริสต์ศักราชกรีกจึงเริ่มต้นเข้าสู่ยุดฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ หลังจากที่ได้รับแรงดลใจจากอารยธรรมเก่าแก่ของทางตะวันออก ทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ชนชั้นสูงมีอำนาจปกครองประเทศ จึงแบ่งผู้คนออกเป็นชนชั้นต่างๆชนชั้นผู้ถูกกดขี่จึงลุกขึ้นก่อกบฎและจัดการปกครองแบบเผด็จการไปทั่วดินแดนกรีก จากช่วงปีที่ 650-500 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งชาวนาชาวไร่ผู้ยากไร้ให้การสนับสนุน นักปราชญ์ผู้เป็นบิดาของลัทธิปรัชญาต่างๆ ถือกำเนิดขึ้นในช่วงนี้ เช่น ธาเลส, อนิกชิมีเนส และ อนักซิมานเดอร์ เป็นต้น จากนั้นจึงเกิดการก่อตัวเป็นการปกครองแบบรัฐกรีกขึ้นโดยทั่วไป จนถึงการมาของ อเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์แห่งมาชิโดเนียในปี 336-323 ก่อนคริสต์ศักราช
ในขณะเดียวกัน โรมถูกสถาปนาขึ้นในปีที่ 750 ก่อนคริสต์ศักราชและช่วงศตวรรษต่อๆ มา โรมได้ขยายการปกครองออกไปอย่างกว้างไกลหลังจากที่โรมสถาปนาขึ้นมาไม่นานนัก ได้เกิดศาสนาโซโรอาสเตอร์ (ซารดุชท์) ขึ้นในอิหร่าน และได้เป็นศาสนาประจำชาติของจักรวรรดิเปอร์เชียในรัชสมัยของราชวงศ์ซัสสะนีด เมื่อปี 226 หลังคริสต์กาล ในช่วงเดียวกับการก่อตั้งกรุงโรม ขงจื้อและเล่าจื้อเกิดขึ้นในเมืองจีน และพระพุทธองค์ในอินเดีย ได้วางรากฐานหลักปรัชญา ซึ่ง โสคราติส พลาโตและอริสโตเติล ได้นำมาพัฒนาขึ้นในดินแดนกรีกของช่วงศตวรรษที่ตามมา
ความสูงส่งของคำสอนทั้งหมดนี้พบอยู่ในการประสูติและวิถีชีวิตของพระเยซูคริสต์ ผู้ประกาศเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสังคมมนุษยชาติให้พ้นไปจากความสกปรกโสมมของลัทธิวัตถุนิยมในแบบของพวกยิว เพื่อขจัดการฉ้อราชบังหลวงและการสงครามที่ล้างผลาญ และเพื่อยกมวลมนุษยชาติให้ขึ้นสู่ความบริสุทธิ์สะอาดในด้านจริยธรรมและจิตวิญญาณยุคนี้มีเครื่องหมายบ่งบอกถึงความเจริญในทางคมนาคมระหว่างกับด้านอุตสาหกรรมและด้านการก่อสร้าง และความชำนาญในทางการแพทย์
ลูสู่ปี ค.ศ. 476 เกิดยุด กลาง ขึ้นในยุโรป คริสต์จักรได้เพิ่มอำนาจในทางอาณาจักรให้กับผู้นำทางจิตวิญญาณของตน และต่อมากลายเป็นผู้ปกครองในทางความคิดและชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม ขณะเดียวกับที่ยุโรปตกลงสู่ยุคมืดของการถูกความป่าเถื่อนเข้าครอบงำ ความโง่เขลาเบาปัญญา การนองเลือด ความเป็นชาตินิยม และการสู้รบกันระหว่างเผ่า
ในขณะเดียวกันกับที่ทางตะวันออกนั้น อารยธรรมอิสลามถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการประสูติของศาสดา มุฮัมมัด ศาสนาทูตท่านสุดท้าย ณดินแดนอารเบีย และเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายไปทุกสารทิศ ในปี ค.ศ. 1453สุลตอน มุฮัมมัด ฟาตะฮ์ เข้ายึดครองอิสตัลบุล และยุคใหม่จึงเริ่มต้นขึ้นในยุโรป ซึ่งมีชาติที่เป็นอิสระเกิดขึ้นใหม่หลายชาติ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศสเยอรมัน ออสเตรีย เป็นต้น แต่ละชาติต่างก็แข่งขันซึ่งกันและกันเพื่อการขยายอำนาจ ประกอบกับมีการค้นพบการใช้แม่เหล็กหรือเข็มทิศในการเดินเรือ จึงทำให้แล่นเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปสู่อเมริกา หรือค้นพบโลกใหม่ได้ จริงๆ แล้วก็เคยเป็นดินแดนของชาวอินเดียนแดงและชาวอินคามาก่อนนับจำเนียรกาล
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ทางความคิดและวิทยาศาสตร์แพร่ขยายไปทั่วยุโรป และได้สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างชาติอย่างเป็นระเบียบแบบแผนมากยิ่งขึ้น จนถึงการเกิดปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1789 อันเป็นการสิ้นสุดของยุคกลาง จากนั้นยุคอุตสาหกรรมจึงเข้ามาแทนที่ในศตวรรษที่ 19 ยุโรปจึงเปลี่ยนโฉมหน้าไป การประดิษฐ์คิดค้นในสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องติดตามกันมา การค้นพบติดตามกันมาเป็นระลอก ประวัติศาสตร์ของยุโรปจึงก้าวเข้าสูโฉมหน้าใหม่สุดและสู่ยุคสมัยใหม่ของตน ที่มีวิทยาศาสตร์และเทคนโลยีเป็นพลวัตร ขับเคลื่อนโลกไปสู่การจัดระเบียบโลกใหม่และโลกาภิวัตน์ ดังที่ทุกๆ ประชาชาติของโลกกำลังเผชิญหน้าอยู่