เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คำอธิบายโองการที่ 2 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

คำอธิบายโองการที่ 2 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

 

ذَلِك الْكتَب لا رَيْب فِيهِ هُدًى لِّلْمُتَّقِينَ

 

ความหมาย :

 

2. คัมภีร์นี้ไม่มีข้อคลางแคลงในนั้น เป็นทางนำสำหรับผู้ยำเกรง

 

คำอธิบาย :

 

โองการนี้ได้บ่งชี้ว่าอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ประทานคัมภีร์แก่ศาสดาของพระองค์และสัญญาว่า คัมภีร์ดังกล่าวได้ประทานลงมาเพื่อเป็นทางนำแก่มวลมนุษยชาติ เป็นสมบัติของสำหรับกลุ่มชนที่เรียกร้องหาทางนำ และไม่มีความคลางแคลงใจสำหรับกลุ่มชนที่เรียกถวิลมาความสัตย์จริง และขณะนี้พระองค์ได้ปฏิบัติตามสัญญาของพระองค์

 

การที่พระองค์ตรัสว่าไม่ข้อคลางแคลงใจใด ๆ ในนั้นมิได้เป็นเพียงคำกล่าวอ้าง ทว่าเป็นความจริงที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ ความยิ่งใหญ่ของอัลกุรอาน ความมั่นคงแข็งแรง ความลุ่มลึกในความหมาย และอรรถรสในเชิงภาษาและลีลาของมันย่อมเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า อัลกุรอานนั้นไม่มีข้อคลางแคลงจริง

 

บทเรียนจากโองการ

 

1. ทำไมจึงกล่าวว่า อัลกุรอานเล่มนั้น

 

คำว่า ซาลิกะ ในภาษาอาหรับเป็นคำบ่งชี้สำหรับสิ่งของที่อยู่ไกลตัว ฉะนั้น ซาลิกัลกิตาบ จึงหมายถึง คัมภีร์เล่มนั้น ขณะที่ต้องใช้คำบ่งชี้ถึงสิ่งที่อยู่ใกล้ซึ่งต้องกล่าวว่า ฮาซัลกิตาบ หมายถึงคัมภีร์เล่มนี้ เพราะว่าอัลกุรอานนั้นอยู่ในมือของประชาชน

 

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะว่าคำบ่งชี้สำหรับสิ่งของที่อยู่ไกลตัวในภาษาอาหรับ บางครั้งถูกใช้เพื่อสารยายความยิ่งใหญ่ของสิ่งนั้น หรือความสูงศักดิ์ของบุคคล ซึ่งอัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่มีความสูงส่งถูกบันทึกอยู่ในเลาฮินมะฮฺฟูซซึ่งอยู่ไกลมือของคนทั่วไป ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวว่าคัมภีร์เล่มนั้น

 

2.คำว่า กิตาบ (คัมภีร์) หมายถึงอะไร

 

คำว่า กิตาบ หมายถึงสิ่งที่ถูกเขียนไว้แล้ว ซึงคำว่า กิตาบ ตามโองการที่กำลังกล่าวถึงหมายถึง อัลกุรอาน ฉะนั้น ตรงนี้มีคำถามว่า อัลกุรอานได้ถูกเขียนไว้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันนั้นหรือ

 

ตอบว่า การเขียนอัลกุรอานทั้งหมดไม่ใช่สิ่งจำเป็น เนื่องจากว่าอัลกุรอานสามารถกล่าวได้ว่าหมายถึงการเขียนทั้งหมดหรือบางส่วน

 

บางครั้งคำว่า กิตาบ หมายถึงเนื้อเรื่องที่ได้ถูกบันทึกหรือเขียนเอาไว้ และถูกนำมาเผยแผ่ซึ่งถึงช่วงเวลานั้นไม่ว่าจะเขียนไว้มากน้อยเพียงใดก็ตาม

 

2. ไม่มีข้อคลางแคลงในนั้น (لا ريب فيه) หมายถึงอะไร

 

หมายถึง ไม่เป็นที่สงสัยว่า อัลกุรอานนั้นมาจากพระผู้เป็นเจ้า เนื่องจากเรื่องราวที่ปรากฏในอัลกุรอาน ไม่มีข้อคลางแคลงใจใด ๆ หลงเหลืออยู่ แต่ถ้ายังมีแสดงให้เห็นว่าบุคคลนั้นมีจิตใจอคติที่คิดมุ่งร้าย

 

อัลกุรอานกล่าวว่า แล้วในการสงสัยของพวกเขานั้นเอง พวกเขาจึงลังเลใจ[1]

 

3. การชี้นำทาง (ฮิดายะฮ์) หมายถึงอะไร

 

คำว่า ฮิดายะฮ์ ในอัลกุรอานมี 2 ความหมายดังนี้

 

1. ฮิดายะฮ์ตักวีนีย์ หมายถึงการชี้นำมวลสรรพสิ่งที่มีทั้งหลายโดยพระผู้อภิบาล เนื่องพระองค์คือผู้ทรงสร้างทุกสรรรพสิ่งและทรงเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ครอบคลุมจักวาล อัลกุรอานกล่าวว่า พระผู้อภิบาลของเราคือ ผุ้ทรงประทานทุกอย่างแก่สิ่งที่พระองค์ทรงสร้างแล้วพระองค์ก็ทรงชี้นำ [2]

 

2.ฮิดายะฮ์ตัชรีอีย์ การชี้นำโดยผ่านบรรดาศาสดาและคัมภีร์ต่าง ๆ ของพระองค์ซึ่งมวลมนุษย์ได้เจริญเติบโตไปพบกับความสมบูรณ์ได้ด้วยการอบรมสั่งสอนของบรรดาศาสดาเหล่านั้น อัลกุรอานกล่าวว่า และเราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นอิมามชี้นำไปตามคำสั่งของเรา

 

4. ทำไมการชี้นำของอัลกุรอานพิเศษเฉพาะผู้ยำเกรง

 

เป็นที่แน่ชัดว่าอัลกุรอานถูกประทางลงมาเพื่อชี้นำประชาโลก แต่ทำไมโองการข้างต้นจึงกล่าวว่า อัล-กุราอานเป็นทางนำสำหรับผู้ยำเกรงเท่านั้น

 

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากว่าถ้าหากบุคคลใดไม่มีความยำเกรงในระดับหนึ่ง (ยอมรับในพระผู้เป็นเจ้าและสิ่งที่เข้ากับสติปัญญาและธรรมชาติของมนุษย์) แล้วละก็เป็นไปไม่ได้ที่เขาจะได้รับประโยชน์จากการคัมภีร์แห่งฟากฟ้าและเชิญชวนของบรรดาศาสดา

 

โดยทั่วไปบุคคลที่ไม่มีอีมาน (ศรัทธา) นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ บางคนเป็นผู้ไม่มีศรัทธาแต่พยายามศึกษาหาความจริงเรียกว่าเป็นผู้มีความยำเกรงอยู่บ้างเล็กน้อย ดังนั้น เมื่อพบความจริงเมื่อใดเขาสามารถยอมรับได้

 

บางคนนอกจากจะไม่มีศรัทธาแล้วยังเป็นคนอคติเอาแต่ใจตนเองถืออารมณ์ตนใหญ่ คนจำพวกนี้นอกจากจะไม่ศึกษาหาความจริงแล้ว ที่ใดก็ตามมีการพูดถึงความจริงเขาจะพยายามขัดขวางและทำลายให้สิ้นซาก ดังนั้น บนพื้นแผ่นดินถ้าหากยังมีมนุษย์เช่นนี้อยู่ แน่นอนการยอมรับความจริงและการชี้นำก็จะไม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้อัลกุรอานจึงกล่าวว่า เป็นทางนำสำหรับผู้ยำเกรง

 

บทเรียนจากโองการ

 

1. อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่ยิ่งใหญ่มีความทรงเกียรติ และอยู่ในตำแหน่งที่สูงส่ง (ذلك الكتاب)

 

2. อัลกุรอานถูกรวบรวมเป็นรูปเล่มตั้งแต่สมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จึงเรียกว่าเป็นกิตาบ

 

3. ประโยคที่กล่าวว่า ไม่มีความแคลงใจในนั้น บ่งบอกถึงความมั่นคงแข็งแรงของอัลกุรอาน

 

4. เฉพาะผู้มีความยำเกรงเท่านั้นที่ได้รับทางนำ อัลกุรอานยืนยันว่า เป็นทางนำสำหรับผู้ยำเกรง

 

5. อัลกุรอานเป็นทางนำที่บริสุทธิ์ปราศจากความหลงผิดและความแคลงใจจึงกล่าวว่า ไม่มีความคลางแคลงในนั้น

 

อ้างอิง

1.บทอัตเตาบะฮ์ โองการ 45

2.บทฏอฮา โ องการ 50

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม