เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คำอธิบายโองการที่ 15-16 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

คำอธิบายโองการที่ 15-16 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

 

اللّهُ يَسْتَهْزِىءُ بِهِمْ وَيَمُدُّهُمْ فِي طُغْيَانِهِمْ يَعْمَهُونَ 

أُوْلَئِكَ الَّذِينَ اشْتَرُوُاْ الضَّلاَلَةَ بِالْهُدَى فَمَا رَبِحَت تِّجَارَتُهُمْ وَمَا كَانُواْ مُهْتَدِينَ

 

ความหมาย :

 

15. อัลลอฮ์ทรงเยาะเย้ยพวกเขา และทรงยืดเวลาพวกเขาในการละเมิดของพวกเขา ให้ระหนต่อไป

 

16.พวกเหล่านี้คือผู้ซื้อทางหลงผิด ด้วยทางนำ ดังนั้น การค้าของพวกเขาจึงไม่ได้กำไร และพวกเขามิได้รับการชี้นำ

 

คำอธิบาย :

 

คำว่า (يَعْمَهُونَ) มาจากคำว่า (عَمَه) หมายถึงความลังเล สับสนหัวใจมืดบอดทำให้สายตาพร่ามัวเป็นสาเหตุเกิดความมึนงง[20]

 

หลังจากนั้นอัลกุรอานได้กล่าวเยอะเย้ยพวกเขาด้วยคำพูดที่รุนแรงว่า อัลลอฮ์ทรงเยาะเย้ยพวกเขา และทรงยืดเวลาพวกเขาในการละเมิดของพวกเขา ให้ระหนต่อไป ท่านอิมามริฏอ (อ.) กล่าวอธิบายโองการข้างต้นว่า อัลลอฮ์มิใช่ผู้ที่ชอบเย้ยหยัน แต่พระองค์จะเย้ยหยันเฉพาะผู้ที่ทำการเย้ยหยันหรือชอบเย้ยหยันบุคคลอื่น[21]

 

โองการดังกล่าวได้กล่าวถึงบั้นปลายชีวิตที่เศร้าสลดของพวกเขาว่า พวกเขาคือกลุ่มชนที่ค้าขายบนโลกซึ่งได้แลกเปลี่ยนการชี้นำด้วยการหลงทาง อัลกุรอานกล่าวว่า พวกเหล่านี้คือผู้ซื้อทางหลงผิด ด้วยทางนำ ด้วยเหตุนี้การค้าของพวกเขาจึงไม่มีผลกำไรอีกทั้งได้สูญเสียทุนที่ลงไป และพวกเขาจะไม่มีวันได้รับทางนำเด็ดขาดอัลกุรอานกล่าวว่า ดังนั้น การค้าของพวกเขาจึงไม่ได้กำไร และพวกเขามิได้รับการชี้นำ

 

สรุปบุคลิกที่ขัดแย้งกันทั้งภายนอกและภายในนี้เป็นอีกคุณลักษณะหนึ่งของพวกกลับกลอก ซึ่งสามารถจำแนกได้อย่างดีจากการกระทำ คำพูด และความประพฤติทั้งส่วนตัวและส่วนรวม

 

บทเรียนจากโองการ

 

1. ต้องไม่มุ่งหวังแต่รายได้

 

มนุษย์ต้องไม่มุ่งหวังเฉพาะรายได้หรือผลกำไรในการทำการค้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงด้วยว่าชีวิต จิตใจ และทรัพย์สินที่หามาได้หยิบจ่ายใช้สอยและขายไปอย่างไร เราได้มันมาอย่างไร และบทสรุปของการค้าสิ่งที่ได้รับคือการชี้นำ ความจำเริญ หรือว่าความตกต่ำและหลงทาง

 

2. นิฟาก

 

บั้นปลายสุดท้ายของพวกกลับกลอกไม่มีสิ่งใดนอกจากหลงทาง ขาดทุนความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างมากมายกับตนเองและครอบครัว ซึ่งต่างไปจากความศรัทธาที่นำพามนุษย์ไปสู่ความจำเริญ

 

3. ความกลับกลอกและที่มาของมัน

 

บุคคลที่ตีสองหน้าเรียกว่ามุนาฟิกีน (ผู้กลับกลอก) ซึ่งคำนี้มาจากคำว่า นะฟะเกาะ อยู่บนรูปของ ชะฟะเกาะ หมายถึงคลองหรือร่องที่ขุดไว้ใต้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการหลบหนี คนกลุ่มนี้เป็นอันตรายที่สุดสำหรับสังคมอิสลามเนื่องจากไม่อาจรู้ถึงสถานภาพที่แท้จริงของพวกเขา พวกเขาได้ปะปนอยู่ในสังคมแสดงตนเป็นผู้รู้หรือเป็นผู้ที่มีความสะอาดบริสุทธิ์ บางครั้งก็มีอิทธิพลกับบางเรื่องบางเหตุการณ์ตราบที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยังไม่ได้อพยพไปยังมะดีนะฮฺและยังไม่ได้จัดตั้งรัฐบาลอิสลาม แต่หลังจากการอพยพและจัดตั้งรัฐบาล และหลังจากได้รับชัยชนะในสงครามบัรดฺแล้วปัญหาเรื่องพวกกลับกลอกได้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากรัฐบาลเล็ก ๆ แต่มีความมั่นคงและพร้อมที่จะกระจายอำนาจออกไป

 

สรุปคำว่า นิฟาก เมื่อปรากฏในสังคมใดก็ตามย่อมก่อให้เกิดหนึ่งในสองประเด็นดังต่อไปนี้

 

ประการแรก ชัยชนะและอำนาจที่เปลี่ยนแปลงมีบทบาทสำคัญเหนือสังคม อีกประการหนึ่งคือความอ่อนแอทางจิตใจและวิญญาณ การสูญเสียบุคลิกภาพและความอดทนที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ ที่ยากลำบาก

 

4. ความจำเป็นในการรู้จักพวกกลับกลอกในสังคม

 

แน่นอนไม่เป็นที่สงสัยว่าพวกกลับกลอกไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่สมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เท่านั้น ทุกยุคทุกสมัยและทุกสังคมจะมีชนเหล่านี้อยู่เป็นขยะสังคม สิ่งจำเป็นคือการรู้จักแยกแยะชนเหล่านี้ตามบนพื้นฐานและขอบข่ายที่อัลกุรอานกำหนดไว้ เช่น

 

1. คนเหล่านี้จะอ้างความใหญ่โต พูดมากวาดโครงการในฝันแต่ทำน้อย

 

2. ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใดมักวางตัวเป็นใหญ่ในสังคมหรือย้อมตัวเองเข้ากับสีของสังคม และพูดตามรสนิยมและความต้องการของสังคมดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า เมื่อพบกับผู้ศรัทธาก็พูดว่า พวกเราศรัทธาแล้วแต่พอพบพวกกลับกลอกก็พูดว่า พวกเราอยู่กับพวกท่าน

 

3. มักยกตัวเองเหนือสังคมและชอบแยกตัวออกจากประชาชน จัดตั้งกลุ่มของตน วางแผนการณ์ที่มีการคำนวณนับอย่างดี

 

4. ชอบพูดจาชนทะเลาะวิวาท ใช่เล่ห์เพทุบาย โกหก ลอกเรียนแบบ บิดพลิ้วสัญญา และก่อความเสียหาย

 

5. ยกตนเองว่าดีกว่าคนอื่น มองว่าประชาชนเป็นพวกโง่เขลาเบาปัญญาไม่มีความคิด ส่วนพวกตนเป็นฉลาดมีไวพริบและมีความรู้มากกว่า

 

6. ผู้ปฏิเสธกับพวกกลับกลอกมักร่วมมือกัน หรือจัดกลุ่มด้วยกันและพวกกลับกลอกมักรับฟังความคิดเห็นของพวกปฏิเสธ

 

7. พวกกลับกลอกกับผู้ปฏิเสธไม่ใช่ร่วมมือกันทางความคิดอย่างเดียว ทว่าให้ความช่วยเหลือกันในทุก ๆ ด้าน อัลกุรอานจึงกล่าวว่าพวกเขาพูดว่า พวกเราอยู่กับพวกท่าน คำว่า มะอะ จะใช้ในกรณีที่ร่วมมือกันทั้งความคิดและการกระทำ

 

8. พวกกลับกลอกมักเย้ยหยันบรรดาผู้ศรัทธาเสมอ (อันที่จริงพวกเราเย้ยหยันพวกเขา)

 

สรุป คุณสมบัติ 2 หน้าที่ตรงกันข้ามกันทั้งภายนอกและภายในเป็นคุณสมบัติที่ชัดเจนของพวกกลับกลอก การปรากฏลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในการกระทำ คำพูด หรือการแสดงออกทั้งส่วนตัวและสังคมย่อมเป็นเครื่องหมายอันดีงามในการรู้จักพวกกลับกลอก

 

5. ความหมายที่กว้างของคำว่านิฟาก

 

แม้คำว่า นิฟาก จะมีความหมายที่เฉพาะเจาะจงและเป็นคุณสมบัติของกลุ่มชนที่ปราศจากความศรัทธา ซึ่งภายนอกเป็นคุณสมบัติของมุสลิม ส่วนภายในเป็นคุณลักษณะกลุ่มผู้ปฏิเสธก็ตาม แต่ในความเป็นจริงคำว่านิฟากมีความหมายที่กว้างไปกว่านั้นกล่าวคือ คำนี้ครอบคลุมทุกการแสดงออกที่เป็นสองหน้า ทั้งภายนอกและภายในรวมไปถึงคำพูดและการปฏิบัติ และแม้ว่ากิริยาเหล่านี้จะพบในตัวของผู้ศรัทธาก็ตาม ซึ่งเรียกสิ่งนี้ว่าเส้นเลือดแห่งการปฏิเสธ

 

ฮะดีซอิมามมะอฺซูม (อ.) กล่าวถึงคุณลักษณะของพวกกลับกลอกว่า มี 3 คุณสมบัติหากพบที่ผู้ใดแสดงว่าบุคคลนั้นเป็นมุนาฟิกีน แม้ว่าเขาจะถือศีลอดและนมาซอย่างขะมักเขม้นและถือว่าตนเป็นมุสลิมก็ตามได้แก่ บุคคลที่ไม่ซื่อสัตย์ต่ออะมานะฮฺ (ของฝาก) เมื่อพูดจะโกหก และเมื่อสัญญาจะบิดพลิ้ว[22]

 

แน่นอนว่ากลุ่มชนเหล่านี้ไม่ใช่ผู้กลับกลอกที่เฉพาะเจาะจงพิเศษ เพียงแต่ว่าสายเลือดแห่งการกลับกลอกได้แฝงอยู่บนตัวเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโอ้อวด ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า การโอ้อวดหรือการอวดอ้างเสมือนต้นไม้ที่ไม่ให้ผล (หรือรสชาติขม) นอกจากการชิริกที่เบาบาง ซึ่งรากของมันคือนิฟาก[23] 6. การทำลายของพวกมุนาฟิกีน

 

มุนาฟิกีนมิได้เป็นอันตรายเฉพาะมุสลิมเท่านั้น ทว่าเป็นกลุ่มชนที่มีอันตรายที่สุดสำหรับทุกชนชาติและทุกศาสนา พวกเขาจะอยู่ร่วมกับมุสลิมในสังคม และคอยจังหวะเมื่อมีโอกาสจะฉิบฉวยโอกาสตักตวงผลประโยชน์ หรือทำลายฝ่ายตรงข้ามทันที

 

บางครั้งบรรดาผู้ศรัทธาได้บริจาคทรัพย์สินจำนวนน้อยนิดบนหนทางของอัลลอฮ์ (ซบ.) ด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่พวกมุนาฟิกจะทำการเย้ยหยัน ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า พวกที่ตำหนิบรรดาผู้ศรัทธาที่สมัครใจบริจาค และตำหนิผู้ที่ไม่พบสิ่งใด (จะบริจาค )นอกจากค่าแรงงานอันเล็กน้อยของพวกเขา แล้วเย้ยหยันพวกเขา อัลลอฮ์ทรงเย้ยหยันพวกเขา และสำหรับพวกเขาคือการลงโทษอันเจ็บแสบ[24]

 

บางครั้งบุคคลเหล่านี้หาข้ออ้างต่าง ๆ นา ๆ เช่น อ้างว่าต้องเก็บเกี่ยวพืชผลในเรือกสวนและไร่นาเพื่อจะได้ไม่ต้องออกไปทำสงคราม หรือในช่วงเวลาที่คับขันที่สุดพวกเขาได้ปล่อยให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อยู่ตามลำพัง สร้างความหวั่นวิตกมิหนำซ้ำนำความลับของศาสดา (ซ็อล ฯ) ไปบอกกับศัตรูอีกต่างหาก

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม