เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คำอธิบายโองการที่ 40 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5


คำอธิบายโองการที่ 40 จากบทอัลบะกอเราะฮ์



يَا بَنِي إِسْرَائِيلَ اذْكُرُواْ نِعْمَتِيَ الَّتِي أَنْعَمْتُ عَلَيْكُمْ وَأَوْفُواْ بِعَهْدِي أُوفِ بِعَهْدِكُمْ وَإِيَّايَ فَارْهَبُونِ‎

ความหมาย

‎40.วงศ์วานอิสรออีลเอ๋ย จงรำลึกถึงความโปรดปรานของฉัน ที่ฉันได้โปรดปรานแก่สูเจ้า และจงปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ตกลงกับฉันให้ครบถ้วน และฉันจะปฏิบัติตามสัญญาของสูเจ้าให้ครบถ้วน (และในการปฏิบัติตามสัญญา) ‎เฉพาะฉันเท่านั้น ที่สูเจ้าต้องเกรงกลัว

คำอธิบาย จงรำลึกถึงความโปรดปรานของพระเจ้า

โองการกล่าวถึง เรื่องราวการช่วยเหลือวงศ์วานอิสรออีล ให้รอดพ้นจากน้ำมือของกษัตริย์ฟาโร และการปกครองของเขา หลังจากนั้นกล่าวถึงการหลงลืมข้อสัญญาของพระเจ้า พวกเขาจึงเผชิญกับความลำบาก และความอับโชค ‎ซึ่งมีความใกล้เคียงกับเรื่องราวของอาดัม โองการจึงเน้นเรื่องราวของชาวบนีอิสรอีอลเป็นพิเศษ

ในความเป็นจริง โองการกล่าวถึง 3 คำสั่งสำคัญอันได้แก่ การรำลึกถึงความโปรดปรานของพระเจ้า รักษาข้อสัญญาที่ตกลงกับพระเจ้าให้ครบถ้วน และจงเกรงกลัวการฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ ซึ่งคำสั่งทั้งสามถือเป็นรากฐานสำคัญในการดำเนินแผนงานของพระองค์

การรำลึกถึงความโปรดปรานของพระองค์เท่ากับเป็นการเชิญชวนไปสู่การรู้จักพระองค์ และเป็นการสร้างความรู้สึกขอบคุณพระองค์ ดังนั้น การใส่ใจต่อความโปรดปรานที่ไม่มีที่สิ้นสุด ส่วนอีกด้านหนึ่งคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับพระองค์ สิ่งเหล่านี้จะทำให้มนุษย์คำนึงถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบของตนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการแสดงความซื่อสัตย์ต่อสัญญา เนื่องจากอุปสรรคสำคัญประการหนึ่งบนหนทางดังกล่าวคือ ความหวาดกลัวที่ปราศจากเหตุผล เช่น วงศ์วานอิสรออีลที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ฟาโรนานหลายปี จนทำให้จิตใจของพวกเขาไม่มีสิ่งอื่นใดนอกจากความหวาดกลัว

ประเด็นสำคัญ

สิบสองข้อสัญญาของพระเจ้ากับยะฮูดีย์ คืออะไร

สิ่งที่เข้าใจได้จากโองการ ข้อสัญญานั้นคือ การเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว การทำดีกับบิดามารดา เครือญาติ เด็กกำพร้า ผู้มีสิทธิเหนือตน ประพฤติดีกับประชาชน ดำรงนมาซ จ่ายซะกาต (ทานบังคับ) ห่างไกลจากการฉ้อฉลกลั่นแกล้งคนอื่น และการนองเลือด คำยืนยันคำกล่าวอ้างข้างต้นคืออัล-กุรอานบทเดียวกัน โองการที่ 83-84 ซึ่งจะอธิบายต่อไป

ตามความเป็นจริงแล้ว 2 โองการนี้กล่าวถึงข้อสัญญา 10 ประการที่แตกต่างกันโดยการรับรองของโองการที่ 12 บท ‎อัลมาอิดะฮ์ ที่กล่าวว่า และแท้จริงอัลลอฮ์ทรงเอาสัญญาแก่วงศ์วานอิสรออีล และแต่งตั้งผู้ดูแลจากหมู่พวกเขาขึ้นสิบสองคน และอัลลอฮฺตรัสว่า แท้จริงข้าอยู่กับพวกเจ้า ถ้าหากพวกเจ้าดำรงนมาซ จ่ายซะกาต (ทานบังคับ) และศรัทธาต่อบรรดาศาสดาของข้า และสนับสนุนพวกเขา

สัญญาอีกสองประการกล่าวคือ ศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูตของพระองค์ และสนับสนุนพวกเขา เป็นที่ชัดเจนว่า เมื่อพวกเขาอยู่ต่อหน้าความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า ได้ให้สัญญาไว้มากมาย และพระองค์ก็ให้สัญญากับพวกเขาว่า ถ้าหากพวกเจ้าซื่อสัตย์ในสัญญา ข้าจะให้พวกเจ้าเข้าสวนสวรรค์ ซึ่งมีแม่น้ำหลายสายไหลอยู่เบื้องล่างของสวนสวรรค์ แต่น่าเสียดายว่าพวกเขาบิดพลิ้วสัญญาทั้งหมด และปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนี้อยู่ ซึ่งเป็นสัจธรรมว่าพวกยะฮูดียฺจะไม่ซื่อสัตย์ในสัญญาเด็ดขาด ไม่ว่าพวกเขาจะสัญญากับใครก็ตาม

พระเจ้าทรงซื่อสัตย์ในสัญญาของพระองค์

ความโปรดปรานต่าง ๆ ของพระเจ้าจะไม่ปราศจากเงื่อนไขและกฎเกณฑ์เด็ดขาด ทุก ๆ ความโปรดปรานของพระองค์ทรงมอบความรับผิดชอบและเงื่อนไขซ่อนไว้

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า จุดประสงค์ของคำว่า ข้าจะรักษาสัญญาของพวกเจ้าให้ครบถ้วน หมายถึงพระองค์จะรักษาสัญญาของพระองค์ โดยส่งพวกเจ้าเข้าสู่สรวงสวรรค์ (นูรุซซะเกาะลัยน์ เล่ม 1 หน้า 72)‎

ประโยคที่กล่าวว่า เฉพาะข้าเท่านั้น พวกเจ้าจงเกรงกลัวหมายถึงจงเกรงกลัวการลงโทษของข้า เป็นการเน้นย้ำประเด็นที่ว่า จงปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้กับพระองค์อย่างเคร่งครัด และจงเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์แต่เพียงผู้เดียว ‎จงอย่างเกรงกลัวผู้ใดทั้งสิ้น สิ่งที่บ่งบอกความเฉพาะเจาะจงพิเศษตรงนี้คือ คำว่า อิยายะ นั้นถูกกล่าวก่อนประโยค ‎ฟัรฮะบูน

เพราะเหตุใดจึงเรียกบรรดายะฮูดีย์ว่า บนีอิสรออีล

อิสรออีล เป็นนามหนึ่งของยะอ์กูบ บิดาของศาสดายูซุฟ และการที่เรียกท่านศาสดยะอ์กูบว่า อิสรออีล นักประวัติศาสตร์ที่มิใช่มุสลิมได้กล่าวอธิบายไว้ แต่เป็นคำอธิบายที่ผสมผสานความเท็จ เช่น คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (กิตาบมุก็อดดัซ) บันทึกว่า อิสรออีล หมายถึง บุคคลที่มีชัยชนะเหนือพระเจ้า คำ ๆ นี้เป็นฉายานามของยะอฺกูบ บุตรของอิซฮาก ขณะที่กำลังแข่งขันมวยปล้ำกับมลาอิกะฮ์ พระเจ้าทรงประทานฉายานามนี้ให้

แต่นักวิชาการฝ่ายอิสลาม เช่น เฏาะบัรเราะซี นักอรรถาธิบายอัลกุรอาน บันทึกไว้ในตัฟซีรมัจญ์มะอุลบะยาน ว่า ‎อิสรออีลก็คือ ยะอ์กูบ บุตรของอิซฮาก บุตรของอิบรอฮีม (อ.) คำว่า อะซะเราะ หมายถึง บ่าว ส่วนคำว่า อีล หมายถึง ‎อัลลอฮ์ ดังนั้นคำว่า อิสรออีล จึงหมายถึง อับดุลลอฮ์ (บ่าวของพระเจ้า) นั่นเอง

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม