เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คำอธิบายโองการที่ 65-66 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5


คำอธิบายโองการที่ 65-66 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

 

وَ لَقَدْ عَلِمْتُمُ الَّذِينَ اعْتَدَوْا مِنكُمْ فى السبْتِ فَقُلْنَا لَهُمْ كُونُوا قِرَدَةً خَسِئِينَ (65) فجَعَلْنَهَا نَكَلاً لِّمَا بَينَ ‏يَدَيهَا وَ مَا خَلْفَهَا وَ مَوْعِظةً لِّلْمُتَّقِينَ‎ (‎‏66‏‎)‎

ความหมาย

‎65.และแน่นอน สูเจ้ารู้ถึงพวกในหมู่สูเจ้า ผู้ละเมิดในวันสับบาโต (วันเสาร์) แล้วเราได้กล่าวแก่พวกเขาว่า พวกเจ้าจงเป็นลิงที่น่าเกลียด

‎66. ดังนั้น เราได้ให้การลงโทษเป็นเยี่ยงอย่างแก่ประชาชาติที่อยู่ในสมัยนั้น และประชาชาติที่ตามมาภายหลัง และเป็นข้อเตือนสำหรับผู้สำรวมตนจากความชั่ว

คำอธิบาย การทำบาปในวันเสาร์

โองการทั้งสองต่อไปนี้เหมือนกับโองการก่อนหน้านี้ ที่กล่าวถึงการฝ่าฝืน และการไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของพระเจ้า ที่ครอบงำจิตใจของพวกยิว และความหลงใหลในกิจการทางโลก

คำว่า คอซีอี มาจากรากศัพท์ของคำว่า คอซอัน หมายถึง ความตกต่ำ น่ารังเกลียด ซึ่งความหมายตามรากศัพท์เดิมหมายถึง การขับออกให้พ้นจากสภาพเดิม กลายเป็นสุนัข และต่อมาถูกนำมาใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือ การขับหรือเนรเทศออกไปพร้อมกับการเหยียดหยาม

โองการนี้กล่าวถึงจิตวิญญาณที่ฝ่าฝืน และไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งพระเจ้าของชาวยิว ประกอบความหลงใหลอย่างรุนแรงของพวกเขาที่มีต่อโลก พระเจ้าทรงสั่งพวกยิวว่า ให้หยุดวันเสาร์ ซึ่งมีบางกลุ่มอาศัยอยู่แถบชายฝั่ง และเพื่อทดสอบคำบัญชา พระองค์สั่งว่าวันเสาร์จงอย่าจับปลา เผอิญว่าวันนั้นมีปลาจำนวนมากมายลอยตัวเหนือผิวน้ำ พวกเขาคิดหาเล่ห์กลทางกฎบัญญัติเพื่อจับปลาในวันนั้น พระเจ้าทรงลงโทษพวกเขาอย่างรุนแรง เนื่องจากพวกเขาฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ โดยสาบให้พวกเขากลายเป็นลิงที่น่าเกลียด

ประโยคที่กล่าวว่า พวกเจ้าจงเป็นลิงที่น่าเกลียด เป็นการบ่งชี้ถึงการกระทำที่รวดเร็ว ซึ่งคำสั่งของพระองค์ได้เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของพวกฝ่าฝืนอย่างฉับพลัน ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในโองการที่ 143 – 146 บทเดียวกัน อินชาอัลลอฮ์

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม