เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คำอธิบายโองการที่ 104-105 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

 

คำอธิบายโองการที่ 104-105 จากบทอัลบะกอเราะฮ์

 

يَأَيُّهَا الَّذِينَ ءَامَنُوا لا تَقُولُوا رَعِنَا وَ قُولُوا انظرْنَا وَ اسمَعُوا وَ لِلْكفِرِينَ عَذَابٌ أَلِيمٌ (104) مَّا يَوَدُّ الَّذِينَ كَفَرُوا مِنْ أَهْلِ الْكِتَبِ وَ لا المُْشرِكِينَ أَن يُنزَّلَ عَلَيْكم مِّنْ خَير مِّن رَّبِّكمْ وَ اللَّهُ يخْتَص بِرَحْمَتِهِ مَن يَشاءُ وَ اللَّهُ ذُو الْفَضلِ الْعَظِيمِ (105)

 

ความหมาย

104.โอ้บรรดาผู้ศรัทธา (เมื่อท่านศาสดา ขอเวลาเพื่อให้ท่านสร้างความเข้าใจเกี่ยวโองการ) จงอย่าพูดว่ารออินา และจงกล่าวว่า อุนซุรนา (เนื่องจากคำแรกหมายถึง จงให้โอกาสเรา หรือจงทำให้เราโง่เขลา) และจงฟัง และสำหรับผู้ปฏิเสธ (ที่เย้ยหยัน) คือการลงโทษอันเจ็บปวด

105. บรรดาที่ปฏิเสธในหมู่ชาวคัมภีร์ และพวกตั้งภาคี ไม่ปรารถนาให้มีความดีอันใด จากพระผู้อภิบาลของสูเจ้า ถูกประทานลงมาแก่สูเจ้า และอัลลอฮฺ ขณะที่อัลลอฮฺทรงเจาะจงความกรุณาของพระองค์แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และอัลลอฮฺ คือเจ้าแห่งความโปรดปรานอันใหญ่หลวง

สาเหตุของการประทานโองการ

อิบนิ อับบาซ กล่าวว่า บรรดามุสลิมในยุคแรกของอิสลามขณะที่ท่านกำลังกล่าวเทศนา และอธิบายโองการอะฮฺกามอยู่นั้น บางครั้งขอร้องท่านให้อธิบายช้า ๆ เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องราวทั้งหมด บางครั้งมีคำถามและอธิบายความต้องการของตน การขอร้องของบรรดามุสลิมจะเห็นว่า ประโยค รออินา ถ้ามาจากรากศัพท์คำว่า อัรรออี หมายถึง การขอเวลา หรือการขอโอกาส หรือการประวิงเวลา

ส่วนพวกยะฮูดียฺกล่าวคำว่า รออินา เหมือนกัน แต่มาจากรากศัพท์ของคำว่า อัรเราะอูนะฮฺ หมายถึง ไม่มีเชาวน์ ไม่ฉลาด และโง่เขลา ความหมายแรกหมายถึง โปรดให้โอกาสเรา เพื่อการคิดไตร่ตรอง ส่วนความหมายที่สอง หมายถึง โปรดให้เราโง่เขลา

ตรงนี้พวกยะฮูดียฺ ได้โอกาสทันทีโดยยึดเอาประโยคดังกล่าว ซึ่งเป็นประโยคที่บรรดามุสลิมกล่าวกันเป็นหลักฐานในการเย้ยหยันท่านศาสดาและบรรดามุสลิม โองการจึงถูกประทานลงมาเพื่อป้องกันมิให้ นำประโยคไปใช้ในทางที่ผิด และสั่งบรรดาผู้ศรัทธาว่าให้กล่าวประโยค อุนซุรนา แทนประโยค รอฆินา ซึ่งทั้งสองประโยคมีความหมายเหมือนกัน เพื่อป้องกันมิให้ศัตรูหยิบฉวยโอกาสในการล้อเลียน และเย้ยหยันมุสลิม

คำอธิบาย การให้โอกาสแก่ศัตรู

รออินา มาจากรากศัพท์ของคำว่า อัรรออี หมายถึง การให้โอกาส หรือการประวิงเวลา แต่พวกยะฮูดียฺนำคำนี้ ซึ่งมาจากรากศัพท์ของคำว่า อัรเราะอูน หมายถึง ความโง่เขลา ไปใช้พูดเพื่อเย้ยหยันศาสดา และผู้ศรัทธา พระเจ้าจึงลงโองการมาเพื่อป้องกันมิผู้ศรัทธานำคำนี้ไปใช้ในทางที่ผิด และแทนที่คำว่า รออินา ด้วยคำว่า อุนซุรนา

จากโองการสามารถเข้าใจได้ว่า บรรดามุสลิมต้องระมัดระวังการดำเนินแผนการ และกระทำกิจกรรมของตน อย่าเปิดโอกาสให้ศัตรู แม้กระทั่งประโยคสั้น ๆ เพราะเป็นไปได้ว่าพวกเขาจะนำเอาสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิด และเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น อัล-กุรอาน จึงลงมาเพื่อเตือนสติบรรดาผู้ศรัทธามิให้นำไปใช้ในทางที่ผิด โดยเฉพาะคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน เพราะศัตรูอาจนำคำนั้นไปใช้ในความหมายอื่น เป็นการทำลายภาวะจิตใจของผู้ศรัทธาให้อ่อนแอ ฉะนั้น ผู้ศรัทธาต้องออกห่างจากสิ่งเหล่านี้อย่างสิ้นเชิง

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม