โองการที่ 254 ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์
โองการที่ 254 ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَنفِقُواْ مِمَّا رَزَقْنَاكُم مِّن قَبْلِ أَن يَأْتِيَ يَوْمٌ لاَّ بَيْعٌ فِيهِ وَلاَ خُلَّةٌ وَلاَ شَفَاعَةٌ وَالْكَافِرُونَ هُمُ الظَّالِمُونَ (254)
ความหมาย
254. โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริจาคสิ่งที่เราได้ประทานเป็นเครื่องยังชีพแก่พวกเจ้า ก่อนที่วันหนึ่งจะมา ซึ่งในวันนั้นไม่มีการซื้อขาย (เพื่อว่าสูเจ้าจะได้ซื้อความสุข ความสบาย ความปลอดภัย และความศรัทธา) ไม่มีมิตรภาพ และไม่มีชะฟาอะฮ์ และบรรดาผู้ปฏิเสธพวกเขาคือ พวกธรรม
คำอธิบาย การบริจาคเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการช่วยเหลือในวันฟื้นคืนชีพ
คำว่า คุลละฮฺ มาจากรากศัพท์ของคำว่า เคาะละละ หมายถึง ช่องว่างระหว่างสองสิ่ง ฉะนั้น จะเห็นว่าทั้งความรัก และมิตรภาพสถิตอยู่ในจิตวิญญาณของมนุษย์ ขณะเดียวกันทั้งสองมีช่องว่างให้เห็นได้อย่างชัดเจน เนื่องจากคำนี้ให้ความหมายว่าความเป็นมิตรภาพที่ดื่มด่ำ
แม้ประโยคที่กล่าวว่า จากสิ่งที่เราได้ประทานแก่เจ้า จะมีความหมายกว้างซึ่งรวมไปถึงการบริจาคทรัพย์สินทั้งที่เป็นวาญิบ (ทานบังคับ) และมุซตะฮับ (ทานสมัครใจ) ตลอดจนการบริจาคที่เป็นศีลธรรมด้านจิตใจ เช่น ความรู้ วิชาการ และภารกิจอื่น ๆ แต่เมื่อพิจารณาการขู่บังคับของโองการทำให้เข้าใจว่าจุดประสงค์คือ การบริจาคที่เป็นข้อบังคับ หมายถึง ทานบังคับ หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน และการที่กล่าวว่า จากสิ่งที่เราได้ประทานแก่เจ้า ทำให้รู้ว่าการบริจาคทานบังคับเพียงแค่ส่วนหนึ่งของทรัพย์สินเท่านั้น มิใช่ทรัพย์สินทั้งหมด
หลังจากนั้นกล่าวว่า วันนี้ยังมีความสามารถอยู่จนรีบบริจาคเสียก่อน ที่วันหนึ่งจะมา ซึ่งในวันนั้นไม่มีการซื้อขาย (เพื่อว่าสูเจ้าจะได้ซื้อความสุข ความสบาย ความปลอดภัย และความศรัทธา) ไม่มีมิตรภาพ และไม่มีชะฟาอะฮ์
อัลกุรอานชี้ให้เห็นว่าหนทางในการช่วยเหลือที่เป็นวัตถุปัจจัยทางโลกมีมากมาย แต่ไม่มีทางใดสามารถช่วยให้รอดปลอดภัยได้ วันนั้นไม่มีการค้าขายเพื่อว่ามนุษย์จะได้ซื้อความสุขนิรันดร เพื่อให้รอดพ้นจากการถูกลงโทษ ไม่มีมิตรสหายทางโลกที่สรรหามาด้วยวัตถุปัจจัยจะยังประโยชน์กับมนุษย์ เนื่องจากพวกเขาต้องเผชิญกับปัญหาที่ตนได้ก่อไว้ พวกเขาไม่สามารถช่วยเหลือผู้ใดได้ ชะฟาอะฮฺจะไม่ตกมาถึงยังเจ้า เพราะชะฟาอะฮฺจะครอบคลุมเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของพระเจ้า ซึ่งเจ้ามิได้ประพฤติเช่นนั้น ส่วนชะฟาอะฮฺที่เจ้าสรรหาด้วยวัตถุปัจจัยทางโลก ในวันนั้นจะไม่ยังประโยชน์อันใดแก่เจ้า
สุดท้ายโองการกล่าวว่า บรรดาผู้ปฏิเสธพวกเขาคือ พวกธรรม หมายถึงพวกเขาละทิ้งการบริจาคทั้งทานบังคับ และทานสมัครใจ อีกทั้งกดขี่ตนเองและผู้อื่น คำว่า กุฟร์ ในที่นี้หมายถึง การระหกระเหิน บาป และการฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า